เปิดตำนานหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย แก้วสว่าง, 4 ธันวาคม 2014.

  1. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    “ ทุกคนจงอย่าขาดสติ และควรระลึกอยู่เสมอว่าความตายของคนเราทุกคน ย่อมจะเป็นที่รักและหวงแหน โดยจะยินดีและยอมตายโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ต่อเมื่อถึงวาระแล้วก็ต้องตายด้วยกันทุกคน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราตายกันอย่างตาหลับได้ ก็ต้องสร้างความดีกันในหมู่เพื่อนมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่คิดอิจฉาริษยาเบียดเบียนและมุ่งทำลายกัน โดยขาดเมตตาธรรม ”

    หลวงปู่ทิม อิสริโกท่านเป็นพระที่หมั่นเพียรในการเรียนรู้กับสรรพวิชาต่างๆและการบำเพ็ญเพียรธรรม ด้วยจิตมุ่งมั่นปรารถนาและพลังแรงบันดาลใจ สามารถทำให้ประสบเป็นผลสำเร็จ มีคำกล่าวที่ถือมั่นอยู่เสมอว่า “ เมื่อจิตถึงท่าน ท่านก็ถึงเรา “ เป็นคำสอนสั่งของหลวงปู่ท่านเพื่อให้สาธุชนทั้งหลายมีใจยึดมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนและการถือใช้วัตถุมงคลต่างๆเพื่อให้เกิดอานุภาพในสิ่งที่เชื่อมั่นกัน และขอให้ทุกคนนั้นจงมีจิตที่มั่นคงในธรรมเพื่อการมีสติในการดำรงชีวิตอย่างมีความหมาย โดยหลักการดำรงสติเพื่อให้มีความเชื่อมั่นของชีวิตได้นั้น หลวงปู่ท่านได้ให้คติธรรมแก่ลูกศิษย์ไว้ว่า “ มะอะอุ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา พุทโธ พุทโธ “ ซึ่งเป็นคติธรรมที่มีความหมายอย่างแน่วแน่เพื่อการดำรงคงมั่นไว้ในหลักปฏิบัติตามวิถีทางของชีวิต เพื่อให้เป็นหนทางแห่งนิพพานอย่างถูกต้องต่อไป


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 005.png
      005.png
      ขนาดไฟล์:
      501 KB
      เปิดดู:
      2,903
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2015
  2. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    ...
     
  3. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    จะขอเกริ่นกล่าวกลอนสุนทรถ้อย .......... เป็นมาลัยผูกร้อยห้อยซ้ายขวา
    พร้อมจุดธูปเทียนขวัญขึ้นวันทา .......... เหนือเกศากราบสวัสดิ์นมัสการ
    ต่อหน้าหลวงปู่ทิมนั่งยิ้มแย้ม .......... เป็นรอยแต้มเจิดจรัสบรรทัดฐาน
    แห่งคุณงามความดีตลอดกาล .......... เชื่อมประสานศาสนาประชาชน
    ทั่วถิ่นไทยทุกที่มีความสุข .......... ได้พ้นทุกข์ถ้วนหน้าทุกแห่งหน
    บารมีแผ่ไพศาลผ่านสากล .......... เป็นมงคลทั่วหล้าประชาชี
    แม้จะนานปีแล้วที่ท่านจาก .......... ก็ยังฝากความศักดิ์สิทธิ์เป็นศักดิ์ศรี
    ไว้คู่กับเมืองระยองเป็นของดี .......... จนสุดที่จะเสกสรรพรรณา
    อันวาจาท่านเหน่อๆเผยอพูด .......... ยังก้องวูดโสตประสาทเป็นวาสนา
    ฟังทีไรก็เปรียบเหมือนต้องมนต์ตรา .......... แสนมีค่าล้ำลึกรู้สึกดี
    เปรียบเป็นพรอันประเสริฐแสนเลิศหรู .......... เหมือนคำครูสอนไว้ในวิถี
    จารึกจำคำสอนพรทวี .......... สดุดีอุปถัมภ์จำจนตาย
    ท่านไม่เคยทำให้ใครช้ำจิต .......... ชั่วชีวิตไม่เคยทำความเสียหาย
    บริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งใจกาย .......... แม้ชีพวายสลายหมดยังงดงาม
    สาธยายเพียงใดไม่สิ้นสุด .......... จึงขอหยุดก้มกราบหนึ่งสองสาม
    หลวงปู่ทิมที่เคารพขอจบความ .......... บรรยายตามความรู้สึกสำนึกคุณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    เปิดตำนานหลวงปู่ทิมวัดละหารไร่... ด้วยแรงใจแรงศรัทธาและตั้งมั่น
    ขอนอบน้อมวันทาแลอภิวัน... จิตยึดมั่นคุณความดีมีศีลธรรม
    ใครก่อกรรมทำเข็ญไว้เช่นไร... กรรมนั้นไซร์จะตอบชอบสนอง
    กงเกวียนกำเกวียนเวรเวียนจอง... ดีชั่วต้องมีผลวนสู่เรา
    ถ้าคิดสร้างกุศลจะวนตอบ... ตามระบอบวัฎฎะวงคงเฉลา
    ทำดี ดีสนองปองสู่เรา... ทำชั่วเศร้าทรุดตำไม่ค้ำคูณ
    สร้างกุศล กุศลส่งวนมาหา... วันข้างหน้าจะดี มิมีสูญ
    มงคลเกิดมั่งมีทวีคูณ... จะเพิ่มพูนแผ่ผลวนสู่เรา
    ขอแต่ให้ตั้งใจในกุศล... จะส่งผลลำเลิศประเสริฐศรี
    แม้ทำน้อยทำมากหากยินดี... จะทวีผลบุญจุนเจือเรา
    ถ้าทำบุญเอาหน้าเห็นว่ายาก... บุญไม่มากเพราะอวดประกวดเขา
    ไม่ตั้งใจทำจริงเหมือนพิงเงา... จะสูญเปล่าแม้ได้ก็ไม่ดี
    บุญคุ้มบาปไม่ได้ขอให้คิด... บุญจะผลิตความดีทวีสำ
    บุญส่วนบุญบาปส่วนบาปจงทราบคำ... แม้ใครทำใครได้ไม่เผื่อกัน
    ถ้าไม่ทำไม่ได้ขอให้คิด... เหมือนชีวิตที่เห็นมิเบนผัน
    เราปลูกพืชได้ผลวนมาพลัน... แต่เพื่อนกันมิขวายขวนผลไม่มี
    ถ้าสร้างเวรกรรมไว้ไปไม่พ้น... จะตามวนวกเวียนไม่เปลี่ยนหนี
    หลวงปู่ทิมกล่าวอ้างตัวอย่างมี... ทำความดีละความชั่วไม่หมองมัวเอย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2014
  5. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    อันคนเรา เกิดมา ก็น่าคิด ... มีชีวิต ค้ำฟ้า ก็หาไม่
    ตื่นขึ้นมา โชคดี ที่หายใจ ... เอาอะไร มากมาย ในชีวี
    อันลาภยศ เสื่อมได้ ไม่คงอยู่ ... เกียรติเฟื่องฟู สิ้นได้ ไม่คงที่
    สิ่งที่เหลือ คือคุณงาม และความดี ... สิ่งบ่งชี้ ความหมาย ได้เป็นคน
    อยู่พอดี กินพอดี มีพออยู่ ... แม้จะดู อัตคัด หรือขัดสน
    ถ้ามีจิต ตั้งมั่น หมั่นฝึกตน ... ให้เป็นคน พอเพียงได้ ใจสุขจริง
    มีโอกาส ได้ช่วยเหลือ และเผื่อแผ่ ... เป็นสุขแท้ มีค่า กว่าทุกสิ่ง
    ไม่เห็นแก่ ประโยชน์ตัว มัวแย่งชิง ... คว้าทุกสิ่ง ใจมืดดำ มุ่งทำลาย
    ทุกสิ่งนั้น ไม่แน่ ได้แง่คิด ... เมื่อชีวิต ไม่ค้ำฟ้า น่าใจหาย
    ทุกคนมี เกิดแก่ และเจ็บตาย ... ก่อนชีพวาย เพียรทำดี มีสุขเอย

    [FONT=&quot]พระผงพรายกุมารที่ทุกคนเชื่อว่าถ้าบูชาไว้กับตัวจะมีประสบการณ์ต่างๆนาๆที่เหลือเชื่อ ทำให้พระของหลวงปู่ทิมที่เชื่อกันว่ามีผงพรายกุมารนั้นเป็นที่เสาะหากันมาก จากผู้คนมากมายที่นับถือหลวงปู่ทิม ทำให้พระเครื่องที่เชื่อว่ามีผงพรายกุมารนั้นมีราคาสูงมาก " หลวงปู่ทิมท่านเคยกล่าวกับลูกศิษย์อยู่เสมอให้ทุกคนมุ่งมั่นในการทำความดี ท่านไม่ได้สอนให้ยึดติดในเรื่องของพระเครื่อง ท่านจะสอนในเรื่องของการทำจิตให้นิ่งเพื่อที่จะต้องดำเนินชีวิตที่ดีต่อไปใน วันข้างหน้า สอนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ พระเครื่องนั้นเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าโดยมี พระอริยะเจ้าเป็นผู้สืบสานหรือสืบต่อเพื่อให้ทุกคนยึดมั่นในการทำความดี ถ้าทุกคนยึดมั่นทำความดีพุทธคุณของคุณพระก็จะคุ้มครองในความดีที่ได้ปฏิบัติ" แต่ถ้าผู้นั้นกระทำตนไม่ดีคุณพระก็ย่อมไม่คุ้มครองถึงแม้จะแขวนพระต่างๆมาก มายหลายองค์ก็ตามที หลวงปู่ทิมท่านได้สอนในเรื่องกฎแห่งกรรม เมื่อเราตายไปมันก็ย่อมจะตกเป็นมรดกของคุณรุ่นหลังหรือของแผ่นดิน คนมีปัญญาย่อมจะใช้จ่ายให้เกิดสาระได้ สิ่งที่เหมือนเงาตามตัวเราไปในชาติหน้านั้น มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น สิ่งอื่นหามีติดไปมิได้เลย จงห่วงตัวเองเถิดว่าตายแล้วมันจะไปนรกหรือสวรรค์ เมื่อเราอยู่ในภพนี้เราทำดีแล้วหรือยัง[/FONT]![FONT=&quot] การได้เกิดมาเป็นคนนั้นถือว่าเป็นต้นทุนเพื่อการสร้างบุญสร้างกุศลให้เป็น กำไรชีวิตเพื่อผลบุญในวันข้างหน้า พยายามสร้างชีวิตของตัวเองที่ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มองข้างหน้ามีความหวัง มองข้างหลังมีความสุข[/FONT]”[FONT=&quot] ดีกว่า เหมือนกับการสร้างความดีจะมีความสุขภายหน้า ถ้าสร้างความชั่วจะมีความทุกข์ภายหน้า ดั่งคำกลอนที่ว่า [/FONT]“[FONT=&quot]มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงนักเลย ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ ค้ำจุนเอาไว้ จะได้ไปสวรรค์ จะได้ทันพระเจ้า จะได้เข้านิพพาน[/FONT]”[FONT=&quot] ฉะนั้น เกิดมาชาติหนึ่งแล้วจึงควรมุ่งสร้างแต่ความดี เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลังปฏิบัติเจริญรอยตาม ซึ่งเป็นกุศลค้ำจุนตัวเองให้พบแต่ความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า และใคร่ขอให้ทุกคนพิจารณาด้วยความไม่ประมาท......[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  6. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    เราจะเห็นว่าในบทข้อมูลเรื่องราวของหลวง ปู่ทิมวัดละหารไร่ ซึ่งในปัจจุบัน จะเห็นว่าการนำเอาข้อมูลต่างๆมาเขียนเสนอนำกับเรื่องราวอันแท้จริงมาเล่าสู่ ทอดกันฟังก็ดี หรือการยกนำข้อมูลหลักจากข้อเท็จจริงแล้วสร้างเสริมเติมเรื่องราวให้มีรส ชาติเพื่อเกิดความอรรถรสแก่ผู้อ่านก็ดี หรือการบิดเบือนสร้างนำบทบาทเรื่องราวเองเพื่อสนองกับวัตถุสิ่งของต่างๆที่ เป็นการขายแบบเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของแท้ที่เกินเหตุมูลความจริงก็ดี ของเสริมที่ทำกันมาทีหลังก็ดีหรือของที่อุปโลกน์กันขึ้นมาก็ดี ทุกอย่างนั้นล้วนแต่ว่าอยู่กับความศรัทธาที่เป็นบ่อเกิดของทุกท่านทั้งสิ้น หลายที่นับถือหลวงปู่ทิม แห่งวัดละหารไร่ ไม่ว่าของสิ่งนั้นจะเป็นแบบจริงหรือแบบฉับฉนใดก็ตามที ด้วยจิตศรัทธาความบ่งบอกตัวเองที่สามารถใช้สื่อนั้นเป็นแรงศรัทธาความหนุนนำ ให้เกิดแรงแห่งอานุภาพได้ ด้วยแรงศรัทธาอันสื่อชักที่มีอยู่กันนั่นเอง จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการมีจิตที่มั่นคงและเชื่อถือจริงจังกันอย่าง เพียงไหน คือการยึดมั่นที่ถูกหลักสู่การปฏิบัติถือครองอย่างมีจุดหมายโดยให้มีความ พร้อมคล้องคู่กันไปอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อดลให้เกิดความชอบธรรมที่ดีต่อจิตใจอย่างคงมั่น และวัตถุมงคลนั้นก็เป็นเพียงแค่อำนาจสื่อที่มีพลังหนุนนำทางจิตให้เกิดความ มั่นใจในการกระทำเพื่อให้ประสบผลของความสำเร็จกันเท่านั้น

    จะเห็นว่าการคิดดี พูดดี ทำดีนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อความสมบูรณ์และยืนยาวของชีวิตที่มีความคิด เป็นไฉน เมื่อเป็นเหตุผลดังเช่นนี้แล้ว การน้อมนำเอาสิ่งที่เรายึดมั่นทางจิตใจอย่างพึงประสงค์ได้ ดั่งเช่นการนำเอาคุณอำนาจของพระรัตนตรัยมาเป็นบทนำทางจิตของเราให้เกิดแรง ศรัทธาความตั้งใจและยึดมั่นที่น้อมนำเข้ามาอย่างสันติสุข จึงเป็นอานุภาพจากแรงบันดาลใจให้เกิดเป็นพลังแห่งอำนาจของการคุ้มครอง ไม่ว่าจะทำสิ่งไหน ไม่ว่าจะทำอะไร ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรือการต้านจากอำนาจร้ายๆที่จะเข้ามา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาได้เสมอถ้าหากเราไม่รู้จักระวัง หรือการที่จักต้องมีสติอยู่เสมอแทบจะทุกลมหายใจทุกครั้งที่เข้าออก ถ้าจะกล่าวกันง่ายๆเราต้องมีสติที่ถือครองกันอยู่เสมอก็ว่าได้

    อำนาจคุณพระรัตนตรัยย่อมเกิดขึ้นได้หากจิตของคนเรานั้นมีใจศรัทธาอย่างแน่ว แน่กับการใช้สติไปในแนวทางบวกคือมีการคิดดี พูดดี ทำดี เป็นองค์ประกอบสำคัญในการถือปฏิบัติตามหลักครองธรรม และเมื่อมีจิตตามดั่งปรารถนาแล้วสามารถมีปาฏิหาริย์หรืออานุภาพเกิดขึ้นได้ ด้วยพลังอำนาจของความศรัทธา โดยพลังอำนาจของคุณพระรัตนตรัยนี้เป็นพลังอำนาจอันบริสุทธ์ไม่มีอำนาจใดที่ จะเสมอเหมือนหรือเทียบชั้นได้เลยเพราะถือเป็นอำนาจที่ทรงคุณค่าแห่งพลังที่ จักต้องมีได้สำหรับคนที่มีบารมีธรรมร่วมสะสมเท่านั้นถึงจะสามารถนำมาใช้ได้ โดยคุณค่าที่ดีที่จะเป็นบ่อเกิดได้นั้นสำคัญได้ก็อยู่กับตัวของเราเองในการ ปฏิบัติตน

    เราจักเห็นว่าการสร้างบารมีธรรมนั้นจะสำเร็จผลได้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองเช่น กัน ก็เหมือนกับอำนาจคุณพระจะเกิดผลขึ้นได้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองเหมือนกันจะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผลบุญผลกรรมของแต่ละคนที่ได้กระทำกันไป เพราะคนเรานั้นสร้างบุญสร้างกรรมมาไม่เท่ากัน จึงต้องเสวยผลบุญในสิ่งที่เราปรารถนาตามจิตที่ต้องการหรือการสนองของผลกรรม กับการกระทำที่เคยก่อไว้พร้อมกับการใช้เวรใช้กรรมกันไม่รู้จักต่อกี่ภพกี่ ชาติกว่าจะสนองกันไปจนกว่าจะจบสิ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนคือกฎแห่งกรรม ที่อำนาจคุณพระไม่สามารถล่วงล้ำได้เมื่อคนเรานั้นได้ก่อกรรมหรือการกระทำใดๆ ด้วยจิตที่เป็นอกุศล อย่างนี้เขาเรียกว่าผลกรรม เราจะเห็นว่าถึงแม้จะห้อยพระที่มีอำนาจพุทธคุณอันสูงส่งหรือขออำนาจจากสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใดๆก็แล้วแต่มันไม่สามารถช่วยเหตุหรือลบเลือนกับการกระทำได้เลย เพราะ กรรมเป็นตัวกำหนดชี้ชัด

    เราจะเห็นว่าโดยตามประวัติของหลวงปู่ทิมที่แท้จริงนั้น จักเห็นได้ว่าเป็นเรื่องราวที่ถูกนำมาเผยแพร่จากความศรัทธาและอานุภาพความ ขลังที่พึงประเจิดกันในรูปแบบต่างๆ ทั้งจริยาวัตรอันถูกแบบลักษณะความถูกต้องตามหลักธรรม การสืบสานทางด้านวัฒนธรรมที่ถือนำปฏิบัติกันมาโดยเฉพาะการสร้างวัตถุมงคลใน รูปแบบเชิงชิต ที่มีคุณค่าอันเลิศล้ำทางพุทธคุณหนุนนำไปสู่ความจริงที่เกิดขึ้น โดยมีหลักความยึดมั่นแห่งศรัทธาที่เป็นองค์ประกอบหลักสำคัญตามแบบลักษณะของ การก้าวล้ำทางพุทธศาสนาที่กำเนิดขึ้นมาสู่แนวทางปฏิบัติให้เกิดความเชื่อถือ กับพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่น้อมนำเข้ามาจนเกิดเป็นพลังแห่งศรัทธา และจุดบ่อเกิดนี้เองจะสามารถทำให้ก่อเกิดกับเรื่องราวแห่งความมหัศจรรย์หรือ อานุภาพใดๆที่เป็นสื่อสายสัมพันธ์กับความรู้ชอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือความ เป็นประเจตน์อย่างที่สุด

    พระเครื่องและวัตถุมงคลประการใดก็แล้วแต่ คุณค่าที่แท้นั้นอยู่ที่ความจริงของสัจธรรม คือเพียงให้จิตของเรามีความยึดมั่นและถือมั่นเป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นศูนย์ กลางแห่งจิตใจเท่านั้น ไม่ให้จิตของเราวอกแวกเลื่อนลอย ให้มีสติที่ระลึกอยู่เสมอ รวบรวมเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทางใจเพื่อความไม่ประมาทแห่งชีวิต มีจิตที่เป็นคุณธรรมให้น้อมนำกระทำแต่ความดีละเว้นความชั่ว กระทำสิ่งใดแล้วก็จะบังเกิดผลต่างๆได้

    ฉะนั้นวัตถุมงคลและพระเครื่องที่เป็นความเชื่ออย่างถูกหลักนั้นเขาไม่ได้วัด ค่ากันที่ราคาถูกหรือราคาที่มันแพง เขาไม่ได้วัดค่ากันตามวัสดุการจัดสร้างที่หาง่ายหรือต้องหาแบบพลิกฟ้าพลิก แผ่นดินกัน เขาไม่ได้วัดค่ากันที่พุทธคุณว่าองค์ไหนมีมากมีน้อย หรือการเสกมากเสกน้อย เสกบ่อยเสกนาน เสกงานใหญ่หรืองานเล็ก เสกเดี่ยวหรือเสกหมู่ก็ตามที เขาไม่ได้วัดค่ากันที่ประสบการณ์การใช้อย่างเป็นเหตุสมบุกสมบันหรือการไม่ เจอกับประสบการณ์ใดๆ เขาไม่ได้วัดค่ากันที่ความสวยงามของรูปทรงองค์ลักษณ์แบบหูตากระพริบหรือแบบ ขี้เหร่ปานใดที่เกินค่าจะมองเห็นกัน ถ้าเรามองแยกแยะกันให้ดีว่า เขาแขวนพระหรือยึดถือกับวัตถุมงคลสิ่งนั้นไปเพื่ออะไรกัน ทำไมเขาถึงต้องห้อยต้องแขวน !แขวนแล้วได้ประโยชน์หรือมองเห็นมีคุณค่าอะไรกันบ้าง สิ่งเหล่านี้มีใครเคยคิดกันบ้างไหม ถ้าพูดตามหลักความเป็นจริงที่พึงจะทราบกันได้นั้น เขาแขวนไว้เพื่อเตือนใจให้ระลึกคุณของพระรัตนตรัยที่สถิตอยู่ในจิตอยู่เสมอ แม้กระทั่งวัตถุมงคลนั้นเป็นก้อนอิฐก้อนหินก็ตามทีถ้าได้เสกไว้แบบมีคุณค่า ทางใจจากครูบาอาจารย์ที่เรานับถือ คนโบราณเขายึดถือกันมากในแง่จุดประสงค์ที่สำคัญนี้ จะเห็นว่าคนสมัยก่อนนั้นเขาย่อมมีสัจจะและมีจิตอย่างยึดมั่นอยู่เสมอจักทำ อะไรที่มันเป็นสื่อสารสัมพันธ์อันเกี่ยวเนื่อง ย่อมต้องนึกถึงคุณพระรัตนตรัยและคุณครูบาอาจารย์อยู่เสมอเพื่อเป็นแรงบันดาล ใจในการกระทำสามารถที่จะก่อเกิดผลอันเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อได้เกินจิตที่เรา คาดฝันได้ อย่างเช่นการเกิดอานุภาพดั่งแรงปาฏิหาริย์ต่างๆที่ก่อเกิดขึ้นไปอย่าง ประจักษ์ตาหรืออย่างประจักษ์แบบรอบตัว เราจะแลเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ การมีจิตที่มั่นคงและยึดมั่นอย่างเอนกอนันต์ โดยซึ่งอานุภาพที่ดีและสามารถย่อมเกิดขึ้นได้นั้นก็อยู่ที่ตัวของเราเป็นตัว กำหนดนั่นเอง...


