คำบริกรรมพุทโธ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย perfex, 20 มกราคม 2010.

  1. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    การทำสมาธิโดยการ บริกรรมพุทโธ นั้นให้เราจดจ่อที่คำว่าพุทโธอย่างเดียว

    หรือ จดจ่อ กับลมหายใจไปด้วยควบคู่กัน? คือผมรู้สึกว่ามันยากนะที่ต้อง

    จดจ่อ กับทั้งสองอย่าง การจดจ่อกับคำว่าพุทโธอย่างเดียวจะง่ายกว่า สำหรับผม



    ขอบคุณที่ไขข้อสงสัยครับ
     
  2. SPARTANS

    SPARTANS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,380
    ค่าพลัง:
    +2,986
    หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ให้เรานึกถึงภาพพระที่เราชอบครับ จะเป็นพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์ที่เราเคารพศรัทธาก็ได้ ให้ภาพพระติดตาอยู่เนืองๆจะชัดบ้างมัวบ้างไม่เป็นไรแต่ขอให้นึกไว้เสมอ วันนึงจะกี่ครั้งก็แล้วแต่ไม่บังคับ เผลอเมื่อไรก็พุทโธเมื่อนั้น แล้วท่านจะเป็นผู้ทรงฌาณครับ ขออนุโมทนาครับผม.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2010
  3. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    เอาจริงเอาจังนับเลขเลย
    1.เข้าว่า1 ออกว่า1 เข้า1 ออก2 ไปเรื่อยๆ ต่อเนื่อง
    2.ลมกระทบ3จุด ปลายจมูก อก ท้อง
    เวลาลมออกผ่อนลมเบาๆชนเพดานจมูกด้านบนชนิดมีขนนกอยู่ก็ไม่ปลิวไป
    3.ไม่สนใจเวลาแรกๆก็ตั้งเป้าว่าเอานับถึงไหนก็มีสัจจะเอาให้ถึง
    จนถึงเอาจนลมหายไป ถ้าไม่ถึงบ่อยๆจะเสียกำลังใจ เลิกฝึกซะก่อน
    งั้นถ้าจะฝึกคือกายพร้อม ใจพร้อม ตายเป็นตายถวายบูชาพระพุทธองค์
    4.ทำสบายๆ เคร่งไปนับเป็นชม.ลมก็ไม่ขาด
    5.ทำก็ทำจริงๆแรกๆทำในที่สงบเสียงรบกวนไม่มาก
    หัดแรกๆของผมนั่งไปราวๆ1.30ชม.นะลมขาด เราไม่รู้เวลาหรอกตอนฝึก
    พอออกสมาธิมาก็มาดูนาฬิกา
    6.คำภาวนาเอาไปล็อคจิตกันฟุ้งซ่าน กันสบายแล้วหลับเฉยๆ
    จะว่าพุท โธ พุทธานุสติระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยก็ดี ปิติดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2010
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เอาอันที่เราถนัดนะ....

    ถ้าจับลมหายใจอย่างเดียวได้...ก็จับอย่างเดียวไปเลยครับ....ไม่ต้องภาวนา.....

    ถึงแม้จะภาวนา ไปถึงจุดหนึ่งก็ทิ้งอยู่ดี.....

    การปฏิบัติอย่าฝืน....ถ้าฝืนไม่ใช่การปฏิบัติที่ดี.....เอาสบายๆครับ....
     
  5. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    ต้องดูลมเอาลมเป็นหลัก เพราะว่า
    เมื่อภาวณาจดจ่อคำภาวณาไปเรื่อยๆ
    คำภาวณาจะหายไปๆเบาลงๆจนหายไป
    จิตจะหาที่เกาะได้ยาก และจิตจะควานหาลมหายใจ
    ตรงนี้จิตจะตกจากสมาธิ หมายความว่าสมาธิจะถอนออก

    แต่ถ้ายึดเอาลม ลมมันจะเบาลงๆไปเรื่อยๆ คำภาวณาก็จะเบาลงๆไป
    ตรงนี้เพราะลมมันเบาลงช้าๆเห็นได้ชัด จิตมันจะไม่กังวนควานหาลม
    จิตจะตกสมาธิ จิตจะถอนออกได้ยากกว่า

    หรือถ้าหากว่าคุณทำแล้ว พอสงบลงๆ
    ภาวณาจดจ่อคำภาวณาไปเรื่อยๆ
    คำภาวณาจะหายไปๆเบาลงๆจนหายไป
    แล้วคุณทรงจิตเอาไว้ได้ ไม่ความหาลม ไม่ควานหาคำภาวณา
    เช่นนั้นแล้ว คุณก็ย่อมทำได้ในแบบนั้น
     
