OOสัมมาปฏิบัติวิชชาธรรมกายสายตรงจากหลวงปู่สดฯ/เพื่อพ้นทุกข์และส่วนพุทธภูมิOO

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ?????????, 18 มกราคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
    [​IMG]
    ประวัติสังเขป
    พระราชญาณวิสิฐ วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)


    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิปัสสนา สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    [​IMG]







    ชาติภูมิ
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชญาณวิสิฐ ซี่งบรรดาศิษยานุศิษย์รู้จักท่านดี ในนามว่า “หลวงป๋า” เดิมท่านชื่อ เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ณ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของคุณพ่อทองดี และคุณแม่บุญนาค พลพัฒนาฤทธิ์ ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๖ คน
    ใฝ่การศึกษา
    ภายหลังจากที่ท่านสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัยและเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยแล้ว เข้ามาทำงานเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ชั่วระยะเวลา ๒-๓ ปี ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนสำเร็จปริญญาตรีเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ทำงานแล้วได้ศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (เกียรตินิยม “ดี”) ในปี พ.ศ.๒๕๐๘
    ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ท่านได้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร “ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์” จาก Institute of Social Research, The University of Michigan, Ann Arbor สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรการควบคุมระบบงานคอมพิวเตอร์ จัดโดยกองฝึกอบรมสำนักข่าวสารอเมริกัน สำนักงานใหญ่อเมริกา
    การอาชีพก่อนบวช
    ท่านทำงานเป็นพนักงานต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประจำอยู่ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน แห่งสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกรุงเทพฯ ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการวิจัย (Research Specialist)
    แสวงหาสัจจธรรม
    ระหว่างที่ท่านอยู่ที่สำนักข่าวสารอเมริกันนั้น งานในหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่ายวิจัยฯ ทำให้มีความเคร่งเครียดในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงหาเวลาศึกษาและปฏิบัติธรรม ร่วมกับเพื่อนๆ ที่ทำงานอยู่ที่เดียวกัน โดยใช้เวลาพักกลางวัน ปิดประตูห้องทำงาน นั่งสมาธิกันประมาณวันละ ๑๕-๓๐ นาที และไปปฏิบัติธรรมที่วัดธาตุทองได้ ๗ วันก่อนที่จะต้องเดินทางไปอเมริกา
    หลังจากพักอยู่ที่อเมริกาได้ระยะหนึ่ง พอให้สิ่งต่างๆ เข้าที่เข้าทางดีแล้ว ท่านก็เริ่มปฏิบัติภาวนาต่อ ทุกๆ คืนก่อนเข้านอน วันละ ๑ ชั่วโมง มิได้ขาด จนปรากฏผลของสมาธิในระดับหนึ่ง สามารถเห็นภรรยาที่ประเทศไทยกำลังทำงานบ้านอยู่ได้ และได้จดหมายสอบถามดู ก็ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้นจริง
    ศิษย์พบอาจารย์
    จากนั้นมาอาจารย์เสริมชัย โดยการแนะนำของพระอาจารย์ณัฐนันท์ กุลสิริ ได้ฝากตนเข้าเป็นศิษย์ของพระเดชพระคุณพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ทำหน้าที่สืบทอดวิชชาธรรมกาย สืบต่อจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระเดชพระคุณท่านได้ต่อวิชชาธรรมกายชั้นกลาง และชั้นสูงให้กับอาจารย์เสริมชัยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย เวลา ๑๗.๓๐ น. ทันทีที่อาจารย์มงคลบุตรกราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร ได้กล่าวแก่อาจารย์มงคลบุตรเพียงสั้นๆ แต่มีความล้ำลึกว่า “หาตัวมานานแล้ว เพิ่งพบ ดีแล้วที่มา เกือบจะสายไป” คือท่านเห็นด้วยใจมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมาพบตัวจริงในคราวนี้
    เผยแผ่วิชชาธรรมกาย
    เมื่อได้พบของจริงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว ท่านจึงได้จัดตั้งโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย และโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน ขึ้น เพื่อเผยแพร่ธรรมปฏิบัตินี้ ทางสื่อมวลชน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
    ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย และสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพื่อบริหารโครงการทั้งสองนั้น แล้วได้จัดอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระภิกษุสามเณร และสาธุชนทั่วไปในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปัจจุบัน
    อุปสมบท
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับฉายาว่า “ชยมงฺคโล” โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ (สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมคุณาภรณ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ (สมัยดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    ในปี ๒๕๓๔ เมื่อท่านได้บริหารกิจการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เจริญขึ้นแล้ว ก็ได้ดำเนินขั้นตอนมาเป็นลำดับ จนกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาขึ้น ชื่อ “วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)








    ครั้นถึงเวลาอันเหมาะสม เมื่อท่านอุปสมบทได้ ๕ พรรษา อายุได้ ๖๒ ปี ได้ศึกษาภาคปริยัติจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนสำเร็จ เปรียญธรรม ๓ ประโยค และ นักธรรมเอก เป็นพระมหาเปรียญ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔ ท่านจึงได้กราบลาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา <HR align=left color=#008000 SIZE=1 width="80%" noShade>การศึกษาและหน้าที่การงาน

    <CENTER><TABLE border=0 width="70%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๑</TD><TD>สอบได้นักธรรมเอก</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๔</TD><TD>ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
    เป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง
    สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค
    ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม​







    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๕</TD><TD>สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๖</TD><TD>สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค
    ได้รับแต่งตั้งเป็น พระกรรมวาจาจารย์​







    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๗</TD><TD>สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๓๙</TD><TD>ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="18%">พ.ศ. ๒๕๔๐</TD><TD width="82%">ได้รับอาราธนาเป็น กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="18%">พ.ศ. ๒๕๔๑</TD><TD width="82%">ได้รับอาราธนาเป็นวิทยากรบรรยายถวายความรู้พระสังฆาธิการในเขตภาค ๑๕
    เรื่อง “หลักการบริหารวัด และการจัดทำแผนและโครงการ” ​







    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="18%">พ.ศ. ๒๕๔๑</TD><TD width="82%">ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เปรียญ ฝ่ายวิปัสสนา (สป.วิ) ที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พ.ศ. ๒๕๔๗</TD><TD>ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนา (วิ) ที่ พระราชญาณวิสิฐ</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    <HR align=left color=#008000 SIZE=1 width="80%" noShade>
    ผลงานทางวิชาการ








    พระอาจารย์มหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ท่านยังได้แต่งและเรียบเรียงหนังสือต่างๆ เป็นผลงานทาง วิชาการไว้ในพุทธศาสนาอีกมาก เช่น
    • นิพพาน ๓ นัย
    • อริยสัจ ๔
    • ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    • พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย เล่ม ๑ และเล่ม ๒
    • หลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    • ธรรมะคุณภาพเพื่อชีวิต
    • โพธิปักขิยธรรม
    • การบริหารวัด
    • รวมปาฐกถาธรรมเล่ม ๑-๒-๓ ...
    • The Heart of Dhammakaya Meditation
    • ทางมรรคผล นิพพาน
    รวมทั้งมีบทความทางพุทธศาสนาที่ลงในนิตยสารธรรมกายตั้งแต่เล่มที่ ๑ จนถึงปัจจุบัน มีคัสเซ็ทเทปและวิดีโอเทป บันทึกธรรมบรรยาย และคำสอนวิธีปฏิบัติพระกัมมัฏฐานตามแนววิชชาธรรมกาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ผลงานที่ได้รับรางวัล
    รางวัลดีเด่นด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนาภายในประเทศ “เสมาธรรมจักร” พ.ศ.๒๕๓๖ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้รับการคัดเลือกและขึ้นทะเบียนเป็น “อุทยานการศึกษา” พ.ศ.๒๕๓๘
    อุโบสถวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้รับรางวัล “อนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยดีเด่น” พ.ศ.๒๕๓๙ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ได้รับการรางวัลชนะเลิศ “โครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติฯ” ประเภทศาสนสถาน ของกรมป่าไม้ ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๙ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการรางวัลชนะเลิศ “โครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติฯ” และได้รับพระราชทาน เข็มทองคำเครื่องหมายโครงการ จาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑
    <TABLE style="FONT-FAMILY: tahoma; COLOR: #aaaaaa" border=0 width=770 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top>










    </TD><TD vAlign=top>










    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]








