กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    คราวนี้สมมุติว่าจ้างคนงานในไทย ค่าแรงคนงานกะละ 300.- บาท วันละ 3 กะ ( แต่ความจริงมีการจ้าง 12 ชั่วโมงต่อกะก็มี ) ก็จะตกวันละ 900.- บาท 4 วัน 4 คืนก็คูณ 900X4 = 3,600.- บาท ตกเพิ่มอีกองค์ละ 900.- บาท ต้นทุนเดิมที่แบบไม่ใช้คนงาน 750.- บาท + ค่าแรง 900.- บาท = 1,650.- บาท เป็นไงบ้างครับ น่าสนใจไหมครับ

    ในขณะที่พระแก้วคริสตัลจากนอกหน้าตัก 8 นิ้วเศษไม่มีซุ้มแสงราคาองค์ละ 4 แสนกว่าบาท หากเราสร้างเพื่อนำส่วนต่างไปสร้างงานกุศล ตั้งราคาแค่องค์ละ 13,000.- บาท เอาส่วนต่างแค่องค์ละ 10,000.= บาทเท่านั้น รับประกันว่าทำไม่ทันเลยครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ในกรณีที่หากเรามีที่ดินว่างๆหรือบ้านไร่ปลายนาอะไรก็สามารถสร้างเตาอบชนิดนี้ได้ง่ายๆไม่ยาก เพราะความร้อนที่ผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อแต่ละยี่ห้อต้องการไม่ได้มากมายอะไร บางโรงงานผู้ผลิตระบุจุดหลอมเหลวแค่ 450C แต่บริษัทบางบริษัทของเขาสูงสุดไม่เกิน 890C ซึ่งเตาแบบนี้ทำได้อยู่แล้ว แล้วก็ลดลงมาเรื่อยๆครับ ลดลงมาถึงอุณหภูมิห้องคือประมาณ 25C ใช้เวลา 4 วัน 4 คืน
    37.jpg
    เตาแบบนี้มีความจุครั้งละหลายสิบองค์ จึงมีค่าหารเฉลี่ยต่อองค์ลดลงมาเหลือแค่องค์ละไม่กี่สิบบาทเท่านั้น 10790.jpg
    เตาดินเหนียวก็ใช้ได้
    er.jpg
    ภาพนี้เป็นเตาไทย แต่ภูมิความรู้ไปเหมือนกับเตาญี่ปุ่นคือเตาอานากาม่า ซึ่งเตาอานากาม่าจะมีลักษณะทางต้นไฟต่ำ และความร้อนไล่สูงไปออกทางปล่องควัน ซึ่งทรงประสิทธิภาพและประหยัดเชื้อเพลิงมาก
    IMG_4433 copy.jpg
    นี่ก็เป็นเตาไทยๆ ใช้ได้เหมือนกันแต่เปลืองเชื้อเพลิงหน่อย q4138.jpg
    แบบนี้เป็นแบบเตาไทยที่สร้างในไทยจริงๆ แต่เป็นหุ่นโมเดลที่เขาสร้างขึ้นมา ซึ่งก็จะไปตรงกับเตาอานากาม่า ต่ำที่ไฟเข้าและความร้อนจะไล่สูงขึ้นไปเองโดยอัตโนมัติ ไปออกทางปล่องควันไฟ เชื้อเพลิงก็ง่ายๆ ในทุ่งนาก็พอหาได้ ถ้าเตาแบบนี้ความจุครั้งเดียวนับพันๆองค์ได้เลย เรียกว่า สร้างครั้งเดียว เหนื่อยทีเดียว สมมุติว่าใช้เตาแบบนี้ สร้างครั้งเดียวนี่ ส่วนต่างหรือกำไรสามารถสร้างโรงพยาบาลได้เลยนะครับ เพราะส่วนต่างเราขอองค์ละหมื่นกว่าบาท ทำครั้งเดียวกำไรส่วนต่างหลายสิบล้านบาท
