กาย จิต ใจ ใครคือเรา

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 29 เมษายน 2008.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อุทานธรรมข้อต่อมา

    เมื่อบุคคลปลงผม หนวด เคราออกหมดแล้ว

    และได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อยแล้ว

    ก็นับว่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นภิกษุได้

    แต่ยังเป็นได้แต่เพียงภายนอกเท่านั้น

    ต่อเมื่อเขาสามารถปลงสิ่งที่รกรุงรังทางใจ

    อันได้แก่อารมณ์ตกตํ่าทางใจได้แล้ว

    ก็ชื่อว่าเป็นภิกษุในภายในได้ฯ

    ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว

    สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่นเหา

    ย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด

    จิตที่พ้นจากอารมณ์

    ขาดจากการปรุงแต่งแล้ว

    ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น

    ผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้ควรเรียกได้ว่า "เป็นภิกษุแท้"

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พุทโธเป็นอย่างไร

    หลวงปู่รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ

    เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม

    ญาติโยมสงสัยว่าพุทโธ เป็นอย่างไร

    หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า

    เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก

    ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด

    ความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา

    หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย

    ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด

    แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้

    รู้จากจิตของเรานั่นแหละ

    จิตของเราสงบเราจะรู้เอง

    ต้องภาวนาให้มากๆเข้า

    เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง

    ความรู้อะไรๆให้มันออกมาจากจิตของเรา

    ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด

    ให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ

    ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก

    ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง

    ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ

    แล้วพุทโธ เราจะได้รู้จักว่า

    พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย.

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มี แต่ไม่เอา

    ปี ๒๕๒๒ หลวงปู่ไปพักผ่อน และเยี่ยมอาจารย์สมชาย

    ที่วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ขณะเดียวกันก็มี

    พระเถระอาวุโสรูปหนึ่งจากกรุงเทพฯ

    คือพระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม

    เจ้าคณะภาคทางภาคใต้ไปอยู่

    ฝึกกัมมัฏฐานเมื่อวัยชราแล้ว

    เพราะมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่เพียงปีเดียว ฯ

    เมื่อท่านทราบว่าหลวงปู่เป็นพระฝ่ายกัมมัฏฐานอยู่แล้ว

    ท่านจึงสนใจและศึกษาถามถึงผลของการปฏิบัติ

    ทำนองสนทนาธรรมกันเป็นเวลานาน

    และกล่าวถึงภาระของท่านว่า

    มัวแต่ศึกษาและบริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา

    แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวงปู่อยู่เป็นเวลานาน

    ลงท้ายถามหลวงปู่สั้นๆว่า ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม

    หลวงปู่ตอบเร็วว่า

    "มี แต่ไม่เอา"

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทิ้งเสีย
    สุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์ เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่จบแล้ว ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม เขาจึงพูดปรารภต่อไปอีกว่า คนสมัยนี้ไว้ทุกข์กันไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน ทั้งๆที่สมัย ร.๖ ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่แล้ว เช่น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง ก็ให้ไว้ทุกข์ ๗ วันบ้าง ๕๐ วันบ้าง ๑๐๐ วันบ้าง แต่ปรากฎว่าคนทุกวันนี้ทำอะไรรู้สึกว่าลักลั่นกันไม่เป็นระเบียบ ดิฉันจึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า การไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ ฯ

    หลวงปู่บอกว่า

    "ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทำไม."

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    คราวหนึ่ง หลวงปู่กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า

    เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ

    ในพรรษาที่ ๒๔๙๕ เพื่อสำรวจดูว่า

    จุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน

    ที่สุดแห่งสัจจธรรม หรือที่สุดของทุกข์นั้น

    อยู่ตรงไหน พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร

    ครั้นอ่านไป ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ

    ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเรา

    ให้ตัดสินใจได้ว่า นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์

    ที่สุดแห่งมรรคผล หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

    มีอยู่ตอนหนึ่ง คือ ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ

    พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า

    สารีบุตร สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก

    วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก

    อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ พระสารีบุตรกราบทูลว่า

    "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์"

    (สุญฺญตา) ฯ

    ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ ที่มาสัมผัสจิตของเรา.

