ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย na_krub, 12 ตุลาคม 2017.

  1. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    5F5416AA-31D9-423D-8661-8565783F98F2.jpeg

    ลูกศิษย์ : บทพระคาถาของหลวงปู่ที่ให้ว่า “พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะโม พุทธายะ” บทพระคาถานี้ถ้าบุคคลนั้นหมั่นสวดอยู่บ่อยๆนี่ ถ้าหากเกิดว่าผู้นั้นยังไม่พ้นทุกข์พ้นภัย ก็ถ้าเกิดว่าตายไปจะได้ไปสวรรค์ไปนิพพานได้มั้ยครับหลวงปู่

    หลวงปู่ : อ้าว..ชื่อเค้าก็บอกแล้วไม่ใช่เหรอจ๊ะ คาถาสืบสร้างสวรรค์พระนิพพาน ก่อนจะไปนิพพานต้องไปสวรรค์ตั้งต้นที่คุณงามความดีให้ได้เสียก่อน อันว่าเมื่อมีภาวนาพระคาถาไว้แล้ว..จิตย่อมตั้งมั่นเข้าถึงความสงบ ย่อมตั้งมั่นเข้าถึงฌาน เข้าถึงสมาธิได้ เข้าถึงปัญญาได้

    เมื่อเข้าถึงปัญญาได้ เมื่อปัญญามันมีมากอบรมบ่มจิตเข้าถึงในเหตุเภทภัยในวัฏฏะได้..มันก็ย่อมเข้าถึงกระแสพระนิพพานได้เช่นกัน มันอยู่ที่ว่าเมื่อโยมภาวนาจิตไปแล้ว อาศัยองค์ภาวนานี้เพื่อให้เข้าถึงความสงบ เข้าถึงตัวสมาธิ เข้าถึงปัญญา แล้วน้อมนำปัญญา..ปรารถนาสิ่งใด..มันก็ได้สิ่งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ไม่ใช่ว่าเอาไปภาวนาเพื่อให้มันได้ฤทธิ์ได้เดช ได้โชคได้ลาภ..อย่างนั้นมันจะหาสวรรค์นิพพานก็ไม่เจอหรอกจ้ะ ทุกอย่างล้วนแล้วเป็นอุบายแห่งธรรมทั้งนั้น..

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  2. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    E36C4239-8278-4D97-9618-A0D74D7D5C1A.jpeg

    ธรรมมีอยู่แล้วมากมายมหาศาล เพียงแค่ใบไม้ใบเดียวมาบอกโยมใบเดียว..มันก็ไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว แต่ว่าเรื่องธรรมจะว่ายังไง สุดท้ายมันก็จบที่ตัว"ทุกข์"ตัวเดียว เข้าใจมั้ยจ๊ะ ตัว"อยาก"ตัวเดียวที่ทำให้มีธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดับตัวอยากตัวเดียวก็ดับทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือดับที่..ใจดวงเดียว

    คนบอกว่าถือศีลนั้นก็เป็นหนักเป็นทุกข์ต้องคอยมาระวังศีล เป็นพระเป็นเจ้าศีลก็มีมากอีก โยมถือศีลข้อเดียวก็ได้ก็บรรลุธรรมได้ อ้าว..ศีลข้อเดียวจะเป็นมนุษย์ได้ยังไง จะบรรลุธรรมได้ยังไง? ก็ในพระพุทธกาลท่านก็ถือศีลข้อเดียว ศีลไม่ได้ถือข้อเดียวแต่ถือหลักอย่างเดียว คือรักษาใจให้สงบ เห็นมั้ยจ๊ะ..

    ใจสงบแล้วศีลจะเป็นพันข้อ สมมุติบัญญัติของศีลนั้นเป็นหมื่นข้ออะไรก็ตาม..จบที่สงบที่ใจดวงเดียว เพราะศีลนั้นเป็นแค่อุบายเครื่องหล่อเลี้ยงใจให้จิตมันสงบ ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ศีลเหมือนกำแพงมาปิดกั้นห้อมล้อม ไม่ให้อวิชชากิเลสตัณหาเข้ามาสมทบให้มันมีกำลังมาก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แล้วเมื่อเรารู้แล้วว่าจิตเราสงบแล้ว ลองดูซิว่าไส้ศึกหรือมารภายในที่มันอยู่ในนี้มีอะไรที่มันยังขุ่นเคืองจิตอีก เราก็กำหนดละออกไป..ละออกไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ ด้วยอาศัยศีลนี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ไม่ให้ศัตรูภายนอกหรือมารมันเข้ามาแทรกให้เพิ่มขึ้นอีก เมื่อภายในไฟมันมีน้อย..เราก็สามารถกำจัดมันได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ คือดับมันเท่าทัน

    นั้นเมื่อยังดับไม่เท่าทันด้วยสติยังไม่เท่าทัน เราก็ต้องมีองค์ภาวนาเข้ามา เรียกกำลังจิตเข้ามา กำลังจิตเราจะเรียกมาเท่าไหร่ก็ได้ จะเป็นร้อยชาติพันชาติแสนชาติเราอธิษฐานเข้ามา ที่เราเคยสะสมบารมีในทาน ศีล ภาวนามา ข้าพเจ้าขอหล่อหลอมดวงจิตเข้ามาเป็นหนึ่ง ณ บัดนี้ กาลนี้ ขอให้ข้าพเจ้าทำอะไรไม่ว่าจะเจริญทาน ศีล ภาวนา เนกขัมมะบารมี ทำให้เกิดวิชชาปัญญา ให้เข้าถึงตัววิมุติ ให้เราอธิษฐานขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    จิตในขณะที่โยมอธิษฐานตั้งจิตปักลงไปนี้จะมีกำลังมหาศาล จดจ่อตั้งมั่นบวกกับการอธิษฐานบารมีมา บารมีที่โยมสะสมมาไม่ว่าจะเป็นในเอนกชาติจะมาหล่อหลอมรวมกันในขณะนั้น จิตโยมจะแกร่งเป็นหนึ่ง ขณะที่โยมง่วงอยู่มันจะมีการระเบิดออกไป เพราะธาตุทั้ง ๔ มารวมตัวกัน เกิดการระเบิดออกไป จิตเบิกบานแจ่มใสตั้งมั่น เข้าใจมั้ยจ๊ะ อวิชชาที่มันครอบมันครอบอยู่ไม่ได้..เพราะโยมอธิษฐานบารมี แรงอธิษฐานนี้สำคัญนัก เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วถ้าโยมอยากรู้บารมีของตัวเอง ถ้าโยมอธิษฐานบารมีลงไป ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานบารมีที่ข้าพเจ้าได้ทำการเจริญบารมีตบะนี้ ในทาน ศีล ภาวนานี้ให้เกิดปัญญา เกิดตัวรู้ เกิดวิชชา ให้อธิษฐานไป แล้วนั่งไปจนจิตตื่นนั้นแล..โยมลองอธิษฐานไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  3. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    0FDC00B0-2BCD-489B-A8CD-AB66AF6FBDEC.jpeg

