***กสินใน 1 วัน / อรูปฌาน4 ใน 1 วัน***

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย GluayNewman, 18 ธันวาคม 2011.

  1. smith999

    smith999 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +3
    ตรงนี้ผมก็คิดมานานละครับ จิตเดิมแท้ ที่ว่ากัน ถ้ามันฉลาดจริงก็คงไม่ปล่อยให้อวิชชาเข้ามาได้ คนเราเกิดมาก็นิพพานได้ละ เพราะมากับจิตเดิมแท้ แต่ถ้าเป็นอย่างที่ว่าก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเพื่อนิพพานหรอกครับ เพราะปฏิบัติถึงจิตเดิมแท้ก็ยังต้องมาเกิด มาทุกข์เหมือนเดิม สภาวะนิพพานเป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ จิตเดิมแท้แม้ผ่องใส แต่ก็ยังโง่อยู่เพราะอวิชชายังเข้ามาครองได้ ถ้าคิดแค่ว่าเข้าถึงจิตเดิมแท้ได้ก็จบ ศาสนาพุทธเองก็คงไม่ต่างกับศาสนาอื่นละครับ ที่ปฏิบัติเพื่อหวลกลับไปอยู่กับพระเจ้า
     
  2. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
     
  3. สงสาร

    สงสาร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +4
    คุณ Gluay พอจะบอกเล่าถึงวินาทีที่คุณได้เข้าถึงธรรมแท้ได้มั้ย เพื่อเป็นวิทยาทาน
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    เย็นๆ..เบาๆ..ที่ฐานของจิต..บางครั้งคล้ายๆ..มองอะไรไปได้ไกลกว่าปกติ..
     
  5. tana05

    tana05 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +98
    สำหรับคุณNopphakan สรุปได้ยอดเยี่ยมมากครับ
    นี่แหละ ธรรมะที่ออกมาจาก นัก)ฏิบัติธรรมแท้
    ส่วนคุณGluayNewman แน่ะนำ Approach การเจริญสติ
    แบบ มหาสติ อย่างยอดเยี่ยม หากผู้มีบุญบารมีท่านใด
    ได้ลองเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบท่าน
    คงมีผลสำเร็จที่ดีต่อตนเองเป็นเครื่องพิสุจน์
    .....ส่วนท่านอื่นๆที่ Shareมุมมองด้านอื่นๆก็
    เป็นสภาวะธรรมที่แสดงออกมาให้ได้ชื่นชม
    ว่าธรรมะ(สำหรับเฉพาะตัวผม) ยังคงเป็นธรรมคู่
    ยังเป็นปุถุชนอยู่ ยังต้องเพียร ต้องเจริญสติ(ให้มีกำลัง)ต่อไป
    .....ขออนุโมทนา สาธุ กับท่านเจ้าของกระทู้และผู้วิพากษ์
    โดยให้คำแน่ะนำจากใจจริง สาธุ สาธุ สาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ก่อนจะเล่าต่อ ขอตอบแต่ละท่านก่อนนะครับ
    คุณเล่าปัง (และชื่ออื่นๆ) ฟังความเห็นคุณแล้ว ก็รู้สึกดีใจว่าดีแล้ว ที่ผมไม่เดินตามวิธีแบบคุณนะครับ

    คุณคุรุวาโร ใช่ครับ คุณเล่าปังมีทิฏฐิสูง อย่างที่คุณว่าจริงๆ...

    คุณสงสาร เดี๋ยวว่าง ผมเล่าให้ฟังทางกล่องข้อความนะครับ

    คุณNopphakan ได้รับผลจากการปฏิบัติ จิตเริ่มวางภาระแล้วครับ

    คุณ Tana อนุโมทนาด้วย...เพียรต่อนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ผมว่า คุณกะละล้วย อ่าน ความเห็นของ คุณ คุรุฯ อีกรอบดีกว่านะ

    เขา อ้างอิงจาก คำพูดของคุณ

    นั้นหมายถึง เขาจะ โต้ในส่วนที่เป็น ความเห็นคุณ คำพูดของคุณ
    ซึ่งมันคือ การไม่ยอม ดิ้นรน ถามหาหลักฐานอื่น

