เซียนสู - ฆราวาสผู้สำเร็จอภิญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 18 กุมภาพันธ์ 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447


    เซียนสู - ฆราวาสผู้สำเร็จอภิญญา
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    file-php-id-5899-sid-084c77c14cf6d4b86c49c648317cb0ca-jpg.jpg



    อาจารย์สู พรหมเชยธีระ เกิดในบ้านตระกูลชื้อ ที่ตำบลโปชั้งเฮี้ยว อำเภอเก็กเอี๊ยว จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อปีมะแม เดือนสี่ วันที่สิบสองของจีน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๕๐ มีชื่อเดิมว่า สูเชียง แซ่ชื้อ

    อาจารย์สู ได้จากบ้านเดิมมาเมื่อยังหนุ่ม เพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมและหมอโบราณตามสำนักเต๋าขงจื๊อและศาสนาพุทธ จากประเทศจีนได้เดินทางต่อมาในอินโดจีน ท่องเที่ยวหาความรู้ไปในประเทศเวียตนามและเขมร สุดท้ายได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี โดยใช้ชื่อว่า นายเสียง แซ่ชื้อ ได้มาพำนักที่วัดจีนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมาได้บวชเป็นเณร มีฉายาว่า “เสี่ยงลก” ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสวดมนต์ ภาวนา มานานนักได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเซียนฮุดยี่ จังหวัดชลบุรี

    เมื่อมาอยู่เมืองไทยได้ ๓ ปี ก็เดินทางไปสิงคโปร์และสึกที่นั่น ท่องเที่ยวอยู่พักหนึ่ง ก็เดินทางกลับประเทศจีน อยู่ได้เดือนกว่า ก็เดินทางกลับมาเมืองไทยอีก โดยมอบสมบัติทั้งหมดให้น้องชายช่วยดูแลแม่ให้ดี เมื่อเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ได้ไปทำงานอยู่กับคนขายก๋วยเตี๋ยวที่หัวหิน ได้ค่าจ้างเดือนละ ๑๕ บาท พอเก็บเงินได้ ๕๐ บาท ก็เข้าหุ้นกับคนจีนไหหลำคนหนึ่ง ทำขนมปังขาย โดยในขณะเดียวกัน ก็รับจ้างทำงานกับคนขายก๋วยเตี๋ยวไปด้วย ทำงานอยู่หัวหินได้ ๖ – ๗ เดือน ก็มอบกิจการทำขนมปังให้เพื่อนร่วมงานทั้งหมด แล้วเดินทางมาจังหวัดชลบุรี และอยู่ที่นี่ จวบจนบั้นปลายของชีวิต ท่านอาจารย์ได้ประกอบอาชีพทอดปาท่องโก๋และขายขนมปังเป็นอาชีพหลัก ในบางครั้ง ก็เดินทางไปค้าขายตามภาคเหนือ แถวจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก

    เมื่ออายุประมาณ ๓๔ ปี ได้แต่งงานกับ นางสาวสุนันท์ บุญประเวศ มีบุตร-ธิดา ทั้งหมด ๖ คน คือ

    ๑. นางฉวีวรรณ จงรุ่งเรือง

    ๒. นายอรรณพ พรหมเชยธีระ

    ๓. นายอภิชาติ พรหมเชยธีระ

    ๔. นางกาญจนา ยงศ์สิริกุล

    ๕. นางสาวมาลินี พรหมเชยธีระ

    ๖. เด็กหญิงฐิติมา พรหมเชยธีระ

    นับแต่ท่านอาจารย์แต่งงาน ก็ได้ภรรยามาช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ และแบ่งเบาภาระในบ้าน ทำให้ท่านอาจารย์มีเวลาในการฝึกกัมมัฏฐาน และสงเคราะห์ผู้อื่น นับว่าภรรยาท่านอาจารย์เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยให้ท่านอาจารย์ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานและบำเพ็ญบารมีตามที่ท่านมุ่งหวัง

    เมื่อท่านอาจารย์อายุได้ ๔๑ ปี ได้พบหลวงพ่อเชย และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์เรียนกัมมัฏฐาน ต่อมาเมื่อท่านอาจารย์อายุได้ราว ๔๔ ปี ก็เริ่มปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง โดยการแยกที่นอนกับภรรยาของท่านอย่างเด็ดขาด เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ตอนนั้นภรรยาของท่านเพิ่งตั้งครรภ์ลูกคนสุดท้องได้ราว ๓ เดือน ซึ่งจากนั้นท่านอาจารย์ก็แต่งชุดขาวตลอดมา

    เมื่อท่านอาจารย์อายุได้ประมาณ ๕๐ ปี หลังจากหลวงพ่อเชยมรณภาพไม่นานนัก ท่านอาจารย์และครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านที่สร้างขึ้นใหม่ในที่ดินที่เช่าจากวัดกำแพง และได้เลิกประกอบอาชีพทำขนมปัง ท่านอาจารย์ได้เริ่มให้การรักษาโรคแก่คนทั่วไปตามแบบตำรายาจีน ซึ่งถ่ายทอดมาจากต้นตระกูลของท่านที่เมืองจีน และท่านได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วยตนเอง ท่านอาจารย์จะเขียนตั๋วยาให้ผู้ป่วยแต่ละคนที่มาขอรับการรักษา ไปซื้อยาต้มกินเอาเอง นอกจากนี้ท่านอาจารย์ยังได้สอนธรรมะ และวิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐานให้แก่ผู้ที่สนใจมาซักถามทั้งยังให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีเรื่องเดือดร้อนมาปรึกษาท่านด้วยวิธีการที่แยบยลไม่ซ้ำแบบใคร นับเป็นที่พึ่งอันเอกอุของลูกๆ และบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย
    file-php-id-5900-sid-084c77c14cf6d4b86c49c648317cb0ca-jpg.jpg



    ในปี ๒๕๑๔ ท่านอาจารย์ได้อุปสมบทตามปณิธานสุดท้ายที่ท่านตั้งไว้ เมื่อเห็นว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว และได้ขึ้นไปบำเพ็ญธรรมอยู่บนเขาปากแรด จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเชยได้บำเพ็ญธรรมอยู่จนมรณภาพ ไม่นานนักท่านอาจารย์ก็ป่วยเป็นมาเลเรียอย่างร้ายแรง ถึงขั้นขึ้นสมองต้องลงมารักษาอยู่ที่บ้าน เมื่อหายดีแล้วก็กลับขึ้นไปอยู่บนเขาอีก ท่านอาจารย์บวชอยู่ได้ ๑ พรรษาก็ต้องสึก เพราะลูก ๆ และบรรดาศิษย์ ช่วยกันอ้อนวอนขอร้อง เนื่องจากเห็นว่าท่านมีอายุมากแล้ว ไม่อยากให้ท่านไปลำบากอยู่คนเดียวและก็กลัวว่าท่านจะกลับเป็นมาเลเรียอีก

    ในบั้นปลายของชีวิต ท่านอาจารย์ได้ใช้เวลาอบรมสั่งสอนลูกหลานและศิษย์ทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านได้สงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นด้วยดีเสมอมา โดยไม่ต้องการทั้งชื่อเสียงเกียรติยศและอามิสใด ๆ ท่านปฏิบัติเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ แม้นกระทั่งในวันสุดท้ายที่ท่านจากไป

    ท่านอาจารย์จากไปด้วยอาการอันสงบ อย่างนักปฏิบัติ เมื่อเวลาประมาณ ๒๐.๔๕ น. ในวันอังคารที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ในขณะที่ท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ที่หน้ารูปจำลองของหลวงพ่อเชยในบ้านของท่าน นับเป็นการจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วนสำหรับลูกหลาน เนื่องจากไม่มีอาการของโรคใดปรากฏเป็นสัญญาณให้ทราบก่อนเลย

    อย่างไรก็ดี ท่านอาจารย์ได้เคยสั่งลูก ๆ ของท่านไว้ว่า "เมื่อท่านจากไปก็ขอให้เผาศพของท่านเสียใน ๓ วัน” ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องการให้การจากไปของท่านสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด และท่านอาจารย์ยังให้ลูก ๆ จดกลอนบทหนึ่งของท่านไว้สำหรับติดไว้ที่รูปในงานศพของท่านด้วย คือ

    ละครปิดฉาก

    ลงเรือข้ามฟาก

    ที่นี่เรียบเรียบ

    ฝากให้รู้ข่าว
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คำไว้อาลัยของลูกหลาน
    เตี่ย

    ตอนเตี่ยมีชีวิตอยู่ เวลาเตี่ยบอกว่ารักลูก พวกเราก็ไม่ค่อยเชื่อ เพราะเตี่ย “โหด” ยังกับอะไรดี (ในสายตาของพวกเรา) เวลาเราร้องไห้ เตี่ยก็ถามว่า

    “จะร้องหรือจะหยุด”

    ถ้าเราตอบว่าจะร้อง เตี่ยก็ปล่อยให้เราร้องกรี๊ดเรื่อยไป พอเราเหนื่อย เราจะหยุด เตี่ยก็ตีให้เราร้องตามสัญญา จนเราหอบแฮ่ก ขอให้ทำสัญญาสันติภาพ ฉบับใหม่ว่า เราจะไม่ร้องอีกต่อไป หรือเวลาเราเกเร ทะเลาะกับพี่น้อง เตี่ยก็จับเราทั้งคู่มาตีกันจนหมดแรง เพราะถ้าไม่ตีกัน เตี่ยจะตีแทน หากเราซุกซน เตี่ยก็จะเขียนวงกลมไว้ให้นั่งหงอยอยู่ในนั้น ถ้าเราจะไปห้องน้ำ เตี่ยก็ลากเส้นไว้ให้เดินไป แล้วเดินกลับมานั่งที่เดิม พวกเราจึงกลัวเตี่ยมากกว่าอะไรทั้งหมด

    แต่พอมาถึงวันที่เราเห็นเตี่ยนอนนิ่ง หน้ายังยิ้ม ดุจยินดีที่ละจากโลกนี้ไปเสียได้ พวกเราจึงรู้ว่า “รัก” ของเตี่ยคำนั้นมีค่ามากมายปานใด แต่กว่าเราจะรู้ มันก็สายไปเสียแล้ว ถึงกระนั้น “สาย” ก็ยังดีกว่า “ไม่เคยรู้” เสียเลย ในวันนี้ พวกเราจึงอยากบอกเตี่ยบ้างว่า “ลูกทุกคนรักเตี่ย” ถ้าเตี่ยมีชีวิตขึ้นมาใหม่ พวกเราจะไม่ทำอย่างที่เคยทำ “แต่...สัญญา” ฉบับใหม่นี้ เตี่ยก็ไม่ได้อยู่เซ็นรับรองเสียแล้ว

    พวกเราจะไม่พูดอะไรมาก เพราะความจำย่อมมีค่ากว่าคำพูดเสมอ พวกเราทุกคนมั่นใจว่า เราจะมีความทรงจำเกี่ยวกับเตี่ยอยู่ตลอดกาล เป็นความทรงจำที่จะไม่มีสิ่งใดมาลบเลือนลงได้ เพราะเรารักเตี่ย เหมือน ๆ กับที่เตี่ยเคยบอกว่ารักพวกเรา

    จากลูก ๆ ทั้งหมดของเตี่ย


    ----------------------

    การจากไปกระทันหันของเตี่ย คือการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของลูก ๆ ทุกคน ด้วยพระคุณของเตี่ยที่มีต่อพวกเราทุกคนนั้น มีมากเกินกว่าที่พวกเราทุกคนจะอธิบายได้ แต่ก็มีสิ่งหนึ่ง ที่พวกเราภูมิใจอยู่เสมอว่า เตี่ยได้ให้ไว้แก่ลูก ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเตี่ย ที่จะอยู่กับลูกตลอดไป สิ่งนั้นก็คือ “คำสั่งสอนของเตี่ย” ซึ่งเตี่ยได้ปลูกฝังไว้ให้ลูกตั้งแต่เล็กจนโต เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คำสั่งสอนของเตี่ยนั้น นอกจากจะใช้คำพูดแล้ว ยังใช้ “การกระทำ” ให้พวกเราไปขบคิด เข้าใจเอาเอง ซึ่งส่วนมาก ลูก ๆ ตามเตี่ยไม่ค่อยทัน และก็มีบางเรื่องที่หมดโอกาสจะซักถามเตี่ยให้เป็นที่เข้าใจได้อีกต่อไปแล้ว

    ลูกขอถ่ายทอดแนวคำสอนและเรื่องราวบางประการของเตี่ย ไว้ในหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของเตี่ย เพื่อส่วนหนึ่งเป็นการระลึกถึงเตี่ย และอีกส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นการเทิดทูนพระคุณของเตี่ย ถ้าหากจะมีผู้ใดได้ประโยชน์อะไรไปจากคำสอนและเรื่องราวของเตี่ยแล้ว ก็ขอให้ผู้นั้นได้เข้าใจถึงคุณงามความดีของเตี่ยซึ่งไม่มีวันดับสูญไปตามกาลเวลา
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เตี่ยอบรมลูก ๆ

    เตี่ยเป็นคนจีนที่ค่อนข้างจะถือระเบียบประเพณีจีนเก่า ๆ ในการอบรมสั่งสอนลูกในตอนเด็ก ๆ และยึดถือคติ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” โดยเฉพาะในการเลี้ยงลูกสาว เตี่ยเข้มงวดกวดขันมาก ไม่เคยอนุญาตให้ลูกสาวไปที่ไหนเลย นอกจากโรงเรียน ตั้งแต่เล็กจนโต แม้จะไปกับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคย เตี่ยก็ไม่ยอมให้ไป เพราะไม่ต้องการให้ลูกไปก่อความเดือดร้อนให้ผู้ใดทั้งสิ้น ลูกสาวของเตี่ยจะเก่งในงานบ้าน เพราะจะต้องทำมาตั้งแต่เด็ก ส่วนลูกชายก็ไม่ค่อยปล่อยให้ไปเที่ยวเล่น นอกจากจะต้องช่วยงานบ้านแล้ว เมื่อมีเวลา เตี่ยก็จะให้ไปขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นขายไอศกรีมแท่ง ซึ่งต้องเดินขาย เหนื่อยแสนเหนื่อย แถมกำไรยังไม่พอซื้อก๋วยเตี๋ยวสักชามเลย

    เตี่ยสอนให้ลูกทุกคนเคารพและกตัญญูต่อพ่อแม่ เมื่อทำผิด เวลาเตี่ยจะตี ไม่ให้วิ่งหนี ต้องรู้จักรับผิด วิธีการอบรมลูกของเตี่ยนั้นใช้วิธี “หนามยอก เอาหนามบ่ง” เตี่ยมักใช้วิธีแปลก ๆ แต่ได้ผลเสมอ เช่นเมื่อลูกคนใดร้องไห้งอแง เตี่ยก็จะปล่อยให้ร้องไปตามความพอใจ แต่ถ้าหยุดเมื่อไหร่จะโดนตี หรือ ถ้าลูกสองคนตีกัน เตี่ยก็จะให้ทั้งสองคนตีกันคนละที แรง ๆ ถ้าใครหยุดตี เตี่ยก็จะตีคนนั้น ลูกคนไหนที่ถูกลงโทษด้วยวิธีแบบนี้ จะต้องร้องเป็นเสียงเดียวดันเลยว่า เตี่ยกลัวแล้ว เข็ดแล้ว ทีหลังจะไม่ทำอีกแล้ว ซึ่งก็ไม่มีใครกล้าทำอีกจริง ๆ

    มีอยู่คราวหนึ่ง ลูก ๆ ๒ คน ทะเลาะกันเรื่องแย่งหูหมู เตี่ยก็เลยซื้อหูหมูมาให้ ทั้งสองกินกันทุกวัน ตอนแรก ๆ ก็ดีใจ ได้กินของชอบ กินอยู่ได้สิบกว่าวันก็เบื่อ พอเห็นก็อยากจะอาเจียน แต่ก็ต้องกิน เพราะถ้าไม่กินก็จะถูกตี ในที่สุด ทั้งสองคนก็ต้องรับผิดกับเตี่ยว่า ทีหลังจะไม่ทะเลาะกันอีกเรื่องแย่งของกิน มาจนเดี๋ยวนี้ ทั้งสองคนก็ยังไม่ค่อยอยากจะกินหูหมูอีกเลย

    โดยเหตุที่เราเป็นครอบครัวคนจีน เรื่องขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เตี่ยสอนให้ลูก ๆ รู้จักทำแต่พอควร เอาเท่าที่จะเกิดประโยชน์ อย่าทำฟุ่มเฟือยอย่างตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และไม่ให้ทำด้วยความเชื่อถืองมงาย ไม่มีเหตุผล อย่างเช่น เรื่องฤกษ์ยาม เตี่ยมักจะพูดเสมอ ๆ ว่า “เอาเวลาที่สะดวกที่สุด ถือเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุด” สำหรับประเพณีจีนบางอย่างเตี่ยจะเล่าให้ลูก ๆ ฟังถึงต้อนกำเนิดและความเป็นมาวันนั้น ไม่ใช่เอะอะมะเทิ่งทำตามคนอื่นไป โดยไม่รู้เรื่อง เช่นประเพณีการไหว้พระจันทร์ สาเหตุเกิดจากเมื่อตอนคนจีนจะกู้ชาติ เป็นวันที่นัดจะลงมือทำการ ฉะนั้นถ้าจะไหว้พระจันทร์ก็ให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่เสียสละชีวิตเพื่อชาติ และให้สอนตนเองให้มีความเสียสละเหมือนบรรพบุรุษ แทนที่จะคิดถึงพระจันทร์เฉย ๆ

    สำหรับหลักในการดำเนินชีวิต เตี่ยให้ยึดอยู่ ๒ คำ คือ “สติ” และ “ยุติธรรม” การมีสติคือ ให้รู้ตัว พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดย

    ประการแรก ให้พิจารณาอย่างมีเหตุผล และมีหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ทำอะไรตามอำเภอใจ คิดจะทำก็ทำ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “เท่งแซ เท่งซี้” คือ นึกจะเกิดก็เกิด นึกจะตายก็ตาย ปล่อยจามเรื่องตามราว ไม่มีจุดหมายแน่นอน เหมือนอย่างจะทำเก้าอี้ตัวหนึ่ง ก็ต้องให้รู้ว่า ตัวเรามีน้ำหนักนั่งลงไป มีที่วางมือสองข้างช่วยรับน้ำหนัก มีข้างหลังไว้พิงแบ่งน้ำหนักไปอีก เมื่อนั่งลงไปแล้ว เก้าอี้ตัวไหนแบ่งน้ำหนักได้มากที่สุดละก็เรียกว่า ช่างหัวดีที่สุด สวยหรือไม่สวยอีกเรื่องหนึ่ง เก้าอี้สวย นั่งลงไปแล้วรู้สึกอึด ๆ อัด ๆ ก็ป่วยการ เมื่อแยกแยะได้อย่างละเอียดลอออย่างนี้แล้ว ก็เลือกทำเลือกใช้ในสิ่งที่ตรงกับความต้องการ ก่อประโยชน์ให้เกิดแก่ตนได้มากที่สุด และก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

    ประการมี่สอง ให้พิจารณาอย่าง “รู้เรา รู้เขา” หรือ “เน่งใจ ส่อใจ” ในภาษาแต้จิ๋ว คือ ให้พิจารณาว่า เรารู้เขา หรือ เขารู้เรา เรียกว่ายังตกอยู่ในชั้นปริญญาตรี รู้การเปรียบเทียบอยู่ในชั้นปริญญาโท เรารู้เขา ถึงจะเรียกว่าได้ปริญญาเอก ยกตัวอย่างเช่น ถามว่า รู้จักถ้วยหรือไม่ ถ้าตอบว่ารู้ ถามต่ออีกทีหนึ่งว่า ถ้วยใบนี้ทำมาจากอะไร ทำได้อย่างไร อย่างไหนถึงจะเรียกว่าถ้วยดี ตอบข้อนี้ไม่ได้เรียกว่า ถ้วยรู้จักเรา ไม่ใช่ เรารู้จักถ้วย เรารู้เขานั้น อย่างน้อยที่สุดจะต้องรู้ “ลี้ สื่อ ม้วย” ลี้ หมายความว่า รู้หลักสูตร สื่อ หมายความว่า รู้การงาน เราทำได้ ส่วน ม้วย หมายความว่า รู้วัตถุว่าใช้อย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี เมื่อที่จะทำอะไรก็คิดเสียก่อนให้รู้ตนเองว่า เราทำได้หรือไม่ ให้รู้เขาว่า ทำอย่างไหนถึงจะดีที่สุด ถ้ายังตกอยู่ใน เขารู้เรา ก็ให้เตือนตนเองว่า อย่าหยิ่ง อย่าอวดดี

    ประการที่สาม ให้พิจารณาอย่างรอบคอบ คิดถึงทางหนีทีไล่เอาไว้ก่อน คือคิดว่า ถ้าได้แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเสียแล้วจะทำอะไร ไม่ใช่คิดแต่ทางได้อย่างเดียว เตี่ยใช้คำว่า คิดเผื่อไว้มีก้าวถอยหลัง” ยกตัวอย่างเช่น จะซื้อรถคันหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะใช้แล้วก็ซื้อ ต้องคิดเสียก่อนว่า เวลาขับรถไปชนเขาแล้วจะทำอะไร หรือถ้ารถเสีย จะมีเงินสำรองไว้ซ่อมหรือไม่ และที่สำคัญต้องคิดว่า จะใช้รถให้ได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่ซื้อ รวมทั้งดอกเบี้ยที่จะได้รับ หากว่าเอาเงินนั้นไปฝากธนาคาร ตลอดจนค่าเสื่อมราคา อย่างนี้เป็นต้น คิดอย่างนี้แล้ว ถ้ามีอะไรขัดข้อง ก็ยังถอยหลังมาตั้งหลักใหม่ได้

    สำหรับ “ยุติธรรม” นั้น เมื่อเรามีสติ รู้ผิดชอบชั่วดีแล้วทำอะไรลงไป ก็ให้ยุติธรรมแก่ตนเองและผู้อื่น เตี่ยสอนว่า “ยุติธรรมแล้วไม่ต้องถือศีล” คือ ศีลเปรียบเหมือนกฎหมาย ถ้าคนเราไม่มีทำผิดเลยกฎหมายก็ใช้ไม่ได้ ศีลนั้นเป็นระเบียบตายตัว ใช้สำหรับคนไม่รู้ ผู้รู้แล้วมีความยุติธรรม เท่ากับเป็นต้นขั้วของศีล ไม่จำเป็นจะต้องไปยึดอยู่กับสิ่งตายตัว ซึ่งจะทำให้จิตใจคับแคบ ขาดประโยชน์เท่าที่ควร

    สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เตี่ยมักจะสอนให้ลูกคิดอยู่เสมอว่า คนเราเกิดมา ถ้าเดินทางพระแล้วก็แล้วไป แต่ถ้ายังอยู่ในโลก ก็ต้องก้มหน้าก้มตาเรียนหนังสือ เมื่อทำงานก็ทำให้ดีที่สุด อย่าให้บกพร่อง ให้สมกับที่เกิดมาชาติหนึ่ง ทั้งให้รู้คุณของแผ่นดินที่อยู่อาศัย มิฉะนั้นจะเป็นคนไม่มีค่า เหมือนอย่างคำพูดที่ว่า “ของยิ่งเก่ายิ่งมีราคา คนยิ่งแก่กลับไม่มีราคา” เราเองต้องมีจุดหมายเอาไว้ให้แน่นอน จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสามสิ่ง ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ทีจ่อ นั้งจ่อ จู่จ่อ แปลว่า ฟ้าช่วย คนช่วย ตัวเองช่วย หมายความว่า คนเราจะประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีสามอย่างควบกันถึงจะดีที่สุด คือตัวเองต้องช่วยตัวเองก่อน ประกอบกับเมื่อมีคนอื่นคอยช่วยสนับสนุนและมีโอกาสดี เมื่อที่รู้อย่างนี้แล้ว ทำอะไรก็ต้องพึ่งตนเองก่อน และมีความอดทนที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ อย่าท้อถอยหรือมัวรอให้คนอื่นช่วยหรือคอยโอกาส จะเป็นอย่าง “สถานการณ์สร้างสุภาพบุรุษ” หรือ “สุภาพบุรุษสร้างสถานการณ์”

    สำหรับเรื่องครอบครัว เตี่ยมักพูดเสมอว่า “ความรักเปรียบเหมือนใยแมลงมุมที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เหนียวแน่นจนแม้นเสือเข้าไปติดตัวหนึ่งก็ยังดิ้นไม่หลุดเลย” เมื่อเราแต่งงานมีลูกมีหลาน เรารักลูก เมีย หลานของเรา ความรักก็ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น ๆ รัดเราจนเราดิ้นไม่หลุด โดยเฉพาะกับนักปฏิบัติเป็นเหมือนการก่อเวรผูกพันตนเองไว้ สร้างหนี้สินที่เราจะต้องชดใช้จวบจนเราตายไป ในยามว่าง เตี่ยมักจะท่องโคลงจีนบทหนึ่งให้ลูกฟังอยู่เสมอ แปลเป็นไทยแล้วพอได้ใจความว่า

    ตายแล้วไม่ต้องเศร้า

    ไม่ต้องทำพิธีรีตองใหญ่โต

    แล้วก็กลับมาเกิดเป็นตัวกูอีก

    ไปหาพรรคพวกพี่ ๆ น้อง ๆ ใหม่
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    การปฏิบัติธรรมของเตี่ย

    file-php-id-5904-sid-084c77c14cf6d4b86c49c648317cb0ca-jpg.jpg




    เตี่ยสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ตอนหนุ่ม ๆ โดยได้ออกจากบ้านมาท่องเที่ยวหาความรู้ตามสำนักเต๋า ขงจื๊อ และพุทธ โดยเฉพาะได้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกานลุกจง (นิกายพระวินัย) และนิกายเซี่ยงจง (นิกายฌาน หรือ นิกายเซน) จากพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่าน แห่งนิกายลุกจงและนิกายเซี่ยงจง เตี่ยมีความเลื่อมใสเป็นอย่างมากในคำสอนของท่านเว่ยหล่าง พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๖ แห่งนิกายเซน และได้ใช้คำสอนของท่านเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรมและอบรมสั่งสอนธรรมให้แก่ผู้อื่นเสมอมา

    เมื่อเตี่ยเข้ามาอยู่ในเมืองไทยก็มีความสนใจไปเรียนกัมมัฏฐานตามสำนักต่าง ๆ ในที่สุดก็ต้องมาศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะเมื่อไปถามจากอาจารย์ต่าง ๆ ที่สอนอยู่ ก็ได้คำตอบที่ไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ และรู้สึกว่า อาจารย์ผู้สอนเองก็ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามที่พูด เตี่ยต้องค่อย ๆ คลำหาหนทางปฏิบัติเอาเองไปทีละขั้น ตอนไหนที่รู้สึกว่าผิดทางก็กลับไปเริ่มต้นใหม่ ทำให้เสียเวลาไปมาก เตี่ยได้ลองปฏิบัติกัมมัฏฐานตามวิธีต่าง ๆ เพื่อหาหนทางที่ถูกต้อง ที่จะทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง และหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง (แม้นกระทั่งในภายหลัง เตี่ยได้เรียนอานาปานสติจากหลวงพ่อเชย เตี่ยก็ยังต้องค่อย ๆ คลำไปเอง เพราะหลวงก๋งเพียงแต่บอกวิธีขึ้นต้นให้ และให้เตี่ยไปฝึกเอาเอง เมื่อรู้สึกว่าเตี่ยชักจะปฏิบัติผิดทาง ท่านก็จะเตือน เตี่ยก็ต้องย้อนกลับไปตั้งต้นปฏิบัติใหม่ เพื่อหาหนทางที่ถูกต้อง โดยที่หลวงก๋งจะไม่บอกให้เตี่ยก่อนเลย) ด้วยเหตุนี้ เตี่ยจึงมีความเข้าใจในการปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งทุกขั้นตอน

    ในที่สุด เตี่ยได้เลือกใช้วิธีภาวนา โดยภาวนาคาถา “งานมานีปะมีฮง” คาถาหกคำนี้ เตี่ยบอกว่า หมายถึง อายตนะหก คือเราใช้ภาวนาเพื่อควบคุมอายตนะหก ไม่ให้มีหวั่นไหว กระทบกระเทือน การภาวนาทำให้ใจไม่ฟุ้งซ่าน และมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เตี่ยพยายามฝึกภาวนา ไม่ให้ขาดตอน แรก ๆ รู้สึกว่ายากมาก พอพูดเข้าคำหนึ่ง หรือตักข้าวใส่ปากทีหนึ่งก็ลืมภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่าลืมภาวนา บางทีผ่านไปวันหนึ่งแล้ว เตี่ยเล่าว่า การภาวนาให้มีสติอยู่ตลอดเวลานั้น จะต้องต่อสู้กับใจของเราไม่ให้หวั่นไหวไปตามเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมทั้งอารมณ์และความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่คอยจะชักจูงใจให้ลืมตัว เพลินตามกับสิ่งเหล่านั้นไป เมื่อที่ฝึกอย่างนี้ทำให้รู้เท่าทันอารมณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น อารมณ์โกรธ ตอนแรกโกรธแล้วถึงรู้ตัวว่าโกรธ แต่ก็พยายามต่อต้านมันไว้ ไม่ให้โกรธต่อไป จนวันหนึ่งรู้ขึ้นมาว่า มันเกิดขึ้นมาอย่างไร เวลาเราดีใจอยู่ มันไปซ่อนอยู่ที่ไหน และเมื่อเราโกรธ ที่เราดีใจนั้นหายไปอยู่ไหน ทีนี้พอมีอะไรมากระทบใจช่วงที่มันเหมือน ๆ กับจะเกิด จะเกิดไม่เกิดตอนนั้นรู้ทันทีกับมัน ต่อต้านมันไว้ มันก็ไม่มีอะไรจะให้เราโกรธอีก

    ต่อมาเตี่ยเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า หลับเป็นอย่างไร ทำไมจึงภาวนาได้เฉพาะเวลาตื่น ส่วนเวลาหลับภาวนาไม่ได้ เตี่ยจึงพยายามจะเอาชนะหลับโดยใช้วิธีนอนภาวนา ได้รู้ว่า ที่เราหลับไปเพราะเราขาดสติ สังเกตจากตอนที่เราหลับนั้น เราจะไม่รู้ว่าหลับไปตั้งแต่เมื่อไหร่ และหลับไปได้อย่างไร แรก ๆ เตี่ยก็ขาดสติ แพ้เจ้าตัวหลับ พอฝึกนาน ๆ เข้า ชักรู้ทาง ก็พยายามตั้งสติเกี่ยง จนในที่สุดก็สามารถเอาชนะหลับได้ เตี่ยเล่าว่า ตอนแรก ๆ ใจก็สงบเพราะภาวนาอยู่ พอประเดี๋ยวจะหลับ มันวูบเข้ามา ใจก็ดิ้นไปดิ้นมา พอตั้งสติอยู่ ใจก็สงบ พอครั้งที่สอง มันก็มาอีก ก็เหมือนเดิม ทีนี้พอครั้งสุดท้าย หนักกว่าเดิม ง่วงก็ง่วง แต่ใจก็ยังภาวนาอยู่ พอมันวูบเข้ามา จะเอาให้หลับให้ได้ เราก็ยิ่งภาวนา ใจก็ดิ้นไปดิ้นมาอยู่พักหนึ่ง จนในที่สุด ใจกับกายก็แยกออกจากกัน ใจก็คงภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีดิ้นไปดิ้นมาแล้ว ส่วนกายก็หลับไปตามธรรมชาติ จนรุ่งเช้าตื่นขึ้น ไม่มีเพลียเลย กลับสดชื่นแจ่มใสกว่าเดิมด้วยซ้ำไป อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าชนะหลับ เตี่ยบอกว่า นักปฏิบัติจะต้องผ่านตรงนี้ เกี่ยงให้ชนะหลับให้ได้ แล้วถึงจะรู้ว่า ร่างกายที่เงียบ เงียบด้วยอย่างนี้ จิตใจอารมณ์ที่เงียบแล้ว ก็เงียบอยู่อย่างนี้ ได้รู้ว่า กายเที่ยง ใจเมี่ยงเป็นอย่างไร ต่อไปก็ค่อย ๆ ฝึกเงียบอย่างนี้ ทีหนึ่งให้ได้ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง หรือสองชั่วโมง

