กำเนิดบั้งไฟพญานาค

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 1 พฤศจิกายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ศาสนาพุทธไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ที่เล่ามาฌานทำได้ แต่ไม่ใช่ญาณ ๔ และไม่ใช่ว่าใครๆ ก็ทำได้ พวกฤาษีโยคีก็ทำได้ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประหลาดตรงไหนครับ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปุถุชนเราตั้งแต่เกิดมา ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ก่อความใคร่ (กาม) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๑ แล้วยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเชื่อของตัวเอง (ทิฏฐิ) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๒ ส่วนสมบัติชิ้นที่ ๓ ก็คือ “ความงมงาย” (สีลัพพตปรามาส) ผู้ใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติชิ้นใหญ่ ๆ เหล่านี้อยู่ ย่อมไม่สามารถละจากความเป็นปุถุชน เพื่อไปสู่ความเป็นอารยชนหรือพระอริยเจ้าได้

    ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ปุถุชน (คนที่มีผ้าปิดบังดวงตาหนาทึบ กล่าวคือ คนโง่ คนเขลา คนหลง) จะต้องรู้ความผิดพลาดหรือเหตุที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการหอบหิ้วทรัพย์สมบัติอย่างนี้อยู่ หลักพระพุทธศาสนาในส่วนปริยัติและการปฏิบัตินั้น ได้แก่ความรู้และการปฏิบัติ เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ไม่ฝังตัวเข้าไปในสิ่งทั้งหลายด้วยความยึดมั่นถือมั่น ในหลักศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ดังที่ท่านได้ตรัสยืนยันของท่านเอง สรุปแล้วก็คือ “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

    แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทำลายความยึดมั่นถือมั่น หรือไม่สามารถจะปล่อยวางสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นได้ ก็เพราะมีของน่ารักน่าใคร่เป็นเครื่องล่อ แล้วมีทิฏฐิความเห็นผิดของตนนานาชนิดเป็นเหมือนบ่วงหรือเบ็ด ทีนี้ยังเหลืออยู่แต่ว่า คนทั้งหลายจะโง่งมงายเข้าไปกินเหยื่อติดบ่วงติดเบ็ดนี้หรือไม่เท่านั้น ถ้าหากว่าไม่งมงาย เหยื่อกับบ่วงนั้นก็เป็นหมันไป เหยื่อกับบ่วงกลายเป็นสิ่งอันตรายขึ้นมา ก็เพราะความโง่เขลางมงายของตนเองมากกว่า ถ้าหากว่า คนเราปราศจากความงมงายแล้ว เหยื่อกับบ่วงก็ไม่อาจทำอันตรายแก่เราได้ ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาเรื่องความงมงาย ที่อาตมาเรียกว่าเป็นสมบัติชิ้นที่ ๓ ที่ปุถุชนหอบหิ้วมาอย่างรุงรังนุงนังไปหมด ตั้งแต่สมัยป่าเถื่อนที่สุด จนกระมั่งถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนใดยังมัวแต่หอบหิ้วสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างนี้อยู่แล้ว ก็ไม่สามารถเข้าไปในเขตของพระอริยเจ้า เราจะต้องสลัดทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึกเหล่านี้ออกให้หมด จึงจะเข้าถึงฝ่ายอันเป็นพระอริยเจ้าได้

    นี่ไม่ใช่เป็นการกล่าวอย่างอวดดีหรือยกย่องตัวเอง หรือชักชวนท่านทั้งหลายให้มักใหญ่ใฝ่สูง แต่เป็นการแสดงให้ทราบว่า เมื่อปุถุชนต้องการจะให้พ้นจากความทุกข์ ก็ต้องปฏิบัติตามร่องรอยของหลักธรรมที่ท่านวางเอาไว้ จึงจะละความเป็นปุถุชน คือคนหนาไปด้วยฝ้าในดวงตา ให้มาสู่ความเป็นอริยเจ้า มีสติปัญญารู้แจ้งสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ปุถุชนย่อมไม่เห็นความจริงข้อนี้ จึงมีความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่นเพราะไฝฝ้าที่บังดวงตากล่าวคือ ความเขลา ความโง่ ความหลงงมงาย มีหนามากมนดาวงตามันหุ้มห่อปัญญามากจนปัญญาไม่สามารถทำหน้าที่ของปัญญาได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องขูดเกลาสิ่งเหล่านี้ออก เมื่อดวงตาสามารถมองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงได้ ก็เรียกว่าเริ่มละจากความเป็นปุถุชนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่าเป็นผู้เอาชนะหรือเริ่มเอาชนะความทุกข์ได้ดังนี้เป็นต้น

    ความงมงายนี้มีมาตั้งแต่เดิมยากที่จะถอนได้ แล้วยังทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของดีของถูก พลอยเป็นของไม่ดีไม่ถูกไปเสียด้วย พระอริยเจ้าจำพวกแรกที่สุดกล่าวคือ “พระโสดาบัน” ผู้ที่เข้าถึงกระแสของพระนิพพานนั้นจะต้องละได้ ๓ อย่าง คือ “สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา” และ “สีลัพพตปรามาส” อันสุดท้ายนี้แหละคือความงมงาย อนึ่ง มีสิ่งที่ควรกำหนดรู้ด้วยว่า ถ้าสติปัญญามีมากพอที่จะละความงมงายได้แล้วย่อมละ “สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา” สองข้อแรกนั้นได้อยู่ในตัว