    คุณ คุรุฯ เขาก็เลย หาหลักฐานของหลวงปู่มั่น มาให้คุณพิจารณา
    ซ้ำอีกรอบ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าพูดตามหลักการ

    ขณะนี้ ผมก็โจทย์คุณ กะละล้วย ว่า ไปเอา โคตรภูญาณ เป็น นิพพาน

    ทำให้ไม่ล่วงหรือยึดเกาะ ฌาณใดๆ ใน ฌาณทั้ง8 และ ความที่เกาะโคตรภู
    ญาณ ทำให้ จิตอยู่ในโลก (ไม่ถึงฐาน)

    พอจิตอยู่ในโลก ก็สาระวนเรื่อง แก้กรรม แก้โรค แก้คน แก้ตน จิปาถะ แต่
    ไม่สามารถบอกตัวเองได้ว่า อนาคตตัวเองจะเป็นอย่างไร ยามใดที่มันเสื่อม ก็จะ
    โดน อวิชชาที่นอนเนื่อง(อันเกิดจาก อุเบกขา+เอกัคตา ของโคตรภูญาณกดไว้)
    ชักจูงให้ รู้สึกเฉยๆ ได้อีกกับการเสื่อม การเจริญ แต่ เป็นการ หมายเอาดาบ
    หน้าไม่ใช่เล็งที่ปัจจุบันธรรม ที่ กำลังยุ่งเหมือน ลิงแก้แห

    คือ ปรากฏงานนู้นก็ต้องสะสาง งานนี้ก็ต้องทำ ไม่มีเวลาว่าง เพราะ สัมมาอาชีวะ
    ไม่เกิดเลยแม้แต่น้อย ( ธรรมชาติของพวก โคตรภูญาณ ที่ไม่สามารถทำให้เกิด
    สัมมาอาชีวะ)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE id=post5492504 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->หลงเข้ามา[/SIZE
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jan 2008
    สถานที่: ปุถุชน คนกิ๊กก๊อก
    ข้อความ: 3,183
    พลังการให้คะแนน: 408 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_5492504 class=alt1><CENTER>ลักษณะที่ อาจจะทำให้เข้าใจผิดในธรรม

    </CENTER>
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>

    วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) ๓๘ ประการ


    ๑. อปฺปฏิกูลสญฺญามุเขน กามมจฺฉนฺโท วญฺเจติ.

    ความพอใจในกาม ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา. (ลวงว่าสะอาด)


    ๒. ปฏิกฺกูลสญฺญาปฏิรูปตาย พฺยาปาโท วญฺเจติ.

    ความพยาบาท ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา.


    ๓. สมาธิมุเขน ถีนมิทฺธํ วญฺเจติ.

    ถีนมิทธะ(ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นสมาธิ.


    ๔. วิริยารมฺภมุเขน อุทฺธจฺจํ วญฺเจติ.

    อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร.


    ๕. สิกฺขากามตามุเขน กุกฺกุจฺจํ วญฺเจติ.

    กุกกุจจะ(ความรำคาญใจ) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา.


    ๖. อุภยปกฺขสนฺตีรณมุเขน วิจิกิจฺฉา วญฺเจติ.

    วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย




    ๗. อิฏฺฐานิฏฺฐสมุเปกฺขนมุเขน สมฺโมโห วญฺเจติ.

    ความหลงพร้อม(ไม่รู้) ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์

    ที่น่าปราถนาและไม่น่าปราถนา

    (เช่น ไม่รู้ จึงไม่รักหรือไม่ชัง จึงดูเหมือนวางเฉย เพราะรู้สึกเฉยๆ)


    ๘. อตฺตญฺญุตามุเขน อตฺตนิ อปริภเวน มาโน วญฺเจติ.

    มานะ(ความสำคัญตน) ย่อมลวงโดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็นผู้รู้จักตน

    (เช่น คนมีมานะแต่มักบอกว่าตนไม่มีมานะ...หลงในคุณธรรมของตน)


    ๙. วีมํสามุเขน เหตุปฏิรูปกปริคฺคเหน มิจฺฉาทิฏฺฐิ วญฺเจติ.

    มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ย่อมลวงด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร

    เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา


    ๑๐. วิรตฺตตาปฏิรูปฏาย สตฺเตสุ อทยาปนฺนตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี.


    ๑๑. อนุญฺญาตปฏิเสวนปฏิรูปตาย กามสุขลฺลิกานุโยโค วญฺเจติ.

    กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นอยู่ในกาม)

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้.


    ๑๒. อาชีวปาริสุทฺธิปฏิรูปตาย อสํวิภาคสีลตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์

    (เช่น ภิกษุบิณฑบาตมาแต่ไม่แบ่งบรรพชิตด้วยกัน แล้วคิดว่าตนเลี้ยงชีพบริสุทธิ์)




    ๑๓. สํวิภาคสีลตาปฏิรูปตาย มิจฺฉาชีโว วญฺเจติ.

    มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน.


    ๑๔. อสํสคฺควิหาริตาปฏิรูปตาย อสงฺคหสีลตา วญเจติ.

    ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี.


    ๑๕. สงฺคหสีลตาปฏิรูปตาย อนนุโลมิกสํสคฺโค วญฺเจติ.

    ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์.


    ๑๖. สจฺจวาทิตาปฏิรูปตาย ปิสุณวาจา วญฺเจติ.

    ปิสุณวาจา(กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง.


    ๑๗. อปิสุณวาทิตาปฏิรูปตาย อนตฺถกามตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด.


    ๑๘. ปิยวาทิตาปฏิรูปตาย ปาตุกมฺยตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้กระทำการประจบ

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก.

    ๑๙. มิตภาณิตาปฏิรูปตาย อสมฺโมทนสีลตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี(กับผู้อื่น)

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ (ตระหนี่คำสรรเสริญ)



    ๒๐. สมฺโมทนสีลตาปฏิรูปตาย มายาสาเถยฺยญฺจ วญฺเจติ.

    มายาและสาไถย ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี(กับผู้อื่น)



    ๒๑. นิคฺคยฺหวาทิตาปฏิรูปตาย ผรุสวาจา วญฺเจติ.

    ผรุสวาจา(กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม.



    ๒๒. ปาปครหิตาปฏิรูปตาย ปรวชฺชานุปสฺสิตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป.



    ๒๓. กุลานุทฺทยตาปฏิรูปตาย กุลมจฺฉริยํ วญฺเจติ.

    ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล.



    ๒๔. อาวาสจิรฏฺฐิติกามตามุเขน อาวาสมจฺฉริยํ วญฺเจติ.

    ความตระหนี่อาวาส

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.




    ๒๕. ธมฺมปริพนฺธปริหรณมุเขน ธมฺมมจฺฉริยํ วญเจติ.

    ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น.



    ๒๖. ธมฺมเทสนาภิรติมุเขน ภสฺสารามตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม.



    ๒๗. อผรุสวาจตาคณานุคฺคหกรณมุเขน สงฺคณิการามตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ.



    ๒๘. ปุญฺญกามตาปฏิรูปตาย กมฺมรามตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ.



    ๒๙. สํเวคปฏิรูเปน จิตฺตสนฺตาโป วญฺเจติ.

    ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช.



    ๓๐. สทฺธาลุตาปฏิรูปตาย อปริกฺขตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา.




    ๓๑. วีมํสนาปฏิรูเปน อสฺสทฺธิยํ วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.



    ๓๒. อตฺตาธิปเตยฺยปฏิรูเปน ครูนํ อนุสาสนิยา อปฺปทกฺขิณคฺคาหิตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ

    ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่.



    ๓๓. ธมฺมาธิปเตยฺยปฏิรูเปน สพฺรหฺมจารีสุ อคารวํ วญฺเจติ.

    ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย

    ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีธรรมเป็นใหญ่.



    ๓๔. โลกาธิปเตยฺยปฏิรูเปน อตฺตนิ ธมฺเม จ ปริภโว วญฺเจติ.

    ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่.



    ๓๕. เมตฺตายนามุเขน ราโค วญฺเจติ.

    ราคะ(ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีเมตตา.



    ๓๖. กรุณายนาปฏิรูเปน โสโก วญเจติ

    ความเศร้าโศก ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีความกรุณา.




