จะรู้ได้ยังไงว่าเราได้บรรลุธรรมแล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย mojito544, 4 ธันวาคม 2011.

  1. khundech

    khundech Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +54
    ผมก็ไม่ได้ว่าคุณผิดที่จะถามหาเป้าหมาย​

    เหมือนการเดินทางไปในที่ไม่เคยไป แต่เมื่อไปถึงเราก็รู้ว่านี้ถึงแล้ว
    เช่น เราจะไปวัดป่าบ้านตาดแต่ไม่เคยไป จอดถามคนระหว่างทางว่าไปทางใหน
    แต่พอถึงวัดป่าบ้านตาดแล้วไม่จำเป็นต้องถามใครอีก ว่าวัดป่าบ้านตาดอยู่ใหน
    เพราะเราได้รู้เองเห็นเองแล้ว
     
  2. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ญาณ 16 วิปัสสนาญาณ 16fficeice" /><O:p></O:p>

    ญาณ 16 คือ ญาณที่เกิดแก่ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย โดยสำเร็จมรรคผล 16 อย่างคือ

    1. นามรูปปริเฉทญาณ หรือ สังขารปริเฉท คือ ความรู้ความเข้าใจรูปและนาม โดยแยกด้วยความเข้าใจสิ่งใดที่สัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นคือ รูปธรรม สิ่งใดที่สัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้องนั่นคือนามธรรม
    ทั้งหมดนี้เป็นความเข้าใจพื้นฐานในการพิจารณาธรรม เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า การเห็นด้วยปัญญา ว่ารูปกับนามไม่มีตัวตนที่แท้จริง

    2. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ คือ การใช้ปัญญาทำความเข้าใจในเหตุปัจจัยของรูปและนาม กล่าวคือ การใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า สิ่งต่างๆบนโลกนี้ ล้วนมีเหตุมีผลในการเกิดทั้งสิ่น มิใช่สักแต่ว่าเกิดอย่างเดียว

    3. สัมมสนญาณ คือ การพิจารณาให้เห็น การเกิด ความแปรปรวนของชีวิต การดับ โดยเห็นด้วยปัญญาว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดมาแล้วล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีเกิดก็ย่อมมีดับไป โดยเป็นไปตามหลักของไตรลักษณ์นั่นเอง

    4. อุทยัพพยาญาณ หรือ อุทยัพพยาสุปัสสนาญาณ คือ การเห็นการเกิดและดับของรูปและนาม โดยพิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงของการเกิดและการดับของขั นธ์ 5 ด้วยปัญญา กล่าวคือ การเห็นและเข้าใจสภาวธรรมตั้งแต่เกิดจนค่อยๆดับสลายไป

    5.ถังคานะปัสสนาญาณ คือ การเห็นการแตกดับ ของรูปนามและขันธ์ต่างๆการที่ได้เห็นการแตกดับบ่อยขึ้น ชัดเจนขึ้น สามารถมองเห็นเด่นชัดขึ้นที่จิตหรือหมายถึงปัญญานั่นเอง การดับจะเห็นได้ชัด ถ้าเราเป็นกลาง วางเฉย แต่ไม่เอนเอียงไปด้วยความคิดที่ปรุงแต่งใดๆเราก็จะเห็นการแตกดับด้วยตนเองอย่างชัดแจ้งเป็นลำดับ

    6. ภยญาณ หรือ ภยตูปัฎฐานญาณ คือ การมองเห็นสังขารหรือรูปและนาม ว่าเป็นของมีภัยด้วยปัญญา กล่าวคือ การเห็นสังขารรูปและนามต่างๆเหล่านี้ล้วนไม่เที่ยง แปรปรวนไม่สามารถควบคุมได้มีแตกสลายไปไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะจะก่อให้เกิดทุกข์และเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารต่อไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด และการเห็นสังขารเป็นของมีภัยนั้น สามารถคลายความยึดมั่นถือมั่นในสังขารต่างๆได้