    สิ่งที่เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” นี้มีผู้เข้าใจผิด เพราะเหตุที่ไม่มีคำอธิบายอย่างชัดแจ้งอยู่ในพระบาลีเลย มีกล่าวถึง “สีลัพพตปรามาส” แต่เพียงชื่อ จึงต้องอาศัยอรรถกถา คือคำอธิบายที่เขียนขึ้น ทำไมพระบาลีจึงไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้ อาตมาเชื่อแน่ว่าเพราะเป็นคำธรรมดาที่ใคร ๆ ในสมัยนั้นเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร ในบาลีจึงไม่มีคำอธิบาย ต่อมาจึงไม่รู้ว่าคืออะไรแน่ ที่มีอธิบายไว้ก็กระท่อนกระแท่นเต็มที ซึ่งทำให้เห็นว่า แม้ในสมัยของอรรถกถา ซึ่งเขียนกันประมาณพันปีเศษ หลังจากปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ได้มีปัญหาในคำนี้มาแล้วเลยเขียนไว้สั้น ๆ ว่า ได้แก่การประพฤติอย่างใด อย่างสุนัข เช่น ทรมานตนอย่างใด กินหญ้าอย่างใด ทำลายความผาสุกทางกาย เป็นการทรมานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเขาหวังว่ากิเลสจะเบาบางไปเพราะเหตุนั้น ประพฤติอย่างสุนัขก็เช่นเดียวกัน เช่นถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ กินอาหารอย่างสุนัข นอนอย่างสุนัข ซึ่งเป็นของพวกมิจฉาทิฏฐิ นอกพุทธศาสนา และมีมาก่อนพุทธศาสนา แล้วมีอยู่เรื่อย ๆ มา เป็นเพียงวัตรปฏิบัติของนิกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่มีชื่อเสียงโด่งดังอะไร การที่อรรถกถาอธิบายเช่นนี้ก็เพราะผู้อธิบายไม่รู้ไม่เข้าใจคำว่า “สีลัพพตปรามาส” นั่นเอง

    ถ้าหาก คำนี้หมายความถึง ความประพฤติอย่างสุนัขหรืออย่างโค แล้ว ก็เห็นได้ว่าในพวกเราเวลานี้ไม่มีใครประพฤติอย่างสุนัขและโค ซึ่งหมายความว่าพวกเราละความงมงายกันได้แล้วทุกคน แม้ในสมัยพุทธกาลหรือในสมัยต่อ ๆ มา ก็ปรากฏว่าไม่มีพุทธบริษัทประพฤติตัวอย่างโคหรืออย่างสุนัข ซึ่งก็แปลว่าเขาไม่มีความงมงายอยู่เป็นปกติแล้ว จะต้องกล่าวทำไมอีกถึงเรื่องนี้ นี่เป็นข้อที่ขัดแย้งในตัวเอง ฉะนั้น คำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระที่สุด

    ทีนี้เราก็จะต้องวินิจฉัยเอาเองว่า ความงมงายที่แท้จริงจะต้องละนั้นคืออะไร เมื่อได้พิจารณาโดยทางตัวหนังสือของคำนี้แต่ละคำ หรือทางความหมายก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า ได้แก่ความงมงายทุกชนิดที่เป็นสมบัติประจำตัวปุถุชน ความงมงายของคนเราที่มีอยู่เป็นอย่างไร เราต้องรู้สึกนึกถึงสมัยที่ยังป่าเถื่อน คือตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลก เมื่อยังเป็นคนป่า เมื่อยังกลัวฟ้ากลัวฝน กลัวธรรมชาติที่เข้าใจไม่ได้ จนกระทั่งค่อย ๆ เปลี่ยนมากลัวผีสางนางไม้ หรือเทวดาที่ตนเชื่อว่าสิงประจำอยู่ในธรรมชาติเหล่านี้ แล้วก็มีการมอบกายถวายชีวิตแด่นางไม้ เทวดา หรือพระเป็นเจ้า มีพิธีบูชาขอร้องต่าง ๆ นานา ซึ่งก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเรื่อย ๆ มาจนกระทั่งบัดนี้ แม้ในทุก ๆ วันนี้ก็ได้มีระเบียบวิธีสำหรับการบูชาที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิกันโดยวิธีแยบคายที่สุด กล่าวคือเพื่อจูงคนให้เลื่อมใสคล้อยตามไปได้มากที่สุด นี่คือสายหรือแนวแห่งความงมงายที่ตั้งต้นขึ้นมาตั้งแต่สมัยป่าเถื่อน แล้วก็มีการปรับปรุงขยับขยายให้จับอกจับใจขึ้นทุกที ๆ จนกระทั่งถึงบัดนี้ก็ยังละความงมงายกันไม่ได้ บางคนยังสะดุ้งกลัวต่อสิ่งที่คนเรียกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยังหวาดเสียวต่อสิ่งที่นาเองมองไม่เห็นตัวหรือเข้าใจไม่ได้ และยังมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลอยู่เหนือคน บังคับบัญชาคนอยู่ แม้จะได้เป็นนักศึกษาผ่ารนมหาวิทยาลัยมาแล้วก็ยังรู้สึกขนพองสยองเกล้าต่อสิ่งที่คนเข้าใจไม่ได้เหล่านั้นอยู่ คือ “ความงมงาย”

