ข้อเตือนใจผู้ปราถนาพุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 23 มิถุนายน 2010.

  1. rose2009

    rose2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +653
    อนุโมทนาด้วยค่ะ เป็นจริงเช่นนั้น...^___^

    "ชาตินี้ยังไม่เอาไหน ชาติหน้าก็จะยิ่งไม่เอาไหน แล้วคนไม่เอาไหน มีเหรอ จะคู่ควรไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ถึงไปเกิดก็เป็นคนไม่เอาไหน ไม่มีทางบรรลุธรรมได้หรอก"

    อุปโลกจิต...คิดไปเอง ทำให้หลงตัว หลงตน..หลอกให้ผู้คนมัวเมาด้วยศรัทธา
    ยังห่างไกลคำว่า โพธิจิต โพธิญาณกันมาก
     
  2. Armarmy

    Armarmy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +1,659
    จริงดังหลวงปู่กล่าวไว้โดยแท้ สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก้ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  3. bunlerts

    bunlerts เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +273
    อนุโมทนา สาธุ


    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมันถือมั่น
    ถ้าได้ฟังข้อนี้ ก็เหมือนได้ฟังทั้งหมด
    ถ้าได้ปฏิบัติข้อนี้ ก็เหมือนได้ปฏิบัติทั้หมด
     
  4. wattanadist

    wattanadist เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +1,134
    อนุโมทนา...สาธุ

    "ท่านเป็นหนึ่งในพระอริยสงฆ์ที่ให้พระธรรมคำสอนในหลาย ๆ เรื่องได้กระจ่างอย่างยิ่งครับ"
     
  5. ตายแน่!

    ตายแน่! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +509
    "ชาตินี้ยังไม่เอาไหน ชาติหน้าก็จะยิ่งไม่เอาไหน แล้วคนไม่เอาไหน มีเหรอ จะคู่ควรไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ถึงไปเกิดก็เป็นคนไม่เอาไหน ไม่มีทางบรรลุธรรมได้หรอก"

    อนุโมทนาครับ
    โดนเต็มหัวใจไอ้คนไม่เอาไหนอย่างผมเลยครับ
    ตอนแรกๆก็ปฏิบัติไปพระนิพพาน แต่พอตอนหลังเริ่มท้อ
    เลยหวังว่าชาตินี้ปฏิบัติธรรมได้เท่าไหนก็เท่านั้น ไม่เป็นไรเดี๋ยวไปเป็นสาวกพระศรีอาริย์เมตไตยก็ได้ พออ่านก็คิดได้ครับชาตินี้พยายามทำดีที่สุดครับ
     
  6. Sriram

    Sriram Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +74
    ก็เพราะกิเลส โมหะลุ่มหลงตัวตนว่าเก่งแล้ว ทำให้คนมักประมาทสินะครับ ยังมีความเกียจคร้านอีก ผลัดวันประกันพรุ่งอีก อืม...

    .. ขอให้ท่านไม่ประมาทครับ
     
  7. ภาชนะธรรม

    ภาชนะธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +58
    ประเภทของพระโพธิสัตว์
    <DL><DD>พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ</DD></DL><DL><DT>1. อนิยตะโพธิสัตว์ <DD>พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตะโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้ </DD></DL><DL><DT>2. นิยตะโพธิสัตว์ <DD>พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตะโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ </DD></DL><DL><DT>อสงไขย และ กัป </DT></DL>จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้
    • กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อโลกมนุษย์ปราฏกขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป
    • อสงไขย เป็นหน่วยวัดเวลา ที่มากกว่ากัป คือจำนวณกัป ที่นับไม่ถ้วน เท่ากับ 1 อสงไขย
      • ตามที่เคยคำนวณมา 1 อสงไขย เท่ากับ จำนวน กัป ที่เอาเลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว
    • สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
    บารมี ๓o ทัศ

    บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ
    บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ
    • 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ
    • 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป
    • 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล ๘ ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข
    • 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาตคตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น
    • 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ
    สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ
    <DL><DD>o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น <DD>o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว <DD>o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น <DD>o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง </DD></DL>
    • 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ
    • 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้
    • 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน
    • 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก
    • 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น
    ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่
    1. บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น
    2. บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น
    3. บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น
    ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ
    <DL><DT>อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิยตะโพธิสัตว์ </DT></DL><DL><DD>พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่</DD></DL>
    1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    3. ไม่เป็นคนบ้า
    4. ไม่เป็นคนใบ้
    5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    9. ไม่เป็นสตรีเพศ
    10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
    11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
    12. เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น
    <DL><DD>อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ </DD></DL>คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์