    </TD><TD vAlign=top>








    </TD><TD vAlign=top>








    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2010
  2. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
  3. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps51122301.wma[/MUSIC]


    ดูกิเลสในใจเรา ก่อนเจริญอนุปัสสนา
     
  4. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    วัตถุประสงค์ของการบริหารวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    [​IMG]


    1. เพื่อสลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง และเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง (สพฺพทุกฺขนิสฺสรณนิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย)
    2. เพื่อฝึกฝนตนเองและหมู่คณะ คือ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คือ คุณความดีหรือคุณธรรม และความรู้ความสามารถ เหมาะแก่ตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ กล่าวคือ

    • เพื่อให้รับรู้ เรียนรู้ และรอบรู้ พระปริยัตติสัทธรรม พระปฏิบัติสัทธรรม เพื่อให้ได้รับผลเป็นพระปฏิเวธสัทธรรม หรืออย่างน้อยให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติพระสัทธรรมตามสมควร
    • เพื่อให้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นแบบอย่าง (ทิฏฐานุคติ) ที่ดีแก่ผู้อื่น
    • เพื่อให้เป็นที่ตั้งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน สามารถเป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชนได้
    • เพื่อให้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ยืนยาว และมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป
    1. เพื่อให้วัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลคุณความดี เพื่อประโยชน์และความสันติสุขของสาธุชนหมู่ใหญ่ กล่าวคือ

    • เป็นสถานที่ให้การศึกษาอบรมศีลธรรม และภาวนาธรรม เพื่อให้ได้แสงสว่างแห่งธรรมเป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุข ด้วยความสงบกาย วาจา ใจ ด้วยสติสัมปชัญญะ และด้วยปัญญาอันเห็นชอบ
    • เพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี ได้แก่ กุศลพิธี ทานพิธี บุญพิธี เป็นต้น
    • เพื่อให้เป็นอุทยานการศึกษา คือ ศูนย์กลางการศึกษาหาความรู้ทั้งคดีโลกและคดีธรรม ที่จะยังความสว่างคือปัญญา และประโยชน์แก่สาธุชนโดยทั่วไป
    โดยการจัดการให้วัดเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญคุณความดี (ดังกล่าว) และให้เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน คือ ให้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ให้มีความสงบ สะอาด เรียบร้อย ร่มรื่น และจัดการ รักษา ใช้ ศาสนสมบัติต่างๆ ของวัด ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดี กล่าวคือ ให้ใช้ประโยชน์ได้นาน อย่างคุ้มค่าที่ประชาชนเขาถวายให้ด้วยใจศรัทธาในพระรัตนตรัย มิให้เสียหาย หรือเกิดการรั่วไหล
     
  5. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
  6. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    คำอธิษฐานบุญบารมี

    [​IMG]







    <!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]


    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  7. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="WIDTH: 449px; HEIGHT: 158px; COLOR: #666666" width=449><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">ภารา
    หเว ปญฺจกฺขนฺธา

    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห
    </TD><TD width="42%">ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    ” ​


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา
    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย
    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ ๕ นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ ๕ ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ ๕ ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ ๕ ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ ๕ ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ ๕ ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป ๔ คนนั่นแหละต้องหาม ๔ คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง แบกขันธ์ทั้ง ๕ นำขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ ๕ นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก ๔๕๖ ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ ๕ นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ ๕ ที่หนักนั้นไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ ๕ ปล่อยขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้เป็นสุข นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ ๕ เสีย ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้
    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ ๕ ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ ๕ ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ ๕ ถอดขันธ์ ๕ ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร
    </TD><TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร /td>
    <TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ
    </TD><TD width="42%">สาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ ๕ เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้ อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า ๕ ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก ๕ ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น ๑๐ ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ เป็น ๑๕ ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เป็น ๒๐ ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ แล้วเป็น ๒๕ ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น ๓๐ ขันธ์ ดังนี้แหละ บางคนแบก ถึง ๔๐-๕๐-๖๐-๗๐-๘๐-๙๐ บางคนถึง ๑๐๐ ขันธ์ สมภารแบกตั้ง ๑,๐๐๐ ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคลผู้แบกขันธ์ ๕ ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้
    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุข แต่ขันธ์ ๕ จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ๆ ไม่เข้าใจ รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ เป็นรูป ๒๘ ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป ๒๘ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ ๔ โดยย่อ สังขาร ๓ วิญญาณ ๖ เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้ สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ
    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง ๕ นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ ๕ เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ ๕ นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง
    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ ๕ อยากจะได้ขันธ์ ๕ ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น
    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอมปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้
    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ ๕ ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง ๖ อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ
    เขาทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป ๘ กายแล้ว
    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง ๕
    • ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ ๕ กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ ๕ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ ๕ เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ ๕ นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว
    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

     
  8. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    3 กพ. ครบรอบวันมรณภาพ" หลวงปู่สด"


    [​IMG]
     
  9. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว


    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชาขั้นสูงกับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม ) ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายตรงจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ ) และ
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******


    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  10. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เบื้องกลาง




    1 . เคยฝึก เห็นจิตในจิต ( ว่ามีสมาธิหรือไม่มี ) และ

    เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วเจริญ
    ภาวนาสมาธิเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ
    สุข และ เอกกัคคตารมณ์ เพื่อกำจัดนิวรณ์อันเป็นเบื้องต้น
    ของรูปฌาณ หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน

    2. เคยฝึกพิจารณาเห็น " ธาตุ " ละเอียดทั้ง 6
    และ " ธรรม " ( กลาง ขาว ดำ ) และ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด
    ดวง รู้

    และฝึกพิจารณาเห็นกิเลส ( ธรรมภาคขาว และภาคดำ )

    ที่เข้ามาผสมให้สีน้ำเลี้ยงของจิตขุ่นมัวอย่างไรหรือยัง?

    3. เคยฝึกพิจารณา เห็นกายในกาย ในส่วนที่เป็น กายคตาสติ

    เพื่อพิจารณาเห็นส่วนต่างๆของรางกาย (ธาตุหยาบ) ทั้ง ณ ภายใน (ของตนเอง) และภายนอก(คนอื่น) ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่งาม ( อสุภะกรรมฐาน ) หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    4. เคยฝึกพิจารณา เห็นจิตในจิต เป็นทั้ง ณ ภายในและภายนอก กล่าวคือ พิจารณาเห็น " อนุสัยกิเลส" ( ปฏิฆานุสัย ) ในเห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกายโลกียะ
    แล้วพิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เพื่อดับ(อนุสัยกิเลส) สมุทัยแล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็น ตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    5. เคยฝึก ตรวจดูภพ ตรวจจักรวาล ( ดูอรูปพรหม รูปพรหม
    เทพยดา และเปรต สัตว์นรก อสุรกาย ถึงสัตว์ในโลกันตร์ ) เพื่อพิจารณาเห็น ................................ ความปรุงแต่งของสังขารชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร - อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร...............

    ของสัตว์โลกทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ทั้งหลาย

    แ ล้วพิจารณาเข้าสู่ " ไตรลักษณ์ " คือพิจารณาให้เห็นสภาวะของสังขารขันธ์ทั้งหลายในภพสามนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร

    หรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามไม่หมด
    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    ฯล ฯ


    ข้อมูลสำรวจตน ฯ มากกว่านี้จะแจกเพื่อสำรวจสำหรับผู้ไปต่อวิชชาฯ

    ซึ่งยังไม่อาจเปิดเผยมากกว่านี้

    นำมาเปิดเผยบางส่วน เพื่อให้ทราบว่า การเจริญธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย มีเนื้อหาที่เป็นทั้งสมถ-วิปัสสนา

    ..................................เจริญธรรมทุกท่าน..............................<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เด็ก เข้าถึงสมาธิแบบต่างๆ ทำให้มีตามิพย์ หูทิพย์ อายตนะทิพย์ได้ง่าย
    ............... แต่ก็เสื่อมง่าย

    เด็ก มีสติ สัมปชัญญะอ่อน ถูกจูงรู้จูงญาณง่าย
    เมื่อเด็กยังไม่ได้ผ่านการอบรมฝึกฝนสติ-สัมปชัญญะให้กล้าแข็ง
    ด้วยการอบรมสติปัฏฐาน 4
    ถ้าใช้เด็กดูนอกลู่ นอกทางบ่อยเข้า......จิตจะค่อยๆออกศูนย์