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว

    จำพระธรรมได้มากมาย

    พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง

    มีคนเคารพนับถือมาก

    ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย

    หรือสามารถอธิบายถึง

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม

    "ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รสชาติ

    ของพระศาสนาแต่ประการใดเลย

    เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น

    เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอก

    คือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น

    เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง

    หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนวัตถุ

    ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น

    คือ ความพ้นทุกข์

    "จะพ้นทุกข์ได้ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง."

    http://www.nkgen.com/pudule.htm
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คิดไม่ถึง
    สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นี่นเอง อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา คือ ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกมาจากปากใคร ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร หรือสวดปาติโมกข์เท่านั้น ครั้นออกพรรษาแล้ว พากันไปกราบหลวงปู่ เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้วสามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาด้วย ฯ
    หลวงปู่ฟังฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

    "ดีเหมือนกัน เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา

    แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก

    นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ

    ชั้นละเอียดดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้

    นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าจะไม่พูด

    นั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ไม่ออกเสียง

    ให้คนอื่นได้ยินเท่านั้น."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2008
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อย่าตั้งใจไว้ผิด
    นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้ว โดยที่ท่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุด ท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ

    มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ

    มิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและสรรเสริญ

    มิใช่อานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯ

    ที่แท้พรหมจรรย์นี้

    เราประพฤติ เพื่อสังวระ-ความสำรวม

    เพื่อปหานะ-ความละ

    เพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดี

    และเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์

    ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้

    นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."

     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระพุทธพจน์
    หลวงปูว่า ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฎฐิและเมื่อมีทิฎฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน เมื่อไม่เห็นตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่รํ่าไป สำหรับพระอริยเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้วก้ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร ใครมีทิฎฐิอย่างไร ก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลาย

    ในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่

    สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี

    แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่โต้แย้งเถียงกับโลก

    แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา

     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นักปฏิบัติลังเล
    ปัจจุบันนี้ ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนา มีความงงงวยสงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจเนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน ยิ่งไปกว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น สำนักอื่น ว่าเป็นการถูกต้อง หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ฯ
    ดังนั้น เมื่อมีผู้สงสยทำนองนี้มากแลัเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอๆว่า

    "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น

    จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้

    เพราะผลมันก็เป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว

    ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น

    เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน

    จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรม

    เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น

    เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบ

    แล้ว คำบริกรรมเหล่านั้นก็หลุดหายไปเอง

    แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน

    คือมีวิมุตติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อยู่ ก็อยู่ให้เหนือ
    ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริง แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส และสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมาก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคลํ้า หรืออิดโรย หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดให้เห็น ท่านมีปรกติสงบเย็น เบิกบานอยู่เสมอ มีอาพาธน้อย มีอารมณ์ดี ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เผลอคล้อยตามไปตามคำสรรเสริญ หรือคำตำหนิติเตียนฯ
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนา สนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์ โดยลักษณาการอย่างไรฯ
    หลวงปู่ว่า

    "การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ."

     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำจิตให้สงบได้ยาก
    การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้า หรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล เคยมีลูกศิษย์จำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้ ฯ
    หลวงปู่เคยแนะวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า

    "ถึงจิตจะไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล

    ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้

    ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา

    หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว

    จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา

    ความหน่าย คลายกำหนัด

    ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หลักธรรมแท้
    มีอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติชอบพูดถึง คือ ชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง ปรากฎอะไรออกมาบ้าง หรือไม่ก็ว่า ตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฎอะไรออกมาบ้างเลย หรือบางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการเป็นต้น ฯ
    หลวงปู่เคยเตือนว่า การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง

    หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือ จิต

    ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง

    เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว

    นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม.

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    คำสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น

    เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง

    คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย

    แต่ทางดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน

    การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก

    หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์

    ทันในชาตินี้ แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน

    เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น

    เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว

    รีบปฏิบัติให้พ้นเสีย มิฉนั้นจะเสียโอาสอันดีนี้ไป

    เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม

    ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่กองทุกข์สิ้นกาลนาน.

     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปรารภธรรมะให้ฟัง

    มิใช่ครั้งเดียวเท่านั้นที่หลวงปู่เปรียบเทียบธรรมะให้ฟัง

    มีอยู่อีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ว่า

    ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ

    ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้

    ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงเข้าถึงพระนิพพานได้

    ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เช่น

    ไอสไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมาก

    แยกปรมาณูที่เล็กที่สุด จนเข้าถึงมิติที่ ๔ แล้ว

    แต่ไอสไตน์ไม่รู้จักนิพพาน จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้

    "จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้นจึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง

    ตรัสรู้ยิ่ง ตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อการดับทุกข์

    เป็นไปเพื่อนิพพาน."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ละเอียด
    หลวงพ่อเบธ วัดป่าโคกหม่อน ได้เข้าสนทนาธรรมถึงการปฏิบัติทางสมาธิภาวนา เล่าถึงผลการปฏิบัติขั้นต่อๆไปว่าได้บำเพ็ญสมาธิภาวนามานานให้จิตเข้าถึงอัปปนาสมาธิได้เป็นเวลานานๆก็ได้ ครั้นถอยจากสมาธิออกมา บางทีก็เกิดความรู้สึกเอิบอิ่มอยู่เป็นเวลานาน บางทีก็เกิดความสว่างไสว เข้าใจสรรพางค์กายได้ครบถ้วน หรือมีอะไรต้องปฏิบัติต่อไปอีก
    หลวงปู่ว่า