    7. อาทีนวญาณ หรือ อาทีนวานุปัสสนาญาณ คือ การคำนึงเห็นโทษภัย เมื่อสิ่งต่างๆล้วนต้องแตกดับไปทั้งสิ้นจากการแตกดับของสังขาร หรือรูปและนามต่างๆถ้ายึดถือไว้ ก็จะเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติที่เป็นทุกข์ที่เป็นโทษ

    8. นิพพิทาญาณ หรือ นิพพิทานุปัสสนาญาณ คือ การคำนึงถือด้วยความหน่ายจากการรู้ตามความเป็นจริงของสังขารหรือขันธ์5ว่าล้วนไม่เที่ยง และต้องแตกสลายไปในที่สุด ไม่สามารถบังคับตามความปรารถนาของเราได้ จึงทำให้เกิดความหน่ายต่อสังขาร ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญญาเกิดเห็นความเป็นจริงของสังขารอย่างที่สุดนั่นเอง การคำนึงถึงด้วยความหน่ายนี้จึงทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นจากกิเลสตัณหาทั้งปวงจากการที่ปัญญารู้ความจริงได้

    9. มุญจิตุ กับ ยตาญาณ หรือ มุจจิตุกัมยตาญาณ คือ การหยั่งรู้ว่าต้องการพ้นไปจากสังขารชนิดที่ก่อให้เกิดทุกข์ หรือการปรารถนาจะพ้นไปจากทุกข์

    10. ปฎิสังขญาณ หรือ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ คือ การพิจารณาและทบทวนเพื่อให้เห็นทางหลุดพ้นจากภัยเหล่านั้น โดยใช้ปัญญาหยิบยกขันธ์5มาพิจารณาเพื่อหาทางปลดเปลื้องหรือปล่อยวางสังขารหรือขันธ์5เพื่อให้หลุดพ้นจากภัยด้วยการทบทวนและพิจารณา

    11.สังขารูเปกขาญาณ คือ ความเป็นกลางต่อสังขาร กล่าวคือ การวางใจเป็นกลางต่อสังขารและกายสังขารโดยไม่ยินดียินร้าย หรือติดใจในสังขารด้วยปัญญา และพ้อมที่จะมุ่งสู่ความหลุดพ้นด้วยการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง

    12. อนุโลมญาณ หรือ สัจจานุโลมักญาณ คือ การหยั่งรู้อริยสัจกล่าวคือ เมื่อเราวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวงแล้วปัญญาอันคล้อยตามอริยสัจก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับไป ถือเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

    13. โคตรภูญาณ คือ ผู้ที่ประกอบด้วยวิปัสสนาจิตที่มีพลังสูงสุดอันเกิดแต่ปัญญาที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนและภาวะอริยบุคคลหมายถึง ผู้ปฎิบัติที่กำลังจะเข้าสู่ขั้นอริยบุคคล

    14. มรรคญาณ คือ การสำเร็จให้เป็นอริยบุคคลต่อไป

    15. ผลญาณ คือ เมื่อเกิดมรรคญาณแล้ว ก็จะเกิดผลญาณต่อไปตามลำดับขั้นของอริยบุคคล

    16. ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณา มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่และพิจารณาการหลุดพ้น เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผล ในขั้นหนึ่งๆคืออริยบุคคล<O:p</O:p

    ทั้งหมดนี้คือ ลำดับขั้นของการวิปัสสนาญาณ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบลำดับขั้นของการวิปัสสนาญาณ แต่ถ้าปฎิบัติไปในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ผลก็จะเกิดขึ้นมาเองตามลำดับแน่นอน รวมไปถึงพัฒนาการก็ย่อมเป็นไปตามขั้นตอน ตามวาสนา บารมี อุปนิสัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละคนเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงก็คือความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นแจ้งตามความเป็นจริงของรูปและนามด้วยปัญญาของตนเองที่เกิดจากการวิปัสสนา ไม่ใช่เกิดเพราะกฎเกณฑ์ที่ใครวางเอาไว้ แต่เป็นกฎของธรรมชาตินั่นเอง
    การที่ผู้ปฎิบัติบางคนได้รู้และเข้าใจลำดับขั้นของการวิปัสสนาญาณที่กล่าวมาทั้งหมดด้วยปัญญาของตนเองแล้ว อาจมีข้อเสียที่เกิดตามมาดังนี้