    ถูกอกุศล ค่อยๆปนเป็นเข้ามา และธรรมกายที่บริสุทธิ์จะดับไป

    จะเหลือแต่ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา.......พึงระวัง<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    <TABLE target="_blank" hp_header.jpg);? images วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม : สำนักปฏิบัติธรรมและโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหว http:><TBODY><TR height=48><TD height=84></TD><TD align=right>
    <SCRIPT language=JavaScript type=text/JavaScript>var mm0 = new TMainMenu('mm0','horizontal');var pmMenu = new TPopMenu('เว็บเมนู','0','','','menu');var pmHome = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/','');var pmWat = new TPopMenu('วัดหลวงพ่อสดฯ','','','',''); var pmWindex = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/',''); var pmContact = new TPopMenu('ติดต่อวัด','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_contact.php',''); var pmDonate = new TPopMenu('บัญชีรับโอนเงิน','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_donate.php',''); var pmMap = new TPopMenu('แผนที่ไปวัด','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_map.php','');var pmTeacher = new TPopMenu('บุพพาจารย์','','a','http://www.dhammakaya.org/teacher/','');var pmPractice = new TPopMenu('ธรรมปฏิบัติ','','','',''); var pmDhmk = new TPopMenu('ธรรมกาย','','a','http://www.dhammakaya.org/dhmk/',''); var pmVijja = new TPopMenu('วิชชาธรรมกาย','','a','http://www.dhammakaya.org/vijja/',''); var pmMeditate = new TPopMenu('ภาวนาเบื้องต้น','','a','http://www.dhammakaya.org/meditate/',''); var pmDhmq = new TPopMenu('ตอบปัญหาธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/dhmq/',''); var pmExpr = new TPopMenu('ประสบการณ์ผู้ปฏิบัติ','','a','http://www.dhammakaya.org/expr/','');var pmDhamma = new TPopMenu('ธรรมะ','','','',''); var pmDindex = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/',''); var pmTesna = new TPopMenu('ธรรมเทศนา','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/tesna/',''); var pmLecture = new TPopMenu('ปาฐกถาธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/lecture/',''); var pmWma = new TPopMenu('เสียงธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/wma/',''); var pmMedia = new TPopMenu('สื่อธรรม','','','',''); var pmPoem = new TPopMenu('ร้อยคำธรรมกวี','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/poem.php','');var pmNews = new TPopMenu('ข่าว กิจกรรม','','','',''); var pmNewsA = new TPopMenu('ข่าว','','a','http://www.dhammakaya.org/news/',''); var pmActv = new TPopMenu('กิจกรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/activities/',''); var pmInterv = new TPopMenu('สัมภาษณ์','','a','http://www.dhammakaya.org/interview/',''); var pmFeedb = new TPopMenu('เสียงสะท้อน','','a','http://www.dhammakaya.org/news/feedback.php','');var pmSite = new TPopMenu('เว็บ','','','',''); var pmGuestb = new TPopMenu('สมุดเยี่ยม','','a','http://www.dhammakaya.org/guestb/',''); var pmForum = new TPopMenu('เว็บบอร์ด','','a','http://www.dhammakaya.org/forum/',''); var pmDownload = new TPopMenu('ดาวน์โหลด','','a','http://www.dhammakaya.org/download/',''); var pmFaq = new TPopMenu('คำถามที่ถามบ่อย','','a','http://www.dhammakaya.org/site/faq.php',''); var pmContact = new TPopMenu('ติดต่อ','','a','http://www.dhammakaya.org/site/mailform.php',''); var pmEmail = new TPopMenu('Email','','a','mailto:info@dhammakaya.org',''); var pmEmail = new TPopMenu('เว็บภาษาอังกฤษ','','a','http://en.dhammakaya.org/','');mm0.Add(pmMenu);pmMenu.Add(pmHome);pmMenu.Add(pmWat); pmWat.Add(pmWindex); pmWat.Add(pmContact); pmWat.Add(pmDonate); pmWat.Add(pmMap);pmMenu.Add(pmTeacher);pmMenu.Add(pmPractice); pmPractice.Add(pmDhmk); pmPractice.Add(pmVijja); pmPractice.Add(pmMeditate); pmPractice.Add(pmDhmq); pmPractice.Add(pmExpr);pmMenu.Add(pmDhamma); pmDhamma.Add(pmDindex); pmDhamma.Add(pmTesna); pmDhamma.Add(pmLecture); pmDhamma.Add(pmWma); pmDhamma.Add(pmMedia); pmDhamma.Add(pmPoem);pmMenu.Add(pmNews); pmNews.Add(pmNewsA); pmNews.Add(pmActv); pmNews.Add(pmInterv); pmNews.Add(pmFeedb);pmMenu.Add(pmSite); pmSite.Add(pmGuestb); pmSite.Add(pmForum); pmSite.Add(pmDownload); pmSite.Add(pmFaq); pmSite.Add(pmContact); pmSite.Add(pmEmail);mm0.SetPosition('absolute',690,55);if(_browser._name == "Konqueror"){ mm0.SetCorrection(11,10); mm0._pop.SetCorrection(3,-20);}else{ mm0.SetCorrection(1,-1); mm0._pop.SetCorrection(3,0);}mm0.SetCellSpacing(0);mm0.SetItemDimension(80,20);mm0.SetExpandIcon(true,'','6');mm0.SetBackground('#CC66FF','','','');//mm0.SetShadow(true,'#B0B0B0',3);mm0.SetItemText('#CC66CC','right','','','');mm0.SetItemBackground('#FFFFFF','','','');mm0.SetItemBorder(0,'buttonface','solid');mm0.SetItemTextHL('white','center','','','');mm0.SetItemBackgroundHL('','','','');mm0.SetItemBorderHL(0,'black','solid');mm0.SetItemTextClick('#990000','center','','','');mm0.SetItemBackgroundClick('white','','','');mm0.SetItemBorderClick(0,'black','solid');mm0.SetBorder(0,'navy','solid');mm0._pop.SetItemDimension(120,20);mm0._pop.SetPaddings(0);mm0._pop.SetBackground('#FFFFCC','','','');mm0._pop.SetSeparator(150,'right','black','');//mm0._pop.SetExpandIcon(true,'<+>',6);mm0._pop.SetBorder(0,'black','solid');mm0._pop.SetShadow(true,'#AAAAAA',5);mm0._pop.SetDelay(500);mm0._pop.SetItemBorder(0,'','');mm0._pop.SetItemBorderHL(0,'black','solid');mm0._pop.SetItemPaddings(1);mm0._pop.SetItemPaddingsHL(1);mm0._pop.SetItemText('black','','','','');mm0._pop.SetItemTextHL('red','','bold','','');mm0._pop.SetItemBackground('','','','');mm0._pop.SetItemBackgroundHL('#FFCC00','','','');mm0._pop.SetBorderRight(1,'black','solid');mm0._pop.SetBorderBottom(1,'black','solid');mm0.Build();</SCRIPT>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=777 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] ศูนย์กลางกาย
    [​IMG]

    ศูนย์กลางกายของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย มีอะไร

    ที่ศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือของสัตว์โลกทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม นั้น เป็นที่ตั้งของ
    ธรรมชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เองตามธรรมดา เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ ย่อมสามารถรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า “เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง - สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
    [​IMG]
    ลักษณะของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    (ดวงปฐมมรรค)
    <TABLE style="VERTICAL-ALIGN: top" width="37%" border=0><TBODY><TR><TD align=left width="8%"></TD><TD align=left width="60%">
    ๑. ศูนย์ด้านหน้า



    ๒. ศูนย์ด้านขวา


    ๓. ศูนย์ด้านหลัง


    ๔. ศูนย์ด้านซ้าย


    ๕. ศูนย์กลาง


    ๖. ศูนย์กลางของอากาศธาตุ ​

    </TD><TD align=left width="32%">ธาตุน้ำ
    ธาตุดิน
    ธาตุไฟ
    ธาตุลม
    อากาศธาตุ
    วิญญาณธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    สัตว์โลก ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ทิพย์ (เทวดา) พรหม อรูปพรหม นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอยู่ มีลักษณะขาวใสบริสุทธิ์ ตามระดับความบริสุทธิ์ของจิตใจ <DL><DT>ขนาดของดวงธรรม
    เนื่องจากดวงธรรมของสัตว์โลกในระดับโลกิยะ ยังถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่ ดวงธรรมจึงยังไม่ขยายโตเต็มส่วน เต็มที่ ซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมกาย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของธรรมกายนั้นขยายโตเต็มส่วน ปรากฏเห็นอยู่โดยรอบองค์ธรรมกาย เหมือนองค์ธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่