    ๓๗. มุทิตาวิหารปฏิรูเปน ปหาโส วญฺเจติ.

    ความร่าเริง ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา.


    ๓๘. อุเปกฺขาวิหารปฏิรูเปน กุสเลสุ ธมฺเมสุ นิกฺขิตฺตฉนฺทตา วญฺเจติ.

    ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ(ความพอใจ)ในกุศลธรรมทั้งหลาย

    ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา.


    ข้อความจาก...อรรถกถาเนตติปกรณ์ ยุตติหารวิภังควรรณนา

    แปลและเรียบเรียงโดย... มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา


    </TD></TR></TBODY></TABLE></P>
     
  10. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    จิตประภัสสร


    หมายถึง จิตเดิมแท้ผ่องใสอยู่แล้ว
    แต่ไม่ได้แปลว่าบรรลุธรรม, นิพพาน
    หรือเป็นพุทธะแล้ว


    เหมือนแว่นตาใสอยู่แล้ว เธอจะดูอะไรละ?
    เช็ดแว่นตาอยู่ได้ ไม่ต้องเช็ดแล้ว ดูเลย
    อะไรแบบนั้น


    ธรรมบริสุทธิ์อยู่แล้ว จิตบริสุทธิ์อยู่แล้ว
    แต่จิตแจ้งในธรรม ซึ่งบริสุทธิ์ดุจกันหรือยัง?
    ไม่ต้องพะวงแว่นตา ขอร้าบ ...


    [​IMG]
     
  11. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    ธรรมชาติของจิต คือ ผู้รู้ เหมือนพยานที่บริสุทธิ์
    ไม่ใช่จำเลยที่ต้องถูกซักฟอก แต่มี "ขันธ์ทั้งห้า"
    มาปรุงร่วม อันนี้ แยกให้ชัดนะครับ จิตกับขันธ์
    ไม่งั้น มั่ว ฝึกอะไรไม่รู้ ฝึกจิต หรือฝึกขันธ์ ฝึกมั่ว


    จิตบริสุทธิ์แล้ว เป็นพยานได้ รู้เห็นได้ ไม่ต้องถูกซักฟอก
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จิตผ่องใส กับจิตบริสุทธิ์ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส
    แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมองท่านว่าอย่างนี้ อ่านไปนี้พวกนักเรียนนี้โต้กันตาดำตาแดง ไอ้เราก็พลอยขึ้นเวทีฟัดกับเขาด้วย ครั้นกลับออกมาก็มีแต่พวกตาบอดทั้งหมด ไม่ได้มีใครได้สาระเป็นที่ระลึกต่อกันเลยนะ

    ท่านบอก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่สัญจรเข้าไปคลุกเคล้ากันแล้วก็แสดงความเศร้าหมองออกมา คือออกมาภายนอก

    ทีนี้พวกเรียนทั้งหลาย เมื่อจิตผ่องใสแล้วจะมาเกิดทำไม ผู้ที่ไม่เกิดนั่นคือจิตท่านผ่องใส แล้วจิตผ่องใสมันมาเกิดได้ยังไง ก็อ่านถกเถียงกันนี้ก็ไม่มีใครลงใครแหละ มันไม่รู้ แต่เวลาไปปฏิบัติเข้าละซี นี่ละของจริงเข้าทีเดียวผางหมดเลย ไม่ไปถามใครเลยพอจิตเข้าไปถึง จิตผ่องใสนี้มันควรก็การเกิดอยู่โดยดี นั่นเวลาดูเข้าไปแล้วนะ

    จิตบริสุทธิ์กับจิตผ่องใสต่างกัน
    พอเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วผึงเลย ไม่มีคำว่าเกิดตายอีก


    แต่นี่ท่านบอกว่า จิตผ่องใส ท่านไม่ได้บอกว่าจิตบริสุทธิ์ ไอ้พวกเอาผ่องใสมาฟัดกันทั้งกัดทั้งแย่งกัน ถ้าเป็นผ้าขี้ริ้วนี้ขาดเลยไอ้ปุ๊กกี้มันยังไม่ปล่อยนะ เราถึงได้มารู้เรื่องถึงเรื่องว่าจิตผ่องใสกับจิตบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้พูดว่าจิตบริสุทธิ์

