คาถาหัวใจพระกรณีย์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 13 มิถุนายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]คัมภีร์วชิรสารสังคหะ คัมภีร์ซึ่งประมวลที่มาของธรรมะที่สำคัญจากคาถาต่าง ๆ พระรัตนปัญญาเถรได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2078 เนื้อหาภายในเป็นการถอดหัวใจพระคาถาหลายๆ บทออกมาแสดงเป็นบรรทัดฐาน ข้อมูลใหม่บางอย่างน่าสนใจ เช่น

    จะ ภะ กะ สะ เรียกหัวใจกรณีย์ บางทีเรียกหัวใจกาสลัก
    ในตำราอาจารย์เทพย์ว่าถอดจาก
    จะ = จชทุชฺชนสํสคฺคํ
    ภะ = ภชสาธุสมาคตํ
    กะ = กรปุญฺญมโหรตฺตํ
    สะ = สรนิจฺจมนิจฺจตํ ฯ
    (จงเว้นการสมาคมกับทุรชน คบหาสมาคมกับสาธุชน ทำบุญทั้งกลางวันแลกลางคืน
    และระลึกถึงความไม่เที่ยง (แห่งสังขาร) เป็นนิตย์)

    แต่ในคัมภีร์นี้ พระรัตนปัญญาเถร ได้แสดงบทถอดให้ดูอีกแบบหนึ่งว่า
    จะ = จเชยฺย ทุมฺมิตฺตํ พาลํ อาสีวิสํว มาณโว
    ภะ = ภญฺเชยฺยํ ปาปกํ กมฺมํ นฬาคารํว กุญฺชโร
    กะ = กเรยฺย กุสลํ สพฺพํ สิรํ นิพฺพานมาวหํ
    สะ = สเรยฺย อนิจฺจํ นิจฺจํ นิพฺพิทาญาณโคจรํ ฯ
    (พึงเว้นมิตรชั่วซึ่งเป็นคนพาล เหมือนคนเว้นอสรพิษฉะนั้น
    พึงทำลายกรรมอันเป็นบาป เหมือนช้างสารทำลายโรงเรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อฉะนั้น
    พึงกระทำกุศลทั้งปวง อันเป็นเหตุนำมาซึ่งพระนิพพาน อันเป็นแดนสว่างไสว
    พึงระลึกถึงอนิจจัง อันเป็นอารมณ์แห่งนิพพิทาญาณเนือง ๆ )

    การถอดจากบทแรก ผู้ศึกษาทางสันสกฤตจะรู้สึกว่าเป็นการถอดจากคัมภีร์ปัญจตันตระ
    หรือจำพวกราชนีติของฮินดูมากกว่าเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะฉะนั้น
    การถอดจากภาษิตบทหลัง จึงเข้ากับหลักธรรมทางพุทธศาสนามากกว่าแบบแรก

    คาถาปถมังสี่ด้านพระเจ้ากลืนไตรภพ

    ตัวอย่างบทแรก ปฐมํ สกลกฺขณเมกปทํ ทุติยาทิปทสฺส นิทสฺสนโต สมนิ ทุนิมา สมทุ สนิทุ วิภเช กมโต ปฐเมน วินา ฯ

    บทนี้ปรากฏในเอกสารลายมือกราบทูลกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ทราบผู้เขียน เรียกว่าคาถา
     

แชร์หน้านี้

Loading...