    จากนั้นเตี่ยก็ฝึกต่อไป โดยใช้วิธีตามแบบของนิกายเซน ที่ให้พิจารณาว่า “ใครคิด ใครเห็น ใครได้ยิน” เมื่อเข้าที่เงียบอยู่ เตี่ยก็จะพิจารณาว่า เราเองคือใคร ใครนี่ที่รู้ ใครเป็นคนเห็น ใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนภาวนา เตี่ยเล่าว่า ทีแรกพิจารณา ชี้ไปที่หัว ก็เรียกว่าหัว ชี้มือ ชี้ตีน ก็เรียกว่ามือ ว่าตีน ไม่มีชิ้นเล็กชิ้นน้อยตรงไหน ที่เรียกว่า “กูเอง” พอพิจารณาถึงตรงนี้ก็ตกใจ หากูเองต่อไปอีก คิดว่า ใจของกูรู้ ใจของกูเห็น ใจบางครั้งบางคราวยังจะคิดอย่างนั้น คิดอย่างนี้ ใจก็เป็นโกหก ใจก็ยังไม่ใช่ อย่างนี้ วิญญาณของกูเห็น วิญญาณก็อนัตตา ก็ไม่ใช่อีก คิดว่าปัญญาของกูเห็น ปัญญาก็อนัตตา อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่รู้ว่าใครเห็นกับใคร ใครรู้กับใคร เกิดสติคิดขึ้นมา หัดมาตั้งนมตั้งนานอย่างนี้แล้วยังไม่รู้เรื่องเลย ทีนี้ก็เลยหันมาพิจารณาอยู่ตลอดเวลาว่า ใครทำปาท่องโก๋ ใครทำขนมปัง ใครนั่งสมาธิ ใครเข้าที่ พิจารณาอยู่อย่างนี้ ไม่ช้าไม่เร็วได้ ๑๗ ปี เกิดวันหนึ่งกำลังจะนอนเกิดรู้ขึ้นมา รู้สึกเหมือนตัวได้แยกออกจากร่างไปและลอยอยู่ในสุญญากาศ มีความเบาและสงบอย่างบอกไม่ถูก ทำให้มองเห็นว่าโลกเราถูกถ่วงอยู่ด้วยแรงดึงดูดฉันใด มนุษย์เราก็ถูกถ่วงอยู่ด้วยกิเลสฉันนั้น หากปลดเปลื้องตนเองจากความนึกคิดปรุงแต่ง ระหว่างนั้นก็จะได้พบกับหน้าตาดั้งเดิมของเรา ตอนนี้เตี่ยดีใจจนร้องไห้ ยกมือขึ้นไหว้ว่า “สาธุพุทธะ สาธุโพธิสัตว์ สาธุครูบาอาจารย์ สาธุพ่อแม่” เตี่ยบอกว่า ดีใจที่ได้เห็นทาง เรียกว่า เรียนปฏิบัติได้เริ่ม ก. ไก่ ข. ไข่ กับเขาบ้างแล้ว เมื่อลูก ๆถามว่าถึงขั้นนี้แล้วยังไม่เรียกว่าสำเร็จอีกหรือ ทำไมเรียกว่าเพิ่งพบต้นทางเท่านั้น เตี่ยบอกว่าเพิ่งพบต้นทางเพราะเพิ่งพบเครื่องมือที่จะใช้มาล้างผลาญกิเลสให้หมดสิ้นไปเท่านั้น กิเลสหมดเมื่อไหร่ ถึงจะเรียกว่าสำเร็จ

    เมื่อเตี่ยถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงก๋ง ได้เรียนการเล่นลม เตี่ยบอกว่าเป็นวิธีที่ละเอียดลึกซึ้งมาก แต่ผู้ฝึกจะต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างมาก ซึ่งก็มีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวกัน คือใช้มาล้างผลาญกิเลส

    เมื่อเตี่ยบวช ได้ขึ้นไปบำเพ็ญธรรมอยู่บนเขา เพราะไม่คุ้นที่จะอยู่วัดและต้องการที่สงบ ๆ ในการปฏิบัติ สำหรับบทสวดต่าง ๆ ของพระนั้น เตี่ยปรารภว่า น่าจะใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับที่อยู่ในประเทศไทย เพื่อทีคนไทยผังแล้วจะได้รู้และเข้าใจด้วย ไม่อย่างนั้น พระสวดไปก็เท่ากับไม่มีความหมายอะไร นอกจากทำไปตามประเพณีเท่านั้น การจะได้บุญหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่ใจ เมื่อที่ฟังพระสวดแล้วเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติดัดสันดานตนเองได้จึงจะเรียกว่าได้บุญ

    นอกจากนี้เตี่ยยังได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับพระบางรูปที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เอาแต่สะสมทรัพย์ หมกมุ่นอยู่ในทางโลก ละเลยทางธรรม เตี่ยบอกว่า การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติให้พระโกนผมโกนคิ้วทิ้งก็เพื่อให้โกนกิเลสทิ้งไปด้วย ไม่ใช่มาพอกพูนกิเลสให้มากขึ้น ทุกครั้งที่โกนผมโกนคิ้ว ก็ควรจะถามตนเองว่า ได้โกนกิเลสให้เบาบางลงบ้างหรือยัง และการที่ชาวบ้านต้องลำบากในการเอาอาหารและข้าวมาถวายพระนั้น ถ้าพระปฏิบัติไม่ดี ก็เท่ากับกินถ่านไปที่กำลังลุกไหม้ เมื่อออกบิณฑบาต ก็ไม่เรียกว่าออกไปโปรดสัตว์ น่าจะเรียกว่าออกไปขอทานมากกว่า ซึ่งพระเหล่านี้จะต้องชดใช้อาหารที่ชาวบ้านให้ในภายหลัง เตี่ยยังได้เล่านิทานเรื่องหนึ่งเพื่อเป็นคติสอนใจในเรื่องนี้ว่า ในครั้งที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พวกมารก็พากันมาแสดงความร่าเริงยินดีว่า เมื่อสิ้นพระองค์แล้ว ศาสนาของพระองค์ก็จะเสื่อมลง ผู้คนก็จะมาเป็นพวกมารมากขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงบอกกับพวกมารว่า ถึงแม้นพระองค์จะปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังมีพระธรรมที่เป็นเหมือนตัวแทนของพระองค์อยู่และไม่มีวันที่จะสูญสิ้นไปได้ แต่พวกมารกลับแย้งว่า ถ้าพวกมารพากันไปแต่งเครื่องแบบย่างพระพุทธเจ้าแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระองค์ เท่านี้ศาสนาของพระองค์ก็จะเสื่อมลงไปทุกวัน ๆ เมื่อพวกมารกล่าวเช่นนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงนิ่งอึ้ง ไม่สามารถที่จะโต้แย้งได้

    เตี่ยเองก็ยังเคยพูดว่า อีกหน่อยศาสนาพุทธจะไปเจริญทางตะวันตก เพราะชาวตะวันตกจะหันมาศึกษาหลักธรรมในศาสนาพุทธและนำไปปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ส่วนเมืองไทยศาสนาพุทธก็จะเสื่อมลงไปทุกทีเหลือแต่โครง เตี่ยเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้น พระที่เพิ่งบวชก็สามารถสำเร็จโสดาบันได้แล้ว เพราะตามวิธีการที่บวชกันมีอยู่ตอนหนึ่งกล่าวถึงอาการ ๓๒ และกัมมัฏฐาน ๕ ซึ่งกล่าวไว้เผื่อว่าผู้บวชจะมีสติปลงตกว่า นี่ไม่ใช่ตัวกู มีแต่อาการ ๓๒ เมื่อที่เกิดปัญหาเห็นต้นทางอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่าได้โสดามรรค สมัยนี้ส่วนใหญ่บวชกันมะเทิ่ง ๆ ไม่เห็นได้เรื่องเลย นอกจากนี้เตี่ยยังอธิบายอีกว่า ศีลข้อที่หนึ่ง ทำไมจะต้องห้ามฆ่าสัตว์ก่อน เพราะพระพุทธเจ้าท่านเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า มนุษย์มีนิสัยอย่างหนึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อเวลารถชนกัน มีคนตาย ไม่มีอะไรน่าดู ก็ขอให้เข้าไปมองดูหน่อยก็ยังดี เรายังมีชอบดูสัตว์แข่งขันกันบ้าง ฆ่ากัน ต่อสู้กันบ้าง ชอบดูคนต่อสู้กันบ้าง ถ้ารบกัน ตีตั๋วไปดูได้และมีการรับรองความปลอดภัย สงสัยคนจะแห่กันไปดูยิ่งกว่าไปดูหนังกันเสียอีก นิสัยอันนี้เกิดจากเมื่อตอนที่ผู้หญิงกับผู้ชายแต่งง่านกัน ตอนจะมีลูก ไข่ของผู้หญิงต้องผสมกับน้ำอสุจิของผู้ชาย ในน้ำอสุจิของผู้ชาย กว่าที่จะผสมกับไข่ได้ ในนั้นมันก็ไม่รู้ไม่ชี้ ฆ่ากันเองอยู่ ฆ่าแล้วเหลือตัวหนึ่ง ออกมาเป็นคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย คนนั้นเรียกว่าชนะมาแล้วถึงได้เกิด พระพุทธเจ้าท่านเข้าใจข้อนี้ จึงห้ามฆ่าสัตว์ไว้เป็นศีลข้อหนึ่ง

    เมื่อเตี่ยบวช ถึงแม้นว่าเตี่ยจะไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ แต่ก็มีความเข้าใจในหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง ได้นำมาสั่งสอนลูก ๆ และผู้ที่สนใจอย่างละเอียด แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ลูก ๆ ได้ช่วยกันอ้อนวอนขอร้องให้เตี่ยมา เพราเห็นว่าเตี่ยอายุมากแล้ว ไม่อยากให้ลำบากไปอยู่บนเขาคนเดียว

    ก่อนที่เตี่ยจะจากไปไม่นานได้พูดให้ลูก ๆ ฟังว่าเมื่อปฏิบัติมาถึงขั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นภาวะที่ยากที่จะอธิบาย จีนเรียกว่า “ฮุยเสียฮุย ฮุยเสี่ยเทียน” แปลได้ว่า ที่ไม่คิดนั้นก็ยังไม่ใช่สวรรค์ เมื่อนักปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้วจะหยุดอีก ไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ พระพุทธเจ้าถึงกล่าวคำหนึ่งว่า “ญาณขั้นสุดท้าย นักปฏิบัติให้รู้เอง” เตี่ยมาถึงตรงนี้แล้วหยุดอีกเป็นเวลาสิบปีกว่า เพราะไม่มีใครจะบอกได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป สุดท้ายเตี่ยบอกว่า ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ว่า ใครเล่าที่ยังมีอารมณ์อันนี้อยู่ เหมือนอย่างที่เว่ยหล่างพูดคำหนึ่งว่า “เอ้งบ่อส่อจู๋ ยื่อแซขี่ซิม” หมายความว่า เมื่อไม่มียึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวจึงจะบังเกิดใจ เมื่อที่ไม่มีตัวกู อวิชชาก็จะหมด อันนี้แหละจึงจะเปิดประตูเข้าไปได้

    การปฏิบัติธรรมของเตี่ยนี้รวบรวมขึ้นจากคำพูดของเตี่ยที่สอนลูกในเวลาต่าง ๆ นำมาปะติดปะต่อกันโดยไม่พยายามเปลี่ยนคำพูดของเตี่ย เพราะลูก ๆ เองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในธรรมะที่เตี่ยสอนดีนัก เกรงว่าจะทำให้ผิดใจความสำคัญไป ลูก ๆ ไม่ทราบว่าเตี่ยปฏิบัติธรรมได้ถึงเพียงใดแล้ว แต่ก็แน่ใจอยู่อย่างหนึ่งว่า เตี่ยมิได้จากไปอย่างคนธรรมดา สิ่งที่เราท่านทั้งหลายเห็นว่านอนหมดลมหายใจอยู่นั้น เป็นเพียงแต่ร่างกายที่เมื่อหมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ก็กลับคืนไปสู่ดิน น้ำ ลม ไป ตามสภาพเดิมต่อไป
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เตี่ยกับการช่วยเหลือผู้อื่น

    เตี่ยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นด้วยดีเสมอมาโดยไม่เลือกว่าจะเป็นใคร มีทั้งที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาสและมีตั้งแต่รัฐมนตรีลงมาจนกระทั่งคนขับรถแท็กซี่ เตี่ยปฏิบัติกับทุกคนเหมือนกันหมด โดยไม่เคยสนใจจะถามว่าเป็นใคร มีตำแหน่งหน้าที่อะไร นอกจากในการรักษาโรคที่บางครั้งก็จำเป็นที่จะต้องทราบถึงการงานที่ทำว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำเกี่ยวข้องกับวัตถุใดมาบ้าง เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัยสมุกฐานของโรค บางคนได้ให้นามบัตรไว้ ส่วนมากเตี่ยจะไม่รับเพราะไม่รู้จะเอาไปทำไม หรือถ้าเสียมิได้ รับแล้วเตี่ยก็จะส่งให้ลูก ๆ เก็บไว้โดยไม่สนใจจะถามว่าในนั้นเขียนว่าอะไร

    คราวหนึ่ง มีนายตำรวจผู้หนึ่งได้มาขอให้เตี่ยรักษาโรคเบาหวานให้จนหายขาดแล้ว ได้มอบนามบัตรไว้ให้และบอกว่า “หากอาจารย์มีธุระอะไร ขอให้ใช้ผมได้” เตี่ยได้ส่งนามบัตรคืนแล้วบอกว่า “ผมไม่ได้ตั้งบ่อนไพ่ ไม่ได้เป็นเจ้ามือหวยเถื่อน จึงไม่มีเรื่องอะไรต้องพึ่งตำรวจ” เดี๋ยวนี้พวกเราก็ยังไม่รู้เลยว่า นายตำรวจคนนั้นชื่ออะไร

    เตี่ยให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยากลำบากกาย บางวันเตี่ยต้องนั่งทั้งวัน ไม่ได้พักเลย เพราะมีคนมาหาติดต่อกันทั้งวัน บางวันก็ต้องอยู่ถึงเที่ยงคืนกว่าคนที่มาคุยกับเตี่ยจะลากลับไป บางครั้งกำลังทานข้าวอยู่ได้ไม่ถึงครึ่ง มีคนมาหา เตี่ยยังวางตะเกียบและลุกออกไปคุยกับแขก โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่เคยทราบถึงความเหน็ดเหนื่อยของเตี่ยเลย เพราะเตี่ยไม่เคยแสดงออกให้ใครรู้ ถึงแม้นเตี่ยไม่เคยบ่นให้ลูกฟังสักคำ แต่ลูก ๆ ก็รู้ดี และขอร้องเตี่ยอยู่เสมอให้พักเสียบ้าง หรือทานข้าวให้หมดชามก่อน เตี่ยก็บอกให้ลูกเฉย ๆ บอกว่าแค่นี้จะเป็นไร คนที่มาหาเรามีเรื่องเดือดร้อนยิ่งกว่านี้อีก ลูก ๆ ก็ได้แต่ห่วงเตี่ยอยู่ในใจไม่กล้าที่จะไปพูดให้ใครฟัง เพราะกลัวพวกเขาเหล่านั้นจะเข้าใจผิดคิดว่าเราไปไล่หรือไปว่าเขา

    เตี่ยสอนลูก ๆ อยู่เสมอว่า การที่เตี่ยทำอย่างนี้ไม่ใช่เป็นการสร้างสมบุญบารมีอะไรหรอก แต่ทำไปเพราะต้องการทำตนให้เป็นประโยชน์แก่คนทั่วไปเมื่อเราทำได้ เพื่อตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินที่เราได้อาศัยอยู่ และที่สำคัญก็คือต้องการจะดัดสันดานตนเองและทดสอบตนเองว่า เราเองยังงกเงิน งกชื่อเสี่ยงอยู่หรือเปล่า

    คนส่วนมากที่ไปหาเตี่ย มักจะไปขอให้เตี่ยช่วยรักษาโรค เตี่ยรักษาโรคโดยการสอบถามอาการอย่างละเอียด เมื่อวินิจฉัยโรคได้แล้ว ก็จะเขียนตั๋วยาให้ไปซื้อกินเอาเอง เตี่ยไม่เคยเรียกร้องค่ารักษาเลย แต่ก็มีบางรายที่เตี่ยกำหนดค่ารักษาและแกล้งถามว่า รักษาหายแล้วจะให้ค่ารักษาเท่าใด คนที่มารักษาส่วนมากก็จะย้อนถามว่า เตี่ยจะเอาเท่าไหร่ เตี่ยก็จะให้พวกเขาลองคิดดูเอาเองว่า โรคที่เป็นอยู่นั้นเขายอมเสียเท่าไหร่เพื่อให้หาย หรือไม่ก็จะถามว่า ตีค่าชีวิตของตนเองเท่าไหร่ บางคนเตี่ยก็จะถามว่า มีเงินเท่าไหร่บ้าง ได้เงินเดือนเท่าไหร่บ้าง ซึ่งเตี่ยจะบอกก่อนด้วยว่า ยังไม่เอาเงินเดี๋ยวนี้นะ ถ้ารักษาหายแล้วค่อยเอามาให้ ถ้าไม่หายก็ไม่ต้อง ทั้งนี้เพราะเตี่ยต้องการดูใจ และบางทีเตี่ยต้องการรู้กำลังทรัพย์ของคนไข้ว่ามีเงินพอที่จะซื้อยาได้หรือไม่ เพราะยาบางเทียบแพงมาก กว่าจะรักษาหายก็ต้องใช้เงินมาก และบางเทียบอาจใช้ยาทีมีราคาถูกกว่าแทนได้แต่จะหายช้า

    ส่วนมากที่เตี่ยถามจะนิ่งอึ้งไม่กล้าตอบเพราะกลัวเสียเงิน บางรายก็กล้า พูดออกมา สุดท้ายเตี่ยก็จะเล่าถึงเหตุผลให้ฟังว่าทำไมถึงถามเรื่องเงิน บางรายที่เตี่ยกำหนดค่ารักษา พอหายดีแล้วก็เอาเงินมาให้เตี่ย เตี่ยจะส่งคืนแล้วจะถามว่าจดไว้หรือเปล่า ค่ายาที่ซื้อกินไปทั้งหมดจนหาย ซึ่งถ้าจดไว้จะพอดีกับจำนวนเงินที่เตี่ยกำหนด แต่ก็มีหลายรายที่หายแล้ว เงียบหายไปเลย มีคนไข้รายหนึ่งตอบเตี่ยว่าเมื่อหายแล้วจะให้ ๒,๐๐๐ บาท เตี่ยจึงถามว่า พูดเล่นหรือพูดจริง เมื่อชายคนนั้นยืนยันว่าพูดจริง เตี่ยก็เลยบอกว่า ถ้าเช่นนั้นเอาเพียง ๒๐ บาท แล้วเขียนตั๋วยาซึ่งมีราคา ๒๐ บาทให้ไปซื้อ และมีผู้หญิงอีกคนหนึ่งได้มาขอให้เตี่ยรักษาโรคมะเร็ง และบอกว่าถ้าหายจะให้เงินค่ารักษา ๑,๐๐๐ บาท เตี่ยก็ถามว่า ทำงานได้เงินเดือนเท่าใด ใช้จ่ายเท่าไร ผู้หญิงคนนั้นก็ตอบว่า ทำงานได้เดือนละ ๖๐๐ บาท และใช้เดือนละ ๔๐๐ บาท เตี่ยจึงบอกว่าต้องเก็บเงินถึง ๕ เดือนเชียวนะ ขอให้คิดให้ดีอีกที หญิงผู้นั้นก็ตอบว่า ยอมเสียให้เพราะไม่อยากตาย เตี่ยเลยบอกว่า ถ้าเช่นนั้นลดลงมาเหลือ ๕๐๐ บาทก็แล้วกัน หญิงผู้นั้นก็ตอบว่าดี ในที่สุดเตี่ยก็ลดลงมาให้เหลือเพียง ๒๐๐ บาท เมื่อหญิงผู้นั้นรักษาหายแล้วและเอาเงินมาให้ เตี่ยก็ส่งเงินคืน ลูก ๆ เห็นวิธีรักษาโรคของเตี่ยแล้วก็ตลกดี แต่ก็มีความภูมิใจอยู่เสมอมาว่า เราไม่เคยเบียดเบียนเงินใคร

    มีหลายครั้งที่พระและคนที่มารักษาไม่มีเงิน เตี่ยก็ออกเงินค่ายาให้ และบางรายก็ยังให้เงินค่ารถกลับบ้านอีกด้วย มีชาวบ้านหลายคนที่รักษาหายแล้วได้เอาสิ่งของเช่น อ้อย และ ไข่ มาให้เป็นการตอบแทน เตี่ยก็ได้ให้เงินค่าของไป เตี่ยมีตำรายางูอยู่ขนานหนึ่ง สามารถใช้รักษาพิษได้ทุกชนิด ตั้งแต่พิษสุนัขบ้า พิษของงูทุกชนิด พิษของตะขาบ แมลงป่อง ตลอดจนพิษของสัตว์ทะเล ชาวทะเลที่ออกไปจับปลาแล้วถูกพิษของสัตว์ทะเลได้มาให้เตี่ยรักษา เตี่ยก็ใช้ยางูรักษาให้โดยไม่คิดเงิน ชาวทะเลเหล่านั้นพอออกทะเลไปหาปลาทีหนึ่ง ก็เอาปลามาฝากที่บ้าน พวกเราได้กินปลาเกือบทุกชนิด จนเตี่ยต้องขอร้องว่าอย่าเอามาอีกเลย เอาไปขายให้คนอื่นดีกว่า ตอนหลังเตี่ยได้เอายางูมาทำเป็นพระเล็ก ๆ แจกพวกชาวบ้านและพวกชาวทะเลที่มาขอยาให้ติดตัวไว้ เมื่อถูกพิษจะได้เอาออกมาใช้ได้ทันท่วงที เตี่ยยังพูดติดตลกกับลูก ๆ ว่า พระของคนอื่นมีไว้ป้องกันตัว แต่ของเตี่ยมีไว้ป้องกันงู แถมยังใช้กินและทาได้อีกด้วย

    คนไข้หลายรายที่มาให้เตี่ยรักษา มักจะเป็นคนไข้ที่โรงพยาบาลปรือนายแพทย์หมดปัญญาที่จะรักษา เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน โรคหืด และโรคมะเร็ง เป็นต้น มีสุภาพสตรีผู้หนึ่งซึ่งมารักษาโรคเบาหวานจนหายได้บอกเตี่ยว่า สามีเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล และมีลูกสะใภ้เป็นแพทย์ปริญญา แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ จึงต้องมารักษากับเตี่ย บางรายก็ป่วยหนักอยู่โรงพยาบาล ไม่สามารถมาได้เอง เตี่ยก็จะถามอาการอย่างละเอียดจนแน่ใจแล้วถึงเขียนตั๋วยาให้ เตี่ยไม่เคยเดินทางไปรักษาใครที่ไหน และถ้าเอานามบัตรมาเบ่งแล้ว เตี่ยยิ่งไม่ยอมไป เตี่ยบอกว่า ไม่มีข้อผูกพันที่จะรักษาใคร เตี่ยเล่าว่าเท่าที่รักษามามีอยู่ ๒ รายที่ภูมิใจ คือ รายหนึ่งเป็นโรคหัวใจโตและเท้าลีบ อีกรายหนึ่ง อกแหลมออกมาเหมือนอกไก่ น่าสงสารมาก ตอนแรกเตี่ยไม่แน่ใจ แต่ก็พยายามรักษาจนหาย

    เตี่ยบอกว่า การที่ได้รักษาคนไข้ซึ่งมีอาชีพและฐานะต่าง ๆ กัน ทำให้รู้จักนิสัยใจคอของคนขึ้นอีกมาก บางคนก็กลัวจนเกินไป บางคนถึงกับมาขอกับเตี่ยว่า ให้มีอายุยืนออกไปอีกสิบปี เตี่ยก็ตอบว่า “ผมไม่ใช่ยมบาลนี่ จะได้ต่ออายุให้ใครได้” บางคนก็ไม่รู้จักพอ หายจากโรคแล้วก็ยังขอให้เตี่ยช่วยให้ถูกล็อตเตอรี่อีก ครั้งหนึ่งมีภรรยาของผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่ง ได้มาให้เตี่ยรักษามะเร็งในมดลูกให้จนหาย และก็ได้พาน้องสาวมารักษาอีก เมื่อน้องสาวหายแล้วก็พูดกับเตี่ยว่า “ดิฉันยังจนอยู่ ขอให้อาจารย์ช่วยให้ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งสักครั้ง จะได้เอาเงินมาให้อาจารย์” เตี่ยก็ตอบว่า “คุณนายและน้องสาวรอดตายหายจากโรค ไม่ยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งอีก อย่างนี้ยังจะไม่รวยอีกหรือ”

    จากการที่เตี่ยได้ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลต่าง ๆ เตี่ยสอนลูก ๆ เสมอ ๆ ให้พิจารณาเรื่องราวของคนเหล่านี้เป็นบทเรียนในการสอนตนเอง ซึ่งจะเห็นว่า บางคนจะตายอยู่แล้ว ยังห่วงนั่นห่วงนี่ ห่วงทั้งชีวิตตนเอง ห่วงทั้งทรัพย์สินเงินทอง ขาดสติตลอดชีวิตเลย ดู ๆ แล้วก็น่าสงสาร ดังนั้นจะต้องเตือนตนเองให้มีสติอยู่ตลอดเวลา อย่าให้ทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียงเกียรติยศ มามอมเมาเราให้หลงตามกับมันไปได้ ซึ่งกว่าจะรู้สึกตัวอีกทีก็อาจจะเข้าไปอยู่ในโลงเสียแล้ว เตี่ยได้แต่งโคลงจีนไว้บทหนึ่งสำหรับเตือนใจลูก ๆ ซึ่งถอดความมาเป็นภาษาไทยแล้วพอได้ใจความว่า

    ความรักคือการประหาร (เช้งไอ่ปุ้งสี่ลั่วะ)

    ลาภยศคือรากเหง้าของเภทภัย (ปู้กุ่ยสีหัวง้วน)

    ไม้ใกล้ฝั่งค่อยสำนึก (จิ่วบั๊กฮวงหงอชื่อ)

    ได้รู้ต้นทางแท้จริง(จิงเจี่ยเล็กโล่วเท้า)
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ของดีของเตี่ย

    คุณสมพร เทพสิทธา ได้เขียนถึง “ของดีของอาจารย์สู” ไว้ในหนังสือ “อาจารย์ผู้วิเศษ” ซึ่งพิมพ์เป็นที่ระลึกในการทอดกฐินสามัคคีคณะศิษย์อาจารย์สู ณ วัดสิงห์ทองพรหมาวาส อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ตอนหนึ่งมีใจความว่า

    “หากจะมีผู้ถามข้าพเจ้าว่า อาจารย์สูมีของดีอะไร ข้าพเจ้าจึงได้เคารพนับถือท่านมาก ข้าพเจ้าก็ต้องขอตอบว่า ของดีของท่านอาจารย์สูก็คือ คุณธรรมอันสูงซึ่งมีอยู่ในจิตใจของท่าน ข้าพเจ้าไม่มีญาณที่จะทราบว่าอาจารย์สูได้บรรลุคุณธรรมชั้นไหน แต่ก็คิดเอาเองว่า อย่างน้อยท่านคงจะได้คุณธรรมชั้นโสดาบัน ทุกครั้งที่ข้าพเจ้ามาพบท่าน จะเห็นแต่ใบหน้าที่สงบ ยิ้มแย้มของท่าน ไม่เคยเห็นท่านแสดงอาการโกรธใครเลย และท่านไม่เคยแสดงความยินดียินร้าย ไม่ว่าใครจะเอาของมาให้ท่านหรือไม่........”

    นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งในหลาย ๆ สิ่งที่ทำให้พวกเรา ลูก ๆ ทุกคนมีความภาคภูมิใจในตัวเตี่ยอย่างยิ่ง ถึงแม้นลูก ๆ ทุกคนจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่ก็อดที่จะปิติยินดีไม่ได้ เมื่อเห็นว่าผู้อื่นก็มีความเข้าใจและยกย่องคุณธรรมในจิตใจของเตี่ยอย่างนี้ นับตั้งแต่จำความได้ ลูก ๆ ไม่เคยเห็นเตี่ยติดอยู่ในสิ่งของใด ไม่เคยที่จะสะสมวัตถุใด มีแต่จะให้ผู้อื่นอยู่เสมอ โดยไม่เคยที่จะหวังสิ่งตอบแทนเลย

    สำหรับของดีของเตี่ยที่เป็นวัตถุนั้น เตี่ยทำของอยู่ ๒ อย่างคือ ผ้ายันต์ และ ปรอท สำหรับผ้ายันต์ เตี่ยจะทำเมื่อมีคนมาขอและส่งให้เดี๋ยวนั้นเลย ไม่เคยทำเอาไว้ก่อน การทำผ้ายันต์ของเตี่ยนั้นก็ไม่มีพิธีรีตองอะไรทั้งสิ้น คือ เอาผ้าแดงมาขีด ๆ เขียน ๆ พอเสร็จเตี่ยก็จะเพ่งมองอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ส่งให้ผู้ขอ เป็นอันว่าเสร็จพิธี เตี่ยบอกว่าผ้ายันต์นี้ เมื่อทำไปแล้วก็แล้วกัน ไม่ได้ไปสนใจมันว่าจะใช้ได้หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียง วิชา อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเราไม่ได้ไปติดอยู่กับมัน มันก็เข้ามาแปรสภาพใจเราให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เตี่ยเคยพูดให้ลูกฟังว่า เมื่อใจเราเป็นสมาธิ ทำของก็ขลังได้ เหมือนอย่างพวกที่นั่งสมาธิแล้วเกิดอารมณ์ปิติ สุขุม ตอนนั้นถ้าหยิบของใดขึ้นมาก็เป็นเมตตามหานิยมได้ แต่ถ้าไปมีใจติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ใจเราก็จะแปรสภาพไป กลับถูกกิเลสมาย้อมทำให้ถอยหลังไปอีก และบางทีอาจไปก่อเวรเข้าโดยเราไม่รู้ตัว

    ส่วนปรอทนั้น เตี่ยได้วิชามาจากคนแก่คนหนึ่งมาสอนให้เตี่ยทำ และได้บอกเตี่ยว่า วิชานี้ตกถึงเขามาเป็นคนที่ ๓ รวมเวลาที่ค้นคว้ามาทั้งหมดรวม ๖๐ ปีแล้ว และให้เตี่ยมาค้นติดต่อให้สำเร็จสมบูรณ์ วิชาทำปรอทของเตี่ยก็คือ การทำปรอทที่เป็นของเหลว ให้แข็งตัวโดยการล้างพิษของมันออกให้หมด เมื่อมันสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากพิษแล้ว มันก็จะแข็งตัวเอง ซึ่งกว่าจะฆ่าพิษมันหมดได้ก็ยากลำบากและเสียเวลามาก ปรอทที่บริสุทธิ์แล้วนี้ มีคุณสมบัติในการรักษาโรคบางชนิดและดูดพิษได้ รังสีของมันสามารถรักษาโรคมะเร็งในเม็ดเลือดได้

    ของต่าง ๆ ที่เตี่ยทำขึ้นมานี้ เตี่ยสอนเสมอ ๆ ว่าอย่าติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ของขลังเป็นสิ่งให้กำลังใจแก่คนที่ยึดถือมันเท่านั้น ของขลังที่แท้จริงที่จะคอยคุ้มครองเราตลอดเวลาก็คือ “สติ”
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เตี่ยกับลูกศิษย์


    เตี่ยมีลูกศิษย์มากและบันดาลูกศิษย์ทั้งหลายก็ชอบมาคุยกับเตี่ยเป็นประจำเมื่อมีเวลาว่าง เตี่ยผ่านเรื่องต่าง ๆ มามาก ได้รู้ ได้เห็นสิ่งแปลก ๆมาเยอะ ดังนั้น เตี่ยจึงมักมีเรื่องแปลก ๆ มาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นก็มักจะเป็นประโยชน์แก่ตัวลุกศิษย์เอง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เตี่ยเป็นเสมือนขุมความรู้ที่พวกเราจะตักตวงมาใช้กันได้ไม่มีวันหมดสิ้น สิ่งที่เตี่ยสอนให้แต่ละคนมักจะไม่ค่อยซ้ำกัน และจะเหมาะกับหน้าที่การงานของคนนั้น ๆ เตี่ยเป็นคนคุยสนุก ชอบพูดตรง ๆ ง่าย ๆ ไม่อ้อมค้อม และบางครั้งยังสอดแทรกลูกเล่นไว้ในคำพูดอย่างหน้าตาเฉย ทำเอาพวกเรางงไปพักหนึ่งกว่าจะตั้งตัวหัวเราะได้ทัน (ซึ่งเตี่ยก็เว้นช่วงให้ด้วย) เวลาคุยกัน เตี่ยจะเตือนเรื่องต่าง ๆ ที่พึงระวังและสนับสนุนส่งเสริม ในเรื่องที่จะทำให้ลูกศิษย์เจริญรุ่งเรือง ส่วนบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ที่ลูกศิษย์พามาด้วย หรือลูกศิษย์ที่ยังอยู่ในวัยศึกษา เตี่ยมักจะเตือนให้ขยันหมั่นเพียร และสั่งสอนให้ประพฤติดีมีคุณธรรม อย่าเอาตามคนอื่น ตามเพื่อนโดยพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน โดยเฉพาะถ้าใครไว้ผมยาวมาหาเตี่ย (ผู้ชาย) เตี่ยก็จะว่ากล่าวตักเตือนทุกคนไป สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร เตี่ยจะสอนและอธิบายอย่างมีเหตุผล เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อนมาปรึกษา เตี่ยก็จะให้คำแนะนำ ช่วยแก้ปัญหาให้ทุกครั้ง เมื่อใครทำอะไรไม่ถูก เตี่ยก็จะอบรม ว่ากล่าว และชี้หนทางที่ถูกที่ควรให้กลับไปแก้ไข โดยเตี่ยมักพูดเสมอว่า “ผู้ทำผิดนั้น เขาผิดเพราะเขาไม่รู้ เรารู้แล้ว ก็ต้องช่วยสอนให้เขารู้ด้วย ถ้าไปว่าเขาผิด เราก็ผิดด้วยที่ทำให้เขารู้อย่างเราไม่ได้” (ตอนนี้มีกล่าวอยู่ในหนังสือ “สูตรของเว่ยหล่าง” บทที่สองว่าด้วยปรัชญา) ดังนั้น ลูก ๆ ไม่เคยเห็นเตี่ยว่าลูกศิษย์คนใดให้ฟังเลย เตี่ยรักและเอ็นดูลูกศิษย์ทุกคนอย่างมีเมตตาแสมอมา และปฏิบัติตนเช่นญาติผู้ใหญ่ของศิษย์ด้วยการเป็นผู้ให้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกำลังใจ ข้อคิด คำปรึกษา หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ บรรดาลูกศิษย์ของเตี่ยจึงมีความรักและเคารพเตี่ยเสมือนหนึ่งเป็นอาจารย์และญาติผู้ใหญ่ บางคนก็ถือตนเองเป็นเสมือนลูกหลาน โดยใช้คำเรียกว่า “เตี่ย” เหมือนอย่างที่ลูก ๆ เรียก

    ลูกศิษย์บางคนก็รู้จักเตี่ยมานานเป็นเวลาหลายสิบปี เรียกว่าเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะท่านอาจารย์วัดทุ่งสาธิตฯ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เตี่ยตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นเณรอยู่ เตี่ยได้ให้การอบรมสั่งสอนทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมและคุณธรรมต่าง ๆ ด้วยความเมตตาเอ็นดูเป็นอย่างมาก และท่านอาจารย์ก็มีความรักและเคารพเตี่ยเสมือนบิดาและอาจารย์ ท่านปฏิบัติต่อเตี่ยด้วยความกตัญญูกตเวทีโดยแท้ และปฏิบัติต่อพวกเราเสมือนพี่ชายคนโต ลูกศิษย์ก้นกุฏิคนอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นคนไทย คนจีน และแขก ในสาขาอาชีพต่าง ๆ กัน ได้แก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ครูอาจารย์ นักประพันธ์ นักแต่งเพลง นักพูด นักร้อง นายแพทย์ พ่อค้าและชาวไร่ แต่ละคนล้วนแต่รักและเคารพเตี่ยอย่างแท้จริงและดีต่อครอบครัวเราเสมอมา ทั้งช่วยให้คำแนะนำสั่งสอนพวกเราด้วยความรักและเอ็นดูเสมือนลูกหลาน ซึ่งนับว่าเป็นผลมาจากคุณธรรมและเมตตาธรรมของเตี่ยทั้งสิ้น และทำให้พวกเรามีความภาคภูมิใจเสมอมา

    เรื่องของเตี่ยและลูกศิษย์แต่ละคนนั้น ถ้าจะนำมากล่าวก็จะยืดยาวเป็นอันมาก ดังนั้นจะขอกล่าวแต่เพียงบางคนเท่านั้น มีลูกศิษย์ของเตี่ย ๒ คนซึ่งเป็นสามีภรรยา ได้รู้จักเตี่ยมาเป็นเวลา ๓๐ ปี นับว่ามีความใกล้ชิดกับครอบครัวเราเป็นอย่างมาก เป็นผู้ที่ออกแบบ คำนวณและควบคุมการก่อสร้างบ้านซึ่งเราอาศัยอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งยังเป็นผู้ที่ช่วยเตี่ยวางแบบสร้างกุฏิและเจดีย์ของหลวงก๋งบนเขาอีกด้วย คือคุณประเสริฐและคุณบุญเกษ มณีประสิทธิ์ หรือน้าเสริฐและน้าตึ๋งของพวกเรา ซึ่งน้าตึ๋งได้เขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้มารู้จักกับเตี่ยไว้ดังต่อไปนี้ คือ...