    ทำไมเราจึงเรียกความงมงายว่า สีลัพพตปรามาส ทั้งนี้เป็นด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความงมงายต่อสิ่งเหล่านี้มันทำให้บุคคลบัญญัติศีล และข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ขึ้นตามความงมงายของตนอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งนั้นคือ บุคคลที่กำลังประพฤติสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้วนั่นแหละ เช่นให้ทาน รักษาศีล หรือทำสมาธิด้วยความงมงาย ด้วยความเข้าใจผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หวังผลผิด ใช้เหตุผลผิด หรือไม่ประกอบด้วยเหตุผลเสียเลย ทำเอาข้อปฏิบัติที่ถูกต้องหรือบริสุทธิ์สะอาดกลายเป็นข้อปฏิบัติทีสกปรก หม่นหมองไปเพราะความงมงายของผู้ปฏิบัติเอง สรุปความสั้น ๆ ก็คือ ความงมงายทำให้คนบัญญัติการปฏิบัติขึ้นมาอย่างงมงาย จนแทบจะมองดูไม่ได้ แล้วความงมงายของคนยังทำให้ ข้อวัตรปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่บริสุทธิ์ดีนั้น ให้กลายเป็นของมัวหมองไปเสียอีก สองอย่างนี้เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส”

    ถ้าคนใดยังละความงมงาย ๒ ประการนี้ไม่ได้ ก็แปลว่า ยังไม่ถึงพระพุทธศาสนา แม้จะเรียกตัวเองว่าเป็นพุทธบริษัท ก็ยังไม่ใช่พุทธบริษัทที่แท้ และจะไม่สามารถละจากโคตรเดิม กล่าวคือโคตรปุถุชนเข้ามาสู่โคตรใหม่ คือโคตรของพระอริยเจ้าได้ ต้องเป็นปุถุชนหนาไปตามเดิม ไม่มีทางที่ใครจะช่วยได้ ฉะนั้น จึงต้องสนใจเรื่องความงมงายนี้กันเป็นพิเศษ ถ้าเราอยากจะมีความพ้นทุกข์ หรือดับทุกข์ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถึงขนาดจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ปลอดภัย คือเข้ามาถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ซึ่งมีหวังแน่นอนว่า ต่อไปข้างหน้าผู้นั้นจะบรรลุถึงพระนิพพานในโอกาสใดโอกาสหนึ่งโดยไม่ต้องสงสัย

    เดี๋ยวนี้มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนส่วนมากยังไม่สามารถละความงมงายดังกล่าวนั้นได้ ยังติดแน่นหรือติดตังอยู่ที่ความงมงาย ถึงจะรักษาศีลมาเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้สึกว่ามีศีลบริสุทธิ์ หรือศีลช่วยอะไรไม่ได้ ประพฤติวัตรปฏิบัติมานมนานเท่าใด ก็ไม่เคยเห็นผล ฉะนั้น มันต้องทีอะไรผิดอยู่สักอย่างหนึ่งในการประพฤติธรรม อาตมาถึงขอร้องย้ำแล้วย้ำอีกว่า จงดูให้ดี ๆ แม้ว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสามเณร หรือพระเถระก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าความงมงายนี้ อาจจะมีอยู่ได้ในข้อปฏิบัติของคนเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น พระภิกษุบางองค์ถือว่าพอได้ลงปาฏิโมกข์แล้วก็สะอาดหมดบาปหมดกรรม หมดเวรกันไปเสียที มีความรู้เพียงเท่านี้ มีความเชื่ออย่างนี้ แล้วก็ไปลงปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถ นั่งฟังอยู่อย่างนกแก้วนกขุนทอง จบแล้วก็โล่งใจว่าบริสุทธิ์กันเสียที เหมือนกับสะบัดขี้ฝุ่นออกจากตัวอย่างนั้น ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นความงมงายอย่างยิ่ง เป็นความงมงายไร้เหตุผล ทำลายความมุ่งหมายเดิมของการลงอุโบสถหรือปาฏิโมกข์นั้นให้หายไปหรือเปลี่ยนไป หรือให้กลายเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะไป แม้แต่ในเรื่องของภิกษุที่ถือกันว่าคงแก่เรียนนั้น ความงมงายก็ยังมีอยู่ได้ถึงเพียงนี้ การประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความงมงายไม่ชอบด้วยเหตุผล เช่นว่ารักษาศีลหรือปฏิบัติธุดงค์ หรือว่าสมาทานวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเชื่อว่าจะกลายเป็นผู้มีอะไรพิเศษขึ้นมา เกิดอำนาจขลังศักดิ์สิทธิ์อะไรขึ้นมา หรือแม้ที่สุด ไปคิดเสียว่ามันจะทำให้โชคดี มีโอกาสร่ำรวยได้โดยง่าย หรือจะฟลุกถูกรางวัลนั่นนี่ได้โดยง่าย หรือแม้ที่สุดว่าทำเพื่อหวังไปเกิดในสวรรค์ในวิมาน ซึ่งมีความหมายเป็นกามคุณอย่างยิ่งเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นความงมงายทั้งนั้น เพราะเหตุว่าศีลและวัตรต่าง ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งไว้เพื่อความมุ่งหมายดังกล่าว ท่านบัญญัติไว้เพื่อขูดเกลาความเห็นแก่ตัวหรือขูดเกลากิเลสให้เบาบาง ให้ยึดมั่นถือมั่นน้อยลงต่างหาก เมื่อไปเปลี่ยนความมุ่งหมายเดิมจนกลายมาเป็นเรื่องจะพอกพูนความเห็นแก่ตัวจัด เอาอะไรเป็นของตัวตามอำนาจของกิเลสตัณหาหรือทิฏฐิเหล่านี้แล้ว มันก็เท่ากับมีมืออันสกปรกมาลูบคลำศีลและวัตรที่บริสุทธิ์สะอาดให้กลายเป็นสิ่งที่สกปรกไป จึงกล่าวได้ว่าเป็นความงมงาย กลายเป็นเรื่องนอกลูนอกทาง นอกรีตนอกรอยและนอกพระพุทธศาสนาไป เราจะต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษอย่าให้เสียเกียรติของพุทธบริษัทเป็นอันขาด พุทธบริษัท แปลว่า กลุ่มของบุคคลผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สมกับที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งคน รู้คนตื่น คนเบิกบาน จะมีเรื่องงมงายก็กำลังมีอยู่ในที่ทั้งปวง มีอยู่ในวัตรปฏิบัติของพุทธบริษัททุกแขนง และทุกระดับไม่ว่าที่ไหน และเมื่อใด