    </DT></DL>
    ธาตุละเอียดทั้ง

    ธาตุละเอียดทั้ง ๖ นั้นก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    • ธาตุละเอียดทั้ง ๖ ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ
      ธาตุน้ำอยู่ด้านหน้า ธาตุดินอยู่ด้านขวา ธาตุไฟอยู่ด้านหลัง ธาตุลมอยู่ด้านซ้าย อากาศธาตุอยู่ตรงกลาง วิญญาณธาตุอยู่ตรงศูนย์กลางอากาศอีกทีหนึ่ง
    • ที่ศูนย์กลางของวิญญาณธาตุนั้น ก็ยังมีธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ และธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด และ ธาตุรู้ ก็ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกันเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในอีก
    • และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และ ดวงรู้ อันเป็นธรรมชาติรวม (๔ อย่าง) ของ “ใจ” ธรรมชาติ ๔ อย่างคือ เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) และ วิญญาณ (ความรู้อารมณ์)
    ก็หมายความว่า กายในกาย ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดกายหยาบกายละเอียดนั้น ต่างก็เป็นกายที่มีชีวิตจิตใจ อีกด้วยนั่นเอง
    ธรรมชาติ ๓ ฝ่าย

    ธาตุทั้ง ๖ นั้น ยังเป็นที่ตั้งของ “ธรรม” คือ ธรรมชาติ ๓ ฝ่าย ได้แก่
    1. ธรรมชาติฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) หรือ ฝ่ายดี ฝ่ายพระ หรือธรรมขาว ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางกาย วาจาและใจ และให้ผลที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข
    2. ธรรมชาติฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) หรือฝ่ายชั่ว ฝ่ายมาร หรือธรรมดำ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มัวหมอง
      ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ประพฤติผิด รู้ผิด คิดผิด เห็นผิด ด้วยกาย วาจา และใจ และให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อน
    3. ธรรมชาติฝ่ายกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว (อัพยากตาธัมมา)
    ธรรมชาติทั้ง ๓ ฝ่ายนี้ต่างคอยเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ฯลฯ อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ ให้ปฏิบัติตามอำนาจของแต่ละฝ่ายนั้น และปรุงแต่งสัตว์นั้นให้ดี เลว ประณีต หยาบ ละเอียด เป็นสุข เป็นทุกข์ ต่างๆ กันไปตามกรรม ตามธรรมชาติแต่ละฝ่ายดังกล่าว ที่ทำหน้าที่เป็นเหตุนำ เหตุหนุน อยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของสัตว์นั้นๆ <TABLE style="COLOR: #6666ff" borderColor=#ccffcc cellSpacing=0 cellPadding=0 width="44%" align=center border=2><COLGROUP><COL align=middle width="33%"><COL bgColor=#b8b8b8 align=middle width="33%"><COL bgColor=#333333 align=middle width="33%"><TBODY><TR><TD>ดี</TD><TD>ไม่ดีไม่ชั่ว</TD><TD>ชั่ว</TD></TR><TR><TD>บุญ</TD><TD>กลางๆ</TD><TD>บาป</TD></TR><TR><TD>กุศล</TD><TD>อัพยากต</TD><TD>อกุศล</TD></TR><TR><TD>ธรรมขาว</TD><TD>ธรรมกลาง</TD><TD>ธรรมดำ</TD></TR><TR><TD>ภาคพระ</TD><TD>ภาคกลางๆ</TD><TD>ภาคมาร</TD></TR></TBODY></TABLE>ภพซ้อนภพ
    1. กายในกาย และธรรมในธรรม ณ ภายใน ที่มีศูนย์กลางกายตรงกัน ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จัดเป็น ภพเป็น ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นปัจจุบันธรรม
    2. ส่วนมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก อันเป็นที่อยู่ ที่รองรับ ของ มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เทวดา พรหม ที่ประกอบด้วยพื้นดิน หิน บ้าง เป็นสถานที่มีวิมานอันเป็นทิพย์บ้าง เป็นต้นนั้น เป็นภพหยาบ เรียกว่า ภพตาย
    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2010
  13. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]

    พระธรรมกาย
    [​IMG]


    “คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย”
    “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้” - พุทธภาษิต
    ธรรมกายคืออะไร
    ธรรมกาย คือ กายในกายที่สุดละเอียดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เป็นกายโลกุตตระ (คือพ้นโลก) พ้นจากกายในกายอันเป็นโลกิยะ (กายมนุษย์หยาบ-ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด)
    ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน ของพระอรหันตสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    พระพุทธลักษณะของธรรมกาย
    ผู้ที่ได้ปฏิบัติภาวนาธรรมจนได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็นและได้เป็น ทุกท่าน ต่างเห็นพระธรรมกายมีพระพุทธลักษณะดังต่อไปนี้

    • ลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมา เกตุดอกบัวตูม
    • ขาวใส บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก
    • ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย
    • ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย
    • ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาว ใส หนาประมาณ ๑ ฝ่ามือของธรรมกาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย อยู่โดยรอบ จึงเห็นเหมือนพระธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่ ซึ่งต่างจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (กายของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)

    (สำหรับผู้ที่กำลังของสมาธิยังไม่มั่นคงพอ หรือความบริสุทธิ์ของใจในขณะนั้นยังไม่ละเอียดดีพอ อาจเห็นมีลักษณะที่คลาดเคลื่อนไปได้ เช่น เห็นพระธรรมกายห่มดองมีผ้ารัดอกด้วย เป็นต้น)
    รัตนบัลลังก์
    ในอายตนะนิพพาน อันเป็นที่ประทับอยู่ของธรรมกายธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่ทรงสภาวะนิพพานนั้น มีทั้งธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ประทับอยู่
    ธรรมกายตรัสรู้ของพระอรหันตสาวกทั้งหลายคงประทับ อยู่บนองค์ฌาน เฉยๆ
    เฉพาะธรรมกายตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ล้วนประทับ อยู่บนรัตนบัลลังก์ อีกทีหนึ่ง ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียด
    แม้จะเป็นธรรมกายเหมือนกัน เป็นกายโลกุตตระเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีหยาบละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ มีประเภทดังนี้
    1. ธรรมกายโคตรภู สำหรับผู้ได้โคตรภูญาณ มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๔ วาครึ่ง
    2. ธรรมกายพระโสดา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๕ วาขึ้นไป
    3. ธรรมกายพระสกทาคา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๐ วาขึ้นไป
    4. ธรรมกายพระอนาคามี มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๕ วาขึ้นไป
    5. ธรรมกายพระอรหัต หรือธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั้น มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมขนาด ๒๐ วาขึ้นไป เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ (ตาย) แล้ว พระนิพพานธาตุอันเป็นอมตธรรมนี้น ย่อมสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพาน เข้านิโรธสงบตลอดกันหมด เป็นบรมสุข
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล
    • ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข
    • ธรรมกายเป็นกายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร)
      จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึงมีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณศูนย์กลางกายของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ ๓ ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญาเป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]

