เส้นทางภูมิปัญญา หมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว ภาคใต้

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 5 มกราคม 2006.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    ชุมชนบ้านพุมเรียง
    อยู่ในเขตตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นชุมชน โบราณอายุ ราว 1,500 ปีมาแล้ว เดิมเป็นเมืองท่าศูนย์กลางความเจริญ[​IMG]ทางเศรษฐกิจในสมัยศรีวิชัย โดยเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก โดยเฉพาะเส้นไหมจากจีน เปรียบได้กับเส้นทางสายไหมทางทะเล จนทำให้ชุมชนบ้านพุมเรียงได้รับอารยธรรมหลากหลาย โดยเฉพาะการทอผ้าแบบโบราณที่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน
    ครั้นต่อมาเมื่อการคมนาคมทางบกกลายเป็นเส้นทางหลัก เมืองท่าพุมเรียงก็ถึงแก่การเสื่อมสลาย แต่การทำผ้าไหมทอมือ แบบโบราณของบ้านพุมเรียงยังคงอยู่ โดยทำกันในหมู่ชุมชนบ้านหัวเลน ซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมที่อพยพมาจากปัตตานีแล้วมาตั้งถิ่นฐานที่ ไชยา ต่อมาได้ย้ายถิ่นมาอยู่แถบคลองพุม - เรียงซึ่งเป็นดินเลนจึงมีชื่อว่า ชุมชนบ้านหัวเลน และเป็นแหล่งทอผ้าพื้นเมือง อันเลื่องชื่อที่สุดในภาคใต้วันนี้
    ที่ตั้ง
    อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยาไป ทางทิศตะวันออก ประมาณ 7 กิโลเมตร
    จากสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ถึงอำเภอไชยา เลี้ยวขวาทางหลวงหมายเลข 4011 ไปอีก 9 กิโลเมตรถึงที่ตั้งศูนย์ฯ รวมระยะทางจากจังหวัดสุราษฏร์ธานีราว58 กิโลเมตร
    อาชีพ
    ส่วนใหญ่ 80% จะทำการประมง ชายฝั่ง
    ศาสนา
    ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 65% ศาสนาอิสลาม 35%
    ประเพณี
    มีการผสมผสานของวัฒนธรรม ทั้งไทยพุทธมุสลิมและจีนชาวบ้านดำรงชีวิตเรียบง่ายยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนาและประเพณี เช่น ชาวไทยพุทธ จะมีประเพณีแห่พระบกใน วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 และประเพณีแห่พระน้ำและลอยกระทงในคลองพุมเรียงในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวมุสลิมในวันศุกร์จะมีการละหมาดรวมกันทั้งหมู่บ้าน
    ที่พัก
    ชาวบ้านยังไม่มีความพร้อมสำหรับการเปิดโฮมสเตย์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
    ผ้าไหมยกดอกพุมเรียง
    วัตถุดิบ
    - ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบ เส้นไหมและเส้นฝ้าย ที่สั่งมาจากที่อื่นเพราะชาวบ้านที่นี้ไม่ได้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเอง
    กระบวนการผลิต
    - เป็นการทอด้วยมือโดยใช้กี่ พื้นบ้านตามแบบที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
    ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าทอสำเร็จรูป ที่เป็นผืนซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะมีขนาดความยาวประมาณ 2-4 หลา สามารถนำไปตัดเป็นชุดได้ 1 ชุด
    รายการสินค้า
    [​IMG]1. ผ้าไหมทอลายราชวัตรโคม
    2. ผ้าไหมทอลายมะลิซ้อนถมเกสร
    3. ผ้าไหมทอลายก้านแย่ง
    4. ผ้าไหมทอลายพิกุลถมเกสร
    5. ผ้าไหมทอลายพุ่มข้าวบิณฑ์
    6. ผ้าไหมทอลายแมลงวัน
    7. ผ้าไหมทอลายเครือวัลย์


    [​IMG]


    แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
    1. พระบรมธาตุไชยา 2. เกาะสมุย 3. หินตาหินยาย 4. อุทยานแห่งชาติเขาสก 5. เกาะนางยวน
    ติดต่อ
    ศูนย์กลางชุมชนบ้านพุมเรียง บ้านหัวเลน ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    - กลุ่มทอผ้าพุมเรียง บ้านหัวเลน โทร. 0 9730 9916
    - คุณชุติมา ณ ตะกั่วทุ่ง โทร. 0 9730 9916
    - คุณอรุณ เหร็นเส็บ โทร. 0 7743 1337


    บ้านนาตีน
    หมู่บ้านนาตีน อยู่ในเขตตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่นาทำกินของชาวบ้านคลองแห้ง ในสมัยที่การคมนาคมยังไม่[​IMG]สะดวกเช่นทุกวันนี้ ชาวบ้านต้องเดินเท้ามาช่วยกันทำนาเป็นประจำทุกวัน เมื่อมีการตั้งชุมชนขึ้นเมื่อราว 80 ปีก่อน พื้นที่แถบนี้จึงถูกเรียกขานกันว่า" บ้านนาตีน " ซึ่งหมายถึงนาทางด้านทิศใต้ ( หรือทิศทางปลายเท้า )ในปี พ . ศ .2531 กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านนาตีน ได้ร่วมแรงกันทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเพื่อเป็นการหารายได้เสริม ซึ่งภายหลังได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทางการเป็นอย่างดี จนกระทั่ง กลุ่มผลิตภัณฑ์ กะลามะพร้าวบ้านนาตีน เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นในฐานะแหล่งผลิตงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าวที่สวยงามได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
    ในปัจจุบัน ชาวบ้านนาตีนได้เพิ่มศักยภาพในการผลิตได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำผ้าบาติก ผลิตกระดาษใยสับปะรดเพื่อแปรรูปทำของที่ระลึกรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการทำเรือหัวโทงจำลองอีกผลงานระดับห้าดาว ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนไม่น้อย
    ที่ตั้งและการเดินทาง
    อยู่ห่างจากตำบลอ่าวนาง ไปทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือ ประมาณ 2 กิโลเมตร
    การเดินทางจากจังหวัดกระบี่ไป บ้านนาตีน
    จากกระบี่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4202 ระยะทางราว 14 กิโลเมตรก่อนถึงหาดนพรัตน์ธารา ราว 1.5 กิโลเมตรเลี้ยวขวาทางลัดสู่คลองม่วงไปราว 1 กิโลเมตรถึงศูนย์ฯซึ่งอยู่ทางขวามือ หรือจากอ่าวนางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4203 ถึงหาดนพรัตน์ธาราเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 4202 เลี้ยวซ้ายแยกทางลัดคลองม่วงเส้นทางเดียวกัน
    อาชีพ
    ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำสวนยางเป็น อาชีพหลักและประมงเป็นอาชีพเสริม
    ศาสนา
    ชาวบ้านนาตีนเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม
    ประเพณี
    เนื่องจากบ้านนาตีนเป็นถิ่นชาวไทยมุสลิมที่เคร่งครัด ดังนั้นกิจกรรมงานประเพณีส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับศาสนา มีการปลูกฝังการฝึกอ่าน คัมภีร์อัลกุระอ่านให้กับเด็ก ในช่วงหลังกลับจากโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน
    ที่พัก
    บริการโฮมสเตย์สามารถติดต่อและจองที่พักได้ที่อาคาร ศูนย์กลางชุมชนบ้านนาตีน หรือติดต่อคุณบัญชา แขวงหลี โทร : 01-9688532
    วัตถุดิบ
    กะลามะพร้าว สามารถหาได้ง่ายในพื้นถิ่น
    กระบวนการผลิต
    มะพร้าวที่มีรูปทรงกลมกลึงสวยงามจะถูกผ่าและแคะเนื้อในออกจนหมด ก่อนจะนำมาขัดผิวกะลาให้ขึ้นมันด้วยกระดาษทรายจากนั้นจะนำกระดาษที่ได้เขียนลวดลายเตรียมไว้แล้ว มาทากาวทับไปบนผิวกะลา ก่อนจะฉลุตามลายเส้นให้เป็นลวดลายตามที่ ต้องการ ก่อนจะขัดด้วยกระดาษทราย เก็บรายละเอียดอีกครั้งจึงเคลือบผิวกะลาด้วยน้ำมันชักเงา
    ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
    กะลาที่ผ่านการ ฉลุลวดลายงดงามแล้วสามารถแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ อาทิ ที่เสียบปากกา กล่องใส่กระดาษทิชชู่ โคมไฟ เข็มขัด กำไล ที่คาดผม และต่างหู
    รายการสินค้า
    [​IMG]1. กระปุกออมสินรูปกระต่าย
    2. ชุดกาแฟ
    3. เข็มขัด
    4. กระเช้าดอกไม้
    5. เรือหัวโทงพิเศษ
    6. ผ้าบาติก