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  7. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td> <center>กำเนิดพระทิม อิสริโก

    </center>
    </td> <td>permalink
    </td> </tr></tbody></table> <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> ภายหลังจากนายทิมไปเป็นพลลูกหมู่ประจำการได้ 4 ปีก็ได้ปลดจากการเป็นพลลูกหมู่ นายทิมก็ได้ใช้ชีวิตหนุ่มได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้กราบลาอุปสมบทซึ่งโดยตามประเพณีในสมัยก่อนการบวชถือว่าเป็นการบวชจุด ประสงค์เพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่อีกประการหนึ่งก็เพื่อสร้างกุศลอย่างหนึ่ง หรือเพื่อเป็นการฝึกจิตให้สงบเพื่อละกิเลสทั้งปวง หลังจากนั้นนายแจ้ผู้เป็นบิดาก็ได้พานายทิมไปที่วัดละหารใหญ่และได้จัดการ อุปสมบทนายทิมเป็นพระภิกษุ ซึ่งโดยตามข้อมูลบันทึกว่านายทิมได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะแม แต่ตามประวัติหลวงปู่ทิมท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์รุ่นเก่าฟังว่าท่านบวชเมื่อ ตอนอายุ 24ปีหลังจากได้ปลดจากการเป็นพลลูกหมู่และได้ใช้ชีวิตฆราวาสได้ประมาณ 2 ปีถึงได้ออกบวชซึ่งถ้าเทียบพุทธศักราชลบกับปีเกิดของท่านจะตรงกับปีพุทธ ศักราช 2446 หรือ ร.ศ.122ซึ่งตรงกับปีเถาะจึงวิเคราะห์แล้วน่าจะมีความเป็นจริงมากกว่า โดยมีพระคุณเจ้าท่านพระครูขาว แห่งวัดทับมาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สิงห์ วัดละหารใหญ่ ( ซึ่งเดิมเคยเป็นพระอาจารย์ของท่านที่ท่านได้ศึกษาเป็นครั้งแรก ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาทางสงฆ์ว่า อิสริโก ซึ่งแปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ส่วนตอนที่ท่านบวช ณ. พัทธสีมาวัดไหนนั้นซึ่งข้อมูลหลักฐานยังไม่เด่นชัด ข้อมูลบางข้อมูลบันทึกว่าท่านบวชที่วัดละหารไร่ ซึ่งในสมัยนั้นวัดละหารไร่ยังไม่มีการสร้างโบสถ์ ซึ่งในแถบหมู่บ้านละหารไร่และหมู่บ้านใกล้เคียงนั้นส่วนมากก็จะมาบวชกันที่ โบสถ์วัดละหารใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นโบสถ์เก่าแก่และมีมาช้านานแล้วซึ่งคิดว่า ท่านไม่น่าจะบวชที่วัดละหารไร่ อีกประการหนึ่งท่านอาจจะมาบวช ที่โบสถ์วัดทับมาก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่มีมานานแล้วเหมือนกัน และถือว่าเป็นวัดอุปัชฌาย์ของท่านด้วย ซึ่งความน่าจะเป็นก็น่าจะเป็นวัดทับมาเพราะหลวงปู่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้บวชที่วัดอุปัชฌาย์ของท่าน หลังจากอุปสมบทเป็นพระทิมแล้วตามประวัติเล่ากันว่าครั้งแรกท่านได้จำพรรษา ที่วัดละหารใหญ่โดยมีพระอาจารย์สิงห์เป็นเจ้าอาวาสและพระทิมก็ได้ฝึกเรียน ปฏิบัติวิชากรรมฐานและเรียนนักธรรมเบื้องต้นควบคู่กับการเรียนบาลีสันสฤตและ อักขระต่างๆไปด้วย ด้วยความที่ท่านเป็นคนที่มีความขยัญหมั่นเพียรมีความตั้งใจและความมานะ อุตสาหะ บวกกับบารมีที่ท่านได้สะสมไว้เมื่อครั้งแต่อดีตชาติก็เป็นได้ ทำให้ท่านสามารถเรียนรู้วิชาและอักขระโบราณต่างๆได้เร็วมาก ซึ่งพระอาจารย์สิงห์เจ้าอาวาสและเป็นครูผู้สอนท่านก็ได้กล่าวยกย่องและชมเชย พระทิมอยู่เสมอว่าสามารถเรียนรู้ได้เร็วและแตกฉานไว และท่านก็สามารถเรียนรู้ได้เร็วสมัยที่ท่านได้เคยมาเรียนหนังสือที่วัดละหาร ใหญ่เมื่อครั้นตอนเป็นเด็ก หลังจากที่ท่านได้บวชเรียนอยู่ที่วัดละหารใหญ่ได้ 1 ปีโดยประมาณ หลังจากนั้นพระทิมก็ได้สอบธรรมที่สนามหลวงและท่านก็สามารถสอบได้คะแนนที่ดี มาก แต่ประวัติไม่ทราบว่าท่านได้ไปสอบธรรมที่วัดไหน แต่ท่านเคยเล่าว่าการสอบธรรมในสมัยนั้นการสอบไล่จะสอบโดยการสอบแบบปากเปล่า ซึ่งถ้าตามประวัติการสอบธรรมในสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ที่มาสอบจะต้องเข้าไปแปล คัมภีร์อรรถกถาต่อหน้าพระเถราจารย์หรือพระผู้ใหญ่ที่คุมสอบ และพระที่คุมสอบจะมีการซักถามประโยคต่างๆแก่ผู้ที่สอบ โดยในสมัยก่อนวิชาที่สอบแต่ละประโยคนั้นจะกำหนดพระสูตรต่างๆและมีการสอบแบบ จากบาลีแปลเป็นไทยและจากไทยแปลเป็นบาลี สำหรับแต่ละประโยคเริ่มตั้งแต่ประโยคหนึ่งไปจนถึงประโยคเก้า โดยการสอบนั้นจะมีการสอบตั้งแต่ประโยคหนึ่งขึ้นไปถ้าสอบประโยคหนึ่งกับ ประโยคสองได้แต่สอบประโยคสามไม่ได้ จะต้องเริ่มที่ประโยคหนึ่งใหม่ เว้นแต่เมื่อสอบประโยคสามได้แล้วก็สามารถสอบไล่ได้ทีละประโยคหรือหลายประโยค ก็ได้ ถ้าเปรียบเทียบกับการสอบธรรมในสมัยนี้จะสอบโดยมีการสอบแบบอัตนัยและภาคปรนัย ภายหลังเสร็จสิ้นจากการสอบธรรม จากนั้น พอถึงฤดูออกพรรษาพระทิมก็ได้กราบลาหลวงพ่อสิงห์เจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่