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    123021.jpg รูปคุณแม่ผมเองครับ คุณแม่ผมยืนอยู่หน้าเตาอบที่สร้างขึ้นเฉพาะกิจครั้งหนึ่งครับ คุณแม่ผมเป็นเจ้าของโรงงานหลอมแก้วขนาด 2.5 ตันและบางครั้งที่เพิ่มเป็น 2 เตาก็เพิ่มเป็น 5.5 ตันครับ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่มอบให้ผมเป็นผู้จัดการตอนผมอายุ 17 ปีโดยมีปรมาจารย์วิชาแก้วอันดับต้นๆของไทยเป็นครูพี่เลี้ยงหลายปี และท่านยังได้เชิญอาจารย์วิชาแก้ววิชาอื่นๆหรือแม้แต่ซ้ำวิชาเดียวกันกับปรมาจารย์ผม มาทำการเฉพาะกิจบางอย่าง ซึ่งผมยังไม่ขอเปิดเผย เพราะจะกระเทือนใจปรมาจารย์ผมได้ ท่านปีนี้อายุเลข 9 ไปแล้ว
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ขอบคุณคลิปถ่ายโรงงานหลอมแก้วและขึ้นรูปชิ้นงานแก้วด้วยเทคนิคการเป่าแก้วด้วยปอดของจีน ในคลิปนี้แสดงให้เห็นว่า นี่คือขนาดงานของเตาหลอมขนาด 2.5 ตันเพียงเตาเดียว ก็ดูวุ่นวายขนาดนี้ แต่ที่โรงงานหลอมแก้วของคุณพ่อคุณแม่ผมไม่วุ่นขนาดนี้ครับ พื้นที่เรากว้างขวาง จัดให้ช่างมีมุมเป็นของตัวเองแทบทุกทีม ไม่ต้องกระจุกตัวกันแน่นขนาดนี้
    008m.jpg
    010s (2).jpg
    นี่คือรูปโรงงานหลอมแก้วที่ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเทคนิคการเป่าแก้วด้วยปอดและการปั๊ม Pressed Glass และเทคนิคอื่นๆเท่าที่มีในขณะนั้น ผมจัดให้โรงงานหลอมแก้วเราไม่แออัด มีมุมของแต่ละทีมที่จะทำงานได้อย่างสงบและมีความเป็นส่วนตัวสูง
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    2699142_l12.jpg
    นี่เป็นตัวอย่างการทำฟองอากาศในเนื้อแก้วที่ลักษณะของฟองอากาศไม่ใช่ว่าต้องสม่ำเสมอ คือ บางที่มีเม็ดฟองเม็ดใหญ่ บางที่มีเม็ดกลาง บางที่มีเม็ดเล็ก และมีสะเก็ดดำๆติดในเนื้อภายในแก้วด้วย และก็ไม่ใช่ติดทุกที่ แบบนี้เป็นการทำฟองอากาศในเนื้อแก้วที่ไม่ใช่ใช้เฉพาะเคมีภัณฑ์เท่านั้น ในต่างประเทศนิยมการทำฟองอากาศในเนื้อแก้วลักษณะนี้มาก ดูเป็นศิลปะและรูปว่า การทำอย่างนี้น่าจะไม่ง่ายเลย