  6. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    สรุปก็คือ การภาวนาพุทโธไปด้วยนั้น ให้ดูที่ลมเป็นหลักใช่มั้ยครับ จิตก็ภาวนาไป แต่จดจ่อกับลมเท่านั้น ใช่มั้ยครับ ขอบคุณครับ

    จริงๆแล้วผมถนัด การจดจ่อกับลมมากที่สุดครับ แต่ในใจก็อยากรู้วิธีที่ชัดเจนของการ

    ภาวนาพุทโธด้วย เพราะเท่าที่รู้นั้นกลัวว่าจะรู้ไม่ละเอียดแล้วทำไปจะผิดน่ะครับ
     
  7. s.orr

    s.orr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    135
    ค่าพลัง:
    +327
    ใช่แล้วคับ
    อานาปานสติ แปลว่า เอาสติไปจับที่ลมหายใจ
    สมัยก่อนก็ไม่ได้ใช้คำภาวณาหรอกนะคับ
    สมัยก่อนก็เอาจิตไปจับลมล้วนๆ
    ไม่ได้มีคำภาวณาแบบยุคหลังนี้หรอกคับ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    คำภาวนาเหมาะสมกับ...คนที่จับลมได้ยาก...อานาเป็นกรรมฐานที่มีสถาวะที่เบา....หลุดง่าย....ท่านเลยให้มีคำภาวนาเพื่อเป็นอุบายจับให้แน่นมากขึ้น....เท่านั้นเอง....

    ความจริงอานาปานุสสติกรรมฐาน คือกรรมฐานเนื่องด้วยลมหายใจชัดเจนครับ...

    บางคนใหม่ๆก็จับคำภาวนา...นานไปคล่องตัว...ไม่จับก็ได้.....แต่การจับคำภาวนาไม่ใช่ไม่ถูกนะ..ถูก...แต่อย่างไรก็ดูความถนัดของตัวเอง...จะลองดูก็ได้ทั้งสองแบบ....ถ้าคิดว่าแบบใหนดีเหมาะกับเราก็เอาแบบนั้นเป็นหลัก...

    คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->s.orr<!-- google_ad_section_end --> ตอบได้ดี...สาธุครับ...
     