    [​IMG]


    สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
    1. เกาะพีพี 2. เขาขนาบน้ำ 3. สระมรกต 4. น้ำตกร้อน 5. ธารโบกขรณี
    ติดต่อ
    ศูนย์กลางชุมชนบ้านนาตีน 4/2 หมู่ 4 ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
    กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวบ้านนาตีน
    อาคารศูนย์กลางชุมชนบ้านนาตีน โทร. 0 7563 7390
    คุณบัญชา แขวงหลี โทร. 0 1968 8532

    บ้านกะไหล
    อยู่ในเขตตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ดินแดนซึ่งโอบล้อมไว้ด้วยภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา มีเขาตะปูเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีในหมู่นัักท่องเที่ยวทั่วโลก หากจะพูดถึงงานหัตถกรรมของชาวพังงากันแล้ว คง[​IMG]ต้องเอ่ยถึงงานดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพาราของบ้านกะไหล ซึ่งมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แลดูเหมือนดอกไม้จริงตามธรรมชาติมาก และสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนแห่งนี้มานานกว่าสิบปี ความรู้ในการนำใบยางพารามาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ เริ่มขึ้นในชุมชนบ้านกะไหลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยมีคุณสาวิตรี เกษมศรี เคหะกิจในอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นผู้ให้การอบรมแก่ชาวชุมชน จนกระทั่งได้นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มผลิตดอกไม้ประดิษฐ์จากใบ ยางพาราขึ้นต่อมาภายหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้พระราชทานนามอันไพเราะให้กับดอกไม้ชนิดนี้ว่า " ศรีพังงา " ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้กับชาวชุมชนบ้านกะไหลอย่างที่สุด ปัจจุบัน ความงดงามเหมือนดอกไม้ในธรรมชาติของดอกศรีพังงา นอกจากจะสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนแห่งนี้อย่างต่อเนื่องแล้วยังสะท้อน ให้เห็นถึงภูมิปัญญาแห่งการนำเอาวัสดุที่หาได้ง่ายดายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการรังสรรค์เป็นงานศิลปะ สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างน่าชมเชย
    ที่ตั้งและการเดินทาง
    อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพังงาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 26 กิโลเมตร
    จากพังงาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่งมุ่งหน้าสู่ตำบลโคกกลอย ถึงบ้านกะไหลระยะทางราว 26 กิโลเมตร ปัจจุบันศูนย์ฯอยู่ระหว่างการประสานงานเพื่อดำเนินการก่อสร้าง แต่สามารถเที่ยวชมได้จากหลายบ้านที่ทำผลิตภัณฑ์