    ซึ่งที่แท้จริง มันง่ายมากๆ แต่สร้างได้เฉพาะในงานหลอมแก้วที่ใช้เบ้าหลอมขนาดตั้งแต่ 150 kg. ขึ้นไป และใหญ่ได้ถึง 500 ก.ก. ซึ่งความง่ายนี้หมายถึงว่า ถ้าเบ้านั้นๆสำเร็จก็ง่าย แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ทิ้งทั้งเบ้าไปเลย ความเสียหายจึงอาจเกิดขึ้นได้ และค่าเสียหายก็คือน้ำแก้วจำนวนมากพร้อมทั้งเชื้อเพลิงที่หลอมนานกว่า 15 ชั่วโมง เท่ากับสูญเปล่าทั้งหมด
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    เราข้ามเรื่องทำฟองอากาศในเนื้อแก้วไปสักพักก่อนนะครับ

    ข้ามไปเรื่องการมองเห็นการหลอมเหลวของแก้วในเตาอบที่มีขนาดเล็กกันครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848

    เริ่มเห็นการหลอมเหลวของแก้ว การที่น้ำแก้วไหลทะลุรูใต้กระถางดิน ออกจากกระถางลงสู่แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนความร้อน เราจะเริ่มเห็นตั้งแต่นาทีที่ 6.40 ขึ้นไป แต่ขอให้เข้าใจว่า ในเมืองนอกนั้น บางที่เขาหลอมแก้วที่ไม่ใช่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ เขาหลอมแก้วรีไซเคิ้ล หรือหลอมกระจกแผ่นก็มี ดังนั้น ความร้อนจะไม่เท่ากันกับก้อนแก้วนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2018
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    ท่านเห็นอะไรบ้างในการหลอมกระจกแผ่นของอาจารย์ท่านนี้ครับ ?

    ก่อนอื่นผมขอให้เข้าใจว่า กระจกแผ่นของแต่ละบริษัทก็อาจใช้สูตรทราย+เคมีภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจุดหลอมเหลวของแต่ละบริษัทก็อาจจะต่างกัน ถ้ายิ่งข้ามประเทศมาประเทศไทยแล้ว กระจกของเราก็อาจมีจุดหลอมเหลวไม่เท่ากับของเขานะครับ

    คราวนี้ก็มาถึงสิ่งที่ผมกำลังจะพูด เมื่อจุดหลอมเหลวถึงตามที่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเขาต้องการ และใช้เวลามาสักระยะหนึ่งแล้ว ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อก็จะค่อยๆไหลจากกระถางดินเผา ไหลลงผ่านรูใต้กระถาง ทะลุลงมาที่แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนความร้อน และจะใช้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งนานหรือไม่นานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น น้ำแก้วนั้นมีขนาดใหญ่มากก็จะต้องใช้เวลานานกว่า และก็ยังมีเทคนิคตรงนี้นิดนึงสำหรับผู้ชอบทำความเร็ว ก็คือการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงกว่าที่กำหนดเล็กน้อย เช่น หากเขาต้องการความร้อนที่ 800C การที่จะเพิ่มเป็น 890C หรือเพิ่มประมาณ 10% นั้น ต้องดูด้วยว่า เป็นแก้วชนิดหรือสีอะไร หากเป็นสีเหลืองอำพันซึ่งสีอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและเร็ว แนะนำว่า อย่าเร่งครับ หรือหากมีตะกั่วสีขาวหรือสีนมชนิดต้องการควบคุมสีนมให้คงที่ ไม่ต้องการให้อ่อนเกินไป ก็อย่าเร่ง แต่ถ้าต้องการให้อ่อนหน่อยก็เร่งได้ครับ ซึ่งการเร่งแก้วตะกั่วนั้นมีผลดีหลายอย่าง คือ แก้วจะไหลเหมือนน้ำตะกั่วร้อน ซึ่งจะทำให้คมชัด แต่ขณะเดียวกันสีของแก้วตะกั่วบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงได้ครับ

    และทราบมาว่า ที่จีนเขาทดสอบทดลองการผสมตะกั่วให้สูงขึ้นมาก จนกระทั่งใช้ความร้อนต่ำมาก แค่ 450C ก็สามารถหลอมเหลวได้แล้ว ซึ่งขณะนี้อาจยังไม่ได้ออกวางจำหน่าย แต่ในอนาคตนั้น หากไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรค ผมเชื่อว่า เขาวางจำหน่ายทั่วโลกแน่นอนครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    นับเป็นโชคดีที่ได้พบคลิปด้านบน ได้เห็นการหลอมเหลวและการไหลของน้ำแก้วจากกระถางดินลงสู่แม่พิมพ์ด้านล่าง
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848

