กาย จิต ใจ ใครคือเรา

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 29 เมษายน 2008.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หยุดคิด วางคิด

    ทำให้เป็นธรรมชาติไปเรื่อยๆ

    ถ้ายิ่งว่างจากคิดนานๆ จะแจ่มมาก

    คิดว่างั้นนะ ทำไรไม่ได้ปล่อยรู้ลูกเดว

    มีสติแบบไม่ไม่เสียสตัง
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
    http://palungjit.org/showthread.php?t=78038

    ๘. มธุปิณฑิกสูตร

    ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ

    [๒๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท.

    ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
    เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสร็จจากการเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อทรงพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะ กำลังเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร?

    ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไรจึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก และสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
    ทัณฑปาณิศากยะได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป.

    [๒๔๔] ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่าให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม. ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้นแล้วเข้าไปหาเรายังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะ กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าว
    อย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป.

    [๒๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไร จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก

    อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร?

    พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.

    ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ

    [๒๔๖] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความสงสัยว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลินยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัยเป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะการถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายควรพากันไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ.

    ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะว่า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว พากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพูดกะท่านมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้นอันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นเป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงการด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกผมได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ ผมเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะนี้ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาท่านกัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านมหากัจจานะดู ขอท่าน
    มหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด.

    [๒๔๗] ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ ก็ล่วงเลยโคนต้นและลำต้นของต้นไม้ใหญ่อันมีแก่นเสีย สำคัญว่าจะพึงแสวงหาแก่นที่กิ่งและใบฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเมื่อพระศาสดาทรงปรากฏอยู่เฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ล่วงเลยพระองค์ไปเสียแล้วกลับจะมาไต่ถามเนื้อความนี้กะผม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไขอย่างไร ท่านทั้งหลายก็ควรจำไว้อย่างนั้น.

    ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ ทรงเห็นเป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพยาน เป็นผู้มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่กระผมทั้งหลาย จะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไขอย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล แต่ว่า ท่านพระมหากัจจานะอันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ
    ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อว่า ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.

    พระมหากัจจานะแสดงอุเทศโดยพิสดาร

    [๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว.

    ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว.

    ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวดังนี้ว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้นอันนี้แลเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัยเป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้

    ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตาเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.

    ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ...
    ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
    ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ...
    ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
    ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.

    ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี เขา จักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มีฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจักบัญญัติสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
    ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อมีหู เสียงมี ...
    ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี ...
    ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี ...
    ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี ...
    ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มี และมโนวิญญาณมี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมีเขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

    ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และจักขุวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
    ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี ...
    ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี ...
    ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี ...
    ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ...
    ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี และมโนวิญญาณไม่มีเขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือกล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับต้นไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ
    การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้อย่างนี้.

    ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด.

    [๒๔๙] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหากัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคหลีกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์ได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ ...ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และ
    เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะดู.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ. ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.

    ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลายจงจำทรงข้อนั้นไว้เถิด.

    [๒๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ขนมหวาน แล้วกินในเวลาใด ก็พึงได้รับรสอันอร่อยหวาน ชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใดข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด ชาติบัณฑิต พึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญา ในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ และได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร.

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่ามธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

    จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ ๘
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
    สุภาษิตเกี่ยวกับการฝึกจิต


    [๒๑๔] แต่ก่อน จิตนี้เคยจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความปรารถนา ตามความ
    ต้องการ ตามความสบาย วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นโดยอุบายอันชอบ
    เหมือนนายควาญช้างผู้ฉลาด ข่มขี่ช้างผู้ซับมันไว้ได้ด้วยขอ ฉะนั้น.

    http://palungjit.org/showthread.php?t=119974
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ปรกติจิตมันจะไหลไปคิดเป็นส่วนมาก ซึ่งไม่ใช่โทษะ หรือ โลภะ

    แต่เป็นการ หลงไปคิด เรื่อยเปื่อย จะงาน หรือ ชีวิต มันก็หลงไปคิด

    แต่หลงไปคิดเรื่องงาน อันนี้ก็ต้องปล่อยไป เรายังต้องทำงาน ก็จำต้องหลง

    แต่เวลาไหน ไม่ได้ทำงาน เช่น ลุกจากโต๊ะทำงานไปทานข้าว ไปเข้าห้องน้ำ
    แอบอู้ บิดขี้เกียจ แอบเล่นเน๊ท แต่ทำท่าเหมือนทำงาน ก็เวลานี้แหละที่ไม่ได้
    ทำงานอยู่