     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เรื่องเฉพาะของเตี่ย


    พ.ศ. ๒๔๙๒ เราสองคนไปหาเซียนสู ที่ จ. ชลบุรี ชนิด “เขาไป เราก็ตามเขาไป” ไม่มีธุระ ไม่มีธุระเรื่องทุกข์ร้อนอะไรที่จะไปขอให้เซียนช่วย แต่เราสองคนไปหาเซียนได้ทุกอาทิตย์ ชอบไปมองท่านเฉย ๆ ด้วยเกิดศรัทธา เมื่อเห็นใบหน้าที่อิ่มเอิบยิ้มแย้มตลอดเวลา ไม่มีริ้วรอยว่าเป็นผู้ แพ้ทุกข์ ซึ่งไม่สมสภาพความเป็นอยู่ที่เราเห็น ๆ รู้สึกว่าครอบครัวท่านลำบาก ชอบฟังคำที่ท่านพูดแนะนำ ชี้ทางออกช่วยทุกข์ให้กับบรรดาศิษย์ที่มีทุกข์ไปหา บางคนก็ไปเยี่ยมหาที่คุยให้สบายใจ ทุกคนก็จะได้รับคำสอนด้วย การยกหลักธรรมะมาเป็นข้อให้สติ คิด ทุกข์ของแต่ละคนก็แต่ละแบบ แตกต่างไม่เหมือนกัน การแก้จุดทุกข์ของเซียนมีจุดเด่นอยู่ที่ “สติ” เซียนบอกว่า จะมีทุกข์หนักขนาดไหน ถ้าหากเราใช้สติ คิดถึงที่มาของทุกข์นั้นให้ละเอียดแล้ว เมื่อเห็นจุดที่ทุกข์เราจะหลุดพ้นไม่ยากเลย สำคัญอยู่ที่ใจเรา ถ้าคิดเอาแต่เข้าข้างตัวเองแล้ว ตัวกิเลสมันจะดึงทั้งกายทั้งใจออกนอกลู่นอกทาง

    การไปนั่งฟังเซียนแนะนำ ชี้ทางแก้ทุกข์ให้แก่ศิษย์ กับได้ฟังคำสั่งสอนในข้อธรรมะที่ลึกซึ้ง แจ่มชัด ฟังง่าย เข้าใจง่าย เราแปลกใจว่า ท่านเป็นคนจีน พูดไทยยังไม่ค่อยชัดแต่ทำไมจึงปราดเปรื่องในหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทะเจ้านัก ยิ่งนานเดือนก็ยิ่งมีความนิยมเลื่อมใสนับถือท่านยิ่งขึ้น แน่ในทางอิทธิฤทธิ์สามารถในทางอื่นที่รู้กิติศัพท์มาก่อนจะมารู้จักท่านนี้ เขาว่าเซียนสามารถรู้เหตุการณ์ใน อดีต ปัจจุบัน อนาคตและล่วงรู้จิตคน ทะลุตลอดนั้น เรายังไม่เห็นมีอะไรพิเศษออกมาเลย สองคน เราเป็นคนชอบศึกษาถึงปัญหาทุกข์ของผู้อื่น จึงชอบฟังมากกว่าชอบพูด เมื่อได้ฟังธรรมะบางข้อ เราข้องใจสงสัย ก็นึกตั้งคำถามไว้ในใจ รอจังหวะให้ท่านพูดกับคนอื่นจบก่อน จึงจะถาม แต่เราไม่เคยได้เอ่ยปากถามสักครั้ง ระหว่างท่านพูดกับคนอื่นอยู่นั้น ท่านจะหันมามองยิ้ม ท่านพูดไป ๆ เรากลับแปลกใจที่ท่านพูดวงเข้ามาตอบอธิบายปัญหาที่เราตั้งไว้ในใจรอจะถาม โดยท่านจะกันมาพูดอธิบายให้ฟังอย่างชัดแจ้งทุกกระทงความ แรก ๆ เราไม่เข้าใจท่าน จึงมองข้ามไป ครั้นหลานครั้งบ่อยเข้าที่เราไม่ทันมีโอกาสถาม ท่านตอบก่อนทุกครั้ง จนถึงคิดลองกับเซียนสักทีให้แน่ใจว่าเรื่องบังเอิญ จึงคิดคำถามไว้ในใจอีก ท่านก็ตอบออกมาเองอีก คราวนี้ท่านเจาะจงพูดด้วยตรงเผง เราจึงจับวิธีของเซียนได้ว่า สามารถรู้ใจคนได้ทะลุตลอด ได้พิสูจน์กิติศัพท์ที่ผู้อื่นบอกเล่าได้อย่างหนึ่งแล้ว

    ต่อมาเซียนให้ประเสริฐ มณีประสิทธิ์ นายช่างกรมโยธาธิการ ช่วยออกแบบตึกที่จะสร้างไว้รูปหล่อหลวงก๋ง ประเสริฐรับปากมาก็เป็นผู้ออกแบบสเก็ตช์ แล้วก็เอามาให้ บุญเกษ มณีประสิทธิ์เขียนตามแปลน แล้วนำไปให้เซียนดูให้ชอบใจก่อนจึงจะนำมาพิมพ์เขียว ประเสริฐส่งให้เซียนดู ท่านรับไปดูแล้วถามว่า “ใครเขียนแบบนี้” เรารีบชิงตอบว่า “ประเสริฐเขียน” ไม่ใช่เราต้องการลองดีอย่างเดียว จริงใจก็ต้องการเอาดีให้ประเสริฐด้วย เซียนเพ่งมองแบบแล้วส่ายหน้า เอาแบบวางลงกับพื้นตรงหน้า เอาฝ่ามือแบคว่ำทับไว้ แล้วมองหลังมือตัวเองหัวเราะชอบใจ บอกว่า “นี่ไม่ใช่ประเสริฐเขียนนา คุณเป็นคนเขียนต่างหาก” และชี้มือมาที่เรา เรานั่งตะลึงอึ้งงงอยู่ว่า ตั้งแต่เข้ามารู้จักเซียน เราไม่เคยให้เซียนรู้จักเราเลยว่า เรารับราชการเป็นช่างเขียนออกแบบแปลนอยุ่เทศบาลนครกรุงเทพ ทั้งตัวเราก็พูดเองว่า ประเสริฐเขียน ท่านแสดงให้เห็นประจักษ์กับตัวเราตรง ๆ ว่า ท่านสามารถรู้ อดีต คือเราใช้เวลาเขียนแบบผ่านมาแล้ว กับรู้ ปัจจุบัน คือเดี๋ยวนี้เราพูดเท็จกับท่าน แล้วอนาคตล่ะ ท่านจะรู้หรือไม่ ท่านพิจารณาดูแบบแล้วบ่นว่า หลวงพ่อให้เงินไว้ ๕๐๐.๐๐ บาท ให้สร้างตึกนี้ ไม่รู้ว่าหลวงพ่อจะทำได้อย่างไร ถามทีไรก็บอกให้ทำไป - ทำไป

    วันหนึ่งเราสองคนไปหาแต่เช้า แขกยังไม่มี เซียนก็บอกว่า “เอาละนะ วันนี้จะลงมือปลูกตึกสักที ลองดู จะเสร็จไหม” แล้วเซียนก็ฉวยจอบ แบกเดินนำหน้าออกมาที่ลานข้างบ้านเดิม มองซ้าย มองขวา เอาจอบสับ ๆ ที่ดิน ๒ – ๓ ครั้ง “มา สองคนมาช่วยกันเล็งดูเสาหน่อย” เราก็เดินตามไป ไม่เห็นเสาอะไรสักต้น แล้วก็กลับเข้าบ้าน บอกว่า “เงินหลวงพ่อ ๕๐๐.๐๐ บาทปลูกขึ้นมาเสร็จแล้ว” วันนี้เซียนได้ให้ผ้าจีวรหลวงก๋ง กว้าง ๖” ยาว ๙” คนละผืน จากนั้นเซียนก็ให้ประเสริฐคิดรายการคำนวณรายการวัสดุก่อสร้าง แปลกจากวันนั้น การดำเนินงานก่อสร้างสำเร็จลงอย่างรวดเร็ว กลับมีผู้ศรัทธามาร่วมกันก่อสร้างเพิ่มเป็น ๓ หลัง ที่อยู่ปัจจุบันนี้ นี่คือข้อพิสูจน์ได้ว่า เซียนสามารถรู้ถึงอนาคตว่า การก่อสร้างนี้ต้องสำเร็จแน่นอน

    พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเสริฐต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในจังหวัดอุบลราชธานี นายช่างโยธาควบคุมการตัดและสร้างถนน ในโครงการช่วยเหลือความอดอยากภาคอีสาน ไปบอกลาเซียน เซียนได้ให้ผ้าตะเข็บสังฆาฏิของหลวงก๋ง ยางประมาณ ๒๔” กับเรา บอกว่า “ไม่จำเป็น ไม่ให้เอาออกมาใช้ ต้องเข้าที่คับขันหรือจำเป็นจริง ๆ ค่อยเอาออกมาใช้ โดยให้เอาฝ้านี้ออกโบก ๆ จะเอายังไงก็ตั้งใจคิดไว้ และยังมีอีกอย่างหนึ่ง เซียนกำไว้ในมือไม่ให้เห็น เราสองคนนั่งอยู่ด้วยกัน เซียนก็กำมือคว่ำยื่นออกมาด้วยท่าทางที่ไม่เจาะจง ประเสริฐยื่นมือไปแบรับ ส่วนเราด้วยความเคารพเกรองใจ ไม่กล้ายื่นมือไปแบรับใกล้ๆ จึงรีบหดมือกลับ เพราะเห็นว่าประเสริฐควรจะได้ เซียนหดมือหนี ล้อ ๆ ประเสริฐ หัวเราะเสียงดัง พูดว่า “อั๊วให้เมีย ผัวจะมาเอา” เมื่อเรารับมาก็เห็นเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาสีแดง เลี่ยมนาคเรียบร้อย ท่านบอกว่า “ธรรมดา พระหรือของขลังที่กันปืน ถ้าคนรู้เขาจะใช้เอาปืนลอดใต้หว่างขายิง ของเหนียว ของขลังจะถูกคัดออกหมด แต่พระองค์นี้ ต่อให้มันเอาปืนลอดหว่างขายิง เราก็โก่งตูดให้มันยิง รับรองยิงไม่เข้า” ระหว่างที่คุยกันนั้น มีแต่เราสามคน เซียนจึงลุกขึ้นทำท่าก้มโก้งโค้งยิงปืนลอดใต้หว่างขาให้ดู หัวเราะชอบใจ

    การไปทำงานที่อุบลฯ นี้ ได้จับกลโกงของคนงานที่เป็นคนเชื้อสายส่วย คือคนอีสานก็ไม่ใช่ เป็นเขมรก็ไม่เชิง มีนิสัยไม่ค่อยซื่อตรง พาล และชอบเล่นของทางกระทำ เลี้ยงผี เมื่อเราจับได้ก็มีความอาฆาต จะลอบทำร้าย จะทำของมาเข้า แต่เราทั้งสองคนไม่เคยสนใจ มันก็ยังคอยหาเรื่องอยู่เสมอ เมื่อเข้ากรุงเทพ เยี่ยมบ้าน ก็เลยไปเยี่ยมเซียนด้วย ก็เล่าให้เซียนฟัง เซียนโมโห เรามองดูแล้ว มีความรู้สึกซึ้งใจ เหมือนพ่อที่รักลูก ไม่ยอมให้ใครรังแกง่าย ๆ เรียกเราไปนั่งตรงหน้า ให้เราแบมือขวาไปตรงหน้า เซียนมองท้องผ้าแล้วกลับจ้องมองที่ฝ่ามือเรา ในระหว่างที่เซียนจ้องมือเรานั้น มีความรู้สึกเหมือนมีปลายดินสอเขียนวนไปมาในฝ่ามือจนรู้สึกจั๊กกระจี้ เสร็จแล้วเซียนบอกว่า คราวนี้ถ้ามันมาหาเรื่องอีก ให้ท้ามันว่า “ให้เอาตะปูมาตอกมือกันคนละ ๓ ที ถ้าตะปูตอกมือเราไม่เข้า ก็ให้มันยอมแพ้ หนีไป อย่ามายุ่งเกี่ยวกับเราอีก โดยเราจะยอมให้มันเป็นฝ่ายตอกเราก่อน ดูซิว่ามันจะกล้าพนัน รับท้าเราไหม และมือนี้ยังใช้ตบหน้าผีได้อีกด้วย” ปรากฏว่ามันไม่รับคำท้า แต่มันก็ออกจากงาน กลับ จ.สุรินทร์บ้านเดิม

    ต่อมาเซียนหันมาตั้งใจทำปรอทอย่างจริงจังทุกอาทิตย์ เราสองคนจึงไปช่วยเซียนบดปรอท พอบดได้ที่ ปั้นได้เป็นก้อนลูกกลม ๆ วางไว้ พอแข็งก็มีศิษย์ไปจากกรุงเทพฯ ไปถึงก็ขอกันไปคนละเม็ด เซียนก็ให้ทุกคนที่ขอ เราสองคนช่วยบดและไปก่อนกลับทีหลังใคร ๆ ได้แต่มองตามศิษย์อื่นเขาได้กันไป เซียนไม่เคยสนใจจะให้เราสองคนเลย เราสองคนได้ตั้งใจมั่นไว้ตั้งแต่เข้ามารู้จักเซียนวันแรกว่า จะไม่เอ่ยปากขออะไรจากเซียนทั้งสิ้น เราก็ไม่ยอมเอ่ยปากขอ ทั้งที่ใจอยากจะได้ยิ่งนัก เซียนเองจะพูดเสมอ สอนไม่ขาดว่า สัจจะ เป็นของขลังคุ้มตัว ทุกสิ่งในโลกนี้ ความจริงย่อมสู่ความจริง อันลักษณะประพฤติเรื่องสัจจะนี้ เป็นนิสัยของเราทั้งสองแต่พื้นดั้งเดิมอยู่แล้ว จึงไม่เป็นการยากที่จะรักษาไว้ให้มั่นสืบไป ศิษย์คนไหนได้ก็ได้ไป เซียนไม่เมตตาก็ตามใจ เราสองคนช่วยเซียนทำอยู่อย่างนั้น และทุกอาทิตย์มักจะได้ยินแต่ศิษย์ที่ได้ปรอทจากเซียนไป วิ่งกลับไปบอกเซียนว่า ปรอทที่เซียนให้นั้นหายไปแล้ว ไม่รู้หายไปไหน เซียนก็ได้แต่หัวเราะ ไม่มีท่าทางจะเสียดายปรอทที่กว่าจะทำขึ้นมาสำเร็จแต่ละเม็ดลำบาก กินแรง กินเวลา แต่กลับเอาไปทำหายง่าย ๆ บางคนขอใหม่อีก ท่านก็ให้กันอีก เราสองคนก็ได้แต่มองหน้ากันเอง นึกหมั่นไส้ที่เขาได้ของดีแล้ว ไม่รู้จักระวังรักษา ยังมีหน้ามาขออีก มีอยู่คนหนึ่งที่จำได้ก็เพราะเจอทีไร ได้ยินขอแต่ปรอท เซียนก็ให้ทุกที คนนี้ ขอ – ให้ – หาย อยู่อย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ๆ ที่ ๔ เซียนบอกว่า ลื้ออย่าเอาไปเลย วาสนาลื้อไม่มี พอแขกกลับหมด เซียนก็เอาปรอท ๓ เม็ดออกมาให้เราสองคนดู แล้วบอกว่า มันไม่ยอมไป มันก็กลับมาตั้งแต่กลางทาง เราจึงเข้าใจ หลงเสียดายของหายเสียเกือบตาย เป็นเรื่องแปลก ธรรมดาตกเย็นมากแล้วจะไม่มีแขก แต่วันนั้นมีแขกไปผิดเวลา ๓ คนและเป็นคนไม่เคยไปหาเลย เราก็มองดูลูกปรอท ๓ เม็ดที่วางอยู่บนโต๊ะที่เซียนนั่ง นึกในใจว่า ทำไมเซียนเก็บเสียก่อน เดี๋ยวก็ถูกขออีก เซียนมองหน้าเราแล้วก็หัวเราะเฉย เหมือนไม่เข้าใจ เมื่อแขก ๓ คนพูดบอกความประสงค์ คุยกันไปเขาก็มองเม็ดปรอทเพราะฉงน ไม่รู้จัก อยู่ ๆ เซียนก็แจกให้เขาไปเลยคนละเม็ด พร้อมกับบอกวิธีใช้ให้เสร็จ เราสองคนแอบหัวเราะ ขำวิธีการของเซียน พอแขกได้ปรอทคนละเม็ด รีบลากลับแน่ว เซียนจึงเล่าให้เราฟังว่า ที่บ้านคนนั้นเขาเป็นมะเร็ง มีคนแนะนำมา เราก็ให้เขาไป เพราะ ๓ คนนี่คือเจ้าของปรอท ๓ เม็ดนี้ ความเดิมจึงกระจ่างว่า คนที่ขอเอาไปทำหายนั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เจ้าปรอทนี่จึงวิ่งกลับมาคอยเจ้าของตัวจริงมารับไป ความลับของปรอทที่หาย ๆ เราทั้งสองต่างปิดปากเงียบ ให้บรรดาศิษย์ได้เสี่ยงวาสนากันไป

    วันหนึ่ง เราสองคนไปถึงแต่เช้าเช่นเคย เห็นเซียนลงนั่งบดปรอทเองอยู่หลังตึกคนเดียวเงียบ ๆ ประเสริฐก็เข้าช่วยบดต่อ ด้วยความชำนาญ ตากะว่า เซียนบดเที่ยวนี้ ปั้นได้พอแค่เม็ดเดียว ธรรมดาจะกะบดแล้วปั้นได้คราวละไม่ต่ำกว่า ๓ – ๔ เม็ด ก็นึกในใจว่า เม็ดนี้เดี๋ยวเจ้าของคงมาและคงเป็นศิษย์ที่ชอบพอเป็นแน่ ดูเซียนตั้งใจทำเม็ดนี้เอง พอทำเสร็จ เซียนก็ส่งให้ประเสริฐ บอกว่า เม็ดนี้ อั๊วให้ลื้อ เราก็ยังไม่ได้อีกตามเคย

    ต่อมา นั่งอยู่บ้าน รู้สึกคิดถึงเซียนมาก ไม่ทราบเป็นอย่างไร ปกติไปเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ นี่วันธรรมดา จึงต้องเดินทางไปชลบุรีคนเดียว ไปทั้งที่ไม่มีธุระอะไร ถึงก็นั่งฟัง นั่งคุยตามเคย อยู่เซียนก็ลุกขึ้นเดินเข้าห้องไปหยิบหินสีดำ ดำสนิทจนออกเขียวเป็นมัน เนื้อละเอียด เกลี้ยงและลื่น ก้อนเท่านิ้ว ใช้ยังไงไม่รู้ ลื้อเอาไปดูเล่น

    อีกครั้งหนึ่งที่เราไปหาคนเดียวในวันธรรมดา เพราะติดขัด เรื่องการใช้สมาธิให้จิตว่าง หลังจากเล่าความเป็นไปและรับการอธิบายแล้วก็ฟังเซียนคุยกับศิษย์อื่น ก็มีการขอ การให้ปรอทกัน เราไปคนเดียว รู้สึกเหงา ๆ ก็เลยปลีกตัวออกไปนั่งห่าง ๆ ระหว่างที่เซียนหยิบปรอทให้คนโน้นคนนี้ไป เราก็มองตามเม็ดปรอทนั้น แล้วก็นึกในใจว่า คนอื่นเขาได้ไปแทบทุกคนแล้ว แม้แต่ประเสริฐก็ได้แล้ว เราก็อยากได้กับเขาบ้าง แต่ก็นึกฮึดขึ้นมาว่า เรื่องที่จะให้ออกปากขอนั้นไม่มีวันขอ จนศิษย์พวกนั้นกลับหมด เซียนก็เดินเข้ามาหัวเราะด้วยใบหน้าที่อิ่มเอิบ แววตาอ่อนด้วยความปราณี แล้วคายปรอทเม็ดที่อมประจำอยู่ในปากออกมาส่งให้ เรารู้ทันทีว่าถึงวาสนาของเราแล้ว เซียนให้พร้อมกับบอกเคล็ดลับในการกุมอำนาจปรอทไม่ให้หนี และไม่ให้ “ใคร” ที่เราไม่เห็นตัวมาขโมยไปได้ ไม่ผิดจากพ่อที่รู้ใจ อ่านใจลูกออก พลั้งปากเรียก “เตี่ย” เป็นคำแรก ปีติจนน้ำตาไหล เตี่ยมองหน้า ยิ้ม แล้วไล่ให้ไปกินข้าว จะได้กลับบ้าน เดี่ยวเข้ากรุงเทพเย็น ทางบ้านจะเป็นห่วง

    งานวางผังวนอุทยานไตรตรึงษ์ จ.กำแพงเพชร ประเสริฐต้องออกไปอยู่ ๔ เดือนกว่า ก็ไปลาเตี่ย ได้กล่าวแล้วว่า เตี่ยรู้อนาคต เห็นอะไรได้ไกล ๆ คงรู้ว่า บริเวณไตรตรึงษ์ อันเป็นเมืองเก่าแก่นี้ ยังมีของโบราณที่คู่กับความอาถรรพ์ต่าง ๆ ที่เรามองด้วยตาเหล่าไม่เห็น และยังมีสัตว์ร้ายจำพวก เสือ ช้าง หมีป่าอยู่ แต่เตี่ยไม่พูดตรง ๆ ถึงสิ่งที่รู้ เมื่อหมดแขก เตี่ยก็สอนว่า ถ้าเราพบหมีจะทำร้ายเรา เราอย่าตกใจวิ่งหนี ให้หันหน้าคอยจ้องดูมันไว้ เวลาหมีมันจะตะครุบเรา มันจะยืนสองตีน ยืดตัวขึ้น และหลับตา ตะปบลงมาที่เรา (ระหว่าที่เตี่ยอธิบายนั้น เตี่ยลุกขึ้นตั้งท่าทำแบบหลบหมีให้ดูด้วย) เราจงคอยจังหวะที่มันหลับตาและตะครุบลงมา หลบฉากไป ออกทางซ้ายทางขวาตามถนัด ไม่ต้องเผ่นไปไกล ๆ เมื่อหมีมันตะครุบผิด มันจะลืมตาขึ้นมาดู และก็จะหันมาตั้งตัวยืนและหลับตาตะครุบใหม่อีก มันจะทำอย่างนี้ ๓ ครั้ง เมื่อครบ ๓ ครั้ง ทำร้ายเราไม่ได้ มันก็จะเลิกทำร้ายเรา แล้วเดินจากไป เสือช้างก็เหมือนกัน สัตว์ในป่าเขามีสัจจะ หากเราถือสัจจะ ในการไม่ทำร้ายมัน งูเท่านั้นให้ระวังให้มาก เพราะงูไม่มีสัจจะ เรื่องสู้หมีนี้ ถ้าจวนตัวก็พอจะกัดฟันสู้ แต่ เสือ ช้าง ถึงมีปืนอยู่ในมือ ยังไม่คิดสู้มัน เตี่ยจึงบอกวิธีหักกิ่งไม้มาขีดลงกับดิน กั้นเขตระหว่างเรากับมัน พร้อมทั้งสอนคาถากำกับการขีดด้วย แต่ถ้าหากเกิดเผชิญหน้ากับเรา หลีกเลี่ยงไม่ทัน ก็ให้ยืนนิ่ง ๆ อยู่หลังเขตที่เราขีดกั้นไว้นั้นและจ้องเพ่งประสานตามัน พร้อมกับใจเราแผ่เมตตาให้มันด้วยความบริสุทธิ์ใจ มันจะหลีกเราไปเอง การนอนในป่าให้ปลอดภัยจากงูและสัตว์ร้าย ก็ให้หักไม้มาขีดกั้น กำกับด้วยคาถาเดียวกันนี้ แต่เมื่อไปจากที่นั้นแล้ว ให้ขีดเปิดเสีย เตี่ยมีมุขตลกว่า ถ้าเอา ดี ดี ที แขวนเอวไปพบช้าง เสือ หรืองู ก็ฉีดเหนือลม มันก็ขี้เกียจ วิ่งหนี ไม่ยอมสู้ แต่จงระวังไว้ให้ดี ทีเราเผลอเขาจะย้อนมาเยี่ยมเราอีก ทั้งหมดสู้เมตตาจากใจเราไม่ได้

    ปรอทให้เอาติดตัวไปด้วย จะกัน “ไข้ปรอทป่า” ได้ ไข้ปรอทป่านี้ ใครเป็นแล้วหายนับว่าบุญมาก ใครไม่รู้ก็นึกว่าเป็นไข้ป่า แต่ไม่ใช่ ให้ดูในรูจมูกกับรูหูคนไข้จะมีเกล็ดปรอทติดที่ขนจมูก ขาว ๆ เหมือนกับเกล็ดน้ำค้าง ถึงขนาดนั้นแล้ว ให้ขุดหลุมฝังศพได้ ถ้าเรามีปรอทของเราติดไป มันจะดูดรับปรอทป่าเข้ามาไว้หมด และปรอทของเราจะกลับมีน้ำหนักเบาขึ้นและดีมากทีเดียว ไม่เชื่อ ก่อนออกป่า ให้ชั่งน้ำหนักปรอทเม็ดของเราไว้ก่อน พอเลิกงานในป่า ถึงบ้านให้ลองเอามาชั่งดูที จะจริงไหม (ได้พิสูจน์แล้ว เป็นความจริงตามคำบอกของเตี่ย – ปรอทของประเสริฐน้ำหนักน้อยลงครึ่งต่อครึ่งจากน้ำหนักเดิมและมีสีขาวใส)

    เดือนเมษายนเวลาเที่ยง อากาศในไตรตรึงษ์ยังเย็น มีหมอกลงสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตร อยู่ขนานกับพื้นดินเป็นสายทางยาว ๆ เตี่ยรีบถามว่า หมอกนั้นไม่มีทั่วไปใช่ไหม ? .......ใช่ พื้นดินตรงที่หมอกลอยประจำนั้นเป็นสีเหลือง ๆ ใช่ไหม ?.....ใช่ เตี่ยดีใจมาก บอกว่าที่นั้นเป็นที่ปรอทลง ปรอทป่านี้สะอาดบริสุทธิ์มาก ถ้าเอามาทำเม็ดมันจะมีฤทธิ์แรงมาก และไม่ต้องเสียเวลาบดนาน แล้วเสนอวิธีดักปรอทน้ำ ให้ประเสริฐไปดักมาให้

    ในบริเวณไตรตรึงษ์ที่ไปทำงานนั้นเป็นเนินดิน สูงเป็นแนวเหมือนกำแพงเมืองเก่าแก่ มีเจดีย์ยอดด้วนและมีปล่องตรงกลาง มองลงไปเบื้องล่างลึก มีแอ่งน้ำขัง ได้ไปนมัสการและคุยกับหลวงพ่อแท่น ที่วัดใกล้ ๆ นั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านมีอายุ ๑๐๐ ปีเศษ ท่านบอกว่า ในแอ่งน้ำก้นปล่องนั้น วันดีคืนดีจะมีเป็ดทองคู่หนึ่งออกมาไซ้หากินอยู่ก้นบ่อนั้น ชาวบ้านจะพากันไปชมเป็นขวัญตา ท่านเคยนำลูกศิษย์ลงไปดูในปล่องเจดีย์นั้น มีเป็นเหมือนเหลือบอุโมงค์เข้าไป ถ้ามองทางตรงจากข้างบนจะไม่เห็นอุโมงค์นี้ ในอุโมงค์ยังมีชุดเสื้อผ้าและดาบนักรบโบราณวางอยู่เป็นซาก เปื่อยจนแตะต้องไม่ได้ ระหว่างที่ประเสริฐเล่า เตี่ยเพ่งมองขึ้นไปบนท้องฟ้า นิ่ง หูก็ฟัง พอเล่าจบ เตี่ยก็บอกว่า พระเขาไม่โกหก แต่ยังมีอะไรต่ออะไรอีกเยอะ ต่อให้ใครเก่ง วิเศษยังไงก็ไปเอาของพวกนั้นไม่ได้ มันจะสูญทันที อาเสริฐ ลื้ออยากได้ไหม ?......ไม่อยาก......ลื้ออยากเห็นไหม.....อยากเห็นเป็นขวัญตา .......อั๊วบอกวิธีให้ แต่ต้องสัญญาว่า เมื่อลื้อใช้ดูอะไรที่ไหนอีก ลื้ออย่าลืมปิดเขาอย่างเก่า ถ้าลื้อลืมปิด ก็เป็นอันตรายกับลื้อนา......ไม่ลืมครับ เตี่ย เตี่ยสอนคาถาให้ ทั้งบทเปิด บทปิด

    ยังมีอีกอย่าง ที่นั้น จอมปลวกสูงใหญ่ เดินผ่านด้านหนึ่ง จะมีเสียงไก่ป่าร้องและเสียงคุ้ยหากินอยู่อีกด้านหนึ่ง แต่พอเดินไปทางเสียงไก่นั้น ก็จะกลับไปมีเสียงทางด้านที่เราเดินจากไปเมื่อครู่ เราเดินอ้อมดักกันอยู่อย่างนั้นรอบ ๆ จนถึงขนาดวิ่งอ้อมดัก ก็ยังมีแต่เสียงล่อเราอยู่อย่างนั้น จอมปลวกนี้ ตามปากชาวบ้านเล่าว่า ได้เอาชีวิตเด็กไปแล้วและกำลังนอนกินเป็นปี อยู่ข้างบ้านกำนัน ประเสริฐไปเยี่ยมและรู้มาว่า เดิมคนป่วยมีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรง อยู่ในวัย ๒๐ ปีเศษ แต่สภาพที่เห็นปัจจุบัน เขามีแขนขาลีบ เดินไม่ได้ ผอมซีดเหลือง แต่กินจุ นอนป่วยลุกไม่ขึ้นมาเป็นปี ในดวงตาไม่มีแวว ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง ก่อนป่วย เขาเดินผ่านจอมปลวกนั้น แล้วเอามีดถางหญ้าที่ถือติดมา ไปเฉาะจอมปลวกเล่น ทีเดียว พอก้าวพ้นจอมปลวกไปได้ ๓ - ๔ ก้าวก็ล้ม ต้องหามเข้าบ้าน จากนั้นก็ไม่ลุกขึ้นอีกเลย เตี่ยสนใจมาก แต่มีท่าทางคล้ายฉิว ๆ แทนคนไข้นั้น ปุบปับก็ลุกขึ้นเดินออกไปทางหน้าบ้าน ข้ามไปที่เขตวัดหน้าบ้านเดิม ตรงนั้นมีกอไผ่อยู่กอใหญ่ เข้าไปใต้กอไผ่ มองซ้ายขวาหาทิศทาง แล้วหักแขนงไผ่มาอันหนึ่ง ออกมายืนกลางแจ้ง สองมือถือเรียวไผ่นั้นเหมือนพระจับคัมภีร์เทศน์ เงยหน้าขึ้นจ้องดองอาทิตย์ที่กำลังแผดแสงร้อนจ้า จ้องอยู่เต็มอึดใจ แล้วก็ก้มลงจ้องเรียวไผ่ในมือ เราดูนาฬิกาเป็นเวลา ๑๒.๐๙ น. เตี่ยถือไม้เดินมาส่งให้ประเสริฐแล้วสั่งว่า กลับไปเที่ยวนี้ ลองเอาไม้เรียวนี่ไปเยี่ยมเขาหน่อย ลองดูที เวลาเอาไป เอาซุกไว้ในอกเสื้อ อย่าให้ใครเห็น ดูซิว่ามันจะคุยกับลื้อยังไง ไม้เรียวอันนี้ ลื้อเก็บไว้ให้ดี เวลาโกรธคน อย่าเอาไปตีเขา เขาจะเสียแขนเสียขา ไอ้ผีที่ไหนมันเกเร ก็เอาไปตีมัน ต่อไปลื้อเป็นหมอไม้เรียวละสนุกกันใหญ่ ประเสริฐพกเอาไม้อาญาสิทธิ์ของเตี่ยไปตามแผนที่เตี่ยสอน พอก้าวไม่ทันสุดขั้นบันได คนไข้คนนั้นหมดลมตายไปเลย ศพที่ตายไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ใบหน้า จมูก ปาก ทรุดแห้งเหมือนไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงมาเป็นปี ๆ ประเสริฐตกใจคิดว่าไปทำเขาตาย แต่หมอผีในหมู่บ้านที่รักษากันมาก่อนบอกว่า เขารู้ว่า ไอ้นี่ตายมาแล้วเกือบปี แต่ผีจอมปลวกแฝงกินอยู่ เขาไม่มีทางสู้ก็ต้องปล่อย

