***กสินใน 1 วัน / อรูปฌาน4 ใน 1 วัน***

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย GluayNewman, 18 ธันวาคม 2011.

  1. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......................คุณ มีสติต่อเนื่องใช่ใหมครับ...แต่ผมว่า จะต้องมี ส่วนที่คุณปล่อย หรือหลงลืมอยู่แล้ว เช่นเดินเฉยเฉย หรือ เหม่อมองอะไรไปสักอย่าง อย่างที่ผมว่าไป คุณยังมีสติอยู่หรือเปล่าครับ...สำหรับผมมองว่า การมี "อานาปานสติ" ต่อเนื่อง คือ กายคตาสติอันเป้นอมตะสำหรับผู้ไม่ลืมหลง....แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องทำเหมือนกันนะครับ...เพียงแค่อยากรู้ว่า สติ คุณไม่ลืมหลงแม้แต่วินาทีเดียวใช่ใหมครับ..หรือ ทำแบบที่เขาเรียกว่า ไม่พัก ไม่เพียร:cool:
     
  2. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ตอนที่ผมมีสติต่อเนื่อง ต่อเนื่องตลอดไม่ขาดสาย ทุกวินาที ยกเว้นตอนหลับ
    แต่ผมมาค้นพบทีหลังว่า ไม่ใช่สติครับ... เป็นการที่จิตทรงสมาธิเองของมัน โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
    เป็นเรื่องแปลก ที่สมาธิที่ผมทรงไว้ได้ กับสติ มีอาการคล้ายกันจนแยกแทบไม่ถูก ผมเลยเข้าใจผิดไป
    จริงๆ ผมกะว่าจะตามลบ โพสหลายๆ อัน ที่ผมเข้าใจผิดไปนะครับ

    สติตัวจริงอยู่ในกฏอนิจจังครับ มีๆ หายๆ มิได้มีต่อเนื่องตลอด
    ยกเว้นถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง
    ผมจึงขอชี้แจงตามนี้นะครับ
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............ถ้าเป็น อุเบกขาธรรม อันวางเฉย ในสังขาร รูป-นาม ก็ขออนุโมทนาครับ:cool:
     
  4. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    รีบชิงจังหวะ ตอนตื่นนอน

    เช้า ตื่นนอน เป็นเวลาที่งัวเงีย และขาดสติได้ง่าย
    เพราะจิตหลงอยู่กับความงัวเงีย ง่วง ซึม

    เป็นเวลาที่เราควรรีบชิงจังหวะฝึกสติ รู้สึกตัว
    พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ...ลืมตาขึ้น หายใจยาวๆ
    เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ขยับแขน ขยับขา
    สลัดแข้งขา พลิกตัวไปมา อย่านอนอยู่เฉยๆ
    ให้ความรู้สึกตัวมันตื่นขึ้นสู้กับความงัวเงีย สลึมสลือ
    เคลื่อนไหวสักพัก อย่าไปจมกับความง่วง มันจะบรรเทาไปได้เอง
    อย่าปล่อยให้ความง่วงซึมดำเนินกิจการของมันต่อไป


    ผมเองตื่นเช้าทุกวันนี้ ไม่มีอาการอารมณ์ไม่ดี หรือ งัวเงียเลย
    ตื่นแล้วก็รู้สึกตัวได้ ตาก็สว่างขึ้น ไม่มีอาการง่วงซึม เหมือนแต่ก่อน
    เพราะฝึกความรู้สึกตัวอยู่เนืองๆ จนมันเริ่มทำงานเป็นอัตโนมัติของมันเอง
    ทุกเช้า จึงไม่เป็นเวลาเลวร้ายของผม ตื่นมาด้วยจิตใจที่ปกติ


    ช่วงตื่นนอนเป็นเวลาอันดีที่จะฝึกสติครับ
    อย่าปล่อยให้ความง่วงซึมเข้าครอบงำ
    เคลื่อนไหวรู้สึกตัวเยอะๆ อย่างน้อยก็หายใจยาวๆ
    เมื่อชำนาญบ้างแล้ว เวลาตื่น ง่วง ซึม มันก็จะหายไปในเวลาอันสั้น
    สามารถตื่นนนอนได้อย่างสดชื่น ไม่อืดอาด ไม่สลึมสลือ