    ส่วนมากของความงมงาย ก็ได้แก่ความเข้าใจผิดในทางขลังทางศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันเป็นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์โน้น สมัยที่ยังเป็นคนป่าคนดง เป็นคนที่ยังไม่มีการศึกษาอะไรเลย ครึ่งคน ครึ่งสัตว์ กลัวต่อวิ่งที่ตนไม่อาจเข้าใจได้ เรียกว่ากลัวต่อสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ความรู้สึกว่าศักดิ์สิทธิ์หรือขลังนั้นยังไม่ได้สูญหายไป ยังคงมีสืบมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ แม้ในหมู่คนที่มีการศึกษาดี ๆ แม้เป็นภิกษุสามเณรก็ยังรู้สึกว่ามีอำนาจอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือไปกว่าธรรมดา ยังหวาดสะดุ้งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนมองไม่เห็นตัว แล้วมีความเชื่อว่ามันมีอยู่จริงจึงเกิดการปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำไปเพื่อปลดเปลื้องความกลัวนี้ เช่นการเสกเป่าบนบานอ้อนวอนบูชา ฯลฯ กระทำกันอยู่ในหมู่ภิกษุหรือแม้ในหมู่พระเถระอย่างงมงาย ไม่ต้องตามหลักของพระพุทธศาสนาหรือของพระพุทธเจ้า ทำไปโดยอำนาจของความเขลาในของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อในของขลังของศักดิ์สิทธิ์ บางทีตัวเองก็อาจจะรู้เหมือนกันว่า ไม่ใช่เรื่องของพุทธศาสนา แต่เมื่อไม่อาจจะละได้ ก็เลยถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ฝากไว้ ในฐานะเป็นของผนวกเข้ากับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เกี่ยวกับเรื่องผีสางเทวดาเป็นส่วนมาก ถ้าใครยังสะดุ้งกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจอุปาทาน หรือ สีลัพพตปรามาสอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้มั่นใจเถอะว่าคนนั้นยังมีความงมงาย ไม่ว่าจะเป็นคนชนิดไหนหรืออยู่ในเพศใด

    อำนาจของความกลัวและความงมงายทำให้คนต้องกันเข้าหาที่พึ่งภายนอก คือแทนที่จะพึ่งความดีที่ตนเองกระทำ กลับไปพึ่งที่พึงภายนอก แล้วแต่เขาจะมีความงมงายไปทางไหน อาจจะถือที่พึ่งเป็นผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก หรือแม้ที่สุดการคิดพึ่งผู้อื่นอะไรก็ให้คนอื่นเขาช่วยเสียเรื่อยไป ถ้าไม่มีใครช่วยก็ถือว่าไม่ยุติธรรม อย่างนี้ก็ควรถือว่าเป็นการถือที่พึ่งภายนอกด้วยเหมือนกัน มีใครสักกี่คนที่มีความแน่ใจในการพึ่งการกระทำของตนเอง คือพึ่งความดี พึ่งการกระทำที่ถูกต้องของตนเอง แทบจะกล่าวได้ว่า คนที่มีจิตใจแน่วแน่กล้าหาญเฉียบขาดอย่างนี้หาได้ยากที่สุด มีแต่คนที่จะคิดพึ่งผู้อื่นแล้วยิ่งได้รับการสอนการอบรมมาผิด ๆ ก็ยิ่งคิดจะพึ่งผีสางนางไม้ พึ่งอะไรที่มองไม่เห็นตัวเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น วัดความงมงายของคนได้ด้วยเหตุที่มีศาลพระภูมิมากขึ้น มีการดูฤกษ์ยามมากขึ้น ถ้ามีศาลพระภูมิ หรือมีหมอสะเดาะเคราะห์มากขึ้น ก็เป็นเครื่องแสดงที่แน่ชัดที่สุดว่า คนเราหวังที่พึ่งภายนอกมากขึ้น ๆ แทนการหวังที่พึงภายในคือการกระทำอันถูกต้องคลองธรรมด้วยสติปัญญาที่รุ่งเรืองตามองค์พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ที่แท้จริง ซึ่งได้แก่การกระทำที่ถูกต้อง จนเกิดความสะอาด สว่าง สงบขึ้นในใจ

    ยังมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า การถือที่พึ่งภายนอกมีมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเชื่อได้ว่า ความงมงายไม่อยู่ในอำนาจแห่งเหตุผล ยิ่งหนาแน่นมากขึ้นเท่านั้น หุ้มห่อคนโง่เหล่านั้นให้มืดมิด ให้ตกจมไปในห้วงแห่งความงมงายมากขึ้น แล้วผลที่จะตามมาข้างหน้าต่อไปนั้น ก็จะต้องเป็นความสับสนยุ่งยากอลเวงมากขึ้นทุกที ๆ ตามสัดส่วนของความงมงาย จนกระทั่งเหลือวิสัยที่พวกเราจะปัดเป่าความยุ่งยากโกลาหลนี้ให้หมดสิ้นไปได้ เพราะว่าเราได้เพิ่มเติมความงมงายขึ้นในพวกของเรากันเองนี้อยู่เรื่อย ๆ ให้มันมากขึ้น ๆ เท่า ๆ กับที่การศึกษาในทางโลก ๆ ได้เจริญมากขึ้น พิสูจน์กันได้ง่าย ๆ โดยข้อเท็จจริงที่ว่าเครื่องหมายของการถือปัจจัยภายนอก เช่นการหวังพึ่งเทวดา หรือศาลพระภูมิ การดูฤกษ์ยาม หรือการอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก มันมีมากขึ้น หนาขึ้น มันไม่น้อยลง ผู้ที่มีความเข้าใจถูกต้องในพระพุทธศาสนา จะไม่อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกมาเป็นเครื่องบันดาล มันเพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ไม่นานมานี้เอง เราจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเรานี้ ยิ่งมีความงมงายหนาแน่นยิ่งขึ้นกว่ายุคก่อน ๆ เป็นอันว่า เราไม่ควรจะนอนใจว่า ความงมงายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าหวาดเสียว ไม่สำคัญสำหรับเรา “สีลัพพตปรามาส” ไม่ใช่ข้อปฏิบัติอย่างสุนัข อย่างโค แต่ร้ายไปยิ่งกว่าการปฏิบัติอย่างสุนัข อย่างโคเสียอีก ทำไมจึงว่าอย่างนี้ ถ้าเราจะพิจารณาดู ก็จะเห็นว่าสุนัขหรือโคที่เขาอ้างถึงในอรรถกถา มันไม่ได้กลัวผีกลัวเทวดา มันไม่ได้อ้อนวอนพระภูมิเหมือนกับพวกมนุษย์ มันไม่ได้หมอบกราบสิ่งที่มันไม่รู้จักตัวเหมือนกับพวกมนุษย์ ใครเคยเห็นสุนัขหรือโคกลัวผีกลัวเทวดา หรือทำพิธีบวงสรวงอ้อนวอน เราจะเห็นว่าไม่มีเลย แต่แล้วทำไมมนุษย์ที่เจริญด้วยการศึกษากลับมาหมอบราคาบแก้วหัวจรดดินไหว้ผีไหว้สาง บวงสรวงบุชาเทวดา อันไหนมันจะร้ายกว่ากัน ไม่ต้องสงสัยละ ความงมงายของคนที่เป็นถึงขนาดนี้ มันย่อมร้ายกาจยิ่งไปกว่าศีลและวัตรของสุนัขหรือโคแน่ ๆ

    อาตมาอยากจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ อีกสักเรื่องหนึ่งว่า ถ้าใครเรียนวิชาความรู้โดยผิดความมุ่งหมายของวิชานั้นก็ถือว่าเป็น “สีลัพพตปรามาส” เหมือนกัน เช่นภิกษุเรียนธรรมวินัยด้วยความมุ่งหมายผิดไปจากธรรมวินัยแล้ว ต้องถือว่าการกระทำนั้นเป็นความงมงาย อีกอย่างหนึ่งมีพระบาลีพุทธภาษิตว่า “พวกโมฆบุรุษนี้เรียนปริยัติ เพราะปรารภเสียงสรรเสริญของปริยัติ และเพื่อจะใช้เป็นเครื่องอ้างเพิ่มน้ำหนักให้เป็นคำพูดของตนเอง” ลองฟังดูให้ดี ๆ ถ้าใครก็ตามเรียนปริยัติ เรียนธรรมะและวินัย เพราะความปรารถนาสรรเสริญของโลก หรือว่าเรียนให้รู้แตกฉาน เพื่อจะได้เอามาประกอบคำพูดของตัวให้มีน้ำหนักก็ดี อย่างนี้ท่านเรียกว่า “โมฆบุรุษ” คือเป็นคนไม่ได้รับประโยชน์จากธรรมวินัย ความมุ่งหมายของการเรียนธรรมวินัยก็คือ เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิดทุกข์ อย่างนี้เท่านั้น ใครเรียนเพื่อลาภ ยศ สักการะ เสียงสรรเสริญ ฯลฯ ไม่ได้เรียนสำหรับนำไปปฏิบัติเพื่อดับทุกข์โดยตรงแล้ว ท่านเรียกว่าเป็น “โมฆบุรุษ” ซึ่งถือว่าเป็นคำด่าอย่างแรงที่สุดในพุทธศาสนา