    ความง่วงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง โยมจงเอาเวทนาไปดับเวทนา ฟังไว้นะจ๊ะ เวทนาดับเวทนา หรือเวทนาในเวทนาเป็นอย่างไร อย่างที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสไว้ ให้มีสติอยู่ในฐานทั้ง ๔ นี้คือที่ตั้งมั่นแห่งธรรม นั้นเป็นอย่างไรว่าเวทนาดับในเวทนา เห็นมั้ยจ๊ะ นั่นก็หมายถึงว่าเมื่อโยมมีความง่วงให้โยมนั่งทรงอารมณ์ในความง่วงไป ภาวนาไป ถ้าไม่มีแรงภาวนาให้โยมดูลมหายใจไป..

    ที่ฉันบอกว่าความง่วงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง แล้วต้องเอาเวทนามาข่มมาตัดมัน..ทำอย่างไร เช่นโยมนั่งไปในความง่วง นั่งไปภาวนาไปทรงสมาธิไป ถ้าไม่มีกำลังพิจารณาโยมก็ดูลม ดูกายอย่างนี้ ตั้งสติอยู่ในกายอย่างนี้ ทรงไว้ประคองไว้อยู่อย่างนี้เค้าเรียกว่าเจริญฌานไป แม้ฌานมันจะอ่อน ร่างกายสังขารมันจะอ่อน โยมก็ทรงตั้งสติไว้อยู่อย่างนี้

    ไม่นาน..ความเมื่อยล้าก็บังเกิด ความปวดแข้งปวดขามันก็บังเกิด โยมก็ดูเวทนานั้นไปอีกทีหนึ่ง แล้วเมื่อมันมีเกิดเวทนาทั้งสองเวทนาเกิดขึ้น ทีนี้เวทนามันจะสู้กันเอง แต่คราวนี้โยมจะเป็นผู้ดู..ผู้รู้..และต้องวาง เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่เอาจิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน ตอนแรกก็เกี่ยวข้อง ตอนหลังมันจะเริ่มไม่เกี่ยวข้องแล้ว..เพราะอะไรจ๊ะ ในความง่วงมันยังไม่ใช่เวทนาที่ทำให้ทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ในความง่วงไม่ใช่เวทนาที่ทำให้เราทุกข์ เพราะว่าเมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นจากขาก็ดี หลังก็ดี เอวก็ดี อันนี้มันเป็นเวทนาที่ทำให้เรารู้สึกว่าทุกข์..เริ่มปวด นั่นแหล่ะจ้ะ..เวทนานี้มันจะไปข่มมัน สติเราจะตั้งมั่นขึ้นมาในขณะนั้น แล้วให้เอาเวทนาที่มันเกิดขึ้นที่เรารู้สึกได้..การรู้สึกได้เค้าเรียกว่ารสแห่งธรรม หรือเหตุแห่งธรรมได้ปรากฏขึ้น ก็เอาเหตุแห่งธรรมนั้นแลน้อมจิตเข้าไป ด้วยสติไปปักรู้อยู่ในขณะนั้น แล้วเวทนาที่โยมว่าง่วงมันจะเริ่มคลายตัวลง

    เพราะทุกข์ที่แท้จริงมันบังเกิดขึ้นแล้ว เวทนาของความง่วงไม่ใช่ทุกข์ที่แท้จริง แต่เวทนาแห่งความง่วงนั้นมันเป็นแค่อวิชชาที่มันเป็นตัวมาคลุมที่บดบังตัวปัญญา แต่เวทนาที่เกิดขึ้นในกายอย่างแท้จริงคือทุกข์ก็ดีที่เจ็บแข้งเจ็บขาปวดเมื่อยก็ดีนั้น มันเริ่มปวดเริ่มเจ็บ นั้นที่เราเมื่อเห็นเวทนาแล้วที่เกิดขึ้น สติมันปักลงแล้ว มันจะรู้เลย โอ้..ทุกข์ได้เกิดขึ้น สติมันจะเกิดขึ้นทันที ไม่ว่าโยมจะไปง่วงที่ไหนมา ไปอยู่ตรงไหนก็ตาม จิตมันจะมารวมอยู่ตรงเวทนานั้น เราก็เอาสติปักลงในเวทนานั้นแล เค้าเรียกว่า “เวทนาในเวทนา”

    เค้าเรียกว่ามีเวทนาซ้อนขึ้นมาอีกนั้นเอง พอซ้อนเวทนามันมีซ้อนแล้วมันก็ไปดับไอ้ตัวนั้นไอ้ตัวที่ว่าความง่วง แล้วถ้ามีความเจ็บขึ้นมาในเวทนานั้น อีกไม่นานเริ่มมีความปวด เวทนาตัวใหม่เข้ามาอีก มันก็ทับลงไปอีก มีปวดแล้วมันมีมากกว่านั้นอีก เห็นมั้ยจ๊ะ งั้นโยมต้องข้ามเวทนาเป็นทีละขั้นทีละขั้น มีความหนักขึ้นหนักขึ้น เมื่อมันมีเจ็บยังทนได้ แต่เริ่มมีปวดมันจะยุบเริ่มหายเพราะจิตจะเข้าไปจับแล้วปล่อยวาง จิตจะเข้าไปจับแล้วปล่อยวาง ดังนั้นแล้วไอ้ปวดนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยรอด

    เมื่อเราไม่ค่อยรอดต้องทำยังไง นั้นเราก็ต้องใช้ปัญญาไปเกี่ยวข้อง อุบายแห่งธรรมนี้แลเป็นเลิศกว่า นั้นก็เมื่อว่าเจ็บยังทนได้ แต่เมื่อปวดทนไม่ได้ทำยังไง เราก็ไปกำหนดรู้ที่เหตุ มันปวดที่ไหน สมมุติว่าขา ปวดขาแล้วกำหนดรู้ที่ขา แต่ขานี้ก็เป็นสังขารเรียกว่าเป็นกาย..เป็นส่วนหนึ่งของกาย