    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ธรรมกาย” เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
    ความอุบัติขึ้นของ "ธรรมกาย" เป็นของยาก
    ความปรากฏขึ้นของ “ธรรมกาย” แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย “พระธรรมกาย” นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน กายพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ
    มีข้อสังเกตว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายชั้นสูงไปจนสุดละเอียด ในท่ามกลางธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (กินความรวมถึงกายอื่นที่หยาบรองลงมาจนสุดกายหยาบคือกายมนุษย์ด้วย) ยังมีกายในกายซ้อนอยู่ต่อไปอีก คือ กาย “พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ” หรือเรียกว่า “จักรพรรดิ” เฉยๆ ซึ่งเป็นกายภาคผู้เลี้ยง และเป็นประธานของรัตนะ ๗ และกายสิทธิ์ทั้งหลาย มีลักษณะเหมือนพระธรรมกายโดยทั่วไป แต่ “ทรงเครื่อง” เหมือนพระทรงเครื่อง (อย่างเช่น พระแก้วมรกตทรงเครื่อง) ขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนักอีกเช่นกัน
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  14. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (1)​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย)
    พระพุทธศาสนานั้น ใช่ว่าเราจะใช้สมองตรึกนึกตรองข้อธรรมต่างๆ แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมนั้นๆ สมาธิขั้นสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อใจสงบระงับมีกำลังจึงยกภูมิสูงขึ้นสู่ภาควิปัสสนา ภาควิปัสสนานั้นเราต้องมีรู้ญาณหรือมีญาณทัสสนะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่อง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ ใช่ว่าเราจะใช้สมองคิดตรึกตรองแล้วจะเข้าใจสภาวธรรมเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นจริงๆ ให้เกิดเป็นอธิจิต อธิปัญญา รู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ​
    เวลาฝึกสมาธินั้นหลายท่านบอกว่าเราฝึกสมถะจนจิตสงบ พอออกจากสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาคิดพิจารณาข้อธรรมต่างๆ แล้วเป็นวิปัสสนาได้หรือไม่ ชื่อว่าไม่ได้แน่นอน เพราะขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาต้องต่อเนื่องกันไปในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ เช่น เราต้องการพิจารณาขันธ์ ๕ เมื่อปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นจนจิตสงบแล้วต่อไปก็ยกภูมิขึ้นสู่วิปัสสนา รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ รู้ญาณชนิดนี้เป็นรู้ญาณละเอียดขั้นอธิจิต อธิปัญญา จึงมีตาวิเศษ รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพียงแต่ว่าใจเราละเอียดอยู่ในระดับใด ถ้าละเอียดอยู่ในขั้นโลกีย์ก็ไม่สามารถรู้เห็นสภาพธรรมชั้นสูงในภาคโลกุตระได้ เพราะชั้นโลกีย์เราจะมีคุณธรรมคือ ระดับจิตได้แค่ มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ซึ่งทั้ง ๔ ระดับนี้ พิจารณาได้แต่ธรรมแบบโลกีย์ เช่น มนุษยธรรมได้แก่ใจระดับที่มีหิริโอตตัปปะ เทวธรรมคือใจที่มีศีลห้าธรรมห้า(กุศลกรรมบถ ๑๐) พรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จฌานโลกีย์ ๔ ระดับ หรืออย่างหยาบต้องมีพรหมวิหารธรรม ๔ อรูปพรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จอรูปฌาน ๔ นี่คือรู้ส่วนเห็นนั้น ตาหยาบก็เห็นของหยาบ ตาละเอียดก็เห็นของละเอียด เหมือนนักวิจัยใช้กล้องส่องดูอนุภาคเล็กๆ ถ้ากล้องมีกำลังขยายสูงเราก็เห็นได้ละเอียด
    ตามนุษย์เรียกว่ามังสะจักษุ ตาเทวดา(ทิพย์)เรียกทิพจักษุ ตาพรหมเรียกว่าปัญญาจักษุ ตาอรูปพรหมเรียกว่าสมันตจักษุ ตาระดับโลกุตรภูมิเรียกว่าพุทธจักษุ
    เข้าถึงภูมิระดับใดใจก็มีตาระดับนั้น รู้เห็นได้ละเอียดกว่ากันเป็นชั้นๆ รู้และเห็นธรรมต่างๆ ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรมได้เป็นชั้นๆ ไป ตามแต่ภูมิธรรมที่เข้าถึง เมื่อใจละเอียดมีอย่างนี้แล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ว่า มีใจที่ใดต้องมีกายครองที่นั่น ก็กายกับใจเป็นของคู่กัน เหมือนรูปกับนามเป็นของคู่กัน เมื่อมีรูปย่อมมีนาม เมื่อมีนามย่อมมีรูป เมื่อใจมีกายก็ต้องมารองรับ ใจละเอียดกายก็ละเอียด ใจหยาบกายก็หยาบ ใจหยาบช้าทำแต่กรรมชั่ว กายที่มารองรับก็อัปลักษณ์น่าเกลียดอย่างเช่น สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และพวกสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ นี่เพราะใจหยาบช้ากายก็หยาบช้า ถ้าใจละเอียดกายก็ละเอียดเป็นเครื่องรองรับกันเสมอ เช่น ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เมื่อใจเรางามกายที่งามสมกับใจก็มารองรับซึ่งกันและกัน ตรงนี้เป็นผังสำเร็จ เป็นผังชีวิตที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องกายกับใจเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ง่ายเข้า
    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายละเอียดต่างๆ นั้นมิได้หมายเรื่องนิมิตหรือเห็นอะไรสักแต่เป็นนิมิต แต่นี้เป็นผังชีวิตของจริงที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านได้รู้ได้เห็น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนเข้าถึงจึงจะหมดข้อสงสัย เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึกเกินวิสัยแห่งปุถุชนที่จะคาดเดาเอาเองได้ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัสสนะอันละเอียดจึงจะเข้าใจ ที่พระองค์ไม่ทรงตรัสไว้โดยละเอียดเพราะเนื้อแท้แล้วพระองค์ต้องการให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเองดีที่สุด พระองค์จึงตรัสบอกแต่วิธีการเข้าถึง เช่น ให้ปฏิบัติตามกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี หรือแบบอานาปานัสติ หรือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด เข้าถึงได้แล้วจะเข้าใจแหมดข้อกังขาเอง
    ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย ใจละเอียดมีตาละเอียด ตาละเอียดมีญาณทัสสนะที่ละเอียด รู้ได้เห็นได้อย่างละเอียดถึงรูปแบบและขบวนการของสภาวธรรมในระดับวิปัสสนาได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ หรือธรรมขั้นโลกุตรใดๆ ก็รู้เห็นได้หมด เพียงขอให้เข้าถึงใจละเอียดเป็นอธิจิต อธิปัญญาเถิด แต่พิจารณาอย่างเดียวไม่พอต้องทำการสะสางธาตุธรรมภายในให้หมดกิเลสเป็นชั้นๆ ได้ด้วย เพระกิเลสอวิชชาเขาก็มีเป็นชั้นๆ ซ้อนอยู่ในกายและใจของเราที่เป็นชั้นๆ อยู่ ด้วยเหมือนกัน ชำระสะสางกิเลสให้หมดจากจิตใจได้จึงเชื่อได้ว่าหลุดพ้นจริง หมดภพหมดชาติ หมดการเวียนว่ายตายเกิดจริง
    ถ้าเรารู้จักกายมนุษย์หยาบกายนี้กายเดียวไม่มีทางกำจัดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ ได้ เพราะกิเลสระดับละเอียดเขามีอยู่ เขาก็อยู่ในชั้นละเอียดเข้าไป กายและใจมนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้ ต้องใช้รู้ญาณทัสสนะที่ละเอียดเข้าไปจึงจะทำลายกิเลสให้หมดจนสุดหยาบสุดละเอียด
    หลวงพ่อวัดปากน้ำมีวิริยคติที่ว่า “บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น เราก็ยังไม่รู้เห็น สมควรที่เราจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง” ในที่สุดหลวงพ่อเข้าถึงกายละเอียใจละเอียดเป็นชั้นๆ ซึ่งมีกายและใจละเอียดถึง ๑๘ ชั้น (วิชา ๑๘ กาย) จึงได้รู้เห็นผังของจริง เมื่อเรารู้เห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป ต่อไปงานสะสางธาตุธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไปจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ทำได้ นี้จึงชื่อว่าเป็นเหตุเป็นผลรองรับกัน ฉะนั้นเราเข้าถึง กายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม กายธรรม ทั้งหลายและละเอียด ก็คือเรามีหนทาง(มรรควิธี)แห่งการกำจัดกิเลสอวิชชาเป็นชั้นๆ เข้าไป ตามที่กล่าวมาแล้วส่วนขั้นปฏิบัติจริงจังนั้นจะต้องว่ากันโดยละเอียดต่อไป...
    <!-- google_ad_section_end -->__________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  15. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (2)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (ต่อ)
    พระพุทธเจ้า สอนให้เราละกิเลส สอนให้เราละสังโยชน์ แปลว่า อย่าไปเพิ่มกิเลสให้มากขึ้น ของเก่าเรายังทำให้หลุดไปไม่ได้ อย่าไปเพิ่มพูนขึ้นใหม่อีกเลย