    "อาศัยพลังอัปปนาสมาธินั่นแหละ

    มาตรวจสอบจิต แล้วปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด

    อย่าให้เหลืออยู่."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ว่าง
    ในสมัยต่อมา หลวงพ่อเบธ พร้อมด้วยพระสหธรรมิกอีกสองรูป และมีคฤหัสถ์หลายคนด้วย เข้านมัสการหลวงปู่ฯ
    หลังจากหลวงปู่ได้แนะนำข้อปฏิบัติแก่ผู้ที่เข้ามาใหม่แล้ว หลวงพ่อเบธถามถึงข้อปฏิบัติที่หลวงปู่แนะเมื่อคราวที่แล้ว ว่าการปล่อยวางอารมณ์นั้น ทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว หรือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ไม่อาจให้อยู่ได้เป็นเวลานานฯ

    หลวงปู่ว่า

    "แม้ที่ว่าปล่อยวางอารมณ์ได้ชั่วขณะหนึ่งนั้น

    ถ้าสังเกตุจิตไม่ดีหรือสติไม่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว

    ก็อาจเป็นไปได้ว่าละจากอารมณ์หยาบ

    ไปอยู่กับอารมณ์ละเอียดก็ได้

    จึงต้องหยุดความคิดทั้งปวงเสีย

    แล้วปล่อยจิตให้ตั้งอยู่บนความไม่มีอะไรเลย."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่ค่อยแจ่ม
    กระผมได้อ่านประวัติการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เมื่อสมัยเดินธุดงค์ว่า หลวงปู่เข้าใจเรื่องจิตได้ดีว่า จิตปรุงกิเลส หรือว่ากิเลสปรุงจิต ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ฯ

    หลวงปู่อธิบายว่า

    "จิตปรุงกิเลส คิอ การที่จิตบังคับให้

    กาย วาจา ใจ กระทำสิ่งภายนอก

    ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบาก

    แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว

    นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา

    กิเลสปรุงจิต คือ การที่สิ่งภายนอกเข้ามา

    ทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจของมัน

    แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่

    สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความหลังยังฝังใจ
    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ไปพักผ่อนที่วัดโยธาประสิทธิ์ พระเณรจำนวนมากพากันมากราบนมัสการหลวงปู่ ฟังโอวาสของหลวงปู่แล้ว หลวงตาพลอยผู้บวชเมื่อแก่ แต่สำรวมดี ได้ปรารภถึงตนเองว่า กระผมบวชมานานก็พอสมควรแล้ว ยังไม่อาจตัดห่วงอาลัยในอดีตได้แม้ตั้งใจอย่างไรก็ยังเผลอจนได้ ขอทราบอุบายวิธีอย่างอื่นเพื่อปฏิบัติตามแนวนี้ต่อไปด้วยครับกระผม ฯ

    หลวงปู่ว่า

    "อย่าให้จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก

    ถ้าเผลอ เมื่อรู้ตัวให้รีบดึงกลับมา

    อย่าปล่อยให้มันรู้อารมณ์ดีชั่ว

    สุขหรือทุกข์ ไม่คล้อยตาม และไม่หักหาญ."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้จากการเรียนรู้ กับ รู้จากการปฏิบัติ
    ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ที่กระผมจำจากตำราและฟังครูสอนนั้น จะตรงกับเนื้อหาตามที่หลวงปู่เข้าใจหรือ ฯ

    หลวงปู่อธิบายว่า

    "ศีล คือ ปรกติจิตที่อยู่อย่างปราศจากโทษ

    เป็นจิตที่มีเกราะกำบังป้องกันการกระทำชั่วทุกอย่าง,

    สมาธิ ผลสืบเนื่องมาจากการรักษาศีล

    คือ จิตที่มีความมั่นคง มีความสงบเป็นพลัง

    ที่จะส่งต่อไปอีก, ปัญญา ผู้รู้ คือ จิตที่ว่างเบาสบาย

    รู้แจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริงอย่างไร ฯ.

    วิมุตติ คือ จิตที่เข้าถึงความว่าง

    จากความว่าง คือ ละความสบาย

    เหลือแต่ความไม่มี ไม่เป็น

    ไม่มีความคิดเหลืออยู่เลย."

    http://www.nkgen.com/pudule2.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...