    โอ้..ทุกข์มันเกิดอยู่ที่นี่เอง แล้วถ้าไม่มีขาจะปวดมั้ยจ๊ะ ถ้าไม่มีขา..ไม่ปวด แล้วจะทำยังไง สมมุติว่าไม่มีขา..ตัดอารมณ์นี้ไป หรือถ้ามันตัดยังไม่ได้จริงๆ ด้วยปัญญายังไม่ถึงในการพิจารณา ให้เราไปพิจารณาในกายคือเพ่งโทษว่ากายนี้เป็นของมีแต่ทุกข์อย่างเดียว ไม่ควรยึดเลย มันเจ็บขนาดนี้ยังบอกว่าน่าอยู่น่าอาศัยน่าภิรมย์ ใช่มั้ยจ๊ะ

    เมื่อเราไปเพ่งโทษมันเมื่อไหร่เหมือนกับการเรารีดพิษออก หรือละไฟออกในสามกองในขณะนั้น โทสะ โมหะ โลภะเนี่ย ไม่ว่าไอ้ตัวไหนมันเกิดขึ้นมาตัวหนึ่ง..ไอ้โมหะ โลภะมันจะตามมาเพราะมันเป็นบริวาร ตัณหาราคะอรดีมันจะตามมาพร้อมกันหมด ดังนั้นแล้วเมื่อเราตัดลงไป เพ่งโทษในกายเข้าไป เวทนาที่มันเจ็บมันปวดอยู่มันจะเริ่มซามันเริ่มจะเบา ทีนี้มันจะเริ่มเปลี่ยนจากปวดมันจะเริ่มเป็นเหน็บชา เหน็บชาทีนี้มันก็จะเริ่มกระจายความปวดไปทั่วๆแล้วทีนี้ มันจะไม่ปวดขาอย่างเดียวแล้ว มันจะปวดทั่วตัวทีนี้ มันจะร้าวไปหมดเหมือนแผ่นดินจะแยก เพราะธาตุขันธ์มันถูกบีบ คือจิตมันทรมาน..มันก็เลยบีบธาตุขันธ์ไว้ กดทับไว้ เลือดลม ไฟ ดิน น้ำมันไม่สะดวกแล้ว มันขัดข้องไปหมด ทีนี้มันก็จะออกทางทวารก็ดี ทางรูขุมขน ทางกระหม่อมก็ดี ขอให้โยมมีขันติธรรมอธิษฐานบารมีใส่ลงไปอีก

    นึกถึงตอนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้าที่ท่านยังเสวยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะอยู่นั่งบัลลังก์อธิษฐานอยู่ “ข้าพเจ้าขออธิษฐาน หากข้าพเจ้ายังไม่บรรลุธรรม บรรลุถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าสงสัยอยู่นี้ จะไม่ขอลุกออกจากบัลลังก์นี้ แม้ร่างกายจะเหือดแห้ง ขอเอาร่างกายสังขารนี้ยกถวายให้พระรัตนตรัย คุณพระบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์ทั้งหลาย ผู้มีคุณ เทพเทวดาทั้งหลายที่มีส่วนได้เกี่ยวข้องในบุญกุศลในบารมีที่เคยอุดหนุนค้ำชูข้าพเจ้ามาไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด ชาติใดก็ตาม จงมารวมตัวเป็นบารมีเป็นตบะเดชาให้ข้าพเจ้านี้ให้ข้ามพ้น ข้ามวัฏฏะสงสาร ข้ามสิ้นสงสัยนี้ที่ข้าพเจ้าสงสัยอยู่” ให้อธิษฐานลงไป

    ความแรงอธิษฐานมันจะไปช่วยกดทับ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั่นแหล่ะคือฌาน เพราะเราเพ่งอารมณ์ลงไปในอธิษฐานจิตบารมี แล้วกำลังใจโยมก็จะมีความฮึกเหิม มีความตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว เมื่อตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวแล้วมันมีความหนักเข้ามาแล้วทีนี้ เวทนา..อะไรที่มันหนักมากแล้วไปกดทับในสิ่งที่เป็นอัตตาเมื่อไหร่..แตกมั้ยจ๊ะ นั่นแหล่ะจ้ะโยมฝึกไป แล้วโยมจะข้าม..แล้วดูมันแตกกระจายเมื่อไหร่ โอ้..นั่นแหล่ะจ้ะมันเป็นอย่างนั้น..

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  4. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    3125D738-E024-47BA-AC10-B8AD183751E8.jpeg
     
  5. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    1DCB0DF6-870D-4CB0-9E50-80097B164941.jpeg

    ธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าธรรมเป็นของใครก็ดี ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงก็ให้วางไว้ เพราะธรรมนั้นก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ธรรมใดเราไปคิดแล้ว ระลึกแล้ว แล้วเป็นทุกข์ แสดงว่าธรรมนั้นไม่ใช่ธรรมที่ดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าธรรมนั้นเราระลึกแล้วเกิดปัญญา ไม่ก่อโทษแล้ว..ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ดีต่อเรา แต่ถ้าธรรมใดที่เรายังเข้าไม่ถึงก็อย่าได้ไปปรามาสธรรมนั้น เพราะว่าจิตนั้นปัญญานั้นยังเข้าไม่ถึง เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ก็ขอให้เรานั้นกำหนดรู้ในธรรมนั้นไว้ เมื่อจิตของเรานั้นมันเต็มบริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาด้วยสติ ธรรมนั้นจะกลับมาหาเรา ให้เราเกิดตัวรู้มาสอนเราในภายภาคหน้า