  9. Dolb

    Dolb Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +35
    เท่าที่ทราบจากพระอาจารย์และจากการปฎิบัติเองตามคำแนะนำตอนไปบวชที่จ.สกลนคร การบริกรรมพุทโธ ไม่ต้องจับลมหายใจครับ ในทางปฎิบัตินั้น ทุกอย่างอยู่ที่เรา เราย่อมรู้ดีที่สุดว่าจะใช้วิธีใดที่เหมาะกับจิตเรามากที่สุด ทำหลายแบบรวมกันก็ได้ ถ้าจะทำให้จิตเราสงบได้ การนึกด้วย กำหนดลมด้วย จับหรือตามลมเข้าออก สามจุด เหมือนที่หลวงพ่อฤาษีสอนด้วย รวมทั้งการสร้างความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขณะเคลื่อนไหวตามแบบที่ครูอาจารย์อื่นๆสอนด้วยก็ได้ เพราะเป็นการมอบงานให้จิตทำหลายๆอย่างพร้อมกัน (จริงแล้วเค้าทำได้ทีละอย่าง) เขาจะได้ไม่ฟุ้ง ลองดูนะครับ แต่แนวบริกรรมพุทโธที่ได้รับการอบรมสั่งสอนแนะนำมานั้น จะใช้การนึก ในใจ (มิใช่ท่อง) ว่า พุท โธ ๆ ๆ จะเร็ว หรือช้า แล้วแต่จิตเราเอง ถ้าไม่วุ่นวาย ก็ช้าได้ ถ้ายิ่งฟุ้ง ก็ต้องยิ่งเร็วมากขึ้น (เหมือนการเดินจงกลม) และมิใช่สักแต่นึกหรือท่องบ่นคำภาวนาไปเรื่อยๆ แต่ควรกำหนดสติก่อนนึกคำว่า "พุทธ" และกำหนดสติก่อนนึกคำว่า "โธ" ในทุกๆคำครับ ตอนแรกๆจิตยังไม่นิ่ง ก็อาจใช้หลากหลายวิธีก็ได้ แต่เมื่อจิตนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่านมากแล้ว จึงเริ่มภาวนา โดยนึกคำบริกรรมอย่างเดียวในใจ ทำไปสักครู่ ถ้าจิตสงบมากขึ้น จะสังเกตได้ว่า จังหวะคำภาวนาที่นึกในใจจะช้าลง และจะเบาลงเรื่อยๆ แต่ขณะที่การนึกคำภาวนาเบาลงเรื่อยๆนั้น คำว่า "พุทธ" และ "โธ"จะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆครับ (เทียบกับการปฎิบัติแนววิชาธรรมกาย ก็คือ ยิ่งกำหนดจุดกลางของกลางที่ยิ่งเล็ก ดวงธรรมหรือแสงสว่างก็จะยิ่งมากขึ้น) ถ้าทำต่อไปก็ยิ่งสงบครับ (ผมเคยชินกับการกำหนดลมหายใจเข้าพุทธ ออกโธมาก่อน แต่พอมาฝึกบริกรรมอย่างเดียว จิตก็สงบได้เหมือนกันครับ รับรอง) แต่แค่นี้ก็เพียงชั้นสมถะ จิตสงบ ได้พักผ่อน ใจผ่องใส เหมือนชาร์ทแบตเตอรรี่จนเต็มเท่านั้น สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิต แก้กิเลสได้แบบหินทับหญ้าเท่านั้นนะครับ ยังไม่ใช่แนวปัญญาทางธรรมที่จะขจัดกิเลสได้ ถ้าต้องการต่อยอดมากกว่าสมถะ เมื่อทำจนจิตสงบดีแล้ว (จนถึงระดับได้มหาสติหรือเจอตัวรู้แล้ว) จึงค่อยยกจิตหรืออารมณ์เข้าสู่วิปัสสนา คือ เริ่มพิจารณาธรรมข้อใดข้อหนึ่ง เช่น กระดูก (แบบแนวหลวงปู่เณรคำ) หรือ พระไตรลักษณ์ โดยการพิจารณาไตร่ตรอง ทบทวน ตรวจสอบความเข้าใจในหลักธรรมนั้นๆ ก็จะได้คำตอบเอง และ เป็นการ experience ธรรม แบบฟ้าถล่ม ดินทลาย เป็นมรรคเป็นผล เป็นปฎิเวธ (เกิดผลขึ้นเอง) มิใช่ความรู้หรือความเข้าใจที่เกิดจากการอ่าน การจำ และการวิเคราะห์ธรรมแบบศึกษาจากตำราครับ
    เอาใจช่วยนะครับ อย่าเพิ่งท้อ ของจริงมีอยู่จริงครับ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จริงๆ...จับลมสามฐานก็ดีนะ...

    ไม่หลุดดี...คือจิตฟุ้งได้น้อยกว่า...

    แต่ก็ยากสำหรับคนไม่ถนัด...
     
  11. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    อ้อ สมัยก่อนจับลมล้วนๆหรอครับ เพิ่งจะทราบครับ เป็นความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณมากครับ

    ทุกๆท่านตอบได้ดีมากครับ ขอบพระคุณอย่างสูง ผมอยากจะนิพพานในชาตินี้ครับ

    แต่ไม่มีอาจารย์ ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำได้บ้างไหมครับ
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เกิดมาพบพระพุทธศาสนากล่าวว่าไม่มีอาจารย์นี่ดูถูกตัวเองมากนะ.....

    ถ้าจะรอท่านที่เป็นยังดำรงขันธ์อย่างเดียวมันก็ไม่ทันนะ....ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจากไปแต่กายครับ...พระธรรมท่านยังอยู่...ให้พวกเรา..

    ครูบาอาจารย์เทป...ครูบาอาจารย์หนังสือมี....สูงสุดศึกษากับพระพุทธเจ้าโดยตรง...คือพระไตรปิฏกครับ(อันนี้สำคัญ)....

    แต่การศึกษานั้นให้เนื่องด้วยการปฏิบัตินะครับ....ไม่ใช่ปริยัติถ่ายเดียว....

    ถ้าให้ผมแนะนำนะครับ...นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว...ครูบาอาจารย์ยุคใกล้...มี หลวงพ่อฤาษี ,หลวงปู่มั่น, หลวงปู่เทศ , หลวงปู่ชา ,หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ , หลวงตามหาบัว(ท่านนี้ยังอยู่) ,หลวงปู่สิม...เลือกเอาที่เราชอบ พระธรรมเทศนาท่านเหล่านี้ยังอยู่ครับ.....ศึกษาได้....ฟังให้มาก...แล้วสรุปมาปฏิบัติให้เข้ากับตัวเองครับ....