    ถ้าสติสู้กับความง่วงซึมได้ จะทราบเลยว่าสติจะแข็งแรง
    สติต่อสู้กับความง่วงซึมได้ เป็นสติที่แข็งแรง
    ทำให้สติในชีวตประจำวัน พลอยแข็งแรงไปด้วย
    การปฏิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าได้ดี
    เป็นผลพลอยได้ที่สำคัญ... ชิงจังหวะตอนเช้านะครับ มีให้ฝึกทุกวันเลย
     
  5. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ปฏิบัติธรรมเชิงเสวนา " สติที่แตกต่างกับหนทางที่เลือกเดิน "

    วิทยากรดำเนินการเสวนา โดย คุณ กอบชัย

    ผู้ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ปฏิบัติ โดโด้ กล้วย
    และทุกท่านที่ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    รูปแบบสัมภาษณ์ และ แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน

    ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน ท่านมีรูปแบบและความเข้าใจที่แตกต่างกันออกไป
    ลองฟังประสบการณ์ ตรงของผู้ที่ ได้ศึกษาและทดลองปฏิบัติในสายหลวงพ่อเทียน
    แต่คนละรูปแบบ ต่างสำนัก เห็นความต่างอะไรบ้าง
    แล้วได้อะไรกลับมาบ้าง มีประโยชน์อะไรบ้าง


    ******* วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2555 เริ่มบ่ายโมง ********

    ที่เดิมครับ... ห้องประชุมชั้น 3 เซเว่นอีเลฟเว่น สาขาสะพานควาย
    อยู่ติดบิ๊กซีสะพานควาย (หันหน้าเข้าบิ๊กซี เซเว่นอยู่ทางซ้าย)
    เดินเข้าทางที่จอดรถของ รพ. เปาโล ไปขึ้นบันใดด้านหลังเซเว่นนะครับ
    เดินทาง : รถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสะพานควาย
    รถส่วนตัวจอดที่บิ๊กซี (ฟรี)

    กำหนดการ
    13.00-13.15 กล่าวปฏิสันฐาน + แนะนำตัว+ ทำความรู้จักกัน
    13.15-14.45 สติที่แตกต่างกับหนทางที่เลือกเดิน
    14.45 –15.00 เบรค
    15.00 - 16.00 แลกเปลี่ยนประสบการณ์


    กำหนดการอาจเปลี่ยนตามเหตุการณ์จริง เพราะยึดถือประโยชน์ของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก
    ....ไม่มีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิมครับ....

    ลงชื่อที่นี่ครับ

    เข้าสู่ระบบ | Facebook
     
  6. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไม่คิด

    บางคน (รวมถึงผมสมัยก่อน) เข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม ต้อง ไม่คิด
    ไม่คิดแล้วจิตจะสงบ ไม่มีนิวรณ์มารบกวน มีความสุข

    ความคิดเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกคน
    และก็ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วย
    ถ้าเราทำงานแล้วไม่คิดอะไรเลย จิตใจสงบนิ่ง เจ้านายจะว่ายังไงล่ะครับ
    และการดำเนินชีวิตที่ต้องการคิด วิเคราะห์ปัญหา ตัดสินใจ จิปาถะ
    ...ล้วนต้องใช้ความคิดทั้งนั้น...

    แม้ไม่มีเรื่องอะไรให้คิด ก็คิดฟุ้งซ่านไปเองก็ยังได้
    ผมเรียกว่า "ความคิดขยะ"
    สังเกตุไม๊ครับ วันๆ หนึ่ง เรามี "ความคิดขยะ" มากแค่ไหน

    ปัญหาที่สำคัญคือเราเป็นทาสความคิดโดยไม่รู้ตัวน่ะครับ
    ถูกสอนให้คิด แต่ไม่รู้จักความคิด จึงถูกอิทธิพลจากความคิดเข้าครอบงำ
    ความคิดมักจะพาเราไปทำอะไรๆ ตามที่มันจะปรุงแต่งไป
    เรื่องราวต่างๆ บนโลกนี้ เกิดจากความคิดทั้งนั้นเลย

    และคนส่วนมาจะเรียกเจ้าความปรุงแต่งแบบนี้ว่า เหตุผล
    ถ้าเราไม่รู้จักความคิดนี้ดีแล้ว หลงไปกับมัน
    เราจะไม่มีทางรู้เลยว่า เหตุผล ที่คิดออกมานั้น
    ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง

    เราคิดเข้าข้างตัวเองหรือเปล่า มีอารมณ์ หรืออคติใดๆ เข้ามาร่วมหรือเปล่า
    บางครั้งคนเราอยากได้อะไร หรือไม่ชอบอะไร มันก็จะมีเหตุผล(ที่เราคิดเอง) สนับสนุน เราอยู่เสมอ
    ซึ่งเหตุผลที่เราสร้างขึ้นมา กับความเป็นจริง จะตรงกันหรือเปล่า ...
    คำถามนี้ ถ้าเรายังอยู่ภยใต้อิทธิพลของความปรุงแต่งอยู่ เราจะไม่มีทางรู้เลยครับ
    และผมก็เห็นว่า ส่วนมาก คนเราใช้เหตุผลบนพื้นฐานของความเห็นของตัวเอง และอารมณ์เป็นส่วนใหญ่

    *************************************

    ทีนี้ กลไก ตามธรรมชาติที่สำคัญ ที่หลวงพ่อเทียนท่านเข้าถึง และนำมาสอนเรา
    นั่นคือ การรู้สึกตัว ...เป็นกลไกธรรมชาติ ที่ทำให้จิตออกจากอิทธิพลของความคิด

    ซึ่งเมื่อจิตออกจากอิทธิพลการครอบงำของความคิด ก็จะมีผลเบื้องต้น คือ
    -- ความคิดขยะ (ความฟุ้งซ่าน) หมดความหมาย ดับไป
    -- อารมณ์ปรุงแต่งต่างๆ ทั้งยินดี ยินร้ายอะไร ดับไป หรือลดอิทธิพลลง
    -- ความคิดที่เราใช้ ทำอะไรต่อมิอะไร จะไม่ค่อยมีอารมณ์เข้ามาผสม ความคิดจะชัดเจนขึ้น ดีขึ้น เป็นประโยชน์มากขึ้น ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง
    -- จิตใจก็ปกติ สบายขึ้น เบาขึ้น เพราะไม่ต้องแบกภาระอารมณ์
    -- รู้จักจิตใจที่ปราศจากทุกข์ได้ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ

    ทุกข์เกิดจากความคิดปรุงแต่ง ความคิดปรุงแต่งดับ ทุกข์ก็ดับครับ

    แต่ความคิดที่ยังต้องคิด เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ก็ยังคิดได้ตามปกติ ...คิดแล้วไม่ปรุงแต่งกิเลส
    คิดบนฐานความรู้สึกตัว กับ คิดแบบไม่รู้สึกตัว ต่างกันเยอะครับ

    เน้นนะครับ....คิดด้วยใจปกติ กับ คิดด้วยใจที่ถูกกิเลสครอบงำ ต่างกันมากครับ
     
  7. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    การปฏิบัติไม่ทำ


    การปฏิบัติธรรม คือการไม่ทำ ไม่ต้องไปทำอะไร
    คือการที่ปล่อยวางภาระทางจิตออกให้หมดสิ้น
    ไม่ถือ แบกอะไรไว้ ให้เป็นทุกข์
    พ้นทุกข์ได้ในปัจจุบัน คือเดี๋ยวนี้เลย


    แต่กระนั้น ไม่ใช่การไม่ทำ ไปพยายามไม่ทำอะไร ไปปฏิเสธ....
    คำว่า... “ไม่ทำอะไร”...อันนั้นคือหลักการ
    จริงๆ คือการรู้ รู้จักกาย รู้จักจิตใจ ...รู้ว่าอยู่ในอิริยาบทไหน
    มันกำลังสบายหรือไม่สบาย รู้ว่าจิตใจมีความยินดีหรือยินร้ายไม๊

    รู้แล้ว ก็ ***รู้สึกตัว***


    มันจะค่อยๆ ผ่อนคลาย วางความไม่สบาย วางยินดี ยินร้ายลงได้เอง
    แค่รู้เฉยๆ ...กลับมารู้จักตัวเอง ....ด้วยการรู้สึกตัวเท่านั้น...