    ต่อมาพระทิมได้มาอยู่ที่วัดละหารไร่ซึ่งสมัยนั้นน่าจะหมดยุคของหลวงพ่อแดง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสละหารไร่ซึ่งตามประวัติตามลำดับเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อแดง ก็มาเป็นหลวงพ่อเกิดมาเป็นเจ้าอาวาสต่อ แต่ตามประวัติไม่ได้บันทึกว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นานเท่าไหร่ แต่ตามคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ที่เคยเล่าต่อกันมาว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ไม่กี่ปี ซึ่งขณะนั้นพระทิมซึ่งเดิมพำนักอยู่ที่วัดละหารใหญ่และท่านก็ได้มาอยู่ที่ วัดละหารไร่ ซึ่งวัดละหารไร่สมัยนั้นยังเป็นป่าดงต่างๆมีชุมชนบ้านเรือนเพียงไม่กี่ หลังคาเรือน การคมนาคมจะเป็นทางเกวียนการไปมาหาสู่หรือการออกไปนอกหมู่บ้านจะนิยมใช้ม้า เป็นพาหนะ เพราะสมัยนั้นตามบ้านนอกจะไม่มีรถราต่างๆใช้กัน จะมีใช้กันก็คงในเมือง หลังจากนั้นพระทิมท่านก็ได้มาอยู่ที่วัดละหารไร่ซึ่งสมัยนั้นที่วัดละหารไร่ ยังมีศาลาเก่าเดิมที่สร้างในสมัยหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาส และพระสงฆ์ก็พักอยู่ที่กุฏิศาลาหลังเก่านี้รวมถึงพระทิมด้วย และด้วยความที่พระทิมท่านมีความมุ่งมั่นและความขยัญหมั่นเพียรในการฝึกฝนและ เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆที่เคยได้เรียนมาครั้งเมื่อตอนไปเป็นพลลูกหมู่ท่านจะ เรียนรู้อยู่เสมอรวมไปถึงการศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ และช่วงตอนอยู่ที่วัดละหารไร่นี้พระทิมก็ได้เรียนรู้และศึกษาจากตำราใบลาน เก่าแก่ของวัดซึ่งมีทั้งตำรายาและคาถาอาคมต่างๆซึ่งคาดว่าน่าจะตกทอดมา ตั้งแต่ยุคสมัยหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาสและต่อมาหลวงพ่อแดงก็ได้มาเป็น เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อสังข์เฒ่าท่านคงได้นำตำราใบลานของหลวงพ่อสังข์เฒ่า นี้ไปศึกษาต่อ แล้วภายหลังหลวงพ่อแดงท่านก็ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดจนมาถึงยุคสมัยของพระทิม ก็ได้นำตำราใบลานมาศึกษาเล่าเรียนต่อและในสมัยที่พระทิมมาอยู่ที่วัดละหาร ไร่ใหม่ๆนั้นจะมีพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่วัดเพียงไม่กี่รูป พอเวลาออกพรรษาส่วนใหญ่พระจะสึกกันหมด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านในสมัยก่อนนั้นต้องการที่จะบวชเรียนเพื่อที่จะ ขัดเกลาจิตใจให้สะอาดเพื่อที่ต่อไปจะได้นำสิ่งที่ตนได้ไปบวชและเรียนรู้ใน วัดมาจะได้ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของสังคมต่อไปในวันข้างหน้าและจะต้องไปประกอบสัมมา อาชีพหาเลี้ยงครอบครัวในทางที่สุจริตต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  8. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]ตัวพระทิมเองท่านเป็นคนทำอะไรอย่างจริงจังมั่นคงและเคร่งครัด ท่านคงได้ซาบซึ้งในรสพระธรรมต้องการจรรโลงจิตใจในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นตัว แทนของพระพุทธเจ้าในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากหรือต้องการ ให้เป็น ที่พึ่งทางจิตใจในการที่จะช่วยทำนุบำรุงศาสนาให้ดำรงอยู่และสืบทอดต่อไป ประกอบกับพระทิมเองท่านก็ไม่มีภาระอันใดมากที่ต้องเป็นห่วงสำหรับทางบ้าน เพราะพี่ชายของท่านคือตัวปู่ชื่นเองท่านก็ได้ดูแลนายแจ้และนางอินทร์มาโดย ตลอด ประกอบกับบ้านของท่านก็อยู่ไม่ห่างไกลจากวัดละหารไร่ พอถึงเวลาวันพระปู่ชื่นก็จะพานายแจ้และนางอินทร์มาทำบุญที่วัดละหารไร่เป็น ประจำ หลังจากพระทิมมาอยู่ที่วัดละหารไร่ก็ได้เคร่งครัดในกิจวัตรของสงฆ์โดยเฉพาะ การสวดมนต์เพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยและการเจริญภาวนาเมตตาซึ่งจัดได้ว่า เป็นพื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาซึ่งเปรียบเสมือนอันเป็นรากฐานหรือแก่นสาร ของพระพุทธศาสนา ดังคำโบราณเคยกล่าวไว้ว่า [/FONT][FONT=&quot]สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน[/FONT][FONT=&quot] พระทิมท่านได้หมั่นฝึกท่องบทสวดมนต์บทเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานซึ่งเป็นบทสวด มนต์ของการสวดมนต์ในสมัยก่อนซึ่งแต่เดิมจะมีชื่อเรียกว่าการสวดพระปริตรโดย ตามหลักพระพุทธศาสนาจะแปลว่าเครื่องคุ้มครอง คือจะเป็นมนต์บทสวดสำหรับการปกป้องและคุ้มครองหรือการอาจจะเรียกได้ว่าเป็น บทสวดเพื่อการป้องกันภยันตรายต่างๆก็ว่าได้ การสวดนั้นก็จุดประสงค์เพื่อให้มีความเป็นสิริมงคล และเพื่อเพิ่มพูลเสริมสร้างบารมี ซึ่งการสวดพระปริตรนี้จะเป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวพุทธซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย พุทธกาลมาจวบจนถึงปัจจุบัน พอเวลายามว่างพระทิมท่านก็ได้ศึกษาตำราใบลานเก่าของหลวงพ่อสังข์เฒ่าควบคู่ กันไปด้วยโดยที่พระทิมได้ศึกษาเรียนรู้ของท่านเองและจากคำกล่าวที่ว่าพระ พุทธมนต์ซึ่งเปรียบเสมือนมนต์ของพระพุทธเจ้า พระทิมท่านคงมีจิตในการที่จะมุ่งแสดงหลักธรรมทางพระพุทธศานาโดยแท้จริงในการ ที่จะให้การสวดมนต์นั้นขลังหรือมีความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความจริงแล้วก็มีความ เป็นไปได้หลายประการ ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลผู้สวดมนต์ก็จะต้องทำจิตของตนให้นิ่งหรือสงบเพื่อให้ จิตของตนเป็นสมาธิ และด้วยอำนาจของจิตที่เป็นสมาธินี้เองก็สามารถทำให้เกิดสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ ต่างๆขึ้นได้ ซึ่งอำนาจจิตนี้ก็จะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อให้เกิดอำนาจของจิตนี้เป็นพลัง ซึ่งเราอาจจะรวมเรียกกันว่าพลังจิตก็ว่าได้ซึ่งสามารถทำให้เกิดฤทธิ์เดชหรือ อิทธิปาฏิหารย์ต่างๆได้อย่างเหลือเชื่อและตัวพลังจิตนี้ถ้าวิเคราะห์ให้ดี น่าจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เราได้เห็น ทำให้เราได้ยิน และทำให้เราเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ หลังจากที่พระทิมได้หมั่นท่องบทสวดเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานจนจบโดยใช้ระยะ เวลาไม่นานด้วยความมุมานะความเพียรพยายามและความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระทิม ท่านสามารถท่องบทสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และในการศึกษาตำราใบลานเก่าของหลวงปู่สังข์เฒ่านั้นพระทิมท่านคงศึกษาและ เรียนรู้ในการสวดท่องบทคาถาต่างๆในตำรา และอาจมีตำราบางบทเวลาถ้านำไปใช้ถ้าทำจิตหรือสมาธิไม่ถึงขั้นคาถาบทนั้นก็ ยังใช้ไม่ได้ผล หรืออาจบางทีการที่จะเสกของหรือวัตถุสิ่งใดก็แล้วแต่เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผล ขึ้นมาถ้าจิตหรือสมาธิของผู้เสกยังไม่ถึงระดับอภิญญาญาณก็ยังไม่สามารถทำได้ พระทิมท่านได้หมั่นฝึกฝนจิตหรือสมาธิของท่านอยู่เสมอ ถ้าจะให้ถึงจุดมุ่งหมายได้ให้ถึงระดับที่เรียกว่าอภิญญาหรืออภิญญา [/FONT]6[FONT=&quot] คือสามารถแสดงฤทธิ์หรืออิทธิฤทธิ์ได้ เป็นทิพโสตมีหูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถรู้การตายของคนและสัตว์สามารถรู้วาระจิตรู้ความคิดของคน สามารถระลึกชาติได้และสามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ถ้าจะให้บังเกิดผลได้ก็จะต้องทำปัญญาให้เห็นแจ้งซึ่ง เรื่องของปัญญานี้ย่อมเป็นตัวสำคัญในการดำเนินชีวิตและเป็นตัวชี้นำในการแก้ ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน และจะต้องมีความตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมให้จิตเกิดความสงบได้ทั้งกายวาจาใจ คือจะต้องมีการเจริญสมถะวิปัสสนากรรมฐาน พระทิมท่านได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องการภาวนาต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธา เชื่อมั่นในการบริกรรมภาวนาอันเป็นอารมณ์ของจิต การที่จะภาวนาแล้วจะต้องบังเกิดผลนั้น พระทิมท่านได้ศึกษาและเรียนรู้ว่าการภาวนานั้นจะต้องมีใจที่แน่วแน่ มั่นคง ให้จิตอยู่กับพุทโธและให้พุทโธเข้าถึงจิต ซึ่งจะทำให้จิตนั้นกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทำให้มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและสิ่งสำคัญนี้ก็จะไม่เกิดในจิตของการภาวนา พุทโธนี้ พระทิมเวลาจะภาวนาท่านจะใช้พุทโธนี้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกฝนจิตและทำจิต ให้สงบ เพื่อการเจริญกรรมฐานเพื่อที่จะขจัดนิวรณ์ทั้ง [/FONT]5[FONT=&quot] คือ[/FONT]1[FONT=&quot]. กามฉันทะคือความใคร่ในกาม [/FONT]2[FONT=&quot].พยาปาทะคือความพยาบาทเคียดแค้น [/FONT]3[FONT=&quot].ถีนะมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน [/FONT]4[FONT=&quot].อุทธัจจะกุกกุจจะคือความฟุ้งซ่านรำคาญ [/FONT]5[FONT=&quot].วิจิกิจฉา คือความลังเลไม่ตกลงใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเอาชีวิตเข้าแลก และการให้จิตภาวนาว่าพุทโธซึ่งการฝึกฝนจิตนั้นจะต้องตั้งมั่นอยู่ในคำ บริกรรมพุทโธนี้และให้เอาสติไปควบคุมอยู่ในพุทโธเป็นอารมณ์เดียวและการภาวนา พุทโธไปเรื่อยๆจะทำให้ใจเป็นกลาง วางจิตให้เสมอ เอาสติไปกำหนดจิตและบริกรรมภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆนี้จะทำให้กิเลสความยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวงมันจะค่อยๆหายไปเอง และขอให้เชื่อมั่นในพุทโธซึ่งคำว่าพุทโธนี้ก็เปรียบเสมือนการระลึกถึงพระ พุทธเจ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านได้ยึดมั่นและถือมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าโดยแท้จริงซึ่งท่านได้ยึดหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเรื่อยมา และมีสิ่งหนึ่งที่ท่านเคยสอนให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์ยุคเก่าๆอยู่เสมอให้ ทุกคนยึดในหลักพุทธศาสนาคือให้มีศีล สมาธิ ปัญญา ดั่งคำบาลีกล่าวไว้ว่า[/FONT][FONT=&quot]สีเล ปติฏฐายนโร สปญโญ จิตฺตํ ปัญญญ จ ภาวยํ อาตาปิ นีปโก ภิกขุ โสอิมํวิชฏเย ชฏํ [/FONT][FONT=&quot]บุคคลใดตั้งอยู่ในศีล ทำสมาธิให้เกิด ยังวิปัสสนา ปัญญาให้แจ้ง บุคคลผู้นั้นก็จะสางความยุ่งเหยิงในโลกนี้ได้[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งความยุ่งเหยิงก็คือ กิเลส มี โลภะโทสะ โมหะ หรือความโลภ ความโกรธ ความ[/FONT][FONT=&quot]หลง ที่มาวุ่นวายในจิตใจเราตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นว่าพระทิมท่านได้ละกิเลสแล้วทั้งสิ่งทั้งปวงและท่านได้ศึกษาหลัก ธรรมในพระพุทธศาสนาจนลึกซึ้ง และได้เห็นถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและการเจริญทางแห่งวิสุทธิมรรค และพระทิมท่านคงได้บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านได้เห็นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ซึ่งถ้ากล่าวก็จะอธิบายได้ว่า ศีล(มะ) สามารถละกิเลสทางกายและวาจา สมาธิ(อะ) สามารถละความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ปัญญา(อุ) สามารถละความรัก ความชัง ที่เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัสที่ดีไม่ดีได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านจะให้ยึดหลักใน ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ความหมายอีกอย่างก็คือ มะอะอุ ซึ่งตามความหมายของหลักพุทธศาสนาก็คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเราสามารถเข้าไปถึงแก่นแท้ได้ก็จะเป็นอานุภาพแห่งความบริสุทธิ์อัน ศักดิ์สิทธิ์นี้ มีอีกประการหนึ่งที่พระทิมท่านได้พิจารณาจนสิ้นสุดลงได้และเห็นถึงหลักธรรมะ คือหลักของไตรลักษณ์ซึ่งหลักไตรลักษณ์นี้เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านได้ ตรัสรู้ไว้มีหลักสามประการคือ [/FONT]1[FONT=&quot]. อนิจจัง คือความไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีการเสื่อมและสลายไปซึ่งแสดงถึงความไม่เที่ยงของขันธ์ห้า [/FONT]2[FONT=&quot].ทุกขัง คือการเป็นทุกข์เป็นภาวะที่ทนได้ยากความไม่สบายทั้งกายและใจ แสดงถึงความทุกข์ของขันธ์ห้า [/FONT]3[FONT=&quot].อนัตตา เป็นอาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน กายนี้ไม่ใช่ของเราเป็นอนัตตา ความตายไม่มีใครหลีกหนีพ้นไปได้ และนี่คือหลักสัจธรรมของมนุษย์ที่พระทิมท่านได้พิจารณาจนพบทางแห่งความ สำเร็จและท่านคงได้สำเร็จในหลักสัจธรรมของจิตคือการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ทั้งปวง[/FONT][FONT=&quot]หลัง จากที่พระทิมได้เพียรพยายามฝึกฝนตนเองจนพบทางแห่งความหลุดพ้นซึ่งเป็นหนทาง สู่พระนิพพาน ซึ่งการที่จะพบหนทางแห่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญนั้นจะต้องมีการบำเพ็ญสณธรรม ด้วยการเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาที่เงียบสงัดวิเวกสำหรับการฝึกสมาธิจิต บำเพ็ญเพียรเพื่อมรรคผลต่อไป หลังจากนั้นครั้นพอถึงเวลาออกพรรษา พระทิมท่านก็ได้กราบลาเจ้าอาวาสวัดละหารไร่เพื่อการธุดงค์ต่อไป[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  9. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]ออกเดินธุดงค์[/FONT]
    [FONT=&quot]พระทิมได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆและศึกษาวิชากรรมฐานจากวัดละหารใหญ่และ วัดละหารไร่ หลังจากนั้นพระทิมก็ได้เริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ในการบำเพ็ญจิตและ การเจริญสมถะวิปัสสนากรรมฐาน พระทิมก็ได้เดินธุดงค์รอนแรมออกจากวัดละหารไร่ไปเรื่อยๆตามหมู่เขาลำเนาไพร ท่านได้พบเจอกับอุปสรรคต่างๆมากมายค่ำที่ไหนพักที่นั่นด้วยความที่พระทิมมี จิตมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง พระทิมได้ธุดงค์รอนแรมไปจนถึงเมืองบางปลาสร้อยหรือเมืองชลบุรีในปัจจุบัน และพระทิมได้เดินธุดงค์ไปถึงดินแดนที่พระทิมเคยมาครั้งเมื่อตอนท่านเป็นพล ลูกหมู่เมื่อครั้งตอนมาร่ำเรียน วิชาอาคมจากฆาราวาสชื่อดังในหมู่บ้านคือที่บ้านนามะตูมและจากที่นั่นเองพระ ทิมก็ได้รู้จักกับพระโด่หรือหลวงพ่อโด่แห่งวัดนามะตูมซึ่งสมัยนั้นพระโด่ เพิ่งจะได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆและพระทิมท่านก็ได้พักที่วัดนามะตูม แห่งนี้และได้สนทนาธรรมหรืออาจจะแลกเปลี่ยนศึกษาวิชาอาคมกันอยู่ช่วงหนึ่ง ต่อจากนั้นพระทิมท่านก็ได้เตรียมออกเดินธุดงค์ต่อซึ่งพอดีตรงกับช่วงจังหวะ นั้นมีคณะการเดินรุกขมูลของพระสงฆ์ตามวัดต่างๆในแถบภาคตะวันออกโดยมีพระสงฆ์ จากที่ต่างๆมากถึงสองสามร้อยรูป โดยมีพระครูปานหรือหลวงพ่อปานแห่งวัดบางเหี้ยหรือวัดโคธาวาสในปัจจุบัน เป็นหัวหน้าคณะในการเดินรุกขมูล ซึ่งหลวงพ่อปานนี้ท่านจะเคร่งในเรื่องการวิปัสสนาธุระและกรรมฐานจึงได้รับ เป็นหัวหน้าชุดในการเดินธุดงควัตร หลวงพ่อปานท่านเก่งในเรื่องจิตมาก ท่านสามารถล่วงรู้ได้ทั้งหมดเวลาพระที่ไปร่วมเดินธุดงควัตรมีอะไรติดขัดหลวง พ่อปานท่านจะแก้หรือแนะนำให้ทุกครั้ง พระทิมท่านก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ร่วมเดินกับคณะธุดงค์ โดยท่านได้ร่วมออกเดินจากเมืองบางปลาสร้อยไปตามป่าตามเขาจะต้องเผชิญกับ สัตว์ร้ายนานาชนิดและโรคภัยต่างๆซึ่งสมัยนั้นถ้าพระธุดงค์องค์ไหนถ้าไม่อดทน หรือแข็งพอจะไปร่วมเดินกับคณะของหลวงพ่อปานไม่ได้ ซึ่งหลวงพ่อปานท่านเคร่งมากในการเดินธุดงควัตร พระทิมท่านมีจิตมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาและความตั้งใจในการร่วมเดินธุดงควัตร ประกอบกับพระทิมท่านมีความอดทนเป็นเลิศจากประสบการณ์ที่ท่านเคยใช้ชีวิตใน ป่ามาก่อนสามารถทำให้พระทิมเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆหรือสภาพภูมิอากาศได้ ง่าย พระทิมได้ศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่องของการวิปัสสนากรรมฐาน และการเรียนรู้ในเรื่องของจิตกับหลวงพ่อปานนี้ ซึ่งน่าจะวิเคราะห์ได้ว่าพระทิมท่านคงได้สำเร็จในเรื่องของจิตไปได้ในระดับ หนึ่งเลยทีเดียว ด้วยความที่พระทิมมีความตั้งใจและความพากเพียรพยายามสูงทำให้ท่านสามารถ เรียนรู้ไปได้รวดเร็ว จากนั้นคณะธุดงค์ได้เดินไปเรื่อยๆพอถึงใกล้เวลาพลบค่ำก็จะหาที่พักตามต้นไม้ ใหญ่ๆ หลังจากนั้นคณะธุดงค์ก็ได้หาที่ปักกลดกันและได้ปฎิบัติภารกิจของสงฆ์ตามหลัก กิจวัตรของสงฆ์ หลังจากนั้นพระธุดงค์ทั้งหมดก็ได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญใน การเดินธุดงค์ พระทิมท่านได้ถือเคร่งครัดมากในการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน และการบำเพ็ญจิตภาวนา พอเช้าตะวันขึ้นรุ่งอรุณของวันใหม่ พระสงฆ์ที่มาร่วมธุดงค์ต่างก็ทำกิจของสงฆ์ พอเสร็จภารกิจต่างก็เก็บกลดเพื่อเตรียมออกเดินธุดงค์ต่อ ซึ่งการธุดงค์ในสมัยก่อนนั้นยอมรับว่าลำบากมาก ซึ่งต้องเผชิญกับสัตว์ร้ายนานาชนิดและโรคภัยต่างๆโดยเฉพาะไข่ป่าซึ่งถือเป็น ศัตรูตัวสำคัญของพระธุดงค์ที่ต้องประสบและต้องเผชิญ ซึ่งถ้าใครเป็นแล้วถ้ารักษาไม่ทันตายสถานเดียว ซึ่งสมัยก่อนย้อนไปร้อยกว่าปีที่แล้วความเจริญยังไม่เข้ามาถึง โรงพยาบาลหรืออนามัยต่างๆยังมีไม่ทั่วถึง การรักษาต้องรักษากันตามพื้นบ้าน และจากประสบการณ์ที่พระทิมท่านเคยใช้ชีวิตตามป่าเขามาก่อนทำให้ท่านสามารถ เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี พระปานหรือหลวงพ่อปานท่านถือเคร่งครัดมากสำหรับการเดินธุดงควัตรหรือการเดิน รุกขมูล ซึ่งถ้าพระธุดงค์องค์ไหนถ้าได้ร่วมกับคณะเดินธุดงค์กับสายหลวงพ่อปานถ้าผ่าน มาสำเร็จได้ก็ถือว่า ได้ผ่านประสบการณ์สำคัญในการเจริญกิจทางสงฆ์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งก็มีเกจิที่สำคัญๆหลายองค์เหมือนกันที่ได้ร่วมเดินธุดงค์กับสายหลวงพ่อ ปานนี้ พระทิมท่านเล่าว่าช่วงที่เดินธุดงค์อยู่นั้นจากการที่ท่านมีความสนใจใน เรื่องวิทยาคมต่างๆช่วงนั้นท่านก็ได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคมกับพระที่ร่วมเดิน ธุดงค์ด้วยกัน ซึ่งก็มีหลายองค์ด้วยกันที่ได้แลกเปลี่ยนวิชากัน แต่เท่าที่จำได้ที่ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่าท่านได้แลกเปลี่ยนวิชากับ พระน้อย หรือหลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา แต่จะเป็นวิชาใดนั้นไม่ทราบได้ และยังมีหลวงพ่ออี๋วัดสัตหีบแต่ท่านยังไม่ได้เรียนวิชากัน หลังจากนั้นคณะธุดงค์ก็ได้ธุดงค์รอนแรมไปถึงดินแดนที่เรียกว่าพนมสารคามและ ได้พักปักกลดที่นั่นซึ่งน่าจะเป็นบริเวณแถวๆหมู่บ้านซ่อง และจากที่นี่เองที่พระทิมที่ท่านได้รู้จักกับฆาราวาสชื่อดังคือฆาราวาสสาย และท่านคงได้เรียนรู้อยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นก็ได้ร่วมธุดงค์ต่อไปจนถึงบริเวณที่เรียกว่าศรีมหาโพธิ์ และคณะธุดงค์ก็ได้ถึงจุดหมายและได้ปักกลดพักอยู่ที่ศรีมหาโพธิ์แห่งนี้และ ได้นั่งบำเพ็ญจิตอยู่ระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นก็ได้ออกเดินธุดงค์ต่อทางคณะได้เดินวกกลับออกมาทางนครนายกและได้เดิน ธุดงค์รอนแรมไปถึงรอยพระพุทธบาท สระบุรีและต่างก็ได้มนัสการรอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  10. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]ภายหลังจากที่ พระทิมท่านได้เดินรอนแรมมากับคณะหลวงพ่อปานจนถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือที่ รอยพระพุทธบาทสระบุรีและพระทิมก็ได้ไปมนัสการรอยพระพุทธบาทนี้และได้ปักกลด พักอยู่บริเวณใกล้ๆสถานที่แห่งนี้อยู่ค่ำคืนหนึ่ง เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จากนั้นพอรุ่งขึ้นเช้าคณะสงฆ์ที่ร่วมธุดงค์ต่างก็ทำภาระกิจของสงฆ์เสร็จก็ เตรียมออกเดินธุดงค์ต่อเพื่อจะกลับไปยังที่บางเหี้ย หลังจากนั้นคณะธุดงก็ได้ออกเดินมายังเส้นทางตามทางรถไฟจนถึงเมืองอยุธยาซึ่ง เป็นเมืองเก่าดั้งเดิมและได้ปักกลดพักอยู่คืนหนึ่งพอรุ่งขึ้นเช้าก็ออกร่วม ธุดงค์มาเรื่อยๆจนถึงเมืองบางกอก ซึ่งสมัยนั้นเป็นยุคของรัชสมัยรัชกาลที่ห้า คณะธุดงค์ได้ร่วมเดินธุดงค์มาถึงบางกอกและพระทิมท่านได้มาปักกลดพักอยู่ที่ บางกอกนี่เป็นเวลา[/FONT]2[FONT=&quot]วัน ก่อนที่จะออกเดินธุดงค์ต่อกลับไปยังวัดบางเหี้ย หลังจากได้รอนแรมกลับมายังถึงจุดหมายซึ่งการเดินร่วมรุกขมูลนั้นใช้เวลาร่วม ประมาณสี่ถึงห้าเดือนคือจะออกเดินธุดงค์ในแรมเดือนยี่จะกลับมาวัดในช่วง ประมาณเดือนห้าถึงเดือนหก หลังจากพระทิมท่านได้มาถึงที่วัดบางเหี้ยและได้พักอยู่ที่วัดหลวงพ่อปานอยู่ ช่วงหนึ่ง ซึ่งน่าจะสันนิษฐานได้ว่าพระทิมท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆและการเรียนรู้ เรื่องสมาธิจิตเพราะหลวงพ่อปานท่านมีชื่อเสียงมากในยุคนั้นท่านมีอาคมขลัง และมีสมาธิจิตที่เข็มแข็งเป็นพระที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจังมาก พระทิมได้สามารถเรียนรู้เรื่องจิตกับหลวงพ่อปานอยู่ไปได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการเรียนรู้เรื่องจิตนั้นถ้าสำเร็จในเรื่องของจิตจะแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ซึ่งการที่จะสำเร็จได้นั้นจะต้องมีการภาวนาให้จิตมีกำลัง มีสมาธิ มีปัญญา และมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย ภายหลังจากที่พระทิมท่านได้เรียนรู้เสร็จจากนั้นก่อนลาหลวงพ่อปานท่านก็ได้ มอบเสือแกะประมาณ[/FONT]2-3[FONT=&quot]ตัว และตะกรุดโทนของท่านให้แก่พระทิมไว้ หลังจากนั้นพระทิมก็ได้กราบลาหลวงพ่อปานเดินทางกลับและได้เดินทางมายังที่ วัดนามะตูม และได้พักอยู่ที่วัดและได้สนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนวิชากันกับหลวงพ่อโด่อยู่ พักหนึ่ง หลังจากนั้นพระทิมก็ได้เดินทางกลับมายังวัดละหารไร่ ซึ่งช่วงนั้นจะเป็นช่วงใกล้เข้าพรรษาและพระทิมท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดละ หารไร่และตอนนั้นหลวงพ่อสิงห์ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่อยู่

    [/FONT][FONT=&quot]พระทิมท่านได้กลับมาจากเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆท่านก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดละ หารไร่ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ตอนที่พระทิมได้ไปธุดงค์เรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่ที่ยังไม่เคยพบกับ อุปสรรคต่างๆนาซึ่งเป็นการทดสอบจิตว่ามีความเข็มแข็งมากเพียงใด ซึ่งจากประสบการณ์ที่พระทิมท่านได้พบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆนาๆ ด้วยจากการที่พระทิมได้มีจิตมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาและจากการเรียนรู้เข้าใจ ในเรื่องของวิชาอาคมต่างๆและเรื่องของการวิปัสสนากรรมฐาน หรือการบำเพ็ญจิต พระทิมสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทั้งทางโลกทางธรรมและสิ่งที่ลี้ลับ ที่เกิดขึ้นได้ จากประสบการณ์ต่างๆที่ท่านได้เรียนรู้เรื่องวิชาอาคมและเข้าใจในหลักธรรมของ พระพุทธศาสนามา หลังจากที่พระทิมได้กลับมาอยู่ที่วัดละหารไร่ ตอนนั้นวัดยังคงสภาพเดิมอยู่ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆยังเป็นศาลาหลังเดิมพระทิมก็ได้พักที่เดิมที่ท่าน เคยพักอยู่ และพระทิมก็ได้ปฎิบัติภารกิจของสงฆ์และศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และยึดมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาโดยแท้จริง เวลายามว่างพระทิมท่านชอบทบทวนตำราที่ได้ร่ำเรียนมา เพราะท่านยังเป็นพระหนุ่มที่ต้องการที่จะเรียนรู้ต่อไปอยู่เสมอ ซึ่งในสมัยก่อนวิชาอาคมต่างๆนั้นจะต้องเรียนรู้และไขว่คว้าหาเรียนด้วยตัว เอง การเรียนวิชาอาคมต่างๆได้ในสมัยก่อนต้องถือสัจจะเป็นหลักใหญ่ถึงจะเรียนวิชา อาคมให้ขลังได้ ดังนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆให้จะต้องมีการทดสอบลูกศิษย์ก่อนจน แน่ใจถึงจะได้ร่ำเรียนวิชาอาคมได้ หลังจากที่พระทิมได้จำพรรษาที่วัดละหารไร่ประมาณหนึ่งพรรษา จากนั้นก็ได้มีเพื่อนของท่านสมัยที่เคยเป็นพลลูกหมู่ด้วยกันมาหาท่านที่วัด ละหารไร่และได้พักที่วัดละหารไร่อยู่พักหนึ่ง พอถึงเวลาออกพรรษาพระทิมก็ได้กราบลาหลวงพ่อสิงห์เจ้าอาวาสวัดเพื่อที่จะได้ ไปร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆเพิ่มเติมด้วยความที่ท่านเรียนรู้สิ่งใดแล้วก็ขอให้ เรียนรู้อย่างจริงจังและแน่วแน่ หลังจากนั้นพระทิมก็ได้เดินทางไปยังที่จุดมุ่งหมายเดิมคือที่บ้านนามะตูมโดย พระทิมได้ออกเดินทางร่วมกับเพื่อนลูกหมู่ของท่านด้วย