    นั้นการฟังธรรมมากก็เป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง เพราะว่าสิ่งที่เราไม่รู้เราจักได้รู้ สิ่งที่เรารู้แล้วได้ฟังซ้ำอีกก็จะยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น มันจะทำให้เรานั้นคลายความสงสัยลงเสียได้ การที่เราวางความสงสัยได้ จิตเราก็จะสงบได้ ตั้งมั่นได้ง่าย นี่เป็นอานิสงส์การฟังธรรม เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    เขาจึงได้บอกว่า การฟังธรรมนั้น เทพเทวดาเขาถึงบอกว่าหาโอกาสได้ยากยิ่งนัก ธรรมนี้ฉันว่าหาฟังยากนัก หนึ่งโยมต้องพร้อม สองต้องได้กาลเวลา สามต้องมีวาระแห่งกรรมแห่งธรรมนั้น เห็นมั้ยจ๊ะ ใช่มั้ยจ๊ะ ดังนั้นของเหล่านี้ การฟังธรรมนั้น จึงว่าเป็นมงคลอย่างเลิศ แล้วการที่โยมได้ฟังธรรมแล้ว แล้วน้อมธรรมนั้นมาประพฤติปฏิบัติ..นี่ยิ่งเป็นมหามงคลเลิศเข้าไปใหญ่

    ดังนั้นโยมอย่าได้ไปสนใจว่าที่นี่คนมากคนน้อย สถานที่ไม่โอ่อ่าใหญ่โต โยมจงจำไว้หนึ่งอย่าง สถานที่เรียนรู้วิชาขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมีแต่ป่า ต้นไม้ ลำธาร ไม่มีอะไรวิจิตรพิศดารเลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ ท่านยังสำเร็จธรรมได้ เอาไม่ยาก เรายิ่งละได้มากเราก็ยิ่งเข้าถึงธรรมได้มาก สถานที่ใดมีความเอื้ออำนวยไปทางกิเลสกามสุขมาก ความสะดวกสบายมาก ก็หาเข้าถึงธรรมได้ยากเช่นเดียวกัน

    ดังนั้นอะไรที่มันเป็นความสะดวกสบายเรา แต่เราพยายามไม่ไปใช้ไปบริการนั่นแล นั่นเรียกว่าผู้นั้นกำลังเจริญธรรมไปในตัว เข้าใจมั้ยจ๊ะ อย่าได้ไปน้อยอกน้อยใจว่าสถานที่ที่เรามาประพฤติปฏิบัติ แหม ไม่สมกับบารมี..ไม่จริง โยมยิ่งติดดินมากเท่าไหร่ โยมก็แข็งแรงมากเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมไม่สะดวกสบายอะไรมากเท่าไหร่ มันไปขัดเกลากิเลสของโยมอย่างดี...

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  6. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    7D5C5923-5B1B-4CAB-888F-298543E1B2F4.jpeg

    การเพ่งโทษในขันธ์ ๕ คือการละอารมณ์ ละให้มากที่สุด เพราะหัวใจของกรรมฐานคือการเพียรละ เมื่อละถึงที่สุดแล้วไม่มีอารมณ์แล้วจิตมันก็สงบ จิตมันก็ว่าง นั่นแลเรียกว่าเราเข้าถึงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่เมื่อพุทโธเกิดขึ้นแล้วก็เอาพุทโธนั่นแลไปอบรมบ่มจิต ไปอบรมบ่มจิตไปอบรมที่ไหน..กาย กายานุสตินี้แลเราอบรมเรียนรู้มันให้มากๆ

    เพราะที่เราไปหลงกายอยู่นี้ ไปหลงอะไร หลงหนัง..หนังเมื่อไม่มีห่อหุ้มกายแล้วจะเป็นอย่างไร ใต้ผิวหนังเรามีอะไร มีน้ำเลือดน้ำหนอง..ก็เพ่งพิจารณาดูธาตุ สีสันวรรณะ น้ำเลือดน้ำหนอง ก็ให้พิจารณาอย่างนี้ ถ้าเราพิจารณาได้อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเห็นสภาวะความไม่เที่ยงนั่นแล ก็เราให้พิจารณาให้เห็นอยู่บ่อยๆ จะทำให้จิตเรานั้นคลายจากความกำหนัด ความยึดมั่นถือมั่นในกาย แม้เรายังมีหลงรูปพอใจ มันก็เป็นธรรมดาในขณะจิตที่เรานั้นออกจากสมาธิออกจากฌานเสียแล้ว มันก็จึงเป็นวิสัยของมนุษย์ธรรมดา

    แต่เมื่อในขณะจิตที่เราเจริญกรรมฐาน เราต้องน้อมจิตเพื่อเข้าถึงเพื่ออะไร..เพื่ออบรมบ่มจิต เรานั้นแล..เมื่อเราเห็นโทษเห็นภัยมันมากเข้าแล้ว มันจะละรูปละความพอใจของมันไปในตัวทีละเล็กทีละน้อย ดังนั้นไม่ต้องถามว่าการเจริญพระกรรมฐานนี้มันจะสิ้นสุดอย่างไร กิเลสมันจะดับสลายไปตอนไหน..ไม่ต้องไปถามหามัน มันจะทำให้อุปาทานในขันธ์เกิดขึ้น

    แต่เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ ละอยู่บ่อยๆ ในขณะนี้ทำตอนนี้ นั่นแลมันจะเป็นผู้บอกเองว่าเราจะละได้มากเท่าไหร่ การเจริญกรรมฐานมีความก้าวหน้าอย่างไร จะรู้ได้อย่างไร ดูซิว่าโกรธมันลดลงมั้ย โลภมันลดลงมั้ย โลภะมันเหลือน้อยมั้ย ถ้าสามตัวนี้พิจารณาแล้วเพ่งดูแล้วด้วยจิตด้วยญาณมันน้อยลง ถ้ามันน้อยลงสติของเราจะควบคุมมันได้ แต่ถ้ามันมากเหมือนความเร็วของรถถ้ามันเร็วจนเกินไปเราจะควบคุมยาก ถ้าเราขับพอประมาณอยู่ในวิถีสติของเรากำลังของเราในความสามารถ เราก็จะบังคับบังเหียนมันได้ เท่าทันมันได้ในสตินั้น คือไม่ประมาท

    นี่ก็เช่นกัน สิ่งที่เรามาเจริญกรรมฐาน บุญกุศลที่เรามีอยู่มันพัฒนาอย่างไร ถ้าสิ่งไหนลด..คุณธรรมภูมิธรรมเราก็เพิ่ม ถ้าสิ่งไหนมันเสื่อม..คุณธรรมภูมิธรรมเราก็ลด ก็ให้พิจารณาอย่างนี้ ไม่ต้องไปถามครูบาอาจารย์ที่ไหนว่าฉันนั้นสำเร็จขั้นไหนแล้ว ได้ภูมิธรรมอะไร ไม่ต้องไปถามหาขั้น เพราะบุคคลประพฤติปฏิบัติแล้วจะรู้ด้วยจิตของตัวเอง

    หากโทสะ โมหะ โลภะ ไอ้พญามารสามตัวนี้ โยมสามารถควบคุมและลดมันลงไปได้ ถ้าเราสามารถลดมันได้ ควบคุมมันได้ ทีนี้แล้วเมื่อเรากำหนดรู้อยู่บ่อยๆมันก็เป็นประโยชน์ เราจะได้รู้ว่าทางเดินที่เราจะออกจากทุกข์นั้นมันอีกไกลแค่ไหน ความเพียรเราต้องมีมากแค่ไหน..