    มันก็เหมือน ช้าง ที่ว่างก็ก็ส่ายหัว ส่ายตัวด๊อกแด๊ก นั้นแหละ

    การจะเห็นการ สับด้วยขอ เราต้องขยันทำเหตุเสียให้มัน คิดเพียงเรื่องเดียว
    แทนที่จะหลงไปคิดหลายเรื่อง ก็ให้มันคิดเรื่องเดียว อันนี้ก็คือการ
    ทำสมถะทั้งหลาย แต่ให้ทำเล่นๆ ให้คิดเรื่องเดียวเพียงเล่นๆ อย่า
    จริงจังจนเหลือแต่เรื่องเดียว จนช้างกระดุกกระดิกไม่ได้ เพราะเรา
    ต้องการเรียนรู้ทุกข์ ต้องปล่อยให้จิตมันได้ซนเหมือนจิตเด็ก เราจะ
    ได้เห็นมันไหลแว็บไปคิด พอมันไหลไป ก็รู้ทันมัน มันก็เหมือนหยุด
    แต่อย่าไปจงใจหยุด ให้รู้ทันแล้วมันหยุด คือ ถ้าเรื่องที่คิดเป็นเรื่อง
    อกุศล เมื่อถูกรู้ทัน มันมักจะหยุด เพราะจิตเดิมเราย่อมประภัสสร คือ
    เป็นข้างกุศล เพราะอกุศลเกิดมันจึงหยุดโดยตัวจิตเอง เราก็จะค่อยเห็น
    จิตเดิมแท้เขาทำงาน เขาแหวกอาสวะของเขาเอง ก็จะได้เห็นความเป็น
    จริง

    แต่ถ้าเราไปช่วย คือเห็นเราคิด แล้วไปคิดระงับการคิด ก็เท่ากับเราเปลี่ยน
    การคิดจากเรื่องหนึ่ง ไปอีกเรื่องหนึ่ง แต่ยังเป็นหนึ่งความคิด ก็เท่ากับทำ
    สมถะอยู่นั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยนรูปองค์บริกรรม ดังนั้น ไม่ควรช่วยคิด การสับ
    ขอไม่ใช่การจงใจไปดัดแปลงความคิด แต่เป็นการให้จิตเขาลงขอด้วยตัวเขา
    เอง เราจะได้เห็นเขาทำงาน เขาประภัสสร เขาละอกุศลเอง เห็นมรรคจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2008
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การสับขอไม่ใช่การจงใจไปดัดแปลงความคิด แต่เป็นการให้จิตเขาลงขอด้วยตัวเขาเอง

    แบบว่าขอบคุณค้าบบบ โดนใจ จึ๊กจึ๊ก เรย ;)
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันนี้มีเรื่องส่วนตั๊วส่วนตัว มาคุยอีกแระ
    เขาคนนั้น สามีหนูเองแหละ
    บงคับให้หนูดูหนังเรื่อง MIST หมอกกินคน
    มะอยากดูเรย กะลังดูกระทู้หนุกๆ พูดซะเฉาเรย
    ไม่อยากให้จิตมารก่อตัวก็เรยต้องยอมออกจากเว็บพลังจิต
    ไปดูหนัง ด้วยความหวังดีมากมาย (เขาดูแร้วนะเนี่ย มาเปิดให้หนูดูโดยเฉพาะ)
    ก็ดูๆไป เขาก็สั่งสอนไปด้วยหวังดีว่า
    ถ้าเกิดยังงี้ ให้คิดยังงี้นะ ห้ามคิดแบบนี้เด็ดขาด ห้ามตัดสินใจแบบพระเอกเรื่องนี้
    อ่าวลืมเล่าเรื่องย่อก่อน เรื่องเป็นยังงี้ กองทัพสหรัฐทดลองประตูมิติ
    ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งแล้วเกิดผิดพลาด มีหมอก สัตว์ประลาดพวกแมลงยักษ์
    หลุดออกมา มีคนกลุ่มนึงหลบรวมกันอยู่ในซุปเปอร์ ก็รอดอยู่ได้
    แต่โดนแมลงยักษ์โจมตีเป็นระยะ มีคนตายเป็นระยะ มีพวกคลั่งศาสนา
    มีอาการกลัวตายคลั่งพระเจ้า แล้วก็ทะเลาะกันเอง ฆ่ากันตาย ทีนี้พระเอกก็แยกตัว
    พร้อมเพื่อนกะลูกชาย7ขวบ หนีออกไป ขับรถไปได้ไม่พ้นหมอก
    น้ำมันหมดก่อน ในรถเค้าตัดสินใจให้ยิงตัวตาย มี 5 คน ปืนมี 4 ลูก
    พอยิงตายกันหมดแล้ว พระเอกก็ลงรถ คงคิดว่าไปตายอะ ปรากฏว่า
    พอลงจากรถไปเจอทหารมาเคลียร์พื้นที่ พวกที่เหลือก็รอดตาย
    พระเอกก็มองตาค้าง จบเรื่อง