    อาชีพ
    ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีทั้งการทำสวนยาง และการทำสวนผลไม้ อย่าง ทุเรียน ลองกอง และมังคุด
    ศาสนา
    ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
    ประเพณี
    ทุกวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี ชาวบ้านจะ ร่วมใจกันจัดงานวันสารท มีสีสันตื่นตาจนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
    ที่พัก
    ชาวบ้านยังไม่มีความพร้อมสำหรับการเปิดโฮมสเตย์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
    ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา
    วัตถุดิบ
    - ใบยางพาราสำหรับการประดิษฐ์ดอกไม้ จะต้องไม่มีรอยตำหนิ ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป สามารถหาเด็ดได้จากต้นยางพาราที่มีอายุระหว่าง 2-5 ปี
    กระบวนการผลิต
    - เพื่อให้เหลือเพียงแค่เส้นใยใบยางพาราสดจะต้องนำมาต้มด้วยน้ำละลายสบู่ซันไลต์ นานราว 3-4 ชั่วโมง แล้วแช่น้ำทิ้งไว้อีกประมาณ 20-30 วัน นำมาล้างเนื่อเยื่อออกให้หมด ก่อนจะฟอกด้วยน้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์เป็นเวลา 12 ชั่วโมง จนเหลือเพียงแค่เส้นใบขาวๆ เมื่อล้างด้วยผงซักฟอกจนสะอาดดีแล้ว จะนำไปผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนจะนำไปย้อมสี ตามต้องการ สำหรับขั้นตอนการย้อมสีนั้นจะต้องนำใบยางพาราแห้งจุ่มน้ำแล้วบิดให้สะเด็ดน้ำเสียก่อน จึงค่อยจุ่มน้ำสีเพื่อให้เส้นใบดูดซับสีได้อย่างทั่วถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ใบยางพารา ที่ผ่านการย้อมสีแล้ว สามารถนำไปประดิษฐ์ดอกไม้นานาชนิดตามจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาทิ ดอกรักเร่ดอกพวงแสดหรือดอกแคทลียา รายการสินค้า
    [​IMG]1. ดอกกุหลาบศรีพังงา
    2. ดอกฝ้ายศรีพังงา
    3. แจกันดอกไม้
    4. ดอกเฟื่องฟ้าศรีพังงา
    5. ดอกมีเรีย
    6. ดอกกล้วยไม้ศรีพังงา
    7. ดอกไม้ในแก้วใส


    [​IMG]


    แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
    1. หมู่เกาะสุรินทร์ 2.หมู่เกาะสิมิลัน 3. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา 4. น้ำตกลำปี 5. วัดถ้ำสุวรรณคูหา
    ติดต่อ
    ศูนย์กลางชุมชนบ้านกะไหล ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
    - คุณเอมอร พิกุลผล โทร. 0 7644 4231
    - คุณสมเกียรติ พิกุลผล โทร. 0 1788 3644



    ชุมชนบ้านคีรีวง
    อยู่ในขตตำบลกำโลน อำเภอลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เดิมเป็นที่รู้จักกันในนาม " บ้านขุนน้ำ " ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการสร้างวัดชื่อ " วัดคีรีวง " ขึ้นจึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านไปตามชื่อวัด ให้พ้องกับลักษณะ[​IMG]ภูมิประเทศ ซึ่งเป็นชุมชนอยู่ท่ามกลางวงล้อมของภูเขาติดกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ป่าต้นน้ำของแม่น้ำตาปีสายน้ำสำคัญของภาคใต้ ตามประวัติกล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปกว่า 200 ปีที่แล้ว เพราะปรากฏหลักฐานว่า มีผู้คนเข้ามาตั้งรกรากอยู่แถบที่ราบตรงเชิงเขาหลวงกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
    เมื่อปี พ . ศ . 2531 เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในหมู่บ้าน จนนำไปสู่การสูญเสียครั้งใหญ่ แต่ชาวคีรีวงก็สามารถฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ในที่สุด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโกมล -คีมทอง ซึ่งเข้าไปส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้านในระหว่างปี พ . ศ .2537-2539 ปัจจุบันบ้านคีรีวงเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงระดับในฐานะหมู่บ้านดีเด่นระดับชาติ เพราะมีพัฒนาการทางชุมชนสูงมากสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังมีทำเลที่ใกล้กับแหล่งธรรมชาติอันสวยงามบ้านคีรีวงจึงมีนักท่องเที่ยวแวะเข้าไปเยี่ยมเยือนกันอยู่มิได้ขาด ในยามว่างจากงานสวน ชาวชุมชนจะสรรค์สร้างงานหัตถกรรมจากวัสดุในท้องถิ่น โดยเฉพาะการนำผ้าดิบมามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ก่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ยิ่ง
    ที่ตั้งและการเดินทาง
    อยู่ห่างจากตัวอำเภอลานสะกาไปทางทิศเหนือ ประมาณ 9 กิโลเมตร
    จากนครศรีธรรมราชใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4015 มุ่งหน้าอำเภอลานสะกา ราว 11 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาแยกเข้าสู่ศูนย์ฯอีก 9 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดนครศรีธรรมราช 20 กิโลเมตร