    เมื่อพูดถึงเรื่องผี ๆ สาง ๆ เราเองไม่เคยเชื่อ เพราะแต่เด็กแต่เล็กมาไม่เคยคิดกลัวผี แต่ฟังผู้อื่นเล่าแล้วพิลึกพิลั่น แม้แต่เตี่ยเอง ก็ได้เล่าถึงความเกี่ยวข้องกับผีมาว่า เตี่ยเคยพบและคุยกับเปรต ตัวมันสูงมาก ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ผ้ากี่พับจึงจะตัดชุดให้เขาใส่ได้ แต่ปากมันมีรูนิดเดียว จนไม่รู้ว่าน้ำหนึ่งหยดจะหยอดเข้าปากไหม เตี่ยเคยไปดูผีเข้าชาวบ้าน มันถือดาบไล่ฟันคน เตี่ยเดินเข้าไปหา ผีก็เงื้อดาบจ้องสูงขึ้น ๆ พอเตี่ยเดินถึงตัว ผีก็เงื้อดาบจนหงายหลัง ผีหนีเตี่ย มีผีเกาะอยู่ที่หูคนที่มาหาเตี่ย มันเกาะติดมา พอนั่ง เตี่ยตบผีที่เกาะอยู่ที่หูคนนั้นฉาดเบ้อเร่อ เจ้าของหูไม่รู้ตัว เพราะเขานั่งซึม ๆ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเตี่ยตบผีหนีไปแล้ว คุยกันถึงเรื่องผี เตี่ยก็บอกวิธีทำน้ำมนต์ไล่ผีให้ บอกให้เอาดอกกุญแจที่มีรูตรงกลางมาแช่น้ำ ว่าคาถา ๔ คำ เราฟังแล้วไม่น่าเชื่อ

    เมื่อมีผีมาเช้าชาวบ้านมาใกล้บ้านเราแล้ว เฝ้ามองดุหมอผีหลายคนเขาไปตามมารักษาก็ว่าแพ้ มันอาละวาดหมอผีทิ้งไปหมด เราก็อยากดุ อยากลองของจริงสักทีด้วยตัวเอง ไม่เคยเห็น ไม่เคยเชื่อ จึงเอาไม้เรียวไผ่ของเตี่ยซุกแอบไปในเสื้อ ไม่กล้าให้ใครรู้เห็น เดี๋ยวเขาจะหาว่าสติไม่ดี อยากดัง และอายเขา แต่อยากลองด้วยตัวเอง ก็ไปเยี่ยมไข้เพื่อนบ้าน ระหว่างที่ผีกำลังแสดงอะไรต่อมิอะไรอยู่นั้น เราก็ขึ้นบนบ้านเขา แต่คนที่ถูกผีเข้านั้น ลงนอนด้วยกิริยาที่เรียบร้อย แถมนอนหันหลังให้เงียบ เราก็นั่งคุยกับเจ้าของไข้เป็นเวลานานมาก คนผีเข้านอนนิ่ง เราใจชักไม่ดี กลัวเขาตายอย่างรายทีประเสริฐไปเยี่ยมที่ไตรตรึงษ์ เงียบจนเจ้าของไข้เข้าไปเขย่าตัวดู ปรากฏว่า ทำท่างัวเงียเหมือนคนเพิ่งตื่นนอน ลุกขึ้นยกมือไหว้เรา ทักทายอย่างคนที่รู้จักกันธรรมดา ๆ เราเองก็ยังไม่รู้เลยว่า อะไรมันเป็นอะไร จนทุกวันนี้ก็ยังไม่เชื่อเรื่องผี เพราะยังไม่เคยพบกันเลย

    เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๔ ประเสริฐไป จ.สิงห์บุรี เวนคืนที่ดินทำเขื่อนหน้าจังหวัดที่บ้านจึงอยู่กันสองคนแม่ลูก มีคนพาลมาเช่าอยู่ข้างบ้าน เห็นเราอยู่กันสองคนเป็นผู้หญิง มันแกล้งปีนรั้วเข้ามาเด็ดหักกล้วยไม้ทั้งต้นทั้งดอกเกือบ ๕๐ กระถาง เราแอบเอาปืนจ่อมันเพียงระยะ ๔ เมตร ไม่พลาด แต่ใจร่ำร้องเถียงกันว่า “นี่กิเลสใช่หรือไม่” “สติคุมกิเลสได้หรือไม่” เช้าเดินทางไปหาเตี่ย เล่าเหตุการณ์ให้ฟังทั้งหมด ตั้งแต่วันแรกที่รู้จักเตี่ยมา และได้ใกล้ชิด ไม่เคยเห็นเตี่ยโกรธใคร แต่วันนั้นเตี่ยมีกิริยาสีหน้าโกรธมาก ลุกขึ้นเดินมือไขว้หลังพูดว่า “มันรังแกกันมากไป อย่าให้มันอยู่” เตี่ยเอาผ้าแดงมาเขียนยันต์ภาษาจีน แล้วเอาฝ่ามือวางแบ กดทับบนผ้า เพ่งหลังมือตัวเองสักครู่แล้วส่งให้ บอกว่า “ไปถึงบ้าน ยังไม่ต้องเข้าในบ้าน เอาผ้านี้เผากลางแจ้ง” แล้วเตี่ยบอกให้ไปกินข้าวแล้วไล่กลับ ถึงบ่าย เผาผ้าแดง ตกกลางคืน เสียงมันช่วยกันเลื่อนโต๊ะเก็บของกัน ปรากฏว่ามันขนของย้ายบ้านไปแต่เช้า แถมก่อนไป มันออกมายืนพูดดัง ๆ ว่า ใครจะอยู่ได้ กลางคืนมายืนจ้อง ยังกะตาแม่มด เรานึกขำว่า เตี่ยคงทำตลกอีกแล้ว

    วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๐๔ ที่สิงห์บุรี เอามวยปล้ำหญิงไปฉาย ชอบดู พอเดินเลยหน้าเทศบาลไปทางโรงเรียน ทางนั้นค่อนข้างมืด เมื่อเราเหยียบลงไป รู้สึกว่ามีอะไรนิ่ม ๆ มาตระหวัดและเจ็บแปล๊บที่ใกล้ตาตุ่มด้านนอก ก้มลงดูและรู้สึกปวดหนึบ ประเสริฐตกใจมากเข้าปีกพยุงจะไปโรงพยาบาล เรื่องสุขศาลานั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะเราสองคนถูกจัดให้พักที่เรือนคนไข้ แต่อยู่ห้องหมอเวร จึงรู้ว่าไม่มีใครอยู่เลย และที่โรงพยาบาลก็คงเช่นกัน วันปีใหม่เขาไปเที่ยวกันทั้งเมือง ใครจะอยู่ จึงขอให้ประเสริฐพยุงกลับที่พัก ด้วยความเชื่อมั่น จึงแกะเอาจีวรหลวงก๋งออกจากกรอบที่แขวนคอ วางคลุมไว้บนศีรษะ เอาปรอทที่เตี่ยคายให้ กดไว้ที่แผล แล้วลงนั่งสมาธิ ขอร้องประเสริฐให้เชื่อมั่น ไม่ต้องกระวนกระวายไปตามหมอ เพียงให้นั่งเป็นเพื่อนอยู่เฉย ๆ ในช่วงไหนที่สมาธิไม่นิ่ง พิษความปวดก็วิ่งขึ้นสูง บางครั้งก็เลยเข่า เพียรสะกดให้อยู่เพียงหน้าแข้ง นั่งเอาเม็ดปรอทกดแผล ทำสมาธิอยู่จนใกล้สว่าง ล้มตัวลงนอนได้ เห็นแสงตะวันอีกครั้ง เพราะบารมีหลวงก๋งกับเตี่ยแท้ ๆ

    เมื่อกลับกรุงเทพก็รีบสุมปรอทตามวิธีที่เตี่ยสอนไว้ว่า ถ้าใช้ปรอทนี้ไปดูดพิษอะไรแล้ว ให้นำมาสุมไล่พิษออก หรือเมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็สุมให้สะอาดเสียที เพราะปรอทนี้เป็นที่รับพิษต่าง ๆ จากตัวเรา และการสุมปรอทแต่ละครั้ง เตี่ยจะสอนวิธีคุมปรอทไม่ให้ “ใคร” ที่เราไม่เห็นตัว มาขโมยหรือปรอทหนี การสุมปรอทไล่พิษครั้งนี้เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมากที่ เมื่อสุมพอแก่เวลาแล้วก็เอาออกมา ก็เห็นว่า เม็ดปรอทกลม ๆ นั้น มีบางส่วนที่ละลายหายไป และที่เหลืออยู่มีรูปร่างเป็น “หัวงู” แค่คอต่อม อ้าปากมีเขี้ยวเล็กแหลมทั้งสองข้างปาก เหมือนจับเอามาปั้น เราไม่กล้าใช้อีก รีบเอาไปให้เตี่ยดู และเล่าเหตุการณ์เมื่อตอนถูกงูกัดให้เตี่ยฟังโดยละเอียด เตี่ยหัวเราะชอบใจตามเคย เตี่ยเอาปรอทหัวงูไปเข้าที่สุมอีกจนละลาย และเอาของเตี่ยเติมลงไปอีก ๑ เม็ด ละลายเทลงเบ้าทำแหวน บอกให้เรานั่งคอยอยู่ใกล้ ๆ จะได้ลองสวมดูความพอดี พอเตี่ยแคะออกจากเบ้าก็ส่งมาให้ลอง ก็ลองกันทั้งร้อน ๆ สุมกันไปแต่งกันไปจนได้ที่ เตี่ยส่งให้แล้วถามว่า ถ้ามีใครเอาแหวนเพชรมาแลกวงนี้กับอาตึ๋ง ลื้อจะแลกกับเขาไหม จะอยู่กับนิ้วตึ๋งไปจนตายไปกับตัวน่ะ เตี่ย เตี่ยยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ บอกว่าเรื่องงูหรือสัตว์มีพิษ ไม่ต้องกลัวมัน แหวนนี้มันกินพิษจนอิ่มแล้ว

    นานปีต่อมา ความจำของเตี่ยดีเลิศ วันหนึ่งนั่ง ๆ อยู่ก็เดินเข้าห้อง หยิบปรอทมา ๑ เม็ด หินแร่ ๑ ก้อนมาถือไว้ในมือ บอกว่า วันนี้อั๊วจะให้ของดี อาเสริฐกับอาตึ๋ง เอ้า อาตึ๋งเอาปรอทไป เราเกรงใจก็บอกว่า ของตึ๋งมีแหวนอยู่แล้ว เตี่ยกลับบอกว่า แหวนมันกินพิษเขี้ยวงา ปรอทเม็ดนี้อั๊วทำจากปรอทป่าที่ได้มายาก ลื๊อเก็บไว้ แร่นี่ให้อาเสริฐ ไม่รู้ทำอะไรได้ ของหลวงพ่อเขาให้ มันงอกได้ แต่ก่อนเห็นมันมีนิดเดียว เดี๋ยวนี้มันโตขึ้น

    เตี่ยทำผ้ายันต์แดงไว้ให้ ๔ ผืน ให้เราประจำตัว ๓ ผืน อีกผืนหนึ่งให้ใส่ไว้ในรถ วิถีญาณของเตี่ยสุงและแรงมาก วันเช็งเม้งปีหนึ่ง เราสองคนไปค้างและขึ้นเขาไหว้หลวงก๋ง กลับลงมา แขกมากันมาก เราสองคนก็ขับรถหลบไปเช่าเก้าอี้ผ้าใบนอนที่หาดบางแสน เย็นแวะลาเตี่ยปล้วจะกลับเข้ากรุงเทพ ระหว่างขับรถกลับมา เลยปากทางอ่างศิลา มีเด็ก ๓ คนพี่น้อง พี่คนโตอายุประมาณสิบกว่าขวบ อุ้มน้องเล็ก มือหนึ่งจับจูงน้องคนที่สองไว้ ยืนรอเตรียมตัวจะข้ามถนน เราเห็นแต่ไกล ก็ชะลอรถให้ช้าลง เกรองเด็กจะวิ่งตัดหน้าข้ามถนน จนจวนจะถึงก็ไม่ช้าม แล้วจู่ ๆ เด็กน้องคนที่ ๒ อายุประมาณ ๖ – ๗ ขวบ สะบัดมือหลุดจากมือพี่ที่จูงอยู่ วิ่งออกมาในถนน พอดีกับรถของเราวิ่งไปถึงตรงนั้น ถึงแม้จะเบรกจนเบาอย่างไร ระหว่างเด็กกับรถ ต้องวิ่งเข้าหา ชนกันอย่างแน่นอน ไม่มีทางหลีกเลี่ยงสภาพอันนี้ได้ แต่การณ์กลับปรากฏเห็นว่า ร่างของเด็กที่วิ่งถลันซุนมาข้างหน้านั้น กลับมีกิริยาอาการเหมือนถูกอะไรกระชากบ่าเด็กจนหงายกลับเข้าไปริมถนน ล้มลงค่อย ๆ ในริมทาง เด็กไม่ร้องไห้ อาจล้มไม่เจ็บ หรือมัวตกใจอยู่ เราสองคนแม้อยู่ในสติที่เตรียมตัวพร้อม แต่ความฉับพลันที่เป็นอย่างนั้น ทำให้มือไม้แขนขาสั่น พอแวะเข้าบ้านเตี่ยเพื่อจะลา เตี่ยยังนั่งคุยอยู่กับแขกหลายคนข้างบนตึก พอเราสองคนก้าวโผล่พ้นบันไดไม่ถึงครึ่งตัว เตี่ยหันมาเห็นเข้า ก็พูดขึ้นเปรย ๆ ว่า เมื่อกี้นี้ ได้ช่วยชีวิตเด็กไว้คนหนึ่ง มันจะถูกรถชนอยู่แล้ว เราขนลุกเกรียว เข้าไปกราบที่เข่าเตี่ย ตื้นตันใจที่เตี่ยมีความห่วงใยคอยสอดส่องดุแลเหมือนพ่อที่แท้จริงพึงมีแก่ลูก เราสองคนรู้ว่า เด็กรอดชีวิต เรารอดความทุกข์เดือดร้อนเพราะชนเด็กตาย ทั้งสองฝ่ายรอดมาเพราะเตี่ยแท้ ๆ

    ในคืนที่ค้างก่อนขึ้นเขาแต่เช้าวันเช็งเม้งนี้ กลางคืนเราสองคนออกมานั่งเล่นที่หน้าตึก เตี่ยเดินเข้ามาคุยด้วย และถามเราสองคนว่า ลื้ออยากรู้อะไรแปลก ๆ ไหม เมื่อเราสองคนรับปาก ท่านก็สอนวิธีแยกจิตให้ โดยนั่งสมาธิให้จิตนิ่งก่อน แล้วค่อย ๆ ยกมือขึ้นช้า ๆ จนสูงเลยหัว แล้วค่อย ๆ ลดมือลงช้า ๆ แล้วชูขึ้นและลดลงอย่างนี้ โดยที่ระหว่างยกมือขึ้นลงช้า ๆ นั้นไม่ให้จิตรับรู้กิริยาของสังขารที่กำลังเคลื่อนไหว ให้แยกได้จนจิตนิ่ง ไม่รับรู้กิริยาและเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น เราสองคนตั้งใจทำ โดยเตี่ยนั่งคุม สำรวจว่าถึงตรงไหนเราแยกจิตได้หรือยัง การทำของเราสองคนเตี่ยพอใจมาก บอกว่า ลื้อทำไปทุกวันแล้วลื้อจะเห็นอะไร ตาหลก – ตาหลก
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เรื่องเฉพาะหลวงก๋ง

    ได้ติดตามประเสริฐไปอยู่ จ.อุบลราชธานี เป็นเพื่อนติดตามออกไปทำงานด้วยทุกแห่งและทุกวัน งานตัดถนน สาย อุบล – ตระการพืชผล และต้องคุมงานสร้างสะพานสายนี้ด้วย รวมทั้งต้องนำเงินค่าแรงคนงานสร้างถนนออกไปจ่ายเองตามหน่วยงานรายทาง เพื่อให้เข้าใจเรื่องที่จะดำเนินในเหตุการณ์ จึงขอเล่าเพียงสังเขป ที่ออกไปทำงานที่ จ.อุบลฯ ในโครงการช่วยเหลือความแห้งแล้งอดอยากภาคอีสาน ทางการจึงสร้างถนนโดยตลอดทางที่ถนนตัดผ่านไปถึงไหน จะใช้คนงานในหมู่บ้านนั้น ออกมาขุดดินขุดลูกรังทำถนน ไม่ใช้เครื่องจักรทุ่นแรงเลย ใช้แต่แรงคนในหมู่บ้านนั้น ๆ เมื่อถนนเสร็จผ่านหมู่บ้านนั้นไป คนงานนั้นก็จะหมดงานเพียงสุดเขตหมู่บ้านตำบลตนเอง ทั้งนี้กำนันผู้ใหญ่บ้านจะเป็นผู้คุมคนงานและทำบัญชีแรงงานเบิกเงินเอง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาคนทำงานที่จะต้องหยุดงานและเดินทางเข้ามารับเงินที่จังหวัด ซึ่งยิ่งตัดถนนไกลออกไปจากตัวจังหวัด ก็ต้องเสียเวลาเดินเป็นวัน ทางจังหวัดจึงให้นำเงินออกไปจ่ายในหมู่บ้านนั้น ๆ ผู้ใหญ่บ้านกำนันจะเป็นผู้เรียกตัวคนงานออกมารับเงินจากเจ้าหน้าที่ที่นำเงินออกไปจ่าย การจ่ายเงินจึงรัดกุมถึงมือคนงานทุกคน การทำงานของแต่ละเขตตำบล เขาจะมีการประกวดประชันแข่งขันกันเองว่า ในตำบลใครทำได้สวยและแน่นหนา ซึ่งเป็นนโยบายที่วางได้ถูกจุดในการช่วยราษฎรมีงานมีเงินไว้กิน ใช้ ทุกหมู่บ้าน ประโยชน์แก่รัฐยังเจริญทางคมนาคมอีก ในรัฐบาลนี้จึงได้ถนนภายในจังหวัดภาคอีสานเพิ่มขึ้นอีกหลายในโครงการนี้

    การทำงานเข้มงวดในเรื่องห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านทางที่กำลังสร้าง จึงมีแต่รถจี๊บเล็กของนายช่างประเสริฐเพียงคันเดียวที่วิ่งไปตรวจงานถนนและสะพานไกลออกไปทุกทีที่งานเดินหน้าไป ขากลับจากดูงานปลายถนน ซึ่งบางวันเดินทางกลับกว่าจะเข้าที่พักในตัวจังหวัด ๓ -๔ ทุ่มยังขับรถไม่ถึงบ้านที่พัก ดังได้กล่าวแล้วว่า คนงานทำถนนไม่มีคนในตัวจังหวัดเลย การกลับบ้านจึงมีแต่เราสองคนโดดเดี่ยว นานวันเข้า ทางจังหวัดให้ความเชื่อถือมากขึ้น ก็กลับเป็นให้เราสองคน ช่วยนำเงินออกไปจ่ายด้วย ซ้ำไม่มีเจ้าหน้าที่ออกไปช่วยจ่าย ช่วยคุ้มกัน จึงต้องนำเงินงวดละสี่หมื่นบาทเศษ ใส่รถออกไปจ่ายในหมู่บ้านทุกสิบวันตามกำหนดตรง ซึ่งนับเป็นการเสี่ยงอันตรายมาก แม้ในสมัยนั้นจะยังไม่ค่อยมีโจรผู้ร้ายชุกชุมนักก็ยังน่ากลัว ก็ได้แต่ขอบารมีแห่งความซื่อสัตย์และศีลสัจจะเป็นที่คุ้มครองตัวตามที่เตี่ยสอน

    แม้จะมั่นใจในบารมีของสมเด็จปู่โตกับบารมีหลวงก๋งที่เราทั้งสองคนมีห้อยคอประจำอยู่ก็ตาม แต่เราก็มนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่มีการลังเลไม่มั่นใจเท่าที่ควร จะต้องมีการคอยเรียกคอยอ้อนวอนให้ช่วย แต่คำใดจะใช้ภาวนาเรียกให้มั่นใจว่า ได้เรียกแล้ว อาราธนาแล้ว เมื่อมีโอกาสกลับเยี่ยมบ้าน ก็ไปหาเตี่ย เราก็คิดขึ้นได้ว่าจะตั้งอธิษฐานถามหลวงก๋งเองแต่ต้องถามผ่าน “ติ๊ก” ตอนนั้นติ๊กยังเด็กมาและเป็นเด็กที่ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร คอยหลบหน้าแอบไปเล่น จึงตามหา เห็นนั่งเล่นขายของอยู่คนเดียวข้างตึก จึงปุบปับถามทันที และติ๊กก็ตอบทันที แต่ตอบทำตาลอย ๆ เผลอ ๆ เราถามว่า ถ้าเราต้องการอาราธนาเรียกหลวงก๋ง จะเรียกด้วยคำอะไร ติ๊กตอบเป็นคาถา ๓ คำ และนับแต่นั้นมา เมื่อเข้าที่คับขันอันตราย จะภาวนาคาถานี้ อาราธนาให้รอดพ้นอันตรายทุกครั้งตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงสักเพียงใดก็ตาม ต่อนี้ไปคือ เมตตาบารมีของหลวงก๋ง

    การทำงานสร้างถนนจังหวัดอุบล ฯ การเดินทางบางแห่งเข้าป่า บางแห่งเป็นทุ่งหญ้า พื้นดินเป็นทรายฝุ่น ขับรถยาก จึงพุ่งชนต้นไม้เต็มแรงแล้วแฉลบจะพุ่งลงเนินสูงมาก หากตกลงไปทั้งรถ ทั้งคน ไม่มีทางรอด แต่กลับออกไปติดกิ่งไม้อยู่นิดเดียว ระหว่างที่พุ่งชนต้นไม้เต็มแรงนั้น กิริยาของผู้นั่งจะต้องถลำไปข้างหน้า หัวทะลุกระจกหน้ารถจี๊บ แต่แทนที่หัวจะพุ่งไปกระแทกกระจกหน้า เราสองคนมีความรู้สึกเหมือนมีมือคนมาผลักหน้าไว้จนหงายกลับ ซึ่งเป็นการสวนทางกับแรงกระแทก ความใกล้ชิดของ “มือ” ที่มาผลักนั้น ทำให้เราได้กลิ่นเหมือนผ้าที่เก็บไว้ อับ ๆ คือกลิ่นของจีวรหลวงก๋งที่เราพับอัด ใส่กรอบห้อยคอ แล้วเคยแกะเอาออกมาคลุมศีรษะเมื่อมีโอกาสเอาออกมาวันสงกรานต์

    การทำงานที่ต้องนำเงินเดินทางออกไปจ่ายในที่ บางแห่งก็จ่ายกันที่ลานหน้าโรงเรียนบ้าง ใต้ร่มไม้ริมทางบ้าง ทุกครั้งเป็นตามกำหนดวัน ได้มีคนงานมากระซิบบอกว่า มีคนแปลกหน้ามานั่งเล่นโบกอยู่ กำนันผู้ใหญ่บ้านได้จำหน้าได้ว่า เป็นพวกโจร หากินข้ามไปข้ามมาระหว่างฝั่งซ้าย (ลาว) คนงานต่างก็กระซิบกันให้คอยดูแลต่อ ๆ กัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเขาด้วย และเขารักและนับถือเราสองคนด้วย แต่อิทธิพลของปืนยาวที่มัน ๓ คนถืออยู่ ทำให้คนงานได้แต่เฝ้าดูพวกโจร ๓ คน ได้เข้ามาเกาะรถถามว่า พรุ่งนี้จะจ่ายเงินคนงานไหม เขาเป็นเจ้าหนี้คนงานอยู่ เขาจะมาคอยทวง สอบถามคนงานในหมู่บ้านนั้นทั้งหมดไม่มีใครรู้จัก ก็ผิดทีอยู่ แต่ประเสริฐก็ตอบไปทันทีเหมือนกันว่า จ่ายแน่ ตอบไปทั้งที่รู้ว่าตอบกับโจร แต่ความถือตัวว่า มีดี อยู่ รุ่งขึ้นเราสองคนเข้าจังหวัดไปรับเงินและได้แจ้งแก่ทางการจังหวัด แต่ไม่ได้รับการสนใจเลย ตัวใครตัวมันมีอยู่ทุกสมัย ประเสริฐก็มุมานะจะทำให้เห็น เมื่อนำเงินค่าแรงเดินทางจะเข้าเขต กำนันและคนงานต้นทางได้ออกมาขอร้องไม่ให้ไปในหมู่บ้านข้างหน้าเลย ได้มีสายมาบอกว่า มัน ๓ คนนั่งคอยอยู่ในดงไม้ข้างหน้านั้น ประเสริฐก็จะไป เราสองคนเตรียมตัวเต็มที่ทั้งปืนและตั้งสติอาราธนาขอบารมีหลวงก๋งช่วย เมื่อตั้งสมาธิมั่นแล้วก็ขับรถไปตามทาง และได้ชำเลืองไปข้างทาง เห็นเจ้า ๔ คนนั่งบ้าง ยืนบ้าง ถือปืนซุ่มอยู่ข้างทาง เห็นมันเงยหน้ามองเราขับรถ ปล่อยผ่านไปเฉย ๆ ไม่เข้าทำการใด ๆ เลย ในวันนั้น ก็ปลอดภัยไม่มีอะไรผิดปรกติ รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง มันเที่ยวพูดว่า นายช่างไม่แน่จริง ต้องเอาพระนั่งติดท้ายรถมาด้วย ๒ องค์ (คนสมัยนั้น แม้เป็นโจรก็ยังมีความเคารพยำเกรงพระอยู่) คนงานต้นทางที่ห้ามเราก็ถามว่า เราไปเอาพระที่ไหนไปด้วย ตอนที่หยุดพูดกันก็ไม่เห็นมี และวัดแถวนั้นก็ไม่มี แต่พวกโจรมันพูดกัน เรายกมือขึ้นกุมพระและจีวรที่ห้อยคอ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากสมเด็จปู่โต กับหลวงก๋ง แสดงอภินิหารข่มโจรช่วยหลานไว้

    ตอนที่ประเสริฐหยุดตรวจสะพานข้ามห้วยแห่งหนึ่ง ระหว่างที่ประเสริฐเดินตรวจไม้โครงสร้างอยู่บนสะพานนั้น แดดร้อนจัดและอบอ้าวมาก เราจึงเดินลงท่องห้วยใต้สะพานเพื่อหลบแดด ในระยะนั้นแห้งแล้งจนท้องห้วยดินแตกระแหง ใบไม้แห้งทับถมเต็มท้องห้วย มีรูปรอยของสภาพน้ำแรงมาก กอไผ่และต้นไม้ใหญ่โค่นตามริมโค้งน้ำแทง เมื่อเดินลงใต้สะพาน ก็เห็นหญิงท้องแก่ชาวบ้านคนหนึ่ง ยืนมองเสาสะพานอยู่ก่อน เราก็เดินเข้าไปทักทำความรู้จัก แต่หญิงคนนั้นกลับไม่พูดด้วย ซ้ำหันกลับมาทำหน้าหลอก ๆ เราชักฉิว นึกในใจว่า หล่อนเป็นใครกล้ามาล้อเรา หญิงนั้นหลอกแล้วก็เดินออกจากใต้สะพาน เดินไปตามท้องห้วยแห้ง ตรงไปทางกอไผ่โค่นคลุมลงมากลางท้องห้วย เราก็รีบเดินตามไปหวังจะต่อว่า แต่เดินไม่ทัน จึงกลับมายืนทับที่หญิงคนนั้นยืนอยู่ก่อน หันไปหันมา ก็มองที่เสาเห็นเลือดสด ๆ ป้ายติดอยู่ที่เสานั้น จึงกลับขึ้นบนสะพาน ถามคนงานได้ความว่า คนงานถูกคมขวานบาดแล้วเช็ดไว้ แล้วถามต่อว่า รู้จักหญิงที่ยืนใต้สะพานและเดินไปทางกอไผ่โน้นแล้วไหม คนงานซึ่งเป็นคนพื้นที่นั้น ต่างมองหน้ากันเอง แต่ไม่พูดอะไรต่อ แต่มีสีหน้าที่เราอ่านไม่ออก ก็ได้แต่คิดแปลกใจ นึกย้อนว่าในระหว่างที่เราเดินตามหลังหญิงท้องแก่นั้นไป ก็ย่ำไปบนใบไม้แห้ง ทำไมจึงมีแต่เสียงฝีเท้าเราเหยียบกรอบอยู่คนเดียว คนเดินข้างหน้า เดินไม่มีเสียงเหยียบใบไม้แห้ง กิริยาที่เดินก็เหมือนลอย ๆ แต่ทำไม่เร็วนัก ทำไมพูดด้วยจึงไม่พูด กลับทำหน้าหลอก แล้วเดินหนี และเราก็เดินไล่หลังมองอยู่ แต่ทำไมจึงหายไปในที่โล่ง ๆ ประเสริฐยังสั่งงานไม่เสร็จ เราก็เลยไปหยิบกระติกน้ำในรถออกมา ไม่ทันเปิดรู้สึกเอียงวูบและล้มลง ปวดลำไส้เหมือนถูกบิด อาเจียนและท้องร่วงอย่างหนัก เมื่อถึงที่พัก กำนันผู้ใหญ่บ้านที่ตามมาส่งในเมืองถึงที่พักต่างพูดกันว่า “อีกำทอง มันออกฤทธิ์อีกแล้ว” แล้วก็ช่วยกันหาใบมะพร้าวมาสานเป็นลูกตะกร้อเล็ก ๆ ร้อยเป็นพวงมาให้ แขวนคอ ผูกข้อมือ ตามหมอมาฉีดยาก็ไม่ทุเลา หมอว่าเป็นป่วง (ท้องร่วงอาเจียนอย่างแรง) ก็ไม่เห็นมันเกี่ยวอะไรกับใบมะพร้าวสานลูกตะกร้อ นับตั้งแต่ล้มลงที่สะพานนั้น ได้มีสติ กำพระทั้งสององค์ที่แขวนที่คอไว้แน่น ไม่ยอมคลายมือปล่อย แต่สมาธินั้นไม่มีเหลือเลย รวมเวลาหนึ่งวันหนึ่งคืน หัวใจและความรู้สึกต่าง ๆ เบาหวิวและหล่นวูบลงต่ำสุด แล้วดีดตัวลอยขึ้นช้า ๆ แว่วว่าตัวเองได้บอกฝากคุณแม่ไว้กับประเสริฐ ฝืนลืมตาที่หนักอึ้งขึ้นมองประเสริฐ แต่ข้างหลังประเสริฐมีสีเหลืองอร่ามของจีวรพระ ยืนอยู่กลางห้อง นึกในใจว่าเขาคงไปนิมนต์พระมาบอกทางแก่เรา พยายามยกมือขึ้นจะไหว้ แม้แต่กระดิกนิ้วยังไม่ขึ้น มันชาจนไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน แต่กลับได้ยินพระองค์นั้นบอกอยู่ตรงโน้น แต่เสียงกลับมาก้องชัดอยู่ที่หูว่า ไปหาชาจีนอย่างดีมาต้มกับน้ำตาลกรวดชงกินร้อน ๆ จำได้ว่า ได้พูดทวนคำตามคำบอกนั้น และพยายามเบิกตามองอีกครั้ง นั่นหลวงก๋งมานี่ แล้วไม่รู้สึกตัวไปอีกนานเท่าไรไม่ทราบ จนรู้สึกร้อน ๆ ที่ริมฝีปาก มีน้ำหวาน ๆ ไหลซึมเข้ามาในปาก แสนจะชื่นใจ รู้ว่าถูกแกะมือออกจากสิ่งที่เรากำอยู่ คราวนี้เรามีแรงต่อต้าน กลับกำแน่นเข้าไปอีก และบอกเขาว่า อย่าเอาหลวงปู่หลวงก๋งไป เมื่อความรู้สึกต่าง ๆ กลับมารับรู้อีก ก็ทราบว่า ประเสริฐได้ยินเราพูดว่า ไปหาชาจีนอย่างดีมาต้มกินกับน้ำตาลกรวด ชงกินร้อน ๆ เป็นเหมือนความหวังครั้งสุดท้าย ทุกคนก็รีบเข้าตลาด ซื้อมาต้มกรอกใส่ปากทันทีโดยไม่รู้เรื่องอะไรด้วยว่าหลวงก๋งมาช่วยบอกยาให้ เพียง ๓ แก้วก็ลุกขึ้นนั่งตาใส ใจกลับดูโลกอีกครั้งด้วยเมตตาบารมีของหลวงก๋งตามไปช่วยหลาน