    ฉะนั้นเรื่องสีลัพพตปรามาสนี้ เราจะต้องพิจารณากันเสียใหม่ อย่าได้ปล่อยไว้ในฐานะเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ได้นำมากล่าวอย่างซ้ำซาก และยกตัวอย่างไว้อย่างกว้างขวางเช่นนี้ ก็เพราะอาตมามีความสลดใจ หรือมีความเป็นห่วงเป็นทุกข์แทนพวกเราทุกคน ในการมี่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าความงมงาย พวกเราได้ปล่อยให้สิ่งนี้ขยายตัวกว้างออกครอบคลุมพวกเรามากขึ้น ๆ คล้ายกับว่า เราได้เผลอปล่อยให้สิ่งที่น่าสะดุ้งน่าหวาดเสียวนี้ครอบงำพวกเรามากขึ้นทุกที ความงมงายเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว ถ้ารู้สึกตัวเสียแล้วก็ไม่ใช่ความงมงาย ถ้าเรายิ่งเผลอ หรือยิ่งทำเล่น ๆ กับมันมากเพียงใด ความงมงายก็ยิ่งขยายตัวขึ้นมากเพียงนั้น ฉะนั้น หวังว่าคนทุกคนคงจะได้สอบสวนพิจารณาตัวเองให้รู้จักสิ่งที่ควร เรียกว่า “ความงมงาย” นี้ให้มากเป็นพิเศษกว่าที่แล้ว ๆ มา ขอให้เข้าใจว่า ความงมงายคือเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจของเหตุผลทุกชนิด เป็นสมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชนที่ได้อุตส่าห์หอบหิ้วแบกหามกันมานานหนักหนาแล้วนับตั้งหมื่นปี แสนปี มาจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่ยอมปล่อย ฉะนั้นปุถุชนเหล่านี้จึงเข้าไปในเขตของพระอริยเจ้าไม่ได้ เพราะมัวคิดหรือมัวแต่แบกหามหอบหิ้วสมบัติชิ้นที่ ๓ นี้กันอย่างไม่หยุดหย่อน จึงนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสะดุ้งหวาดเสียวที่สุด เพราะว่าตั้งหลายหมื่นหลายแสนปีแล้วที่ได้หอบหิ้วกันมา และเป็นเครื่องกักขังตัวเองไว้ในกรงของปุถุชนคนหนา อย่างที่ไม่มีวันที่จะหลุดออกได้ เราต้องอาศัยหลักพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือสำหรับถอนความงมงายข้อนี้ แล้วเราจึงจะเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

    คัดลอกบางส่วนมาจาก
    ความเชื่อที่งมงาย
    พุทธทาส อินทปัญโญ
    ตีพิมพ์ในวารสารธรรมจักษุ ปีที่ ๗๙ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๓๘
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-32.htm
     
  4. หยดน้ำเพชร

    หยดน้ำเพชร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +70
    อันนี้ก็ว่าให้เค้าไม่ได้นะเพราะว่าเป็นความเชื่อของชาวบ้านเป็นความเชื่อส่วนบุคคลเราไม่สามารถไปบังคับเค้าได้
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๓. สังฆาฏิสูตร
    [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ
    เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้า
    ในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้ง
    มั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่
    ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อม
    ชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐โยชน์ไซร้ แต่
    ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มี
    ความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัวมีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์
    โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ
    บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อน
    ไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหว
    มิได้ ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึง
    เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกล
    เท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรม
    อันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
    ที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อน
    ได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หา
    ความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัด
    ยินดี ในที่ใกล้แท้ ฯ
    จบสูตรที่ ๓

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๓๔/๔๑๘
     
  7. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    คนรู้แต่ตำรา.......ไม่มีความรู้ที่แต่จริง......เข้าใจผิด......แบบนี้อย่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นนะทำให้พี่ๆน้องๆหลงทางเปล่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ...จงมองตัวเองให้ดีก่อน................สัตว์โลกที่น่าสงสาร
     
  8. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    คุณอุรุเวลาคงอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือไม่คิดที่จะเข้าใจ

    - ผมบอกว่าผมอนุโมทนาบุญกับพญานาค แปลว่าผมบูชาพญานาคงั้นหรือครับ
    รู้จักคำว่าอนุโมทนามั้ย

    อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

    แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ทำความดีที่น่าชื่นชมได้ แต่สัตว์ส่วนใหญ่(หรือบางคน)จะดำเนินชีวิตไปตามสัญชาติญาณ ไม่คิดจะประกอบคุณงามความดี หรือทำประโยชน์แก่ผู้อื่น มีส่วนน้อยที่รู้จักทำความดี อย่างชาติหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเกิดเป็นกวางก็สละชีวิตให้เสือแม่ลูกอ่อนที่กำลังหิวโหย หรือตอนเป็นพญานาคภูริทัตก็ถือศีลอย่างเคร่งครัด หรือจากประวัติหลวงปู่มั่นมีสุนัขตัวหนึ่งเป็นเทวดามาเกิดก็ติดตามรับใช้หลวงปู่มั่น ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นต้น ใครพบเห็นก็ชื่นชมยินดี แต่ไม่ได้ไปกราบไหว้บูชา


    ส่วนเคารพพระรัตนตรัย หรือการบูชาบุคคลที่ควรบูชา นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