    1. จะทำให้การปฎิบัติก้าวหน้าได้ช้า เพราะผู้ปฎิบัติคอยแต่จะเปรียบเทียบผลการปฎิบัติของตนเองกับข้อมูลที่ตนเองทราบมา จนทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน จิตไม่สงบ จึงทำให้ไม่เกิดปัญญาเสียที

    2. อาจทำให้ผู้ปฎิบัติเกิดความเย่อหยิ่ง ถือว่าเป็นผู้ที่ปฎิบัติได้สูงกว่าผู้ปฎิบัติคนอื่น อันนำมาซึ่งกิเลสชนิดหนึ่ง และมีผลสืบเนื่องให้เกิดกิเลสชนิดอื่นๆตามมาได้เช่นกัน

    3. ผู้ปฎิบัติอาจสร้างญาณเทียมขึ้นมาได้ เพราะตนองได้ทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องเกิดความเข้าใจ และความรู้สึกอย่างไร และเมื่อผู้ปฎิบัติอยากจะสัมฤทธิผลให้เร็วที่สุด จึงปรุงแต่งจิตให้ไปสู่ความรู้สึกเช่นนั้น ทั้งๆที่ความจริงแล้วปัญญาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นเลย แต่ผู้ปฎิบัติอาศัยจดจำมาจากตำราที่ได้ศึกษามาทั้งสิ้น ขนอาจทำให้ผู้ปฎิบัติเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้ก้าวไปสู่ขึ้นต่อๆไปได้แล้วจริงๆและอาจก่อให้เกิดมรรคผลเทียมขึ้นมาก็เป็นได้โดยที่ผู้ปฎิบัติเองก็ไม่รู้ตัวเช่นกัน

    มีบุคคลมากมายเข้าใจผลของการเจริญวิปัสสนาแบบผิดๆซึ่งมันก็เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะนอกจากกิเลสจะถูกทำลายด้วยการวิปัสสนาปัญญาอย่างถาวรแล้ว ยังอาจถูกข่มไว้ได้หลายวิธี เช่น ด้วยอำนาจของสมาธิ การพิจารณาแล้วข่มกิเลสไว้ การข่มด้วยสติ เป็นต้น แต่วิธีการเหล่านี้จะซ่อนกิเลสไว้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อจิตใจของคุณเกิดกิเลสมันก็พร้อมจะมาทำลายความสงบในจิตใจทุกครั้งไป
    ดังนั้น ผู้ปฎิบัติต้องระวังระหว่างที่ทำวิปัสสนาญาณ อย่าปล่อยให้เกิดญาณเทียมขึ้นเป็นอันขาด ปฎิบัติโดยรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ต้องสนใจผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า และไม่ต้องเปรียบเทียบการปฎิบัติกับทฤษฎีที่เรียนรู้มา ขอเพียงให้ศึกษาวิธีปฎิบัติให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก็เป็นอันใช้ได้ และสังเกตสภาวะที่เกิดขึ้นให้เห็นจริงในขณะนั้น เพียงเท่านี้ วิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติอย่างแน่นอน

    ประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนาญาณ

    1. ทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นภายในจิตใจ

    2. ถ้าผู้ปฎิบัติสามารถบรรลุโสดาบันอย่างแท้จริงแล้ว ตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไป จะไม่ตกนรก และไม่เกิดเป็นเปรตและสัตว์เดรัจฉานอีกต่อไป

    3. ช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี อวัยวะต่างๆภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นระบบ