    พ.ศ. ๒๕๐๙ บ้านเก่าอยู่ในตรอกวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ธนบุรี เกิดไฟไหม้ ต้นเพลิงมีบ้านคั่นอยู่หลังเดียว แถวนั้นเป็นบ้านไม้ปลูกติด ๆ กัน ไฟจึงไหม้อย่างรวดเร็ว ลมก็แรง พัดมาทางบ้านเรา ก่อนอื่นข่มสติให้อยู่ จุดธูปบูชาพระ ลงนั่งภาวนาอาราธนานึกถึงหลวงก๋ง ส่วนคนอื่นในบ้าน ก็ให้ไปเก็บของที่มีค่าใส่รถไว้ ของอื่น ๆ ไม่ต้องเก็บ โดยเฉพาะพระที่บูชาทั้งหมดไม่ให้เก็บเลยแม้แต่องค์เดียว เมื่อจะไหม้ก็สละให้ไหม้ไป เมื่อภาวนาถึงหลวงก๋งแล้วเปิดผอบเอาผ้าสังฆาฏิของหลวงก๋งที่เตี่ยให้ และสั่งไว้ว่าไม่อับจนคับขัน ไม่ต้องเอาออกมาใช้ ครั้งนี้ร้ายแรงนักจึงขออนุญาต ขณะที่ไฟไหม้เข้ามาจนมีลูกไฟลอยมาถึงและรู้สึกร้อน จึงกราบนิมนต์รูปหลวงก๋งบนที่บูชาให้หันหน้าไปทางไฟที่กำลังไหม้เข้ามา แล้วเปิดหน้าต่างเอาผ้าสังฆาฏิหลวงก๋งออกโบกไปทางไฟ ๒ – ๓ ครั้ง ไฟไหม้เข้ามาจากทางหลังบ้าน ซึ่งมีคูน้ำตื้น ๆ พอมีน้ำแฉะ ๆ กว้างจากชายคาบ้านเราเมตรเศษ ฝั่งตรงข้ามมีต้นมะม่วงใหญ่ยืนแห้งตาย เอนมาทางหลังคาบ้านและกำลังเป็นเรื่องอยู่ ให้เจ้าของต้นมะม่วงเขาตัด ไฟก็ยังไหม้เข้ามาจนถึงต้นมะม่วงจนลุกท่วมต้น หากต้นมะม่วงที่เอนลงมาทางร่องน้ำนั้นโค่นเมื่อไร จะต้องลงมาทับหลังคาบ้านเรา ซึ่งจะกลายเป็นสะพานไฟ ไหม้บ้านเราอย่างแน่นอน ความร้อนเราทุกคนในบ้านทนอยู่ไม่ไหว จึงถอยร่นออกไปยืนทอดอาลัยดูอยู่ที่ถนนหน้าบ้าน ยิ่งพวกที่ชอบมุงดูไฟไหม้บ้านชาวบ้าน มายืนวิจารณ์ตามรูปการว่าอย่างไรเสียมะม่วงต้นที่ไฟกำลังลุกโชนท่วมต้นและเอนมาทางหลังคาบ้านเรานั้น จะต้องโค่นฟาดต่อเอาไฟมาไหม้บ้านเรานี้อย่างแน่นอน ก็จริงตามที่สายตาทุกคนเห็นและรูปการก็จะต้องเป็นอย่างนั้น แล้วก็ปรากฏการณ์แปลกและทุกคนที่ดูต่างร้อง โอ พร้อมกัน ที่มะม่วงต้นนั้นกลับล้มหงายฝืนทางเอนถ่วงไปได้ ซึ่งผิดปกติธรรมดาจนเหลือเชื่อ ทั้งลมที่พัดแรงมาทางบ้านเราก็กลับตีหวนเข้าในทางไฟที่ไหม้อยู่แล้ว

    สังเกตจากควันได้ถูกลมพัดหมุนเป็นวง ดูดลอยตัวสูงเป็นลำตั้งตรงขึ้นสู่ท้องฟ้า จากนั้น เรือผจญเพลิงของทหารเรือก็มาช่วยดับ เมื่อไฟสงบ ประเสริฐรีบไปดูรถที่เอาของมีค่าใส่ไว้และขับไปจอดทิ้งไว้ในลานวัด ถ้าหากไฟไหม้บ้านจริง ก็เหลือสมบัติเพียงแค่ในรถคันเล็ก ๆ คันเดียวที่ลานวัดนี้เป็นที่วางของ ของชาวบ้านที่ขนเอามากองหนีไฟ เมื่อจะขนกลับ ต่างก็โจทกันแซ่ว่าของคนโน้นพัดลมหาย โทรทัศน์หาย เพราะมีคนมาช่วยเฝ้าและขนต่อ ทุกบ้านของหายกันคนละหลายอย่าง แม้กระทั่งประตูรถก็ถูกงัดกัน ประเสริฐตกใจจนตัวลอย วิ่งฝ่าคนแทบจะเหยียบชาวบ้านตาย คิดว่าของเราก็คงหมดด้วย เพราะตั้งแต่เอารถมาจอดทิ้งไว้ มัวแต่ไปดูบ้าน ไม่มีใครมาเฝ้าเลย พอถึงรถก็มีคนรู้จักเขาบอกว่า ของ ๆ ทุกคนหาย เพราะมัวแต่วิ่งขนมากองกว่าจะจบเที่ยวและมาเฝ้า ก็มีคนมาขนต่อ หายหมด แต่ของเรามี “พระ” มาช่วยเฝ้า ประเสริฐงง เพราะไม่รู้จักกับพระที่วัดนี้เลย เมื่อถามหน้าตารูปร่างจะได้ตามไปขอบคุณท่าน คนที่เขาเห็นเพราะเขาเอาของมากองอยู่ใกล้ ๆ เขาบอกว่ารูปร่างหน้าตาและเขายังบอกว่า เขาถามว่า เมาเฝ้ารถให้ใคร (เขาไม่รู้ว่ารถเรา) ............อือ................ท่านอยู่วัดนี้ อยู่กุฏิไหน.......อือ ตกลงที่เขาถามทั้งหมดได้คำตอบว่า ..........อือ คำเดียว เลยไม่รู้เรื่องกัน เขาเองก็ไม่มีอารมณ์ดีจะคุยด้วย แต่เขาเห็นว่าพระองค์นั้นยืนสูบบุหรี่มวนโตกลิ่นฉุน รูปร่างและรุ่นราวคราวอายุไม่ผิดไปจากหลวงก๋ง

    สรุปแล้ว ผ้าสังฆาฏิของหลวงก๋งคุ้มครองทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป นับตั้งแต่บันดาลให้ต้นมะม่วงล้มไป โดยฝืนทางเอนจนผิดปกติในกฎของดุลถ่วง ช่วยโบกลมให้ตีหวนกลับเข้าในกองไฟอีก เพราะถ้าท่านบันดาลให้โบกไปทางอื่น ไฟก็จะลุกลามตามลมไปไหม้ทางอื่นอีก ซึ่งก็จะเป็นทางเดือดร้อนแก่คนอื่นอีกต่อไป แม้แต่สิ่งของมีค่าของเราที่เอาไปทิ้งไว้โดยไม่มีคนเฝ้า เพราะมัวแต่วุ่นวายใจ ท่านก็ยังเมตตากรุณาแผ่บารมีช่วยคุ้มครองให้

    เราชอบดูพระเครื่องเก่า ๆ มาก เพราะได้ศึกษามาจากคุณพ่อพอประมาณ และด้วยใจรัก ก็ดูไปเรื่อย ๆ ได้รู้จักกับพระภิกษุวัดเกาะ บางเสาธง ในนิสัยชอบสะสมพระเครื่องเหมือนกัน ซึ่งแต่ก่อนยังไม่ตัดถนนตั้งโรงเรียนพาณิชยการธนบุรี การไปที่วัดเกาะนั้นจึงต้องลงเรือไปขึ้นที่วัดนก และเดินไปตามขนัดสวนที่ชาวบ้านใช้เดินเป็นประจำ จากขึ้นเรือเดินไปวัดระยะทางเดินประมาณ ๒๐ กว่านาที เป็นทางสวนเงียบมาก หากจะไปอีกทางก็ย้อนไกลจากบ้านมาก จึงต้องเดินทางนี้ประจำ พระท่านได้พระเครื่องมาไว้หลาย ๆ องค์ แล้วท่านก็ส่งข่าวให้เราไปช่วยดูให้ ดูกันไป ชมกันไป จนลืมหิว ลืมเวลากลับบ้าน จึงเย็นเมื่อไปลาพระ และเดินจะเข้าเขตทางในสวน ก็มีชาย ๓ คน อายุ รูปร่างอยู่ในวัยฉกรรจ์ คงเป็นอาชีพช่างไม้ เพราะคนหนึ่งถือขวาน คนหนึ่งถือสิ่วและค้อน เดินสวนทาง แทนที่จะมองหน้า กลับมองเครื่องแต่งตัว สมัยนั้น การฉกชิงวิ่งราวไม่ค่อยมี จึงไม่ค่อยเกรงก็แต่งไปตามใจชอบ สายตาที่เขามอง เรารู้สึกสังหรณ์วูบในใจ พอเดินคล้อยหลัง เขาก็กลับวกเดินแซงขึ้นหน้าไปเข้าเขตสวนที่เราจะต้องเดินไปทางนั้น เรารู้ทันทีว่าไม่ดีแน่แล้ว แต่ก็มีทางเดียวที่เป็นทางเดินไปลงเรือที่ท่าวัดนกบางแวก และอาจเป็นความระห่ำของเราที่ไม่ย้อนกลับมาหาพระให้ช่วยเดินมาส่ง เรากลับคิดลองดีสักที ก็เดินตามหลังเขาไปช้า ๆ เขาทั้งสามเดินไปเหลียวมาดูเราไป พอถึงตรงนั้นเป็นต้นมะพร้าวเอนออกมาในทางเดินจึงแคบ เขาทั้ง ๓ หยุดคอย ทำคุยกัน มือก็เอาสิ่วแทงเปลือกต้นไม้เล่น ระยะทางที่เห็นเขา ห่างประมาณ ๕๐ ก้าว เราหยุดรวบรวมกำลังใจทั้งหมดเพ่งมองเขาแล้วภาวนาอาราธนาขอบารมีหลวงก๋ง และภาวนาคาถาของเตี่ยพร้อมกับกลั้นหายใจขอดชายผ้าเช็ดหน้ากำไว้ในมือแน่น เดินเข้าไปช้า ๆ ทุกก้าวด้วยความมั่นใจและอยู่ในสติภาวนาจนผ่านหลีกเขาทั้ง ๓ ไป ก็เห็นเขาไม่สนใจและไม่มองทางเรา กลับชะเง้อมองไปดูทางต้นทางที่เรายืนอยู่เมื่อกี้ ส่วนมือที่เอาสิ่วแทงต้นมะพร้าวเล่นก็ทำอยู่อย่างนั้นซ้ำ ๆ กัน เดินผ่านเขามา ภาวนาคาถาเตี่ยไปเรื่อย ๆ จนไกล พอเลี้ยวโค้งหน้านี้ก็จะเห็นท่าเรือ จึงหันหลังไปมองเขาทั้ง ๓ เห็นเขามีท่าเลิ่กลั่ก ฉงน จึงแก้ปมผ้าที่ขอดออก เท่านั้นมันทั้ง ๓ จ้ำตามมาทันที เราก็รีบจ้ำแทบจะวิ่งมาถึงท่าเรือ มีหลายคนนั่งอยู่ในเรือรออยู่แล้วก็รีบเข้าไปรวมกับเขา มันเลยไถลเดินเลยไป

    การอาราธนาขอบารมีหลวงก๋ง กับภาวนาคาถาของเตี่ยนี้ได้รอดพ้นภัยมาหลายครั้ง คาถาหลายบทที่เตี่ยสอน หรือแม้แต่เคล็ดลับบางอย่างที่บอกให้ ท่านมักจะพูดก่อนว่า อั๊วจะบอกอะไรให้ มันแปลก คิด ๆ แล้วตาหลก ไม่เชื่อลื้อเอาไปลองดูสนุก ๆ คาถาของเตี่ยทุกบทเป็นคำง่าย ๆ สอง – สาม คำ และแปลกที่คาถาที่เตี่ยตั้งใจประสิทธิ์ประสาทให้จะสอนเที่ยวเดียว แต่มีอานุภาพจำฝังลึกในจิตไม่ลืม สิ่งเร้นลับทั้งหลายที่ได้ผจญและได้รับเมตตาบารมีทั้งปวงนี้ก็ได้เป็นไปโดยสิ่งที่มองไม่เห็น แต่เดิมไม่เคยเชื่อสิ่งลม ๆ แล้ง ๆ นี้ แต่ก็ต้องเชื่อจนได้ เมื่อทุกสิ่งที่ผ่านมาพิสูจน์ให้รู้เห็นอย่างชัดแจ้งจนปฏิเสธไม่ได้

    แม้เรื่องของปรอทก็เช่นกัน มันจะไปเกี่ยวข้องกับผีสางเทวดาที่ไหนมี ยิ่งมองยิ่งคิด ล้วนเป็นเรื่องเหลวไหลที่ไม่สามารถพิสูจน์ให้คนทั่ว ๆ ไปเขาได้เห็นด้วยตัวเขาเอง จึงเป็นเรื่องงมงายที่น่ากระดากอาย แต่ตัวเราเองกลับพบเข้าเองอย่างจัง จนทุกวันนี้ก็ยังงงว่าเป็นไปได้อย่างไร เพราะไม่สามารถจับจุดต้นเหตุมาวิเคราะห์ได้อย่างไร

    ระหว่างที่เตี่ยทำปรอท เตี่ยก็สอนให้ทำด้วยและให้เอามาทำเองที่บ้าน โดยเตี่ยให้เหล็กที่ครอบสุมปรอทไปไว้ใช้ที่บ้าน เราก็ไม่คิดจะทำ ปล่อยเรื่อยเปื่อย จนเมื่อ ๕ ปีผ่านมานี้ ก็คิดอยากจะลองทำขึ้นมา ก็ทำได้สำเร็จ แม้จะใช้ปรอทมากแต่ได้เพียง ๑ เม็ดก็ยังดี บดจนแข็งได้ที่ ก็เอาใส่ในลูกมะนาวเอาเข้าเตาสุม เอาฝาเหล็กที่เตี่ยให้ไว้ครอบเตาไว้ แล้วคุมกำกับด้วยคาถาของเตี่ย การสุมในวิธีเก่าของเตี่ยนี้ ต้องกินเวลาเป็นชั่วโมง ๆ เรานั่งเฝ้าคุมอยู่ได้ชั่วโมงเศษไม่ลุกไปไหน แล้วก็มีเหตุจะต้องลุกขึ้นไป คิดว่าแป๊บเดียวคงไม่เป็นไร พอเดินออก กลับประตูครัว พริบตาเสียงดัง พรึ่บ.......เจี๊ยบ พร้อมกับมีแสงสีเขียวนวล สว่างจ้าพุ่งออกหน้าต่างครัว เราวิ่งเข้ามาดู ปรากฏว่าเหล็กที่ครอบสะกดไว้ด้วยคาถาของเตี่ยยังครอบอยู่เรียบร้อยเหมือนเดิม แต่คุณแม่ที่นั่งดูอยู่หน้าห้องครัว บอกว่าเห็นมันพุ่งออกทางใต้เตา เมื่อตักถ่านออกหมด จึงเห็นแผลที่เช็งเตา ทั้งแปลกใจ ทั้งเสียดายและโกรธมาก แผลที่เช็งมีรอยทะลุเป็นวงกลม โตเท่าลูกมะนาวลอดได้ครือ ๆ เท่านั้น สังเกตดูว่า ถ้าเช็งเตาแตกธรรมดา ๆ จะต้องแตกหลุดออกไปกว้างตามรูปรูเช็ง ประเสริฐบอกว่า เขามาขโมยเอาไปทั้งลูกมะนาวเลย จริงแล้ว เตี่ยเคยบอกไว้ว่า ทำสำเร็จมาถึงขั้นนี้ ให้ระวังผีสางเทวดาจะเล่นขี้โกง เราโกรธ “ตัวขี้โกง” รุ่งขึ้นอีกปีก็ทำอีก ๒ เม็ด แห้งและปั้นได้เป็นก้อน แต่จนบัดนี้ยังไม่ยอมแข็งจริงสักที เอามาคลึงทีไร เม็ดหนึ่งร้องเจี๊ยบ ๆ เม็ดหนึ่งร้อง อึ่ม ๆ แล้วตอนนี้จะไปปรึกษาใคร ก็ได้แต่วางเอาไว้ที่หน้ารูปหลวงก๋ง ซึ่งปัจจุบันของต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของหลวงก๋งแต่เตี่ยเป็นผู้ให้ โดยบอกว่า หลวงพ่อเขาให้อาเสริฐ อาตึ๋ง หรือของ ๆ เตี่ยเองที่ให้ไว้ ทุกอย่างเราได้เก็บไว้บูชาอยู่ทุกวันคืน แม้คาถาต่าง ๆ ก็ยังฝังอยู่ในสมองไม่ลืมเลือนเป็นเวลา ๓๐ ปี

    ทุกครั้งที่รับประทานข้าวกับเตี่ย เตี่ยจะเอาตะเกียบคีบโน่นคีบนี่ใส่ชามเราสองคน และบอกว่าอย่างนี้อร่อย อย่างนั้นอร่อย พระคุณในความรัก เมตตาของเตี่ย ไม่มีวันลืมลง

    ระยะเวลาที่ได้ติดต่อใกล้ชิดกับเตี่ยมาเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ฉะนั้นเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่างครอบครัวเตี่ย เราจึงมีมากมาย เมตตาบารมีที่ได้รับจากหลวงก๋งยังมีอีกมาก แต่เป็นข้อปลีกย่อย จึงขอนำมาแต่เรื่องเด่น ๆ สำคัญ มาบันทึกไว้เพียงเท่านี้
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ศิษย์สองอาจารย์
    พ.ต.ต. ศรีวิทย์ เจียมเจริญ


    ประมาณปลายปี ๒๕๑๔ ชุมพลชวนข้าพเจ้าและวิมลไปเที่ยวชลบุรีและตั้งใจไปหาอาหารทานกันที่ศรีราชา ขณะที่ขับรถยนต์ไปถึงชลบุรี ยังไม่ทันจะเที่ยง ชุมพลบอกข้าพเจ้าให้ขับรถเข้าไปในซอย เพียงแต่บอกว่าจะแวะไปหาเซียน เป็นคนจีน ชื่อเซียนสู ข้าพเจ้าคิดอยู่ในใจว่า ขณะนั้นวิมลไม่ค่อยสบาย เจ็บออกแอด ถ้าได้ยาจีนมากินบ้างก็คงจะดี

    เมื่อขึ้นไปหาเซียน ชุมพลยกมือไหว้ ข้าพเจ้าก็ไหว้ตาม ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ใหญ่และเป็นเจ้าของบ้าน หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็นั่งฟังเฉย ๆ จนกระทั่งจะลากลับ ชุมพลได้เป็นธุระพูดในเรื่องของข้าพเจ้า คือเป็นโรคปวดหลังมาหลายปีแล้ว ไม่ยอมหาย รักษามาหลายโรงพยาบาล เพียงค่อยยังชั่ว แต่ไม่หายขาด ท่านถามอาการและเขียนตั๋วยาให้มาซื้อกิน หลังจากกินยาไป ๓ – ๔ เทียบ อาการก็เพียงทุเลาลงเล็กน้อย ข้าพเจ้าจึงได้ชวนวิมลไปหาท่านอีกหลายครั้ง ในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เพราะในขณะนั้นข้าพเจ้ากำลังมีเรื่องทุกข์ใจเกี่ยวกับเรื่องเจ็บป่วย เช่น โรคหัวใจ หืด ปวดหลังและอื่น ๆ อีกสารพัดโรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ ข้าพเจ้าเป็นมาสิบกว่าปีแล้ว จะมีอาการเจ็บเสียวแปล๊บบริเวณขั้วหัวใจ ในขณะยืน เดิน หรือขับรถอยู่ จะต้องหยุดการกระทำทุกอย่าง ใช้นิ้วมือนวด กดตรงบริเวณหัวใจสักครู่จึงจะหาย วันหนึ่ง ๆ มีอาการเจ็บเสียวที่บริเวณนี้หลายครั้ง

    ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าเคยไปตรวจที่โรงพยาบาลรามา ซึ่งขณะนั้นที่นั่นมีเครื่องตรวจหัวใจที่ทันสมัยที่สุด เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคได้ดูกราฟหัวใจของข้าพเจ้าแล้ว บอกว่าลิ้นหัวใจเริ่มผิดปกติ ถ้าต่อไปอายุมากขึ้นมีอาการเจ็บมากขึ้นก็ควรจะผ่า ทันทีที่หมอพูดจบ ข้าพเจ้าก็นึกในใจว่า พูดง่ายแต่ฟังและรับจะปฏิบัติตามช่างยากเย็นจริง ๆ เพราะส่วนใหญ่ผ่าตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวใจแล้วตายมากกว่ารอด ถ้ารอดก็อยู่ได้ไม่นาน เช่น ญาติของวิมล ลิ้นหัวใจไม่ดี อ้อนวอนให้หมอผ่า อยู่ได้สามวันก็ย้ายไปอยู่วัดมกุฎฯ เรื่องนี้เป็นเหตุมี่ทำให้ข้าพเจ้ากลุ้มใจมาหลายปี จนกระทั่งเมื่อไปพบเซียนสู หลังจากที่ไปหาท่านหลายครั้ง และเริ่มสนิทสนม ข้าพเจ้าก็เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง แทนที่จะถามเรื่องหัวใจ ท่านกลับถามข้าพเจ้าว่า เป็นหวัดบ่อยไหม เวลาเป็นหวัดมีอาการอย่างไร ชอบอากาศหนาวหรือร้อน เวลาร้อน ทำงาน เดิน หรือวิ่งมาเหนื่อย ๆ เหงื่อออกที่ไหนบ้าง ข้าพเจ้าก็บอกว่า ตามศีรษะ ใบหน้า หน้าอก และหลัง ท่านถามว่า “ที่รักแร้ เหงื่อออกบ่อย ๆ ไหม” ข้าพเจ้านึกอยู่ในใจว่า “เซียนสูผู้นี้ ถามซอกแซก ฟังแล้วจักกระจี้หัวใจ”

    หลังจากที่ท่านซักอาการเจ็บป่วยข้าพเจ้าแล้ว ก็บอกให้ข้าพเจ้าไปหาน้ำใบบัวบกรับประทานสักพักก็จะหาย ตอนขากลับ ข้าพเจ้าขับรถกลับจากชลบุรีมากรุงเทพฯ นึกขำอยู่ในใจตลอดทาง มีอย่างที่ไหน ตอนออกจากกรุงเทพฯ ไปชลบุรี ต้องหยุดขับรถเพราะเจ็บตรงหัวใจไปสองที ขากลับจากชลบุรีเข้ากรุงเทพฯ อาการร้อนต้องหยุดกดไปสามที แล้วเซียนสูแนะให้ไปดื่มน้ำใบบัวบก ผลคือว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำตามที่ท่านสั่ง หลังจากที่ข้าพเจ้าต้องทนเจ็บที่หัวใจ และทนกดไม่ไหว จนหนึ่งเดือนผ่านไป ก็เลยต้องไปหาท่านอีก ทันทีที่พบท่าน ข้าพเจ้าก็บอกท่านว่า “ผมทนกดหัวใจไม่ไหวแล้ว เจ็บแทบทุกวัน” ท่านฟังแล้วนั่งหัวเราะอย่างผู้ใหญ่ที่อารมณ์ดี พลางพูดว่า “ลื้อมันดื้อ ถ้าลื้อกินน้ำใบบัวบก ป่านนี้ลื้อไม่ต้องมานั่งกดหัวใจให้อั๊วดู” หลังจากฟังท่านดุด่าเรื่องความดื้อรั้นของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าก็เลยยอมดื่ม เพราะนึกเสียว่า แก้วละหนึ่งบาท กินแล้วไม่ตาย ดังนั้น ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าไปธุระมี่ศาลอาญา ซึ่งมีเกือบทุกวัน ก็เลยแวะไปดื่มน้ำใบบัวบกกับม่วยสาวสวย ซึ่งตั้งร้านขายอยู่ที่หน้าศาลอาญา ตรงบริเวณร้านขายหนังสือ เสียที่ละแก้วสองแก้ว ผลปรากฏว่า อาการเจ็บหัวใจ เลื่อนออกไปเป็น ๓ – ๔ วันครั้ง และค่อย ๆห่างออกไป ข้าพเจ้าจึงไปหาเซียนสูและเล่าอาการให้ท่านทราบเป็นระยะ ๆ กับได้ถามท่านว่า น้ำใบบัวบกมีตัวยาอะไร ทำไมโรคหัวใจที่ข้าพเจ้าเป็นอยู่เกือบ ๒๐ ปีถึงได้หายไปได้

    ท่านบอกว่า ร่างกายคนเราบางคน เวลาอากาศร้อนและเย็น จะปรับอุณหภูมิไม่ทัน โดยเฉพาะเลือดที่วิ่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในตัวของข้าพเจ้า เมื่ออุณหภูมิต่างกันก็จะมีฟองอากาศวิ่งผ่านลิ้นหัวใจ จึงทำให้เกิดเจ็บและเสียวจนต้องกดไว้สักครู่ น้ำใบบัวบกที่ดื่มเข้าไปนั้น จะช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายให้ร่างกายร้อนและเย็นเร็วขึ้นเท่า ๆกัน ฟองอากาศก็จะไม่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าฟังแล้วเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่ผลได้กับตัวเอง หลังจากนั้น มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และนายทหารยศพันเอก เป็นคล้าย ๆ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้แนะนำให้ซื้อน้ำใบบัวบกมาดื่มสัก ห้า – หก ขวดแม่โขงก็หายดีทั้งสองท่าน ส่วนข้าพเจ้าก็ยังไปดื่มน้ำใบบัวบกที่ร้านม่วยคนเดิม จนวันหนึ่งไปเดินหา ปรากฏว่าหายไปสามวันติด ๆ กัน ม่วยไม่มาขาย จนวันที่สี่ถึงได้มาขาย ทันทีที่เห็นหน้าต่างคนต่างดีใจ เพราะไม่ได้พบหน้ากันเสียหลายวัน ข้าพเจ้ารีบถาม “หายหน้าไปตั้งสามวัน ป่วยหรือไง” ม่วยมองสบตาไม่ตอบ รู้สึกม่วยจะหน้าแดงไปนิดหนึ่ง ก้มหน้าจัดการตักน้ำใบบัวบกไม่ใส่น้ำแข็งให้สองแก้วอย่างคนรู้ใจ ข้าพเจ้าดื่มไป หยุดถามใหม่ว่า “หายไปไหนมาตั้งหลายวัน” ม่วยตอบอ้อมแอ้มว่า “หนูหยุดไปแต่งงาน.....พี่” ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ที่หัวใจมันเกิดเจ็บเสียวกระตุ๊ก ๆ เหมือนอย่างเก่า รวมกันสัก ๔๐ ถึง ๕๐ ครั้ง ที่เคยหายไปทั้งหมดแต่มารวมกันเจ็บในครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว ท่านผู้อ่านอย่าถามข้าพเจ้าเลยว่า ข้าพเจ้าต้องยืนกดหัวใจอยู่นานสักเท่าใด ปัจจุบัน ข้าพเจ้าเลิกดื่มน้ำใบบัวบก แต่หาน้ำเก็กฮวยดื่มแก้เก็กซิมแทน

    ในระหว่างที่ข้าพเจ้าและวิมลเจ็บป่วย ได้ไปหาเซียนสูหลายครั้ง จนกระทั่งโรคหัวใจของข้าพเจ้าหายขาด จึงได้เรียกท่านใหม่ว่า “เตี่ย” นอกจากจะไปเรื่องเจ็บป่วย ก็ยังต้องไปถามท่านถึงเรื่องอื่น ๆ แทนที่เตี่ยจะตอบ กลับให้ผู้ถามชูหนึ่งนิ้ว อย่างเก่งเปลี่ยนนิ้วชูอีกนิ้วเดียว ชั่วระยะเป็นวินาที ท่านก็สามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้ ข้าพเจ้าให้วิมลถามก่อนและจึงมาถึงคิวข้าพเจ้า เมื่อท่านให้ชูนิ้วและตอบคำถามแล้ว ข้าพเจ้าเกิดความสะดุ้งใจว่า เซียนสูซึ่งเป็นคนจีนผู้นี้ ไม่ใช่จะเก่งแต่ทางยาจีน หรือเก่งทางด้านหมอดูเท่านั้น เพราะการที่ให้ผู้ถามยกหนึ่งนิ้ว ชั่วระยะเวลาเป็นวินามีแล้วตอบนั้น จะต้องมีอะไรเหนือกว่าและเร้นลับกว่าเสียแล้ว เพราะก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะมารู้จักกับเตี่ย ข้าพเจ้าเคยเป็นศิษย์ของพระธุดงค์องค์หนึ่ง ข้าพเจ้าขอเรียกท่านว่า “หลวงปู่” เพราะท่านอายุมากแล้ว เวลาที่ข้าพเจ้าพบหลวงปู่ ข้าพเจ้ามีปัญหาถามท่าน ท่านจะนั่งหลับตา ยกมือท่านขึ้นในระดับศีรษะ ชั่วระยะสูดลมหายใจเข้า – ออก ประมาณ ๔ – ๖ ครั้งท่านจะลืมตา หลังจากนั้นเชิญถามตามสบาย ท่านสามารถตอบได้ทั้งเรื่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ลูกศิษย์หลายคนพูดกันว่า หลวงปู่ท่านได้ญาณ แต่ไม่มีใครกล้าถาม เพราะเคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งถามแล้วท่านตอบแต่ว่า “ปู่เป็นพระ พูดไม่ได้ เอ็งบวชเรียนแล้วน่าจะรู้ ขืนให้ปู่พูด เท่ากับให้ปู่อาบัติ” ต่างก็เลยไม่รู้ว่า ท่านได้ญาณขั้นไหน แต่กับเตี่ย ข้าพเจ้ารวบรวมความกล้าถามท่านตรง ๆ ว่าที่เตี่ยให้ยกนิ้วแล้วเตี่ยดูนิ้ว แล้วตอนนั้นเตี่ยดูด้วยญาณใช่ไหม เตี่ยจับจิตของผู้ถามตรงที่เขาตั้งใจยอกนิ้วหรือเลือกนิ้ว และใช้กระแสจิตพุ่งเข้าจับจิตของผู้ถาม ชั่วระยะเวลาที่เขานึกยกนิ้วใช่ไหม

    เตี่ยพยักหน้า นั่งหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ข้าพเจ้ารีบถามต่อทันทีว่า “เตี่ยได้ญาณขั้นไหน” เตี่ยส่ายหน้า ยิ้ม “อั๊วไม่รู้ อั๊วเคยแต่นั่งปฏิบัติ” ข้าพเจ้ารีบพูดต่อทันทีว่า “ผมกำลังนั่งปฏิบัติเหมือนกัน แต่เพิ่งเริ่มขั้นอนุบาล” เตี่ยถามว่า “ลื้อทำยังไง” ข้าพเจ้าตอบว่า “บางครั้งนั่ง บางครั้งนอน ท่อง พุทโธ ๆ ไปจนหลับ” เตี่ยพูดทันทีว่า “ช้าไป เสียเวลา ไม่ต้องท่อง พุทโธ ธรรมโม หรือสังโฆทั้งสิ้น” “งั้นทำอย่างไรละเตี่ย” ข้าพเจ้าถามอย่างสงสัย เตี่ยอธิบายว่า เวลาลื้อจะนอนลง หรือก่อนจะนอน ให้ตั้ง “สติ” แล้วกำหนดไว้เลยว่า เมื่อนอนลงหรือนั่งทำสมาธิแล้ว “ดีไม่คิด เลวไม่คิด” ทำจิตให้สบาย ไม่ต้องท่องอะไรทั้งสิ้น

    เมื่อวิมลท้องลูกคนต่อมาจนใกล้จะคลอด ข้าพเจ้ากับวิมล บ่นถึงหลวงปู่ เพราะไม่ได้พบท่านนานหลายเดือน เนื่องจากท้องแรก ในขณะที่ข้าพเจ้าและวิมลกำลังแพ้ท้องกันทั้งสองคนนั้น ท่านได้ทายไว้ว่า เราจะได้ลูกชาย เมื่อใกล้กำหนดวันคลอดลูกคนที่สอง ข้าพเจ้าชวยวิมลขับรถไปหาเตี่ยที่เมืองชลบุรี เอารูปหลวงปู่ให้ติ๊กดู บอกว่าท่านจำศีลอยู่ในถ้ำระหว่างพรมแดนไทย – พม่า แถบเมืองกาญจนบุรี ข้าพเจ้าขอให้ติ๊กนั่งติดต่อกับปลวงปู่ ช่วยเป็นธุระถามท่านว่า ๑. จะได้ลูกผู้ขายหรือลูกผู้หญิง ๒. จะครบ ๓๒ ประการหรือไม่ และ ๓. จะคลอดเองโดยปรกติหรือว่าต้องผ่าตัด

    ติ๊กนั่งสักอึดใจหนึ่งก็ลืมตา ทำหน้าเลิกลั่กบอกว่า ท่านไม่ค่อยพอใจที่จู่ ๆ ก็มีสีกาเข้าไปในถ้ำที่ท่านกำลังทำสมาธิอยู่ ท่านถามติ๊กว่า ที่มาหาท่านมีธุระอะไร ติ๊กตอบว่า พี่ศรีวิทย์กับพี่อี๊ดให้มาถาม ๓ ข้อ” ท่านนิ่งไปสักประเดี๋ยวและหัวเราะก่อนที่จะตอบติ๊กว่า ให้มาทั้งที ถ้าไม่ครบ ๓๒ เสียชื่อคนให้ ไว้ถึงวันคลอดก็รู้เองว่า เด็กมันจะมี “หนอน” หรือไม่ มี “หนอน” หนอนที่ว่า คือที่มันห้อยตุ๊กติ๊กของเด็กผู้ชายแหละครับ

    หลังจากวิมลคลอดบุตรได้ ๒ – ๓ เดือน เราสองคนได้มีโอกาสพอหลวงปู่ จึงขอให้ท่านตั้งชื่อลูกชายให้ด้วย