    ท่านทราบแต่ว่า กายมนุษย์ คือตัวท่าน ยังมีกิเลส เราเจริญภาวนารักษาศีลกันอย่างทุกวันนี้ เป็นการไม่เพิ่มพูนกิเลสใหม่เท่านั้น ส่วน “ของเก่า” คือกิเลสเดิมที่นอนเนื่องอยู่ใน “ใจ” นั้นมีอะไรบ้าง
    และกิเลสที่อยู่ในกายละเอียดของท่าน ท่านเข้าไปสืบทราบแล้วหรือยัง การจะไปดูกิเลสในกายละเอียดอื่นๆ ถ้าดูด้วยตามนุษย์ไม่เห็น จะต้องทำ “ธรรมกาย” เป็น และใช้รู้ใช้ญาณธรรมกายตรวจจึงจะเห็นได้ รู้ได้
    ฝ่ายอวิชชาได้เอากิเลสต่างๆ ตรึงติด “ใจ” ของสัตว์โลกไว้ ดังนี้
    ๑.กายมนุษย์ และกายมนุษย์ละเอียด(กายฝัน)
    อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
    ๒.กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด
    โลภะ โทสะ โมหะ
    ๓.กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด
    ราคะ โทสะ โมหะ
    ๔.กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด
    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
    ๕.ธรรมกายโคตรภูหยาบ ธรรมกายโคตรภูละเอียด
    สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา
    ๖.ธรรมกายพระโสดาหยาบ ธรรมกายพระโสดาละเอียด
    ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด
    กามราคะ ปฏิฆะ
    ๗.ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด
    รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    ๘.ธรรมกายพระอรหัตต์หยาบ ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด
    ไม่มีกิเลสใดเจือปน
    ข้อคิดเรื่องการสะสางกิเลส
    ๑. กายของท่าน ๑๘ กาย
    - ท่านเห็นได้กี่กาย
    - กายมนุษย์ คือ ตัวตนของท่าน ท่านเห็นอยู่แล้ว ถึงไม่บรรลุธรรมอะไร ก็เห็นกันอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร
    - กายฝันเป็นกายละเอียดต่อจากมนุษย์ มีกี่ท่านได้เห็นอย่างถูกวิธี ถ้าเห็นกายฝันเมื่อนอนหลับ ก็ได้เห็นกันทุกคนเพราะทุกคนเคยฝัน แต่ถ้าเห็นในขณะที่เรา “ไม่หลับ” คือ เห็นในขณะที่เราปฏิบัติธรรมมีใครบ้างที่ได้เห็น
    ถ้าถามว่า ใครเห็นกายฝันอยู่ในดวงวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง อันเป็นการเห็นที่ถูกวิธี คงไม่มีใครเห็นเลย เว้นแต่ท่านที่ฝึกวิชชาธรรมกายเท่านั้น เมื่อไม่เห็นกายฝัน กายที่ละเอียดต่อจากนั้นไปเป็นอันไม่ต้องพูดถึง

    ๒.กายของเรา ๑๘ กาย ไม่มีกิเลส เพียง ๒ กาย
    - ท่านจะเห็นว่า กายของเรามี ๑๘ กาย ไม่มีกิเลสเพียง ๒ กายเท่านั้น คือธรรมกายพระอรหัตต์หยาบและธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด นอกนั้นมีกิเลสทุกกาย แต่ละกายมีชื่อกิเลสต่างกันออกไป ตั้งแต่กิเลสหยาบไปถึงกิเลสขั้นละเอียด ตามหลักฐานดังกล่าวนั้น
    - เพียงทำให้เห็นธรรมกาย ก็ยากแทบจะล้มประดาตายแล้ว เรายังต้องศึกษาความรู้สะสางกิเลสอีก ซึ่งงานสะสางกิเลสไม่ใช่งานที่ทำง่ายเลย

    วิธีทำกิเลสให้หมดหรือเรียกว่าการสะสางกิเลส
    - เราทราบแล้วว่า เรามีกิเลสหรืออวิชชาห่อหุ้ม “ใจ” ของเราอยู่ทุกกาย เป็นผลให้เราอยู่ในภาวะแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จบ ไม่รู้สิ้น เพราะอานุภาพของกิเลสนั้นๆ
    - หน้าที่เรา ก็ต้องแก้ไขตัวเอง จะทำอย่างไรกิเลสและอวิชชาเหล่านั้น จึงจะหมดและสูญหายไปจากใจเรา
    ในเรื่องนี้ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้แสดงไว้
    ในหนังสือ “ธรรมกาย” พิมพ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๙ ที่โรงพิมพ์ไทยพาณิชยการ สีลมพระนคร เป็นหนังสือบรรณาการงานกฐินพระราชทาน วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๙๙
    ลิขสิทธิ์เรื่อง “ธรรมกาย” ของหนังสือนี้ เป็นของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ตั้งแต่หน้า ๑๐๓ ถึงหน้า ๑๒๙ ท่านได้แสดงวิธีทำให้กิเลสหมด กิเลสสูญ คือ
    อาราธนาธรรมกายพระอรหัตต์ในท้องของท่าน มาเดินสมาบัติเป็นอนุโลมปฏิโลม ๗ เที่ยว และดูอริยสัจ ๔ ที่ดวงธรรมของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งกายหยาบและกายละเอียด

    ๑. การดูอริยสัจ ๔ ดูเฉพาะกายโลกีย์ คือกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งกายหยาบและกายละเอียด
    อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ทุกข์ มี ๔ ดวง ดวงเกิดเป็นดวงใส แปลว่าทุกข์ไม่จริง ดวงแก่สีน้ำตาลจนคล้ำ ถ้าดวงนี้โตมาก กายมนุษย์ก็ชรามาก ดวงเจ็บเป็นดวงดำ ถ้าดวงโตแปลว่าป่วยมาก ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงนี้ถ้ามาจรดขั้วหัวต่อกายเมื่อไร ทำให้ขั้วหัวต่อกายขาดจากกัน เราจะตายทันที

    สมุทัย เป็นดวงดำ ๓ ดวงซ้อนกัน ดวงในประดุจนิล ดวงนอกดำเรื่อๆ สมุทัยนี้เป็นเหตุ ส่วนทุกข์คือความทุกข์ร้อนที่เรารู้สึกเป็นผล

    นิโรธ เป็นดวงใสสว่างโชติ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ วาขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงแค่ไหน ก็เป็นเกณฑ์ของธรรมกายนั้น เช่นธรรมกายโคตรภู ดูอริยสัจ ๔ ของกายมนุษย์ ดูทุกข์เสร็จแล้วมาดูสมุทัย พอดูสมุทัยเสร็จ เกิดดวงนิโรธ เป็นดวงใสสว่างโชติ เส้นผ่านศูนย์กลางของดวง วัดได้ ๕ วา ขณะนั้นดวงทุกข์ดับ ดวงสมุทัยดับ จึงว่า “นิโรธ เป็นผู้ดับทุกข์และดับสมุทัย”
    พอนิ่งไปกลางดวงนิโรธ เกิดธรรมกายพระโสดาขึ้นทันที (หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม)

