แบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ของ พระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโม(พระครูญาณวิศิษฐ์) พระมหาปิ่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pongsiri, 16 มีนาคม 2005.

  1. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +638
    แบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา
    ของ พระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโม
    (พระครูญาณวิศิษฐ์) พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
    25 กุมภาพันธ์ 2474

    คำปรารภ
    แบบถึงพระไตรสรณคมน์กับแบบนั่งสมาธิภาวนานี้ ครั้งแรกข้าพเจ้ากับพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.5 ได้เรียบเรียง และพิมพ์ไว้ย่อๆ บัดนี้ได้ขยายเนื้อความให้กว้างขวางขึ้น เพื่อผู้ฟัง ผู้อ่าน และผู้ปฏิบัติตาม ได้เข้าใจง่ายๆ เป็นวิธีปฏิญาตน ถึงพระไตรสรณคมน์แห่งอุบาสก อุบาสิกา และเป็นวิธีไหว้พระโดยย่อๆ

    พระบาลีมีมาในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาปรากฏแจ้งอยู่แล้วว่า สมเด็จพระสัพพัญญูตาบรมครูเจ้า เมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงโปรดพุทธบริษัททั้ง 4 ด้วยวิธีรับรองประชาชนผู้เลื่อมใส ให้ถึงพระไตรสรณคมน์เป็นพุทธบริษัท 4 คือ
    เป็นอุบาสกอย่าง 1
    เป็นอุบาสิกาอย่าง 1
    บรรพชา เป็นสามเณรแล้วอุปสมบท เป็นภิกษุอย่าง 1
    และบรรพชาเป็นสามเณรีแล้วอุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย เป็นภิกษุณีอย่าง 1
    เมื่อมีพุทธบริษัท 4 ครบแล้ว ได้ทรงตั้งพระธรรมวินัย ไว้ในที่เป็นพระบรมครู แล้วจึงทรงเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานล่วงลับไป

    แบบถึงพระไตรสรณคมน์กับแบบนั่งสมาธิภาวนานี้ ได้ขาดความมานานจนเกือบจะไม่มีผู้ประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นอุบาสก อุบาสิกาเสียเลย ถึงแม้มีอยู่บ้างก็เฉพาะเริ่มต้นแห่งการสมาทานศีล 5 ศีล 8 เท่านั้น ไม่ได้นับถือเพื่อปฏิบัติจริงๆ จนประชาชนบางเหล่า กลายเป็นมิจฉาทิฐิ ถือลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก บางพวกถือลัทธิศาสนาผี บางพวกถือลัทธิพราหมณ์ศาสนา บางพวกถือลัทธิศาสนาอื่นๆ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่นับถือพุทธศาสนาทั้งหมด

    ส่วนว่า บุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาจริงๆ ก็มีเฉพาะแต่บุคคลที่ได้ประกาศปฏิญาณตน ถึงพระไตรสรณคมน์ และได้บรรพชาอุปสมบทโดยถูกต้องด้วยพระธรรมวินัยเท่านั้น นอกนั้นเป็นศาสนาอื่นทั้งหมด ไม่ใช่นับถือแต่พระพุทธศาสนาอย่างเดียว

    ข้าพเจ้าก็เคยได้นำประชาชนชาวไทยให้ถึงพระไตรสรณคมน์มาแล้วจำนวนมาก ขาดแต่ยังไม่มีตำรับตำราแบบแผนจำแนกแจกจ่ายให้ศึกษาเล่าเรียน ท่องบ่นจดจำ และประพฤติปฏิบัติตามสืบไป

    อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว ก็ถึงได้แต่เพียงชั้นโลกียสรณคมน์เท่านั้น ไม่ได้ถึงโลกุตรสรณคมน์ ส่วนบุคคลที่จะถึงโลกุตรสรณคมน์นั้น ต้องเป็นผู้ชำนาญในการนั่งสมาธิภาวนา และแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนาก็หาไม่ได้เสียด้วย เป็นการสมควรอย่างยิ่ง จะต้องเรียบเรียงและพิมพ์ไว้ เป็นแบบปฏิบัติสืบไป