    มาฟังวินาทีที่ 20 - 40 วิทยากรบอกว่า เขาใช้ 1,600 F หน่วยเป็นฟาเรนไฮ ท่านใดจะลองแปลงเป็น C ได้บ้างครับ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    กดกูเกิ้ลถามได้คำตอบดังนี้ครับ

    1600 degrees Fahrenheit =
    871.111111 degrees Celsius
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    1511 degrees Fahrenheit =
    821.666667 degrees Celsius
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    1433 degrees Fahrenheit =
    778.333333 degrees Celsius
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    960 degrees Fahrenheit =
    515.555556 degrees Celsius
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    200 degrees Fahrenheit =
    93.3333333 degrees Celsius
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    100 degrees Fahrenheit =
    37.7777778 degrees Celsius
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    จากคลิปนี้ที่ตอนแรกผมได้พยายามให้ท่านที่สนใจทราบว่า แก้วนั้นมีที่มาหลายแหล่ง โดยพยายามจะบอกว่า ถ้ามาจากบางแหล่งนั้นสูตรทราย+เคมีอาจทำให้จุดหลอมเหลวสูงได้ถึง 1,500 - 1,600 C แต่ดันบังเอิญในคลิปนั้น อาจารย์ในคลิปก็หลอมเหลวที่ 1500 - 1,600 ตัวเลขเหมือนกัน แต่หน่วยของเขาเป็นฟาเรนไฮ้ท์นะครับ ก็เท่ากับว่าเขาหลอมแก้วจากแท่งแก้วเพื่อการหลอมต่อที่สร้างมาเฉพาะกิจครับ ไม่ใช่การนำกระจกแผ่นมาทำการหลอม

    ในอเมริกานิยมหน่วยเป็นฟาเรนไฮ้ท์ แต่ที่อื่นทั่วโลกเขานิยมเป็นเซลเซียส ก็ไม่ว่ากันครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    จากคลิปที่ผมอ้างอิงไว้ ซึ่งเป็นคลิปที่ผมไปเห็นเข้าว่า มีการหลอมเหลวแก้ว และเห็นการไหลลงมาของน้ำแก้ว จากกระถางดินเผาลงสู่แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟ ผมโพสต์ไว้โดยไม่ได้สนใจส่วนอื่น เมื่อหลังจากมาดูคลิปโดยละเอียดแล้ว พบสิ่งที่น่าสนใจที่ตรงกับข้อมูลที่ผมให้ไปแล้วตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้ครับ

    ในภาพด้านล่างนี้อุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮ้ท์ Farenheit นะครับ
    0001.jpg
    ตารางกำหนดการของการหลอมแก้วครั้งนี้โดยเฉพาะ ( ขอให้ทุกท่านทราบไว้ว่า การหลอมแต่ละครั้งจะมีรายละเอียดในทุกมิติเยอะมาก ดังนั้น กำหนดหรือตารางกำหนดการหลอมขอให้ถือว่า เป็นการเฉพาะของครั้งนั้นๆ ไม่ถือว่าเป็นสูตรการหลอมที่ใช้ได้ทั่วไป )

    0002.jpg
    ภาพแสดงเตาอบซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาหลอมด้วยในเตาเดียวกัน

    0003.jpg
    ภาพแสดงให้เห็นว่า แก้วเริ่มที่จะย้อยออกทางรูใต้กระถางดินเผา แต่ยังไม่ย้อยมากครับ เพราะอุณหภูมิยังอยู่ที่ 1433 F

    0004.jpg

    0005.jpg 0006.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2018
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,135
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,848
    คำศัพท์ ( อาจแปลไม่ตรงในพจนานุกรมนะครับ แปลเอาความเข้าใจ )

    DPH = Deegree Per Hour


    TEMP = อุณหภูมิ


    HOLD = คงไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...