    อาชีพ
    อาชีพหลักของชาวบ้าน คือการทำสวนผลไม้ และสวนสมรม ( สวนผสม ) เช่น เงาะ
    ศาสนา
    ชาวบ้านเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ
    ประเพณี
    เมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ที่บ้านคีรีวง จนนำไปสู่การสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีชาวบ้านจะร่วมใจกันจัดงาน " พฤศจิการำลึก " เพื่อทำบุญให้แก่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปในครานั้นจนกลายเป็นประเพณีสำคัญ อีกงานของหมู่บ้าน นอกเหนือไปจากประเพณีชักพระซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
    ที่พัก
    บริการโฮมสเตย์สามารถติดต่อและจองที่พักได้ที่อาคารศูนย์กลางชุมชนบ้านคีรีวง โทร : 075-533113 , 09-5012706 หรือเลือกพักรีสอร์ทอื่นๆ ที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน อาทิ ธารคีรีสอร์ท และคีรีวงรีสอร์ท
    ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
    วัตถุดิบ
    - เป็นผ้าฝ้ายดิบซึ่งซื้อหาจากนอกหมู่บ้าน
    กระบวนการผลิต
    - เมื่อได้ผ้าฝ้ายที่ต้องการแล้ว จะนำมาย้อมด้วยสีธรรมชาติ เช่น ใบมังคุดสับต้มน้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองกากใบออก จนได้น้ำสีเข้มเพื่อนำมาย้อมผ้าดิบ สำหรับผ้าดิบที่จะนำมาย้อมจะต้องผ่านการซักเพื่อล้างผงแป้งออกเสียก่อนเมื่อผ่านการชะล้างผงซักฟอกออกแล้ว จะบิดจนหมาดและเตรียมทำลวดลายบนผ้าด้วยการใช้ก้านไม้ไผ่รัดด้วยหนังยางเข้ากับเนื้อผ้าหรือใช้กิ๊บหนีบจากนั้นจึงนำไปต้มในน้ำสีย้อมธรรมชาติ นานประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะนำขึ้นมาซัก แล้วนำกลับมาต้มซ้ำอีก ทำซ้ำๆ กัน 3 เที่ยว ( กินเวลาราวสามชั่วโมง ) จึงค่อยแกะยางและชิ้นไม่ไผ่ออก นำไปผึ่งลมให้แห้งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ผ้ามัดย้อมสีที่ได้ สามารถนำไปทำผ้าคลุมไหล่ แปรรูปตัดเป็นหมวกมัดย้อม ทำกระเป๋าใส่ดินสอ หรือตัดเย็บเป็นชุดเสื้อผ้าสำหรับบุรุษและสตรี
    รายการสินค้า
    [​IMG]1. ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก
    2. โตร๊ะที่ใส่ผลไม้ ( สำหรับโชว์ )
    3. เสื้อมัดย้อมสีธรรมชาติ
    4. กระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
    5. กระเป๋าและหมวกมัดย้อมสีธรรมชาติ
    6. เสื้อบาติกสีธรรมชาติ


    [​IMG]


    แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
    1. เขาหลวง 2. น้ำตกกรุงชิง 3. น้ำตกโยง 4. หนังตะลุง 5. วัดพระธาตุเมืองวรวิหาร
    ติดต่อ
    ศูนย์กลางชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกาโลน อำเภอลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
    - ศูนย์ประสานงานบ้านคีรีวง คุณสุทธา สุทธิ โทร. 0 7553 3113, 0 9501 2706
    - คุณอารีย์ ขุนทน โทร. 0 7553 3114, 0 1787 2934