    เคลื่อนไหวก็รู้สึกตัวได้เอง ไม่ต้องไปกำหนด ดู หรือกระทำใดๆ ทางจิต


    เราไปตามความรู้สึก นึก คิด ไปตามมัน ก็จะมีอะไรขึ้นมา
    ถ้าไม่ตาม เฉยๆไว้ ….แล้ว
    เคลื่อนไหว ....รู้สึกตัวไว้ รู้เฉยๆ ไม่ต้องสนใจความคิด
    มันก็จะค่อยๆ ไม่มีอะไรไปเอง
    ไม่มีทุกข์...จิตปกติ เบาอยู่


    แล้วจะพบว่า จิตไม่ได้มีความทุกข์อยู่แต่เดิม
    แค่เราไม่ได้กลับมารู้สึกตัวเท่านั้น ดูตัวเองแล้ว มันก็ไม่มีอะไร


    รู้สึกตัว แล้ว รู้เฉยๆ นี่แหละครับ
    = คือความหมายของ "การไม่ทำอะไร" =
     
  8. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมเชิงเสวนา
    รู้อย่างไร รู้อย่างไร รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ รู้ล้วนๆ


    รู้อย่างไรจึงเรียกว่า ความรู้สึกตัวบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
    ความลับของธรรมชาติที่ สามารถตัดห่วงโซ่อุปทาน
    ในจิตในใจ ในชีวิต สามารถ ยืนยันคำสอนของพระพุทธองค์ได้
    ได้ด้วยตัวท่านเอง ทุกคน
    โดย คุณกอบชัย

    *** วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2555 เริ่มบ่ายโมง ***

    รายละเอียด และลงชื่อที่
    รู้อย่างไร รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ รู้ล้วนๆ | Facebook
     
  9. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ทุกข์ในอริยาบท

    คนเราอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ เพราะจะเป็นทุกข์
    ลองอยู่เฉยๆ ไม่นาน ก็ต้องขยับ เพราะมันจะเมื่อย
    หรือแม้แต่ไม่กระพริบตาก็ไม่ได้ เพราะมันจะล้า
    ลองดูก็ได้ครับ ลองไม่กระพริบตาดู

    คนเรา ธรรมชาติ ให้เคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ เป็นกฏธรรมชาตที่ฝืนไม่ได้
    การเคลื่อนไหวเป็นการแก้ทุกข์
    หลวงพ่อสมบูรณ์ท่านจึงบอกอยู่เสมอ
    ให้ขยับร่างกาย เพื่อให้ผ่อนคลาย
    ไม่เกร็ง ไม่อั้น ไม่กลั้น ให้ร่างกายไม่ทนอยู่ในอริยาบทเดียว
    เป็นการแก้ทุกข์ และเป็นการให้กลับมารู้สึกที่กายด้วย

    คนเรามักจะลืมตัว หลงอยู่ในความคิด
    มีผลให้ร่างกายทนอยู่ในอริยาบทเดียว ทำให้ร่างกายเกร็งโดยไม่รู้ตัว
    เลือดลมก็ติดขัด ปวดเมื่อย และเป็นบ่อเกิดแห่งโรคต่างๆมากมาย
    การกลับมาสังเกตุร่างกาย จึงทำให้เกิดการรู้สึกตัว
    ถ้าเราไม่รู้สึกตัว จะเกิดการเกร็งเอง โดยไม่ตั้งใจ
    กลับมารู้สึกที่กาย ผ่อนคลายเป็น แก้ทุกข์ได้ง่ายๆ

    เมื่อรู้สึกที่กายได้ ก็จะเห็นความรู้สึกที่ใจเอง ว่า สบายหรือไม่
    มีความยินดี ยินร้ายหรือไม่ จิตคิดอะไร
    เริ่มต้นที่มารู้สึกที่กาย ปรับกายให้สบาย อยู่ในอริยาบทที่เหมาะสมก่อน
    เป็นความรู้สึกตัวรู้สึกใจ โดยอัตโนมัติเลย
    เป็นการฝึกสติปัฏฐาน แบบธรรมชาติๆ ครับ
     
  10. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ขอเชิญชวนผู้ปฏิบัติในแนวทางหลวงพ่อเทียน

    เข้าเป็นสมาชิกที่ “กลุ่มหลวงพ่อสมบูรณ์”
    ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเทียน
    เป็นกลุ่มที่เน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์โดยเฉพาะ จริงๆ
    ไม่เน้นวิชาการ เน้นการปฏิบัติธรรมกันโดยเฉพาะ และมีกิจกรรมทางธรรมะด้วยครับ

    ที่นี่เลยครับ
    เข้าสู่ระบบ | Facebook
     
  11. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    "เรา" เกิดจากความคิด

    การที่รู้สึกว่า "มีเรา"... มีความหมายว่าเรา
    เกิดจากความคิดปรุงแต่ง คิดไปว่าเป็นเรา
    ถ้าเมื่อใดที่ไม่คิด ก็ไม่มี "เรา" ไม่มีความหมายว่า เรา
    แต่จะสังเกตุเห็นได้หรือไม่ตอนที่ไม่คิด ไม่มีเรา
    เพราะปุถุชน ย่อมตกอยู่ในวังวนของความคิด แทบไม่เว้นแต่ละนาที