    ธรรมสโมธาน 8 ประการ

    <DL><DD>สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่เป็น อนิยตะโพธิสัตว์ แต่สร้างบารมี 30 ทัศ และมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อหน้าพระพักตร์พุทธเจ้า โดยจะได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น และก็จะกลายเป็น นิยตะโพธิสัตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน </DD></DL><DL><DT>ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ </DT></DL>
    1. ได้เกิดเป็นมนุษย์
    2. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
    3. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
    4. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อหน้าพระพักตร์
    5. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤๅษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
    6. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
    7. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
    8. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง

    <DL><DD>กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ </DD></DL>
    1. อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
    2. อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
    3. อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
    4. หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ

    <DL><DD>อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ </DD></DL>
    1. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
    2. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
    3. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
    4. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
    5. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
    6. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง
    จริยธรรม 10 ประการ

    <DL><DT>จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย</DT></DL>
    1. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    2. พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย
    3. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
    4. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    5. พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    6. พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน
    7. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง
    8. พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    9. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ
    10. พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์
    <DL><DD>คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ </DD><DD> </DD><DD>มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส </DD></DL>
    1. มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์
    2. มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม
    คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
    มหาปณิธาน 4

    <DL><DD>มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย </DD></DL>
    1. เราจะละกิเลสให้หมด
    2. เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ
    3. เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    4. เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด
    <TABLE style="BACKGROUND-COLOR: transparent; WIDTH: 100%" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%" align=left>
    • เจ้าแม่กวนอิม
    • ตี่จั่งอ๊วง
    • พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์
    • พระคคนคัญชะโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือต้นกัลปพฤกษ์ หัตถ์ขวายกขึ้น หัตถ์ซ้ายวางบนสะโพก กายสีเหลือง มี 2 กร
    • พระคันธหัสติโพธิสัตว์ กายสีเขียวหรือขาวอมเขียว 2 กร มือขวาทำปางประทานพร มือซ้ายถืองาช้าง วางบนดอกบัวหรือถือสังข์
    • พระจันทรประภาโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือดวงจันทร์วางบนดอกบัว หัตถ์ขวาประทานพร หัตถ์ว้ายถือพระจันทร์บนดอกบัว กายสีขาว 2 กร
    • พระชญาณเกตุโพธิสัตว์ กายสีเหลืองหรือฟ้า 2 กร มือขวาถือธงกับเพชรพลอย มือซ้ายทำท่าประทานพร
    • พระชาลินีประภาโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือวงกลมแห่งดวงอาทิตย์ หัตถ์ขวาประทานพร หัตถ์ซ้ายถือพระอาทิตย์บนดอกบัว กายสีแดง มี 2กร
    • พระไตรโลกยวิชัยโพธิสัตว์
    • พระนางตารา
    • พระนางปรัชญาปารมิตา
    • พระปัทมปาณิโพธิสัตว์
    • พระประติภานกูฏโพธิสัตว์ กายสีเหลือง เขียว หรือ แดง มือขวาถือแส้ มือซ้ายวางบนเพลา มี 2 กร
    • พระภัทรปาลโพธิสัตว์ กายสีแดงหรือขาว มี 2 กร มือขวาทำปางประทานพร มือซ้ายถือเพชรพลอย
    • พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์
    • พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
    • พระรัตนปาณีโพธิสัตว์
    • พระวัชรครรภ์โพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือหนังสือ มือขวาถือวัชระ มือซ้ายถือหนังสือ กายสีฟ้า มี 2กร
    </TD><TD vAlign=top width="50%" align=left>
    • พระวัชรปาณีโพธิสัตว์
    • พระวิศวปาณีโพธิสัตว์
    • พระวิหารบาลโพธิสัตว์
    • พระเวทโพธิสัตว์
    • พระศรีอารยเมตไตรย
    • พระสมันตภัทรโพธิสัตว์
    • พระสรรวนิวรณวิษกัมภินโพธิสัตว์ กายสีขาวหรือฟ้า มี 2 กร มือขวาทำญาณมุทรา มือซ้ายทำท่าปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร
    • พระสรรวโศกตโมนิรฆาตมตีโพธิสัตว์ กายสีเหลืองอ่อนหรือเหลือง มี 2 กร มือขวาถือคฑา มือซ้ายวางบนสะโพก
    • พระสรรวาปายัญชหะโพธิสัตว์ กายสีขาว 2 กร ทำท่าขจัดบาป หรือถือขอสับช้างทั้งสองมือ
    • พระสาครมติโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือสังข์หรือคลื่น ยื่นพระหัตถ์ไปข้างหน้า ทำนิ้วเป็นรูปคลื่น กายสีขาว มี 2 กร
    • พระสุรังคมโพธิสัตว์ กายสีขาว 2 กร มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายวางบนสะโพก
    • พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    • พระอักษมยมติโพธิสัตว์ สัญลักษณ์คือพระขรรค์หรือหม้อน้ำ มือขวาประทานพร มือซ้ายทาบบนทาบบนพระอุระ กายสีเหลืองหรือขาว มี 2 กร
    • พระอากาศครรภ์โพธิสัตว์สัญลักษณ์คือพระอาทิตย์ มือขวาถือเพชรพลอย มือซ้ายถือดวงแก้ว กายสีเขียว มี 2 กร
    • พระอโมฆทรรศินโพธิสัตว์ กายสีเหลือง 2 กร มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายวางบนสะโพก
    • ฮุ่ยเหนิง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. ภาชนะธรรม

    ภาชนะธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2009
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +58
    ประเภทของพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพระพุทธศาสนา ประเภทของพระพุทธเจ้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ<SUP id=cite_ref-.E0.B8.9B.E0.B8.8F.E0.B8.B4.E0.B8.9B.E0.B8.97.E0.B8.B2.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B9.82.E0.B8.9E.E0.B8.98.E0.B8.B4.E0.B8.AA.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.A7.E0.B9.8C_1-0 class=reference>[2]</SUP>
    <DL><DT>1. ปัญญาพุทธเจ้า <DD>คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตะโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน </DD></DL><DL><DT>2. ศรัทธาพุทธเจ้า <DD>คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตะโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน </DD></DL><DL><DT>3. วิริยะพุทธเจ้า <DD>คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตะโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน </DD></DL>ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระศรีศากยมนีโคดมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาพุทธเจ้า
     
  9. gandaan

    gandaan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +163
    เมื่อผู้ปารถนาพุทธภูมิ แล้วกำลังใจยังไม่เข้มแข็งพอ เกิดไปทำบาปเข้า มีสิทธิ์ตกนรกหรือไม่.....
     
  10. ปฐมฌาน

    ปฐมฌาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +204
    ขออนุโมทนา <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เราใช้น้ำไว้ชำระกาย แต่ ใช้อะไรชำระจิต...หรือยัง<o:p></o:p>
    ปฐมฌาน <o:p></o:p>
    ประกันภัยราคาถูก ประเภท 1 แค่7,000บาท<o:p></o:p>
    http://www.insureintrend.com<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  11. คนวิเชียร

    คนวิเชียร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +1,298
    อนุโมทนา สาธุ ครับ ไม่ควรประมาท ในการทำความดี หมั่นเจริญภาวนา เพราะเวลาของคนเราเหลือน้อยเติมทีครับ:cool::cool::cool:
     
  12. พระครูวินัยธรสุพิน

    พระครูวินัยธรสุพิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +12,307

    สาธุ เราคิดดี เราทำดี เราพูดดี

    ร่วมซื้อที่ดินสร้างวัดเทียบศิลารามให้สมบูรณ์มีเวลา ๒ เดือนรับวัตถุมงคล<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. โพธิ์เพชร

    โพธิ์เพชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +133
    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อย่าได้กังวลไปเลย ถึงเวลานั้นรู้เองล่ะครับ
     
  14. emperron

    emperron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +432
    ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
    ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า
    และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้
    รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป
    รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง
    เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย
    สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง
    ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง
    ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ
    ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส
    ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ
    ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย
    และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์
    และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์
    และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์
    ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง
    พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
    เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น
    พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา
    ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น
    อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
    เป็นมหาธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นธรรมแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่
    เป็นสิ่งอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า เป็นมนต์อันไม่มีสิ่งอื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
    นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ในใจของตน
    "อัตนา โจทยัตตานัง" จงกล่าวโทษเตือนตนไว้เสมอ
    "สัพพะปาปัสะอกรณัง ละเว้นความชั่ว
    กุสลัสสูปสัมปทา ทำแต่ความดี
    สจิตตะปริโยทปนัง ทำจิตใจให้ผ่องใส
    เอตังพุทธานะสาสะนัง" พระพุทธเจ้าทรงสอนเช่นนี้เหมือนกันหมด
    "อัตตาหิอัตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
    โกหินาโถปโรสิยา ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
    อัตตาหิสุทันเตนะ เมื่อฝึกตนดีแล้ว
    นาถังลภะติทุลภัง" จะได้ที่พึ่งอันบุคคลอื่นหาได้ยาก
     
  15. โพธิปารมี

    โพธิปารมี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +5
    ประเภทของพระโพธิสัตว์
    พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
    1. อนิตยโพธิสัตว์
    พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิตยโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
    2. นิตยโพธิสัตว์
    พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิตยโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์
     
  16. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนากับท่าน จขกท....ด้วยนะครับ
    กราบอนุโมทนากับปู่ด้วยนะครับ หลวงปู่เทศน์ได้ไพเราะมากเลยนะครับ
    อยากให้ใครๆๆ(บางคน) มาอ่านจังเลยนะครับ(จะได้รู้)
     

แชร์หน้านี้

Loading...