    ปล.เขาคนนั้นกลัวว่า ถ้าถึงวันที่ต้องมีสภาพแบบนี้แล้วเค้าไม่อยู่ด้วย
    เหลือหนูกะลูก 2 คน ให้ตัดสินใจดีดี อย่าทำอย่างพระเอกในเรื่อง
    แล้วก็ให้ดูคนเวลากดดัน มีอารมณ์บ้าคลั่ง ควรทำยังไง
    สรุปว่าดูไปอบรมไป เฉาเรยเรา แต่ก็ได้ประโยชน์ ดูอารมณ์สัญชาติ
    คนหมู่มากน่ากลัวดี เขาหวังดีมากจิงจิงนะเนี่ย สงสัยจะห่วงลูกมากมาย
    เล่าสู่กันฟัง

    เนี่ยเขาบอกว่าถ้าเรื่องยังไม่เกิด ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองจะเป็นแบบในหนังหรือเปล่า
    แถมมีตบท้าย ให้ปล่อยวางอารมณ์ แล้วสมาธิจะมาเอง
     
  7. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    K.Kwan คอแข็งแล้ว
    คารวะ ศีรษะไยไม่จรดพื้น
    เดี๋ยวปั๊ด :)
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ค้าบ ขอโทษค้าบ

    โป๊ก โป๊ก โป๊ก

    หน้าผากแดงแร้วอะท่าน

    ขอดีเพิ่งหัดจิบไวน์ คอมันเรยแข็งกว่าเดิมนิดนึง
    ขอโทษจิงจิงค้าบบบแบบว่าลืมตัวไปนิดส์ (deejai)
     
  9. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    55
    สามีเรียกไปดูหนังด้วยยังมาบ่นอีก
    บางคนสามีเขาไม่กลับบ้านทั้งคืนนะ K.Kwan :)
    ทีหลังก็อย่าจิบไวน์บ่อย มันทำให้คอแข็ง ศีรษะจรดไม่ค่อยถึงพื้น

    ว่าแต่เรื่องนี้มันหนังเก่าหรือหนังใหม่อะ
    ทำไม่ไม่เคยดู ดูใน UBC หรือเปล่า
    หลังๆ มันฉายแต่หนังเก่าวนไปวนมาเลยไม่ได้ดูเลย ดูแต่สารคดีอย่างเดียว
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ลุงจิว เขาคนนั้นบอกว่าหนังใหม่อะ แต่ออกจากโรงแร้ว
    หาเช่าได้แร้วมั้งคะ พอดียืมเพื่อนดูอีกที
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อืม.........

    สงสัยทำสมถะอยู่นะนั่น กดข่ม

    เคขวัญต้องทำให้เย็นเป็นตัวอย่าง แล้วความเย็น
    จาก เค จะส่งถึงทุกคนเอง
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โห ท่าน3 คุยกะนางแมวเป็นรหัสมอสบ่อยๆ
    ติดมาถึงนี่เรยนะเนี่ย
    สงสัยต้องไปเข้าคอร์สรหัสมอสซะแร้ว :eek: ^-^

    ปล. เขาคนนั้นเห็นแต่ความโหลยโท่ยของเราอะ
    ถ้าจะเปลี่ยนความคิดยากส์ :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2008
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผมก็ขอโหลยโท่ยด้วยคนสิครับ ^-^
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โหยคุณจินนี่ ก็เมื่อก่อนเรามันโหลยโท่ยอย่างเขาว่าจิงจิงนะ
    สัญญาเก่ามันเปลี่ยนยากส์
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อิอิ

    เข้าใจเลย

    หัวอกเดียวกัน........

    อะ!..เฮ้ย...อย่างงี้ไม่เอา.....

    ไปซะแล้ว เล่นมากไป สัญญากิน !?

