คชสีห์๙บารมี๙บารมี๙แผ่นดินหลวงปู่หมุนเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 30 สิงหาคม 2010.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียญหล่อเสกไตรมาสปี๔๒ หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม บางบาล อยุธยา

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียญครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี ๒๕๒๗
    รุ่นนี้ออกแบบสวยงดงามเหมือนใบหน้าหลวงปู่มากครับ ปัจจุบันเหรียญรูปแบบนี้ไม่ค่อยสร้างแล้ว

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    [​IMG] [FONT=Arial,MS Sans Serif]ประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดศรีสาคร ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
    ก่อนจะกล่าวถึงชีวประวัติหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล ขอน้อมกล่าวถึง จังหวัดสิงห์บุรี

    จังหวัดสิงห์บุรี ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยไหลผ่าน ทิศเหนือติดจังหวัดชัยนาค ทิศตะวันตกติดจังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันออกติดจังหวัดลพบุรี ทิศใต้ติดจังหวัดอ่างทอง พื้นที่อุดมสมบูรณ์ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ค้าขาย มีโรงสีข้าวจำนวนมาก ประชาชนอยู่ดีกินดีส่วนใหญ่จะมั่งคั่ง ค่าครองชีพต่ำข้าวปลาอาหารหลากหลายราคาถูก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งโล่งอากาศดีในน้ำมีปลาในนามีข้าว โดยเฉพาะปลา ลำน้ำแม่ลาของจังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อว่ารสชาติดีที่สุด กุนเชียงหมู กุนเชียงปลา ขนมเปี้ยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก หลายจังหวัดมาสั่งไปจำหน่าย บ้านเมืองสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เมืองสิงห์บุรี อนิสงฆ์ แหล่งศรัทธาในประเพณีและวัฒนธรรมในพุทธศาสนาผูกพันเชื่อมโยงผู้คน แผ่นดินสิงห์บุรี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ มีวัด วิหาร อุโบสถ ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ มีมากมาย ถูกสร้างขึ้นรายรอบอยู่รอบเมือง ตามเส้นทางแห่งสายน้ำ ความเชื่อในศรัทธาแห่งพุทธศาสนา เช่น วัดสเถียรวัฒนดิษฐ์ เป็นที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปทองคำสมัยสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่ เมืองสิงห์บุรี วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ วัดพิกุลทอง มีพระพุทธรูปสุวรรณมงคลมหามุนี เป็นพระพุทธรูปนั่งปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เจดีย์วัดพระปรางค์ เตาเผาเครื่องปั้นแม่น้ำน้อย อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น ซึ่งยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด นอกจากวัดและวิหารปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุแล้ว ยังมีพระเกจิอาจารย์พระคณาจารย์ที่เรื่องเวทย์วิทยาคมพุทธาคมเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบันของจังหวัดสิงห์บุรี อีกจำนวนมากมายหลายรูปด้วยกันดังเช่น หลวงปู่ศุข วัดป่าหวาย หลวงปู่สี วัดพระปรางค์ หลวงพ่อเชย วัดท่าควาย หลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาส หลวงพ่อซวง วัดชีประขาว หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง และในปัจจุบันมีหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล แห่งวัดศรีสาคร

    ื วัดศรีสาคร ตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ 8 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2481 บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ รวมทั้งโรงเรียนโดยประมาณ 40 ไร่ มีเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดมาแล้ว 10 รูป
    รูปที่1 หลวงพ่อศรี
    รูปที่2 หลวงพ่อสา (เป็นน้องชายหลวงพ่อศรี)
    รูปที่3 หลวงพ่อสน
    รูปที่4 หลวงพ่อเพ็ชร
    รูปที่5 หลวงพ่อปั้น
    รูปที่6 หลวงพ่อสว่าง
    รูปที่7 หลวงพ่อเกิด
    รูปที่8 หลวงพ่อเชื้อ
    รูปที่9 พระอาจารย์ดี
    รูปที่10 พระครูมงฺคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบมีชื่อเสียงโด่งดัง มีปฏิปทาเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธามากยิ่งของชาวจังหวัดสิงห์บุรี และชาวพุทธในจังหวัดใกล้เคียงอีกจำนวนมาก ด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล ทุกรุ่นมีประสบการณ์ศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะเหรียญรุ่น1 ปีพ.ศ.2514 มีค่านิยมเล่นหาประมาณ 15,000 บาท ต่างกล่าวขานกันว่าท่านบรรลุญาณสมาบัติชั้นสูง หูทิพย์ตาทิพย์ ได้อภิญญา6 ถอดกายทิพย์ ไปบิณฑบาตรต่างแดนในสถานที่ต่าง ๆ มีผู้พบเห็นเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามไปบิณฑบาตรอีกฝั่งตรงข้าม เข้าไปในห้องที่ปิดประตูทึบโดยสำเร็จวิชาแปลงธาตุ เช่นทึบให้เป็นอากาศธาตุ น้ำให้เป็นดิน ลมให้เป็นไฟเป็นต้น เมื่อเป็นที่โจกขานเล่าลือกันอย่างหนาหู ผู้เขียนได้พยายามติดตามหาข้อมูลรายละเอียดมาเขียนมีเหตุผลข้อมูลอย่างไรจะ ขอนำกล่าว รายละเอียดต่อไป
    [/FONT]

    [FONT=Arial,MS Sans Serif]ชีวประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล)

    ชาติภูมิ หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล มีนามเดิมว่า ฉาบ ด้วงดารา ถือกำเนิดวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2471 เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ 1. หลวงพ่อฉาบ 2. นายเอิบ 3. นายสังวาล 4. นายประสงค์ 5. นายถวิล 6. นายปุ่น 7. นางสมนึก ของโยมพ่อเน่า และนางสมบุญ ณ บ้านเลขที่ 27 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นป.4 ที่โรงเรียนวัดศรีสาคร อาชีพทำนา
    ประวัติเยาว์วัย หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล ในวัยเด็กตอนยังเป็นฆาราวาส เป็นคนถือสัจจะเป็นใหญ่มีความตั้งใจพูดจริงทำจริง และสนใจในเวทย์มนต์คาถา มักชอบไปกราบนมัสการหาพระอยู่เสมอ ในปีพ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น ได้แจกให้คณะศิษยานุศิษย์ ทายกทายิกาที่ร่วมทำบุญมาทำการทองกฐินยังวัดศรีสาคร และได้มาพำนักอยู่ที่วัดศรีสาครเป็นเวลาถึง 6 เดือน เพราะท่านชอบพอสนิทกับหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดศรีสาครในสมัยนั้น หลวงพ่อฉาบ ในวัยเด็กขณะนั้นอายุได้ 14 ปี มีความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อแช่มมาก ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อแช่มบ่อยครั้ง และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ขอเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ในลำดับแรกหลวงพ่อแช่มได้สอนให้เรียนรู้ทางด้านการปฏิบัติจิต สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตนิ่งเป็นสมาธิก่อน และหลังจากทำกรรมฐานและวิปัสสนาอยู่ 3 เดือน หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สอนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ให้ ในปีพ.ศ.2486 หลวงพ่อแช่ม ก็ได้กลับไปวัดตาก้อง หลังจากนั้นในปีพ.ศ.2488 หลวงพ่อแช่มได้มาพำนักที่วัดศรีสาครอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 25 วัน หลวงพ่อฉาบ ตอนนั้นอายุได้ 17 ปี ได้เข้าพบรับใช้และเล่าเรียนสอบถามวิชาไสยเวทย์พร้อมให้หลวงพ่อแช่มช่วย ทบทวนวิชาคาถาที่เล่าเรียนจนสามารถปฏิบัติได้ตามคำสอนอย่างดี แล้วหลวงพ่อแช่มก็เดินทางกลับวัดตาก้อง ต่อมาในปีพ.ศ.2490 หลวงพ่อแช่ม ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพลงในปีนั้น
    อุปสมบท ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีสาคร เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2491 โดยมีพระครูเกศิวิกรม (หลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสังฆราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ประทุม เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉ่ำ เจ้าอาวาสวัดตึกราชาวาสเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้รับฉายาว่า มงฺคโล เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ตั้งจิตมั่นได้กล่าวคำสัจจะวาจาบอกกล่าว ต่อโยมบิดามารดาของท่านว่า เมื่อฉันได้บวชเรียนเป็นภิกษุแล้วจะขอรับใช้พระพุทธศาสนาตลอดชีวิต โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ทักทวงแต่ประการใด เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสาคร 2 พรรษา ได้เรียนพระธรรมวินัยไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมจากหลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ ซึ่งองค์นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพูล (เจ้าอาวาสองค์ก่อน) วัดสังฆราชาวาส ซึ่งเป็นสหายธรรมของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย และหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาสเป็นเหรียญยอดนิยมของชาวเมืองสิงห์บุรีมีค่านิยมหลักหมื่น ถือว่าเป็นสุดยอดเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์และคงกระพัน หลังจากหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทรัพย์แล้ว ก็ได้ปรึกษาหลวงพ่อทรัพย์ในการปฏิบัติกิจแห่งธุดงค์วัตร ก็ได้รับการแนะนำสั่งสอนอย่างดี
    [/FONT]