    [/FONT]
    [FONT=&quot][FONT=&quot]ภายหลังจากที่ พระทิมได้เดินทางรอนแรมไปกับเพื่อนที่ป็นพลลูกหมู่ของท่านและได้เดินทางไป ถึงยังจุดมุ่งหมายคือที่บ้านนามะตูม และพระทิมก็พักอยู่ที่วัดนามะตูมจากนั้นท่านก็ได้ไปร่ำเรียนวิชาอาคมเพิ่ม เติมพระทิมท่านเล่าว่าวิชาอาคมต่างๆนั้นมีมากหลายถ้าใครสนใจถึงหลักแก่นแท้ ของมันจริงๆจะต้องมีการเรียนรู้และใฝ่หาอยู่เสมอเพื่อความกล้าแกร่งถูกต้อง และแม่นยำ พระทิมเมื่อท่านได้เรียนรู้ถึงเรื่องวิชาอาคมต่างๆเมื่อท่านได้เรียนรู้และ เข้าใจแล้วท่านก็จะต้องมีการฝึกฝนและต้องการเรียนรู้วิชาใหม่ๆอยู่เสมอ และท่านก็ได้เรียนกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาสที่ท่านเคยได้เรียนมาเมื่อครั้ง ก่อน และการมาร่ำเรียนวิชาอาคมในครั้งนี้ พระทิมท่านได้เรียนมานานเป็นปีๆพอถึงเวลาเข้าพรรษาพระทิมท่านก็ได้จำพรรษา ที่วัดนามะตูม โดยที่ช่วงนั้นพระทิมได้ร่ำเรียนวิชาอาคมท่านไม่ได้กลับไปวัดละหารไร่เลย ท่านได้เรียนวิชาอาคมอย่างเคร่งครัด ซึ่งที่วัดละหารไร่ในตอนนั้นจะเป็นช่วงที่หลวงพ่อสิงห์ท่านเป็นเจ้าอาวาสและ ท่านได้ลาสิกขาบทหรือมรณภาพไปซึ่งตามประวัติไม่ได้กล่าวบันทึกไว้ และได้นิมนต์หลวงพ่อจ๋วมมาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อสิงห์และหลวงพ่อจ๋วมก็ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ระยะหนึ่งก็ได้ลาสิกขาบทไปทำให้ที่วัดละหารไร่ในขณะ นั้นไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย ทำให้วัดละหารไร่ได้ร้างอยู่ช่วงหนึ่ง ขณะนั้นพระทิมเองท่านก็ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมอยู่ที่บ้านนามะตูมโดยที่พระทิม ได้ร่ำเรียนอยู่กับอาจารย์หลายท่านมีทั้งพระและฆราวาส ถ้ามีอาจารย์คนใดที่มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือพระทิมจะขอเป็นลูก ศิษย์ทันที ถึงแม้จะมีอุปสรรคยากเย็นเพียงใดก็ตาม หรือระยะเวลาที่เรียนจะนานก็ตามทีพระทิมท่านไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆทั้ง นั้น พระทิมได้ร่ำเรียนวิชาอาคมที่บ้านนามะตูมและบริเวณในเขตเมืองชลบุรีแห่งนี้ เป็นเวลา [/FONT]3-4[FONT=&quot] ปี
    [/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=&quot][FONT=&quot][FONT=&quot]หลังจากที่พระ ทิมได้ร่ำเรียนวิชาอาคมจากพระอาจารย์ต่างๆและฆราวาสชื่อดังในสมัยนั้นอีก หลายอาจารย์ด้วยกัน พอภายหลังที่พระทิมท่านได้เรียนจบจากอาจารย์ต่างๆที่ท่านได้เรียน หลังจากนั้นพอถึงเวลาเข้าพรรษาซึ่งเป็นพรรษาที่[/FONT]3[FONT=&quot]ที่ พระทิมท่านได้ร่ำเรียนวิชาอาคมมาท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดนามะตูม ซึ่งสมัยก่อนพระทิมท่านเล่าว่าท่านได้เคยแลกเปลี่ยนวิชาอาคมหรือทดสอบวิชา อาคมกับหลวงพ่อโด่อยู่เสมอซึ่งหลวงพ่อโด่ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเอี่ยม วัดนอกและหลวงปู่ปั้น วัดนามะตูม สมัยก่อนตอนที่ได้รับเป็นเจ้าคณะอำเภอพนัสนิคมหลวงพ่อโด่ท่านก็มีชื่อเสียง มากมีลูกศิษย์ลูกหามากมายชาวบ้านแถวพนัสนิคมนั้นนับถือกันมาก พระทิมและหลวงพ่อโด่ท่านจะเป็นพระสหธรรมิกกันทั้งสองท่านจะรุ่นราวคราวเดียว กัน ท่านจะไปมาหาสู่กันและท่านแลกเปลี่ยนวิชาอาคมด้วยกันเสมอ ภายหลังทั้งหลวงพ่อทิมและหลวงพ่อโด่ท่านจะใช้ยันต์ห้าซึ่งเป็นยันต์ประจำตัว เหมือนกัน ภายหลังจากที่พระทิมท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมจนถึงเวลาออกพรรษาพระ ทิมก็ได้เดินทางกลับมายังวัดละหารไร่

    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ภายหลังจากที่ พระทิมท่านได้ไปร่ำเรียนวิชาอาคมจากหลายๆอาจารย์ที่ได้ไปร่ำเรียนมาและพอจาก นั้นก็ถึงเวลาออกพรรษาพระทิมท่านก็ได้เดินทางออกจากวัดนามะตูมและได้เดิน ทางกลับมายังวัดละหารไร่ซึ่งหลังจากที่พระทิมได้กลับมาถึงวัดละหารไร่ซึ่ง ขณะนั้นได้ว่างตำแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งหลวงพ่อจ๋วมมารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดละหารไร่อยู่ระยะหนึ่งก็ได้ลาสิกขาไปทำให้วัดไม่มีพระสงฆ์อยู่เลย ก๋งย้วนซึ่งอดีตนั้นท่านเป็นลูกของก๋งหนิดซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดกับวัดละหาร ไร่ ท่านเล่าว่า ตอนที่หลวงพ่อจ๋วมลาสิกขาบทไปพระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่พอออกพรรษาก็สึกออกไปกัน หมด ทำให้วัดละหารไร่นั้นร้างซึ่งทำให้ศาลาวัดที่เคยเป็นที่ปฎิบัติกิจของสงฆ์ และรวมทั้งเป็นที่พักของสงฆ์ด้วย รวมทั้งบริเวณพื้นที่โดยรอบ ทำให้มีแต่ป่าหญ้าคาขึ้นรกเต็มไปหมด พอพระทิมท่านได้กลับมาถึงวัดก็พบว่าสภาพวัดนั้นรกและเต็มไปด้วยป่าหญ้าคา จากนั้นพระทิมท่านก็ได้บูรณะวัดและบุกเบิกด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งพอมาภายหลังก๋งย้วนท่านก็ได้ชักชวนชาวบ้านละหารไร่มาช่วยกันพัฒนาวัดให้ กลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนแต่ก่อน และจากนั้นพระทิมท่านก็ได้อยู่ที่วัดละหารไร่ โดยพระทิมท่านก็ได้อยู่ของท่านมาองค์เดียวตลอด [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  11. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]หลังจากที่พระ ทิมและชาวบ้านละหารไร่ได้ช่วยกันบูรณะวัดให้กลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม ต่อมาชาวบ้านละหารไร่ต่างก็ได้ยินยอมและพร้อมใจกัน ให้พระทิมท่านมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น มา ซึ่งตามประวัติที่พระทิมท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่เมื่อประมาณปี พ.ศ.[/FONT]2450[FONT=&quot] ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระทิมกว่าที่ท่านจะได้บวชเรียนและธุดงค์ไปในที่ต่างๆและ ได้ไปร่ำเรียนวิชาต่างๆที่เมืองบางปลาสร้อยหรือเมืองชลบุรีอีกสามพรรษา ซึ่งระยะเวลาที่กว่าพระทิมท่านจะมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่นั้น เป็นเวลาประมาณ [/FONT]4[FONT=&quot]กว่าปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระทิมกว่าจะมาเป็นเจ้าอาวาสนั้นจะอายุได้ประมาณ [/FONT]28[FONT=&quot] ปี และแสดงว่าท่านบวชเมื่ออายุ [/FONT]24 [FONT=&quot]ปีซึ่งจะตรงกับปี พ.ศ.[/FONT]2446[FONT=&quot] ที่ท่านได้ออกบวช ก๋งย้วน (พ่อของกำนันเสถียร ซึ่งเป็นอดีตกำนันตำบลละหารไร่)ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์รุ่นหลังฟังว่าภาย หลังจากที่พระทิมท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านจะอยู่ที่วัดของท่านองค์เดียว โดยที่ท่านจะทำภารกิจต่างๆของวัดหรือกิจวัตรต่างๆของสงฆ์พระทิมท่านจะ ปฏิบัติของท่านองค์เดียวตลอดเรื่อยมาโดยยึดตามแนวหลักปฏิบัติของพระพุทธ ศาสนาอย่างเคร่งครัด ต่อมาภายหลังชาวบ้านละหารไร่ได้ร่วมแรงช่วยกันสร้างกุฏิเจ้าอาวาสให้พระทิม ซึ่งกุฏิที่สร้างนั้นจะสร้างกันเองโดยจะหาไม้ตามป่าดงดิบซึ่งอยู่รอบๆบริเวณ วัดมาทำกุฏิ ส่วนหลังคากุฏิของพระทิมนั้นตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาจะมุงด้วยใบคันทรง ซึ่งสมัยนั้นก็จะหาวัสดุตามธรรมชาติเอามาทำกัน ซึ่งกุฏิจะสร้างเป็นกุฏิเล็กๆโดยใช้เสาไม้มาทำเสาเรือนและมีใต้ถุนเรือนและ ถือว่าเป็นกุฏิหลังแรกที่พระทิมได้พำนักอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ก่อนนั้นจะพักกันที่ศาลาเก่า ซึ่งศาลาเดิมนั้นต่อมาใช้เป็นที่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ส่วนพระทิมนั้นพอได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็จะอาศัยอยู่ที่กุฏินี้เป็นประจำ

    [/FONT][FONT=&quot]ภายหลังจากที่ ชาวบ้านละหารไร่ได้ช่วยกันสร้างกุฏิให้พระทิมพำนักอยู่ ซึ่งตามประวัติเท่าที่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าชาวบ้านที่ได้มาช่วยการสร้าง กุฏิให้พระทิมโดยมีชาวบ้านมาช่วยกันสร้างซึ่งเท่าที่จำได้จะมีก๋งย้วน นายเฉิด นายแท่ง นายอยู่ และนายเสื่อมซึ่งเป็นชาวบ้านละหารไร่ในยุคสมัยนั้น ถ้าจะกล่าวถึงการร่วมแรงร่วมใจในการสร้างนั้นสมัยก่อนชาวบ้านจะมีความ สามัคคีกันมากโดยเฉพาะเรื่องการสร้างวัดวาอารามในสมัยก่อน ซึ่งถือว่าการได้สร้างกุฏิพักให้สงฆ์อยู่นั้นถือว่าได้บุญกุศลแรง ชาวบ้านละหารไร่ในสมัยก่อนนั้นจะมีเพียงไม่กี่หลังคาเรือนและยังมีพื้นที่ ป่าดงดิบอีกมาก สัตว์ป่าก็ยังมีอยู่มากมายซึ่งการประกอบอาชีพของชาวบ้านละหารไร่ก็จะยึด อาชีพทำไร่ข้าวซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และอาชีพหาสัตว์ป่าเพื่อดำรงหาเลี้ยงชีพ ในยุคเก่าก่อน พระทิมท่านเคร่งมากในการปฏิบัติกิจของสงฆ์โดยไม่ขาดตกบกพร่องโดยยึดในหลัก พระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด พอถึงเวลาเข้าพรรษามีพระสงฆ์ใหม่เข้ามาจำพรรษาที่วัดละหารไร่ พระทิมท่านเคร่งมากในการปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์ของพระบวชใหม่ เช่นการสวดมนต์ การพิจารณาปัจจเวขณ์ การภาวนารวมถึงการอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร การขบฉัน อิริยบทต่างๆและการศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่พระสงฆ์จะต้อง ศึกษาและเรียนรู้ พระทิมท่านจะยึดตามหลักของพระพุทธศาสนาและเจริญรอยตามแนวของพระพุทธเจ้า โดยที่ท่านได้ถือการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พระสงฆ์ที่ อยู่ในวัด ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านจะเคร่งครัดมากในเรื่องปฏิบัติกิจของสงฆ์จนเป็น เนืองนิจเสมือนเปรียบดั่งเช่นกิจของพระพุทธเจ้าซึ่ง[/FONT][FONT=&quot]กิจของพระพุทธเจ้านั้นท่านได้แสดงไว้ในการบอกวัตรของโบราณ วันหนึ่ง ๆ ที่เป็นกิจประจำว่ามี ๕ อย่าง คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]หนึ่ง[/FONT][FONT=&quot] เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต[/FONT]
    [FONT=&quot]สอง[/FONT][FONT=&quot] เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ก็คือทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเฝ้าเป็นประจำทุกวัน[/FONT]
    [FONT=&quot]สาม[/FONT][FONT=&quot] เวลาย่ำค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุ[/FONT]
    [FONT=&quot]สี่[/FONT][FONT=&quot] เวลาเที่ยงคืนทรงแสดงธรรมแก้ปัญหาเทวดาที่มาเฝ้า[/FONT]
    [FONT=&quot]ห้า[/FONT][FONT=&quot] เวลาย่ำรุ่งทรงพิจารณาหมู่สัตว์ คือหมู่ของบุคคลที่สมควรและไม่สมควรที่จะเสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรด[/FONT]
    [FONT=&quot]อัน แสดงว่ากิจ ๕ อย่างนี้ได้ทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาเช้าทำวัตร คือทำการปฏิบัติอุปัฏฐากบำรุง จึงเป็นกิจของพระภิกษุสงฆ์ องค์หนึ่งบ้างหลายองค์บ้าง ที่ไปเฝ้าทำพุทธอุปัฏฐาก เมื่อมีพระภิกษุเป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ การที่พระภิกษุทั่วไปจะเข้าเฝ้าเป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงเป็นอันไม่ต้องไปทำ แต่ก็ชื่อว่าเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์อย่างน้อยก็องค์ใดองค์หนึ่งผลัด เปลี่ยนกันเข้าไปเฝ้าทำพุทธอุปัฏฐาก[/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะ ฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงได้มีธรรมเนียมที่พระภิกษุที่อยู่ในวัดหนึ่ง ๆ ประชุมกันในอุโบสถคือในโบสถ์ในวิหาร คือในหอสวดมนต์ที่กำหนดขึ้น ทำการสักการบูชาพระพุทธปฏิมาซึ่งประดิษฐานอยู่ในที่นั้น แทนการที่เข้าไปเฝ้าอุปัฏฐากบำรุงพระพุทธเจ้าในเวลาเช้า จึงสวดมนต์ และบทสวดนั้นก็เป็นบทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นหลัก จึงได้เรียกบทสวดมนต์นี้ว่า สวดทำวัตร แปลตามศัพท์ก็คือว่า สวดทำการปฏิบัติบำรุง แต่เมื่อไม่มีองค์พระพุทธเจ้าที่จะปฏิบัติบำรุง จึงสวดสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์แทน จึงได้เรียกว่า สวดทำวัตร[/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วน ในเวลาเย็นนั้น ได้มีปรากฏอยู่ในพุทธกิจทั้ง ๕ ดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าเวลาย่ำค่ำทรงแสดงโอวาทแก่ภิกษุ จึงได้มีธรรมเนียมที่พระภิกษุประชุมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาย่ำค่ำถัด จากเวลาเย็นที่ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนทั่วไปเพราะฉะนั้น ในการเข้าเฝ้าในเวลาค่ำนั้น ก็จะมีธรรมเนียมการทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากบำรุงพระพุทธเจ้า เช่นตั้งน้ำฉันน้ำใช้อะไรไว้ในกุฏิที่ทรงประทับเช่นเดียวกัน ก็เป็นหน้าที่ของพระภิกษุที่จัดสับเปลี่ยนกันไปหรือมีประจำแล้วก็ไปเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธโอวาท และเมื่อไม่มีพระองค์ที่จะปฏิบัติบำรุง การประชุมกันในเวลาค่ำหรือในเวลาเย็นจึงได้มีการสวดบทสรรเสริญคุณพระรัตน ตรัยจึงได้เรียกบทสวดแม้ในเวลาค่ำว่าสวดทำวัตร อันเป็นการแสดงถึงการทำวัตรปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=&quot]อนึ่ง ในเวลาเย็นเวลาค่ำนั้นเป็นเวลาที่ทรงแสดงธรรมด้วย ดังปรากฏในพระพุทธกิจประจำวันดังกล่าวมา เมื่อสวดบททำวัตรแล้ว จึงได้มีการสวดบทพระพุทธพจน์ อันเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสูตรหนึ่ง หรือบทใดบทหนึ่ง ต่อจากทำวัตรค่ำ เท่ากับว่าเป็นการฟังธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดง หรือว่าฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้าในเวลาเย็น ในเวลาค่ำ ตามพุทธกิจที่ปรากฏนั้น การสวดมนต์ ก็คือสวดพระสูตรใดพระสูตรหนึ่งดังกล่าวนั้น จึงเท่ากับว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม หรือประทานพระโอวาทฟังกัน เพราะฉะนั้น หลังจากทำวัตรเย็นทำวัตรค่ำแล้วจึงมีการสวดมนต์ต่อ ก็เท่ากับว่าเป็นการฟังธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงหรือที่ทรงประทานเป็น พระพุทธโอวาท นี้เป็นธรรมเนียมการสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรค่ำ และเมื่อทำวัตรค่ำแล้วก็มีธรรมเนียมสวดมนต์ คือสวดพระสูตรเป็นต้น อันเป็นคำสั่งสอนต่อไป เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติเนื่องมาจากครั้งพุทธกาลดังกล่าว ซึ่งพระทิมได้ยึดมั่นเสมอในการยึดและสืบทอดในหลักปฏิบัติของพระพุทธองค์และ หลักพุทธศาสนาโดยแท้จริง[/FONT]และการยึดถือหลักปฏิบัตินี้พระทิมท่านได้นำมาเป็นหลักปฏิบัติในการถือประพฤติปฏิบัติของพระทิม