    ดังนั้นทุกข์เวทนาเค้าไม่ได้ให้มาเป็นทุกข์ แต่เค้าให้รู้ทุกข์ ทีนี้โยมรู้ถึงที่สุดหรือยัง บางคนยังไม่รู้ถึงที่สุด พอเจ็บนิดก็ทนไม่ได้ เมื่อเรายังไม่มีการข่มเวทนาหรือข่มอารมณ์..นี่เรียกว่าการสะกดวิญญาณ ถ้าเราไม่รู้จักสะกดวิญญาณ อารมณ์มันจะพลุ่งพล่านอยู่ตลอดเวลา

    ดังนั้นเวทนาเกิดขึ้นก็ดี ความไม่พอใจก็ดีเราต้องรู้จักข่มจิต คือข่มอารมณ์ ต้องทำใจให้ได้ก่อน..ว่าเราทำไปเพื่ออะไร เรากำลังทำอะไรอยู่ มันต้องรู้ใจตัวเองก่อนถึงจะไปรู้อารมณ์ แล้วถึงจะไปรู้สภาวะจิตได้ ถ้าเราไม่รู้จักข่มจิตข่มใจเสียเลย..หิริโอตัปปะมันไม่มีทางเกิดขึ้นได้แน่นอน เทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิมันไม่สามารถหนีจากเราไปได้แน่นอน มันก็จะเกาะบุญเกาะกุศล ทำให้เราหลงฤทธิ์หลงเดช หลงตัวหลงตน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนเทวดาที่อยู่กับเราเสียให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เปลี่ยนอะไรเล่าที่จะเป็นอย่างนั้น เปลี่ยนจากตัวเรา เปลี่ยนจากต้นกำเนิดตัวเรา ให้เรามีศีล ให้เรามีหิริโอตัปปะ ให้เรามีความเกรงกลัวต่อบาป สิ่งไหนที่เรามีโอกาสที่จะทำชั่วได้โดยที่ไม่มีใครเห็นก็ตาม..แต่เราไม่ทำ นั่นแลเค้าเรียกว่า"บารมี" มีขันติธรรม นั้นก็ค่อยๆฝึกไปทีละเล็กละน้อยมันจะมากเอง ต้องอย่าลืมว่าทีละเล็กละน้อย..บุญที่ทำแล้ว กรรมชั่วก็ดีทำแล้วแม้เพียงเล็กน้อย..ไม่มีทางหายไปเลย ยังคงอยู่เป็นรอย เมื่อขีดไปแล้วจะว่าไม่เป็นรอยเป็นไปไม่มี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  7. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917


    ธรรมะมหัศจรรย์ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒
    ณ สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ (เพชรบุรี)
    ๐๘๔ ๘๙๓๖๙๖๑ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒ (กรุงเทพ)
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    0C5E7976-B6C6-4F38-8A58-4ECAF8C1B956.jpeg

    การประพฤติปฏิบัติไม่ว่าโยมจะทำอะไร ถ้าโยมมีสติจิตโยมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ส่งจิตออกไปภายนอก ไม่เอาอะไรอารมณ์จิตของผู้อื่นมารบกวนให้จิตนั้นเศร้าหมองแล้ว..โยมจะมีกำลังจิตอยู่ตลอดเวลา อาการใดที่เรานั้นจิตเรานั้นมันทำให้เรานั้นจิตเราเสื่อม พอเราจะเจริญความดี ความง่วงเข้ามาหา จะนั่งสมาธินิวรณ์มันก็เข้ามาครอบงำ..เหล่านี้เพราะว่าอะไร เราไปรับกรรมคนอื่นเค้ามา ไปฟังคนโน้นคนนี้เค้ามา..

    เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้กรรมเหล่านี้ สรรพวิญญาณเหล่านี้ ดวงจิตอันนี้ให้มันหลุดไป ให้เรารู้จักปล่อยวางซะ การปล่อยวาง..จะให้มันปล่อยวางทีเดียวเลยไม่ได้ มันต้องมีอุบาย..ก็คือการเจริญเมตตาแผ่ออกไปก่อน นี่..มันจะทำให้จิตปล่อยวาง การแผ่เมตตานี่คือการทำให้จิตปล่อยวาง การอโหสิกรรมนี่คือการตัดอาฆาตพยาบาท เป็นการสมานแผลอย่างดี เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นก่อนที่โยมจะเจริญกรรมฐานฌานวิถีนั้นให้โยมแผ่เมตตาออกไปซะ แผ่เมตตาเสร็จขอขมากรรมพระรัตนตรัย กรรมใดที่เราไปล่วงเกินกับใครไว้ ไม่ว่าเด็ก คนชรา พิการ อะไรได้ทั้งนั้น อโหสิกรรมไป อ่อนน้อมจิตเข้าไป ด้วยความสำนึกผิดในนั้น เพื่อการสำรวมระวังในคราวต่อไป จะไม่กระทำให้เกิดขึ้น เราก็พิจารณาอโหสิกรรมขอขมากรรม

    การขอขมากรรม การอโหสิกรรม..มันต่างกัน การขอขมากรรมคือสำนึกผิด การขอขมากรรมกับขออโหสิกรรมแตกต่างกันอย่างไร ขอขมากรรม..คือเราต้องสำนึกในสิ่งที่เราทำไป แต่ขออโหสิกรรมคืออะไร..คือการให้อภัย คือใครทำกรรมกับเราไว้เราก็ให้อภัย เราไปทำกรรมกับใครไว้เราก็ต้องขอขมากรรม..อย่างนี้เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าทางชาวโลกเค้าบอกว่า..ขอโทษ