    [FONT=Arial,MS Sans Serif]ธุดงค์ วัตร ในปีพ.ศ.2493 โดยมุ่งสู่จังหวัดลพบุรีดินแดนซึ่งเคยเป็นอาณาจักร ลวปุระ (ละโว) อันรุ่งเรืองเกรียงไกรมาแล้ว หลวงพ่อฉาบได้เดินธุดงค์ไปยังถ้ำตะโก เพื่อจะไปหาความสงบวิเวก เมื่อถึงถ้ำตะโกมาทราบว่าหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ท่านได้ละสังขารมรณภาพไปแล้ว ก็ได้พบกับหลวงพ่อคง คงคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ศิษย์เอกหลวงพ่อเภา ซึ่งได้รับสืบทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่าง ๆจากหลวงพ่อเภาทั้งหมด หลวงพ่อฉาบจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาต่าง ๆ ของหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จากหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา จากนั้นหลวงพ่อฉาบก็เดินทางมุ่งไปสู่วัดเขาสาริกา เพื่อจะไปศึกษาธรรมกรรมฐานจากหลวงพ่อกบ ก็ปรากฏว่าได้มรณภาพไปแล้วเช่นกัน จึงได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎ วัดเขาวงกฎอยู่ติดกับวัดเขาสาริกาอยู่คนละฝางเขาที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เขาสนามแจง ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของเขา เป็นลักษณะหุบเขาเปิด มีทางเข้าออกทางเดียว เมื่อปี พ.ศ.2465 หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโกธุดงค์มาพบสถานที่แห่งนี้เข้าเห็นว่าเหมาะแก่การอบรมสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก จึงได้ทำการก่อสร้างให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบ มีถ้ำคูหาสวรรค์อยู่ที่เชิงเขาด้านทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อเภาจะจำพรรษาและทำความเพียรในถ้ำคูหาสวรรค์แห่งนี้ ต่อมากรมพระนครสวรรค์ พระองค์เจ้าบริพัตร สุขุมพันธ์เสด็จมาที่เขาวงกฎได้พบหลวงพ่อเภา ทรงเลื่อมใสในปฏิปทาและแนวทางในการปฏิบัติของหลวงพ่อ จึงได้ถวายปัจจัยให้ก่อสร้างวัด หลวงพ่อเภาได้สร้างกุฏิขึ้นหน้าถ้ำคูหาสวรรค์ให้ชื่อว่า “ตึกบริพัตร” ตามนามของผู้บริจาค และหลวงพ่อเภาได้มาจำพรรษาที่กุฏินี้ตลอดมา หลังจากหลวงพ่อเภาได้มรณภาพในปีพ.ศ.2474 ที่วัดแห่งนี้ในปีหนึ่งจะมีพระสงฆ์มาจากวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาคมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ หลวงพ่อฉาบได้มาปฏิบัติธรรมได้พบกับ พระมหาชวน มลิพันธ์ (หลวงพ่อโอภาสี) หลวงพ่อฉาบ ได้พบหลวงพ่อโอภาสี เล่าเรื่องมีความศรัทธาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา แต่มารู้ภายหลังว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วด้วยความตั้งใจมุ่งหวังจะศึกษาวิชา ต่าง ๆ จากท่าน ก็ได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ที่รับการถ่ายทอดวิชามาจากหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลวงพ่อฉาบจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี ขอศึกษาวิชากสิณต่าง ๆ และไสยเวทย์ หลวงพ่อโอภาสี ได้ฝึกสอนวิชาต่าง ๆ ให้เช่นกสิณไฟ และคาถาอาคมต่าง ๆ ให้หลวงพ่อฉาบจำนวนมากและยังได้ชักชวนนิมนต์ให้หลวงพ่อฉาบเดินทางไปพบท่าน ที่อาศมบางมดกรุงเทพ ในครั้งนั้นที่วัดเขาวงกฎหลวงพ่อฉาบยังได้พบปะรู้จักเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อ ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติธรรมร่วมกันได้ขอศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงพ่อชาเกิดปีพ.ศ.2471 ปีเดียวกับหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล หลวงพ่อชาท่านได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2536 ร่วมสิริอายุได้ 65 ปี หลวงพ่อฉาบอยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 45 วัน ก็ได้เดินทางกลับไปยังวัดถ้ำตะโกอีกครั้งหนึ่ง ได้พำนักอยู่ที่วัดถ้ำตะโกพบปะใกล้ชิดกับหลวงพ่อคงอีกครั้งก็มาศึกษาพบว่า ที่วัดถ้ำตะโกแห่งนี้อยู่ในบริเวณดอยเขาเทือกเขาเดียวกับวัดต่าง ๆ อีกถึง 3 วัดรวมดอยนี้มีวัดถึง 4 วัด คือ วัดเขาสมอคอน วัดถ้ำช้างเผือก วัดถ้ำตะโก วัดบันไดสามแสน ในอดีตตั้งแต่ยุคสมัยทวาราวดีเป็นต้นมา ดอยเทือกเขานี้มีความสำคัญมากมีถ้ำใหญ่น้อยเป็นร้อย ๆ ถ้ำ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีล สมณะ ฤาษี พราหมณ์ เป็นแห่งกำเนิดของวิชาไสยเวทย์มนต์คาถาแหล่งรวมวิชาไสยศาสตร์ เช่นวิชาขอมดำดิน ก็ก่อเกิดในที่แห่งนี้เป็นตรรกศิลาแห่งไสยศาสตร์และเวทย์มนต์ วัดเขาสมอคอนเป็นวัดอยู่ต้นดอย มีถ้ำพระนอนและที่พำนักของฤาษีสุกกะทันตะและ ถ้ำพราหมณี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยก็มาศึกษาที่แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ หลวงพ่อฉาบ ก็ได้เดินทางมาที่วัดเขาสมอคอน เข้ากราบนมัสการฝากตัวขอเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อบุญมี อิสสโร ศิษย์ผู้รับการสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อพระครูอุปัชฌาย์ก๋ง จฺนทสโร พระอุปัชฌาย์ก๋ง มีวิชาไสยเวทย์มากมายได้จากตำราเก่า อักขระยุคขอม ท่านเก่งมากเหรียญรุ่นแรกของท่านชาวลพบุรีเล่นหากันหลักแสน จะขอย้อนกล่าวถึงความเป็นมาของเทือกเขาสมอคอน ที่เป็นที่ตั้งของวัดเขาสมอคอนอยู่บนดอยสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ทราบถึงความ เป็นมาดังนี้ เทือกเขาสมอคอนหรือเรียกดอยธัมมิกราช ดอยธัมมิกราชวิทยาลัยราชะแห่งยุวทวาราวดี ดอยธัมมิก สาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เนื่องมาจาก สุกกทันตฤาษี (สุทันตฤาษี) ในหนังสือชินกาลมนีกล่าวว่า สุกกทันตฤาษีพำนัก ณ ดอยธัมมิก (เขาสมอคอน) อยู่ทางทิศใต้ของกรุงหริภุญชัย (ลำพูน) ในสมัยพระเจ้าจักรวัตติราช แห่งกรุงละโว้ สุกกทันตฤาษี ในสมัยนั้นย่อมเป็นที่รู้จักต่อฝูงชนหมู่คณาจารย์ และบรรดากษัตริย์ต่าง ๆ ทั่วทุกแคว้น ดอยธัมมิกราช เป็นดอยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในสมัยทวาราวดี เพราะทั้งภาษาหนังสือและความหมายเป็นภาษาชั้นสูงของผู้คงแก่เรียนที่ได้รู้ ในทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงสถาปนายอดดอยแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของบรรดาฤาษีและผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่หรืออีกนัยหนึ่งว่าเจ้ากรุงละโว้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนา จนได้สมญาพระนามว่าพระเจ้าธัมมิกราช ความสำคัญของดอยธัมมิกราช เขาสมอคอนได้สมญานามว่าวิทยาลัยแห่งราชะยุคทวาราวดียอมเป็นที่แน่นอนที่สุด ที่บรรดาพระเกจิอาจารย์มีชื่อเสียงดังเรื่องไสยเวทย์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับ ในสมัยเก่าก่อนมากกว่า 150 ปีขึ้นไปนั้นส่วนใหญ่จะได้รับการสืบทอดเผยแพร่วิชาไสยเวทย์มาจากแหล่งกำเนิด วิชาจากดอยธัมมิกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น เมื่อหลวงพ่อฉาบ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบสิ้นแล้วก็ได้เดินธุดงค์เข้าวัดต่อไปยังภาคเหนือที่ ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ไปถึงแม่ฮ่องสอน แล้วกลับไปทางเชียงราย พะเยา เชียงแสน ข้ามไปฝั่งพม่าแคว้นเซียงตุง มุ่งสู่ภาคอีสานตอนบน เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิและผ่านจังหวัดสระบุรีเข้าสู่กรุงเทพฯ ได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อโอภาสีอีกครั้งในปีพ.ศ.2496 ที่อาศมบางมดกรุงเทพฯ ได้พำนักอยู่เป็นเวลา 3 เดือนแล้วก็ลากลับวัดศรีสาครหลังจากกลับมาอยู่วัดได้ 2 อาทิตย์หลวงพ่อฉาบก็ได้เดินทางไปยังวัดชีประขาว อ.พรมบุรี จ.สิงห์บุรี เข้าพบกราบนมัสการหลวงพ่อซวง ในช่วงนั้นหลวงพ่อซวง อายุ 55 ปีท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมีเมตตาบารมี มีบุญฤทธิ์สูงส่งมาก หลวงพ่อฉาบได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ขอศึกษาวิชาไสยเวทย์วิทยาคมจากท่าน หลวงพ่อซวงได้เมตตาสั่งสอนถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้หลวงพ่อฉาบ อยู่เป็นเวลา 2 ปี โดยที่หลวงพ่อฉาบ จะเดินทางไปยังวัดชีประขาวครั้งละ 1 อาทิตย์ไปกลับเช่นนี้ มาวันหนึ่งเมื่อปลายปีพ.ศ.2497 หลวงพ่อซวง ท่านได้กล่าวกับหลวงพ่อฉาบไว้ว่าต่อไปท่านจะได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสาครมี ชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสเคารพศรัทธาของชาวพุทธโดยทั่ว หลังจากนั้นต่อมาในปีพ.ศ.2498 หลวงพ่อฉาบ มงฺคโลก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีสาครสืบมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อหลวงพ่อฉาบเป็นเจ้าอาวาสแล้วได้ดูแลและปกครองวัดด้วยความเรียบร้อยใน พรรษาที่30 ตรงกับปีพ.ศ.2521 ท่านได้จัดการมอบหมายให้รองเจ้าอาวาสดูแลวัดศรีสาครเป็นการชั่วคราวแล้วหลวง พ่อฉาบได้ออกเดินธุดงค์วัตรเป็นครั้งที่2 เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสระบุรีได้เข้าพบหลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ ได้เข้านมัสการขอคำแนะนำด้านอาคมต่าง ๆ จากหลวงพ่อบาง จากนั้นก็มุ่งไปยังจังหวัดนครราชสีมา ที่อำเภอครบุรีได้เข้านมัสการหาหลวงพ่อนิล ได้ขอเรียนวิชาด้านบรรจุพลังจิตในการเสกวัตถุมงคลและเพิ่มเติมด้านกสิณต่าง ๆ จากหลวงพ่อนิลแล้วเดินทางต่อไปยังปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ไปกราบนมัสการปราสาทเขาพนมรุ้ง แล้วมุ่งสู่จังหวัดสุรินทร์ที่อำเภอนารายณ์ได้พบกับหลวงพ่ออ่อน วัดธรรมรงค์ษา หลวงพ่ออ่อนเป็นพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์ที่เชี่ยวชาญด้านมหาอุตและอยู่ยง คงกระพันชาตรีมีวิชาเวทย์มนต์ ตระกรุดเลขยันต์ที่ร่ำเรียนมาจากประเทศกัมพูชา หลวงพ่อฉาบได้ไปปักกตอยู่ที่หมู่บ้านบ้านเบิกเป็นหมู่บ้านใหญ่ชาวบ้านที่ นั่นเป็นคนเขมร ส่วนใหญ่จะเชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์มีวิชาอาคมมาก เก่งแค่ไหนก็ต้องยอมหลวงพ่ออ่อน วัดธรรมรงค์ษา หลวงพ่อฉาบได้เข้ากราบนมัสการพบหลวงพ่ออ่อน ๆ อายุประมาณ 80 ปีได้เมตตาสอนวิชามหาอุตและคงกระพันชาตรีให้หลวงพ่อฉาบมาหลายบทหลายตอนเป็น วิชาที่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้ผลเหลือคะนาประการ ในขณะที่บำเพ็ญธรรมอยู่ในกตที่บ้านเบิกนั่นได้พบการบรรดาวิญญาณที่ตายด้วย อาการต่าง ๆ และสัมปเวสีมาขอส่วนบุญ หลวงพ่อฉาบก็ได้แพร่ส่วนบุญและแพร่เมตตาให้แล้วต่างก็หายไป หลวงพ่อฉาบเข้ากราบนมัสการหลวงพ่ออ่อนแล้วเดินธุดงค์ต่อไปยังจังหวัด อุบลราชธานีได้เข้ากราบนมัสการ หลวงพ่อพั่ว วัดนาเจริญ เข้าขอคำชี้แนะศึกษาธรรมปฏิบัติต่าง ๆจากหลวงพ่อพั่ว ๆ วัดนาเจริญท่านเป็นพระคณาจารย์ที่มีพลังจิตแก่กล้ามาก เป็นพระได้สำเร็จญาณสมาบัติถึงอนาคามีจากวัดนาเจริญ แล้วมาปักกตชานเมืองอำเภอวารินชำราบ ณ ที่แห่งนั้นในยามค่ำคืนก็มีวิญญาณมาขอส่วนบุญและบรรดาสัมปเวสี หลวงพ่อฉาบก็ได้แพร่เมตตาและแพร่ส่วนบุญให้แล้วก็หายไป หลวงพ่อฉาบกล่าวว่าหลังจากท่านกลับจากธุดงค์ครั้งนั้นจำไม่ได้ว่าปีไหนที่ อำเภอวารินชำราบมีพิธีการล้างป่าช้าท่านก็ได้ถูกนิมนต์มาในงานด้วยและมาโดย ตรงและมาพำนักอยู่ที่วัดหนองป่าพงที่กุฏิหลวงพ่อชา สุภัทโท เมื่อหลวงพ่อฉาบได้นมัสการหลวงพ่อพั่ว วัดนาเจริญแล้วก็ได้ไปพบหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง พำนักพักอยู่กับสหายธรรมที่รู้จักซึ่งได้ร่วมปฏิบัติธรรมกันที่วัดเขาวงกฎ จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อชา สุภัทโท เป็นพระอริยสงฆ์ ได้บรรลุธรรมชั้นสูงถึงซึ่งโลกุตตรธรรม โดยผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในการปฏิบัติธรรมต่างลงความเห็นและสัมผัสได้ว่า หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหัง หลวงพ่อฉาบได้พำนักอยู่วัดหนองป่าพง 5 วันก็ได้มุ่งสู่จังหวัดนครพนมกราบนมัสการพระธาตุพนมแล้วก็เดินทางเข้าสู่ จังหวัดร้อยเอ็ดไปยังวัดสว่างธาศรี เข้าพบหลวงพ่อทองมา ถาวโล ได้กราบนมัสการของศึกษาและแลกเปลี่ยนวิชากับหลวงพ่อทองมา ได้ปักกตที่พักอยู่เนินสูงข้างทุ่งนา 1คืนหลังจากพบหลวงพ่อทองมาได้คุยข้อแลกเปลี่ยนวิชากันแล้วก็ลาจากท่านไปได้ เดินผ่านทุ่งนาหลังวัดลัดเลาะเข้าสู่จังหวัดหาสารคามผ่านนาดูนเมืองเก่า แล้วกลับผ่านโคราชเข้าสระบุรีกลับสู่วัดศรีสาคร เมื่อหลวงพ่อฉาบ ได้เข้าจากะธุดงค์ครั้งที่ 2 แล้ว ก็อยู่แต่ภายในวัดศรีสาครไม่ได้เดินทางไปไหนอีกเลยท่านปิดกุฏิเป็นตลอดนาน มุ่งบำเพ็ญกรรมฐานและสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาหลาย 10 ปีในแต่ละวันจะเปิดกุฏิรับญาติโยมและพุทธศาสนิกชนเพียงบางเวลาเท่านั้นท่าน ไม่มีโทรทัศน์,วิทยุ ปิดกุฏิไม่รับรู้เรื่องภายนอกแต่ท่านก็รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี ท่านจะเน้นเรื่องกรรมบางครั้งสิ่งที่เป็นกรรมเหตุจะเกิดก็ไม่อาจเลี่ยงได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม คุณสุนทร คนที่ดูแลหลวงพ่อคุยให้ฟังว่าหลวงพ่อจะพูดถึงหลวงพ่อชา สุภัทโทอยู่เสมอ เหมือนท่านได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตถึงกันเหมือนติดต่อกันทางจิตในวันที่หลวง พ่อชาได้ละสังขารลง หลวงพ่อฉาบได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปยังวัดหนองป่าพงและหลวงพ่อฉาบได้ไปร่วมใน งานพระราชทานเพลิงศพในครั้งนั้นด้วย หลวงพ่อฉาบได้ศึกษาไสยเวทย์และคาถาต่าง ๆ จากพระเกจิอาจารย์และพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมากอีกทั้งท่านได้ ปฏิบัติดีและประพฤติชอบตามพระธรรมวินัยคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพุทธและชาวจังหวัดสิงห์บุรีอีกทั้งจังหวัด ใกล้เคียงอีกจำนวนมาก[/FONT]