    ในบาลีก็เห็นแต่ว่า จิตผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมแท้ผ่องใสท่านว่างั้น จิตเดิมคือจิตอวิชชา นั่นผ่องใส จิตอวิชชาผ่องใสมากทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นจึงงงถูกอวิชชาตีหน้าผากได้สบายนะ

    มหาสติมหาปัญญาก็เถอะเข้าไปเจอทีแรก ถ้าประเภทพวกทันธาภิญญาที่รู้อย่างเชื่องช้าไปลำดับลำดา เว้นขิปปาภิญญาเสีย อันนี้ไม่มีปัญหาขิปปาภิญญาขาดสะบั้นไปพร้อมเลย

    : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ธรรมะดอทคอม

    จิตผ่องใส กับจิตบริสุทธิ์ : อาหารสมอง
     
  13. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    ต้องใช้สมการเสียแล้ว อย่างนี้ครับ


    สมมุติ จิตคือ ตัวแปร S
    กิเลส คือตัวแปร W
    ความเศร้าหมองคือตัวแปร H


    จะได้ว่า H = S + W
    ซึ่ง S = S, W = W
    แต่ H = S + W


    เข้าใจมั้ย?
    (จิตก็คือจิต มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง
    กิเลสคือธรรมที่เข้ามาปรุงร่วมกับจิตแล้ว
    ผลหลังการปรุงจึงออกมาเป็นเศร้าหมอง
    แต่จะไปจ้ำจี้ โทษจิตอยู่นั่นว่าจิตไม่ผ่อง
    ใส นั่น ไม่ใช่แล้ว)
     
  14. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    ฝึกกรรมฐานนั้นฝึกอะไรกัน?


    ฝึกกรรมฐาน ไม่ใช่การไปเปลี่ยนแปลงอะไรในจิต
    แต่เป็นการ "ใช้จิตเป็นผู้ดูเฉยๆ" ในขณะที่ปฏิบัติ
    เพื่อ "พัฒนาอินทรีย์ห้าให้แก่กล้าพอรองรับธรรม"
    เช่น บางคนอินทรีย์อ่อนมาก พอบอกว่าโลกจะแตก
    คงไปฆ่าตัวตายแบบโอมชินริเกียว พอมาฝึกสมาธิ
    อินทรีย์ห้ามีกำลังพอรับความจริงได้ เออมันปลงตก!


    ง่ายยังเนี่ย อธิบายยากไปม้ายเพ่ ...
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    งั้น ต้องลองงัดด้วย สํมมากรณ์

    m คือ mind , c คือ อวิชชา
    E คือ ภพชาติที่แผ่ขยาย หรือยุบรวม
    รวมทั้งที่เห็นเป็นแสง แล แสงมืด สะสารมืดสนิท

    ส่วนกิเลส3 คืออะไร เดี๋ยวค่อยว่ากัน

    มาดู

    E = mc^2

    ก็คือ ภพชาติ เท่ากับ จิตติดอวิชชา ยกกำลังสองนี่ ใส่มาให้เทห์
    แต่ถ้าจะหมายก็คือ เวลาทำดีมันได้ทีละหน่อย แต่เวลาพลั้งไปทางชั่ว
    ก็แก้กันแบบสมการยกกำลังสอง

    มาดู กิเลส กิเลสคืออะไร กิเลส คือ จิตที่ติดอวิชชา เพราะจิต
    มันอวิชชาอยู่ จงแตกตัวออกเป็น กิเลส3

    ทีนี้ หากมีคนทะลึ่งยกว่า เห้ย m=m จิตก็คือจิต ก็ต้องบอกว่า
    ไม่ใช่ m มันเป็นส่วนแปรผันกันกับ c หาก fusion fission
    ส่วน c มันก็ได้ส่วนผกผันมาเป็น m และ m ไปเป็น c มี
    E ภพชาติเป็นตัวรักษา ไม่จบสิ้น!!!