    มรรค แปลว่าทางเดิน ได้แก่ดวงธรรมในท้องธรรมกาย ๖ ดวง ดวงธรรมเหล่านี้ เป็นทางเดินให้แก่กาย คือ กายธรรม อย่างเช่น กายธรรมพระโสดาจะไปหาพระสกิทาคามี ก็ต้องผ่านดวงธรรมในท้องของพระองค์ ๖ ดวง จึงจะถึงพระสกิทาคามี เป็นต้น
    ๒. จากนั้นอาราธนาธรรมกายพระโสดา ดูอริยสัจ ๔ ของกายทิพย์ ตามแนวที่กล่าวแล้ว พอเกิดดวงนิโรธ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงนิโรธได้ ๑๐ วา เกิดกายธรรมพระสกิทาคามี พระสกิทาคามีดูอริยสัจ ๔ ให้กายรูปพรหม เกิดดวงนิโรธเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ วา เกิดธรรมกายพระอนาคามี ธรรมกายพระอนาคามีดูอริยสัจ ๔ ให้แก่กายอรูปพรหม เกิดดวงนิโรธ เสั้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา เกิดธรรมกายพระอรหัตต์ ธรรมกายพระอรหัตต์เดินสมาบัติในธรรมกายโคตรภูเรื่อยไป
    ๓. การดูอริยสัจ ๔ ดูได้เฉพาะกายโลกีย์ ในกายธรรมไม่มีอริยสัจ ๔ ธรรมกายใหญ่เพียงเดินสมาบัติในธรรมกายเล็ก เพื่อให้กิเลสละเอียดในธรรมกายเล็กหมดไป สูญไป
    ๔. การเดินสมาบัติของธรรมกาย ได้แก่การเอาแผ่นใสที่รองรับของธรรมกายมาซ้อนกัน มาสับกัน เป็นผลให้กายใส ดวงธรรมก็ใสยิ่งขึ้น แผ่นใสนั้นก็คือ ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นใสกลมรอบตัว หนาคืบหนึ่ง
    จะเดินสมาบัติให้กายใด ก็ขยายดวงธรรมของกายนั้นให้ใหญ่กำหนดให้ถูกเอกายนมรรค คือ “กลาง” ตรงจุดใสเท่าปลายเข็ม พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่าง ก็จะเห็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของกาย ซึ่งดวงทั้ง ๔ ซ้อนกันอยู่ จะเห็นกิเลสซ้อนกันอยู่ในดวงทั้ง ๔ นั้น เมื่อธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียดเดินสมาบัติ เป็นอนุโลม (เดินหน้า) และปฏิโลม (ถอยหลัง) แล้ว กิเลสเหล่านั้น จะหมดและสูญไป แต่ต้องขยันทำ หากทำบ้างไม่ทำบ้าง กิเลสก็เพียงเบาบางไป ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ใช้เครื่องกำจัด เห็นว่ายากไปจึงไม่นำมาแสดงไว้ ไม่มั่นใจว่าท่านผู้ศึกษาจะเข้าใจได้แค่ไหน แต่ถ้าไปรับการฝึกจากวิปัสสนาจารย์ ท่านจะเข้าใจและทำได้ ไม่ยากอะไร
    หลักมีอยู่ว่า กายของเราทุกกาย ทั้งกายหยาบและกายละเอียด มีกิเลสเกือบทุกกาย
    เราเข้าถึงกายละเอียดของเราได้กี่กาย
    กายเหล่านั้น มีกิเลสอะไรบ้าง
    ท่านเข้าไปทำลายกิเลสในกายเหล่านั้นแล้วหรือยัง
    </OBJECT></LAYER>
     
  16. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (3)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>การเรียนวิชชาธรรมกาย ไม่ทำให้งมเข็มในมหาสมุทร
    - มีกฎเกณฑ์การปฏิบัติ ทำสิ่งนี้ได้แล้วต่อไปจะทำอะไร ออกจากจุดนี้แล้ว ต่อไปจะไปจุดไหน จุดไหนให้ทำอย่างไร และทำอย่างไร ทำให้ได้อะไร มีลำดับ มีขั้นตอน มีวิธีการ มีปฏิบัติการ มีแนวปฏิบัติชัดเจน

    อย่างเช่น บริกรรมจนเห็นดวงธรรมแล้ว ดำเนินดวงธรรมให้ครบ ๖ ดวง จะไปเห็นกายฝัน กายฝันทำดวงธรรม ๖ ดวง จะไปถึงกายทิพย์หยาบ…..ธรรมกาย…..ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด เป็นต้น
    ไม่เป็นการงมเข็มในมหาสมุทร และเมื่อทำวิชชาเบื้องต้นเป็นแล้ว ก็ต้องเรียนวิชชาชั้นสูงต่อไป เป็นบท เป็นสูตร ต่อไปไม่มีจบสิ้น แต่จะทำได้มากหรือน้อย ขึ้นกับความตั้งใจจริง ของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ แปลว่าใจของท่านมีงานทำเป็นขั้นเป็นตอน ต่อกันเป็นลูกโซ่
    ท่านมีโอกาสได้เลื่อนชั้น ไม่ใช่นั่งบริกรรมกำหนดกันอยู่ทั้งปีทั้งชาติ โดยไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรกันเลย จะได้อะไร จะถึงอะไร เกจิอาจารย์ก็ไม่แจ้ง ได้แต่บอกว่าทางสำเร็จ จะหมดกิเลส ถ้าพบตำรับนี้ พบเกจิอาจารย์อย่างนี้ ผู้เรียนจะเกิดความเบื่อหน่าย
    ท่านจะพบว่า มีแต่งมเข็มในมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ มีแต่บริกรรมกันชั่วนาตาปี เมื่อไรก็เมื่อนั้น เลื่อนชั้นไม่ได้สักที เมื่อไรก็อยู่แต่ชั้นบริกรรมอยู่อย่างนั้น มีอาจารย์เก่งคนเดียว ลูกศิษย์ไม่เก่งเท่าท่าน จะพบเห็นแต่อย่างที่ว่านี้ แทบทั้งนั้น
    แต่การเรียนกัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย จะต้องแบ่งผู้เรียนเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นบริกรรม หมายความว่ายังทำปฐมมรรคไม่ได้ ถ้าทำได้แล้วจะเลื่อนไปเรียนวิชชาเบื้องต้น คือชั้นทำวิชชา ๑๘ กาย เมื่อทำวิชชา ๑๘ กายได้แล้ว ต้องเลื่อนไปเรียนวิชชาชั้นสูง แปลว่า ต้องมีวิทยากรอย่างน้อย ๓ คน จึงจะสู้งานนี้ได้
    แสดงว่ากัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย ท่านไม่มีโอกาสงมเข็มในมหาสมุทร ท่านมีโอกาสเลื่อนชั้น ท่านมีโอกาสได้เห็น “ธรรมกาย” เว้นแต่ท่านเกียจคร้านไม่ทำจริง และถ้าท่านไม่เอาจริง ท่านก็อยู่ชั้นบริกรรมเหมือนกัน เป็นที่น่ายินดี เรียนวันนี้ ทำธรรมกายเป็นวันนี้ ได้เรียนวิชชาชั้นสูงในเวลาไม่นาน กลับทำได้เก่งกว่าอาจารย์ ปฏิบัติได้เชี่ยวชาญกว่าอาจารย์ มีรู้ญาณแม่นกว่า ตัวอย่างนี้มีไม่น้อยเลย แปลว่าไม่ใช่อาจารย์เก่งคนเดียว วิเศษอยู่คนเดียว ศิษย์เก่งกว่าอาจารย์ มีตัวอย่างมาแล้ว เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเขาเอาจริง เขาทราบแนวทาง เขาทราบทางเดิน วิชชาธรรมกายเป็นสากล ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับชั้น ใครขยันมาก ก็ได้มาก
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นที่พึ่งได้ ไม่ใช่การสร้างวิมานในอากาศ เรียนวันนี้ทำเป็นวันนี้ รุ่งขึ้นก็ใช้ความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที ไม่ต้องรอไปถึงเมื่อโน้นเมื่อนี้ ไม่ต้องรอผลเอาชาติหน้า เอาผลเดี๋ยวนี้ อย่างสด ๆ ร้อน ๆ กันทีเดียว
    ท่านอยากเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะเคยแต่รู้สึก เหมือนหนึ่งเกิดอารมณ์ฌาณขึ้นแก่ใจ แต่ยังไม่เคยเห็นหน้าตา เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน พึ่งตำรา ตำราก็เขียนไว้สั้นๆ แล้วจะให้ท่านแจ้งอะไรได้
    เรื่องยากทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ อันได้แก่ บาป บุญ อริยสัจ ๔ ฌาน นรก สวรรค์ นิพพาน และอะไรต่อมิอะไร อันเป็นเรื่องยาก และเร้นลับ มันก็จะยากและลี้ลับต่อไป แต่ถ้าเราเรียนธรรมกายให้แก่กล้า เราก็จะเห็นและเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ แต่การเห็นและเข้าใจนั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงแห่งการเรียนเป็นสำคัญ เพราะธรรมกายมีต้น มีกลาง มีปลาย มีอ่อน มีแก่ มีหยาบ มีละเอียด
    ตายแล้วสูญหรือตายแล้วเกิด ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ อันเป็นเรื่องที่นักปราชญ์ถกเถียงกันมานานแล้ว เรื่องนี้จะยุติเมื่อท่านเป็นธรรมกายระดับแก่กล้าแล้ว ขอแต่ว่าทำธรรมกายให้เป็นและให้แก่กล้าเท่านั้น ถ้าเราไม่เป็นธรรมกาย เราก็ขาดเครื่องมือค้นคว้า ต่างก็แสดงความเห็นอัตโนมัติกันทั้งนั้น ไม่เป็นประโยชน์อะไร
    วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้เรียนมากมาย
    วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้ท่านเรียนมากมาย ตามรายชื่อหนังสือที่จะได้กล่าวต่อไป ทั้งความรู้สมถะ (โลกิยะ) ความรู้วิปัสสนา (โลกุตระ) ครบถ้วน
    ท่านที่เป็นเด็กเล็ก นักเรียน ก็มีหลักสูตรให้เรียนพอควรแก่วัยและหน้าที่
    ท่านที่เป็นนักศึกษาเป็นนักค้นคว้าทดลอง ก็มีหลักสูตรให้เรียนตามสมควรแก่หน้าที่และเวลา
    ท่านที่เป็นผู้ครองเรือน ประกอบธุรกิจการค้า มีหลักสูตรให้เรียนตามความเหมาะสม แก่ผู้มีอาชีพนั้น
    ท่านที่เป็นข้าราชการ นักบริหาร มีหลักสูตรให้เรียนตามความรู้และความสามารถของท่าน
    ท่านพุทธบริษัทที่ต้องการบรรลุ โพธิญาณ และเรียนความรู้ขั้นปรมัตถ์ ระดับปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชชาธรรมกายระดับสูง ก็มีหลักสูตรให้เรียน อย่างครบครัน
    บัดนี้ มีผู้รู้ให้ความรู้แก่ท่านทุกหลักสูตรทุกระดับชั้น อย่างนี้แล้วคงเป็นที่พอใจท่าน ยังอยู่แต่เรา เราพร้อมที่จะเรียนหรือไม่ เราจะเอาจริงหรือไม่ วิปัสสนาจารย์พร้อมที่จะช่วยท่านอยู่แล้ว
    น่าเสียดายท่านที่มีกำลังวังชาดี อายุยังหนุ่มยังแน่น ปรารถนาบรรลุวิชชาวิเศษของพุทธศาสนา อ่านตำราแล้วได้แต่อยาก แต่ได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขาไปในเรื่องไร้สาระ ถ้าได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขาได้ใช้พลังใจอันเข้มแข็งของเขา ไปในเรื่องฝึกและปฏิบัติให้ถูกทาง เขาเหล่านั้นก็จะเป็นกำลังอันสำคัญของพระศาสนา
    </OBJECT></LAYER>
    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT>
     