    [FONT=Arial,MS Sans Serif]อภินิหาร และประสบการณ์ ประสบการณ์เหรียญรูปไข่หันข้างรุ่น3 เหตุเกิดเมื่อวันอาทิตย์ในปีพ.ศ.2538 เกิดกับครูสำอาง ทัพเที่ยง เป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนวัดพระปรางค์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ได้ไปเข้าเวรวันอาทิตย์ ได้มีชายแปลกหน้า 2 คนเดินเข้ามาถามถึงแม่ชีทองก้อน ว่าอยู่กุฏิไหน ครูสำอางได้ชี้ไปข้างหน้าแล้วชายแปลกหน้า 2 คนก็ได้เดินไปที่กุฏิแม่ชี สักครู่ก็ได้เดินกลับมาใหม่เดินตรงเข้ามาหาครูสำอางพร้อมชักปีนออกมาจี้คุณ ครูสำอาง ขอให้เอาสร้อยทองคำในคอ ครูสำอางตกใจยืนตลึงพร้อมยกมือไหว้ร้องขอ ๆ อย่าได้เอาทองไปเลยแล้วชาย 2คนได้เข้ามากระชากสร้อยคอทองคำในคอของครูสำอาง ครูสำอางได้ระวังตัวอยู่แล้วเอามือรีบคว้าสร้อยคอไว้ ปรากฏว่าโจรได้สร้อยทองที่ขาดติดมือไปเพียงเล็กน้อยแล้วโจรก็ได้ยิงปีนใส่ ครูสำอางหลายนัด ปรากฏว่ายิงไม่ออกครูสำอางได้ไปแจ้งความไว้ที่ ส.ภ.อ.เมืองสิงห์บุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามจับกุมคนร้ายได้ทั้งหมดและคดีได้สิ้นสุดลงโดยศาล ได้ตัดสินจำคุกคนร้ายคนละ 15 ปี คุณครูสำอางได้เหน็บเหรียญรุ่น3 ของหลวงพ่อฉาบอยู่ในกระเป๋าเสื้ออยู่เหรียญเดียว ครูสำอางกล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดนยิงไม่ออกเพราะมีเหรียญหลวงพ่อฉาบคุ้ม ครองช่วยชีวิตไว้ให้รอดพ้นจากอันตรายในครั้งนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นที่รู้กันทั่วตลาดสิงห์บุรี[/FONT]


    [FONT=Arial,MS Sans Serif]ประสบการณ์ เหรียญรุ่น1 นายสน่ำ มาโนนาท เจ้าของลิเก คณะโนนาท เรืองนาม ไปปิดวิดแสดงที่ภาคอีสาน มีนักเลงมาขอเข้าดูฟรี 20 กว่าคน นายสน่ำ ไม่ให้เข้า โดนนักเลงรุมแทง ปรากฏว่าแทงไม่เข้า นายสน่ำ ได้ห้อยคอติดเหรียญรุ่น1 หลวงพ่อฉาบอยู่ในคอเพียงเหรียญเดียว นายสน่ำ คุยให้ฟังว่าที่รอดตายมาได้เพราะพุทธคุณเหรียญรุ่น1 หลวงพ่อฉาบได้ช่วยชีวิตไว้
    อาจารย์สมพงษ์ วินิจ เป็นศิลปินดีเด่นสาขาประติมากรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี สังกัดคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้เล่าให้ฟังว่า นายทองเติม วินิจ เป็นพี่ชาย เป็นช่างหล่อพระในขณะที่นั่งขัดผิวพระอยู่ ได้มีคนจีน อาแปะวัยประมาณ 60 ปี ได้นั่งรถเก๋งมาจอดที่หน้าโรงงาน แล้วเข้ามาถามหาพระสงฆ์รูปหนึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่เคยบอกว่าท่านอยู่วัดแห่ง หนึ่งอยู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ชื่อวัดศรี แต่จำไม่ได้ว่าวัดศรีอะไร อาแปะได้อธิบายบอกถึงลักษณะต่าง ๆ แก่ช่างทองเติมอย่างละเอียด จนช่างทองเติม บอกกลับไปว่าใช่หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาครหรือไม่ อาแปะร้อง เออ ใช่แล้ว ช่างทองเติมถามว่ามีอะไรเหรอ อาแปะคนจีนได้เล่าเรื่องราวให้คุณทองเติมฟังว่า เขามีบ้านอยู่เยาวราชจะทำบุญใส่บาตรทุกเช้า ได้พบและใส่บาตรหลวงพ่อรูปนี้และได้ถวายดอกเบญจมาศ วางลงบนฝ่าบาตรหลวงพ่อฉาบ เมื่อหลวงพ่อได้รับแล้วก็ได้หยิบเอาดอกเบญจมาศพร้อมคืนให้อาแปะแล้วกล่าวกับ เค้าว่าให้โยมเอาดอกไม้ไปบูชาพระที่บ้านเพราะหลวงพ่ออยู่ไกลอยู่วัดศรีสาคร อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เกรงว่าดอกไม้จะเหี่ยวแล้วเค้าก็ได้รับดอกไม้กลับไปบ้าน แล้วลืมนำไปไหว้พระไปวางไว้บนตู้จนเวลาผ่านไป 20 กว่าวันต่อมาได้มาเห็นดอกเบญจมาศวางอยู่บนตู้ยังอยู่ในสภาพปกติไม่เหี่ยวเฉา แม้แต่น้อยจึงเกิดเหตุประหลาดใจทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากทราบความเป็นจริง ว่าหลวงพ่อองค์นั้นอยู่ที่ จ.สิงห์บุรีจริงหรือไม่ ท่านต้องไม่ใช่ธรรมดาหรือเป็นอริยะสงฆ์อย่างแน่นอนจึงได้เดินทางมาถามหาหลวง พ่อด้วยความศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก วัดศรีสาครอยู่ห่างจากโรงงานคุณทองเติมเพียง 2 กม.เท่านั้น คุณทองเติมได้ฟังจากคำบอกเล่าของอาแปะ ก็ได้ขันอาสานำทางพาอาแปะคนจีนไปที่วัดศรีสาครเมื่ออาแปะได้ไปที่วัดศรีสาคร แล้วได้เห็นหลวงพ่อฉาบ นั่งบนเก้าอี้อยู่นอกชานกุฏิของท่านถึงกับตลึงรำพึงกล่าวเสียงขึ้นว่า โอ้ใช่แล้วหลวงพ่อองค์นี้ล่ะ แล้วรีบเข้าไปกราบหลวงพ่อฉาบในทันทีเรื่องนี้อาจารย์สมพงษ์ วินิจ น้องชายคุณทองเติม วินิจกล่าวว่าหลวงพ่อฉาบท่านสามารถถอดกายทิพย์ไปบิณฑบาตรในสถานที่แดนไกลได้ จริง
    จ.ส.อ.สุวัฒน์ พูลสวัสดิ์ อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่5 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บ้านอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดศรีสาคร อยู่มาเช้าวันหนึ่งเวลาประมาณ 6 โมงเช้า จ.ส.อ.สุวัฒน์ พูลสวัสดิ์ ได้ตื่นขึ้นมาล้างหน้าและออกกำลังกายที่ถนนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้มองไป ที่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เห็นหลวงพ่อฉาบได้เดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาโดยที่ เท้าของท่านไม่เปียกน้ำเข้ามาบิณบาตรฝั่งตรงข้าม จ.ส.อ. สุวัฒน์ ได้นำเรื่องที่เห็นไปเล่าให้ชาวบ้านแถวนั้นฟังจนเป็นข่าวเป็นที่สนใจของคน แก่คนเฒ่าแถบนั้นหลายคนเฝ้าติดตามอยากรู้ว่าในเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง จริงหรือไม่ หลายคนก็ได้แต่อธิษฐานอยากพบเห็นก็ได้มีนายสำรวย มีสะอาด อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่5 ต.ต้นโพธิ์ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ในเวลาเช้าวันหนึ่งได้เห็นหลวงพ่อฉาบ เดินข้ามน้ำมาบิณบาตรหลายคนไปเล่าให้หลวงพ่อฉาบฟัง และถามหลวงพ่อว่าท่านได้ข้ามไปบิณบาตรฝั่งหน้าวัดหรือไม่ ท่านตอบยิ้ม ๆ ว่าฉันก็ยังที่วัดไม่ได้ไปไหนผู้คนต่างก็ยังเล่าลือว่าหลวงพ่อถอดกายทิพย์ ลอยข้ามไปบิณบาตรฝั่งตรงข้ามหรือเป็นเพราะว่าท่านสำเร็จวิชาแปลงธาตุจากน้ำ ให้เป็นดินสมดังคำล่ำลือในสมัยหลายปีก่อนที่หน้าวัดศรีสาคร มีท่าเรือข้ามฟาก หลวงพ่อฉาบเคยข้ามไปบิณบาตรฝั่งตรงกันข้ามกับวัดเหมือนกันชาวบ้านกล่าวแต่ จุดที่ จ.ส.อ.สุวัฒน์ และนายสำรวยเห็นนั้นห่างจากท่าเรือข้ามฟากถึงกม.เมตรกว่าเห็นท่านเดินข้าม แม่น้ำมาอีกฝั่ง
    รู้ได้ด้วยณาณทิพย์ นางวิภา วินิจ ได้ชวนนางพเยาว์ วินิจ ผู้เป็นพี่สาวไปกราบหลวงพ่อฉาบ ขณะที่ขึ้นบันไดศาลากุฏิหลวงพ่อเห็นหลวงพ่อนั่งอยู่ด้วยอริยะบทยกเข่าขึ้น 2 ข้างแขกที่มาก่อนและนางพเยาว์ต่างก็กราบหลวงพ่อแต่นางวิภาไม่ยอมกราบเพราะ เห็นหลวงพ่อยกเข่าไม่สุภาพแค่นางวิภา คิดในใจหลวงพ่อฉาบก็รู้ด้วยญาณแล้วท่านก็เอาเข่าลงทั้ง 2 ข้างนั่งตรงแล้วพูดขึ้นว่าที่อาตมานั่งอย่างนี้เพราะมันเมื่อย นางวิภาตกใจได้บอกกับพี่สาวเค้าว่าฉันแค่คิดเท่านั้นหลวงพ่อรู้ได้อย่างไร
    เมื่อรายปีที่ผ่านมาบริเวณข้างวัดในมีชาวบ้านมาปลุกบ้านอาศัยอยู่มีชาวบ้าน คนหนึ่งได้ไปขโมยจับเอาแม่ไก่บ้านนายจง บัวสดไปเหลือแต่ลูกไก่ร้องหาแม่ไก่ส่งเสียงดังเจียวจ่าวไปหมด วันนั้นนายจง พอดีได้มาทำบุญกับหลวงพ่อฉาบที่วัดศรีสาครได้บ่นให้หลวงพ่อฉาบฟังว่าไม่รู้ ไอ้มือดีคนไหนมากดเอาแม่ไก่ไปทำให้ลุกไก่ร้องเจียวจ่าวไปหมด หลวงพ่อฉาบฟังแล้วนั่งนิ่งไปสักครู่ก็กล่าวขึ้นว่าไอ้คนที่ลักขโมยแม่ไก่ไป นั่นคือคนที่มีบ้านอยู่ข้างบ้านหลังริมสุดมันเอากระปุกครอบไก่ไว้นอกชานบ้าน เอ็นรีบไปดู นายจงได้ไปตามที่หลวงพ่อฉาบบอกก็ปรากฏว่าบ้านหลังดังกล่าวที่นอกชานมีกระปุก ครอบอยู่ นายจงได้ไปหงายกระปุกขึ้นดูก็พบว่ามีแม่ไก่ของตนที่หายไปอยู่ในกระปุกนั้น จริงๆ นายจงได้เอาแม่ไก่กลับไปแสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อฉาบมีทิพจักษุหูทิพย์ตาทิพย์
    มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อฉาบท่านป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ขณะที่นอนพักอยู่ในห้องภายในโรงพยาบาลซึ่งไม่มีหน้าต่างวันนั้นได้มีมรรก ทายกและกรรมการอีกหลายคนมาเฝ้าดูแลหลวงพ่อ อยู่ๆ หลวงพ่อฉาบท่านก็บอกมรรกทายกว่ารีบออกไปหานายสามพิมพ์ ดิษฐวิเศษ ที่ข้างนอกทีเค้ากำลังหาห้องหลวงพ่อไม่เจอ นายสามพิมพ์ เป็นชาวบ้านอยู่ข้างวัดพอรู้ว่าหลวงพ่อฉาบป่วย ก็รีบเดินทางตามมาโรงพยาบาลโดยที่ไม่มีใครทราบ แต่หลวงพ่อนอนอยู่บนเตียงคนไข้ท่านรู้ได้ด้วยญาณวิเศษว่านายสามพิมพ์ตามมาหา หลวงพ่อและหาห้องพักท่านยังไม่พบ
    [/FONT]