    ถ้านอกจากท่านเหล่านี้แล้ว...ก็สามารถไปทำบุญหรือปฏิบัติสอบถามเมื่อมีปัญหาแก้ไม่ได้จริงๆก็ได้ครับ....ก็มีอยู่หลายที่....แต่หลักก็ไม่ต่างกันครับ....เมื่อเรารู้หลัก...ไม่ยากครับ...

    โมทนาสาธุตั้งใจปฏิบัติครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2010
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ยกอานาที่พระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยพระองค์เองมาให้เพื่อเจริญศรัทธาในการปฏิบัติยิ่งๆครับ.....ท่านมาถูกแล้วไม่ผิดตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแน่นอน....


    [​IMG]


    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู่บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติ หายใจเข้า มีสติ หายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
    อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    <O:p</O:p

    จบ อานาปาณบรรพ<O:p</O:p


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    พระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี.......... ๑ ปี ยกไว้
    ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผล ในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้
    ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ ดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้
    ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกยังเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศก และปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรค กล่าวแล้ว ฯ"
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วแล ฯ
    <O:p</O:p

    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔ <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2010
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    อนุโมทนาค่ะ ติงดูลมไปด้วย
    ประเดี๋ยวคำภาวนาก็หาย ลมก็หาย....
     
  15. canopus

    canopus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +531
    ได้ทั้ง 2 แบบครับแ้ล้วแต่ถนัด
    จะพุท-โธ ควบกับลมหายใจเข้า-ออก โดย พุท-ลมเข้า โธ-ลมออก ก็ได้
    หรือจะ บริกรรมพุทโธๆๆๆ ถี่ๆ เร็ว ๆ โดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจก็ได้ครับ
    ลองทำดูอันไหนที่คิดว่าทำให้เกิดสติ-สมาธิได้ง่าย สบาย ๆ ก็ใช้อันนั้นไป

    อย่างศิษย์หลวงปู่มั่นแต่ละรูปท่านก็ถนัดไม่เหมือนกัน บางรูปท่านอาจจะสอนให้ใช้ พุท-โธควบกับลมหายใจ อย่างหลวง พ่อลีวัดอโศการาม หลวงปู่เหรียญ เป็นต้น
    แต่บางรูปอาจจะสอนใช้บริกรรมพุทโธๆๆ อย่างเดียว เช่นหลวงตามหาบัวฯ หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่เจี๊ยะ เป็นต้นแล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่านครับ อย่างหลวงปู่เจี๊ยะ นี่ท่านบอกเลยให้บริกรรมพุทโธถี่ๆ เร็วๆ ให้รัวเหมือนปืน M-16 เลยทีเดียว
     
  16. a.nattra

    a.nattra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +6
    สวัสดีค่ะ คุณPerfex
    ขอแนะนำ ให้ลองฟังวิทยุ "เสียงธรรมเพื่อประชาชน" FM103.25 ขององค์หลวงตาพระมหาบัว เน้น ช่วงหลัง 2 ทุ่มไปแล้ว เพราะจะเป็นเทศน์เกี่ยวกับการภาวนาทั้งหมด หลวงตาท่านเรียกว่า แกงหม้อเล็ก กับแกงหม้อจิ๋ว (คือเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ภาวนา และมีที่ท่านเทศน์สอนพระด้วยค่ะ) เป็นการภาวนา "พุทโธ" ที่..ควรต้องฟัง อนุโมทนาสาธุ ที่คุณภาวนาเพื่อมรรคผลค่ะ

    ขอร้องว่าลองฟังอย่างน้อยซัก 2 อาทิตย์นะคะ แรก ๆ คุณน่าจะงง ๆ (ไม่ได้ปรามาสนะคะ เพราะถ้าคุณใหม่ มาก ๆ ก็เป็นไปได้) ยังไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมาก เดี๋ยวคุณจะจับจุดได้เอง ถ้าคุณภาวนาไปด้วย และฟังเทศน์ควบคู่ไป ตรวจสอบตัวเองได้ คุณจะซึ้ง แล้วจิตดวงนี้(ของคุณนะ) จะดิ้นรนหาครูบาอาจารย์เอง

    ขอให้โชคดีค่ะ
     
  17. สบู่เลือด

    สบู่เลือด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +391
    ยังควานหาอยู่เลยค่ะ รอเวลาลงล็อก....
     
  18. lekjung13

    lekjung13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2009
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +376
    พุท...โธ...พุท...โธ...พุท...โธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
    สาธุ...ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...