    หลังจากที่พระทิมได้ยึดหลักประพฤติ ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาโดยเคร่งครัด และท่านได้ยึดมั่นเสมอในการสืบทอดหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาโดยพระทิมได้ ประพฤติเป็นแบบอย่างที่มั่นคง โดยที่ท่านได้ยึดหลักปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเมื่อถึง เวลาเข้าพรรษาพระทิมท่านก็ได้สั่งสอนหลักธรรมะให้แก่พระเณรที่อยู่ในวัดโดย ยึดตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงธรรมเทศนาให้ชาวบ้านละหารไร่นั้นท่านจะกล่าวถึง หลักศาสนาโดยท่านได้กล่าวถึงหลักสัจธรรมที่รู้จักกันในพระพุทธศาสนา ท่านได้กล่าวว่าผู้ใดสามารถมองเห็นความจริงนั้นได้ ผู้นั้นย่อมได้ประโยชน์เกื้อกูลอย่างที่สุด ถึงแม้ผู้ใดได้ประพฤติตามหลักสัจธรรมแล้วก็ตามหรือแม้แต่พระสงฆ์ที่ได้นำ หลักสัจธรรมมาชี้แจงแสดง แม้จะถึงแก่สูญชีพดับขันธ์แล้วก็ตาม หลักสัจธรรมอันดีนั้นก็ยังมีอยู่ในโลก โดยไม่มีการเสื่อมสลายซึ่งถ้าผู้ใดได้ปฏิบัติโดยยึดหลักสัจธรรมอันดีนั้นก็ สามารถเป็นทายาทสืบต่อกันมาได้ ซึ่งมีอันชื่อได้ว่าเป็นผู้นับถือพุทธศาสนาโดยแท้จริง พระทิมท่านได้สอนโดยยึดหลักศาสนาพุทธ โดยสอนให้รู้จักทุกข์และทางดับทุกข์ สอนให้รู้จักตัวตนที่มันหลงตัวเห็นแก่ตัวและการละตัวตนให้มันปราศจากความ เห็นแก่ตัว ประพฤติโดยยึดพุทธศาสนาเป็นหลักก็จะย่อมพบแต่ความสุขสงบร่มเย็น ซึ่งจะเห็นว่าพระทิมท่านได้ยึดตามหลักสัจธรรมโดยแท้จริง และจากการที่ได้สอนให้ทุกคนได้ยึดหลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เพราะถือว่าเป็นแก่นแท้ที่อยู่ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า และเป็นแก่นแท้ของวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะจิตของมนุษย์นั้นซึ่งถ้าเทียบกับตามหลักของพระพุทธศาสนาจิตของ มนุษย์ทุกวันนี้ตามธรรมชาติย่อมไม่บริสุทธิ์ ซึ่งเลอะมากไปด้วยกิเลสคือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองซึ่งจะมีอยู่สามประการ คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือการทำความชั่ว นานาทุกประการนั่นเอง พระทิมท่านได้พร่ำสอนให้ทุกคนทำความดี ละเว้นความชั่ว เพราะมนุษย์ทุกคนนั้นยังมีจิตที่ไม่บริสุทธิ์ยังมีกิเลสอยู่ในดวงจิต เมื่อเจอสิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งที่ทำให้เกิดการกระทำความ ชั่วขึ้นมานั้นก็คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ดังนั้นกิเลสความชั่วจึงยังคงมีอยู่ในโลก จนตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านได้ยึดตามหลักคำสั่งสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า คือการให้มนุษย์ละจากการทำความชั่วหรือการละจากกิเลสทั้งปวง พระทิมท่านสอนให้ทุกคนชำระจิตของตัวเองเพื่อปราศจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง เมื่อสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์แล้วก็จะสามารถละเว้นจากการทำความชั่ว จะทำแต่ความดี เพราะมูลเหตุที่ทำความชั่วคือกิเลสได้หมดไปแล้ว ดังนั้นจิตเป็นสมบัติอันล้ำค่าของมนุษย์นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  12. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]พระทิมท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ท่านก็ได้ทำนุบำรุงและพัฒนาวัดของท่าน ให้เรียบร้อย เสมอแม้ถึงเวลาออกพรรษาพระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ก็สึกออกไปกันหมด พระทิมท่านก็ปฏิบัติกิจของท่านสม่ำเสมอเช่นนี้เรื่อยมาโดยไม่ขาดตกบกพร่อง พอเวลาหลังจากทำวัตรเช้าเสร็จพระทิมท่านจะหยิบตำหรับตำราของท่านเมื่อครั้ง ที่ได้เรียนได้ศึกษาวิชาอาคมมาจากที่ต่างๆมาทบทวนอ่านอยู่เสมอมิได้ขาด ท่านถือคติที่ว่าการที่ได้ร่ำเรียนและการศึกษามาจากครูบาอาจารย์นั้นการที่ จะประสบผลสำเร็จหรือการได้นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้นั้น ก็ต้องมีการฝึกฝนและทบทวนอยู่เสมอถึงแม้จะเรียนมากี่อาจารย์แล้วก็ตามพระทิม ท่านเคยกล่าวกับลูกศิษย์ที่เรียนวิชากับท่านว่าวิชาอาคมต่างๆที่ได้เรียน นั้นต้องจำให้จนขึ้นใจให้ได้หรือเก็บไว้ให้อยู่ในพุงเสมอ ถึงแม้คาถาบทนั้นจะยาวมากเพียงใดก็แล้วแต่ก็ต้องจำให้ได้ถ้ายังท่องบทคาถา นี้ไม่ได้อาจารย์จะยังไม่ให้คาถาบทต่อไปซึ่งจะต้องมีความเพียรพยายามและความ ขยัญมานะอดทนให้ได้ถึงจะร่ำเรียนคาถาอาคมสำเร็จได้ ซึ่งพระทิมท่านได้กล่าวอยู่สม่ำเสมอว่าการที่จะใช้วิชาอาคมต่างๆให้ประสบผล สำเร็จได้นั้นจะต้องสำเร็จในจิตของตนเองให้ได้ซึ่งตัวจิตนี้มีส่วนสำคัญ มากอย่างยิ่งในการเรียนวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งการฝึกสมาธิจิตนี้ผมจะแนะแนวทางตามที่ลูกศิษย์หลวงปู่ทิมเคยแนะมาว่าการ ที่จะให้จิตเป็นสมาธินั้นอยู่ที่การพึงทำความดีเป็นอันดับแรกก่อนเพื่อเป็น หนทางให้จิตนั้นเป็นสมาธิ ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงการปฏิบัติสมาธินั้นก็เป็นหลักการสำคัญทำให้จิตมั่นคง คือมีความมั่นคงในบุญกุศลของเราที่ได้ปฏิบัติมา เมื่อจิตนั้นมีสมาธิแล้วปัญญาก็ย่อมเกิดขึ้นเอง[/FONT]
    [FONT=&quot]และ[/FONT][FONT=&quot]ในการทำจิตให้ตั้งเป็นสมาธินั้นต้องอาศัยสติ[/FONT][FONT=&quot]สำหรับระลึกกำหนดอยู่ในที่ตั้งข้อใดข้อหนึ่งตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอานาปานสติคือความระลึกกำหนดข้อหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]อานาปานสติเป็นสติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก[/FONT][FONT=&quot]นั่นก็คือ[/FONT][FONT=&quot]ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นที่ตั้งของสติ[/FONT][FONT=&quot]เป็นที่ระลึกกำหนด[/FONT][FONT=&quot]เมื่อจิตตั้งกำหนดอยู่ได้[/FONT][FONT=&quot]ความที่กำหนดนั้นก็เป็นตัวสติ[/FONT][FONT=&quot]ความที่ตั้งอยู่ได้นั้นก็เป็นตัวสมาธิ[/FONT][FONT=&quot]ดังนี้ ที่เรียกว่าจิตตั้ง[/FONT][FONT=&quot]ดังนั้นจิตจะตั้งเป็นสมาธิได้จึงต้องมีทั้งสมาธิมีทั้งสติประกอบกันอยู่[/FONT][FONT=&quot]สติเป็นตัวกำหนด[/FONT][FONT=&quot]สมาธิเป็นตัวตั้ง[/FONT][FONT=&quot]จะตั้งได้ก็ต้องกำหนดในที่ตั้ง[/FONT][FONT=&quot]และจะกำหนดในที่ตั้งได้ก็ต้องมีความตั้งจิต[/FONT][FONT=&quot]สติและสมาธินี้จึงต้องอาศัยกัน[/FONT][FONT=&quot]ในการปฏิบัติให้มีสติมีสมาธิต้องมีความเพียรพยายาม[/FONT][FONT=&quot]ต้องไม่ละความเพียรพยายามและต้องมีความรู้คุมตัวเองอยู่เสมอ[/FONT][FONT=&quot]อันความรู้ที่คุมตัวเองนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งหมายถึงความรู้ในอิริยาบถความเคลื่อนไหวทั้งกาย[/FONT][FONT=&quot]และทั้งใจ[/FONT][FONT=&quot]การ เรียนศึกษาวิชาอาคมต่างๆในสมัยก่อนนั้นจะเน้นมากในเรื่องของการฝึกปฏิบัติ และการท่องจำมากกว่าการจดบันทึก ซึ่งสมัยก่อนนั้นพระทิมท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่ายุคสมัยที่ท่านได้ไปร่ำ เรียนวิชาอาคมต่างๆ อาจารย์จะท่องตัวบทคาถาให้จำเท่านั้น ลูกศิษย์จะต้องเรียนรู้และจำให้ได้จนขึ้นใจ และการฝึกการปฏิบัติก็ต้องอยู่กับอาจารย์และต้องเรียนรู้กันไปจนกว่าจะเรียน จบซึ่งการที่จะเรียนวิชาอาคมกันจะเรียนจบหรือไม่จบนั้นจะขึ้นอยู่กับอาจารย์ ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จหรือจนกว่าอาจารย์จะพอใจ การเรียนอาคมในสมัยก่อนการบันทึกตัวคาถาหรือตัวยันต์ต่างๆหรืออาจจะเป็นตัว ยาสมุนไพรต่างๆในการบันทึกรักษาโรคต่างๆจะบันทึกกันในสมุดข่อยแต่ถ้าเป็นยุค ก่อนนั้นตั้งแต่โบราณกาลมาจะบันทึกในสมุดใบลานซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มแรกที่ ได้มีการเขียนบันทึกกันมาเพื่อการศึกษาและเรียนรู้สืบต่อกันมาในยุคต่อไป
    [/FONT]

    [FONT=&quot][FONT=&quot]การเรียนรู้การ ศึกษาจากตำราใบลานและตำราสมุดข่อยนั้นพระทิมท่านเคยเล่าว่าท่านได้ศึกษาจาก ตำราใบลานเก่าแก่ของวัดละหารไร่ที่ตกทอดมาครั้งตั้งแต่หลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็น เจ้าอาวาสรูปแรกของวัด พระทิมท่านได้ศึกษาและเรียนรู้จากตำราของหลวงพ่อสังข์เฒ่าอยู่เสมอ ถึงแม้ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ก็ตามทีท่านก็ยังได้ศึกษาจากตำราใบ ลานอยู่สม่ำเสมอมิได้ขาดและท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมอยู่เสมอ และมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้ศึกษาวิชาการเสกปลัดขิก ซึ่งเป็นเรื่องของวิชาไสยศาสตร์และวิชาการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ[/FONT][FONT=&quot]นั้น มีด้วยกันหลายแขนง วิชาปลัดขิก ก็เป็นวัตถุมงคลอีกประเภทหนึ่ง[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งอยู่ในแขนงวิชาไสยเวทเช่นกัน เน้นพุทธคุณไปทาง[/FONT][FONT=&quot]ด้านเมตตามหานิยม[/FONT] [FONT=&quot]โชคลาภ โภคทรัพย์ เป็นหลัก สำหรับปลัดขิกนั้น เป็น[/FONT][FONT=&quot]เครื่องรางของขลัง[/FONT] [FONT=&quot]ที่นับถือกันมาช้านาน[/FONT][FONT=&quot]ตั้งแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีเกจิคณาจารย์ทั้งเก่าใหม่[/FONT][FONT=&quot]ไม่ว่าพระสงฆ์หรือฆราวาส ได้สร้าง ปลัดขิก เอาไว้จำนวนมากมาย[/FONT][FONT=&quot]ความ นิยมมากน้อยต่างกันไป พระทิมท่านสนใจและได้เรียนรู้ถึงวิชาการเสกปลัดขิก แต่ท่านได้ศึกษาจากตำราที่ใดนั้นไม่ได้กล่าวถึงแต่อาจจะประมาณได้ว่าท่านคง ได้ศึกษาจากตำราใบลานของหลวงพ่อสังข์เฒ่าก็เป็นได้ หลังจากที่พระทิมท่านได้ศึกษาและเรียนรู้ถึงวิชาการเสกปลัดขิกซึ่งตามตำรา โบราณได้กล่าวไว้ว่า การที่ทำให้ปลัดขิกนั้นมีอานุภาพมากหลายหรือมีสรรพคุณต่างๆนาๆได้และการที่ จะทำให้ปลัดขิกสัมฤทธิ์ผลสำเร็จได้นั้น วัตถุมงคลนั้นจะต้องมีการเคลื่อนไหวไปมาได้ ถือว่าประสบผลสำเร็จ ซึ่งพระทิมได้ศึกษาและเรียนรู้วิชาปลัดขิกอย่างตั้งใจ ครั้งแรกท่านได้ทดลองเสกปลัดขิกโดยที่ท่านได้เหลาปลัดขิกจากไม้คูณที่หาได้ มาตัวหนึ่งหลังจากนั้นท่านก็เอาปลัดขิกใส่ไว้ในบาตรของท่านแล้วได้ทดลอง เสกอยู่พักหนึ่งผลปรากฏว่าปลัดขิกก็นิ่งอยู่เฉย จากนั้นท่านก็ไม่ละความพยายามท่านก็ได้เสกอยู่อีกหลายครั้งผลปรากฏว่า ปลัดขิกก็ยังนิ่งอยู่เฉยไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดถึงแม้จะเสกอยู่นาน เพียงใดก็ตามที หลังจากนั้นพระทิมท่านก็ไม่ละความพยายามเพราะท่านถือคติที่ว่าเมื่อได้เรียน รู้สิ่งใดแล้วก็ต้องเรียนรู้ให้สำเร็จจงได้ถึงแม้จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม หลังจากนั้นหลวงพ่ออี๋แห่งวัดสัตหีบซึ่งเป็นเกจิที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก โดยเฉพาะปลัดขิกของท่าน[/FONT][FONT=&quot]ปลัดขิก[/FONT][FONT=&quot]ของหลวงพ่ออี๋นั้นมีทหารเรือหลายคนได้ประสบอภินิหารมาแล้ว[/FONT][FONT=&quot]คือสามารถป้องกันภัย[/FONT][FONT=&quot]ได้ ต่างๆนาๆ และพระทิมท่านก็เคยได้เป็นพลลูกหมู่ทหารเรือมาก่อนและได้ยินกิตติศัพท์อัน เลื่องลือของหลวงพ่ออี๋แห่งวัดสัตหีบนี้ หลังจากที่พระทิมท่านไม่ประสบผลสำเร็จในการเสกปลัดขิก ท่านก็ไม่ละความพยายาม และคิดได้ดังนั้นท่านจึงได้ออกเดินทางจากวัดละหารไร่มุ่งสู่วัดสัตหีบเพื่อ ที่จะขอเรียนวิชาการทำปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋ทันทีโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคแต่ อย่างใด

    [/FONT][/FONT]

    [FONT=&quot]หลังจากที่พระ ทิมท่านไม่ประสบผลสำเร็จในการเสกปลัดขิกแต่ท่านก็ไม่ละความพยายาม ดังนั้นท่านก็ได้ออกจากวัดละหารไร่ได้เดินทางรอนแรมไปเรื่อยๆตามหนทางป่าเขา ลำเนาไพรเพราะยุคสมัยนั้นถนนหนทางยังเป็นเพียงแค่ทางเดินยังไม่สะดวกสบาย เหมือนสมัยนี้ จากนั้นพระทิมท่านก็ได้เดินทางลัดเลาะไปถึงที่ยังจุดมุ่งหมายสำคัญคือที่วัด สัตหีบซึ่งสมัยนั้นการเดินทางต้องใช้เวลาเป็นวันๆถึงจะเดินทางถึง โดยที่พระทิมท่านออกเดินทางแต่เช้ากว่าจะเดินทางถึงวัดสัตหีบก็เป็นเวลาที่ หลวงพ่ออี๋ซึ่งขณะนั้นท่านทำวัตรเย็นเสร็จพอดีและพระทิมท่านก็ได้พบหลวงพ่อ อี๋หลังจากที่ทำวัตรเย็นเสร็จและพระทิมท่านก็ได้กราบมนัสการหลวงพ่ออี๋เพื่อ ที่จะขอร่ำเรียนวิชาการทำปลัดขิก ซึ่งหลวงพ่ออี๋พอท่านได้เห็นพระทิมท่านก็มีจิตรู้ได้ทันทีเลยว่าพระทิมท่าน มีจิตสมาธิที่สูงและกล้าแกร่ง หลังจากนั้นหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้นิมนต์พระทิมพักที่ศาลาวัดและคืนนั้นพระทิม ท่านก็ได้เรียนวิชากับหลวงพ่ออี๋ซึ่งหลวงพ่ออี๋นี้ท่านจะมีความชำนาญในด้าน สมถะวิปัสสนาธุระมากคือ คล่องแคล่วในการเข้าใน ออกนอก และในการพักจิตอยู่เป็นกสิณ และในธรรมารมณ์ตามปรารถนา จะเรียกว่า มีวสีภาพก็ควร เพราะเมื่อท่านปรารถนาจะสำรวมจิตแล้ว ไม่มีอะไรมาขัดขวางทางเดินภายในของท่านได้ เป็นการเข้าออกได้เรียบร้อยตามประสงค์ และพระทิมท่านก็ได้เรียนรู้เรื่องจิตในการเสกวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของ ขลังต่างๆให้มีอานุภาพหรือมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้ โดยที่หลวงพ่ออี๋ท่านได้เน้นกล่าวถึงเรื่องของจิตขึ้นมาซึ่งพระทิมท่านก็ได้ เรียนรู้และรับทราบ โดยเฉพาะการเสกปลัดขิกนั้นซึ่งเป็นจุดประสงค์สำคัญหลักในการเรียนรู้เรื่อง นี้ ซึ่งหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้กล่าวให้พระทิมยึดมั่นเสมอในการเสกปลัดขิกให้มี อานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์หรือสำเร็จได้นั้นมันจะอยู่ที่จิตและอยู่ที่ใจของผู้ ปลุกเสกเอง ซึ่งถ้าผู้ปลุกเสกเองทำจิตยังไม่ถึงขั้นวัตถุมงคลที่ได้ปลุกเสกนั้นก็จะยัง ไม่คงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ได้ ซึ่งตามตำราโบราณในการทำปลัดขิกนั้นตามตำราได้กล่าวไว้ว่าการที่จะทำให้ ปลัดขิกมีอานุภาพที่ศักดิ์สิทธิ์ได้จะต้องเสกให้ปลัดขิกนั้นมีการเคลื่อนไหว ให้มีชีวิตชีวาได้ถือว่าประสบผลสำเร็จ ถึงจะนำไปใช้ได้ ซึ่งพระทิมท่านก็มีความยึดมั่นเด็ดเดี่ยวเสมอและมีความไม่ละความพยายามในการ เสกปลัดขิกให้สัมฤทธิ์ผลได้ หลังจากที่คืนนั้นท่านได้เรียนรู้เรื่องปลัดขิกและอาจจะมีวิชาบางประการบ้าง ที่ได้เรียนรู้จากหลวงพ่ออี๋ และพระทิมท่านก็ได้จำวัดที่วัดสัตหีบในเวลาค่ำคืนนั้นเอง พอถึงเวลารุ่งขึ้นเช้าของวันใหม่พระทิมท่านก็ได้กราบลาหลวงพ่ออี๋เพื่อกลับ มายังวัดละหารไร่ หลังจากได้ฉันเช้าเสร็จพระทิมท่านก็ได้เดินทางกลับวัดละหารไร่ทันที