    การที่มีเทคนิคที่ทำให้ออกจากความคิดได้ ทำให้ความคิดตกไป
    ให้จิตอยู่กับความรู้สึกตัว แทนที่จะไหลไปกับกระแสความคิด
    ย่อมทำให้ความคิดหมดอิทธิพล เพราะขาดการติดตาม
    ขาดการไปปรุง ไปเสริม ไปเติม ไปแต่ง มัน...มันย่อมหมดปัจจัยเกื้อหนุน
    พอความคิดหมดแรงแล้ว ความคิดย่อมดับไปเอง


    การรู้สึกตัวเหมือนกับหลักที่เกาะยึดไว้ ไม่ให้จิตไหลไปตามกระแสความคิดอันเชี่ยวกราก
    ถ้ารู้สึกตัวเป็น ความคิดจะค่อยๆ ซาลงไป จนดับไป ในแต่ละขณะที่รู้สึกตัว
    แล้วความคิดที่ก่อรูปร่างสร้าง "เรา" ก็จะพลอยจะอ่อนอิทธิพล... จนดับไปด้วยเหตุนี้
    "เรา" จึงค่อยๆ ละลายไปกับการดับไปของความคิดปรุงแต่ง


    เมื่อ "เรา" ละลายไป... เราโกรธ เราโลภ เราหลง ก็พลอยบรรเทา เบาบางไปด้วย
    ตามรอบแห่งการดับไปของความคิดนั้นๆ ...
    กิเลสก็พลอยเบาบางลง เป็นลำดับ


    ความรู้สึกตัวเป็นกุญแจสำคัญที่สุดที่จะทำลายอัตตา ความมี เรา และกิเลสครับ
     
  12. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ในวิปัสสนามีสมถะ แต่ในสมถะอาจไม่มีวิปัสสนา

    สมถะ คืออุบายที่จะทำให้จิตสงบ
    วิปัสสนา คืออุบายที่จะทำให้เห็นความเป็นจริง

    วิปัสสนา เมื่อปฏิบัติเห็นความเป็นจริง จะเห็นว่าจิตนั้น เป็นสิ่งที่สงบอยู่เอง
    หากไม่ได้คิดปรุงแต่งอะไร จิตก็สงบ โดยไม่ต้องไปจงใจให้จิตสงบ
    เป็นความจริงอย่างหนึ่งของจิต เมื่อไม่คิดปรุงแต่ง มันจะสงบ
    เป็นสมถะในตัวเอง คือมีความสงบ ที่เกิดขึ้นจากสติปัญญา
    คือความรู้ที่จะทำให้จิตหยุดปรุงแต่ง ....ความรู้ว่าความปรุงแต่งเป็นทุกข์

    เมื่อรู้ว่าความปรุงแต่งเป็นทุกข์ จิตก็หยุดปรุงแต่งได้เอง

    ส่วนสมถะ ส่วนมากใช้อุบายในการข่มจิตใจ กล่อมจิตใจ ให้เกิดความสงบ
    เป็นความสงบที่เกิดจากความปรุงแต่ง ปรุงแต่งการข่ม ปรุงแต่งการกล่อมจิต
    เมื่อจิตถูกข่ม หรือ กล่อม ก็เกิดความสงบขึ้นได้
    แต่เป็นความสงบที่ไม่ได้เกิดจากการรู้เห็นความเป็นจริงเหมือนวิปัสสนา
    เป็นความสงบที่ขาดปัญญา สงบแบบไม่รู้อะไร
    มีเจตนา หรือความพยายามให้จิตสงบ ด้วยการข่ม หรือ กล่อมจิต
    จิตไม่ได้สงบลงเอง เพราะสติปัญญา

    ในสมถะจึงอาจไม่มีวิปัสสนา แต่ในวิปัสสนามีสมถะอยู่อย่างแน่นอนครับ
     
  13. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    Clip เสวนา รู้อย่างไร รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ รู้ล้วนๆ
    ตอนที่ 1 ครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=aT4-aoM23-8]รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ 01 - YouTube[/ame]
     