    ถ้าโยมไม่ค่อยมีอัฐมีเบี้ยไม่มีกำลังทรัพย์ โยมสร้างทาน เอากายสังขารไปสร้างทานให้มากๆ ไม่มีอัฐเบี้ยก็เอาแรงกายสังขารสร้าง ถ้าจิตยังไม่มีความสุข..ให้ทานด้วยรอยยิ้มให้มากๆ ถ้าโยมทำได้อย่างนี้โยมจะได้รอยยิ้มมากมาย แล้วโยมจะมีกำลังใจ

    อันดับแรกให้หัดยิ้มกับหมาก่อน เดินผ่านสุนัขก็ยิ้มแย้ม เพราะพวกนี้เค้ารับรู้ได้ เค้าเป็นมนุษย์เหมือนโยมแหล่ะจ้ะ แต่กายสังขารเค้าเป็นแค่สุนัขเท่านั้น เค้าถึงได้บอกว่าเจออะไรให้เรายิ้ม ต้นไม้เราก็ยิ้มได้ รอยยิ้มนี่เป็นทานมหาศาล คนที่มีใบหน้ายิ้มนี่อิ่มบุญนะ เค้าได้บุญตั้งแต่เกิดแล้ว บุญเกิดมาได้บุญ ทีนี้ทั้งวันมันจะอิ่มบุญไปหมด แล้วมันจะไม่หงุดหงิด

    นั้นรอยยิ้มต้องให้เป็นทาน เมื่อให้รอยยิ้มเป็นทานมากๆนี่ล่ะจ้ะ พอโยมทำทานมากๆทรัพย์มันจะมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วเมื่อโยมให้กำลังใจคนมากๆโยมตกทุกข์ได้ยากต่อไปจะมีคนช่วยเหลือ เพราะบางทีโยมไม่ต้องไปช่วยเหลือเค้าด้วยเงินทองหรอกจ้ะ เค้าต้องการแค่รอยยิ้มเป็นกำลังใจมากกว่าเงินร้อยล้านพันล้านแล้ว นี่มันคืออย่างนั้น

    เค้าถึงได้บอกว่าบารมีทางธรรมกับบารมีทางโลกต่างกันอย่างไร สิ่งที่โยมทำในทางโลก..บารมีทางโลกของโยม บางคนมีกรรมทางโลก เช้าเดี๋ยวก็ต้องวิ่งไปทำงาน..นี่โยมยังไม่หมดหนี้กรรมในทางโลก บารมีทางธรรมเป็นอย่างไร..โยมจะมีเวลาว่างที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมโดยไม่มีความกังวล นี่เค้าเรียกว่ามีบารมีทางธรรมแล้ว เรียกว่าใช้ทางโลกมาพอสมควรแล้ว เทวดาเค้ามาอุดหนุนค้ำชูแล้วนั่นเอง

    เมื่อโยมเข้าถึงในพระรัตนตรัยเมื่อไหร่เทวดาเค้าจะเลี้ยงดู เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่คนที่ต้องอยู่ทางโลกอยู่ต้องเป็นเวรอยู่ เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะโยมใช้หนี้เขาไม่หมด เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะฉะนั้นเค้าถึงบอกว่าถ้าจะรอให้หมดหนี้ทางโลกทีเดียวเลยก็ยาก งั้นโยมก็ต้องแบ่งเวลามาทางธรรมบ้าง เหยียบไปทั้งคู่เลย พอถึงมีเวลาทางธรรมเราก็มา พอถึงเวลาทางโลกเราก็อย่าให้เสีย เค้าถึงได้บอกว่าคนที่มีโอกาสประพฤติปฏิบัติธรรมก็ยังไม่เห็นโอกาสไม่เห็นคุณของตัวเอง

    นั้นขอให้คิดว่าโยมไม่มีเงินไม่มีทองไม่มีอัฐไม่มีเบี้ย..ให้โอกาสเป็นทาน โยมเอาแรงกายโยมไปทำงานเค้าต้องให้ค่าจ้างมั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : ให้ค่ะ) เค้าเรียกว่าค่าแรง มันเป็นธรรมดา นั้นเราไม่มีกำลังทรัพย์มาก ไม่ต้องรอให้มีกำลังทรัพย์มาก กำลังกายเรามีจะให้เสียประโยชน์ไปทำไม นั้นแรงกายไม่ต้องรอให้มีทรัพย์..สละได้ นี่เค้าเรียกว่าการสร้างทานบารมี

    พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าการให้ทานไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์อย่างเดียว เพราะว่ากายสังขารเรานี้คือทรัพย์อันเป็นมงคลแล้ว เป็นอริยทรัพย์ทุกอย่างที่บิดามารดาท่านให้มา..เป็นทรัพย์อันประเสริฐ ร่างกายสังขารเรานี้เป็นทรัพย์ทั้งหมด บางคนก็มีรูปเป็นทรัพย์ แล้วยังมีทรัพย์ภายในกับทรัพย์ภายนอก นั้นอย่าว่าตัวเองไม่มีทรัพย์อะไรเลย..ไม่จริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  9. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    มนุษย์มีไฟ ๓ กองที่ยังดับไม่ได้ ก็เพราะว่ามีโทสะ มีโมหะ โลภะ ใช่มั้ยจ๊ะ แต่ไฟ ๓ กองนี้ถ้าใครคุมได้ก็จักได้ประโยชน์ เพราะว่าถ้าไม่มีการเกิด ไม่มีการจุติ ไม่ได้อาศัยโลกของมารโยมก็จักไม่ได้สร้างบุญบารมี แต่ถ้าใครเพลิดเพลินเกินกำลังแห่งไฟทั้งหลาย เมื่อสิ่งใดที่มันเกินย่อมมีโทษ หากมันน้อยมันก็มีโทษอยู่ดี แต่ถ้ามีความพอดีและพอใจ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมสมดุล

    ตอนนี้โลกกำลังถูกเบียดเบียน ขาดแคลน ขาดสมดุล สิ่งไหนที่มันหนักที่มันรับไม่ไหวย่อมแตก ย่อมร้าว ย่อมพังทะลาย เมื่อนั้นเราต้องรู้เสียก่อนว่าส่วนไหนที่มันหนัก..ต้องไปค้ำจุน มันหนักเพราะอะไร ทำไมถึงหนัก ใช่มั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นการให้อภัย การให้กำลังใจ การแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ ต่อเพื่อนร่วมโลกนี้จึงจำเป็น เพราะว่าเมตตานั้นค้ำจุนทุกอย่าง แต่โยมจะไปค้ำจุนคนอื่นได้อย่างไรเล่าจ๊ะ เมื่อโยมนั้นยังไม่เมตตาตัวเอง ยังไม่ค้ำจุนตัวเอง แล้วโยมจะไปค้ำจุนใครได้อย่างไร ทำไมฉันจึงกล่าวว่ามนุษย์นั้นไม่เมตตาตัวเอง คือมนุษย์นั้นทำร้ายตัวเอง คือทำร้ายใจตัวเอง ก็คือการทำลายศีล ทำลายบุญ ทุบหม้อข้าวหม้อแกงของตัวเองเสียแล้ว มันย่อมเรียกว่าเป็นผู้ที่ขาดแคลน ขาดกำลัง ไอ้ตัวกำลังนั้นแลเรียกว่าตัวปัญญา เมื่อจิตมันเสื่อมตัวปัญญาก็เสื่อม เมื่อปัญญาเสื่อมตัวสติมันก็เสื่อม เมื่อตัวสติมันเสื่อมตัวระลึกได้มันก็ใช้งานได้ยาก เราต้องฟื้นฟู ให้ระลึกรู้อยู่ว่า อยู่กับกายวาจาใจของเรานั้นแล

    มนุษย์ที่ทุกข์เพราะว่ามนุษย์นั้นไปรู้กายวาจาใจของผู้อื่นมากจนเกินไป จึงไปรับกรรมของผู้อื่นเขามามากจนเกินไป แต่ไม่เคยดูกรรมตน ถ้าว่าอย่างนั้นก็ดูตนไม่เท่ากับดูคนอื่น ตำหนิตนก็ไม่เท่าตำหนิคนอื่น ถ้าแบบนี้เรียกว่าการเหลื่อมล้ำ การผูกเวร การสร้างพยาบาท เรียกว่าสร้างกรรม เมื่อเป็นแบบนั้น เมื่อถึงเวลากรรมนั้นจักให้ผล กรรมนั้นจักสนอง

    สิ่งไหนก็ตามที่ทำให้โยมนั้นเป็นกังวล หดหู่ใจ ทุกข์ได้บังเกิดแล้ว คือสัจธรรมที่หนีไม่ได้ จริงหรือไม่ เมื่อโยมบอกว่าต้องการหนีทุกข์ เรียกว่าโยมก็หลอกตัวเองเสียแล้ว โยมจะไปหนีทุกข์ได้อย่างไรเล่าจ๊ะ เพราะการเกิดเป็นทุกข์ การพลัดพรากเป็นทุกข์ การไม่ได้ในสิ่งที่โยมต้องการปรารถนาย่อมเป็นทุกข์ ใช่มั้ยจ๊ะ แล้วจะไปหนีได้อย่างไร แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนให้รู้จักทุกข์ สอนให้เดินออกจากทุกข์ แต่ไม่ได้หนีทุกข์ นั้นเรียกว่ามนุษย์ขาดความรับผิดชอบ

    ดังนั้นการรักษาศีลในขณะใดก็ตามที่โยมนั้นประพฤติกายวาจาชอบ ไม่มีเวรพยาบาทต่อใคร นั่นก็เรียกว่าผู้นั้นได้เจริญศีล ผู้ใดระลึกถึงพระรัตนตรัย คุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีประมาณ นั่นเรียกว่าผู้นั้นเจริญภาวนา ผู้ใดมีสติไตร่ตรองดูตน เตือนตน สอนตนได้ ผู้นั้นเรียกว่าเจริญปัญญา คือรอบรู้ในกายของตน

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒

    FA579A28-6346-4D1B-893A-3C73CAB233C1.jpeg
     
  10. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B40978FE-D15D-4E4A-B793-776B906E698C.jpeg

    มนุษย์นั้นเกิดมาต้องตายกันอยู่แล้ว นั้นก็ขอว่าถ้าก่อนตาย โยมได้ทิ้งอะไรไว้ สร้างอะไรไว้ อย่าได้เกิดมาตายเปล่า การตายนั้นเป็นของง่าย แต่การเกิดต่างหากเป็นของยาก แต่การเกิดจะว่าเกิดว่าเป็นของยากโดยทีเดียวก็หาไม่ เพราะการเกิดที่มาเกิดที่มาพบพระพุทธศาสนาแล้วยากยิ่งกว่า แต่เมื่อโยมได้เกิดมาเจอทุกทุกอย่างแล้วครบรัตนตรัยแล้ว ทำไมโยมไม่น้อมเข้าน้อมจิตน้อมใจเข้าไปอธิษฐานประพฤติปฏิบัติ..ลองทำดูสักตั้งเล่าจ๊ะ มีทุนเท่าไหร่ลงทุนไปก่อนซิจ๊ะเมื่อถึงเวลาโยมจะได้คืนทุกอย่าง

    ผู้ที่ให้เชื้อเกิด เปรียบเหมือนบิดามารดาที่ต้องตอบแทนโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ เช่นเดียวกับบิดามารดาของโยมแม้เขาจะชั่วจะเลวปานใดก็ตาม เมื่อเขาให้เป็นผู้กำเนิดโยม โยมมีหน้าที่ตอบแทน เรื่องกรรมชั่วกรรมไม่ดีก็เป็นส่วนของท่าน แต่คำว่าการให้เกิด..ไม่มีบุญอันใดที่จะมากเท่าด้วยการตอบแทนตามกำลังของเรา

    ดังนั้น..โยมอย่าได้ท้อแท้หรือน้อยอกน้อยใจในคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ถึงแม้เขาไม่ได้เลี้ยงดูเรามาก็ตาม แม้ไม่เห็นหน้าก็ตาม อย่าลืมเมื่อเราเกิดแล้วมีชีวิตมีกายสังขารแล้ว นั่นแหล่ะจ้ะเขาให้ทุกสิ่งให้กับเรามาแล้ว ถ้าโยมได้บรรลุธรรมเล่าจ๊ะ บรรลุถึงความดีเล่าจ๊ะ ถ้าไม่มีท่านบุคคลผู้นั้นโยมจะมีมั้ยจ๊ะ ทุกอย่างที่โยมมี..โยมก็มีไม่ได้เช่นกัน