    [/FONT][FONT=&quot]ภายหลังจากที่ พระทิมท่านได้เดินทางไปหาหลวงพ่ออี๋ที่วัดสัตหีบเพื่อที่จะขอเรียนวิชาการ เสกปลัดขิกซึ่งหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้แนะเคล็ดวิชาการเสกปลัดขิกให้พระทิมซึ่ง คาถาการเสกนั้นไม่ยากเพียงแค่การใช้จิตหรืออยู่ที่จิตของผู้เสกเท่านั้น ซึ่งจิตของผู้เสกนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเสกปลัดขิก หลังจากที่พระทิมท่านได้เดินทางจากวัดสัตหีบกลับมายังวัดละหารไร่ ซึ่งพระทิมท่านก็ได้คำแนะนำเรียนรู้การเสกปลัดขิกจากหลวงพ่ออี๋มา จากนั้นพระทิมท่านก็ได้ทำการทดลองวิชาการเสก ซึ่งหลังจากพระทิมท่านทำวัตรเย็นเสร็จ จากนั้นท่านก็ได้นำปลัดขิกตัวเดิมที่ท่านเคยเหลาเองมาเสกตั้งแต่เมื่อครั้ง ก่อน โดยที่ท่านได้นำปลัดขิกนั้นใส่ในบาตรเหมือนเดิม จากนั้นท่านก็ได้ทำการเสกตามคำแนะนำของหลวงพ่ออี๋โดยในครั้งนี้พระทิมท่าน ได้สำรวมจิตของท่านโดยมุ่งที่จะใช้พลังจากสมาธิจิตเป็นส่วนสำคัญในการเสก ปลัดขิก ซึ่งพระทิมท่านได้ใช้จิตในการเสกอยู่พักใหญ่ซึ่งผลปรากฏว่าปลัดขิกก็ยัง วางอยู่ในบาตรดังเดิมไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆทั้งสิ้น ซึ่งพระทิมท่านอาจจะคิดได้ว่าจิตของท่านยังไม่สามารถทำให้ถึงขั้นที่ว่าจะทำ ให้ปลัดขิกนั้นมีจิตวิญาณของมันขึ้นมาได้ จากนั้นพระทิมท่านก็ได้ลองเสกอีกอยู่พักใหญ่ก็ไม่สามารถทำให้ปลัดขิกนั้นมี การเคลื่อนไหวไม่ และพระทิมท่านก็ได้ทำการทดลองเสกอยู่สามถึงสี่วันโดยที่ท่านพยายามเสก ปลัดขิกตามที่ท่านใช้จิตของท่านตามจุดประสงค์หลักของท่านที่ได้ใช้ในการปลุก เสกปลัดขิกขึ้นมา ซึ่งท่านก็พยายามทดลองอยู่หลายครั้งซึ่งผลก็เป็นดังเดิมคือปลัดขิกก็ยังนิ่ง อยู่ในบาตรเหมือนเดิม ซึ่งบางครั้งถ้าเป็นคนอื่นๆก็ย่อมต้องย่อท้อเหมือนกันเมื่อทดลองหลายครั้ง แล้วไม่ประสบผลสำเร็จได้อย่างที่ตั้งใจไว้ พระทิมท่านไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น ท่านยึดมั่นเสมอเมื่อการที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดแล้วก็ต้องเรียนให้สำเร็จให้ ได้ ซึ่งก็เปรียบเหมือนปณิธานที่พระทิมท่านได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่เมื่อแรกที่ท่าน ได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งการปลุกเสกปลัดขิกของพระทิมในครั้งนี้ท่านก็ยังไม่สามารถทำให้ปลัดขิก นั้นประสบผลสำเร็จได้อย่างที่ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งขณะนั้นเองหลวงพ่อเหลือแห่งวัดสาวชะโงกซึ่งเป็นเกจิชื่อดังที่ปลัดขิก ของท่านเลื่องลือและชื่อเสียงขจรไกลมากในยุคสมัยนั้นและมีลูกศิษย์ลูกหามาก มายและปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือท่านก็มีประสบการณ์ต่างๆมากมาย อีกทั้งวัดสาวชะโงกเองก็เป็นแหล่งต้นกำเนิดของปลัดขิกขึ้นมา ซึ่งโดยตามประวัติเก่าดั้งเดิมนั้นมีหลวงพ่อขริกอดีตเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก ซึ่งเป็นต้นกำเหนิดในการสร้างและปลุกเสกปลัดขิกขึ้นมา พระทิมท่านก็ครุ่นคิดได้ดังนั้นพอวันรุ่งขึ้นท่านก็ได้เดินทางออกจากวัดละ หารไร่ทันทีเพื่อมุ่งสู่วัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราจุดประสงค์เพื่อที่จะขอเรียนวิชาการเสกปลัดขิกกับหลวงพ่อ เหลือ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งสมัยก่อนนั้นฉะเชิงเทราจะเรียกกันว่าแปดริ้ว ซึ่งการเดินทางไปณ.ที่นั้นต้องใช้เวลา[/FONT] 2-3 [FONT=&quot]วันกว่าจะเดินทางถึงวัดสาวชะโงก

    [/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]หลังจากที่พระ ทิมท่านได้เดินทางไปขอเรียนวิชาการทำปลัดขิกจากหลวงพ่อเหลือแห่งวัดสาวชะโงก เพื่อต้องการที่จะมุ่งมั่นให้ประสบความสำเร็จในการเสกปลัดขิกให้มีอานุภาพ หรือประสบผลสำเร็จตามความมุ่งมั่นของพระทิมที่ท่านต้องการศึกษาวิชาอาคม ต่างๆนั้นเพื่อที่จะเรียนรู้สืบทอดวิทยาคมต่างๆตามตำราโบราณที่ได้บันทึกสืบ ต่อกันมา ซึ่งผู้ที่ต้องการปรารถนาที่จะได้เรียนรู้วิทยาคมและไสยศาสตร์ต่อจากตำรา โบราณนั้นต้องมีจิตมุ่งมั่นและความเพียรพยายามสูงและจะต้องยึดมั่นในศีลใน ธรรมเพราะจะต้องผ่านอุปสรรคต่างๆนาๆที่จะต้องพบเจอถึงจะสามารถประสบผลสำเร็จ กับวิชาต่างๆที่เรียนได้ ซึ่งวิชาการทำปลัดขิกนี้ตามตำราโบราณไสยศาสตร์ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ ว่าด้วยเรื่องการทำปลัดขิกซึ่งเป็นวิชาการสร้างเครื่องรางอย่างหนึ่งที่จุด ประสงค์ต้องการสร้างเอาไว้เพื่อป้องกันอันตรายและแคล้วคลาดจากเขี้ยวงาจาก สัตว์ร้ายนานาชนิดหรือมีอานุภาพทางด้านคงกะพันและป้องกันอันตรายจากภูติผี ปีศาจต่างๆรวมทั้งสามารถป้องกันเสนียดจัญไรต่างๆได้ ซึ่งถ้าเป็นทางภาคอีสานเขาจะทำปลัดขิกเพื่อป้องกันอันตรายจากผีแม่ม่ายที่จะ มาคร่าเอาชีวิตได้ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบร่ำโบราณนานมาของคนสมัยก่อนนั้น และเป็นประเพณีที่ยังเชื่อถือและนำมาใช้กันสืบทอดกันมาเท่าทุกวันนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปลัดขิกนั้นมีอานุภาพนานาทุกประการ และมีอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนใหญ่ที่ผู้คนจะประสบกันมากหลายคือปลัดขิกนั้นจะ ประสบผลอย่างยิ่งมีอานุภาพทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยมและมีพุทธคุณอย่าง ยิ่งยวดโดยเฉพาะการทำมาค้าขายโดยเฉพาะแม่ค้าต่างๆนั้นจะนำปลัดขิกไปจิ้มของ ที่ตัวเองขายซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายดีและขายคล่องซึ่งก็มีผลประจักษ์ตา กันมามากหลายแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าปลัดขิกนั้นมีประสบการณ์และอภินิหารต่างๆมากมายที่ต่างก็ ล้วนได้ประสบพบเจอกันมา ซึ่งตามตำราโบราณไสยศาตร์ที่ได้บันทึกไว้และเป็นวิทยาคมที่สืบต่อกันมานี้ ซึ่งก็เป็นจุดกำเนิดที่พระทิมท่านสนใจมากที่ต้องการเรียนรู้เรื่องการทำ ปลัดขิก ซึ่งการที่จะทำให้ปลัดขิกนั้นประสบผลสำเร็จให้ได้นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำกันได้เลยถ้าพลังจิตของตัวเองไม่มีพลังอำนาจจิตเพียงพอที่จะทำให้ ปลัดขิกนั้นมีจิตวิญญาณเพื่อให้ปลัดขิกนั้นมีอานุภาพขึ้นมาได้ถ้าไม่มีการ ฝึกฝนหรือความตั้งใจเพียรพยายามที่จะก่อให้เกิดพลังอำนาจจิตของตนเองขึ้นมา ได้ ซึ่งพระทิมท่านก็ได้เรียนรู้ถึงวิชาการทำปลัดขิกจากตำราไสยศาตร์โบราณซึ่ง ท่านก็สนใจมากที่จะต้องการเรียนรู้ในการทำปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จให้ได้ หลังจากที่พระทิมท่านได้เดินทางจากวัดสาวชะโงกกลับมาถึงยังวัดละหารไร่ ซึ่งพระทิมเองสมัยนั้นยังถือว่าท่านยังเป็นพระหนุ่มอยู่ที่กำลังศึกษาเรียน รู้วิชาอาคมต่างๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จให้ได้แม้หนทางและระยะเวลาจะอีกยาว ไกลก็ตามทีจะต้องผ่านอุปสรรคที่ตนเองจะต้องประสบให้ได้ หลังจากนั้นพระทิมท่านก็ปฏิบัติกิจของสงฆ์สวดมนต์ทำวัตรเย็นซึ่งเป็นกิจวัตร ของสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติตามปกติ พอหลังจากที่ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จ จากนั้นท่านก็ได้นำปลัดขิกมาเริ่มเสกโดยที่ท่านก็ได้นำปลัดขิกนั้นใส่ในบาตร ของท่านเหมือนเดิมและได้ทำการเริ่มเสกโดยในครั้งนี้พระทิมได้ยึดตามแนวจิต ของท่านที่ได้รับคำแนะนำมาจากหลวงพ่อเหลือและนำมาปฎิบัติตามคำแนะนำนั้นพระ ทิมได้ทดลองเสกอยู่พักหนึ่งปลัดขิกก็ไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดยังนิ่ง เหมือนเดิมอยู่ในบาตรนั้นและพระทิมท่านก็ได้พยายามทดลองเสกอยู่ตั้งหลาย ครั้งปลัดขิกก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดเลยก็ยังนิ่งเหมือนเดิม ซึ่งก็ยังถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จในการเสกปลัดขิกเพราะปลัดขิกนั้นยังไม่มี การเคลื่อนไหวแต่อย่างใด ซึ่งพระทิมท่านก็ยังไม่สามารถเสกให้ปลัดขิกนั้นมีจิตวิญญาณอานุภาพของตัวมัน เองได้ อาจจะเป็นเพราะสิ่งใดก็แล้วแต่ปลัดขิกซึ่งถือว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง ที่ทรงอานุภาพมากซึ่งถ้าสามารถเสกให้ประสบเป็นผลสำเร็จได้ แต่ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จก็ต้องย่อมอยู่ที่นั่น

    [/FONT][FONT=&quot]พระทิมท่านได้พยายามทดลองอฐิษฐานจิตอยู่หลายครั้งในการเสกปลัดขิก เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำปลัดขิกซึ่งเป็นศาสตร์วิชาหนึ่งในการทำเครื่อง รางแต่พระทิมท่านก็ยังทำไม่ประสบผลสำเร็จตามคำแนะนำของหลวงพ่อเหลือ ซึ่งท่านก็ได้พยายามทดลองเสกปลัดขิกแต่ปลัดขิกก็ยังอยู่นิ่งเหมือนเดิม ถึงแม้พระทิมท่านจะยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำปลัดขิกก็แล้วแต่ แต่ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น พระทิมท่านไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้น ท่านได้ครุ่นคิดอยู่พักหนึ่งจากปริศนาคำแนะนำของหลวงพ่อเหลือและของหลวงพ่อ อี๋จากนั้นท่านก็คิดได้ ดังนั้นพระทิมท่านก็ตัดสินใจเดินทางไปหาหลวงพ่อเหลือที่วัดสาวชะโงกอีกครั้ง หนึ่งซึ่งในใจพระทิมท่านคงคิดว่า [/FONT]“[FONT=&quot]เป็นงัยเป็นกันจะต้องทำให้สำเร็จจงได้[/FONT]”[FONT=&quot]ซึ่ง เราจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านมีความมุ่งมั่นและจริงจังมากในการเรียนวิชาอาคม ต่างๆเพื่อสืบทอดวิทยาคมต่างๆให้ดำรงอยู่สืบทอดไว้ต่อไป หลังจากนั้นพระทิมท่านก็ได้เดินทางไปยังวัดสาวชะโงกอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะ ต้องการเรียนวิชาการทำปลัดขิกจากหลวงพ่อเหลือให้ได้ จากนั้นพระทิมท่านได้เดินทางไปถึงยังวัดสาวชะโงกท่านก็ได้พบหลวงพ่อเหลือ ซึ่งท่านกำลังอาบน้ำมนต์รักษาคนไข้ให้ชาวบ้านที่เจ็บป่วยมาให้ ท่านอนุเคราะห์ให้ หลังจากนั้นพอหลวงพ่อเหลือท่านทำภารกิจของท่านเสร็จจากนั้นพระทิมท่านก็ได้ เข้าหาหลวงพ่อเหลือเพื่อที่จะต้องการเรียนการทำปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งหลวงพ่อเหลือท่านก็ไม่ได้พูดอะไรมากท่านก็ยังพูดอยู่เหมือนเช่นเดิมว่า การทำปลัดขิกให้สำเร็จนั้นมันอยู่ที่จิตที่ใจเท่านั้นซึ่งหลวงพ่อเหลือท่าน ก็กล่าวย้ำอยู่เช่นเดิม เหมือนที่พระทิมท่านมาในครั้งแรก หลังจากที่พระทิมท่านได้ฟังคำแนะนำจากหลวงพ่อเหลือดังนั้นท่านก็ได้คิดอยู่ ว่าการที่ทำปลัดขิกให้สำเร็จนั้นถ้าจิตเข้าไม่ถึงมัน มันก็คงจะไม่สำเร็จได้ ซึ่งพระทิมท่านก็ได้พยายามทดลองเสกปลัดขิกอยู่ตั้งหลายครั้งก็ยังไม่ประสบ ความสำเร็จสักทีหลังจากที่ท่านได้รับคำแนะนำการทำปลัดขิกมาเมื่อครั้น ตั้งแต่ที่พระทิมท่านได้เคยเดินทางไปหาหลวงพ่ออี๋ที่วัดสัตหีบ ซึ่งหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้แนะนำว่าการทำปลัดขิกให้สำเร็จนั้นมันอยู่ที่จิตและ ใจเท่านั้น ซึ่งเป็นคำกล่าวที่หลวงพ่ออี๋ท่านได้แนะนำตรงกับหลวงพ่อเหลือที่ท่านได้แนะ นำมาเหมือนกัน ซึ่งพอพระทิมท่านได้ฟังคำกล่าวจากหลวงพ่อเหลือซึ่งท่านได้แนะตรงกับที่ท่าน มาในครั้งแรกดังนั้นพระทิมท่านก็ได้ลาหลวงพ่อเหลือเพื่อเดินทางกลับวัดละหาร ไร่ แต่พอหลังจากที่พระทิมท่านกำลังจะลาหลวงพ่อเหลือนั้น หลวงพ่อเหลือท่านก็ได้เดินเข้าไปในห้องของท่านและได้หยิบปลัดขิกของท่านมา ตัวหนึ่งแล้วมอบให้พระทิมไว้ ซึ่งพระทิมท่านก็ได้รับไว้และหลังจากนั้นพระทิมท่านก็ได้เดินทางกลับสู่วัด ละหารไร่ทันที