    ท่านพูดว่า “เด็กผู้หญิงที่อยู่เมืองชายทะเลมันเก่ง มันไปหาปู่จนเจอ”
    ข้าพเจ้ายังไหวไม่ทัน นั่งนึกอยู่นาน ใครกันหว่า หลวงปู่จึงพูดขึ้น “ ก็เด็กผู้หญิงที่เอ็งให้ไปช่วยถามเรื่องลูกชายยังไงล่ะ”
    หลวงปู่พูดยั่วอย่างอารมณ์ดีว่า “เมืองชายทะเลกับเมืองชลบุรีน่ะ มันห่างทะเลมากเชียวหรือ”

    ข้าพเจ้าพูดถึงติ๊กกับเตี่ย หลวงปู่ท่านรับฟังแต่ไม่โกรธที่ข้าพเจ้าไปหา ซึ่งผิดกับน้าเขยของข้าพเจ้า เคยไปหาอาจารย์คนหนึ่งกับเพื่อนของท่านและได้พระเครื่องมาห้อยคอหนึ่งองค์ ต่อมาเมื่อพบกับหลวงปู่ ท่านโกรธมาก เพราะอาจารย์นั้นปลอม ของที่ได้มาก็เป็นของปลอม ข้าพเจ้าเองก็แปลกใจที่น้าเขยข้าพเจ้าไปกับเพื่อน ทำไมท่านทราบได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เห็น ตอนจะกลับ หลวงปู่ท่านให้ของดีกับข้าพเจ้า และฝากให้ลูก ๆ ต่อมาเมื่อไปหาเตี่ย พอดีวันนั้นไม่มีแขก จึงนั่งคุยกันสี่คน มี เตี่ย, ติ๊ก, วิมล และข้าพเจ้า ติ๊กได้พูดถึงหลวงปู่ ข้าพเจ้าเลยเอาของของท่านออกมาให้เตี่ยดู ก่อนจะกลับ เตี่ยถามว่าผ้ายันต์ที่เตี่ยเคยให้ข้าพเจ้ายังอยู่ไหม ถ้าพบอาจารย์ของลื้อ ให้ท่านดูซิว่าใช้ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้กลับมาพบหลวงปู่ เอาผ้ายันต์ให้ดู หลังจากที่ท่านดูสักครู่ ท่านเรียกเข้าไปหา ให้ข้าพเจ้าก้มศีรษะ ท่านใช้นิ้วต่างเหล็กจาร เขียนลงกระหม่อมและบอกให้ข้าพเจ้าไปถามเตี่ยว่าใช้ได้ไหม

    เมื่อมาพบเตี่ย เตี่ยพูดขึ้นว่า การลงกระหม่อมนี้ ถ้าอาจารย์ที่ลงให้วิชาแก่กล้าจริง ๆ เมื่อผู้นั้นตายไปแล้ว ลองไปถลกหนังหัวออกดู จะเห็นเป็นรอยสักตัวอักขระสี่เขียว ๆ ติดอยู่ที่กระดูกกะโหลกศีรษะ ว่าแล้วท่านก็หยิบมือข้าพเจ้าไปเพ่งสักครู่แล้วก็เป่าพรวด พร้อมกับสั่งว่า ไปให้อาจารย์ลื้อดู ข้าพเจ้าวิ่งรอกอยู่หลายอาทิตย์ โดยไม่ได้นึกเฉลียวใจเลยแม้แต่นิดว่า นั่นคือการลองวิชาของทั้งสองท่านโดยใช้ข้าพเจ้าเป็นม้าวิ่ง จนครั้งสุดท้าย ข้าพเจ้าอดรนทนไม่ได้ เลยถามเตี่ยว่า ผู้ที่นั่งสมาธินั้น ถ้าตั้งใจพบกัน จะพบกันได้ไหม เตี่ยตอบว่า “ได้” “แล้วเตี่ยกับหลวงปู่เคยพบกันหรือยัง” ข้าพเจ้ารีบถามต่อโดยเร็ว เตี่ยสั่นหน้าแล้วยิ้ม ๆ ก่อนตอบว่า “อั๊วนั่งสมาธิของอั๊ว ท่านก็นั่งของท่าน” ก่อนจะกลับ เตี่ยเรียกข้าพเจ้าสองคนให้ลงไปข้างล่าง ตอนนั้นประมาณเมี่ยง เตี่ยลงไปเพ่งดวงอาทิตย์สักครู่แล้วมาเพ่งที่หน้าวิมลกับข้าพเจ้า พอข้าพเจ้ายกมือไหว้จะลากลับ เตี่ยหันมาสั่งว่า ลองไปหาอาจารย์ลื้อดูอีกทีซิว่า วิธีการนี้ดีไหม

    เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบหลวงปู่ คำแรกมี่ท่านทักข้าพเจ้าก็คือ ..........”เซียนแป๊ะที่เมืองชายทะเลเก่ง” ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้มาหาเตี่ย ได้เล่าให้เตี่ยฟังว่า หลวงปู่เรียกเตี่ยว่า “เซียนแป๊ะ” เตี่ยนั่งยิ้ม ๆ ไม่พูดว่าอะไร แต่ก่อนจะกลับกรุงเทพฯ เตี่ยเดินลงไปเปิดตู้เย็น หยิบปลาสดใส่ถุงให้ข้าพเจ้าไปทำอาหารกินที่กรุงเทพฯ หลายตัว วิมลจะขอคืนบ้าง ขอเอาไปเพียงตัวเดียว เพราะที่บ้านมี ๔ – ๕ คนเท่านั้น เตี่ยพูดว่า “เอาไปหลาย ๆ ตัว ใส่ตู้เย็นไว้ได้” ข้าพเจ้าเลยชิงพูดขึ้นว่า “เตี่ยให้แล้ว เอาไปให้หมด พรุ่งนี้ทำอาหารตักบาตรถวายพระได้อาหารตั้งหลายอย่าง”

    เตี่ยสบตากับข้าพเจ้า เราต่างเข้าใจกัน โดยไม่ต้องพูดอะไรเลย ต่อจากนั้นไม่นานอาจารย์ทั้งสองของข้าพเจ้าก็จากไป เหลือไว้แต่ความทรงจำ ซึ่งต่อไปจะเป็นตำนานที่จะให้ข้าพเจ้าไว้เล่าให้ลูกชายตัวเล็ก ๆ สามคนฟัง เสมือนหนึ่งเป็นนิทานพื้นบ้าน ที่คนเล่าเท่านั้นจึงจะซาบซึ้งแก่ใจ ข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่า เวลาที่จะได้พบ “เตี่ย” นั้นมีไม่มากนัก หากข้าพเจ้ายังภูมิใจว่า นอกจาก “พ่อ” แท้ ๆ ของข้าพเจ้าแล้วยังมี “เตี่ย” อีกคนหนึ่งที่ข้าพเจ้าเรียกว่า “เตี่ย” ได้อย่างเต็มปากและเต็มใจยิ่ง
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    อาจารย์สู ผู้วิเศษ
    สมพร เทพสิทธา




    “ข้าพเจ้าได้ยินชื่อ “อาจารย์สู” เป็นครั้งแรกจากท่านอาจารย์สาธิต ฐานวโร เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิต ซึ่งได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ได้ไปเรียนวิชาจากอาจารย์สูที่ชลบุรี อาจารย์สูได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมามากและมีความรู้พุทธปรัชญาอย่างลึกซึ้ง จนมีผู้ขนานนามว่า “เซียนสู” ท่านอาจารย์สาธิตบอกว่าจะพาข้าพเจ้าไปชลบุรีเพื่อพบท่านอาจารย์สูเมื่อมีเวลาว่าง ข้าพเจ้าก็เฝ้ารอโอกาสที่จะไปพบท่านอาจารย์สู แต่ท่านอาจารย์สาธิตก็ยังไม่มีเวลาว่างสักที ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้พบกับคุณอำนวย อินทุภูติ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการอำนวยการสภายุวพุทธิกษมาคมแห่งชาติ คุณอำนวยบอกว่าได้เคยไปพบอาจารย์สูมาแล้ว และบ้านอาจารย์สูก็อยู่ในบริเวณตลาดอำเภอเมืองนี่เอง ข้าพเจ้าจึงขอให้คุณอำนวยพาข้าพเจ้าไปหาอาจารย์ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๑๐ พร้อมกับอาจารย์อำไพ สุจริตกุล ดร.ศรีปัญญา รามโกมุท คุณเอกไท นิลโกศย์ และคุณทิพพร เทพสิทธา พวกเราได้คุยอยู่กับอาจารย์สูเป็นเวลาชั่วโมงกว่า แม้จะเป็นครั้งแรกที่ได้พบและคุยกับอาจารย์สู ข้าพเจ้าก็รู้สึกเลื่อมใสอาจารย์สูมาก และคิดว่าข้าพเจ้าได้มาพบปูชนียบุคคลที่หาได้ยากอีกผู้หนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา ข้าพเจ้าก็ไปหาอาจารย์สู เป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์ นอกจากจะเดินทางไปราชการต่างประเทศหรือติดงานอื่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจารย์สูก็ได้ให้ความเมตตาปราณีแก่ข้าพเจ้าเสมอมา ได้สอนธรรมะปละเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ข้าพเจ้าฟัง กว่าที่ข้าพเจ้าจะลากลับก็มักจะเป็นเวลา ๒๑ หรือ ๒๒ นาฬิกา นอกจากนี้ยังสั่งให้ภรรยาจัดอาหารเย็นเลี้ยงดูข้าพเจ้าและผู้ที่ร่วมเดินทางไปด้วยอย่างอิ่มหนำสำราญ

    ข้าพเจ้าได้ถามคุณอำนวยว่า ชาวเมืองชลนับถือและมาหาอาจารย์สูมากน้อยเพียงใด คุณอำนวยบอกว่าคนที่นับถือและมาหาอาจารย์สู ส่วนใหญ่มักจะมาจากกรุงเทพและจังหวัดอื่น ชาวเมืองชลส่วนใหญ่มักไม่รู้จักอาจารย์สู ถึงแม้จะรู้ ก็รู้อย่างผิวเผิน ไม่ทราบถึงคุณธรรมความดีและความสามารถของท่าน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาจารย์สูอยู่ในจังหวัดชลบุรีมานาน เมื่อเริ่มแรกท่านมีอาชีพทำขนมปังขาย ชาวเมืองชลจึงเห็นท่านเป็นเพียงคนทำขนมปัง แม้ท่านจะได้บรรลุคุณธรรม ก็ไม่สนใจและไม่เคารพเลื่อมใส ข้าพเจ้าเห็นจริงด้วย และบอกกับคุณอำนวยว่า ก็น่าเห็นใจชาวเมืองชล เพราะถ้าคนใช้บ้านเราเกิดไปเล่าเรียนธรรมะจนบรรลุคุณธรรมวิเศษเข้า จะให้เราเคารพเลื่อมใสย่อมเป็นการยาก แต่ก็ดีเหมือนกันที่ชาวเมืองชลไม่รู้จักอาจารย์สูมากนัก หากรู้จักก็จะมารบกวนท่าน จนท่านอาจไม่มีเวลาว่างที่จะมาสั่งสอนธรรมะและคุยเรื่องต่าง ๆ ให้เราฟัง อาจไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดจนเป็น “ศิษย์ก้นกุฏิ” ของอาจารย์สู เช่นขณะนี้ .......................”

    นี่เป็นข้อความส่วนหนึ่งที่ข้าพเจ้าเขียนไว้ในหนังสือ “อาจารย์สูผู้วิเศษ” ซึ่งพิมพ์เป็นที่ระลึกในการทอดกฐินสามัคคีคณะศิษย์อาจารย์สู ที่วัดสิงห์ทองพรหมาวาส อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๐ หนังสือเล่มนั้นนับเป็นเล่มแรกที่ได้มีการเขียน เล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของท่านอาจารย์ ครั้งนั้นข้าพเจ้าเขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังได้เขียนไว้ในคำนำของหนังสือเล่มนั้นแล้ว คือ “.......ประการแรก เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของท่านอาจารย์สู ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลที่หาได้ยากผู้หนึ่ง ข้าพเจ้าอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ในสังคมปัจจุบันที่กำลังรุ่งเรืองในทางวัตถุ แต่เสื่อมโทรมในด้านจิตใจ และในขณะมี่คนดีจริง ๆ กำลังขาดแคลนและหายากนั้น เรายังมีบุคคลผู้หนึ่งซึ่งได้ปฏิบัติธรรมะในพระพุทธศาสนาจนได้คุณธรรมอันสูง และได้บำเพ็ญบารมีให้ความช่วยเหลือแก่บรรดาศิษย์และประชาชนด้วยความเมตตากรุณาโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ประการที่ ๒ ก็เพื่อให้ประวัติปละคำสอนของท่านอาจารย์สู เป็นเสมือนโอสถทิพย์ ชโลมจิตใจของพวกเราที่ถูกถ่วงด้วยกิเลส และถูกเผารนให้รุ่มร้อนด้วยความชุลมุนวุ่นวายของชีวิต ไม่รู้จักพอ ความเห็นแก่ตัว การแก่งแย่งชิงดี ความอิจฉาริษยา ให้สงบเย็นลงบ้าง แทนที่เราจะแสวงหาความสุขจากวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว ขอให้เรามาลองหาความสุขจากความสงบของจิต ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในดูบ้าง อย่าให้เราเป็นเหมือนคนขี่โคที่เที่ยวตามหาโคเลย ปละประการที่ ๓ ก็เพื่อให้หนังสือเล่มนี้เป็นที่ระลึกในการทอดกฐินที่วัดซึ่งอาจารย์ได้สร้างขึ้น.....”

    ความจริงตอนนั้น ท่านอาจารย์ไม่มีความปรารถนาเลยที่จะให้นำเรื่องของท่านมาเขียนเผยแพร่ ท่านขอร้องให้ข้าพเจ้าเลิกล้มความตั้งใจที่จะเขียนเรื่องของท่าน โดยบอกว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร และท่านไม่อยากให้ใครมารบกวนท่านมาก เพราะท่านไม่ต้องการให้คนรู้จัก ปละไม่ปรารถนาลาภสักการะหรือชื่อเสียงเกียรติยศอย่างใดทั้งสิ้น แต่ข้าพเจ้าได้ขอร้องท่าน ขอให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องของท่านโดยย่อ ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความเคารพเลื่อมใสได้ทราบประวัติของท่าน และได้ทำประโยชน์จากคำสอนอันลึกซึ้งของท่าน ซึ่งหาฟังหรืออ่านได้ยาก ท่านจึงได้ยอมให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องของท่านพิมพ์เป็นที่ระลึกในการทอดกฐินวัดสิงห์ทองพรหมาวาส ซึ่งท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง

    นับเป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งในอดีตซึ่งผ่านมาแล้ว ถึง ๑๒ ปีที่ข้าพเจ้าได้เขียนเรื่องราวของท่านอาจารย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยความปิติยินดีที่ได้พบปูชนียบุคคลผู้ควรแก่การเคารพสักการะ มาบัดนี้ข้าพเจ้าก็ต้องมาเขียนถึงท่านอาจารย์อีกเป็นครั้งที่สอง แต่เป็นการเขียนด้วยความโศกเศร้าและอาลัยที่ปูชนียบุคคลผู้ควรแก่การเคารพสักการะได้จากพวกเราไปเสียแล้วย่างกะทันหัน และไม่มีใครจะคาดคิดมาก่อน สำหรับคุณธรรมความดีของท่านนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าผู้ที่รู้จักและเคยพบปะพูดคุยด้วยก็ย่อมทราบดีอยู่แก่ใจของตนเองแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่ได้รู้จักท่านอย่างดีมาก่อน ก็คงจะได้อ่านเรื่องราวของท่านอาจารย์จากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพิงศพของท่าน แต่คงเป็นการ “รู้จักอย่างผิวเผิน” เท่านั้น เพราะท่านอาจารย์ก็ได้จากไปแล้ว การอ่านเรื่องราวของท่านจากหนังสือนั้นก็ย่อมเปรียบกับการที่ได้พบปะและสนทนากับท่านอาจารย์ด้วยตนเองมิได้เลย นอกจากนี้ยังจะเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ในการอ่าน หากมิได้เข้าใจถึงคุณค่าของคำสั่งสอนของท่านอาจารย์และมิได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองสืบต่อไป และก็คงไม่เกิดประโยชน์อันใด ถ้าข้าพเจ้าจะอธิบายว่า ทำไมจึงเรียกท่านอาจารย์ว่า .....”อาจารย์สูผู้วิเศษ” .....................

    ข้าพเจ้าขอเล่าเหตุการณ์ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้พบและพูดคุยกับท่านอาจารย์จนเกิดความเคารพเลื่อมใสท่านอาจารย์อย่างสูง ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่มีความใฝ่ใจในการศึกษาถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมาก ที่ไหนมีอาจารย์ผู้มีชื่อในการสอนธรรมะ ข้าพเจ้าก็มักจะไปหาเพื่อไต่ถามถึงหลักธรรมและวิธีปฏิบัติ ในครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้มาหาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าก็ได้ไต่ถามท่านอาจารย์ถึงหลักธรรมเป็นคำแรกว่า “ขันธ์ห้า คืออะไร ?” ท่านอาจารย์ได้ตอบข้าพเจ้าอย่างสั้น ๆ และชัดถ้อยชัดคำว่า “ไม่มี” เพียงคำนี้ก็ทำให้ข้าพเจ้าสะดุ้ง รู้สึกว่าเป็นคำตอบที่ลึกซึ้งกินใจความอย่างที่ข้าพเจ้าไม่เคยคิดมาก่อน และเกิดความเลื่อมใสท่านอาจารย์ขึ้นมาทันที ไม่นึกเลยว่า คนจีนรูปร่างสูงใหญ่ นุ่งขาวห่มขาว และพูดไทยไม่ค่อยชัด คนนี้จะพูดคำพระจี้ใจคนถูกจุดได้เช่นนี้ และแน่ใจว่า ท่านอาจารย์จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนเกิด “ดวงตาเห็นธรรม” แล้ว ข้าพเจ้าเคยไปถามปัญหาข้อนี้จากอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ซึ่งก็ได้คำตอบต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยจะเหมือนกันนัก และไม่ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจได้ดีพอ คำตอบของท่านอาจารย์สูเพียงคำเดียวได้ทำให้ข้าพเจ้าหมดความสงสัยและเกิดความเข้าใจขึ้นมาทันทีว่า “ขันธ์ห้า ความจริงไม่มีอะไร เพราะเรามีอุปทานเข้าไปยึดมั่นถือมั่น มันจึงเกิด “มี” ขึ้นมา แล้วเรายังจะ “โง่” ไปเที่ยวถามใครต่อใครอีก ทั้งหมดนี่มันก็เป็นขันธ์ห้าอยู่แล้ว”

    จากนั้นข้าพเจ้าได้ถามท่านอาจารย์อีกหลายปัญหาก็ได้คำตอบที่ทำให้ความกระจ่างแก่ข้าพเจ้าขึ้นมาก ท่านอาจารย์ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ได้ศึกษาธรรมจากหลักธรรมของนิกายเซนและแนะให้ข้าพเจ้าไปอ่านหนังสือชื่อ “สูตรของเว่ยหล่าง” ซึ่งมีแปลเป็นภาษาไทยแล้ว โดยท่านพุทธทาสภิกขุ นับเป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ฟังเกี่ยวกับหลักธรรมของนิกายเซน เมื่อข้าพเจ้าได้ไปอ่านหนังสือ “สูตรของเว่ยหล่าง” ก็เกิดศรัทธาความเลื่อมใส เป็นคำสอนที่เน้นหนักไปในด้านการปฏิบัติให้พ้นทุกข์อย่างฉับพลัน โดยใช้ปัญญาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีรีตองใด ๆ ตอนที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ เมื่อมาถามท่านอาจารย์ ก็ได้คำตอบที่ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความกระจ่างทุกทีไป ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าเกิดความเลื่อมใสท่านอาจารย์มากขึ้น และรู้ดีว่า ความรู้ความเข้าใจของท่านอาจารย์ได้มาจากการปฏิบัติจริง ๆ มิใช่เป็นความรู้ที่ได้มาจากการอ่านหนังสือ หรือจำคนอื่นมา ข้าพเจ้าไม่เคยพบอาจารย์ใดที่มีความเข้าใจในธรรมะได้ลึกซึ้งอย่างนี้มาก่อน ซึ่งข้าพเจ้าคิดเสมอว่า ธรรมะของท่านอาจารย์นี่แหละคือของดีของท่านอาจารย์ ส่วนของวัตถุอื่น ๆ ที่ท่านทำ เป็นเพียงเครื่องแสดงเมตตาธรรมของท่านอาจารย์ต่อผู้ที่ไม่สนใจในการปฏิบัติเท่านั้น

    ท่านอาจารย์เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณละเอียดสุขุม มองเรื่องต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งถึงแก่น สิ่งที่ท่านอธิบายให้พวกเราฟัง จะตั้งอยู่บนรากฐานของเหตุผลและเป็นจุดสำคัญของเรื่องราว ท่านเคยพูดว่า คนเราเมื่อเข้าใจสิ่งหนึ่งได้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของมันแล้ว ก็จะเข้าใจในสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดด้วยเช่นกัน เพราะทุกสิ่งย่อมตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งเดียวกัน คือ กฎของธรรมชาติหรือสัจธรรม และเมื่อเราเรียนมาถึงขั้นหนึ่งก็จะพบว่า ธรรมะที่แท้นั้นไม่มีอะไรเลย ไม่มีคำพูดใด ๆ ที่จะพูดถึงได้ ซึ่งคนธรรมดายากที่จะเข้าใจ นอกจากจะปฏิบัติและเข้าใจได้ด้วยตนเอง

    มาบัดนี้ ท่านอาจารย์ก็ได้จากพวกเราไปเสียแล้ว ข้าพเจ้ากล่าวได้เพียงแต่ว่า รู้สึก “เสียใจ” และ “เสียดาย” จริง ๆ “เสียใจ” ที่ท่านอาจารย์ผู้ที่ข้าพเจ้ารักและเคารพได้จากไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด และรู้สึก “เสียดาย” จริง ๆ ที่พวกเราได้สูญเสีย..”ปูชนียบุคคล” ผู้ควรค่าแก่การเคารพสักการะและปฏิบัติตามไปเสียแล้ว “ดวงประทีปของโลก” ผู้ส่องแสงสว่างให้มวลมนุษย์ได้ดับลับจากโลกไปอีกดวงหนึ่งแล้ว จึงขอให้พวกเราที่ยังหลงอยู่ในความมืด จงยึดเอาคำสั่งสอนของท่าน เป็นประดุจแสงเทียนที่จะส่องทาง นำไปสู่จุดหมายเบื้องหน้าที่มีแต่ความสะอาด สว่าง และสงบเถิด
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เตี่ยกับไซอื๋ว

    นอกจากเตี่ยจะอบรมสั่งสอนลูก ๆ ด้วยหลักธรรมแล้ว ยังชอบเล่านิทานให้ลูก ๆ ฟัง ซึ่งทุกเรื่องล้วนมีคติสอนใจด้วยกันทั้งนั้น บางคราว นิทานของเตี่ยก็วกเข้ามาด่าว่าและสั่งสอนลูก ๆ ที่มีข้อบกพร่อง โดยไม่รู้สึกตัว กว่าลูก ๆ จะรู้ตัวว่าเตี่ยกำลังตำหนิอยู่ ก็ฟังเรื่องจนจบไปแล้วก็มี ถึงกระนั้น ลูก ๆ ก็ยังชอบที่จะฟัง เพราะเตี่ยได้แทรกคำสอนและแนะวิถีทางที่ถูกไว้ด้วย นับว่าเตี่ยเป็นพ่อที่มีวิธีการอบรมลูก ๆ อย่างแปลกแหวกแนว ไม่ซ้ำแบบใคร และลูก ๆ ก ไม่ค่อยกลัวเวลาเตี่ยว่าตรง ๆ แต่ถ้าเตี่ยว่าอ้อม ๆ แบบนี้ทั้งเจ็บทั้งคันนัก

    เรื่องที่บันดาลูก ๆ ชอบฟังมากที่สุดก็คือเรื่องเตี่ยเล่าว่า เมื่อตอนเตี่ยเด็ก ๆ ก็ชอบฟังผู้ใหญ่เล่าเรื่อง “ไซอิ๋ว” เหมือนกัน แต่อยู่มาวันหนึ่ง ในขณะมี่เตี่ยกำลังนั่งสมาธิอยู่ ก็เกิดรู้ขึ้นมาว่า เรื่อง “ไซอิ๋ว” นั้นความจริงไม่ใช่เป็นนิทานที่เล่าสู่กันฟังสนุก ๆ เท่านั้น แต่คนแต่งเรื่องนี้ ซึ่งเป็นพวกเต้าหยิน หรือโยคีของจีน ได้เอาเรื่องที่พระจีนเดินทางไปศึกษาพระธรรมในชมพูทวีป (ไซที) ในสมัยพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ มาแต่งเปรียบเปรยถึงพระตั้งแต่มาบวชเรียนแล้ว เริ่มต้นปฏิบัติจนได้มรรคผล ซึ่งทั้งเรื่องจะเป็นธรรมะล้วน ๆ กล่าวถึงทางปฏิบัติสมาธิ เข้าญาณ และกิเลสต่าง ๆ ที่นักปฏิบัติจะต้องเอาชนะไว้อย่างละเอียดลออ จนสุดท้ายได้พบพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงบรรลุถึงความเป็น “พุทธะ” นอกจากนี้ชื่อต่าง ๆ ที่เป็นภาษาจีน ถ้าแปลออกมาแล้ว ก็ล้วนแต่มีความหมายด้วยกันหมดทั้งสิ้น ในทำนองเดียวกัน ทางฝ่ายพระของจีน ก็ได้แต่งเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับพวกนักพรตหรือโยคีของจีน คือ เรื่อง “ห้องสิน” ซึ่งแต่งเป็นนิทานปรัมปราอิงประวัติศาสตร์ของจีน ที่เน้นหนักไปในด้านอิทธิฤทธิ์อภินิหาร ความจริงแล้ว ผู้แต่ง ได้เขียนถึงการปฏิบัติของพวกนักพรต ซึ่งมีความเชื่อกันว่า ถ้าจำศีลภาวนาจนสำเร็จ “เต๋า” แล้ว ก็จะได้เป็น “เซียน” หรือ เทวดา มีฤทธิ์ต่าง ๆ ในเรื่องยังได้มีการกระทบกระแทกแดกดันถึงพวกนักพรต ทีภายหลังมาลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในโลกียสุข จนก่อความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่คนทั่วไป

    เตี่ยบอกว่า สำหรับผู้ที่ใฝ่ใจในการปฏิบัติอยู่แล้ว เมื่อได้ทราบความหมายอย่างนี้ เวลาไปอ่านทั้งสองเรื่องนี้ดูก็จะเข้าใจได้ด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะเรื่อง “ไซอิ๋ว” เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการปฏิบัติของตนเองทีละขั้น ๆ ก็จะค่อย ๆ รู้และเข้าใจอย่างละเอียดและยังมีประโยชน์สำหรับการปฏิบัติในขั้นต่อ ๆ ไปด้วย พวกเราจึงขอกล่าวเอาแต่ใจความที่สำคัญ ตามที่เยได้เล่าให้พวกเราฟังในเรื่อง “ไซอิ๋ว”

    เตี่ยเล่าว่า ลิงเห้งเจียนั้นเปรียบเสมือน “ใจ” ตือโป๊ยก่ายเป็น “ความหลง” ซัวเจ๋ง คือ “โทสะ” ม้าขาว เปรียบเหมือน “มโน” การที่เปรียบเห้งเจียเหมือนใจนั้น ก็เพราะ ใจคนนั้นไม่ผิดอะไรกับลิง ซึ่งวอกแวกอยู่เสมอ ยากมี่จะควบคุมให้นิ่งได้ ใจคนนั้นสามารถนึกคิดไปถึงอะไรได้ไกล ๆ เหมือนกับการที่เห้งเจียสามารกระโดดทีหนึ่งไปได้ไกลเป็น แสน ๆ หมื่น ๆ ลี้ และการที่เห้งเจียมีฤทธิ์สามารถแปลงกายได้มากมายนั้น ก็หมายถึงการที่ใจของคนเราแปรเปลี่ยนไปได้หลายลักษณะตามอารมณ์ที่เข้ามาครอบงำ

    ตอนที่เห้งเจียลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้านั้น กระโดดไปไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ ก็ยังไม่พ้นนิ้วมือทั้ง ๕ ของพระพุทธเจ้า ที่เป็นภูเขาห้ายอดขวางกั้นอยู่ ซึ่งหมายความถึงว่า ใจนั้นถึงจะมีฤทธิ์เดชเก่งกาจแค่ไหน ก็ยังหลีกไม่พ้น ต้องตกอยู่ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ มงคลที่สวมหัวเห้งเจียเอาไว้ เมื่อเห้งเจียก่อความวุ่นวายหรือ ไม่เชื่อฟังก็ใช้คาถา ๖ ตัว ท่องบังคับให้ปวดหัว ต้องยอมสยบเชื่อฟังนั้น คาถา ๖ ตัวก็คือ “งาน มา นี ปะ มี ฮง” ซึ่งหมายถึงการควบคุมอายตนะทั้ง ๖ ไม่ให้เข้าสู่อายตนะภายใน คือ ใจไม่ให้หวั่นไหวไปตาม ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สัมผัส และ มโนคิดปรุงแต่ง เมื่อใจไม่หวั่นไหว ก็จะสงบลงได้ เมื่อตรงนี้สงบแล้ว เห้งเจียก็ไปกับพระได้ คือเริ่มต้นปฏิบัติทางธรรมไปได้

    วันหนึ่ง พระไปพบปีศาจแมลงมุม พวกนี้แปลงเป็นผู้หญิงสวย ๆ ออกมากระเซ้ากับพระ กระเซ้าไป กระเซ้ามา พระจะปาราชิก เจ้าเห้งเจียมาถึงก็สับพวกนั้นตายหมด พระก็ผ่านด่านอันนี้ไปได้ เปรียบถึงว่า ความรักเหมือนใยแมลงมุม ผู้คนนึกว่าเป็นความสุขหวานชื่นเหมือนกับเห็นปีศาจแมลงมุมเป็นผู้หญิงสวย ๆ พอเกิดความรักเข้าก็เหมือนไปติดใยแมลงมุม ดิ้นเท่าไหร่ก็ไม่หลุด คนหนึ่งอาจที่จะผ่านด่านผู้หญิงอันนี้ไม่ได้ พอทีสุดท้ายตัดสินใจนึกถึงเรื่องปาราชิกกับศีลธรรมขึ้นมาแล้วก็เลยตัดสินใจอันนี้ ก็เลยสับพวกนั้นตายไป แค่นี้เอง

    ตอนที่จะข้าภูเขาไปซึ่งร้อนมาก ต้องไปขอยืมพัดวิเศษมาพัดดับไฟ คือ พัดเปรียบเหมือน “สุขุม” “สุขุม” เอาไว้ปราบ “โทสะ” ถ้ามีสุขุมจริง ๆ ปลงตกอันนี้ได้ โทสะอันนี้จึงจะหมดได้ ถ้ายังอยู่ในขั้นเฮงซวย เท่ากับได้พัดปลอม คือ เดี๋ยวสุขุม เดี๋ยวไม่สุขุม โทสะก็ยังจะมีเกิดขึ้นในระหว่างนั้นก็ต่อสู้กับโทสะ ไปห้ามโทสะให้หยุดระงับอยู่ ยิ่งระงับใจก็ยิ่งพลุ่งพล่าน ไฟก็ยิ่งลุก ถ้าปลงตก สุขุมจริง ๆ โทสะอันนี้จึงระงับอยู่ เท่ากับได้พัดอันจริงมาดับไฟ

    แล้วที่ว่ามีปีศาจต่าง ๆ อยากจะกินเนื้อพระ กินแล้วอายุยืน หมายถึง นักปฏิบัติถ้าไปทำผิด ทำผิดจนปาราชิกก็ดี ทำผิดนิดหน่อยก็ดี พวกปีศาจก็จะเล่นงานเอา คือกิเลสต่าง ๆ ก็เข้ามากวน

    เมื่อตอนที่เดินทางเข้าใกล้เมืองพระ มาถึงตอนหนึ่ง ต้องข้ามสะพาน มีสะพานอันเดียว เป็นไม้แผ่นเดียวไม่มีทางอื่น คือเปรียบเหมือนทีสุดท้าย นักปฏิบัติมีทางเดียวแล้ว ตอนที่จะลงเรือ พระก็มองลงไปเห็นเรือไม่มีพื้น ถ้าลงไปก็ตกน้ำตาย พระก็ไม่กล้าจะลงเรือ ทีนี้เห้งเจียก็ผลักตัวอาจารย์ลงไปเลย เรือไม่มีพื้นในนั้นไม่มีอะไร ก็เท่ากับว่างเปล่า นักปฏิบัติสุดขีดแล้วก็ไม่มีอะไรคือการเข้านิพพานน่ะ ไม่มีอะไรเลย พออีตอนที่ตัดสินใจผลักพระลงไป เรียกว่าไม่มีตัวกู เมื่อที่ไม่มีตัวกู มันก็เข้าประตูไปได้ ตอนนี้ลงเรือแล้ว จึงเห็นรูปพระถังหรือเห็นสังขารไหลไปตามน้ำเลย คือ เมื่อที่อะไร ๆ ก็อนัตตา ไม่มีตัวกูแล้ว ได้พบตัวเองก่อน แล้วจึงจะพบ “พุทธะ”

    ตอนหลังได้ตำรามา ในนั้นหนังสือตัวเดียวก็ไม่มี คือหมายความว่า สุดขีดแล้ว เหลือ “จิตดั้งเดิม” ความจริง “ธรรมะก็ไม่มีอะไร” มีแค่นี้เอง ตำรานั้นเรียกว่า “บ่อยี่จินเก็ง” คือ “อารมณ์ธรรมชาติ” อันนี้มีอะไร ? ธรรมชาติของเค้าเป็นอย่างนี้เอง ไม่มีอะไรที่ผุดขึ้นแล้ว