    อีกประการที่ 2 ความจนใจของบุคคลผู้ไม่มีสมาธิภาวนา โดยมากย่อมจนใจอยู่ในข้อที่ว่า ทำบุญล้างบาป ก็ล้างไม่ได้ หรือคำว่า ทำบุญแก้บาป ก็แก้ไม่ได้ เมื่อเช่นนี้ บุคคลผู้ที่จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้นจะต้องทำอย่างไรกัน ข้อนี้ตอบได้ง่ายๆ ว่า ต้องนั่งสมาธิภาวนา นอกจากนั่งสมาธิภาวนาแล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นอีกจะพึงแก้ได้ เพราะเหตุว่าการนั่งสมาธิภาวนานี้มีอานิสงส์มาก เป็นวิธีแก้จิตที่เป็นบาปให้กลับเป็นบุญได้ ตลอดแก้จิตที่เป็นโลกีย์ให้เป็นโลกุตรได้ เมื่อแก้จิตให้บริสุทธิ์ดีแล้ว บาปอกุศลก็หลุดหายไปเอง อุทาหรณ์ข้อนี้ พึงเห็นพระองคุลีมาร เป็นตัวอย่าง

    หัวข้อที่ปรารถนาเหล่านี้ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการจำเป็นและสมควรอย่างยิ่งในการเรียบเรียง และการพิมพ์ไว้ในพระพุทธศาสนา เชื่อว่าคงเป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัทที่เป็นนักปฏิบัติตลอดไป

    คุณหา บุญมาไชย์ ปลัดขวาอำเภอพลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้เรียบเรียง แบบถึงพระไตรสรณคมน์และแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา หวังเพื่อประโยชน์แห่งพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดียิ่ง

    พระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโม
    พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
    25 กุมภาพันธ์ 2474

    เรื่องภาวนา
    ภาวนา เป็นชื่อแห่งความเพียร ที่นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ถือเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างดียิ่ง ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งขึ้นไปกว่า

    ที่มาแห่งภาวนา
    ภาวนานี้ มีมาในสัมมัปธาน 4 ประการ คือ
    1. ปหานปธาน เพียรสละบาปอกุศล ให้ขาดจากสันดาน
    2. สังวรปธาน เพียรสำรวมระวังรักษา ไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
    3. ภาวนาปธาน เพียรภาวนา ให้บุญกุศลเกิดขึ้นในสันดาน
    4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมสูญอันตรธาน

    ข้อที่ 3 แห่งสัมมัปธาน ความว่า ภาวนาปธาน เพียรบำเพ็ญบุญกุศลให้เกิดขึ้นในสันดานนี้ เป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งขึ้นไปกว่า พุทธบริษัททั้ง 4 จะเว้นเสียมิได้ จำเป็นต้องบำเพ็ญภาวนาปธานทุกคนตลอดไป จึงเป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร สำเร็จพระอมตมหานครนฤพาน หรือสำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษ บรรลุจตุสัมภิธาญาณแตกฉานในห้องพระไตรปิฏกด้วยการบำเพ็ญภาวนาปธานนี้ทั้งนั้น

    ถ้าไม่ได้บำเพ็ญภาวนาปธานนี้แล้ว ก็ไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร คือไม่สำเร็จพระนิพพานเลยเป็นอันขาด อนึ่ง ภาวนาปธานนี้ เป็นยอดแห่งข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งปวง คือ พุทธบริษัททั้ง 4 เมื่อมีการบำเพ็ญทาน และรักษาศีลให้บริสุทธิ์ดีแล้ว จำเป็นต้องมีการบำเพ็ญภาวนา หรือเหล่าพระภิกษุและสามเณร เมื่อได้บรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว ต้องบำเพ็ญสัมมัปธานทั้ง 4 ประการ มีภาวนาปธานเป็นยอด คือ บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

    คำว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...