  14. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ****** ปีใหม่...เทศกาลแห่งสติ ******


    ปีใหม่เป็นเทศกาลแห่งความสุข ความเพลิดเพลิน
    ขอทุกท่านจงมีสติ ระมัดระวังให้มากนะครับ
    ความเพลิดเพลินทำให้เราหลงลืมสติได้ง่ายที่สุด
    มันก็จะนำพาความประมาทมาสู่จิตใจเรา
    ซึ่งเป็นหนทางแห่งความทุกข์ต่อไป


    นอกจากเราต้องระมัดระวังตัวเองแล้ว
    ก็ควรระมัดระวังภัยจากความประมาทของผู้อื่นด้วย
    ต่างคนต่างหาความสนุก ความเพลิดเพลิน จนเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    จะเห็นว่าสถิติ คนเจ็บ คนตายจะมากในช่วงเทศกาล


    ปีใหม่ จึงควรเป็นเทศกาลที่ตั้งใจมีสติให้มากๆ ไม่ใช่ตั้งใจสนุกให้มากๆ


    ขอคุณพระศรีรัตนตรัย คุ้มครองทุกๆ ท่านให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวงด้วยครับ
     
  15. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    Clip เสวนา รู้อย่างไร รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ รู้ล้วนๆ
    ตอนที่ 2 ครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=riT6FgxreyQ]รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ 02 - YouTube[/ame]
     
  16. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    สมถะเป็นกำลังให้วิปัสสนาทรงตัว

    ก่อนที่หลวงพ่อเทียนจะค้นพบวิธีให้ผู้รู้ตามดูความคิดนั้น ท่านฝึกสมถะมาก่อน ฝึกมามาก เป็นฐานกำลังให้การพิจารณาวิปัสสนาได้เร็วขึ้น คุณเองยังทำฌาณ4ไม่ได้อย่าพึ่งวิจารณ์ ฌาณ4ที่ใช้งานได้มีสติครบถ้วนเหมาะแก่การงานนั้นมีอยู่ หรือจะตัดเข้าไปให้สงบนิ่งดิ่งลึกก็ทำได้นั้นเพื่อการพักผ่อน อาการทรงฌาณและมีสติครบถ้วน เมื่อฌาณมีการเคลื่อนตัวก็เห็นไตรลักษณ์ ณ ตรงนั้น ไม่ว่างเว้นจากการพิจารณาหรอกนะ ส่วนการทรงสติแม้ในยามหลับก็ทรงสติไว้ได้ มีอาการตื่นตลอดเวลา ร่างกายเหมือนหลับแต่จิตนั้นตื่นตลอดเวลาคนทำได้นั้นมีอยู่ อาจจะรู้สึกเหนื่อยล้ากับร่างกายบ้างก็แต่เพียงช่วงเดือนสองเดือนแรกเท่านั้น ผ่านไปแล้วก็ปกติดี,ซึ่งการจะกล่าวแต่เพียงวิปัสสนานั้นก็อาจจะดูหละหลวมไปสักหน่อย ที่ควรกล่าวก่อนคือสัมมาสติ เป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาจะเหมาะกว่า และสัมมาสมาธิก็ไม่ใช่จะนิ่งเงียบ แต่เป็นจิตที่มีกำลังตั้งมั่นให้พร้อมต่อการงานเป็นเหตุให้เกิดปัญญาคือผล เมื่อหากจะวิจารณ์ก็ขออย่าลืมโพชฌงค์7และมรรค8ซึ่งต้องไม่ละเลยข้อใดข้อหนึ่ง ส่วนสมาธิที่ไม่เกิดปัญญาเราก็เรียกว่ามิจฉาสมาธิ, วิปัสสนาที่ไม่มีสมาธิคุมเราก็เรียกว่าความฟุ้งซ่าน. การฝึกแล้วอยากเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้นั้นแม้ว่าจะดีอยู่ ก็ให้ระวังเรื่องวิปัสนูกิเลสให้มาก ทางที่ปลอดภัยกว่าคือ นำคำสอนของครูบาอาจารย์มาเผยแพร่ เพราะท่านผ่านกันมาหมดแล้ว ไปอ่านกระดานดำที่หลวงพ่อเทียนให้เขียนเอาไว้เตือนสติที่วัดสนามในก่อนนะ "การประพฤติพรหมจรรย์ของเรานี้ ไม่เป็นไปเพื่อลาภ สักการะ เพื่อให้คนเคารพนบนอบ เพื่อให้คนจากไปคิดถึง...เราประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อลด ละ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อยังพรหมจรรย์ของเราให้เจริญยิ่งขึ้นไป" อันนี้มีความหมายต่อผู้ปฏิบัติที่หวังมรรคผลเป็นอย่างมาก...โชคดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2013
  17. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    หลวงพ่อเทียนเคยฝึกสมถะมาก่อนนั้นจริงครับ
    แต่ถ้าได้ฟังหลวงพ่อเทียนกล่าวหลายๆ ครั้งจะทราบว่า
    ท่านบอกไว้ว่าวิธีของท่าน ไม่ต้องไปทำสมถะก่อน ...ความรู้สึกตัวลัดตัดตรงเข้าวิปัสสนาเลย