    [FONT=Arial,MS Sans Serif]อภินิหารและประสบการณ์เหรียญกลมกนกข้างพ.ศ.2536
    นายหนวด เชยสายชล อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่8 ต.ต้นโพธิ์ เป็นพนักงานขับรถบัดสายสุพรรณบุรีโดนจี้เกิดการต่อสู้ปรากฏว่ากระสุนยิงไม่ ออก และโดนฟันด้วยมีดก็ฟันไม่เข้า นายหนวดได้ห้อยคอบูชาเหรียญหลวงพ่อฉาบเป็นเหรียญกลมกนกข้างปีพ.ศ.2536 อยู่ในคอเพียงเหรียญเดียว นายหนวดรอดชีวิตมาได้เพราะพุทธคุณเหรียญหลวงพ่อฉาบได้ช่วยชีวิตไว้ เรื่องอภินิหารและประสบการณ์วัตถุมงคลหลวงพ่อฉาบมีมากจนทำให้วัตถุมงคลทุก ๆ รุ่นเป็นที่รักและห่วงแหนเช่าหากันในราคาที่ค่อนข้างสูงมาก ความเชื่อและเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อ มีมากจนสุดจะหาสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ แม้กระทั่งหลวงพ่อไม่สบายป่วยไม่สามารถเดินทางได้ ทางวัดสะเดา จัดพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลได้นิมนต์หลวงพ่อฉาบไปนั่งปรกปลุกเสกแต่หลวงพ่อฉาบ ท่านไม่สามารถเดินทางไปได้ ทางวัดสะเดา ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสอย่างมากได้เฝ้าอุตส่าห์จูงสายสินจากวัดสะเดามาตาม ถนนโยงมาถึงวัดศรีสาครซึ่งมีระยะทางมากกว่า 6 กิโลเมตรและนิมนต์กราบขอให้หลวงพ่อฉาบได้อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลให้ ท่านลองคิดดูซิว่าระยะทาง 6 กิโลจะต้องใช้ด้ายสายสินมากขนาดไหนก็เพียงหลวงพ่อฉาบได้อธิษฐานจิตปลุกเสก ให้ก็เป็นใช้ได้และก็ใช้ได้จริง ๆ เพราะถึงจะไกลแต่พุทธคุณก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนหรือลดน้อยถอยลดแต่อย่างใด ปรากฏว่าวัตถุมงคลรุ่นนี้มีประสบการณ์คุ้มครองป้องกันอุบัติเหตุให้ผู้บูชา ได้รอดพ้นภยันตรายต่าง ๆมาแล้วมากมาย

    ด้านการพัฒนา
    ตั้งแต่หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล ได้เป็ฯเจ้าอาวาสวัดศรีสาครมาจนถึงทุกวันนี้ วัดศรีสาครได้ถูกพัฒนาก่อนสร้างถาวรวัตถุเพิ่มขึ้นจำนวนมากเป็นวัดที่มี ต้นไม้ร่มรื่นบริเวณวัดส่วนใหญ่เป็นพื้นคอนกรีตมีความสะอาดเรียบร้อย อาคาร กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาเมรุ ทั้งหอฉัน และโรงเรียน ได้ทำการก่อสร้าง และจัดวางฝังอย่างมีระเบียบเรียบร้อย กุฏิสงฆ์ที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมใช้การไม่ได้ ๆมีการสร้างขึ้นใหม่ สร้างโรงเรียนเป็นอาคารคอนกรีตขึ้นหลังใหม่ สร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นอีกหลังใหม่และก่อสร้างรั้วกำแพงคอนกรีตรอบบริเวณ วัดในเนื้อที่บริเวณวัดประมาณ 40 ไร่ โดยหลวงพ่อฉาบได้กล่าวว่าท่านอายุมากแล้วจะรีบสร้างหลาย ๆ อย่างภายในวัดในสำเร็จจึงได้จ้างช่างรับเหมาก่อสร้างมาสร้างพร้อมกันไปที เดียวถึง 7 ราย ซึ่งจะต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินหลายสิบล้านบ้าน โดยอาศัยจตุปัจจัยเงินที่ได้มาจากการทำบุญของท่านพุทธศาสนิกชนทางวัดได้มี อยู่ส่วนหนึ่งและท่านสาธุชนใจบุญได้ทำบุญสมทบเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งขณะนี้ทางวัดได้จัดสร้างรูปเหมือนปั้มรุ่น1 ของหลวงพ่อฉาบ ขึ้นให้บูชาเพื่อทำเอาปัจจัยจากการออกวัตถุมงคลไปสมทบในโครงการก่อสร้างที่ กำลังทำอยู่นี้ต่อไป ในส่วนรูปเหมือนปั้มรุ่น1 นี้สร้างขึ้นจำนวนไม่มากและออกให้บูชาในต้นเดือนมิถุนายนพ.ศ.2551 นี้เป็นต้นไป และทางวัดก็จะมีสร้างรูปเหมือนปั้มรุ่น2 ออกให้ท่านพุทธศาสนิกชนได้บูชาให้ชื่อว่ารุ่นเก้ามงคล ซึ่งวัตถุมงคลรูปเหมือนปั้มทางวัดจะทำการจัดสร้างเพียงแค่ 2 รุ่นเท่านั้นคือรุ่น1 และ รุ่น2 ขอเชิญท่านพุทธศาสนิกชนและศิษย์ติดตามขอบูชาได้ด่วน เพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อฉาบ ถ้าหมดไปแล้วจะหายากเพราะใครมีก็จะห่วงแหนราคาก็จะแพง โดยเฉพาะเหรียญรุ่น1 ปัจจุบันเล่นหากันราคาสูงมาก

    ขอกราบขอบพระคุณ หลวงพ่อฉาบ เจ้าอาวาส วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี

    คุณเกษมสิทธิ์ ผู้อำนวยภาพ และ รายละเอียด
    [/FONT]
    - See more at: http://www.gejisiam.com/shop/ekamulet99/news-4013#sthash.5V85jo4M.dpuf

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาข้อมูลอย่างสูงครับ
    พระราหูเนื้อว่านหลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร สิงห์บุรี ท่านบอกลูกศิษย์ให้บูชาไว้ค้ำจุนชีวิตและดวงชะตาสร้างหลักร้อย ไม่มาก

    ให้บูชา 1800 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2014
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu
    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบหรือทางPMแล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ขอความกรุณาโอนเงินภายใน 3 วันทำการหรือถ้าไม่สะดวกติดต่อมาได้ครับ

    ไม่เกิน 7 วัน หรือตามสมควรครับ
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น "ปฐมฤกษ์" ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์ และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน
    อนึ่ง นับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514 อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
    วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน”
    [​IMG]
    นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้ว ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
    -----------------------------------------------
    พระ กริ่งรุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้ง สิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีใน เเต่ละวันดังนี้
    ๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
    ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ
    ๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
    ๒.) พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๓.) พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๔.) หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
    ๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
    ๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
    ๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    ๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
    ๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี
    ๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
    ๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
    ๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
    เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
    ๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
    ๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    ๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
    ๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
    ๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
    ๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
    ๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
    ๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    ๙.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
    ๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
    ๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,
    เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
    ๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
    ๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    ๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
    ๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    ๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
    ๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    ๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
    ๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
    ๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
    ๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
    ๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    ๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุง เทพฯ,
    พระสวดพุทธาภิเษก
    ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม,
    ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร
    ๒.วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
    เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
    ๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ,
    ๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,
    ๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
    ๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    ๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
    ๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
    ๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
    ๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
    ๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
    ๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
    ๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี,
    ๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
    เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
    ๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    ๒.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    ๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
    ๔.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    ๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    ๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
    ๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
    ๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
    ๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
    ๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
    ๑๑.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
    ๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
    ๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
    ๒.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
    ๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
    ๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
    ๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
    ๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
    ๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
    ๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
    ๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
    ๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
    ๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
    ๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง (พระอาจารย์ในหลวง)
    โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก
    เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น. จากวัดราชประดิษฐ์
    ๓.ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
    ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้วรวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป”
    <hr> วัตถุมงคล ‘ฉลอง ๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ’ ปี 2513
    ในหลวงเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” และเจือด้วย “โลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ” และ “แผ่นโลหะลงอักขระ” ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักร “๑๐๘ รูป”
    ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ “ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)” สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑) ครั้งยังทรงดำรงพระ สมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” และทรงเป็น “เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ” ได้ร่วมกับ “กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งขณะนั้น “จอมพลประภาส จารุเสถียร” (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้าง “ปูชนียวัตถุ” หลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และ โดยที่ “วัดราชบพิธฯ” เป็นพระอารามที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น “วัดประจำรัชกาล” จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์” พระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้ วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่าน เจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้นโดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้
    หลวงปู่ โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ บำรุง ฯลฯ” และคณาจารย์รูปอื่น ๆ จำนวน 108 รูป
    ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระ ราชอาณาจักรตามรายนามข้างต้นก็ได้ “มรณภาพ” ไปแล้วได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ “108 แผ่น” เพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ “ตั้งใจ” ทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็น “งานใหญ่” ที่นาน ๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้นโดย
    “วัตถุมงคล” ทั้งหมด อันได้แก่
    1.พระพุทธอังดีรสจำลอง จำนวนสร้าง รมดำ,กะไหล่ทอง(ทำน้อยกว่า) 513 องค์
    2.พระพุทธ รูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ จำนวนสร้าง รมดำ,กะไหล่ทอง 5,526 องค์
    3.พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ จำนวนสร้าง ทองคำ 1,000 องค์ , นวะโลหะ 5,000 องค์
    4.พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์ จำนวนสร้าง นวะโลหะ 5,000 องค์
    5.พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) จำนวนสร้าง นวะโลหะ 5,000 องค์ , ทองแดง 200,000 องค์
    6.พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์ จำนวนสร้าง โลหะผสม 513 องค์
    7.เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 จำนวนสร้าง ทองคำ 209 เหรียญ , ทองแดง 100,000 เหรียญ
    8.แหวนมงคล 9 ที่สร้างขึ้นในวาระ “อันเป็นพิเศษ” เดียวกันนี้ จำนวนสร้าง ทองคำ 1,000 วง , เงิน 20,000 วง
    “พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี” กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น
    พระ บาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ
    “วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.
    และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้”
    จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้วดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
    <hr>
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    <hr> ขอบขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง




    หลังพิธีพุทธาภิเษก ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาไปเป็นจำนวนมาก โดยนายทหารที่บูชาไปในสมัยนั้น ได้มีการนำพระรุ่นนี้ไป เลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ ธงชาติ จากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะ แล้วทำการ “ทดลองยิง” ปรากฏว่า ปืนยิงไม่ออกในนัดแรก บรรดาผู้ทดลอง จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วยิงอีกนัด คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียงระเบิด ดังขึ้น และพอสิ้นเสียงระเบิด ปรากฏ ปากกระบอกปืนที่ใช้ทดลองยิงแตกเป็นรอยร้าว จึงเรียก พระรุ่นนี้ว่ารุ่น “ปืนแตก”
    นอกจากนี้ พระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ ช่วยเหลือ บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบ ในสมรภูมิเวียดนามรอดชีวิตกลับมาเป็นที่ร่ำลือว่า บรรดาเซียนพระหลายราย ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า พระหูยาน จ.ป.ร. นี้ มีพุทธคุณเข้มขลัง มาก


    พระหูยานจปร(ปืนแตก) สภาพวยเดิมเก่าเก็บ พิธีใหญ่ทั้งสายกรรฐานหลวงปู่มั่นและสายพระบ้านมาครบทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ..........