    [/FONT][FONT=&quot]ภายหลังจากที่ พระทิมท่านตัดสินใจเดินทางไปที่วัดสาวชะโงกอีกครั้งหนึ่ง[FONT=&quot]นั้น[/FONT]เพื่อต้องการที่จะ เรียนรู้เรื่องการทำปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จให้จงได้และได้เข้าหาหลวงพ่อ เหลืออีกครั้งเพื่อที่จะต้องการเรียนรู้เรื่องการทำปลัดขิกให้ได้ ซึ่งหลวงพ่อเหลือท่านก็ได้กล่าวย้ำอยู่เช่นเดิมว่าการเสกปลัดขิกให้สำเร็จ นั้นมันอยู่ที่จิตและที่ใจเท่านั้น และพอเวลาก่อนจะกลับรหลวงพ่อเหลือท่านก็ได้หยิบปลัดขิกของท่านมาให้พระทิม ไว้ตัวหนึ่ง จากนั้นพระทิมท่านก็ได้เดินทางกลับสู่วัดละหารไร่ทันที หลังจากนั้นพระทิมท่านก็ได้ทำการลองเสกปลัดขิกอีกคราวนี้พระทิมท่านได้ เหลาปลัดขิกไว้ประมาณ[/FONT]5-6[FONT=&quot]ตัว ทีนี้พระทิมท่านก็ได้เริ่มทำการเสกปลัดขิกตามที่ได้รับคำแนะนำมาจากหลวงพ่อ เหลือเหมือนเช่นเดิมพระทิมท่านก็ได้พยายามใช้จิตของท่านให้สื่อเข้าถึงจิต วิญญาณของปลัดขิกให้สำเร็จจงได้ ซึ่งการใช้จิตในการเสกปลัดขิกนี้จะต้องเข้าให้จิตนั้นเข้าถึงอำนาจของฌาณ สมาบัติได้ถึงจะสามารถใช้อำนาจจิตนี้มีพลังอำนาจในการทำให้สิ่งของหรือวัตถุ ที่ต้องการเสกนั้นสามารถทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ขึ้นมาได้ ซึ่งอำนาจของพลังจิตที่จะสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ขึ้นมาได้นี้จะต้องฝึกบำเพ็ญ จิตของตนเองให้เข้าถึงระดับของฌานสมาบัติได้ ซึ่งการที่จะฝึกจิตให้เข้าถึงระดับฌานได้นั้นจะต้องมีจิตมุ่งมั่นปรารถนาและ จิตจะต้องหมดแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งกว่าที่พระทิมท่านจะฝึกจิตหรือบำเพ็ญจิตตนเองให้ถึงในระดับหนึ่งซึ่งที่ อาจจะเรียกว่าฌาณก็ว่าได้ก็ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่าตนเองได้ไปถึงระดับไหน แต่การที่จะอฐิษฐานจิตหรือการปลุกเสกวัตถุมงคลให้ประสบความสำเร็จซึ่งตาม ตำราโบราณไสยศาสตร์นั้นระบุไว้ว่า การที่จะเสกหรือทำให้วัตถุมงคลบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้ปลุกเสกนั้นระดับจิตและสมาธิจะต้องเข้าให้ถึงในระดับสมาธิชั้นสูงหรือถึง ระดับฌาณได้ถึงจะสามารถทำให้วัตถุมงคลสิ่งนั้นประสบผลสำเร็จได้ซึ่งก็จะยก ตัวอย่างเช่นปลัดขิกถือว่าเป็นการสร้างเครื่องรางชนิดหนึ่งตามตำราที่มีมา แต่โบราณ ซึ่งการที่จะทำให้ปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นจะต้องเสกให้ปลัดขิกนั้นมี ชีวิตชีวาขึ้นมาได้ซึ่งหมายความว่าปลัดขิกนั้นจะต้องมีการเคลื่อนไหวได้ ซึ่งผมจะยกตัวอย่างเช่นปลัดขิกหลวงพ่ออี๋แห่งวัดสัตหีบซึ่งตามตำนานเล่าว่า สมัยนั้นหลวงพ่ออี๋ท่านมีชื่อเสียงที่เลื่องลือมากในสมัยนั้นในยุคสงครามโลก ครั้งที่สองซึ่งหลวงพ่ออี๋ท่านก็เป็นหนึ่งในเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงองค์ หนึ่งที่ได้ถูกนิมนต์ในการร่วมปลุกเสกของวัตถุมงคลระดับประเทศในยุคสมัยนั้น ซึ่งเกจิอาจารย์ต่างๆที่ได้เข้าร่วมปลุกเสกนั้นถ้าไม่แน่จริงคงไม่ได้เข้า ร่วมปลุกเสกเป็นแน่ ซึ่งผมก็มีเรื่องเล่าตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาถึงอภินิหารปลัดขิกหลวงพ่อ อี๋ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งได้นั่งเรือมาจากชลบุรีเพื่อจะมาหาหลวงพ่ออี๋ เพื่อจะมาขอของดีจากหลวงพ่อเพราะตนเองนั้นมีอาชีพค้าขายต้องการขอของดีจาก หลวงพ่อเพื่อให้ของๆตนนั้นขายดี ซึ่งหลังจากที่ผู้หญิงคนนั้นได้พบหลวงพ่ออี๋และได้บอกความต้องการของตนเอง ให้หลวงพ่อฟังซึ่งหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้ฟังตามความต้องการของผู้หญิงคนนั้นจาก นั้นหลวงพ่ออี๋ท่านก็ได้มอบของดีของท่านให้ซึ่งได้ห่อผ้าไว้ให้แก่ผู้หญิงคน นั้น หลังจากที่ผู้หญิงคนนั้นได้รับของจากหลวงพ่ออี๋จากนั้นก็ได้นั่งเรือกลับ ชลบุรี ซึ่งระหว่างทางผู้หญิงคนนั้นก็อยากรู้ว่าสิ่งของที่หลวงพ่อได้มอบให้ไว้นั้น คืออะไรจากนั้นก็ได้แกะห่อผ้าดูผลปรากฏว่าเป็นปลัดขิกตัวขนาดเขื่องๆ ซึ่งผู้หญิงคนนั้นก็ไม่พอใจเป็นอย่างมากก็ได้ว่ากล่าวหลวงพ่อต่างๆนาๆที่นำ ของสัปดนมาให้ จากนั้นผู้หญิงคนนั้นก็ได้โยนปลัดขิกทิ้งลงไปในทะเลด้วยความโมโหและ หลังจากนั้นเขาก็ได้นั่งเรือไปตามปกติ พอดีคนขับเรือก็ได้สังเกตเห็นวัตถุสิ่งหนึ่งวิ่งตามเรือมา ซึ่งคนขับเรือเห็นว่าได้วิ่งตามเรือมาจึงได้ค่อยๆจอดเรือซึ่งผลปรากฏว่าเป็น ปลัดขิกที่ได้วิ่งตามเรือมาและเป็นตัวเดียวกันกับที่ผู้หญิงคนนั้นได้โยนลง ทิ้งไปในทะเลซึ่งทุกคนที่นั่งเรือมาด้วยกันและผู้หญิงคนนั้นเห็นแล้วถึงกับ ตะลึงอานุภาพของปลัดขิก ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์มากที่ร่ำลือกันมาจนถึงทุกวันนี้และแสดงให้เห็นถึง อภินิหารปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ที่เล่ากันมาช้านาน ซึ่งแสดงถึงว่าปลัดขิกนั้นมันสามารถมีจิตวิญญาณของตัวมันเองได้ ถ้าผู้ปลุกเสกสามารถเสกให้ประสบผลสำเร็จนั้นได้ ซึ่งเป็นตามตำราโบราณที่ได้บันทึกไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่จะเสกปลัดขิกให้เป็นผลสำเร็จได้นั้นต้องใช้จิตและ สมาธิชั้นสูงเลยทีเดียว ซึ่งพระทิมท่านได้ศึกษาและเรียนรู้การทำและการปลุกเสกจนแม่นยำแต่การปฏิบัติ นั้นพระทิมได้พยายามทดลองเสกอยู่ตั้งหลายครั้งก็ไม่ประสบผลสำเร็จสักที ถึงแม้กระทั่งไปขอเรียนจากหลวงพ่ออี๋และหลวงพ่อเหลือซึ่งเป็นเกจิชื่อดังใน การสร้างปลัดขิกท่านทั้งสองก็ได้แนะตรงกันว่าการทำปลัดขิกให้สำเร็จนั้นมัน อยู่ที่จิตและใจเท่านั้น ซึ่งครั้งสุดท้ายที่พระทิมตัดสินใจไปหาหลวงพ่อเหลืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ได้คำตอบเช่นเดิม จากนั้นพระทิมท่านก็ได้ทดลองเสกอีกซึ่งคราวนี้ท่านได้เสกปลัดขิกประมาณ [/FONT]4-5[FONT=&quot]ตัว ซึ่งผลปรากฎว่าปลัดขิกก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด ก็ยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ จากนั้นพระทิมท่านก็ได้ตัดสินใจทดลองเสกปลัดขิกอีกครั้งเพื่อให้รู้แล้วรู้ รอดโดยในครั้งนี้ท่านได้นำปลัดขิกทั้งหมดเอามาวางไว้ในถาดแล้วได้ทำการทดลอง เสกซึ่งท่านก็ได้เสกอยู่พักหนึ่งซึ่งผลปรากฏว่าปลัดขิกก็ยังไม่มีการเคลื่อน ไหวแต่อย่างใด ซึ่งการเสกอยู่ตั้งหลายครั้งหลายครานั้นแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จได้ อาจอยู่ที่อำนาจจิตที่ยังไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณและแก่นแท้ของปลัดขิกได้ ซึ่งบางครั้งเองการใช้อำนาจจิตอาจจะสื่อถึงได้ แต่อาจยังไม่สามารถเข้าไปให้ถึงแก่นแท้ของมันได้ถ้ายังไม่รู้ถึงหนทางในการ สื่อนำ ดังนั้นพระทิมท่านได้คิดอยู่ชั่วครู่ท่านก็ได้ตัดสินใจเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ได้ล้วงหยิบปลัดขิกจากในย่ามของท่านที่หลวงพ่อเหลือท่านมอบให้ไว้ก่อนที่พระ ทิมท่านจะลากลับ จากนั้นท่านก็ได้นำปลัดขิกที่ได้รับมาแล้วนำมาวางไว้ในถาดรวมกับปลัดขิกที่ ท่านได้ทดลองเสกเอาไว้ และได้บอกกล่าวขออนุญาติเจ้าของปลัดขิกเดิมคือหลวงพ่อเหลือ จากนั้นพระทิมท่านก็ได้เริ่มบริกรรมคาถาและได้ตั้งจิตสมาธิขั้นสูงในการเสก ปลัดขิกในครั้งนี้ ซึ่งหลังจากที่พระทิมท่านได้เสกอยู่พักหนึ่ง ปลัดขิกที่ได้รับมากับหลวงพ่อเหลือนั้นเริ่มมีการเคลื่อนไหวก่อน จากนั้นปลัดขิกตัวที่เหลือนั้นจะค่อยๆขยับตามกันมาพอเริ่มนานเข้าปลัดขิกก็ เริ่มเคลื่อนไหวกันมากขึ้นและดิ้นกรุกกรักกันอยู่ในถาด ต่อจากนั้นพอเวลาสักชั่วครู่พระทิมท่านก็ได้ลืมตา ปลัดขิกก็ได้หยุดเคลื่อนไหวทันที ซึ่งก็เป็นอันว่าพระทิมท่านสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของมันได้ซึ่งถ้าสามารถเข้า ถึงแก่นแท้ของปลัดขิกได้ก็จะสามารถสร้างจิตวิญญาณของตัวมันเองได้ ซึ่งเป็นสาเหตุอานุภาพที่ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆมากมาย ซึ่งพอหลังจากนั้นภายหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จพระทิมท่านก็ได้เริ่มทำ การเสกปลัดขิกอีกครั้ง แต่คราวนี้พระทิมท่านได้หยิบเอาปลัดขิกที่ได้รับมากับหลวงพ่อเหลือนั้นออก จากถาด แล้วทำการทดลองเสกอีกโดยที่พระทิมท่านได้เข้าจิตและสมาธิขั้นสูงในการเสก เหมือนคราวแรก ซึ่งหลังจากเสกอยู่ได้สักชั่วครู่หนึ่งปลัดขิกที่อยู่ในถาดนั้นค่อยๆเริ่มมี การขยับเคลื่อนไหวส่ายไปส่ายมา พอนานเข้าปลัดขิกก็เริ่มขยับตัวมากขึ้นหลังจากนั้นพอปลัดขิกขยับตัวมากขึ้น พระทิมท่านก็ได้ออกจากสมาธิแล้วลืมตาขึ้น ปลัดขิกก็หยุดการเคลื่อนไหวซึ่งจะเห็นได้ว่าปลัดขิกนั้นมันมีอานุภาพได้นั้น มันขึ้นอยู่กับอำนาจของจิตและสมาธิ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากว่าที่พระทิมท่านจะทำปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นมัน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถเสกปลัดขิกให้สำเร็จกันได้ทุกคนถ้าไม่มีจิต สมาธิและความพากเพียรพยายามสูง

    [/FONT][FONT=&quot]หลังจากที่ท่านพากเพียรพยายามความตั้งใจสูงในการเสกปลัดขิกเพื่อให้ ประสบความสำเร็จในการร่ำเรียนวิชาการทำเครื่องรางตามตำราโบราณณไสยศาสตร์ แขนงหนึ่งที่ได้บันทึกสืบต่อกันมาไว้ซึ่งกว่าที่จะร่ำเรียนให้ประสบผลสำเร็จ ได้นั้นจะต้องมีความเพียรพยายามสูงมากซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพระทิมท่านได้ พยายามตั้งใจทดลองเสกปลัดขิกตั้งหลายครั้งหลายครามากมายที่เดียวและกว่าที่ จะประสบผลสำเร็จได้นั้นพระทิมท่านจะต้องเดินทางแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ท่าน สำเร็จในวิชานี้เพื่อที่จะขอเรียนวิชา การทำปลัดขิกให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้งสองท่านที่พระทิมท่านได้ไปเรียนรู้ก็ได้แนะเคล็ดไปใน แนวทางเดียวกันว่าการที่จะทำปลัดขิกให้ประสบความสำเร็จได้นั้นมันอยู่ที่จิต และใจเท่านั้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการที่จะทำหรือการที่จะร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆหรือการร่ำ เรียนสิ่งใดๆก็แล้วแต่ก่อนอื่นมันจะต้องอยู่ที่ใจของเราว่ามันมีความต้องการ หรือความตั้งใจสูงมากน้อยเพียงไร ซึ่งความต้องการและความตั้งใจสูงของเรานี้มันอาจจะเป็นแรงบันดาลใจที่อาจจะ ก่อให้เกิดความพากเพียรพยายามสูงในการสร้างจิตวิญญาณความตั้งใจของตัวเอง เพื่อที่จะทำให้ประสบเป็นผลสำเร็จได้ดั่งที่เราได้หมายตั้งเป็นแรงบันดาลใจ ไว้ ซึ่งหลังจากที่พระทิมท่านได้เสกปลัดขิกจนสามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งก็แสดงว่า จิตของพระทิมท่านสามารถเข้าสู่ไปถึงจิตวิญญาณของปลัดขิกได้ และสามารถทำให้ปลัดขิกนั้นมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของตัวมันเองได้ ซึ่งก่อให้เกิดอำนาจตัวพุทธคุณให้อยู่ในปลัดขิกนั้นได้ ซึ่งอำนาจพุทธคุณที่อยู่ในปลัดขิกที่ได้เสกไว้นี้มันจะมีพลังของตัวพุทธคุณ อยู่ในตัวปลัดขิกนั้นมากน้อยเพียงไรก็จะขึ้นอยู่กับพลังอำนาจจิตของตัวผู้ ปลุกเสก ซึ่งการที่จะทำให้พลังของอำนาจจิตในตัวผู้ปลุกเสกนั้นมีพลังจิตที่มากพอ เพียงใด ก็จะอยู่ที่การหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีจิตสมาธิที่แกร่งกล้าขึ้นไป ซึ่งหลังจากที่พระทิมท่านได้เสกปลัดขิกจนประสบผลสำเร็จหลังจากที่ท่านได้นำ ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือมาวางไว้รวมกันซึ่งเราอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าอาจจะเป็น เพราะครูบาอาจารย์ท่านช่วยเป็นตัวหนุนนำหรืออาจจะเป็นตัวนำทางหรือสื่อนำให้ เข้าถึงตัวจิตวิญญาณของปลัดขิกได้ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่ที่อำนาจพลังจิตของพระทิมที่ท่านพากเพียร พยายามหมั่นฝึกฝนตนเองในการทดลองเสกทำปลัดขิกในทุกๆครั้งจนประสบเป็นผล สำเร็จได้ ซึ่งภายหลังจากที่พระทิมท่านสามารถเสกปลัดขิกให้มีการเคลื่อนไหวได้จนสำเร็จ หลังจากนั้นยามเวลาที่พระทิมท่านก็ได้ทำกิจวัตรของสงฆ์ทุกครั้งเสร็จ จากนั้นท่านก็ได้หมั่นฝึกฝนทดสอบตนเองในการเสกปลัดขิกทุกครั้งให้แกร่งกล้า ขึ้นไปอยู่เสมอ ซึ่งการหมั่นฝึกฝนในการเสกปลัดขิกนี้ทีแรกๆพระทิมท่านจะเสกอยู่ประมาณ[/FONT]4-5[FONT=&quot]ตัว จนสามารถเคลื่อนไหวหรือดิ้นได้ทุกตัวจากนั้นพระทิมท่านก็ได้เหลาปลัดขิกมาก ขึ้นหรือหลายๆตัว จากนั้นท่านก็นำมาใส่ในบาตรหรือในถาดบ้างก็แล้วแต่จำนวนและขนาดของปลัดขิก จากนั้นท่านก็ได้เสกปลัดขิกด้วยพลังอำนาจจิตที่ท่านได้หมั่นฝึกฝนให้คงมั่น หรือแกร่งกล้าอยู่เสมอ ซึ่งการปลุกเสกจำนวนปลัดขิกหลายๆตัวนั้นการที่จะส่งพลังอำนาจจิตให้เข้าไป ถึงจิตวิญญาณของปลัดขิกได้นั้นก็จะต้องแผ่พลังอำนาจจิตให้เข้าไปถึงทุกๆตัว ซึ่งก็จะหมายความว่าปลัดขิกก็จะต้องมีการเคลื่อนไหวหรือดิ้นได้ทุกๆตัวก็ เป็นอันว่าใช้ได้ ซึ่งถ้าปลัดขิกตัวไหนยังนิ่งเฉยหรือไม่มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใดก็แสดงว่า พลังอำนาจจิตนั้นยังไม่สามารถเข้าไปสู่ถึงจิตวิญญาณของตัวปลัดขิกได้ทั่วถึง ซึ่งผู้ปลุกเสกก็จะต้องใช้อำนาจจิตของตนเสกให้จนกว่าปลัดขิกนั้นมีการ เคลื่อนไหวให้ครบทุกตัวให้ได้ ซึ่งถ้าปลัดขิกนั้นมีการเคลื่อนไหวครบทุกตัวก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นหรือ ปลัดขิกนั้นใช้ได้แล้ว นายสาย แก้วสว่างอดีตไวยาวัจกรวัดละหารไร่ท่านเล่าว่า หลวงปู่ทิมสมัยที่ท่านปลุกเสกทำปลัดขิกในยุคแรกๆนั้นท่านจะเหลาด้วยตัวของ ท่านเอง ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่ทิมท่านจะเหลาปลัดขิกโดยจะใช้ไม้ตามที่หาได้ซึ่งส่วนใหญ่ ท่านจะใช้ไม้ที่เก็บเอามาใช้ทำยาสมุนไพรซึ่งก็แล้วแต่หลวงปู่ท่านจะหยิบนำมา เหลา พอมายุคต่อๆมาท่านก็จะใช้แก่นไม้คูณบ้างแก่นขนุนไม้พญาดำดงหรือบางทีก็ใช้ ไม้ชองระอา ซึ่งก็แล้วแต่ลูกศิษย์จะนำมาเหลากันไป ซึ่งตอนแรกๆนั้นหลวงปู่ทิมท่านจะเหลาเองอยู่ประมาณ[/FONT]4-5[FONT=&quot]ตัว จากนั้นหลวงปู่ท่านก็นำปลัดขิกทั้งหมดเสกในบาตร พอเสกปลัดขิกไปได้สักครู่หนึ่งปลัดขิกก็จะเริ่มๆขยับตัวหลังจากนั้นตัว ปลัดขิกก็เริ่มดิ้นแรงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดของตัวมันเองหรืออาจจะเรียกได้ว่า เต็มพลังของอำนาจจิตที่ได้ประจุไว้ก็เป็นได้ จากนั้นพอพลังของอำนาจจิตนี้สามารถแผ่เข้าไปถึงในจิตวิญญาณของปลัดขิกได้ เต็มที่ทุกตัว หลวงปู่ท่านก็ได้ลืมตาขึ้นซึ่งเป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์แล้วซึ่งแสดงว่าหลวง ปู่ทิมท่านจะรับรู้ได้ในทางจิตของท่านเองเมื่อปลัดขิกนั้นสามารถรับพลังแห่ง อำนาจจิตนั้นได้ครบทุกตัว ซึ่งปลัดขิกนั้นก็จะสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งช่วงตอนนั้นปลัดขิกของหลวงปู่ทิมส่วนใหญ่ท่านจะแจกให้แก่หมู่ลูกศิษย์ ใกล้ชิดหรือผู้ที่มาขอของดีได้นำไปใช้ติดตัวกัน[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  13. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    ๋๋[FONT=&quot]ธรรมในหมู่ มนุษย์ทุกวันนี้ก็คือ ลาภ (ความเสื่อมลาภ) ยศ (ความเสื่อมยศ) สรรเสริญ (นินทา) สุข (ทุกข์) เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ถ้าทุกคนมีสติมีปัญญารู้ถึงธรรมเหล่านี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ก็จะทำให้ทุกคนมีชีวิตอยู่อย่างสันติสุข [/FONT]
    [FONT=&quot]อันบ้านเรือนใหญ่โต รโหฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot]มีเสาธารหลายต้น จึงทนไหว[/FONT]
    [FONT=&quot]เกิดเป็นคนอยู่เดียว ก็เปลี่ยวใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]ต้องอาศัยพวกพ้อง พี่น้องนา[/FONT]
    [FONT=&quot] จะหาใครเหมาะเจาะ ที่ไหนเล่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ตัวของเรายังไม่ เหมาะใจหนา[/FONT]
    [FONT=&quot]อนิจจังทุกขัง อนันตา[/FONT]
    [FONT=&quot]รู้ล่วงหน้าเสียก่อน ไม่ร้อนใจ[/FONT]
    [FONT=&quot] ทุกข์สุขอยู่ที่ใจ มิใช่หรือ[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ ไม่สุขใส[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าไม่ถือก็เป็นสุข ไม่ทุกข์ใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]เราอยากได้ความทุกข์ หรือสุขนาฯ

    [/FONT]หลวงปู่ทิมท่านสอนให้รู้จักคำ ว่า...นิ่ง....เมื่อเกิดปัญหาใดๆก็แล้วแต่อย่าไปตื่นเต้นกับสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมมีปัญหาและอุปสรรคมากหลายที่จะเจอ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองกว่าท่านจะตรัสรู้ได้ท่านก็ต้องยอมอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ที่ได้ประสบพบต่างๆนาๆ เพราะพระพุทธองค์ท่านจะนิ่งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ค่อยๆรวบรวมสติสัมปชัญญะให้ดีแล้วปัญญาจะเกิดนะ...!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  14. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]การไปเป็นพลลูกหมู่ ( ทหาร )[/FONT] [FONT=&quot]ของนายทิม งามศรี[/FONT]
    [FONT=&quot]ภาย หลังจากเด็กชายทิมหรือนายทิม ได้ไปเรียนที่วัดละหารใหญ่ได้ปีกว่าๆ หลังจากนั้นก็ได้กลับมาช่วยพ่อแม่ทำนาหาเลี้ยงชีพและได้ดำเนินชีวิตอย่าง ปรกติเช่นเคยเรื่อยมา จนกระทั่งอายุครบเกณฑ์ได้ไปเป็นทหารซึ่งการเป็นทหารในสมัยนั้นจะเป็นตั้งแต่ อายุประมาณ[/FONT][FONT=&quot]18-19 [/FONT][FONT=&quot]ปี ซึ่งสมัยนั้นตรงกับยุครัชสมัยรัชกาลที่ห้าแต่สมัยนั้นเขาจะเรียกว่าลูกหมู่ และท่านได้เป็นพลลูกหมู่ทหารเรือ ซึ่งถ้าเทียบพุทธศักราชจะตรงกับ พ.ศ. [/FONT][FONT=&quot]2440-2441[/FONT][FONT=&quot] โดยประมาณที่ตัวท่านได้ไปเป็นพลลูกหมู่ ซึ่งช่วงนั้นตรงกับยุคของกรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์เริ่มเข้ารับราชการ เป็นทหารเรือเพิ่งมียศเป็นนายเรือโทในขณะนั้น ท่านเคยเล่าให้นายสาย แก้วสว่าง และลูกศิษย์ลูกหาในยุคเก่าๆ ฟังว่าท่านได้ไปเป็นพลลูกหมู่โดยท่านได้ไปเป็นคราวเดียวกับนายเพ่ง (หลวงพ่อเพ่ง สาสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่) หลังจากนั้นท่านก็ได้ไปฝึกพลลูกหมู่ในเมืองบางกอกหรือที่กรุงเทพฯซึ่งในยุค สมัยนั้นกองทัพเรือจะเรียกกันว่ากรมทหารเรือ ซึ่งตามประวัติรัชกาลที่ [/FONT][FONT=&quot]5[/FONT][FONT=&quot] ท่านได้พระราชทานที่ดินให้แก่กองทัพเรือซึ่งตั้งอยู่แถวพระราชวังเดิมและคาด ว่านายทิมน่าจะฝึกพลลูกหมู่อยู่บริเวณ ณ.ที่ดังกล่าว แต่นายทิมจะฝึกเป็นพลลูกหมู่อยู่นานเท่าไหร่ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่พอฝึกพลลูกหมู่เสร็จหลังจากนั้นต่างก็แยกย้ายไปตามกรมกองต่างๆ และช่วงเวลานั้นกรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์หรือเสด็จเตี่ยที่เราๆรู้จักกัน ท่านได้เล็งเห็นว่าที่อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำลึกซึ่งเหมาะ แก่การฝึกซ้อมยิงอาวุธยุทธโทปกรณ์ต่างๆและบริเวณรอบๆอ่าวสัตหีบมีเกาะน้อย ใหญ่หลายเกาะที่รายล้อมอ่าวไว้และสามารถบังคับคลื่นลมต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะแก่การตั้งฐานทัพ และพระองค์ท่านจึงได้ทูลเกล้าขอพระราชทานที่ดินบริเวณอ่าวสัตหีบหรืออำเภอ สัตหีบในปัจจุบันนี้เพื่อสร้างฐานทัพเรือขึ้นมา และช่วงเวลานั้นน่าจะเป็นช่วงยุคแรกๆที่มีการบุกเบิกในการสร้างกรมกองต่างๆ ของกองทัพเรือ