    ดังนั้น m จึงเป็นส่วนวิบากอันเกิดจาก c ที่ยังมีอยู่ ท่องเที่ยวไปไกล
    ไร้สรีระ มีคูหา(อย่างน้อยก็จักรวาล)อาศัยอยู่ แล้ว....มิจฉาทิฏฐิ ก็
    สร้าง สัญญาเข้าไปหมาย แล้วซ้ำด้วยวาทะว่า วิญญาณครอง จิต
    นี้ของกู m นี้ข้องกู c นี้ของกู อวิชชานี้ของกู วิญญาณนี้ก็ของกู


    กู เป็นศัพท์พระ ที่ท่านนิยมใช้ คนที่ศึกษาธรรมะ ย่อมไม่ปรักปรำ
    ภาษา(ว่าเป็น ภาษาคนถ่อย เพราะ ความยิดติดในเท้าที่แดงๆเดินแบบ
    ตะแคง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011
  16. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    กำลังอินทรีย์ที่ต่างกัน ทำให้บารมีกายทิพย์ต่างกัน รับธรรมได้ไม่เท่ากัน


    จิตประภัสสร ไม่ต่างกัน มีวิญญาณห่อหุ้มเป็นกายทิพย์ แตกต่างกันไปตามบารมี
    ซึ่งสามารถบำเพ็ญได้หลายวิธี บ้างนั่งสมาธิพัฒนาอินทรีย์ จิตเหมือนเดิม แต่จะ
    มีกายทิพย์เปลี่ยนไป ดีขึ้น พัฒนาสูงขึ้นได้ เช่น จากกายเทวดาธรรมดา เป็นกาย
    โพธิสัตว์ ก็มี เกิดขึ้นได้ แต่บางคน ไม่ได้นั่งสมาธิฝึกกรรมฐานอะไร เขาทำงาน
    บำเพ็ญบารมีช่วยคนแบบอื่นๆ ถามว่า "อินทรีย์พัฒนาขึ้นได้ไหม" ได้สิ กายทิพย์
    เขาดีขึ้น พัฒนาขึ้นตามกำลังบุญบารมีนั้นได้โดยไม่มีการฝึกกรรมฐานก็มี


    ทีนี้ ผู้ถ่ายทอดธรรมก็จะพิจารณาอินทรีย์ละว่าพร้อมควรรับธรรมระดับใด เช่น ถ้า
    กายทิพย์ยังเป็นเปรตอยู่ โทษนะ โน่นไปกินข้าวก่อนไป๊ ไปทำบุญก่อนไป ไม่ต้อง
    มารับฟังธรรมก็ได้ แต่ถ้ากายทิพย์เป็นโพธิสัตว์แล้ว รับธรรมได้มากมาย ตามแต่
    บารมีโพธิสัตว์นั้น เช่น กายทิพย์มัญชุศรีโพธิสัตว์ รับธรรมได้ไม่มีจำกัดเป็นหมื่น
    โลกธาตุ, กายทิพย์สมันตรภัทรโพธิสัตว์ รับธรรมได้จำกัด แต่รับอภิญญาได้มาก
    เป็นต้น ทีนี้ กายทิพย์พุทธะ หรือผู้สำเร็จพุทธะแล้วจากการบำเพ็ญบารมีด้วยวิธีใด
    ก็แล้วแต่ (ไม่ว่าจะด้วยการบำเพ็ญทางจิต เช่น ฝึกกรรมฐาน หรือทำงานด้วยแรง
    กายเอาบารมี ก็ได้เหมือนกัน) เรามักเรียกว่า "จิตพุทธะ" จริงๆ แล้วก็คือจิตเดิม
    นั่นแหละไม่เปลี่ยนแปลงไปไหน ยังไม่นิพพาน แต่มีวิญญาณห่อหุ้มเป็นกายทิพย์
    รูปพุทธะ (แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้านะครับ พุทธลักษณะบางอย่างจะยังไม่มีครบ) คือ
    ผู้มีอินทรีย์พร้อม "ตรัสรู้" ได้เอง แต่จะตรัสรู้แล้วเป็นพระพุทธเจ้าหรือ? ไม่ใช่ครับ
    ไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป บางท่านตรัสรู้เองเป็นพระปัจเจกฯ ก็ได้นี่, ในกรณีนี้เราขอ
    เรียกว่า "ตรัสรู้พุทธะ" ท่านจะรู้ได้เอง ไม่มีใครไปบอกธรรมให้ขณะกำลังบรรลุธรรม
    ถ้ามีอาจารย์นั่งบอกอยู่ อันนั้นแบบเซน คือ จิตสู่จิต อาจารย์สู่ศิษย์ แบบนั้นไม่เรียก
    ว่าตรัสรู้พุทธะ แต่เรียกว่าบรรลุอรหันตผลแบบเซน ได้เหมือนกัน (ไม่ใช่แบบวัชรยาน)