    ให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    ประวัติ หลวงปู่ตี๋ (พระครูอุทัยธรรมกิจ) ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส
    [​IMG]
    "พระครูอุทัยธรรมกิจ" หรือ "หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองอุทัยธานี ศิษย์สายธรรม หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู และ หลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ตี๋ ที่สร้างขึ้นมาแต่ ละรุ่น มีความคิดโดดเด่นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม โชคลาภ และอยู่ยงคง กระพัน จึงเป็นที่นิยมเสาะหาของนักสะสมโดยทั่วไป
    ชาติภูมิ หลวงปู่ตี๋ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดที่ ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2455 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด มีนามเดิมว่า ตี๋ แซ่ตั้ง เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน โยมบิดา-มารดา ชื่อนายก้าง และนางเหล็ง แซ่ตั้ง ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย
    ในช่วงวัยเยาว์ ด.ช.ตี๋ ได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ จ.อุทัยธานี จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร ปรากฏว่าไม่ถูกคัดเกณฑ์
    หลังจากนั้น ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 16 กรกฎา คม 2476 ณ พัทธสีมาวัดธรรมโฆษก (โรงโค) โดยมีพระสุนทรมุณี (หลวงพ่อฮวด) วัดพิชัยปุรณาราม เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาทิม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ญาณโสภโณ มีความหมายว่า ผู้มีจิตอันงดงาม
    เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก ต่อมาเมื่อเกิดไฟไหม้ตลาดอุทัยธานีครั้งใหญ่ ได้ไปอยู่กับหลวงพ่อพูนที่วัดหนองตางู เป็นเวลา 2 พรรษา ได้ศึกษาวิทยาคม จนกระทั่งหลวงพ่อพูน มรณภาพลงในปี พ.ศ.2480 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษกอีกครั้ง
    ในปี พ.ศ.2497 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวงราชาวาส พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมของพระราชอุทัยกวี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (วัดทุ่งแก้ว) พระอารามหลวง
    พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ที่ พระครูอุทัยธรรมกิจ
    นอกจากได้รับการถ่ายทอดการฝึกจิตวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งวิทยาคมด้านอื่น จากหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู จ.อุทัยธานี หลวงปู่ตี๋ยังได้ศึกษาจากตำราสมุดข่อยโบราณของหลวงพ่อแป้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงราชาวาส เกี่ยวกับยันต์เทพรัญจวน เป็นยันต์เดียวกับที่จารลงในตะกรุดโทน ซึ่งหลวงพ่อป๊อก อดีตเจ้าอาวาสวัดอุโป สถารามใช้อยู่เป็นประจำ
    ท่านจึงได้ให้ช่างหลี เป็นช่างตัดผมในตลาดอุทัยธานี สักยันต์เทพรัญจวนที่ตัวของท่านที่อกและหลังเป็นที่ระลึกกับหลวงพ่อแป้น และเห็นว่าเป็นยันต์โบราณที่ใช้สืบทอดกันมา ท่านยังได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระราชอุทัยกวี หรือท่านเจ้าคุณพุฒ วัดทุ่งแก้ว
    ด้วยความสมถะและถือสันโดษมาตลอดระยะเวลาในชีวิตสมณเพศของหลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ หรือพระครูอุทัยธรรมกิจ ท่านชอบศึกษาหาความรู้และอยู่อย่างเงียบๆ มีวัตถุปฏิบัติที่เรียบง่าย ยึดมั่นในศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
    แม้ท่านจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมสะสมกัน ในวงการพระเครื่อง แต่ท่านก็ยึดคำโบราณที่ว่า "ฆ้องดังเองไม่มีคนตี เรียกว่า ฆ้องอัปรีย์ ฆ้องที่ดีต้องมีคนตีถึงจะดัง"
    วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเสือพุทธาคม ตะกรุดเทพรัญจวน เหรียญและรูปหล่อ สร้างขึ้นมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบการปลุกเสกเดี่ยวและใช้เวลายาวนานตลอดไตรมาส หรือ 3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ จึงบังเกิดความ เข้มขลังในพุทธคุณ จนเป็นที่เล่าลือโจษขานกันมากมาย
    วันที่ 1 มีนาคม 2546 เวลา 11.57 น. หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 ถือเป็นความสูญเสียของวงการสงฆ์เมืองอุทัยธานีอย่างแท้จริง ด้วยหลวงปู่ตี๋เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
    ปัจจุบัน สังขารอันบริสุทธิ์ของท่านยังคงนอนสงบนิ่งภายในโลงแก้วอันโปร่งใส ณ วัดหลวงราชาวาส ต.อุทัยใหม่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ศรัทธา ตลอดจนบรรดาศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้สักการะ
    เหลือปรากฏไว้แต่เพียงคุณงามความดีเพียงเท่านั้น

    ขอบขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง

    ในพิธีปลุกเสกพระที่วัดพระศรีมหาธาตุพิษณุโลก แผ่นยันตืของหลวงปู่ตี๋ หลอมไม่ละลายครับ

    มีเกจิอาจารย์แบบนี้ในยุคหลังๆไม่กี่องค์ที่แผ่นยันต์บังเกิดปาฎิหารย์


    เหรียญรุ่น3หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานีสวยเดิมๆผิวรุ้งครับ

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2014
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    พระชินราชท่าเรือ อาจารย์ชุม ไชยคีรี 2497 พิมพ์ใหญ่

    การจัดสร้าง "พระชินราชท่าเรือ" พ.ศ. 2497 (ผ่านมา 54 ปีแล้วได้จัดสร้างขึ้นที่ "วัดพระบรมธาตุ" จ.นครศรีธรรมราช และเป็นการจัดสร้างวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรมากที่สุด ณ. เวลาในขณะนั้นเลยก็ว่าได้ และมีบันทึกยืนยันเป็นหลักฐานไว้เป็นหนังสือ อย่างละเอียดยาวถึง 20 กว่าหน้า แต่พอจะหยิบยกมาย่อสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้ กล่าวคือ "อาจารย์ชุม ไชยคีรี" เกจิฆราวาสผู้มีอาคมเข้มขลัง มีลูกศิษย์ลูกหากันทั่วบ้านทั่วเมืองไทย กับ "พล ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช " อดีตผู้การหนังเหนียวแห่งเมืองใต้ ท่านทั้งสองได้รับคำบัญชาจากหลวงพ่อคง วัดตาล (ผู้เป็น "พระอาจารย์ของขุนแผน" เมืองสุพรรณฯ) ในร่างประทับทรง ให้รวบรวมบรรดาพระกรุ ที่เป็นสุดยอดของพระเครื่องจากทั่วประเทศไทย มาดำเนินการสร้าง "พระชินราชท่าเรือ" นี้ จากการรวบรวมปรากฎว่า ได้พระกรุมากกว่า 500 กรุ ว่านยาอีก 20,000 ชนิด รวมทั้งผงวิเศษต่างๆ อาทิเช่น
    พระกรุท่าเรือ
    นางตรา
    ท้าวโคตร
    สมเด็จวัดระฆัง
    สมเด็จวัดอินทร์
    พระผงสุพรรณ วัดมหาธาตุ
    ผงดำ-ผงแดงหุ่นพยนต์ หลวงพ่อเกตุ-วัดขวิด
    ขุนแผน-วัดพระรูป และวัดบ้านกร่าง
    พระนางพญา-วัดนางพญา และวัดต้นจันทร์ สุพรรณบุรี
    พระกรุต่างๆ ในกำแพงเพชร
    พระกรุต่างๆ ในสุโขทัย
    พระหูยาน ลพบุรี
    พระท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี
    พระกรุวัดท่ามะปราง
    พระหักวัดชินราช พิษณุโลก
    พระของหลวงพ่อจุก
    พระจุฬามณี พิษณุโลก
    พระรอด พระคง พระเปิม ลำพูน
    มหาว่านวัดเขาอ้อ พัทลุง
    ผงว่านอาถรรพ์ ที่มีวิธีเก็บอย่างพิสดาร ซึ่งเล่าไปก็ไม่น่าเชื่ออีกหลายอย่าง
    พระกรุศรีวิชัย และ
    ผงวิเศษต่างๆ จากวัดต่างๆทั่วฟ้าเมืองไทย อีกมากมายเหลือคณานับ สุดที่จะบรรยายหมดภายในวันเดียวได้ เป็นต้น

    การประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดให้มีขึ้นตลอดพรรษา ณ วิหารของวัดพระบรมธาตุ จ. นครศรีธรรมราช โดยนิมนต์พระเกจิเถราจารย์ ผู้เรืองเวทย์วิทยาคม 108 รูป มาร่วมประกอบพิธี มี "ท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี" เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับพระเกจิคณาจารย์ที่ปลุกเสกขอยกมาเป็นบางส่วน ได้แก่
    หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จันดี
    หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี
    หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน
    หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา
    หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย
    หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง
    หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา
    หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์
    หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่
    หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่
    หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย
    หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง
    หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ
    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก
    หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง ตะวันวันออก พัทลุง
    หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน)
    หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร
    หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี
    หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
    หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย
    หลวงพ่อจืด วัดถ้ำเขาพลู
    หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร
    หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ บางสะพาน
    หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
    หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม และ
    มีพระเกจิคณาจารย์จากวัดดังๆ อีกมากมายหลายรูป ฯลฯ เป็นต้น
    ส่วนอาจารย์เกจิที่เป็นสายฆราวาส ได้แก่
    อจ.ชุม ไชยคีรี
    อจ.นำ แก้วจันทร์ (ในขณะนั้น)
    พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ ราชเดช ฯลฯ เป็นต้น

    การปลุกเสกเน้นเด่นเฉพาะทาง โดยสวดปลุกเสกแบ่งออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 7 วัน และสวดปลุกเสกติดต่อกันไปทั้งกลางวันและคืนโดยไม่มีการหยุดพัก เช่น ปลุกเสกเน้น
    ด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน
    ด้านมหาอุตม์ 7 วัน
    ด้านป้องกันสัตว์ร้าย และกันโจรผู้ร้าย 7 วัน
    ด้านป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และกันภูตผีปีศาจ 7 วัน
    ด้านเมตตามหานิยม 7 วัน
    ด้านเนรมิตกายกำราบศัตรูให้เห็นเราคนเดียวเป็นหลายคน 7 วัน
    ด้านโชคลาภเงินทอง 7 วัน
    ด้านมหาเสน่ห์ มหาหลง 7 วัน
    ด้านแคล้วคลาด 7 วัน
    ด้านเตือนภัย 7 วัน
    ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น

    ให้บูชา 2000 บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  8. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +129
    จองเหรียญรุ่น 3 หลวงปู่ตี๋ครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียญครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี ๒๕๒๗
    รุ่นนี้ออกแบบสวยงดงามเหมือนใบหน้าหลวงปู่มากครับ ปัจจุบันเหรียญรูปแบบนี้ไม่ค่อยสร้างแล้ว

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียญพระนารายณ์ทรงครุฑ วัดเขาวงถ้ำนารายณ์ สระบุรี สายวัดท่าซุง

    หลวงตาวัชรชัย และครูบาอาจารย์สายวัดท่าซุงร่วมอธิฐานจิต


    (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2014
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    วันนี้จัดส่ง

    EL 0966 8953 6 TH ลาดกระบัง

    EL 0966 8954 0 TH หลักสี่

    EL 0966 8957 5 TH บางุขุนเทียน

    EL 0966 8956 7 TH พระสมุทรเจดีย์

    EL 0966 8955 3 TH คลองหลวง

    ขอบคุณครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    หลวงปู่ทวดรุ่น 115 ปีกระทรวงกลาโหม
    วัตถุมงคลหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด รุ่น 115 ปี กระทรวงกลาโหมนี้ มีพระพรหมจริยาจารย์ เจ้าคณะหนใต้และกรรมการมหาเถรสมาคม วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ฝ่ายบรรพชิต พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันท์ เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายคฤหัสถ์ ที่ปรึกษาประกอบด้วย พล.อ.สมทัต อัตตะนันต์ พล.อ.อุทัย ชินวัตร พล.อ.อู๊ด เบื้องบน ฯลฯ โดย พล.อ.อัครเดช ศศิประภา เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ
    สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตรและไฟพระฤกษ์โดย พล.ท.อนันต์ เครือแก้ว เป็นผู้อัญเชิญ พล.อ.ประยูร มีเดช ประธานดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด รุ่นครบรอบกระทรวงกลาโหม 115 ปี เป็นผู้รับไฟพระฤกษ์และผ้าไตรพระราชทาน ซึ่งทำพิธีกันที่วัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    พิธีปลุกเสกครั้งนี้ยิ่งใหญ่จริง ๆ เพราะได้รวบรวมเกจิอาจารย์จากภาคต่าง ๆ มาหลายรูปเพื่อสวดคาถาพุทธาภิเษก อธิษฐานจิตภาวนา อาทิ พระพิศาลพิพัฒนพิธาน หรือหลวงปู่ผัน วัดทรายขาว, พระครูประสุตโศภณ หลวงพ่ออั้น วัดในวัง, พระครูขันตยาทร หลวงพ่อทอง วัดท่าประดู่, พระปริยัติวรานุกูล หลวงพ่อสุนทร วัดหงษ์ประดิษฐาราม, พระครูอรรถธรรมนาถ หลวงพ่อบุญ วัดคลองเห, พระปริยัติมุนี หลวงพ่อสัมพันธ์ วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้), หลวงพ่อดำ วัดเขาพูนทอง จ.จันทบุรี, หลวงพ่อพิมพ์ วัดพฤษะวัน จ.พิจิตร และหลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช จ.นครนายก

    นั่นเป็นพิธีที่ทำกันที่วัดพะโคะ อันเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดบูรณะปฏิสังขรณ์ จากเดิมที่มีสภาพทรุดโทรมเหมือนวัดร้าง ทั้งได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ด้วย

    "พันเอกไชยนาจ ญาติฉิมพลี" ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ บอกว่า "เพื่อย้อนรำลึกถึงพระคุณของหลวงพ่อทวด ท่านเป็นพระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานถือว่าหลวงพ่อทวดเป็นผู้กู้ชาติกู้บ้านเมืองโดยสติปัญญา เมื่อคราวครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถครองราชย์หลวงพ่อทวดไปเรียนหนังสือที่ อยุธยาล่องสำเภาลงไปจนเกิดเหตุการณ์เหยียบน้ำทะเลจืด"




    พระหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด รุ่น*ครบรอบกระทรวงกลาโหม 115 ปี* ทำการปลุกเสก ณ.มหาเจดีย์วัดพะโคะ และบนเรือรบหลวงกองเรือยุทธการภาคที่ 2 กลางทะเล จังหวัดสงขลา วันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2545


    ขอบขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง


    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    [​IMG]
    หลวงปู่โง่น โสรโย
    ที่มา : (องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร, 2550, หน้า 32) ​
    1. ประวัติ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 05.58 น. บนแพกลางลำน้ำปิง บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีน รับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์
    หลวงปู่โง่น ได้เกิดมาใช้ชีวิตในสมณเพศบำเพ็ญ ประโยชน์และคุณูปการแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ตลอดถึงสังคมทุกระดับ อย่างดียิ่ง เป็นแบบอย่างอันงดงามของผู้ที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติบ้าน เมืองด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หลวงปู่โง่นมีอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยเมตตา สันโดษ รักสงบ เสียสละ ตามวิสัยของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แนะนำสั่งสอนเหล่าประชากรโดยพุทธวิธี มีกุศโลบายในการ รักษาตนให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งภายนอกและภายใน มีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติตน ที่สมสมัย มีจิตใจใฝ่รู้วิชาทุกแขนง เพื่อนำมาแก้ไขดัดแปลงก่อให้เกิด ประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำความแช่มชื่นให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มีความเยือกเย็นเป็นสุขใจแก่ผู้เข้าใกล้ ด้วยเมตตาบารมีธรรมของท่าน อย่างน่าอัศจรรย์
    หลวงปู่โง่น อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2482 ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมีท่านเจ้าคุณสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนมเป็นพระอุปัชฌาย์
    มีพระมหาพรหมมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทปีแรกพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ผู้อุปการะ คือ หลวงพ่อวัง ได้ร้องขอและส่งให้ไปอยู่กับพระสหายของท่าน คือ เจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ธมฺมญาโณ ที่วัดสุวรรณารามราช มหาวิหาร นครหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งต่อมาืเจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่อมากรุงเวียงจันทน์เกิดเหตุจลาจล ใน พ.ศ. 2518 พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2528 ส่วนหลวงปูโง่นในขณะนั้นเป็นพระนวกะ ได้เรียนนักธรรมและบาลีแบบลาว ซึ่งเจ้ายอดแก้ว บุญทัน บุปผรัตน์ ทรงรักใคร่โปรดปรานมาก เพราะดั้งเดิมเป็นสายญาติกันและใช้งานได้คล่อง พูดไทยได้เก่ง พูดลาวได้ดี ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสก็อาศัยได้ เพราะในระยะนั้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว​
    ยังเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ท่านจึงต้องการให้พระภิกษุที่คุยกับชาวต่างชาติ
    รู้เรื่องอยู่ด้วย เมื่อเวลาว่างท่านให้เข้าป่า เพื่อแสวงหาต้นไม้ที่เป็นยาสมุนไพร
    เพราะพระองค์ท่านทรงสนใจรับรู้ในเรื่องยาสมุนไพรมาก ตอนเข้าไปในป่าถึง
    เขตทุ่งไหหิน ถูกทหารลาวและทหารฝรั่งเศสจับในข้อหาเป็นจารชนจากเมืองไทย
    ไปสืบความลับ ถูกขังคุกขี้ไก่ 30 วัน พร้อมพระลาว 2 รูป กับเด็กอีก 1 คน
    เด็กคนนั้น คือ เจ้าสิงคำ ซึ่งต่อมา ก็คือ ท่านมหาสิงคำ ผู้ทำงานช่วยพวกลาวอพยพร่วมกับสหประชาชาติอยู่ที่วัดยานนาวา กรุงเทพฯ ท่านจึงไปมาหาสู่บ่อย เพื่อขอ
    ความช่วยเหลือให้พี่น้องชาวลาว หลวงปู่โง่นก็ได้ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่ความสามารถจะมี
    เรื่องการติดคุกขี้ไก่อยู่ที่ทุ่งไหหินนั้นสนุกมาก เขาเอาไก่ไว้ข้างบน คนและพระอยู่ข้างล่าง ไก่ขี้ใส่หัวตลอดเวลา เหม็นก็เหม็น ทรมานก็ทรมาน
    สนุกก็สนุก ได้ศึกษาธรรมไปในตัว ความทราบถึงเจ้ายอดแก้ว พุทธชิโนรส
    สกลมหาสังฆปาโมกข์ ท่านได้ร้องขอให้ปล่อยตัวแต่ทหารปล่อยเฉพาะพระลาว
    2 รูป กับเด็ก 1 คน ส่วนหลวงปู่โง่นเขาไม่ปล่อย เพราะเข้าใจว่าเป็นคนไทย
    ด้วยเหตุที่พูดไทยได้เก่ง ทั้งนี้ ขณะนั้นเป็นช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศส
    ยุให้คนไทยกับคนลาวเป็นศัตรูกัน เห็นคนไทยก็จับขังหรือฆ่าทิ้งเสีย จึงมารู้ตัวเข้าคราวหลังว่าเรามันคนปากเสีย ปากพาเข้าคุกเพราะพูดภาษาไทย
    ภายหลังสมเด็จพระสังฆราชลาวท่านออกใบสุทธิให้ใหม่ โอนเป็น พระลาวเป็นคนลาวไป เขาจึงปล่อยตัวออกมา แต่ก็ยังไม่พ้นสายตาของพวกนักสืบ จึงกราบทูลลาผู้มีพระคุณหาทางมุ่งกลับเมืองไทย แต่ไม่รู้จะมาอย่างไร จึงตัดสินใจไปพบคนที่รู้จักรักใคร่ คือ ท้าวโง่น ชนะนิกร ซึ่งเป็นข้าราชการลาวอยู่ ในระยะนั้น ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมีแต่หลุมหลบภัยและเสียงปืนที่ไทยกับลาวยิงกันไม่ขาดระยะ หลวงปู่โง่นต้องธุดงค์ปลอมแปลงตัว เดินเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงลงมาทางใต้จนใกล้
    ถึงเมืองท่าแขก ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระลาวที่รู้จักกัน คือ ครูบาน้อย
    หาทางให้ได้เกาะเรือของชาวประมงข้ามฝั่งมาไทย พอถึงแผ่นดินไทยก็ถูก
    ร้อยตำรวจเอกเดช เดชประยุทธ์ และร้อยตำรวจโทแฝด วิชชุพันธ์ จับในข้อหา
    เป็นพระลาวหลบเข้ามาสืบราชการลับในราชอาณาจักรไทย ถูกจับเข้าห้องขัง
    ฐานจารชนอยู่ 10 วัน ร้อนถึงพระพนมคณานุรักษ์ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมือง ได้เจรจา
    ให้หลุดรอดออกมา พอพ้นจากห้องขังมาได้ก็เข้ากราบพระอุปัชฌาย์ คือ ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณี ท่านเจ้าคุณสารภาณมุณีสั่งให้ไปศึกษาปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน
    กับพระอาจารย์วังที่ถ้ำไชยมงคลภูลังกา และไปหาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตอนเข้าพรรษาพระอุปัชฌาย์
    ให้มาจำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม
    พ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมตรี พ.ศ. 2486 สอบได้นักธรรมโท พ.ศ. 2487 สอบได้นักธรรมเอก ต่อมาหนีออกธุดงค์เข้าถ้ำจำพรรษาที่ถ้ำบ้านยางงอย
    อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กับอาจารย์สน อยู่ 1 ปี พระอุปัชฌาย์รู้ข่าวเรียกตัวกลับ
    สั่งให้มาอยู่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม โดยบังคับให้เป็นครูสอนนักธรรมโท อยู่วัดศรีเทพ 2 ปี เพราะวัดทั้งสองอยู่ใกล้กันไปกลับได้สบาย ผลของการสอนได้ผลดีมาก นักเรียนสอบได้ยกชั้นทั้ง 2 ปี พระอุปัชฌาย์ชมเชยมาก และปีต่อมา
    ได้เปลี่ยนเป็นครูสอนนักธรรมเวลาเช้า ส่วนเวลาบ่ายหลวงปู่โง่นเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์
    พ.ศ. 2491 สอบเปรียญธรรม ป.ธ.3 แต่ต้องตกโดยปริยายเพราะข้อสอบรั่ว
    ทั่วประเทศจึงต้องสอบกันใหม่ หลวงปู่โง่นเกิดความไม่พอใจในวิธีการเรียนแบบสกปรก
    จึงย้อนกลับไปพึ่งใบบุญของสมเด็จพระสังฆราชแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
    ประชาชนลาว ไปเรียนและตั้งใจเรียนจนสอบเทียบได้เปรียญ 5 โดยสมเด็จพระยอดแก้ว
    สกลมหาปรินายกออกใบประกาศนียบัตรให้ จากนั้นท่านสั่งให้ไปเรียนต่อที่ประเทศพม่า พอดีขณะนั้นพระภิกษุสงฆ์ในพม่าพากันเดินขบวนขับไล่รัฐบาลของอูนุ
    มีการจับพระชาวต่างชาติเข้าคุก หลวงปู่โง่นก็พลอยโดนด้วย แต่โชคดีที่พระมหานายก
    ของพม่า คือ ท่านอภิธชะมหา อัตฐะคุรุ ได้ขอร้องและทำใบเดินทางให้เข้าประเทศอินเดีย เลยเข้าไปเมืองฤๅษีเกษ แคว้นแคชเมียร์ ไปฝึกฝนอบรมวิชาโยคะ 1 ปี
    เมื่อมีเพื่อนนักโยคะชักชวนขึ้นไปเมืองยางเซะและเมืองลาสะ ซึ่งเป็นเมืองหลวง
    ของประเทศธิเบต เพื่อศึกษาภูมิประเทศและหลักการทางพระพุทธศาสนามหายาน
    พ.ศ. 2494 กลับมาเมืองไทย ท่านเจ้าคุณรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ ส่งให้ไปเป็นหัวหน้าก่อสร้างอุโบสถจัตุรมุขหลังใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
    ที่วัดสารนาถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อยู่ได้ 5 ปี อุโบสถจวนเสร็จ
    ขออำลาหนีไปพักผ่อนชั่วคราว ไปพักอยู่กับญาติ ๆ ที่เมืองอังกานุย ประเทศนิวซีแลนด์
    แล้วไปอยู่แคนเบอร่า ประเทศออสเตรเลีย อยู่แห่งละ 1 ปี แล้วไปอาศัยอยู่กับ
    ญาติโยมเก่าที่เขาเคยอุปการะอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่เมืองรียอง ประเทศฝรั่งเศส
    พ.ศ. 2498 กลับเมืองไทยไปช่วยท่านมหาโฮม คือ เจ้าคุณราชมุนี
    วัดสระประทุม ที่ปากช่อง จากนั้นเดินธุดงค์เข้าป่าเข้าถ้ำหลายแห่ง คือ ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ถ้ำตับเต่า อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วล่องใต้ไปอยู่ถ้ำจัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ถ้ำขวัญเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แล้วมาถ้ำมะเกลือ เหมืองปิล็อก จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นขึ้นถ้ำฤๅษี (ถ้ำมหาสมบัติ) ถ้ำเรไร
    จังหวัดเพชรบูรณ์
    ในปี พ.ศ. 2502 หลวงพ่อแพร คือ ท่านเจ้าคุณเพชราจารย์
    เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้น ได้นิมนต์มาสร้างโรงเรียนประชาบาล
    วัดท่าข้าม และสร้างพระประธานใหญ่ไว้ที่เขตอำเภอชนแดน แล้วท่านร้องขอ
    ให้ไปอยู่แคมป์สน เขตอำเภอหล่มสัก อยู่ได้ปีเดียวท่านเจ้าคุณวิมลญาณเวที
    วัดมงคลทับคล้อ ซึ่งเป็นเครือญาติกันมาก่อนขอให้มาสร้างฌาปนสถานและบูรณะศาลาการเปรียญวัดมงคลทับคล้อ พอเสร็จเรียบร้อยท่านร้องขอให้มาช่วยเหลือ
    ประจำอยู่วัดพระพุทธบาทเขารวก เมื่อปี พ.ศ. 2507 เพราะเป็นแดนทุรกันดาร หน้าแล้งจะขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ด้วยความเห็นชอบและเลื่อมใสของท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยมได้ลงมือพัฒนาสถานที่นี้ให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้นหลายอย่าง อาทิ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในบริเวณหมู่บ้าน เก็บน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี สร้างถนนจากบ้านวังหลุมถึงเขารวกเป็นระยะทาง 5.5 กิโลเมตร และสร้างโรงเรียนประถมศึกษาเป็นอาคารชั้นเดียว ยาว 50 เมตร มีห้องเรียน 8 ห้อง อีกทั้งปั้น รูปสมเด็จพระปิยมหาราชไว้ที่หน้าเสาธง มีขนาด 1 เท่าครึ่ง ตั้งอยู่ตลอดจนถึง ทุกวันนี้ และในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป พร้อมทั้งแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนไม่น้อยกว่าปีละ 100 ทุน ตลอดมาจนทุกวันนี้
    หลวงปู่โง่นละสังขารของท่านเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริชนมายุได้ 94 ปีเศษ นับว่ามีอายุมากแต่สังขารของหลวงปู่โง่น ไม่แก่เฒ่าอย่างที่ทุกคนคิด เพราะท่านมีวิธีรักษาจิตเพื่อชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัติ
    มีธรรมสมบัติเป็นจิตใจจึงเป็นใจที่สงบ อันใจที่สงบนั้นย่อมไม่แก่ชราดัง
    พระพุทธภาษิตว่า สตญฺจ ธมโม นชรํ อุเปติ ธรรมของผู้มีใจสงบนั้นย่อมไม่เข้าถึงความแก่ชรา ก็คือการชะลอความแก่ไว้ด้วยธรรมสมบัตินั่นเอง
    คนส่วนมากมักปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามยถากรรม แต่หลวงปู่โง่น
    ใช้ชีวิตของท่านเดินย้อนรอยกรรม โดยการนำตัวแฝงเข้ามาเป็นอุปกรณ์การเดินทาง เพื่อย้อนรอยกรรม จึงทำให้ชีวประวัติของท่านโดดเด่น โลดโผน เป็นวรธรรมคติ แก่ผู้ศึกษาและปฏิบัติได้เป็นอย่างดี อันปฏิปทาของหลวงปู่โง่นนั้น ตรงกับคำว่า “ปะฐะ วิปปะภาโส” แปลว่า ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างไสว เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
    ที่เป็นดวงตาของโลก มีความชื่นชมยินดี เป็นที่รวมใจ มีรัศมีสีทองผ่องอำไพ
    ส่องโลกนี้ เป็นคาถาที่ปรากฏในโมรปริตร์ ถ้าคิดถึงหลวงปู่โง่นก็ให้เจริญมนต์บทนี้ จะได้รับความคุ้มครองจากธรรมสมบัติตามปฏิปทาบารมีของหลวงปู่โง่นเหมือนท่านอยู่กับเราในฐานะตัวแฝงตลอดไป
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพ
    วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนผู้มีความเคารพนับถือ ได้ร่วมกันประกอบพิธีในการพระราชทาน
    เพลิงศพหลวงปู่โง่น ณ เมรุวัดพระพุทธบาทเขารวก ตำบลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน
    จังหวัดพิจิตร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่โง่นในครั้งนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ มิตร ญาติ อย่างหาที่สุดมิได้