    ไม่ต้องมีการคิดพิจารณา วิพากษ์วิจารณ์อะไร
    รู้สึกตัวแล้ว ความรู้สึกตัวจะชักนำไปให้เห็นความคิดเอง
    ซึ่งเป็นวิธีที่ต่างจากวิธีที่ต้องฝึกสมถะคือ ทำฌานมาก่อน
    ผมไม่ได้กล่าวว่า ไม่ต้องทำฌานก่อน เพียงแต่เป็นคนละวิธี คนละจริต แล้วแต่จริตผู้ใดจะถนัดแบบใด เป็นสมถยานิก หรือ วิปัสสนายานิก

    ถ้าเป็นสมถยานิก ก็ต้องทำฌานก่อน (ปัญญาจะเกิดทีหลัง)
    เป็นวิปัสสนายานิก ไม่จำเป็นต้องทำฌาน เจริญสติโดยตรง (ฌานจะเกิดทีหลัง)
    ทั้งสองจริต สุดท้ายก็จะรู้เหมือนกัน

    หลวงพ่อเทียนท่านจะกล่าวบ่อยๆ เลยครับ ว่าไม่ต้องนั่งหลับตา ไม่ต้องนั่งอยู่เฉยๆ ให้เคลื่อนไหว รู้สึกตัวไว้ครับ
     
  18. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว

    ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
    เพียงแต่เราอาจไม่รู้จัก เพราะความเคยชินของจิตที่จะหลงไปในความคิด
    เพลินกับความคิดจนไม่รู้สึกตัว
    หลวงพ่อเทียนจึงให้เทคนิคในการเคลื่อนไหว เพื่อให้ออกจากความคิด
    ให้กลับมารู้สึกตัว...
    เมื่อเราเคลื่อนไหว ก็จะรู้สึกตัวได้ง่ายกว่ากาอยู่นิ่งๆ
    กลับมาสู่สิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่การไปสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

    แท้จริง ตั้งแต่เราลืมตาตื่นเช้าขึ้นมา
    เราก็ต้องรุ้สึกตัวอยู่แล้ว แต่เราอาจไม่ได้สังเกตุ
    เราหลงอยู่ในความงัวเงีย ความคิดต่างๆ ไม่ได้อยู่กับความรู้สึกตัว
    จิตก็ไหลไปกับอารมณ์ต่างๆ เกิดความปรุงแต่ง
    เกิดเป็นความโลภ โกรธ หลง และกลายเป็นความทุกข์ในที่สุด

    แต่ถ้าเรากลับมารู้สึกตัว มาเคลื่อนไหวไว้
    หายใจเข้าออกก็รู้สึก เคลื่อนไหวทำอะไรก็รู้สึก
    เราก็ไม่เผลอไหลไปกับความคิด ก็ไม่เกิดความปรุงแต่ง
    ไม่เกิดความโลภ โกรธ หลง ไม่เกิดความทุกข์

    ความรู้สึกตัวจึงเป็นเหตุให้ความทุกข์ไม่เกิด
    หมั่นรู้สึกตัวไว้ ความเผลอไม่เกิด ความหลงไปในความคิดไม่เกิด
    ความปรุงแต่งก็ไม่เกิด จิตใจก็ปกติ....
    ความปกติไม่มีความทุกข์

    รู้สึกตัวใว้ จิตใจปกติ ไม่มีทุกข์ จิตใจก็ปลอดโปร่ง
    เป็นความปกติของจิต ที่มีอยู่แล้ว
    เพียงเราทำความรู้จักมันบ่อยๆ ความทุกข์จะจะเกิดได้น้อยลงเรื่อยๆ ไปเองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...