    ผมบอกแล้วว่าวิธีการทดลองและการสรุปผลของนักวิชาการเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ถ้าเขาอยากพิสูจน์ก็ให้ไปทำให้มันถูกต้อง และได้แนะนำวิธีที่ถูกที่ควรไว้แล้ว (ต่างกับคุณอุรุเวลาที่เชื่อทันทีโดยไม่พิจารณาว่าเขามีวิธีการทดลองอย่างไร) ส่วนผมไม่ต้องการไปพิสูจน์เพราะผมเชื่อว่าบั้งไฟพญานาคมีอยู่จริง มีผู้ที่เขาพิสูจน์ด้วยวิธีการแบบพระพุทธเจ้าแล้วเห็นจริงตามพระองค์ครับ


    ปล. คุณอุรุเวลาไม่ได้เรียกว่ารู้ตำราหรอกครับ เรียกว่าตีความเอาเองมากกว่า ถึงขั้นทึกทักว่าตัวเองรู้ธรรมเห็นธรรมแล้ว (ดูตัวอย่างที่ผมยกมาข้างต้นก็ได้ว่าอ่านภาษาไทยธรรมดายังไม่แตกฉานเลย ตีความไปตามอคติตัวเอง ลองไปดูกระทู้เก่าๆเป็นตัวอย่างจะยิ่งเห็นชัด ขยันตั้งกระทู้ใหม่แต่ก็เป็นเรื่องเดิมๆคือไม่ให้คนกราบไหว้พระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชี้แจงยังไงก็ไม่เข้าใจ สักพักก็ตั้งกระทู้ใหม่อีก)
    เอาเป็นว่านำข้อมูลมาชี้แจงเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นละกันครับ อย่างที่บอก เห็นหลายเวบยังเชื่อการพิสูจน์นั้นโดยไม่พิจารณาให้ดีว่าวิธีการทดสอบนำมาอธิบายได้จริงหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2012
  9. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    คุณอ่านตำรามากไปไม่ได้อ่านใจตนเองดูใจไม่เป็นมีไรก็อ้างตำราขึ้นมาอ้าง....ธรรมลึกซึ้งกว่าที่คุณเขียนมามากมายนะกระแสของธรรมนั้นเย็นสงบ...ทำอะไรล้วนเห็นธรรม....พิจารณา....เกิดขึ้น.....ตั้งอยู่....ดับไป...อนิจัง.... ผมคงไม่เข้ามาแล้ว เพราะคนๆนี้สอนยากเข้าใจธรรมสั่งสอนแบบจำๆๆๆๆตำราไม่ได้ธรรมอะไรในจิตในธรรม ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร.....ไม่รู้จักพิจารณาธรรม ...ยกแต่ธรรมขึ้นมาอ้าง......เสียเวลา..... ไปนั่งสมาธิ....พิจารณาตัวเองดีกว่า รู้ใจตัวเองดีกว่า .....ดีกว่ายุ่งเรื่องของชาวบ้าน นั่งสมาธิมากๆๆๆดูทุกข์ที่เกิดขึ้นดูมันไปปวดก็ชั่งมันดูมันไปมันทนไม่ได้มันก็ดับไปเอง....กลายเป็นความสุข....ดูมันไปว่าความสุขอยู่ทนแค่ไหน มันทนไม่ได้ก็ดับไปเอง กลายเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้น.......มันทนไม่ได้มันก็ดับไปเอง กลายเป็นสุขอีก...ก็ดูมันไป กลับไปกลับมา จนเห็นกระแสมโนวิญญาณ ทำไปเถอะ...ตั้งใจทำเถอะ....ทำกันจริงๆจังๆเถอะ.....ลงมือทำ.....ตั้งมั่นในพระพุทธองค์....เราก็จะเข้าใจเข้าถึงธรรมะที่แท้จริง
     
  10. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    แล้วไม่ต้องอ้างตำรามาเขียนให้อ่านอีกนะ.........ใจไม่ได้ธรรม....ใจเป็นทุกข์ธรรมเป็นเหตุเป็นปัจจัย......คนหลงตำราเหมือนกบในกะลา....คุณออกไปจากกระทู้นี้เถอะคนไม่ต้อนรับแล้วคุณเข้ามาทำไม......คุณไม่เชื่อแล้วคุณเข้ามาทำไม.........แล้วคุณเขียนหลักธรรมทำไม......คนแบบนี้เอาดีไม่ได้เพราะคิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น......รู้ไม่จริง....อยากอวดรู้แสดงความอวดรู้อยู่ลำไป.....ออกไปเถอะ.....กระทู้นี้จะได้สงบ...เบื่อ
     
  11. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    ไม่เป็นไรหรอกครับ เขาก็แสดงความเห็นไปตามสิทธิของเขา แต่ผู้อ่านย่อมพิจารณาได้ว่าเขารู้ธรรมจริงหรือไม่ ต่อให้เขาท่องตำราได้ขึ้นใจก็ไม่ได้เรียกว่ารู้ธรรมหรอก เพราะเขาไม่ได้เข้าใจธรรมที่ท่องจำนั้นเลย

    ปล. โบราณว่าอย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา (จขกท.เคยบอกว่าตัวเองบรรลุธรรม ก็พิจารณาเอาเองละกันว่ายังควรไปถือสาหาความหรือไม่)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2012
  12. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    ผมขอย้ำๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆออกไปเถอะอย่าเข้ามาอีกเลย..........จงไปดีเถอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  13. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    ถูกต้องครับ..................คนมันหลงตำรา....คนไม่รู้จริง.....คนหลงตัวเอง...ให้มันหลงทางแล้วไม่ต้องกลับมาอีกเลย..........ให้มันออกไปจากกระทู้ดีที่สุด
     
  14. sam.337

    sam.337 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +937
    อุรุเวลา เป็นคนตั้งกระทู้ กับเป็นคนว่างระเบิดชักเอง ..... ไม่สร้างสรร บอกให้เขาออกไปลืมไปว่าเขาเป็นคนตั้งกระทู้ เปลี่ยนไหม่ผมออกไปเองดีกว่า.....ขอโทษที่ ออกไปเองดีกว่า.........
     