    4. ทำให้เกิดปัญญา สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม

    5. บรรลุมรรคผลและนิพพาน โดยไม่ต้องกลับไปเกิดอีก 84 ชาติ ซึ่งสิ่งนี้เป็นจุดประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริงของพระพุทธศาสนา
    ทั้งหมดเป็นเพียงประโยชน์หลักๆของการเจริญวิปัสสนาญาณเท่านั้น เป็นการยากที่จะอธิบายให้เห็นประโยชน์ได้จริงๆจนกว่าผู้นั้นจะปฎิบัติและได้เห็นผลด้วยตนเอง แต่ก็อยากจะขอให้ผู้ที่ปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ จากบ่วงกรรมทั้งหลาย ให้คอยเตือนสติตนเองอยู่เสมอด้วยข้อธรรม ดังนี้

    1. อาตาปี คือ ความเพียรเพื่อเผากิเลส กล่าวคือ ผู้ปฎิบัติต้องมีความเพียรที่จะเห็นและเข้าใจธรรมชาติของรูปและนาม หรือกายและใจ เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในกายและใจอันจะทำให้เกิดกิเลสทั้งหลายถูกทำลายลงไปด้วย
    2. สติมา คือ ความระลึกได้

    กล่าวคือ ผู้ปฎิบัติต้องมีสติระลึกได้อยู่เสมอว่า ขณะนี้กายใจอยู่ในสภาวะเช่นไร คือ กายกำลังทำอะไร ใจกำลังคิดอะไร เป็นต้น คือความรู้ตัวทั่วพร้อม

    3. สัมปชาโณ หรือ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว กล่าวคือ การสังเกตสภาวะที่แท้จริงของกายและใจในขณะนั้นให้ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ เช่น สภาวะจิตที่กำลังเคียดแค้น ทำให้เกิดความทุกข์อย่างไรทำให้จิตใจเศร้าโศกอย่างไรคงามฟุ้งซ่านของจิตเป็นอย่างไรมีสิ่งใดเข้าไปกระทบภายในจิตใจบ้าง บังคับได้หรือไม่ แปรปรวนไปเรื่อยๆ หรือไม่ ตั้งอยู่ได้นานหรือไม่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นที่ร่างกายหรือจิตใจ

    ในช่วงแรกๆอาจยังเห็นไม่ชัดเจนและสังเกตเห็นรายละเอียดได้ไม่มาก แต่เมื่อฝึกได้นานๆขึ้น ก็จะเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้นและคุณก็จะสามารถเห็นแจ้งในธรรมชาติของกายและใจหรือรูปและนามได้เอง และนี่คือหนทางที่จะก้าวสู่ความหลุดพ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    เราจะเห็นได้ว่า การนั้งวิปัสสนามีประโยชน์ต่อจิตใจและร่างกายเป็นอย่างมาก พื้นฐานก็จะช่วยเราจิตใจสงบ มีสมาธิ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆก็ประสบความสำเรน็จได้ง่ายๆและถ้าเราฝึกอย่างสม่ำเสมอทุกวันก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแน่วแน่ เกิดสติและปัญญาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเมื่อฝึกในขั้นสูงขึ้นไปนั้นจะทำให้เราได้ใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆทั้งร่างกายและจิตใจ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้อย่ายึดมั่นถือมั่นว่ามันเป็นของเรา สังขารมีเกิดก็ย่อมมีการดับไป นั่นคือสัจธรรมที่แท้จริงของชีวิต

    เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการวิปัสสนคือ การเห็นแจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย เห็นถึงสภาวธรรมต่างๆตามความเป็นจริงรู้เท่าทันจิตในทุกขณะ เห็นแจ้งในรูปและนามหรือกายและใจอย่างละเอียด หมั่นปฎิบัติทุกๆวันอย่างสม่ำเสมอแล้วคุณจะรู้ถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการเจริญวิปัสสนานี้ด้วยตัวคุณเอง…

    <O:p</O:p
    ที่มา http://www.thammaonline.com/13244<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...