    วังวนหนอ วังวนหนอ......
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE class=tborder id=post1265179 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 10:16 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #11 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>เฮ้งตงเอี๊ยง<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1265179", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 10:16 AM
    วันที่สมัคร: May 2008
    ข้อความ: 346
    Groans: 0
    Groaned at 47 Times in 28 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 3
    ได้รับอนุโมทนา 735 ครั้ง ใน 249 โพส
    พลังการให้คะแนน: 36 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1265179 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ซอฮาบีย์ [​IMG]
    เคยอ่านหนังสืออาจารย์ท่านหนึ่ง เขียนว่า
    พระพุทธเจ้าบอกว่า ...ขึ้นชื่อว่าโลก แปลว่า "ฉิบหาย" หรือครับ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    โลกนี้มีความอนิจจังเป็นแก่น
    มีความตายเป็นเปลือก
    มีความวิบัติเป็นเนืองนิตย์


    ดังนั้น ขึ้นชื่อว่าโลก จึงแปลว่า "ฉิบหาย" ด้วยอาการอย่างนี้
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
    จินตนาการกันเถอะครับ อย่าเครียดมากนะ นะ
    <!-- / sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE class=tborder id=post1263375 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] เมื่อวานนี้, 02:44 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ขันธ์<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1263375", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 10:46 AM
    วันที่สมัคร: Oct 2006
    สถานที่: หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน
    ข้อความ: 2,185
    Groans: 221
    Groaned at 205 Times in 138 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 1,011
    ได้รับอนุโมทนา 6,741 ครั้ง ใน 1,821 โพส
    พลังการให้คะแนน: 510 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1263375 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->อะไรปิดท่านอยู่
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->วันนี้จะพูดในเรื่อง ธรรม ที่เป็นโมหะปิดบังจิตอยู่ ซึ่งเป็นธรรมขั้นสูง ซึ่งสามารถใช้ปัญญาตีให้โมหะตัวนี้ แตกไปได้

    ในการดำเนินชีวิต ของสัตว์ ทุกอย่างมักจะมี ความจำเจซ่อนอยู่ในชีวิตนั้น ทั้งนี้เพราะว่า ตัวภพ นั้นเองเป็นตัวดึงดูดให้สัตว์ต่างๆ มีวิถีความคิด วิถีชีวิต ติดอยู่ สัตว์นั้นไม่สามารถคิดอะไรได้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะจิตไปไม่ได้ แต่เพราะอำนาจกรรม ปิดจิตไม่ให้วิ่งออก จึงจำเป็นต้องดำเนินชีวิตไปตามยถากรรม ไม่มีหนทางแก้ไข ก็เปรียบได้กับมนุษย์ ที่คิดอะไรทำอะไร มองเห็นแต่เรื่องเดิมๆ มีทัสนะแต่เรื่องเดิมๆ ก็เพราะกรรมนั้นแหละปิด หนทางที่เขาจะเดินออกไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม ก็ยาก

    ยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องหนึ่ง มีคนยากจนเดินในกรุงเทพ บังเอิญเดินมาเจอผม เขาก็บอกว่าเขาไม่มีเงินเลย ไปหาพี่สาวจะขอเงินก็ไม่เจอ เขาเล่าให้ฟังว่า เขาไม่รู้จะทำอย่างไร
    ผมก็ ดูแล้วว่า คนนี้ ไม่ใช่คนโกหก แต่เขากำลังถูกกรรมปิดบังไม่ให้เห็นหนทางข้างหน้าที่เขาต้องเดินไป คิดจะแก้ปัญหาก็แต่ทางเดียว
    ผมก็เลยบอกว่า ถ้าไม่มีเงิน ก็ให้เดินไปที่วัดใกล้ๆ ไปขอเจ้าอาวาสอาศัยสักพักหนึ่ง ให้ช่วยงานทางวัด
    เท่านั้นแหละ สีหน้าเขาก็ยิ้มแย้มขึ้นมาเหมือนกับว่า คืนนี้มีที่นอนแล้ว มีที่ไปแล้ว จากนั้นก็ยกมือไหว้ผมแล้ว เดินไปวัด นี่จะเห็นได้ว่า เรื่องง่ายนิดเดียว แต่คิดไม่ออก
    แล้วท่านหละ มีเรื่องง่าย กี่เรื่องที่คิดไม่ออก หลงจมกับการแก้ปัญหาให้ยากเอง

    นี่ผมกำลังจะบอกว่า จริงๆ แล้วจิตมันมีช่องทางไปได้ง่ายๆเสมอ ถ้ามีคนแนะนำ ให้เห็นทาง
    ย้อนกลับมาที่เนื้อหา ว่าอะไรที่ปิดบังเราได้ ตอบว่า อารมณ์และอกุศลจิตนั้นแหละเป็นตัวปิด
    เวลา คนที่โมโห ก็มองเห็นการแก้ปัญหาอยู่ทางเดียว ทางอื่นไม่มี
    เวลาคนที่รักจากไป มองเห็นการแก้ปัญหาก็ทางเดียว คือ ตามง้องอน ร้องห่มร้องไห้