    [​IMG]
    ศพของหลวงปู่โง่นก่อนสรงน้ำศพ
    ที่มา : (ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา, ม.ป.ป.)​
    [​IMG]
    พิธีพระราชทานน้ำสรงศพหลวงปู่โง่น
    ที่มา : (ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา, ม.ป.ป.)​
    [​IMG]
    [​IMG]
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย
    ณ เมรุวัดพระพุทธบาทเขารวก ตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
    วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
    ที่มา : (พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โง่น โสรโย, ม.ป.ป.)​
    2. ผลงาน
    1. เป็นครูสอนนักธรรมโทที่วัดศรีเทพ 2 ปี ผลของการสอนได้ผลดีมาก นักเรียนสอบได้ยกชั้นทั้ง 2 ปี
    2. ในปี พ.ศ. 2502 หลวงพ่อแพร คือ ท่านเจ้าคุณเพชราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นิมนต์มาสร้างโรงเรียนประชาบาล วัดท่าข้าม และสร้างพระประธานใหญ่ไว้ที่เขตอำเภอชนแดน แล้วท่านร้องขอให้ไปอยู่แคมป์สน เขตอำเภอหล่มสัก อยู่ได้ปีเดียวท่านเจ้าคุณวิมลญาณเวที วัดมงคลทับคล้อ
    ซึ่งเป็นเครือญาติกันมาก่อนขอให้มาสร้างฌาปนสถานและบูรณะศาลาการเปรียญ วัดมงคลทับคล้อ พอเสร็จเรียบร้อยท่านร้องขอให้มาช่วยเหลือประจำอยู่ วัดพระพุทธบาทเขารวก เมื่อปี พ.ศ. 2507 เพราะเป็นแดนทุรกันดาร หน้าแล้ง จะขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ด้วยความเห็นชอบและเลื่อมใสของท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนญาติโยมได้ลงมือพัฒนาสถานที่นี้ให้ได้รับความสะดวกสบายขึ้นหลายอย่าง อาทิ ได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในบริเวณหมู่บ้าน เก็บน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี สร้างถนนจากบ้านวังหลุมถึงเขารวกเป็นระยะทาง 5.5 กิโลเมตร และสร้างโรงเรียนประถมศึกษาเป็นอาคารชั้นเดียว ยาว 50 เมตร มีห้องเรียน 8 ห้อง อีกทั้ง
    ปั้นรูปสมเด็จพระปิยมหาราชไว้ที่หน้าเสาธง มีขนาด 1 เท่าครึ่ง ตั้งอยู่จนถึงทุกวันนี้ และในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป พร้อมทั้งแจกทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนไม่น้อยกว่าปีละ 100 ทุน ตลอดมาจนทุกวันนี้

    [​IMG]
    รูปปั้นสมเด็จพระปิยมหาราช ที่โรงเรียนวัดเขารวก
    ที่มา : (โดยสุเทพ สอนทิม)​
    3. หลวงปู่โง่นได้ตระหนักถึงเด็กที่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ได้นำโต๊ะเก้าอี้ 100 กว่าชุด ไปบริจาคให้โรงเรียนหลายสิบแห่งทางภาคเหนือ เช่น ที่บ้านเหล่า
    บ้านหนองแดง จังหวัดลำปาง และโรงเรียนชุมชน ที่อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนั้นยังบริจาคสิ่งของต่าง ๆ ในหลายเขตพื้นที่ เช่น บ้านวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยบริจาคเครื่องแต่งกาย เครื่องเขียน เครื่องเรียน
    เครื่องกีฬา ผ้าห่ม พระพุทธรูป ยารักษาโรค ตู้ยาเวชภัณฑ์ และสิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ
    [​IMG]

    ขอบขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสู




    พระสมเด็จพุทธวิโมกข์ หลวงปู่โง่น โสรโย พิจิตร อยู่ในกล่องเดิมๆครับไม่ได้ถ่ายรูปกล่อง

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2014
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่หอม เขมิโย


    วัดหนองชนะชัย
    ต.เกาะแก้ว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี



    ๏ อัตโนประวัติ

    ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พระเถราจารย์เมืองลพบุรีไม่เคยขาดสาย มีพระดีให้กราบไหว้บูชามากมาย “หลวงปู่หอม เขมิโย” เป็นพระดีหนึ่งในจำนวนนั้น ด้วยความเป็นพระเถราจารย์ผู้มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการปฏิบัติ ศาสนธรรม มีเมตตาบารมีสูง คณะศิษยานุศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจึงให้ความศรัทธาเลื่อมใสเป็น ยิ่งนัก ถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งทุ่งเกาะแก้ว”

    วงการนักนิยมสะสมวัตถุมงคลรู้จักกันในนามของพระเถราจารย์ ที่มีอาคมแก่กล้าและพลังจิตตานุภาพ กิตติศัพท์ที่สร้างชื่อและความฮือฮาไปทั่วสารทิศ

    หลวงปู่หอม มีนามเดิมว่า หอม มโนรัตน์ เกิดเมื่อวันจันทร์ ปีจอ เดือน ๔ ปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ ณ หมู่บ้านปลาซิว ต.หนองใหญ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ปัจจุบัน สิริอายุได้ ๘๔ พรรษา ๖๔ (เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองชนะชัย ต.เกาะแก้ว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    เมื่อเรียนจบชั้นประถม จนอายุครบ ๑๒ ปี โยมบิดาได้พาบุตรชายไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดจีนเลี้ยว วัดในพื้นที่ใกล้บ้าน ต.หนองใหญ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โดยมี พระครูเทวราชญาณกวี เจ้าอาวาสวัดจีนเลี้ยว ในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่การศึกษา หากปล่อยให้อยู่กับพ่อแม่ต่อไป เกรงว่าจะส่งเสียให้เล่าเรียนในระดับสูงไม่ได้ เนื่องจากทางบ้านมีฐานะยากจน จากนั้นท่านจึงเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ที่สำนักเรียนวัดขุนศรี อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และสอบได้นักธรรมชั้นเอก

    กระทั่งอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดจีนเลี้ยว จ.ศรีสะเกษ โดยมี พระครูเทวราชญาณกวี เจ้าอาวาสวัดจีนเลี้ยว ในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระใบฎีกาบุญมี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    [​IMG]
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    ๏ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    หลังครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว พระหอม เขมิโย ได้มุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าในเรื่องปฏิบัติธรรม และเคยไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาในด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระมหาเถระชื่อดังแห่งยุค จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติและปฏิปทาเป็นอย่างยิ่ง

    ท่านจึงละเลิกในด้านการศึกษาภาษาบาลี หันมาศึกษาด้านการปฏิบัติ ด้วยการออกเดินธุดงควัตรไปตามพื้นที่ป่าเขาลำเนาไพร โดยเริ่มจากการออกเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดในภาคเหนือ ผ่านจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น และอีกหลายจังหวัด ก่อนมุ่งเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากการออกเดินธุดงค์ปลีกวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร จำเป็นต้องมีวิทยาคม เอาไว้ป้องกันภัยอันตรายนานัปการ เนื่องจากคนป่าคนดอยหรือพวกกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ตามดอยเขา ชอบลองวิชากับพระธุดงค์อยู่เป็นประจำ

    ตัวท่านก็ไม่ได้ละเลยจากการศึกษาวิทยาคม ได้ฝึกฝนวิชาจากพระอาจารย์ชาวเขมร โดยต้องไปนั่งบริกรรมภาวนาท่องพุทโธ และมนต์คาถาต่างๆ อยู่บนหลุมฝังศพคนตายใหม่เพียงลำพังคนเดียว ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านเกรงกลัวภยันตราย และเป็นการทำจิตให้เกิดสมาธิที่รวดเร็วอีกด้วย ด้วยสถานที่ตรงนั้นเป็นสถานที่สงบ ไร้คนรบกวน


    ๏ เดินธุดงค์มาถึงบ้านหนองชนะชัย

    ย้อนหลังกลับไปเมื่อกว่า ๕๕ ปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาถึงบ้านหนองชนะชัยเป็นครั้งแรก ท่านได้รับการบอกเล่าจากชาวบ้านว่า ทุกๆ ๗ วัน จะมีผีโพงลอยบนท้องฟ้าปรากฏให้เห็นเหมือนกับผีพุ่งไต้ ลักษณะเป็นลูกไฟกลมดวงใหญ่ลอยข้ามวัด ลอยข้ามหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสมัยก่อนชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณ

    ภายหลังหลวงปู่หอม ทราบเรื่องราวแล้ว ท่านได้แนะนำให้ชาวบ้านขุดหลุมขึ้นในเขตหมู่บ้าน ๘ หลุม จากนั้น ท่านได้มอบดินเสกก้อนกลมที่ทำขึ้นผสมกับชานหมาก แจกจ่ายให้ชาวบ้านนำไปฝังเอาไว้ในหลุมที่ขุดไว้ทั้ง ๘ ทิศ นับว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะนับแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ปรากฏผีโพงลอยเป็นดวงไฟมาให้พบเห็นอีกเลย ทำให้ชาวบ้านอยู่กันอย่างไม่หวาดกลัวอีกต่อไป

    ขณะเดียวกัน ขณะที่ชาวบ้านช่วยกันขุดหลุมนั้น ได้พบก้อนหินสีดำ มีลักษณะผิดแผกไปจากหินทั่วไป จึงได้มอบให้กับหลวงปู่หอม โดยท่านได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวัตถุโบราณตรวจสอบ หลายคนลงความเห็นว่า บริเวณบ้านหนองชนะชัย ในอดีตคงจะเป็นเมืองทวารวดี และหินสีดำก้อนที่พบน่าจะเป็นหยกสีดำ ที่ชาวบ้านนำมาแกะสลักเป็นเครื่องประดับร่างกาย ได้แก่ ลูกปัด เนื่องจากเชื่อว่าสามารถปกป้องภัยอันตรายต่างๆ ได้


    ๏ การสร้างวัตถุมงคล

    หินสีดำหรือหยกสีดำที่พบดังกล่าว หลวงปู่หอม ได้นำมาแกะสลักเป็นพระปิดตามหาลาภ ทำการปลุกเสกเป็นวัตถุมงคล มีพุทธคุณในเรื่องเมตตามหานิยม คงกระพัน ซึ่งในปัจจุบันหายากมาก

    วัตถุมงคลที่หลวงปู่หอมจัดสร้างขึ้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีพุทธคุณในหลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านเมตตามหานิยม คงกระพัน และค้าขาย

    ล่าสุดหลวงปู่หอม ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นสิงห์ชนะชัยขึ้นมาอีกรุ่น โดยว่ากันว่า เหรียญรุ่นสิงห์ชนะชัยที่ท่านจัดสร้างขึ้นมารุ่นนี้ ถ้าใครเช่าไปบูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ทำงานอยู่ในสังกัดคอสิงห์ทั้งหลาย ถ้าได้ไปแขวนคล้องคอ จะเสริมบารมีให้เป็นอย่างดี ชื่อเสียงฟุ้งกระจายในทางเป็นมงคล