    เรื่อง “ไซอิ๋ว” นี้เป็นเรื่องที่ยืดยาวมาก เตี่ยเองก็อ่านมาตั้งแต่เด็ก ฟ จำไม่ค่อยได้ละเอียดนัก ลูก ๆ ก็อยากฟังมาก ๆ จึงหาหนังสือ “ไซอิ๋ว” ภาษาจีนมาให้เตี่ยอ่านทบทวนความจำ เผื่อเตี่ยจะได้เล่าและอธิบายให้ลูก ๆ ฟังโดยละเอียด พวกเราจะได้ไม่ต้องไปอ่านและไปขบคิดต่อเอาเอง (ด้วยความขี้เกียจ) ซึ่งเตี่ยคงรู้ใจพวกเราดี และต้องการดัดสันดานพวกเรา จึงไม่เล่าให้ฟังทุกตอน กลับบอกว่า ให้เราไปปฏิบัติและขบคิดพิจารณาเอาเองจึงจะเกิดประโยชน์ พวกเราก็เลยหน้าแห้งไปตาม ๆ กัน จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งนัก เพราะพวกเราเป็นศิษย์โง่ คอยแต่จะเรียนทางลัดท่าเดียว ไม่มีเตี่ยแล้วก็เลยติดแหงก ไม่รู้อ่านอย่างไรให้เข้าใจเหมือนเตี่ยได้
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ธรรมะจากเตี่ย

    “ธรรมะของเตี่ยนี้” เป็นการรวบรวมคำสั่งสอนและคำพูดของเตี่ยเกี่ยวกับหลักธรรมและการปฏิบัติที่เตี่ยได้ให้ลูก ๆ จดไว้ตามคำพูดของเตี่ยเอง และมีอยู่ ๒ บทที่เป็นร้อยกรองภาษาจีน ซึ่งเตี่ยได้แต่งเอาไว้ และได้ถอดความออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้เป็นที่พอเข้าใจ ส่วนความหมายที่แท้จริงนั้น ก็อยู่ที่แต่ละคนจะนำเอาไปขบคิดและปฏิบัติเอาเอง

    ก็โดยเหตุที่เตี่ยเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ธรรมะของเตี่ยทั้งหมดเป็นสิ่งที่ได้รู้และเข้าใจมาจากการปฏิบัติ ปละเตี่ยก็ได้ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการอธิบายเพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันง่าย ๆ ไม่ต้องนำไปขบคิดมาก อย่างไรก็ดี เตี่ยพูดเสมอ ๆ ว่า

    “ธรรมะของเตี่ย จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอย่างแท้จริงเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติก็อย่างนั้นเอง อย่างดีก็เพียงจะสามารถจดจำคำพูดเอาไว้ ไม่นานก็จะลืม และไม่มีทางที่จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งแท้จริงด้วยการขบคิด นอกจากนี้อาจหลงผิดไปด้วยอีกว่า ตัวเข้าใจดีแล้ว ทำให้เกิดหยิ่งว่า ตัวรู้ดีกว่าคนอื่น แล้วก็หลงงมงายไปกันใหญ่ กลับทำให้เกิดโทษ สู้อย่ารู้เลยจะดีกว่า “

    เหมือนอย่างที่เตี่ยเคยพูดว่า “รู้ ก็ถูกตัวรู้ปิดบัง”




    ๑. เกิดความรู้สึก ขี้ข้ากับลูก ลูกก็ขี้ข้ากับหลาน เพราะอวิชชา เกิดมีความรู้สึก แต่งงานเกิดขึ้น ถึงจะต้องเป็นขี้ข้า ขี้ข้าไม่มีสิ้นสุด เพราะอย่างนี้ นักปฏิบัติต้องรู้สึก อะไรเรียกว่าเกิด เกิดมาจากอวิชชา ไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้ ไม่ปฏิบัติก็เกิดอวิชชา ตายก็อวิชชา น่ากลัวจัง

    ๒. เป็น ๆ อยู่ไม่รู้สึก หลับไปยิ่งไม่รู้สึก ตายไปก็ยิ่งไม่รู้สึก ถ้าอย่างนี้เป็นผีแน่ ๆ อยากจะไม่เป็นผี ทุก ๆ ลมหายใจ อย่าขาดสติ

    ๓. พูดกันว่า “ศาสนาพุทธ” ไม่ถูกต้อง ต้องพูดว่า “วิชาพระ” เพราะศาสนาอย่างอื่นไม่ได้สอนให้พ้นทุกข์ เพราะอย่างนี้ เรียกว่าศาสนาพุทธไม่ถูกต้อง ต้องเรียกว่า “วิชาพระ”

    ๔. ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นพระจริง ๆ มีแต่พระโลหะ พระไม้ พระรูปถ่าย พระสงฆ์ ลองหยุดอย่าคิดอะไรทั้งสิ้น ระหว่างนั้นจะได้เห็นพระจริง ๆ เขียนฝากต่อไปอีกสิบปี ร้อยปี พวกที่รู้ข่าว

    ๕. อะไรเรียก “กูเอง” สังขารเลือดเนื้อไม่ใช่มีแต่ขันธ์ห้า บ้างก็เรียกอายตนะภายนอก อายตนะภายใน บ้างก็เรียกวิญญาณ บ้างก็เรียกความรู้ บ้างก็เรียกปัญญา รู้ที่ใจไม่ถูก รู้สึกว่างเปล่าไม่ถูก รู้สึกบริสุทธิ์ไม่ถูก ที่เหลืออยู่นั่นแหละ “หน้าตาจริง ๆ “ อย่างนั้นเอง

    ๖. พระพุทธเจ้าทำไมต้องสอนสมถะ ทำไมต้องสอนวิปัสสนา ทำไมไม่สอนทีเดียวให้พ้นทุกข์ ถ้าทีปัญญาดี กับปัญญาไม่ดี มีเวรมากหรือเวรน้อย เพราะอย่างนี้ พระคุณท่านสอนด้วยความจำเป็น ไม่ใช่สอนด้วยใจจริง ๆ ใจจริง ๆของพระคุณท่านอยากจะสอนทีเดียวให้พ้นทุกข์เลย

    ๗. สมถะข้างต้น ทิ้งสมถะ เอาอะไรเข้าไปเรียนวิปัสสนา เอา ความอดทน เข้าไปต่อสู้กับกิเลส นี่แหละวิปัสสนา

    ๘. พระพุทธเจ้าบอก ไม่มีเกิด ไม่มีตาย มนุษย์ทำไมมีเกิดมีตาย เพระมนุษย์มีกิเลส พระคุณท่านไม่มีกิเลส

    ๙. มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ตกอยู่ในเงียบเฉย มีปัญญาไม่มีสมาธิกายเป็นเผอเรอ พูดเก่งไปด้วย สมาธิก็ยากไปด้วย ปัญญาก็ยาก ปฏิบัติอย่างดีที่สุด ต้องสมาธิควบปัญญาถึงจะดี ความจริงไม่มีอะไร ปฏิบัติอาศัยสมถะกับวิปัสสนามาล้างผลาญกิเลสให้หมดสิ้น ไม่ใช่อาศัยที่เห็นนี่เห็นโน่น เข้าใจว่าวิปัสสนา ที่เขียนอย่างนี้ นอกจากคนที่รู้ข่าว ไม่ก็เท่ากับพูดส่งเดช ไม่ได้เกี่ยวกับอะไรเลย

    ๑๐. ไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้ ยังปฏิบัติอยู่ก็ไม่ดี ถ้าหมดกิเลสแล้วยังจะปฏิบัติอะไรเล่า ข้ามฝั่งแล้วทิ้งเรือ แบกเรือจะดีหรือ ?

    ๑๑. ปฏิบัติทางไหนถึงจะดี ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ กัมมัฏฐานสี่สิบอย่าง ทุก ๆ อย่างสุดต่อนิสัยของใคร ชอบอย่างไหน อย่างไหนฟันกิเลสคล่อง ชนะกิเลสง่าย ใช้อย่างไหนก็ดี ดีที่ชนะกิเลสง่าย อย่างนี้แล้วอย่างไหนถึงจะดีเล่า ทุก ๆ อย่างสุดต่ออุปนิสัยของใคร

    ๑๒. อะไรเรียก “หน้าตาดั้งเดิม” ระหว่างคิดก็ไม่ใช่ ระหว่างคิดชั่วก็ไม่ใช่ ก่อนที่ยังไม่ได้คิดดีคิดชั่ว ไม่ใช่เฉย ๆ ไม่ใช่ว่างเปล่า ไม่ใช่บริสุทธิ์ อารมณ์ธรรมชาติ นี่แหละ “หน้าตาดั้งเดิม”

    ๑๓. หินก้อนหนึ่งตรงกลางซ่อนมีเพชร ต้องอาศัยเจียระไน ขุด ขัด เพชรจึงจะชัดเจนขึ้นมา จิตเราก็เหมือนกัน ความจริงแล้ว จิตดั้งเดิมก็ส่วนจิตดั้งเดิม กิเลสก็ส่วนกิเลส ก่อนที่ยังไม่รู้ ก็เอากิเลสมาพอกกับจิตดั้งเดิม เหมือนอย่างเปลือกหินมาพอกกับเพชร นี่แหละเรียก “อวิชชา” เมื่อจิตดั้งเดิมโผล่ขึ้นแล้ว ก็ได้รู้สึกกิเลสกับจิตดั้งเดิมเป็นคนละอย่าง ถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่มีธรรมะ จะเรียนรู้กิเลส คือวิปัสสนา ผู้ที่บรรลุธรรมคือบรรลุกิเลส จิตดั้งเดิมรู้ชัดเจนแล้ว ระหว่างนั้น ความจริงก็ไม่มีอะไร แต่มาถึงตรงนี้ อันตรายสุดขีด ต้องให้รู้สึกพยายาม อย่าขาดสติ อย่าให้กิเลสกลับเข้ามาอีก พระพุทธเจ้าสอนไว้ เรียกเป็นว่า “อาชีพชอบ” อย่าเข้าใจว่า ไม่ต้องปฏิบัติแล้ว - ไม่มีอะไรจะต้องปฏิบัติต่อไปอีก – สิ้นสุดแล้ว ให้ปฏิบัติต่อไปอีก ต้องให้ชำนาญคล่องแคล่วจึงวางใจได้ สมกับ “พุทโธ อรหันต์”

    ๑๔. “เอาอารมณ์ไว้ที่ไหน ?” พูดคำนี้เกิดขึ้นความหมายมี ๔ อย่าง อย่างหนึ่งว่า “รู้แล้ว” อย่างหนึ่งว่า “ไม่รู้” อย่างหนึ่งก็ “ขาดสติ” อย่างหนึ่งก็ “มีสติ” ผู้คนพูดอย่างนี้ ยังไม่รู้จักต้นทาง ถ้ารู้แล้วไม่ถามอย่างนี้ ตัวเองเข้าใจถามว่า “อารมณ์ไว้ที่ตรงไหนจึงจะถูก” ความจริงยังถูกตัวรู้ปิดบังยังไม่รู้เลย วางกิเลสหมดก็เบา เบาก็เกิดสุข มีกิเลสอยู่ก็เกิดหนัก หนักก็เกิดทุกข์ พอสุขเกิดขึ้นก็ติดสุข เชือกสุขก็มัดเรา มีกิเลสก็เกิดหนัก หนักก็เกิดทุกข์ เชือกทุกข์ก็มัดเรา อารมณ์เกิดบริสุทธิ์ เชือกบริสุทธิ์ก็มามัดเรา อารมณ์เกิดว่างเปล่า เชือกว่างเปล่าก็มามัดเรา จะใช้อารมณ์บริสุทธิ์ อารมณ์บริสุทธิ์ยังคู่กับอารมณ์สกปรก ต้องใช้อารมณ์บริสุทธิ์จนไม่บริสุทธิ์ผุดขึ้น คือ อารมณ์ธรรมชาติ นี่แหละต้นทาง

    ๑๕. มนุษย์เราเดี๋ยวนี้มีเกิดมีตาย พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ถ้าเห็นต้นทางแล้วต้องยกมือไหว้ พระพุทธเจ้าท่านมีจิตเมตตา ไว้มีธรรมะให้คนทีหลังได้เรียน อ้อ ไม่มีเกิด ไม่มีตายจริง ๆ

    ๑๖. “กัมมัฏฐานสี่สิบอย่าง” เปรียบในโลกแล้ว เท่ากับ “อาชีพสี่สิบอย่าง” ชำนาญอย่างไหนก็ทำอยู่อย่างนั้น ความจริงปฏิบัติกัมมัฏฐานเพื่อว่าต่อสู้กับกิเลส พอมีสมาธิหน่อย เห็นนี่เห็นโน่น ทำของก็ขลัง ตัวเองก็เข้าใจว่าได้ธรรมแล้ว แท้ที่จริงพอทิ้งกิเลส กลับไปฉวย กิเลสกัมมัฏฐาน ขึ้นมาเป็นกิเลสอีก ถ้ารู้ตรงนี้ “สาธุพุทธะ” หน้าตากัมมัฏฐานอย่างนี้เอง

    ๑๗. อวิชชาไม่รู้ทันเขา กายวาจาก็ปรุงแต่งขึ้นเมื่อที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นก็เกิดทำขึ้น เมื่อที่ทำเกิดขึ้น ก็ได้รู้ดีชั่วผิดถูก หลงอยู่อย่างนี้ ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย เกิด ๆ ตาย ๆ ไม่มีสิ้นสุด เมื่อปลงตกอย่างนี้แล้ว เริ่มบังเกิดเชื่อกัมมัฏฐาน ปฏิบัติไปจริง ๆ ถึงจะเชื่อจริง ๆ ถ้าไม่อย่างนี้ก็เท่ากับ เชื่อเขาดีก็ตามดี ชั่วก็ตามชั่ว เลยกลายเป็นไม่รู้จะปฏิบัติอะไรเลย นี่แหละสมถะ นี่แหละ วิปัสสนา ปลดเปลื้องให้หมด กิเลสก็ไม่เอา กัมมัฏฐานก็ไม่เอา วิปัสสนาก็ไม่เอา อ้อ นี่ต้นทาง

    ๑๘. เรื่องอะไรต่าง ๆ ที่เคยผ่านแล้วไม่ได้เอากลับมาคิด อารมณ์ที่เหลืออยู่อันนั้นเรียกว่า “ใจ” ใจไม่มีเปลี่ยนแปลงก็เรียกว่า “พระ” ปรากฏที่เห็นอะไรต่าง ๆ นานาเกิดขึ้นเป็นที่ใจ ละอะไรต่าง ๆ ที่เห็นเหลืออยู่เรียกว่า “พระ” รู้แล้วจะให้ทำอย่างไร ? ง่ายนิดเดียว จิตอย่าสร้างความดี จิตอย่าสร้างบาป จิตคิดขึ้นให้ตัดเสีย จิตอย่าสงสัย อารมณ์ที่เหลืออยู่ “หน้าตาดั้งเดิมของท่าน” อ้อ ต้นทางอยู่ตรงนี้เอง

    ๑๙. เรื่องราวเริ่มเห็นสิ่งหนึ่งเรียกว่า “รูป” เมื่อมีรูปเกิดขึ้นแล้ว “มโน” ก็ทำงาน ก็ได้รู้ว่าสิ่งของนี้เรียกอะไร ตอนนี้เรียกว่า “นาม” ไม่ใช่ชื่อเรียกว่า นาม ตอนที่เราบังเกิดใจ ตอนนั้นเรียกว่า “นาม” นักปฏิบัติปลงตก รูปนามต้องรู้ ไม่ใช่เกิดอยู่ข้างนอก แท้ที่จริงเป็นอยู่ที่จิตของเราแยกออกไป นักปฏิบัติรู้ตรงนี้แล้ว เรียกว่า “เริ่มรู้ธรรม” ถ้าไม่รู้ก็ตามรูปตามนาม หลงใหลงมงายไม่มีสิ้นสุด อย่าลืม ยังมีจิตดั้งเดิม

    ๒๐. รูป แปลว่า ร่างกายของเราเอง

    เวทนา แปลว่า เรารับว่าชอบหรือไม่ชอบ

    สัญญา แปลว่า ทุกวันที่เรานึกคิด

    สังขาร แปลว่า คิดไม่ยอมหยุด เกิดใหม่ก็ไม่ยอมทิ้ง

    วิญญาณ แปลว่า ที่เรารู้ผิดหรือถูก

    ๕ อย่างนี้เรียกว่า “ขันธ์ห้า” ปลงตกรูป นั่งลงไปแล้ว หลับตาก็สว่าง ลืมตาก็สว่าง ปลงตกเวทนา ทิ้งร่างกายได้จะขึ้นสวรรค์หรือลงนรกไปได้โดยสะดวก ปลงตกสัญญา นึกคิดหยุด ปลงตกสังขาร ได้เห็นนิพพานจริง ๆ ปลงตกวิญญาณ อายตนะภายนอก-ภายในเชื่อมติดเป็นแผ่น ไม่มีอะไรขัดขวาง มาถึงอย่างนี้แล้ว นักปฏิบัติทุกคนเข้าใจว่า “ว่าง” ถึงจะพูดกันบ่อย ๆ นิพพานแปลว่า “ว่าง” ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าง คืนสภาพดั้งเดิมของเราเอง ถ้าได้จริง ๆ แล้วก็ได้อภิญญาหก ถ้ายังไม่ได้จริงอย่าเข้าใจผิดว่าได้ธรรมแล้ว หลอกตัวเองด้วย หลอกคนอื่นด้วย “ข้ามฝั่งแล้วทิ้งเรือ” ถ้าได้จริง ๆ เท่าที่กล่าวไว้ เรือทิ้งได้ ถ้ายังไม่ได้ ให้แจวต่อไปอีกเถิด

    ๒๑. ก่อนที่เรายังไม่มาเกิด สังขารก็นำมาก่อน นักปฏิบัติให้เปลี่ยนอันนี้เป็นความรู้ ลองไปยืนอยู่หน้ากระจกออกมาแล้ว รูปจะติดอยู่ในกระจกไหม ถ้าไม่ติด นี่แหละ “ธรรม”

    ๒๒. นึกคิดไม่หยุด ก็ปรุงแต่งเกิดใหม่ไม่มีสิ้นสุด ไม่ทิ้งตัวนี้นำมาก่อน เมื่อจุติอยู่ในท้องแม่แล้วเรียกว่า “รูป” เมื่อมีรูปแล้วก็เกิด “อายตนะหก” เมื่อมีอายตนะหกแล้วก็รับเข้าอายตนะภายใน อย่างนี้ก็เรียกว่า “เกิดตัวกู” เมื่อมีตัวกูเกิดแล้ว กูต้องกิน กูต้องนุ่งห่ม ลูกเมียชื่อเสียงอำนาจเงินทองมันก็หมุนอยู่ คิดอยู่ เกิดใหม่ก็ปรุงแต่งอยู่ไม่มีสิ้นสุดคิด ไม่มีสิ้นสุดทำ ทำจนวันสุดท้าย รูปหยุดทำงาน แตกดับก็เรียกว่า “ตาย” ก็ตัวตาย ใจก็ยังคิดไม่หยุด เกิดใหม่ก็ไม่ทิ้ง ทีนี้เกิด ๆ ตาย ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ ไม่มีสิ้นสุด เกิดตายนี่แหละเรียกว่า “อวิชชา”

    นักปฏิบัติถ้ารู้ว่าอวิชชาแล้ว สมถกัมมัฏฐานวิปัสสนา เปรียบแล้วเป็นมีดวิเศษอันหนึ่ง เผื่อว่าฟันกิเลสให้หมดไปตามที่เขาว่า “ว่าง ๆ “ อนัตตาความจริงก็ว่าง กิเลสที่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นวิปัสสนากิเลสทั้งนั้น ถ้าอยากจะรู้จริง ๆ ก็เลิกคิดดี เลิกคิดชั่ว ที่เหลืออยู่เรียกว่า “หน้าตาดั้งเดิม” ว่างก็ว่างแต่กิเลส มีก็มีจิตดั้งเดิม มาถึงตรงนี้สำคัญที่สุด

    ๒๓. ยังไม่รู้ก็ตามกิเลส รู้แล้วก็ติดตัวรู้ เปลี่ยนตัวรู้เป็นปัญญา เหมือนอย่าง ปัญญากระจก จิตใจไม่ให้มีอะไรขัดขวาง มาถึงตอนนี้เหมือนอย่างเส้นผมบังภูเขา สุดขีดแล้ว รู้ก็อนัตตา ไม่รู้ก็อนัตตา ปัญญาก็อนัตตา ไม่ปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่มีทางไป ปฏิบัติอย่างนี้ก็ละเอียดสุดขีด พูดแล้วคนที่ไม่เข้าใจอย่าพูดกันดีกว่า พูดก็เท่านั้นเอง

    ๒๔. “มีกัมมัฏฐานมีตัวกู มีกัมมัฏฐานไม่มีตัวกู ไม่มีกัมมัฏฐานไม่มีตัวกู” มีกัมมัฏฐานมีตัวกู ยังอยู่ในขั้นเฮงซวย มีกัมมัฏฐานไม่มีตัวกู พอใช้ได้ ไม่มีกัมมัฏฐานไม่มีตัวกูขั้นต้นเรียนจบ ทีนี้จะไปอย่างไรต่ออีก มาถึงขั้นปฏิบัติทางใจ เรียกว่า “วิปัสสนา” พิจารณาให้รู้ว่า เกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปยังไง ถ้ารู้ว่าเกิดมาจากไหนแล้ว ย่อมได้รู้ “อวิชชา”

    ๒๕. รู้แล้วต้องรู้ “ขันธ์ห้า” ต้องรู้ “ปัญญาขั้นต้น” อายตนะหกสู่เข้าอายตนะภายใน ใจเรารู้เท่าทันกับเขา ไม่มีกระเทือนหวั่นไหว เรียกว่า “อุเบกขา” อย่าเข้าใจผิดว่า อุเบกขาแปลว่า เฉย ๆ เฉยไม่มีความรู้สึกเหมือนอย่างต้นไม้ เฉยจะได้เรื่องอะไร ต่อไปแล้วจะทำอย่างไร กลางวันไม่ตามกิเลส กลางคืนไม่มีงง จิตใจผ่องใส สว่าง ขอให้ทำได้ มีตายที่ไหนเล่า เขียนก็เท่ากับเขียนส่งเดช ไม่รู้เมื่อไหร่ อาจจะสิบปี ร้อยปี อาจที่จะพบรู้ข่าว

    ๒๖. จดหมายฉบับหนึ่ง เกิดมีคนสองคน ต่างเขียนได้ ต่างคนต่างอ่านออก ถ้าคนหนึ่งรู้ความหมาย คนหนึ่งไม่รู้ความหมาย คนรู้เกิดเมตตาจิต สอนให้คนไม่รู้ ก็เกิดรู้แจ้งเห็นจริง สอนกัมมัฏฐานก็เช่นกัน ถ้าคนไม่รู้ความหมาย สอนลูกศิษย์แล้ว ถึงทำได้ก็ไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ความหมายเกิดขึ้น สงสัยก็ตามมา อยู่ในกัมมัฏฐานสงบ ออกกัมมัฏฐานก็ฟุ้งซ่าน ถ้ารู้ความหมาย อยู่ในกัมมัฏฐานกับออกกัมมัฏฐานเหมือน ๆ กัน ระหว่างจะเรียน ระหว่างจะสอนให้พิจารณาก่อน ไม่ใช่เขาพูดเราก็ตามเขา ผิดถูกไม่รู้เหมือนอย่างคนเสียสติ บ้าอยู่จนไม่รู้สึกตัว

    ๒๗. เรียนกัมมัฏฐาน ระหว่างเรียนต้องบังเกิด ใจ ก่อน ข้อนี้ให้ระวังที่สุด เมื่อเกิดใจแล้ว ก็เกิดเป็นสอง คือ รู้ กับ ไม่รู้ เหมือนอย่างเราทุกวันนี้ เข้าใจว่ารู้ แท้ที่จริงขาดสติตลอดชีวิตเลย อีกอย่างหนึ่ง ควรเข้าใจว่า รู้แล้วก็หลงตามกับที่เรารู้ไป ก็ขาดสติเช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มแรกเรียนกัมมัฏฐาน เรียนวิธีหนึ่งชนะคนอื่น อีกวิธีหนึ่งชนะตนเอง เหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ เรียนนักธรรมเอกได้แล้ว ก็เรียนบาลี จบ ป. ๙ เริ่มมีความรู้ดีกว่าคนอื่น เราชนะคนอื่นก็ได้ปกครองคนอื่น ถ้าขาดสติแล้ว นึกว่ากูเองเป็นคนวิเศษวิโส ชื่อเสียงเงินทองข้าวของอำนาจ เล่นให้เราหลงงอมแงมไปเลย ถ้าไม่ระวัง ตกอยู่เช่นนี้แล้วหลงตลอดชีวิตเหมือนกัน ระหว่างตายยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถึงอารมณ์สุดท้ายพอดีจะตายแล้วปรับทุกข์กับใครไม่ได้ อย่างนี้ดีชั่วผิดถูก นักปฏิบัติให้รู้เอง เรียนวิชาอะไรต่าง ๆ นานาสุดขีดแล้วก็เหมือนอย่างนี้ นักปฏิบัติพิจารณาเอาเอง น่ากลัว

    ๒๘. สังขารเริ่มต้นที่จะรู้เป็นอวิชชา ลักษณะอวิชชา คือ กาย วาจา ปรุงแต่ง เรารู้ไม่ทันกับเขา ผิดเข้าใจว่าถูก ไม่ดีเข้าใจว่าดี เมื่อทำผิดแล้วไม่รู้ ที่ทำไว้คิดไว้เก่า ก็พยายามรวบรวม ใหม่ก็พยายามสะสม ขาดสติตลอดชีวิตเลย เมื่อตายแล้ว วิญญาณตามที่ทำไว้นำไปเกิด เพราะเราเองตกอยู่ในสังขารเช่นนี้ พ่อแม่เราก็เช่นนี้ เข้าพวกกันได้ เมื่อจุติในท้องแม่ของเรา เกิดมีอายตนะหก คลอดออกมาแล้ว ตอนนี้มีชื่อ ชื่ออันนี้ ตามในตำราเรียกว่า “รูป” เมื่อมีรูป ก็เกิดอายตนะหกสู่เข้าอายตนะภายใน กายวาจาปรุงแต่งเกิดขึ้น เหมือนในชาติก่อน ทีนี้ก็ตายอีก ตายแล้วก็เกิด เกิด ๆ ตาย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด เกิดรู้แล้ว นักปฏิบัติที่มีปัญญาชั้นหนึ่ง พบจิตที่แท้ เห็นทางปฏิบัติของเขาเอง ที่มีปัญญาชั้นสอง ก็ต้องตามกัมมัฏฐานสี่สิบ เมื่อรู้แจ้งว่า สังขารเล่นกลกับเรา วางก็ไม่ลง ทิ้งก็ไม่ได้ ก็ต้องใช้สมถกัมมัฏฐานกับวิปัสสนา ซึ่งเปรียบแล้วเหมือนอาวุธคมชนิดหนึ่งใสช่วยฟันกิเลสให้หมด นักปฏิบัติเริ่มเรียนกัมมัฏฐานให้เรียนรู้ว่า ขันธ์ห้าเล่นกลกับเราอย่างไร เราจะป้องกันได้อย่างไร รู้แจ้งอันนี้แล้ว เรียกว่า “เรียนกัมมัฏฐาน” ต่อไปก็ “เข้ากัมมัฏฐาน” เหมือนกับคนหนึ่งเรียนหนังสือ เรียนรู้หลักแล้วก็ลงมือทำจริง ๆ จึงจะไม่พลาด จะเข้ากัมมัฏฐาน ต้องหยุดนึกคิดปรุงแต่ง มีนึกคิดปรุงแต่งตกอยู่ภายในสังขาร หยุดนึกคิดปรุงแต่งได้ ไม่ใช่ว่าง ๆ ไม่ใช่บริสุทธิ์ ไม่ใช่รู้ที่ใจ ที่เหลืออยู่เป็นอารมณ์ธรรมชาติ อารมณ์อันนี้ ทำไม่ถึงจะเรียกว่าอารมณ์ธรรมชาติ เปรียบได้กับเรามีเสื้อขาวตัวหนึ่ง ไม่ต้องให้เราบังเกิดใจมาคิดว่า เสื้อนี้ขาว เมื่อพื้นขาวแล้ว ไม่พูดก็ขาว ไม่ต้องให้เราพูดอีก สรุปแล้ว เอาอารมณ์ธรรมชาติควบกับกัมมัฏฐานสี่สิบอย่างที่ถูกกับนิสัยของเรา เมื่อเข้ากัมมัฏฐานก็ให้มีความอดทนปฏิบัติไป ฉะนั้น เริ่มต้นเข้ากัมมัฏฐานก้าวแรกถูก ปลายทางก็ถูกด้วย ก้าวแรกผิด ปลายทางก็ผิดหมด สำเร็จหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง ขอก้าวแรกให้ถูก สาธุด้วย

    ๒๙. นึกคิดปรุงแต่งหยุด กายหยุด ใจหยุด หายใจไม่มีเข้าออก เริ่มเข้าสมาธิได้ เขาถือเอาอารมณ์บริสุทธิ์เป็นสุดทาง พุทธเอาอารมณ์ธรรมชาติมาเข้ากัมมัฏฐาน อารมณ์ธรรมชาติไม่มีอะไรให้ผุดขึ้น ไม่มีแม้นอารมณ์ธรรมชาติ ไม่มีแม้นไม่มีอารมณ์ธรรมชาติ สมมุติเรียก อารมณ์ธรรมชาติ

    ๓๐. คล้าย ๆ ฝัน ไม่ใช่ฝัน คล้าย ๆ หลับไม่ใช่หลับ คล้าย ๆ ตาย ไม่ใช่ตาย นี่แหละ “พวกหนอ” คล้ายรู้ไม่ใช่รู้ กับ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ รู้ก็ไม่ใช่ ใช้คำพูดไม่ถูก ใช้แกกาเขียนก็เขียนถูก นักปฏิบัติมาถึงตอนนี้หมดหนทาง เพราะยังมีอย่างนี้ พระพุธเจ้าถึงได้บอกว่า “นักปฏิบัติให้รู้เอง”

    ๓๑. แบกของอยู่เรียกว่า “ไม่ว่าง” วางของลงก็เรียกว่า “ว่าง” แล้วก่อนที่ยังไม่ได้แบกล่ะ เรียกว่าอะไร ยังจะมี แบก กับ ไม่แบก ว่าง กับ ไม่ว่าง อยู่อีกหรือ ?

    ๓๒. พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า “ใจไม่ใช่อยู่ข้างนอก ไม่ใช่อยู่ข้างใน และไม่ใช่อยู่กลาง อย่างนั้นใจอยู่ที่ไหน ? จะใช้ใจดวงไหนดีเล่า ?” ตอบได้ว่า เมื่อยังมี ตัวกู อยู่ ใจก็ยังมีอยู่ จะเป็นข้างนอก ข้างใน หรือ ตรงกลางก็แล้วแต่ เมื่อหมด ตัวกู แล้ว ใจจะอยู่ที่ไหนเล่า

    ๓๓. พูดว่าง คิดว่าง

    พูดบริสุทธิ์ คิดบริสุทธิ์

    เดิมไม่มีย้อมติด

    ไม่พูดนั่นแหละรู้
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    บันทึกคำสอน

    บันทึกคำสอนนี้ เป็นเพียงการบันทึกข้อความในการสนทนาถามตอบ ระหว่างเตี่ยกับลูก ๆ และลูกศิษย์บางคนเท่าที่พอจะบันทึกไว้ได้ และได้เลือกมาเฉพาะบางตอนที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป

    ๑. ถาม ผีมีจริงหรือไม่ ?

    ตอบ เอาอย่างนี้ดีกว่า คนถาม เวลานี้ฟังผมพูดอยู่น่ะ รู้สึกตัวหรือเปล่า ? หมายความว่า ถ้าฟังเพลินไปตามที่ผมพูดอย่างหนึ่ง ถ้ารู้สึกตัวว่าเราฟังอยู่ ก็อีกอย่างหนึ่ง คือ เวลาเราลืมตัว ก็อารมณ์หนึ่ง เวลาเราจำเราเองได้ก็อีกอารมณ์หนึ่ง เรามีสติรู้ตัวอยู่อันนี้เรียกว่าเป็นคนล่ะ ถ้าขาดสติหลงลืมตัวอยู่ล่ะก็ อันนี้เป็นผีล่ะ ลองดูทีว่า จะตั้งอารมณ์ว่าเราฟัง อยู่อย่างนี้ได้นานสักเท่าไร เดี๋ยวเดียวก็ลืมแล้ว บางคนน่าสงสาร ตลอดชีวิตหลงหมด หลงคามกับเรื่องราวไป ดีก็ตามดี ชั่วก็ตามชั่ว ตัวเองไม่ได้เป็นตัวเป็นตนแล้ว ทำไมจะไม่ใช่ ผี เป็น ๆ อยู่ก็ขาดสติเป็นผีแล้ว ไม่ต้องรอถึงตายหรอก

    ๒. ถาม เวลานี้เขาเรียนหนอ กันอย่างไร ?