  15. nun-rayong

    nun-rayong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +1,312
    บั้งไฟพญานาคฃองจริงมีอยู่ แต่ไม่ใช่พญานาคทำขื้น หลวงพี่เล็กวัดท่าขนุนเล่าให้ฟังว่า เป็นเทวดาที่ลงมาบำเพ็ญบุญรักษาศีล ช่วงวันเข้าพรรษา เมื่อออกพรรษาก็จะกลับไปเวลากลับจะแสดงเป็นลูกไฟให้คนได้รู้ เพื่อให้คนทั้งหลายได้โมทนาบุญ ปืนส่องแสงลักษณะไม่เหมือนกัน
     
  16. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    - ถ้าเป็นเทวดาทำไมจึงมีแต่ที่แม่น้ำ แล้วขึ้นจากน้ำ
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    -จะอนุโมทนาก็อนุโมทนาให้ถูก พญานาคดีถือศีลก็มี ไม่ถือศีลก็มี
    -ผมก็บอกได้นักวิชาการทดลองและสรุปผมตามหลักวิชาการ ทำถูกต้องแล้ว คุณไม่เห็นด้วยเพราะคุณมีสัญญาไว้แล้วว่า บั้งไฟพญานาคเป็นของจริง พอนักวิชชาการมาบอกคุณก็ค้านเขาไปหมด

    ปล.ผมไม่ได้บอกสักคำว่าบั้งไฟพญานาคจริงหรือไม่จริง ผมเพียงแต่อ่านบทความของนักวิชาการแล้วเอามาโพสต์ จริงไม่จริงก็พิจารณากันเอง ไม่เกี่ยวกับ จขกท. คนแถวนี้แปลกคนตั้งกระทู้เอาบทความมาลง ดันสรุปกันไปหมดว่าเจ้าของ จขกท. คิดอย่างนั้น ผมอุตสาห์เอามุมมองหลายๆ มุม จากนักวิชาการบ้าง จากพระไตรปิฎกบ้าง แต่กลับมองแต่ไอ้จุดที่ไม่ตรงกับทิฐิของตนแล้วมากล่าวหาผม ผมไม่เคยบอกสักคำว่าไม่ให้คนกราบไหว้พระพุทธรูป อยากกราบก็กราบไปสิ พระธรรมบอกไว้ว่า


    "เรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่า
    อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่า
    ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม
    ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น"

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๒๔/๔๐๘
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมอ่านตำรามากก็จริง แต่ผมไม่ได้ยึดติดตำรา ผมฟังคำสอนของพระสงฆ์สาวกฯ ผมจะไม่เชื่อทันที ผมจะค้นหาพระสูตรว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อไร ตรงไหน พวกเล่นเน็ต ทิฐิของข้าเท่านั้นถูก ทิฐิของเอ็งผิด ตำราผิด อย่าอ้างตำรา ข้าเก่งรู้มาหมดแล้ว คนนั่งสมาธิจนเห็นทุกข์เกิดดับไม่น่าเข้าใจผิดคำว่า "ญาณ" กับ "ฌาน" นะครับ
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002

    กระทู้นี้ผมเป็นคนตั้ง คุณออกไปจากกระทู้นี้เถอะ พระไตรปิฎกคือหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คุณไม่อ้างตำรา เอาทิฐิของตัวเองเป็นใหญ่ พระพุทธเจ้ายังยกพระธรรมอยู่สูงกว่าพระองค์ คุณไปพิจารณาตัวคุณดีแล้ว ผมไม่ต้อนรับคุณ คุณมรึงออกไปจากกระทู้ของผมเถอะ
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช
    [๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา เกลียดกำเนิดนาค จึงนาคนั้นได้
    มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์
    เร็วพลัน. ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม
    ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเรา
    จะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิดนาค
    และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่ม แล้วเข้าไป
    หาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชาอุปสมบท. สมัยต่อมา พระนาคนั้น
    อาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง. ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้ว
    ออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว. พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด. วิหาร
    ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู. ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง. ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจัก
    เข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ก็ตกใจ จึงร้อง
    เอะอะขึ้น.
    ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม?
    ภิกษุรูปนั้นบอกว่า อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทาง
    หน้าต่าง.
    ขณะนั้น พระนาคนั้น ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะของตน.
    ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านเป็นใคร?
    น. ผมเป็นนาค ขอรับ.
    ภิ. อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร?
    พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
    พระผู้มีพระภาค.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
    เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทธโธวาทนี้แก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาค
    มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔
    ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพ
    เป็นมนุษย์เร็วพลัน. ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า ตนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้เป็นธรรมดา
    ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความ
    ปรากฏตามสภาพของนาค มีสองประการนี้ คือ เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน ๑
    เวลาวางใจนอนหลับ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค ๒ ประการนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว
    ต้องให้สึกเสีย.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๔๓/๓๐๔
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...