    ๏ พัฒนาวัดหนองชนะชัย

    สำหรับวัดหนองชนะชัย จ.ลพบุรี นั้น แต่เดิมเป็นสถานที่ทุรกันดารเป็นอย่างมาก การเดินทางเข้าไปยังวัดหนองชนะชัย ต้องเดินเท้าเข้าไปเพราะรถวิ่งเข้าไปไม่ได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่เป็นหลัก กระทั่งหลวงปู่หอม เดินธุดงค์ผ่านมาอยู่จำพรรษาที่วัดหนองชนะชัย หลวงปู่ท่านได้ร่วมกับชาวบ้านทำการพัฒนาวัดหนองชนะชัย จนมีความเจริญรุ่งเรือง พร้อมกันนี้ ได้ประสานกับหน่วยงานราชการ ทำการพัฒนาถนนในการสัญจรไปมาและเดินทางมาวัด โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ปัจจุบันการเดินทางมาที่วัดหนองชนะชัย สามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวกสบายเพราะมีถนนลาดยางเข้ามาถึงวัดแล้ว

    หลวงปู่หอมเป็นพระที่เปี่ยมล้นด้วยเมตตา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการศึกษาพระปริยัติธรรม นักธรรม-บาลี ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่เคารพและศรัทธาท่านทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ไปจนถึงข้าราชการทหาร ตำรวจ และนักการเมือง ในชีวิตสมณเพศตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงวัยชรา หลวงปู่หอมยังมั่นคงในการเจริญพระกัมมัฏฐานตลอดมา ด้วยเห็นว่าเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้จิตใจหมดจดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
    การอาพาธและการมรณภาพ

    หลวงปู่หอม เขมิโย อาพาธด้วยโรคปอดติดเชื้อกระทันหัน และได้เข้ารับการรักษาอาการมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ ณ โรงพยาบาลโคกสำโรง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี กระทั่งหลวงปู่ได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ท่ามกลางคณะศิษยานุศิษย์เฝ้าดูอาการจนลมหายใจสุดท้าย เมื่อเวลา ๐๐.๔๕ น. ของวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี ๓ เดือน พรรษา ๖๘ ท่ามกลางความเสียดายและโศกเศร้าเป็นยิ่งนักของเหล่าพุทธศาสนิกชน ที่ศรัทธาในปฏิปทาวัตรของท่านเป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อนับย้อนหลังไปไม่กี่เดือน หลวงพ่อมหาจรัญ ชินวโร เจ้าอาวาสวัดหัวช้าง ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.ลพบุรี และลูกศิษย์ลูกหายังได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่หอม ตามอิริยบทของพระผู้สมถะ พูดน้อย เมื่อได้เห็นจริยวัตรของท่านแล้ว จะรู้สึกอบอุ่น สบายใจ ภายในกุฏิของท่านมีเพียงเข้าของเครื่องใช้ที่จำเป็นเท่านั้น แม้แต่ชุดนุ่งห่ม จีวรก็มีใช้แบบเก่าๆ ไม่กี่ชุด และก็แมวหนึ่งตัวที่เลี้ยงไว้ จะไม่มีสมบัติใดๆ ให้เห็น นับว่าเป็นพระปฏิบัติกรรมฐานโดยแท้มาตลอด โดยยึดหลักการปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ท่านเคยร่ำเรียนมาด้วยระยะหนึ่ง

    มีอยู่ช่วงหนึ่งหลวงปู่หอมท่านได้เคยให้ความเห็นส่วนตัวกับหลวงพ่อมหาจรัญ ว่าอยากได้ทุนสักส่วนหนึ่งมาทำศาลาที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นศาลาอเนกประสงค์สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีสวดอภิธรรมหน้าพระเมรุ เป็นต้น ซึ่งทางวัดหนองชนะชัยและหลวงปู่เองไม่มีเงินทอง ทรัพย์สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น ที่ก่อสร้างอยู่ก็ด้วยเงินบริจาคจากเหล่าพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ ต่อเติมไปเรื่อยๆ กระทั่งเป็นเหตุให้หลวงพ่อมหาจรัญมีแรงจูงใจว่า ต้องช่วยคิดช่วยทำเพื่อการพัฒนาวัดหนองชนะชัย ครั้นมาถึงวันนี้หลวงปู่ได้ละสังขารไปโดยสงบ จากการตกลงของคณะกรรมการวัด และคณะศิษยานุศิษย์มีความเห็นกันแล้วว่าจะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอพระราชทานน้ำศพ แล้วเก็บไว้ในโลงแก้วหรือพระราชทานเพลิงศพ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

    การประกาศข่าวการมรณภาพของหลวงปู่หอม เขมิโย ให้เหล่าพุทธศาสนิกชนทุกท่านได้ทราบในครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือว่า ในระหว่างนี้ได้มีการจัดทำวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง คือ “เขมิโย ๘๘” และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยมีหลวงพ่อมหาจรัญ ชินวโร เจ้าอาวาสวัดหัวช้าง จ.ลพบุรี (ศิษย์เอกหลวงปู่เรือง อาภัสสโร) และคณะศิษยานุศิษย์ (เป็นรุ่นที่หลวงปู่หอมมีเจตนาที่จะจัดสร้าง และอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ดำเนินการ) รูปแบบวัตถุมงคลได้ทำขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และที่สำคัญคือวัตถุมงคลรุ่นนี้ได้เปิดจองไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา แต่หลวงปู่ได้ละสังขารไปแล้วนั้น

    คณะกรรมการผู้จัดสร้างได้ลงมติเห็นพ้องต้องกันว่า จะดำเนินการจัดสร้างต่อไป และมีวัตถุประสงค์ดังเดิมทุกประการ คือนำทุนไปก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ที่กำลังค้างอยู่ ทั้งมีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมเข้ามาคือ ลงมติให้ก่อสร้างรูปเหมือนหลวงปู่หอมเท่าองค์จริงขึ้นมา แล้วนำไปประดิษฐานไว้ที่วัด เพื่อเป็นอนุสรณ์รุ่นสุดท้ายและรุ่นประวัติศาสตร์ (เขมิโย ๘๘) ไว้ให้ลูกหลานได้กราบไหว้ท่านตลอดไป

    กำหนดการเดิมในการปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น “เขมิโย ๘๘” คือวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ณ วัดหนองชนะชัย จ.ลพบุรี ยังคงไว้เป็นกำหนดการเดิมทุกประการ แต่จะเปลี่ยนจากการปลุกเสกเดี่ยวโดยหลวงปู่หอม เขมิโย มาเป็นมหาพิธีพุทธาภิเษกอนุสรณ์ โดย “หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม” วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี และ “หลวงพ่อมหาจรัญ ชินวโร” วัดหัวช้าง เป็นเจ้าภาพแม่งานในพิธี รวมทั้ง พระเกจิดังร่วมอีกหลายรูป เช่น หลวงพ่อโทน (พระครูจันทโพธิคุณ) วัดเชิงหวาย จ.อ่างทอง, หลวงพ่อสนั่น สุนันโท วัดกลางราชครู จ.อ่างทอง, หลวงพ่อทองศุข นันทวโร วัดท่าตะคร้อ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น รุ่นนี้ถือเป็นประวัติการณ์หนึ่ง ที่คณะผู้จัดสร้างไม่ได้คิดย่อท้อแต่ประการใด ถือเป็นการสร้างอนุสรณ์และเป็นบุญที่ทำให้หลวงปู่หอม ถือเป็นกุศโลบาย คิดว่าท่านยังอยู่พร้อมด้วยบารมีและคุณงามความดีไว้ให้พวกเราได้กราบไหว้ บูชาตลอดไป
    ขอบขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่หอม วัดหนองชนะชัย อุดผงด้านล่างองค์พระ


    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2014
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    พระสมเด็จวัดบ้านทึง สุพรรณบุรี หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ปลุกเสก ปี๒๕๑๔ เนื้อผงน้ำมัน

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  16. jaru

    jaru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +710
    ขอจองครับ
     
  17. ป้ายหน้า

    ป้ายหน้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2010
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +97
    ได้รับ ตะกรุด ล.ป.ปรง เรียบร้อย แล้ว ครับผม
    (ข้างใน เป็นตะกรุด ยันต์ อะไร เหรอครับผม)
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    หวิดดับ!คนร้ายยิงถล่มรถผช.ผญบ.
    คนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงถล่มรถผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วน ลูก-เมีย ที่อยู่ในรถรอดตายหวุดหวิด คาดเป็นผลมาจากการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เข้มงวดเรื่องยาเสพติด
    25 ก.พ.55 พ.ต.ท.ฉัตรชาย อินทรพุก สารวัตรเวรสอบสวน สภ.แกลง จ.ระยอง รับแจ้งมีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่รถยนต์ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพร้อมครอบครัว มีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลแกลง คือ นายชัยชาญ ห้อยระย้า อายุ 41 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ถูกยิงบริเวณไหปลาร้าด้านขวา 1 นัด สะเก็ดกระสุนปืนถูกรอบบริเวณไหปลาร้าหลายแห่ง ต้นแขนขวาถูกเศษกระจกแตกบาดเลือดไหลอาบ ที่บริเวณปากถูกกระสุนปืนเฉี่ยวทำให้ฟันหน้าหักรวม 3 ซี่ เหตุเกิดบนถนนสายอู่ทอง-กระแสบนหมู่ 1 ต.กระแสบน
    จึงพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ นายบัญญัติ เศียรเขียว ปลัดฝ่ายป้องกันอำเภอแกลง นายวิจิตร บรรเทาทุกข์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 นายทวี กุลัดนาม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 เดินทางไปดูที่เกิดเหตุ พบรถกระบะ ทะเบียน บล 6644 ระยอง ถูกยิงด้วยอาวุธปืนอาก้าบริเวณกันชนหน้าด้านขวา 1 รู ฝากระโปรงรถ 1 รู กระจกหน้ารถ 3 รู ทะลุกระจกหลังแตก เจ้าหน้าที่ตำรวจเก็บปลอกกระสุนปืน อาก้าในที่เกิดเหตุจำนวน 6 ปลอก และห่างจากจุดเกิดเหตุเล็กน้อยพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 12 ปลอกตกเกลื่อนถนน
    นายชัยชาญ กล่าวว่า เวลา 05.00 น. ได้ขับรถคันดังกล่าวพร้อมด้วยนางสายฝน และด.ช.ขัยวัฒน์ อายุ 1 ขวบ บุตรชาย เพื่อที่จะไปรับคนงาน 2 คน โดยให้คนงานนั่งมาในกระบะหลัง ขณะขับรถกลับมาตามถนนสายอู่ทอง-กระแสบน บ้านนอกในไร่ มาถึงจุดเกิดเหตุเวลาประมาณ 06.10 น. ได้ยินเสียงปืนดังสนั่นจำนวนหลายนัด รู้ตัวว่าถูกยิง จึงใช้มือซ้ายกดศีรษะภรรยาและลูกให้หมอบลงและพยายามจอดรถข้างทาง มือขวากำเหรียญหลวงพ่อสวัสดิ์ วัดกระแสบนที่คล้องคอไว้แน่นอธิษฐานให้ช่วยคุ้มครองชีวิตให้รอดปลอดภัย จากนั้นได้ยินเสียงปืนดังสนั่นอีกกว่า 10 นัด สิ้นเสียงปืน จึงเปิดประตูพาครอบครอบครัว หนีเข้าป่าข้างทางไปขอความช่วยเหลือเพื่อนบ้าน
    "ขณะถูกยิงผมเห็นรถยนต์สีขาว ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน จอดอยู่ข้างหน้า ห่างจากรถผม 30 เมตร กระจกด้านซ้ายลดต่ำลงมองเห็นมีแสงไฟแลบออกจากปากกระบอกปืน และขับหลบหนีไปทางวัดกระแสบน ที่ผ่านมาไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองหรือมีศัตรูแต่อย่างใด ไม่ทราบว่าถูกดักยิงเรื่องอะไร " นายชัยชาญ กล่าว
    นายบัญญัติ เศียรเขียว ปลัดฝ่ายป้องกันอำเภอแกลง กล่าวว่า สาเหตุอาจมาจากการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่อำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้านออกตรวจตราเข้มงวดเรื่องยาเสพติด เนื่องจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไม่มีคู่อริหรือศัตรูแต่อย่างใด ได้กำชับให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในการออกตรวจระหว่างปฏิบัติหน้าที่

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาข้อมูลอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่นแรกรุ่นประสบการณ์หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดกระแสรบน ระยอง

    ให้บูชา 700 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    [​IMG] [​IMG]
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชปี๒๕๑๔ พิธีใหญ๋และข้อมูลว่านำให้หลวงพ่อเกษม เขามโก อธิฐานจิตมนต์ให้ด้วย
    (ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2014
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,431
    ค่าพลัง:
    +21,326
    เหรียญหลวงปู่อินทร์ วัดควนปันตาราม พัทลุง
    ครูบาอาจารย์สายเขาอ้อ พัทลุงครับ ท่านบวชเมื่ออายุมากแล้วแต่ผู้คนให้้ความเคารพนับถือท่านมากและถูกนิมนต์ให้ไปปลุกเสกวัตถุมงคลในสายเขาอ้อเสมอ

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...