    ตอบ ของเขาเริ่มปฏิบัติ ก็เท่ากับคนบ๊องสอนคนบ๊อง ไม่ใช่เราจะติเตียน ข้อนี้เขียนแล้วให้ดูเองตามที่เขาสอน ตาเห็น หูได้ยิน ใจนึกคิด กระทบตัวเอง กระทบข้างนอก ให้หนอหมดตามที่เขาบอก ไม่ให้ขาดสติถึงนาทีสุดท้าย ร่างกายหยุด มโนหยุด เกิดตัวแข็ง ระหว่างแข็งเหมือนกับนอน ไม่ใช่นอนเหมือนกับตาย ไม่ใช่ตาย เหมือนกับฝัน พอออกจากกัมมัฏฐานแล้วรู้สึกว่าดี แถมซ้ำอาจารย์ยังบอกอีกว่า เข้านิโรธบ้างละ เข้าโลกุตตระบ้างละ เป็นอริยบุคคลบ้างละ ระหว่างเข้าสงบดี ออกแล้วก็ฟุ้งซ่านตามเคย นาน ๆ แล้วก็เกิดสงสัย จริงหรือ ? แล้วจะทำอย่างไรดี

    ตามตำราอนัตตา ในนั้นมีกัมมัฏฐานสิบอย่าง “หนอ” อยู่ในนั้นอย่างหนึ่ง หนอ แปลแล้วเป็นคาถาบทหนึ่ง มีตัวหนังสือตัวเดียว หนอตัวนี้แปลแล้วเป็นอนัตตา ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว นั่งตัวแข็ง มีอะไรแสดงเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นกิเลส กิเลสเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ใช่อนัตตา ก็ให้เกี่ยงว่า หนอ หมด หมายถึง มีอะไรแสดงเกิดขึ้น ก็ให้เกี่ยงว่าเป็นอนัตตา เห็นก็อนัตตา ได้ยินก็อนัตตา คิดก็อนัตตา กิเลสก็อนัตตา ถ้ารู้อย่างนี้ นั่งแล้วตัวแข็งเหมือนกัน ระหว่างนั้นเหมือนตะวันกำลังเที่ยง นักปฏิบัติรู้แล้วเริ่ม ก. ข. ไม่รู้ก็เท่ากับหินหรือท่อนไม้ นาน ๆ เข้าต้องถอยหลัง

    ๓. ถาม ทำอย่างไรถึงจะมีสกุลไปบวชได้ ?

    ตอบ ตามในพระพุทธศาสนา มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สกลุของพระสงฆ์เป็นอาจารย์มนุษย์ เป็นอาจารย์เทวดา ผู้คนที่บวช แลงตกแล้วรู้สึกว่า ชีวิตไม่กี่สิบปีก็ตาย หันกลับไปดูมนุษย์ข้างหลัง หลงใหลงมงายอยู่ ก็บังเกิดจิตพระโพธิสัตว์ บวชแล้วจะไปโปรดสัตว์ ก็ไปลาผู้แก่เฒ่า ผู้ที่รู้ก็ให้ศีลให้พร บวชเสร็จออกมาแล้วได้โสดามรรค ไม่ใช่บวชตามประเพณีข้างนอก บวชแล้วแต่งเครื่องแบบพระสงฆ์ ข้างในเหมือนมาร เข้าใจว่าบวชแล้วได้บุญ ถูกคนไหว้ที ตัวยังดี ๆ อยู่ แต่วิญญาณหงายหลัง ไม่ได้บุญกลับได้รับบาป ถ้าจะบวชให้ศึกษาชีวิตเกี่ยวกับธรรมะ รู้แล้วถึงจะบวช ถ้ายังไม่รู้ก็อย่าเพิ่งบวช

    ๔. ถาม “คาถา งาน มา นี ปะ มี ฮง” มีความหมายอย่างไร

    ตอบ เป็นภาษาแต้จิ๋ว ชื่อคาถาเรียกว่า “หลักไต้เม่งจิ๋ว” แปลว่า “ท่องแล้วปัญญาดี” คาถานี้ เท่าที่รู้ หมายถึงอายตนะหก เป็นคาถาของพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านอธิษฐานไว้ ความจริงพระคุณท่านจะเข้านิพพานไปนมนานแล้ว แต่เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายยังทุกข์อยู่ ท่านก็ตั้งจิตจะโปรดสัตว์ให้หมดแล้วจึงจะยอมเข้านิพพานไป เมื่อมีที่ตรงไหนมีอันตราย ท่องแล้ว ท่านก็ช่วย อย่างในเมืองจีน ๙๕% ก็ท่อง “นำโม โอนิ ธอฮุด” อันนี้เกี่ยวกับว่า เมื่อก่อน มีพระพุทธองค์หนึ่ง ก่อนที่จะนิพพาน ก็อธิษฐานว่า ต่อไปมีใครท่องภาวนาอย่างนี้ ก่อนที่จะตายก็ยังภาวนา ท่านจะโปรดไป จึงเกิดมี ๒ พวก พวกหนึ่งท่อง “ งาน มา นี ปะ มี ฮง” อีกพวกท่อง “นำโม โอนิ ธอฮุด” เหมือนอย่างในเมืองไทย พระบางองค์ก็ให้ท่อง อรหัง บางองค์ก็ให้ท่อง พุทโธ คือให้คล้าย ๆ กับมีที่พึ่งอยู่อย่างหนึ่ง พระพุทธแล้วไม่มีโกหก คือหมายความว่า ถ้าเรายังสมาธิไม่ดี เรายังอาศัยอธิษฐานของท่าน เผื่อว่าจะไปรอด เหมือนพึ่งเรือลำหนึ่ง เผื่อว่าจะได้ข้ามฝั่ง อย่างนี้

    ๕. ถาม อารมณ์มีกี่ลักษณะ ?

    ตอบ อย่างที่เคยพูด เวลาเรารู้สึกตัว ตั้งใจฟัง เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “รู้” เราลืมตัว เพลินตามที่ฟัง ก็อีกอารมณ์หนึ่ง เรียกว่า “ไม่รู้” ทั้งสองอารมณ์ตกอยู่ในขันธ์ห้า เรียกว่า “วิญญาณ"”ทีนี้ อารมณ์ทั้งสองอย่างเราไม่เอาหมด เป็นอารมณ์ที่ไม่ได้นึกคิดปรุงแต่ง ตามที่ท่านเว่ยหล่างว่า “ดีชั่วไม่คิด” ระหว่างนั้นน่ะ เป็นหน้าตาดั้งเดิมของท่าน คือเราไม่ได้คิดทำอารมณ์ธรรมชาติ ไม่ว่าใครจะพูดอะไร ทีนี้ไม่ใช่เรียกว่า “รู้” ไม่ใช่เรียกว่า “ไม่รู้” เรียกรู้ก็ไม่ถูก เรียกไม่รู้ก็ไม่ถูก เรียกไม่ฟังก็ไม่ถูก เรียกเฉย ๆ ก็ไม่ถูก มันก็เรียกว่า ธรรมดา อันนี้เรียกว่า “สมมติฟัง” รวมแล้วเป็น ๓ อารมณ์

    เมื่อเราทำอารมณ์ธรรมชาติ ไม่ว่าอะไรกระทบมาแล้ว เรารู้ทันกับเขาว่า ขันธ์ห้าตกอยู่ตรงไหน ที่รู้อย่างนี้ อารมณ์อันนี้เรียก “ปัญญา” ทีนี้ถ้ารู้สุดขีดแล้ว ไม่มีกิเลสอะไรที่เราได้รู้อีก “ปัญญาก็อนัตตา” คือปัญญาก็ใช้ไม่ได้อีก ปัญญาก็ไม่มี นักปฏิบัติ ถ้าเข้าไปอยู่ตรงนี้ เรียกว่า “วิปัสสนา” เมื่อที่กิเลสทั้งดี ทั้งชั่วไม่มีเกิดอีกต่อไปแล้ว ก็เรียกว่า “อรหันต์” อรหันต์แปลว่า “ไม่เกิด” ไม่ใช่วิเศษวิโสอะไร พูดธรรมดา ๆ ก็ว่า คนผู้นั้นไม่เกิดกิเลสอีกต่อไปแล้ว

    ๖. ถาม “รู้กับไม่รู้” ต่างกับ “มีสติกับขาดสติ”อย่างไร ?

    ตอบ รู้กับไม่รู้ ตกอยู่ในขันธ์ห้า เรียกว่า “วิญญาณ” รู้ ยังมีรู้ผิด รู้ถูก ถ้ามีสติแล้วก็เหมือนกับเกิดปัญญาขึ้นมาว่า อ้อ ทั้งรู้กับไม่รู้ก็ตกอยู่ในกิเลสทั้งนั้น เปรียบอย่างง่าย ๆ เรามีปืนอยู่ มีคนมาท้าเรา เราเกิดโมโหขึ้น ก็ชักปืนยิงออกไป ตำรวจก็เล่นงานเรา ไปโรงพัก ทีนี้พอไปแล้วจะทำอย่างไร เมียของเรายังสาว ๆ ลูกก็ยังเล็ก หน้าที่การงานก็ดี แย่แล้วซี มันทำผิดไปแล้วนี่ อันนี้แบบหนึ่ง ทีนี้พอชักปืนจะยิง เกิดรู้ตัวคิดขึ้น จำเป็นต้องยิงแล้ว อย่างน้อยที่สุดต้องสร้างคดีก่อน หรือจ้างใครได้ไหม ใช้เล่ห์เหลี่ยมอย่างไร สมควรแล้วยัง นี่เรียกว่า “รู้” อีตอนไม่รู้สิ มีปืนอยู่ก็ยิงปังออกไป เสร็จเลย สติอยู่ที่ว่า เราชักปืนจะยิง ก็เกิดคิดขึ้นว่า อันนี้ไม่ดี อย่ายิงเลย อันนี้เป็นบาป หรืออะไรต่าง ๆ นานา รู้สึกคิดขึ้นมาอย่างนี้ เรียกว่า “มีสติ” หรือลองสังเกตดูตามโรงหนัง หนังดี ๆ แล้วพวกที่มายืนรออยู่ข้างนอก ใจก็อยู่ในโรงหนังแล้ว มองเห็นได้ชัดเจนทีเดียว เมื่อเข้าไปดูหนังก็สลึมสลือ ดูไปพอหนังเลิก ออกมาถึงเพิ่งคิดขึ้นได้ว่า แหมเราหิวแล้ว จะไปกินข้าวที่ไหนดี บ้างก็ว่า แย่แล้วบ้านไม่ได้ใส่กุญแจ บ้างก็เกิดห่วงขึ้นมาว่า ลูก ๆ ที่บ้านร้องไห้หรือเปล่า จิปาถะ ถึงจะค่อย ๆ คิดขึ้นมาได้ เรียกว่า “ไม่รู้สึก” มันชักจูงเราไป ทีนี้ ที่ไม่รู้น่ะ ทำให้เราพลาดเยอะ ถ้ารู้แล้ว มันก็พลาดน้อย ถ้ามีสติก็ไม่มีพลาดเลย

    ๗. ถาม ขันธ์ห้า คืออะไร ?

    ตอบ ตัวของเรารวบรวมแล้ว สมัยก่อนก็เรียกว่ามี ดิน น้ำ ลม ไฟ ภาษาเดี๋ยวนี้ก็เรียกว่า มีกระดูก มีเนื้อ มีเลือด มีอุจจาระ ปัสสาวะ มีลมหายใจ มีความอบอุ่น ประกอบขึ้นมาเป็นร่างกาย ก็เรียกว่า “รูป เมื่อที่มีร่างกายแล้ว ก็มีการกระทบ เหมือนเช่น มือสองข้างอยู่เฉย ๆ ก็ไม่มีอะไร ถ้าเอาดีกันก็เกิดเสียง อันนี้เรียกว่า กระทบ กระทบมีกระทบหยาบ และกระทบละเอียด รวมเรียกว่า “เวทนา” ส่วน “สัญญา” นั้นก็คือ “คิด” คิดมั้งที่ไม่มีระเบียบ ทั้งที่มีระเบียบ คิด คล้าย ๆ คิด เหมือนกับคิดจะคิดไม่คิด รวมเรียกว่า “สัญญา” แต่ละโครงการที่คิดเหล่านี้ก็งมโข่งอยู่แล้ว ก็เก็บไว้โดยไม่รู้สึกตัว อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เวียนว่ายตายเกิด อันนี้เรียกว่า “สังขาร” ส่วน “วิญญาณ” ก็คือ ที่เราลืมตัว กับไม่ลืมตัว หรือที่เรารู้ กับไม่รู้ ดังนี้แล้วเมื่อที่มีอะไรนึกคิดปรุงแต่งอยู่ ก็ตกอยู่ในขันธ์ห้า ถ้ารู้อย่างนี้ขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่เอา ที่เหลืออยู่ก้ไม่ใช่ว่าง ความจริงธรรมชาติของเขาอย่างนั้นเอง เว่ยหล่างถึงพูดคำหนึ่งว่า “ดีชั่วไม่คิด หน้าตาดั้งเดิมของท่าน”

    ๘. ถาม “ญาณ” เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

    ตอบ “ญาณ” ก็คือปัญญา เมื่อที่นึกคิดปรุงแต่งหยุด ใจไม่มียึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวแล้ว ญาณก็จะเกิดขึ้นในตอนนี้แหละ ถ้าทำไม่ถึงตอนนี้ ก็เรียกว่าโกหกจอมปลอมทั้งนั้น ตอนที่ “ญาณ” เกิดนั้น มันเกิดรู้แจ้งขึ้นมาเอง ไม่ใช่คิดเอา ตอนนั้น ไม่มีตัวหนังสือที่จะแสดง หรือพูดออกมาได้ เรียกว่า “ฮุดปึ้งบ่องั้ง” คือ สุดขีดแล้วไม่มีคำพูด เหมือนอย่างที่ท่านโพธิธรรมบอก “ฮุยซิมท่งซิม” หมายถึง สอนวิธีในใจให้รู้เอง พูดขึ้นมาอีกทีหนึ่งว่า แล้วทำไมต้องเรียนล่ะ ? เรียนให้รู้แยะ ๆ แล้วก็หลง ที่เรียนอยู่ก็เป็นกิเลสทั้งนั้น ข้อนี้ความจริงก็นิดเดียว แต่ละคนไม่เข้าใจ ผมเองติดอยู่สิบกว่าปี ทีหลังพอรู้ขึ้นมาถึง แหม บัดซบที่สุดเลย มันเหลืออีกนิดเดียวน่ะ เหมือนอย่างเส้นผมบังภูเขา พระพุทธเจ้าถึงบอก “นักปฏิบัติให้รู้เอง”

    ๙. ถาม ที่เว่ยหล่างกล่าว “เอ้งบ่อส่อจู๋ ยื่อแซขี่ซิม” หมายความว่าอะไร ?

    ตอบ แปลแล้วก็ว่า ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยว บังเกิดแล้วก็ใช่ หมายความว่า คำว่ายึด กับ ไม่ยึด นั้น มีอย่างนี้ มนุษย์เรายึดแผ่นดินอยู่ แผ่นดินอันนี้ยึดกับไอน้ำอยู่ ไอน้ำนี้ยึดอยู่กับอากาศ อากาศก็ยึดกับอากาศธรรมชาติ อากาศธรรมชาติไม่มีที่ยึด เมื่อที่ไม่ยึดบังเกิดก็ไม่ยึด คนเรายึดกับกิเลสอยู่ ก็เมื่อที่กิเลสอะไรไม่มี มันก็ไม่มีอะไรยึด เมื่อไม่ยึดบังเกิดก็ไม่ยึด ปัญญาเกิดขึ้น เชือกแก้ออก พ้นทุกข์แน่ ตรงนี้ไม่เข้าใจ อ่านเว่ยหล่าง ทั้งเล่มก็ไม่รู้เรื่อง เว่ยหล่างเอง ทีแรกก็ยังติดอยู่หน่อยไม่รู้ ทีหลังพระอาจารย์กล่าวถึงข้อนี้ รู้แจ้งเลย มีครั้งหนึ่ง เว่ยหล่างถามพระองค์หนึ่งว่า ปฏิบัติอย่างไร พระก็ตอบว่า “บ่อเยี้ยม” คือหมายความว่า ไม่ได้ยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวอะไรเลย บ่อเยี้ยม อันนี้แปลว่า ไม่มีอะไรมาย้อมสีให้เปลี่ยนแปลงไป เค้าบอกแค่นี้ เว่ยหล่างก็บอก พอแล้ว “เยี้ยม” ตัวนี้ หมายความว่า “ย้อม” คือ คล้าย ๆ กับพื้นฐานสะอาดอยู่แล้ว มันมีอะไรไปย้อมเข้า มันก็เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มีอะไรไปย้อม พื้นฐานของเค้าก็อย่างนั้น

    ๑๐. ถาม คำว่า “มีปัญญาอย่างกระจก” หมายความว่าอย่างไร ?

    ตอบ มีกระจกตั้งอยู่ เราเข้าไปถึง หุ่นเราก็โผล่อยู่ในกระจก หมาเดินเข้าไป ถึงหมาก็โผล่อยู่ในกระจก ไม่ว่าสิ่งต่าง ๆ นานา พอเข้าไปถึง ก็โผล่อยู่ในกระจก แต่พอออกมา กระจกก็ไม่ยอมให้อะไรติดอยู่ เหมือนอย่างเช่นที่เรารู้ทันกับเขาแล้ว ไม่ว่ากิเลสอะไรต่าง ๆ นานา เราไม่ยอมให้เกาะอีกแล้ว อันนี้เรียกว่า “ปัญญา” เมื่อสุดขีด กิเลสหมดแล้ว ปัญญาก็อนัตตา เพราะกิเลสหมดแล้ว ปัญญาก็ไม่ได้ใช้

    ๑๑. ถาม “เอกัคคตา” หมายความว่าอะไร ?

    ตอบ “เอกัคคตา” ไม่ได้หมายความว่า จิตหยุดนิ่งอยู่แห่งหนึ่ง ไม่คิดไปในสิ่งอื่น หรืออารมณ์รวมเป็นหนึ่ง เอกัคคตา คือ สิ่งแวดล้อมชักชวนแล้ว ไม่มีหวั่นไหว หระทบกระเทือน เพราะรู้เท่าทันหมด ว่าเป็นกิเลส พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาร่างกายว่า มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตายแล้วก็เน่า เน่าแล้วก็เหลือแต่กระดูก พิจารณาอยู่อย่างนี้กี่สิบปี จนตายไปก็ยังไม่รู้เรื่อง ท่านสอนให้พิจารณา เผื่อว่าจะเกิดมีสติขึ้นมาว่า “นี่ไม่ใช่ตัวกู” เป็นสิ่งจอมปลอม เกิดปัญญาขึ้นมาเอง อวิชชาก็หมด ไม่เอกัคคตาก็เป็นเอกัคคตา มันเกิดของมันเอง บังคับไม่ได้ ห้ามไม่ได้ ตอนนี้ถึงมีพูดว่า อรหันต์ อยู่ไม่เกิน ๗ วัน หลุดพ้นแล้ว ไม่ไปก็ต้องไป ห้ามไม่ได้ ถึงตอนนี้ ลมหายใจเข้า-ออกหยุดอีก แก่แค่ไหนแค่นั้น หนุ่มแค่ไหนแค่นั้น หิวหรืออิ่มแค่ไหนก็แค่นั้น รู้สึกเดี๋ยวเดียวแค่นั้นเอง ออกมาถึงอาจทีเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี ผ่านไปแล้วก็ได้ นี่แหละ “เอกัคคตา”

    ๑๒. ถาม “กายเที่ยง ใจเที่ยง” เป็นอย่างไร ?

    ตอบ กายเที่ยง คือร่างกายอันนี้เงียบ พูดอีกทีก็คือ ร่างกายอันนี้เราทิ้งเสียที ปล่อยมันเลย อีตอนนั้นจะไม่มีรู้สึกคัน ยุกๆ ยิกๆ หรือเมื่อยปวดร่างกาย หรือเป็นเหน็บชาอะไรเลย ส่วน “ใจเที่ยง” ก็คือ “ใจเงียบ” หมายถึง จิตหยุดนิ่งอยู่แห่งหนึ่ง หรืออารมณ์รวมเป็นหนึ่ง ทีนี้พอรวบรวมลงไป กายเที่ยงใจเที่ยง กายใจรวมเป็นหนึ่ง ก็เรียกว่า “เข้าที่” อันนี้แหละภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “จี้” แปลว่า หยุด

    ๑๓. ถาม นักปฏิบัติ ก้าวแรกลงมือที่ตรงไหนก่อน ?

    ตอบ พูดคำหยาบ ๆ แล้วก็ว่า “ดัดสันดานตนเองก่อน ไอ้ที่ไม่ดีเอาออก” ให้เริ่มลงมือจากตรงนี้ก่อน กัมมัฏฐาน จะได้หรือไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง ไม่อย่างนี้แล้ว พอนั่งลงไป เอากิเลสออก พอลุกขึ้นก็เอากิเลสเข้า ไม่รู้ว่าทำแล้วเมื่อไหร่จะได้เรื่อง เรียกว่า นักปฏิบัติหนึ่ง ก็ต้องรบกับตนเอง สองก็ต้องรบกับตนเอง เหมือนผมเอง เมื่อก่อน หัด (เลิก) ตบยุงอย่างเดียว ๕ ปี เมื่อก่อนมีคนหนึ่งเคยพูดว่า “แหม ยุงกัดเราทีเดียว เราก็ตัดสินประหารชีวิตเลย มันก็เกินไป” เขาพูดเล่น ๆ แต่ผมเองเอากลับมาคิด เลย ตั้งแต่วันนั้นมาก็ตั้งใจเลิกตบยุง แต่พอมันมากัด ก็เผลออดตบไม่ได้ พอนานเข้า อีตอนจะตบก็คิดได้ว่า “แหม นี่มันกิเลสเต็มตัวเลย โทสะทั้งนั้น” จะตบแล้วก็เลยครึ่ง ๆ คา ๆ อยู่ว่า “เออ มึงไป” พอไปแล้ว ยังมีการอย่างนี้อีกคือ เกาแรง ๆ ทีหลังมาคิดอีกทีว่า “เออ เราทำบุญ ให้กับมันเรื่องอะไร พ่อแม่เกิดเรามาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนแบบนี้ว่า ให้มาเลี้ยงยุงไ อย่างนี้เรื่องตลกเลย จากนั้นก็ฝึกจนยุงพอมากัดก็แล้วกันไป เค้ามากัดเรา เราอารมณ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง เราก็ปัดไล่เค้าไป แต่อารมณ์ไม่มีวอกแวก ไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว กัดเหมือนอย่างไม่ได้กัด คล้าย ๆ กับไม่ได้เกี่ยวอะไร อันนี้รบอยู่ ๔ – ๕ ปีถึงจะจบ แต่ก็แปลกนะ ยุงก็ไม่ค่อยกัด เวลาไปนั่งที่ไหน หึ่ง ๆ แล้วบางทีมากัดเรา ก็ไม่รู้สึกเจ็บ

    การดัดสันดานตนเอง ขั้นแรกต้องรู้สึกตัวว่า ตอนนี้ใจเรากำลังเป็นอย่างไร กำลังโกรธ ดีใจ เสียใจ หรืออะไร ต่าง ๆ นานาเหล่านี้ จากนั้นก็ให้มีสติคอยสังเกตว่า อารมณ์เหล่านี้ แสดงออกมาได้อย่างไร แล้วพอเลิกแสดง มันหายไปอยู่ที่ไหน ลองฝึกง่าย ๆ เช่น เราเอามือข้างหนึ่งวางท้าวกับโต๊ะไว้ นาน ๆ เข้าก็จะชา มโนทำงาน เมื่อมันรู้สึกลำบาก ก็ไม่พอใจ มันก็เตือนเราเองว่า ให้ยกมือขึ้น ทีแรก เราทนได้ ก็ยังเรียบร้อยดี พอเดี๋ยวล่ะ ชามาก ๆ เข้า มันก็ยิ่งไม่พอใจมากขึ้น ตอนนี้ต้องระวัง อย่าให้ขาดสติ ค่อย ๆ ต่อสู้กับมัน พออีตอนมันจะกระตุกขึ้น เราก็ยังรู้ทันกับเขา พิจารณาเอาเองให้รู้ว่า เจ้าตัวนั้นมันเป็นโทสะ หรืออะไร ก็จะได้รู้ว่า อ้อ เรายังมีอารมณ์เลว ๆ อย่างนี้ซ่อนอยู่ เมื่อที่เรารู้ทันกับมันแล้ว เราก็ห้ามมันไว้ก่อน ทีหลังเราก็เอาชนะมันได้ อันนี้เรียกว่า “ปฏิบัติ” ล่ะ

    พูดถึงว่า ถ้าอารมณ์เลว ๆ เหล่านี้ไม่มีอยู่ก่อน ก็ไม่ต้องปฏิบัติแล้ว สำเร็จแล้ว ดังนั้น นักปฏิบัติ ก้าวแรกก็ ประกาศรบกับตนเอง ถึงได้พูดกันว่า “ใครปฏิบัติ ใครก็ได้เอง ช่วยใครไม่ได้” อันนี้ก็ต้องค่อย ๆฝึกไป ต่อจนทีหลัง ก็จะได้รู้เท่าทันกับตัวกิเลสแล้วก็ปราบมันได้ เช่นเหมือนอย่างบางคนพูดว่า “ปฏิบัติแล้วได้อะไรบ้าง” ความจริงแล้ว ที่ได้น่ะก็คือ “ได้ชนะกิเลส” ไม่ใช่ นั่งนานหน่อยก็คิดว่า ได้อย่างนี้ อย่างโน้น นึกว่าอันนี้ อันนั้น สำเร็จ บ้าบ๊องไปเลย แล้วที่ว่าจะได้หรือไม่ เรารู้เอง ยังจะมีโกรธอีกมั๊ย ยังมีโลภ งกเงิน งกทองอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีล่ะก็ แสดงว่า เรายังไม่ได้เรื่องอยู่ อันนี้ทุกคน รู้เอง ไม่ต้องไปเที่ยวถามใคร ดีกรีที่จะวัดจริง ๆ ก็คือ “กิเลสหมดไปเท่าไหร่แล้ว ?” นักปฏิบัติจริง ๆ จึงพูดคำหนึ่งว่า “สำเร็จเราไม่หวัง ขอให้กิเลสเบาบางลงไปทุกวัน ๆ อย่างนี้พอ”

    ๑๔. ถาม ก่อนที่จะนั่งสมาธิ ควรจะทำใจอย่างไรบ้าง?

    ตอบ เคยพูดบ่อย ๆ ว่า “ให้เรื่องราวจัดถูก ข้าวของจัดถูก” คือ จัดเรื่องราวและข้าวของสองอย่างนี้ให้เรียบร้อย ถามใจเราไม่มีบกพร่องแล้ว ไม่รู้จะไปคิดอะไรกับเค้า จิตใจมันก็สงบ สมาธิจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ขอให้ทำอย่างนี้ให้ได้ก่อน พอนั่งลงไป ใจมันก็สงบเอง เกิดใจจะคิดขึ้นมาก็ท้วงตัวเองว่า “คิดทำไม ทุกอย่างจัดเสร็จแล้ว ไม่มีอะไรที่จะให้เราคิดอีก” ถ้าไม่จัดอย่างนี้ก่อน พอนั่งลงไปก็ห่วง ตรงนี้ยังทำไม่เสร็จ ตรงนั้นก็ไม่รู้จะจัดการอย่างไร ยุ่งไปหมด เมื่อไหร่จะเงียบได้สักที

    “เรื่องราวจัดถูก” อย่างน้อยที่สุด เราเองรักษางานของเราให้ดี อย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี เรารู้ กับพ่อแม่เราก็มีกตัญญูกตเวที กับลูกเมียเราก็ให้มีระเบียบ เรื่องราวอย่างนี้จัดให้ถูก

    “ข้าวของจัดถูก” หมายความว่า ข้าวของที่เรารักสุดปัญญาของเรา จัดให้ดีที่สุด แล้ววางได้ อย่างเช่น ถ้วยอันนี้ เรารักที่สุด สุดปัญญาของเรา จัดให้ดีไม่มีเกินกว่าอันนี้อีกแล้ว เราไม่สะเพร่า ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไม่อย่างนั้น พอออกนอกบ้านก็กังวล กลัวเด็กเอาไปเล่นตกแตก หรือกลัวถูกขโมย อย่างนี้เรียกว่าสะเพร่า ยังจัดไม่ถูก เมื่อที่จัดถูกแล้ว ไปคิดทำไมอีก

    พยายามเตือนสติตัวเอง เมื่อทุกอย่างเราทำดีที่สุดแล้ว ยังมีคนมาพูดอย่างนี้ อย่างโน้น มาสวดเอา ก็ช่างเขา ก็ไม่มีดีกว่าอย่างนี้อีกแล้ว สุดปัญญาของเราจัดดีแล้ว อย่างเช่นเรื่องทรัพย์สินเงินทองก็เช่นกัน มีแล้วก็ไม่ใช่หลงไปกับเค้า อย่าให้เขามาใช้เรา พยายามเราไปใช้เขาดีกว่า การงานก็เช่นกัน จัดเสร็จแล้วมีงานก็เท่ากับไม่มีงาน และถ้าทุกคนรู้สึกว่า หน้าที่ของตนจัดให้ถูก ไม่ต้องเบียดเบียนคนอื่น ก็ไม่มีเรื่องอะไรแล้ว ไม่ต้องมีการรบราฆ่าฟันกันแล้ว กลายเป็นมนุษย์เมืองพระเลย อย่าเห็นว่า “เรื่องราวจัดถูก ข้างของจัดถูก” ไม่สำคัญนา

    ๑๕. ถาม “หัวใจของการเรียนสมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนา” อยู่ที่ไหน?

    ตอบ ความจริง “สมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนา” ก็คือ “กิเลส” แต่เอามาใช้เมื่อจำเป็น คือ เอากิเลสมาปราบกิเลส ถ้าพูดถึงว่า ทุกคนไม่มีกิเลสแล้ว จะเอาสมถกัมมัฏฐานกับวิปัสสนาไปทำไม ถึงได้มีคำหนึ่งบอกว่า “ข้ามฝั่งแล้วทิ้งเรือ” ไม่ใช่ ข้ามฝั่งแล้วยังเอาเรือมาแบกไว้อีก อย่างเช่น พระอานนท์ ก่อนที่จะเข้าประชุมสังคายนา ก็ทวนวิปัสสนาอยู่ ทำอยู่อย่างนี้ก็ไม่รู้เรื่องเลย ไม่รู้ว่าที่คนอื่นสำเร็จน่ะ สำเร็จด้วยอะไร ทำอยู่จนตอนนั้นรู้สึกว่า ถ้าช้าไปจะผิดนัด ถึงทีสุดท้าย หมดหวังแล้ว ก็ทิ้งวิปัสสนา กำลังเอนตัวจะลงนอนไป พระคุณท่านเกิดรู้ขึ้นมาว่า “กิเลสไม่มีแล้ว ยังอุตส่าห์เอาวิปัสสนามาเป็นกิเลสอีก” นี้เหมือนอย่างเช่น เวลาเราป่วย ก็ใช้ยารักษา พอหายป่วยแล้ว ก็เลิกใช้ยา ขืนยังใช้ยาอยู่เรื่อย ๆ ก็ป่วยไม่มีวันหาย นี่แหละ คือหัวใจของการเรียน สมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนา จะเรียนสมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนาก็ต้องเข้าใจข้อนี้ก่อน ไม่ใช่เรียนไป พอมีฤทธิ์หน่อยก็เข้าใจว่าสำเร็จ หลงอยู่ข้างนอกไม่พอ ยังอุตส่าห์ไปหลงเอา สมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนาขึ้นมาเป็นกิเลสอีก ข้อนี้สำคัญมาก ถ้ารู้แล้วก็ไม่มีอะไร ถ้าไม่รู้ เรียนสมถกัมมัฏฐาน กับ วิปัสสนาไปเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่มีวันจบ

    ๑๖. ถาม นักปฏิบัติ ไม่ตามกัมมัฏฐานสี่สิบอย่าง ไม่ตามวิปัสสนาแล้วจะทำอย่างไร?

    ตอบ นักปฏิบัติ ไม่ตามกัมมัฏฐานกับวิปัสสนา ต้องบรรลุต้นขั้วจิต ต้นขั้วจิตปราศจากกิเลสดี กิเลสชั่ว เหมือนอย่างก้อนหินเท่าภูเขา ตรงกลางมีเพชรซ่อนอยู่เม็ดเดียว เปลือกหินเหมือนอย่างกิเลส รื้อเปลือกหินออก เพชรถึงจะโผล่ขึ้น สมถกัมมัฏฐานกับวิปัสสนา แปลแล้วเท่ากับเครื่องมือเครื่องไม้มาช่วยแกะเปลือกหินออก เมื่อเปลือกหินหมดแล้ว จะเอาเครื่องมือเครื่องไม้ไปทำไมล่ะ เมื่อจิตต้นขั้วโผล่ขึ้นแล้ว ได้รู้สึก สมถกัมมัฏฐานกับวิปัสสนายังไม่สะอาด รู้แล้วถึงจะทิ้งได้

    สมัยก่อน พระโพธิสัตว์บางองค์ปฏิบัติ ก็ลงมือจากหูจากตา เพราะกิเลสข้างนอกต้องผ่านจากหูจากตาก่อน ตัดตอนกิเลสผ่านจากหูจากตาเด็ดขาดแล้ว จิตแท้ก็โผล่ หรืออย่างที่อาจารย์กำซัวไต้ซือสอนให้ “ตัดตอนนึกคิดปรุงแต่ง” คือ พอนั่งลงไป จะคิดอะไรก็ต่อต้านไม่ให้คิด หรือตามที่ท่านฮุ่นมึ้งโจ๊วซือสอนให้พิจารณา “ใครนั่ง ใครเห็น ใครภาวนา” ปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ จนวันหนึ่ง นึกคิดปรุงแต่งหยุด ระหว่างนั้นก็จะได้พบจิตต้นขั้ว หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อารมณ์ธรรมชาติ” เอาอารมณ์ธรรมชาติอันนี้มาล้างผลาญกิเลสให้หมด ไม่ว่ากิเลสดีกิเลสชั่ว รื้อออกให้หมด เหมือนอย่างรื้อภูเขาออกทั้งลูก ค่อย ๆ ทำไปทีละขั้น จนสุดท้ายได้บรรลุธรรม คือ รู้สิ่งที่ขัดขวางหมด ไม่มีตัวกู ไม่มีภูเขา อวิชชาใด ก็จะได้พบ “พุทธะ”

    สรุปแล้ว จะต้องใช้ปัญญามหาศาลควบกับความอดทน เพื่อให้ได้บรรลุธรรมอย่างที่ท่านเว่ยหล่างกล่าวไว้ในเรื่อง “มหาปรัชญาปารมิตา” ซึ่งกล่าวเป็นภาษาจีนได้ว่า “มอฮ่อปัวเยียกปอลอมิกตอ”
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...