    นี่ ถ้าเราพิจารณาดีๆ เมื่อมีสติแล้ว จะเห็นช่องทางไปได้ทุกทิศทาง เรียกว่า จิตเป็นอิสระจากเครื่องข้อง

    คนบางคน ทุกข์ใจกับเรื่องเดิมๆ แก้ปัญหาไม่ได้สักที เจ็บป่วยทางกายก็แก้ไม่ได้สักที
    ทำอะไรไม่สำเร็จก็แก้ไม่ได้ เพราะว่า อวิชชา นี้บังสนิท พอจิตไม่เปิดออกมันก็อัดอั้นกันอยู่ข้างในกาย เป็นแรงผลักดันที่ทุรนทุราย ด้วยอำนาจตัณหาอีกทอดหนึ่ง

    แล้วทำอย่างไร จิตถึงจะเปิดออกได้ ตอบว่า ให้หาช่องทาง ที่บังจิตนั้นไว้ให้เจอ ด้วยการมีสติเจริญ วิปัสสนาญาณ หา จุดที่จิตข้องอยู่ ระลึกรู้ว่านี่คือ เวทนา ที่ติด หรือ จิตที่ติด
    ดับที่เหตุเสีย แล้ว เครื่องข้อง เครื่องผูกมัด ทั้งหลาย จะขาดไป

    การจะทำเครื่องข้อง เครื่องผูกมัดที่ติดอยู่ กับ วิถีที่จำเจ วิถีที่เป็นทุกข์ ต่างๆ หลุดออกไป ก็ต้องอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา ให้แตกฉาน แล้วเราจะหลุดไปได้กับเครื่องพันธนาการ


    ยิ่งเรามองเห็น สัจธรรมมากเท่าไร เราจะยิ่งเห็นว่า มนุษย์และ สัตว์ทั้งหลาย โดนพันธนาการเอาไว้อย่างหน้ากลัว และ ตามืดบอด หลุดไม่ออกเลยสักเรื่องหนึ่ง

    ลองพิจารณาดูว่า ตัวเรามีอะไรปิดบังอยู่ ความเกียจคร้าน ความโลภ ความโมโห นิสัยที่เคยชิน

    อย่าปล่อยให้ ลูกสมุนของกิเลสเหล่านี้โต แต่ให้ฝืนให้บ่อยๆ แล้วจิตจะยกตัวสูง และ มีปัญญาหาทางออกในทุกทางเอง
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <!-- / close content container --><!-- / post #1265390 --><!-- post #1265399 --><!-- open content container -->
    <TABLE class=tborder id=post1265399 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 11:26 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #33 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>khajonsak9999<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1265399", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 11:29 AM
    วันที่สมัคร: Jan 2008
    ข้อความ: 1,656
    Groans: 7
    Groaned at 91 Times in 76 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 1,660
    ได้รับอนุโมทนา 3,350 ครั้ง ใน 1,767 โพส
    พลังการให้คะแนน: 250 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1265399 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->มีศรัทธา คงอยู่ คู่ใจฉัน
    ศีลตั้งมั่น ระวังอยู่ มิรู้หาย
    จิตสมาธิ บำเพ็ญอยู่ ไม่รู้วาย
    ปัญญาไซร้ แจ้งในธรรม นำสุขเอย
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สิ่งที่แปลกนั้นก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนใจนั้นปกติอยู่ตามเดิม เพราะได้เตรียมมานานแล้ว ต่างแต่ไม่แปลก แปลกแต่ไม่ต่าง คิดต่อไปว่าประชาชนในยุโรปนี้ เขาได้ถึงจุดอิ่มของวัตถุทั้งหลายแล้ว แต่ยังไม่รู้จักพอเพราะขาดจากธรรม เปรียบได้เหมือนผลไม้พันธุ์ดี เกิดอยู่ในสวนที่มีดินดี แต่ขาดคนดูแลรักษา จึงทำให้ผลไม้ทั้งหลายเหล่านั้นไร้คุณค่าเท่าที่ควรจะได้ เหมือนมนุษย์ไร้คุณค่าจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ฉะนั้น

    http://palungjit.org/showthread.php?t=133035
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2008
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)</CENTER><CENTER></CENTER>....
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
    พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
    เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
    แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
    อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ
    แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    <SMALL>@(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความ</SMALL>
    <SMALL>@กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา</SMALL>
    เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน
    มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
    ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
    ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ <SUP>๑-</SUP> จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
    ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
    สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
    ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล

    http://palungjit.org/showthread.php?t=127665

    ปล.หนทางแห่งความเสื่อม เมื่อรู้แล้ว โปรดละวางเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...