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  15. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    [FONT=&quot]นายทิมทาง ราชการได้ส่งตัวมาประจำการอยู่ที่กองหมู่ทหารเรือซึ่งตั้งอยู่แถวๆบ้านเตา ถ่านอยู่ลึกเข้าไปก่อนถึงชายทะเลซึ่งท่านเล่าว่าท่านได้ไปอยู่ในช่วงที่ กำลังบุกเบิกสร้างกองทหารเรือและอยู่ในเขตพื้นที่สัตหีบซึ่งพื้นที่สมัยที่ มาอยู่นั้นยังเป็นพื้นที่ป่าดงดิบ ซึ่งถ้าเป็นยุคปัจจุบันนี้ก็จะเป็นพื้นที่ของกรมสรรพวุธทหารเรือ ส่วนตัวนายเพ่งทางราชการได้ส่งให้ท่านไปอยู่ในรั้วในวังและเป็นลูกหมู่ มหาดเล็กของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งการเป็นทหารหรือการเป็นพลลูกหมู่ในสมัยนั้นจะต้องไปอยู่ประจำการถึง[/FONT] 4[FONT=&quot] ปี ถ้าเทียบกับยุคสมัยนี้จะเป็นทหารแค่ [/FONT]2[FONT=&quot] ปีเท่านั้น ท่านเล่าว่าในพื้นที่สัตหีบสมัยก่อนนั้นยังเป็นหมู่บ้านเล็กๆตามชายทะเลชาว บ้านแถวนั้นมีอาชีพประมงและท่านเคยเล่าว่าทางเดินสมัยนั้นจะเป็นทางเกวียน ท่านเคยเดินทางไปถึงวัดสัตหีบซึ่งวัดสัตหีบในสมัยนั้นเพิ่งจะเริ่มมีการก่อ ตั้งวัดได้ไม่นานและท่านก็ได้พบพระอี๋ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแต่ตอนนั้นไม่ได้ เรียนวิชากัน โดยในสมัยก่อนจะไปไหนมาไหนทั้งทีจะต้องบุกป่าฝ่าดงกันสมบุกสมบันกันพอสมควร และด้วยความที่ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็นท่านก็ได้รู้จักเพื่อนที่เป็นลูก หมู่ทหารรุ่นก่อนท่านเป็นคนมีวิชาอาคมมีอยู่วันหนึ่งเพื่อนของท่านได้ลอง แสดงของวิชาอาคมให้ท่านดู และท่านคงเห็นอภินิหารต่างๆแล้วประจักษ์ตาท่านถึงได้มีความเชื่อมั่นว่าวิชา อาคมเป็นเรื่องที่เร้นลับและมีจริงและท่านคงได้เริ่มสนใจในไสยศาสตร์วิชา อาคมต่างๆและช่วงตอนนี้เองน่าจะเป็นจุดกำเนิดที่ท่านได้เริ่มศึกษาวิชาอาคม ต่างๆและท่านได้ติดตามสอบถามเพื่อนของท่านซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นคนทางบ้านนา มะตูม ชลบุรีและต่อมาท่านก็ได้ติดตามเพื่อนพลลูกหมู่ของท่านซึ่งท่านก็ได้เดินทาง บุกป่าฝ่าดงไปพบอาจารย์ที่เป็นฆราวาสชื่อดังในหมู่บ้านนามะตูมแห่งนี้และต่อ มาท่านก็ได้คงจะเรียนวิชาอาคมจากอาจารย์ฆราวาสน่าจะอยู่ประมาณสักระยะหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นก็เกิดเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบสุข กองพลลูกหมู่ของท่านที่ท่านประจำการอยู่ก็ได้ถูกส่งออกไปรบสงครามที่ชายแดน ประมาณ รศ.[/FONT]118[FONT=&quot] ซึ่งเหตุการณ์สมัยนั้นน่าจะเป็นช่วงเหตุการณ์กรณีพิพาทมาครั้งตั้งแต่เมื่อ รศ.116 โดยประเทศฝรั่งเศสได้ยึดครองดินแดนจันทบุรีไว้เป็นเมืองขึ้น และกองพลลูกหมู่ที่ท่านประจำการอยู่นั้นก็ได้ถูกทางราชการส่งไปตรึงกำลัง บริเวณตามแนวชายแดนเมืองจันทบุรีซึ่งอยู่ติดกับเมืองปราจีนบุรีซึ่งทั้งสอง เมืองจะอยู่ติดกับชายแดนประเทศเขมร ซึ่งช่วงเวลาที่ท่านได้ประจำการอยู่ที่ชายแดนนั้นน่าจะเป็นช่วงที่ท่านอาจจะ ได้รู้จักอาจารย์ชื่อดังต่างๆจากคำบอกเล่าต่างๆหรือคำบอกต่อต่างๆจากเพื่อน ลูกหมู่ทหารด้วยกันที่เป็นคนพื้นที่นั้นหรืออาจได้จากคำเล่าลือกล่าวขานจาก หมู่ชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนบริเวณนั้นก็เป็นได้ จากการที่ท่านได้สนใจและเลื่อมใสในวิชาอาคมต่างๆและการเรียนรู้เป็นทุนเดิม อยู่แล้ว และอาจจะเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่เหตุการณ์ได้สงบลง ซึ่งเวลานั้นท่านคงได้เดินทางไปร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆจากฆราวาสชื่อดังตาม หมู่บ้านแถบชายแดนเมืองจันทบุรีตลอดไปจนถึงเมืองปราจีนบุรีหรืออาจจะเข้าไป ในประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้ ซึ่งสมัยก่อนนั้นจะมีอาจารย์ที่เก่งๆทางด้านวิชาอาคมและไสยศาสตร์ต่างๆมาก หลาย ซึ่งคาดว่าท่านคงได้ร่ำเรียนไปได้ในระดับหนึ่ง ต่อมาเหตุการณ์สงบลงกองพลลูกหมู่ของท่านก็ได้เคลื่อนถอนกำลังพลกลับสัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม ซึ่งในสมัยก่อนการไปเป็นพลลูกหมู่จะไม่ค่อยได้กลับบ้าน นานสักปีสองปีค่อยกลับทีหนึ่ง พอถึงช่วงเวลาชุดพักทีหนึ่งท่านก็ได้กลับไปเยี่ยมภูมิลำเนากลับไปบ้านช่วย พ่อแม่ทำนาและมีอยู่ช่วงหนึ่งจากการที่ท่านได้เริ่มสนใจเรียนรู้และเข้าใจใน เรื่องของวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งมีตำนานเล่าต่อกันมาว่า มีเพื่อนของท่านที่เป็นพลลูกหมู่ด้วยกันซึ่งบ้านอยู่ไปทางห้วงหินได้ไป เที่ยวที่งานวัดแห่งหนึ่งกับท่าน ซึ่งเพื่อนของท่านมีนิสัยสนุก คึกคะนอง ชอบเกี้ยวพาราสี และคงได้เกี้ยวสาวน้อยคนหนึ่งแต่ผู้หญิงคนนั้นคงไม่เล่นด้วยและด่าว่าเสีย หายต่างๆนาๆ คงทำให้เพื่อนของท่านโกรธเคืองเป็นอย่างมาก จึงได้หยิบผ้ายันต์ผืนหนึ่งออกมาแล้วก็ได้อาราธนาภาวนาคาถาเสร็จแล้วก็พัด โบกไปที่สาวน้อยคนนั้น สักพักหนึ่งคงจะเกิดอภินิหารหรือความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น หญิงสาวคนนั้นคงใจอ่อนและเกิดความเมตตาขึ้นแก่เพื่อนของท่านขึ้นมาทันทีทัน ใด ทำให้ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษถึงความมหัศจรรย์ของผ้ายันต์ผืนนี้จึงได้สอบ ถามถึงประวัติความเป็นมาของผ้ายันต์นี้ เพื่อนของท่านได้บอกว่าเป็นผ้ายันต์พัดโบกซึ่งได้รับมาจากหลวงพ่อกราดอยู่ ที่วัดชากกอไผ่ ซึ่งท่านได้ฟังแล้วท่านก็ได้สนใจเป็นอย่างมาก ด้วยความที่ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็นและอยากลองท่านคงคิดได้ว่าต้องไปขอร่ำ เรียนวิชาพัดโบกนี้จากหลวงพ่อกราดองค์นี้ให้ได้ ซึ่งแถววัดชากกอไผ่ก็อยู่ประมาณไม่ไกลจากละหารไร่ แต่ตอนนั้นท่านยังเป็นพลลูกหมู่อยู่ที่สัตหีบ ประกอบกับช่วงนั้นอาจจะยังไม่ค่อยมีเวลากลับภูมิลำเนาท่านก็เลยยังไม่มี โอกาสได้ไปหาหลวงพ่อกราด พอระยะเวลาต่อมาท่านก็ได้เป็นพลลูกหมู่จนครบวาระ [/FONT]4[FONT=&quot] ปีท่านก็ได้ปลดจากการเป็นพลลูกหมู่หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับมาอยู่บ้านช่วย พ่อแม่ทำนาหาเลี้ยงชีพต่อไปและท่านก็ได้ใช้ชีวิตในวัยคึกคะนองหรือวัยหนุ่ม ท่านอาจจะชวนปู่เสื่อมไปล่าสัตว์เพื่อนำมาขายหาเลี้ยงชีพในครอบครัวต่อไป มีอยู่ครั้งหนึ่งจากการที่ท่านได้เคยเรียนวิชาอาคมอยู่บ้างสมัยที่ท่านได้ไป เป็นพลลูกหมู่ ท่านก็ได้สอนวิชาอาคมบางอย่างให้แก่ปู่เสื่อมน้องชายของท่านซึ่งต่อมาปู่ เสื่อมท่านคงเลื่อมใสในวิทยาคมหรือวิชาอาคมต่างๆจึงได้ไปเรียนวิชาต่อจาก ฆราวาสชื่อดังตามหมู่บ้านในแถบนั้นต่อไปหลังจากนั้นปู่เสื่อมท่านก็ไปมีครอบ ครัวและใช้ชีวิตในครอบครัวของท่านต่อไป ส่วนนายทิมท่านคงเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตในวัยคึกคะนองหรืออาจจะเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนาจึงได้ลานายแจ้นางอินทร์บิดาและมารดาเพื่อกราบลาสิกขาบทต่อไป.

    [​IMG]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2014
  16. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    ....ร
     
  17. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    "คน เราทุกคนบนโลกที่เกิดมาล้วนแล้วแต่มีความฝัน ไม่ว่าฝันนั้นจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหน มันก็สามารถสร้างความสุขและความภาคภูมิใจให้กับเราได้เสมอเมื่อเราสามารถทำ ความฝันนั้นได้สำเร็จ ความฝันไม่ได้เกี่ยวกับฐานะ ไม่เกี่ยวกับความรู้ และไม่เกี่ยวกับคนรอบข้าง แต่มันเกี่ยวกับตัวเราและหัวใจของเรา แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถทำความฝันของตนเองให้สำเร็จได้ ความผิดหวังและความล้มเหลว ล้วนอยู่รอบๆตัวเรา สิ่งพวกนี้ไม่ใช่สิ่งไร้ค่า แต่มันคือสิ่งมีค่าที่จะคอยสอนเรา ไม่ให้เราทำผิดพลาดซ้ำอีก และจะชี้นำเราให้ไปสู่ความสำเร็จ ความฝันของเราอาจจะมีมากมายหลากหลายอย่าง อาจจะไม่ใช่ฝันเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่บางครั้งเราอาจจะฝันเพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขก็ได้ แต่ความฝันของเรานั้นเราควรที่จะตั้งความฝันไว้สูงๆ อย่าเพิ่งคิดว่าเราไม่มีความสามารถ ไม่มีทางไปถึงฝันนั้นได้ อย่าสนใจคนอื่นที่อาจจะบอกว่าเราฝันสูงเกินตัว แต่จงนำคำติ คำดูถูกเหล่านั้นมาเป็นพลังให้เราเดินตามความฝันต่อไป ทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวเรา การฝันไว้สูงๆ ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ แต่เมื่อเราฝันไว้สูง เราก็จะมีความพยายาม ฝักใฝ่ มุ่งมั่นมากขึ้นที่จะไปให้ถึงจุดหมายให้ได้ ไม่มีอะไรที่จะสูงเกินกว่าหัวใจที่เต็มไปด้วยความมุ่งมันและความพยายามของ เรา เมื่อเราล้มก็แค่ลุกขึ้นมาใหม่ การเริ่มต้นใหม่เกิดขึ้นได้เสมอ เกิดขึ้นได้ทุกวันและทุกเวลา ถ้าหากเราผิดหวังหรือไม่สามารถไปถึงจุดหมายที่เราหวังไว้ได้ อย่างน้อยเราก็ยังก็ลองทำอะไรที่มันยากๆ ดีกว่าคนที่คิดแต่จะทำอะไรง่ายๆหรือบางคนได้แต่ฝันแต่ไม่เคยลงมือทำตามความ ฝันนั้นเลย ความผิดหวังจากความฝันอาจจะสร้างความเศร้าเสียใจให้เรา แต่ถ้ามองอีกมุมนี้มันก็คือความล้มเหลวที่จะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ความสำเร็จ ประสบการณ์ที่เราได้รับล้วนเป็นสิ่งเติมเต็มให้ความฝันครั้งต่อไปสมบูรณ์แบบ มากยิ่งขึ้น ถ้าเราไปถึงจุดหมายที่เราฝันไว้โดยปราศจากอุปสรรค ขวากหนาม ความฝันนั้นมันก็แทบจะไม่มีค่าอะไรเลยสำหรับเรา
    คุณค่าที่แท้จริงของความฝัน ไม่ใช้ความสำเร็จ แต่เป็นอุปสรรคระหว่างทางต่างหาก ที่จะเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าให้กับเราอย่างแท้จริง อย่ารอที่จะทำตามฝัน อย่ากลัวที่จะไปให้ถึงฝัน และที่สำคัญคืออย่าท้อ ถ้าท้อก็จงอย่าถอย ขอจบบทความนี้ด้วยประโยคที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับบทความนี้โดยตรง "จงฝันให้สูงถึงดวงจันทร์ เพราะอย่างน้อยถ้าไปไม่ถึงฝัน ก็ยังได้อยู่ท่ามกลางหมู่ดาว"

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2014
  18. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> ด้วยอำนาจพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์
    จงเรืองฤทธิ์ให้ทุกท่านสุขหรรษา
    ให้สบโชคปลอดภัยไร้โรคา
    ชนทั่วหล้านับถือชื่อเกรียงไกร

    คิดสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จ
    ทรัพย์ทั้งเจ็ดหนุนเนื่องทุกสมัย
    แม้นกำเนิดเกิด ณ ที่แห่งใด
    ให้พบไตรสรณะชำระมาร

    อันพรใดใครว่ายอดในไตรภพ
    จงประสบพรเลิศประเสริฐศานต์
    ให้ร่ำรวยด้วยทรัพย์ศฤงคาร
    ตราบชั่วกาลสราญรื่นชื่นฤดี

    ให้ชื่อเสียงเกรียงไกรมไหศักดิ์
    ใครพบพักตร์เกรงใจในศักดิ์ศรี
    ให้ปัญญาล้ำเลิศพันทวี
    ถ้อยวาทีเป็นที่รักประจักษ์ชล

    ขออำนาจหลวงปู่ทิมบุญฤทธิ์
    จงสถิตคุ้มครองทุกข์แห่งหน
    แม้นเดินทางถิ่นใดไร้กังวล
    ประสบผลเรื่องโรจน์โชตินิรันดร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2014
  19. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    ธรรมชาติทุกทุกสิ่งที่จริงแท้..... ก่อนจะแปรเปลี่ยนไปในสมอง
    ก่อนจะทำสิ่งใดต้องไตร่ตรอง..... ใช้สมองกำหนดค่าน่านิยม
    ก่อนจะคิดต้องให้มีสติมั่น..... เพื่อสร้างสรรค์สิ่งทั้งหลายให้เหมาะสม
    สติตรองสมองสั่งสร้างอารมณ์..... สติข่มสมาธิมีปัญญา
    ทุกทุกลมหายใจในมนุษย์..... สติหยุดเมื่อใดไร้สมอง
    สติมั่นเมื่อใดเกิดไตร่ตรอง..... มีสมองครองสติมีปัญญา
    จะทำการอันใดใช้สติ..... สมาธิคู่กันนั้นจริงหนา
    มีสติสมาธิมีปัญญา..... ทุกปัญหาสิ้นไปได้สิ่งดี


    [​IMG]
     
  20. แก้วสว่าง

    แก้วสว่าง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    3,232
    ค่าพลัง:
    +49,927
    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    "จะเห็นว่าคนไทยเรานั้นผูกพันยึดมั่นในความเชื่อเรื่องพระเครื่องกันมายาวนาน การแขวนพระนั้นก็ เพื่อที่จะเตือนสติให้คนเรานั้นกระทำความดี จะได้ไม่ไปพลั้งเผลอทำในสิ่งไม่ดีหรือสิ่งที่ชั่วร้ายใดๆ ซึ่งเมื่อได้ห้อยพระเครื่องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการตามความเชื่อกันแล้ว โบราณเรานั้นจะถือกันว่าเป็นการห้อยพระเป็นโดยที่มีพุทธคุณหรือพุทธานุภาพเป็นการบ่งบอกอย่างเชื่อมั่นได้และในอีกด้านหนึ่งนั้นนอกจากวัตถุประสงค์หลักดังกล่าวแล้ว พระเครื่องก็ยังเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจและคอยยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจให้ยึดมั่นกันอีกด้วย เราจะเห็นว่าพระเครื่องในพิมพ์หรือปางต่างๆที่เห็นกัน นั้น ยังแฝงนัยแห่งความเชื่อตามหลากหลายพิมพ์ซึ่งมีทั้งพิมพ์นั่งสมาธิ พิมพ์ปางมารวิชัย พิมพ์ลีลา หรือพิมพ์พระนอน เป็นต้นฯลฯ ซึ่งแต่ละพิมพ์นั้นอาจมีความหมายตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงแสดงอากัปกิริยาต่างๆไว้แต่หลักการที่สำคัญคงหนีไม่พ้นหลักของกรรม และ การมีสติระลึกเสมอว่า เรามีพระนำหน้าอยู่ทีคอที่หน้าอก จะไปทำชั่ว ก็ควรละอายกับพระที่แขวนบ้าง ถ้าทำได้แบบนี้พระก็ศักดิ์สิทธิ์ คนก็ขลังครับ ก็เปรียบเสมือนกับเหล่าต้นไม้ต่างๆนั้นมันจะขึ้นได้ต้องมีดิน มีปุ๋ย พระเครื่องจะสถิตอยู่ได้ต้องอยู่กับคนดี คนไม่ดีก็เหมือนหิน เหมือนปูน เอาเมล็ดพืชวิเศษแค่ไหนไปเพาะไปปลูกก็คงโตเป็นต้นไม้ไม่ได้ ก่อนจะห้อยพระเครื่องเพื่อขอพลานุภาพที่ดีอย่างเชื่อมั่นนั้นตัวเราเองต้องมีใจและกายให้บริสุทธิ์พร้อมด้วย ก่อนที่จะรองรับกับสิ่งเป็นมงคลนั้นไปด้วย".....
    คงตอบโจทย์ได้แล้วว่าเราแขวนพระไว้ทำใม และความศักดิ์สิทธิ์มันอยู่ตรงไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...