    บ้านหน้าถ้ำ
    อยู่ในเขตตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในฐานะหมู่บ้าน อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ กะลามะพร้าว อันเลื่อง[​IMG]ชื่อประจำจังหวัด แม้ว่าจะมีการสร้างงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าวอยู่อีกหลายแห่งในเมืองไทยแต่ทว่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกะลามะพร้าวจากบ้านหน้าถ้ำนั้นโดดเด่นที่สุด เพราะมีศักยภาพในการดัดแปลงผลงานออกไปได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นที่วางสบู่ กระเป๋าสตางค์ หรือเครื่องประดับอันสวยงามจากกะลามะพร้าว แต่เดิมชาวชุมชนจะประกอบอาชีพการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว กระทั่งในปี พ . ศ .2534 นางบุญธรรม มโนเพ็ชร ได้เป็นผู้ริเริ่มทำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวขึ้นในชุมชน ด้วยการต้องประสบกับภาวะขาดทุนโดยตลอด เพราะผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพไม่ค่อยดีนัก จวบจนกระทั่งได้รับคำแนะนำจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้ในด้านรูปแบบ และช่วยจัดหาตลาดให้ ยังผลให้ผลิตภัณฑ์จากกะลาของบ้านหน้าถ้ำกลายเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันนี้ นอกจากชาวบ้านหน้าถ้ำได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวอย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่แปรรูปจากมะพร้าวด้วยหนทางใหม่ๆ อาทิ การทำถ่านจากกะลามะพร้าวอัดแท่ง ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวชุมชนมากยิ่งขึ้น
    ที่ตั้ง
    อยู่ห่างจากสามแยกปาดังเบซาร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร
    จากสงขลาใช้ทางหลวงหมายเลข 414 ต่อด้วย 43 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 มุ่งหน้าสู่ อำเภอสะเดา แยกขวามือทางหลวงหมายเลข 4054 ไปปาดังเบซาร์ จากนั้นเดินทางอีก 8 กิโลเมตรถึงศูนย์ฯ รวมระยะทางจากสงขลาราว 95 กิโลเมตร

    อาชีพ
    ส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำสวนผลไม้ และสวนยางพารา
    ศาสนา
    คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และขณะที่อีก 30 % นับถือศาสนาพุทธ
    ประเพณี
    ชาวบ้านหน้าถ้ำมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผสมผสานไว้ ด้วยชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และคนไทยเชื้อสายจีน จึงเป็นชุมชนที่หลากหลายไปด้วยวัฒนธรรมประเพณี
    ที่พัก
    บริการโฮมสเตย์สามารถติดต่อและจองที่พักได้ที่อาคาร ศูนย์กลางชุมชนบ้านหน้าถ้ำหรือติดต่อคุณบุญธรรม มโนเพ็ชร โทร : 074-329608, 074-938342 หรือ 09-9285929
    กะลามะพร้าว
    วัตถุดิบ
    - กะลามะพร้าวสามารถหาได้ง่ายในชุมชน ลูกที่นำมาใช้งานจะมีการคัดเลือกขนาด และรูปทรงคล้ายคลึงกัน
    กระบวนการผลิต
    - นำมะพร้าวที่มีรูปทรงกลมกลึง สวยงาม มาผ่าแคะเอาเนื้อในออกให้หมด แล้วใช้ กระดาษทรายขัดผิวให้เรียบจากนั้นจะนำกระดาษที่ได้เขียนลวดลายเตรียมไว้แล้วมาทากาวทับไปบนผิวกะลา ก่อนจะฉลุให้เป็นลวดลายตามแบบที่ต้องการ แล้วจึงเคลือบผิวกะลาด้วยแล็คเกอร์ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป กะลาที่ได้รับการฉลุลาย หรือ ขัดผิวจนเรียบมันแล้ว สามารถนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด อาทิ เครื่องครัว กระเป๋าใส่สตางค์ รองเท้าแตะ เครื่องประดับเป็นต้น
    รายการสินค้า
    [​IMG]1. ภาพบาติก
    2. กระเป๋า
    3. ช้อนส้อม
    4. ชุดออเดิร์ฟ
    5. หม้อเอนกประสงค์


    [​IMG]


    แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
    1. สะพานติณสูลานนท์ 2. เกาะยอ 3. อุทยานนกน้ำคูขุด 4. ป้อมหัวเขาแดง 5. น้ำตกโตนงาช้าง 6. หาดสมิหลา
    ติดต่อ
    ศูนย์กลางชุมชนบ้านหน้าถ้ำ ตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาหมู่บ้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว
    - คุณบุญธรรม มโนเพ็ชร โทร. 0 7432 9608
    - คุณกิตติยา กัญญาศิริ โทร. 0 7421 1904
     

แชร์หน้านี้

Loading...