  17. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ....อย่าลืม 3 กุมภาพันธ์ วันคล้ายการมรณะภาพ หลวงปู่สด...



    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO


    ....ที่มาของหลวงปู่สด...ยากที่ใครจะรู้









    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>ผู้สำเร็จธรรม ในฝ่ายบุญภาคปราบล้วนทั้งลับและเปิดเผย ลงมาทำหน้าที่ในสมัยศาสนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธโคดม


    ตั้งปรารถนาจิตว่า "ข้าพเจ้าจะเป็นทนายแก้ต่างให้ศาสนาพระโคดม" ได้รับโองการจากผู้เป็นใหญ่จากธรรมภาคขาว ลงจุติยังโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญในยุคก่อนกึ่งพุทธกาล

    งานที่ได้รับมอบหมายก็คือ
    1. ประกาศวิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นพระสัทธรรม ดั้งเดิมของพระบรมศาสดาทั้งส่วนของ
    พระอริยสาวก และส่วนของพระโพธิสัตว์
    2. แก้ไขภัยพิบัติต่าง ๆ ของโลก และของสัตว์โลก
    3. รักษาสืบทอดอายุพระศาสนา ปลดเปลื้องสัตว์โลก ให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม บ่วงมาร
    และวัฏสงสาร

    **********************************************************

    ในส่วนมรรคผลนิพพาน แห่ง อริยะสาวก ในตัววิชชาธรรมกายก็มีอยู่

    คือ สติปัฏฐาน4 ,อริยสัจจสี่,นิวรณ์5,อายตนะ 12,ปฏิจจสมุปปบาท 12
    ธาตุ 18 ฯลฯ
    พึงเจริญตามกำลังแห่งอิทธิบาท4 ของแต่ละท่านเถิด
    เป็นวิชชา 3 ,ไปจนถึงอภิญญา 6

    ----------------------

    ในส่วนการบำเพ็ญโพธิสัตว์บารมีก็มีอยู่ เป็นวิชชาเพื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า บารมีแก่ๆแบบต้นนิพพานนั้นมีอยู่

    -----------------------------------

    เลือกตามอัธยาศัยเทอญ สาธุชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2010
  18. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]


    ..........อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้

    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงควา
    มโง่กับครูบาอาจารย์์.........


    [b-wai][b-wai][b-wai]

    ขอขอบคุณคุณสอาด(http://konmeungbua.com/webboard/aspb....asp?GID=19058) ,เวบพระรัตนตรัย(http://praruttanatri.com/v1/special/...en/story06.htm) และทุกๆท่านที่ทำให้เราได้อ่านเรื่องดีๆในครั้งนี้ โมทนาครับ<!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  19. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต
    ๑ ตุลาคม ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)

    <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="24%"></TD><TD width="33%">ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา</TD><TD width="43%">จตุธา ปรมตฺถโต </TD></TR><TR><TD width="24%"></TD><TD width="33%">จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ </TD><TD width="43%">นิพฺพานมิติ สพฺพถา ติ</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    “ ​
    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา "​
     
  20. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า
    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน, ๔ ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส
    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง
    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป
    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๕๒ ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔, อุปาทายรูป ๒๔ รวมเป็น ๒๘ นิพพานแยกออกไปเป็น ๓ คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น ๓ ดังนี้
    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต ๘๙ ดวง หรือจิต ๑๒๑ ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง กามาวจรจิต ๒๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง นี่เป็นจิต ๘๙ ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๑๘ กับ ๑๒ รวมกันเป็น ๓๐ กามาวจร ๒๔ รวมกันเข้าเป็น ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ รวมกันเข้าเป็น ๖๙ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ รวมกันเข้า เป็น ๘๑ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง รวมเข้าเป็น ๘๙ ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ คงเหลือจิต ๘๑ ดวง จิต ๘๙ ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง ๕ ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง ๕ นั้น ฌานละ ๘ ดวง คูณกับ ๕ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๑ ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มาบวกกันเข้า ๘ ก็รวมเป็นจิต ๑๒๑ ก็จิต ๘๑ ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง ๘ ดวง ก็เป็นจิต ๘๙ ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕ ก็เป็น ๑๒๑ ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน
    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี
    ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก โลภมูล ความโลภ มี ๘ ดวง โทสมูล ความโกรธมี ๒ ดวง โมหมูล ความหลงมี ๒ ดวง ๘ กับ ๔ รวมเป็น ๑๒ ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง ๑๒ ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น ๘ ดวง
    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง ๑
    2. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง ๑
    3. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง ๑ นี้ดวงที่ ๓
    4. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง ๑ รวมเป็น ๔ ดวง
    5. จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๕
    6. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๖
    7. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง ๑ เป็น ๗ ดวง
    8. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็น ๘ ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง ๘ ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น ๒ ดวง
    1. จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง ๑
    2. จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตหลง ก็มี ๒ ดวง
    1. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง ๑
    2. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง ๑
    รวมเป็น ๑๒ ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง
    จิตดวงที่ ๑ ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ ๑๐ ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ ๑๐๐ ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง
    ดวงที่ ๒ ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้
    ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ ๓
    ดวงที่ ๔ ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ ๔
    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น ๘ ดวง
    ดวงที่ ๕ จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ ๕
    ดวงที่ ๖ จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ ๖
    ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ ๗
    ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ ๘
    จิต ๔ ดวงก่อนกับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต ๘ ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ
    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี ๒ ดวง
    จิตโทสะดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง
    จิตโทสะดวงที่ ๒ มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น
    จิต ๒ ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง ๑ เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง ๑ จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ
    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี ๒ ดวง
    จิตหลงดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลงดวงที่ ๒ อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลง ๒ ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป
    นี้จิต ๑๒ ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต ๑๒ ดวงนี่แหละ
    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง ๑๒ ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน ๔ อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน ๔ อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด
    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    จบเทศนา โดยหลวงปู่สดฯ เรื่อง พระปรมัตถปิฎก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...