    อนึ่ง ท่านที่สำเร็จ "ธรรมกาย" สามารถตรวจดูอินทรีย์จากการเพ่งกายทิพย์ได้โดยตรงแต่
    ในท่านอื่นที่ไม่ได้พิจารณาจากกายทิพย์ จะใช้ญาณอย่างหนึ่งเรียกว่า "สมันตรจักษุ" ก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เนี่ยะ ออกแนว มหายาน ออกแนวเอา โคตรภูญาณเป็น นิพพาน

    แต่ ธรรมชาติที่ ไม่รู้ว่า อะไรคือ สัมมาอาชีวะ ไม่สามารถมีสัมมาอาชีวะ
    ได้ จึงเรียกว่า มี มิจฉาอาชีวะ

    พอมี มิจฉาอาชีวะ เต็มที่ ก็จะดำริเรื่อง ลิงแก้แห แก้นู้ แก้นี่ แก้ได้
    สารพัด แก้โรคได้ แก้โลกก็ได้ แก้การปกครองก็ได้ บอกวิธีการปฏิบัติ
    ได้หมดทุก กายมัดชู้สี กายกวนเอ๋ง กวนกู แต่ มันแก้ไม่ได้จริง แก้
    ได้เดี๋ยวโลกก็เปลี่ยน ปูแดงไปนายมาคก็มา นายมาคไม่มาก็มีปลาบู่รออยู่
    โอยยย ยุ่ง

    แต่ก็สำคัญตัวว่าแก้ได้ อันเป็น ธรรมชาติของ มิจฉาอาชีวะ

    แก้ได้ชั่วครั้งชั่วคราว จะเรียกว่า แก้ได้ มันก็ไม่ถนัด

    เรียกว่า แก้ขัด ก็พอไหว เนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2011
  18. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7

    ยังไม่ได้พูดถึงนิพพานเลย


    พูดเพียงเตรียมอินทรีย์ให้พร้อมรับธรรมเท่านั้น
    ซึ่งผลจากการรับธรรมแล้ว อาจได้ไม่ถึงอรหันต์ก็ได้ เช่น
    ได้แค่โสดาบันก็มี คนที่มีจิตพุทธะ คือ เขามีอินทรีย์แก่กล้า บารมีมาก
    บางคนยังไม่บรรลุอรหันต์ก็มี พอยอมเข้าไปบวชปั๊บ สักกายทิฐิหมด ปุ้บ
    อรหันต์ตอนปลงผมเลยยังมี ถามว่า "ใครไปสอนธรรมเขาตอนนั้นน่ะ?" ไม่มี
    แล้วบรรลุแบบนี้ เขาเรียกว่าอะไร ถ้าไม่ใช่การตรัสรู้เองโดยชอบ แต่มิใช่เพื่อ
    จะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นแค่พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรัสรู้เองโดยชอบเท่านั้น


    เอ? แล้วผมไปพูดตรงไหนว่าโคตรภูญาณเป็นนิพพาน งง?
     
  19. songkyunkwan

    songkyunkwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +7
    มหายานไม่กล่าวว่าตนนิพพานโดยง่ายนะครับ
    ขนาดมีธรรมแก่กล้า มากดุจทะเล ยังไม่บอกเลย
    ว่า "ฉันนิพพานแล้วแน่" น่ะ เขาไม่มีแบบนั้นกันครับ


    ...
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ถ้า ไม่ใช่การปรารภนิพพาน มรรคก็ไม่ชื่อว่ามีอยู่ในเรื่องที่ สาธยายมา สิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...