    ถ้าอย่างนั้นโยมอย่าถามหาอะไร ว่าท่านนั้นไม่ได้เลี้ยงดูเรามา..ไม่จริง ชาตินี้ไม่เลี้ยงดูมาชาติก่อนเขาเลี้ยงมาแล้ว ที่เขาไม่เลี้ยงดูเราเพราะบุญเขาไม่ถึงเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ ถ้าเขาเลี้ยงดูเราต่างคนต้องต่างตายไปคนหนึ่ง ทีนี้ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างมีชีวิตรอด แล้วเมื่อถึงเวลาก็จะพบกันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นโยมมีหน้าที่ตอบแทนอย่างเดียว ไม่มีสิทธิ์มีข้อแม้ แต่ถ้าโยมมีอคติในใจเสียแล้ว..เป็นอกุศล ขอให้โยมจงน้อมจิตน้อมใจด้วยอำนาจแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระรัตนตรัยขอขมาด้วยกายวาจาใจของเราได้ล่วงเกินในคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดที่มีคุณทั้งหลายไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ภพกี่ชาติกี่ร้อยกี่พันชาติทั้งหลายที่ท่านได้เกิดมา ให้เราได้กำเนิด เลี้ยงดูมาแล้วในคุณไม่มีอะไรประมาณแล้ว

    ข้าพเจ้าลูกคนนี้ ขอน้อมกราบแทบเท้า ต่อบิดามารดาผู้นั้น ด้วยกาย วาจา ใจที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ข้าพเจ้าขอขมากรรม ขอให้บิดามารดาเมื่อรับรู้แล้วจงอโหสิกรรมให้ลูกผู้นี้ ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัยจงอดอาฆาตพยาบาท อย่าได้มีเวรภัยกับข้าพเจ้าเลย

    ขอบุญกุศลข้าพเจ้าที่ได้มาเจริญกรรมฐานเจริญทานศีลภาวนานี้ที่สำเร็จเกิดขึ้นนี้แล้ว จงดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น แม้จะอยู่ก็ดี ไม่มีชีวิตอยู่ก็ดี เสวยสุขอยู่ก็ดี เสวยทุกข์อยู่ก็ดีขอให้พ้นทุกข์พ้นภัย อยู่ในภพภูมิที่ดี จงมีแต่ความสุขความเจริญ สบายจิตสบายใจ ตลอดชั่วกาลและนานเทอญ โยมเคยทำไมเล่าจ๊ะแบบนี้ โยมเคยน้อมระลึกถึงแบบนี้มั้ยจ๊ะ..

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  11. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B944EBD4-8CF7-4D09-A21A-97530833A721.jpeg

    ให้พิจารณาทุกข์ตัวเดียว..ไม่ว่าทุกข์ตัวไหนมันก็เป็นสภาวะแบบเดียวกัน แค่มันมีอาการเกิดขึ้นทีหลังหรือเกิดก่อนก็ตามที แต่สุดท้ายมันต้องดับสลายเหมือนกัน ทุกข์คือสิ่งที่ทนได้ยาก แล้วเคยทนกันรึยัง โยมบอกว่ารู้ทุกข์ทุกข์อยู่ในกาย..เคยทนหรือยัง แล้วเค้าไม่ได้บอกว่าให้ทนเป็นวรรคเป็นเวร เค้าให้ทนให้รู้ว่าทุกข์มันมีมากเพียงใด พอมันมีมากเพียงใด..เค้าให้เราไปเบื่อหน่ายกับสิ่งที่มันเป็นทุกข์ เช่นว่ากายมันเป็นทุกข์ขนาดนี้โยมจะบำรุงบำเรอมันถึงขนาดไหนมันก็ไม่สิ้นทุกข์ไปได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ มันไม่ใช่เอาอกเอาใจโยมไอ้ตัวกายสังขารนี่ แต่โยมต่างหากไปเอาอกเอาใจมัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นพิจารณาทุกข์อยู่อย่างตัวเดียว..แล้วให้ทนทุกข์ ก่อนจะทนทุกข์ได้มันต้องรู้ทุกข์ก่อน ถ้าโยมไม่รู้ทุกข์ไม่ทนทุกข์..แล้วโยมมาเป็นทุกข์..โยมจะไม่เท่าทันในทุกข์ แต่โยมรู้ทุกข์และทนทุกข์ได้ ฝึกได้เมื่อเป็นทุกข์..โยมมีภูมิต้านทานมั้ยจ๊ะ มันก็จะเข้าใจว่า..อ้อ..ทุกข์มาอย่างนี้ ก็จะวางทุกข์ได้ ถ้าโยมไม่เคยฝึกจิตเลยมันจะทนทุกข์ได้อย่างไร มันก็จะเป็นจะตายเมื่อถึงเวลาเป็นทุกข์ บางคนไม่ได้ทุกข์กายเพราะยังไม่แก่ไม่เจ็บไม่ป่วย อาหารก็มีกินสามมื้อสี่มื้อ..แต่ทุกข์ใจ..คือไม่ได้ดั่งใจ เห็นมั้ยจ๊ะ แต่ถ้ามันมีประสบการณ์บ่อยๆมันเริ่มทำใจได้

    นั้นการพิจารณาธรรมคือพิจารณาตัวทุกข์ตัวเดียว ตัวไหนก็ได้ที่โยมพิจารณาแล้ว ระลึกแล้วมันทำให้เกิดการปลงสังเวช สละได้ เห็นความไม่เที่ยง..เกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เอาอารมณ์นั้นแลมาเป็นอารมณ์เป็นสมถะก่อน ยังไม่ต้องทำไปคิดอะไรมาก ยังไม่ต้องไปพิจารณากว้างๆ ยิ่งกว้างเท่าไหร่อำนาจสมาธิโยมสติโยมที่ไม่เท่าทันจิตมันก็จะฟุ้งในขณะนั้น แล้วไม่นานมันก็จะเข้าสู่หมวดการวิปัสสนึกขึ้นมา คิดคาดเดาเอาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วโยมก็เอามาอธิบายเป็นธรรมให้คนอื่นเค้าฟังอย่างโน้นอย่างนี้

    แท้ที่จริงแล้วในตัวธรรมแล้ว ถ้าพิจารณาแล้วเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันเห็นอย่างนั้น อย่างอื่นไม่เป็นอย่างอื่นเลย มันจะต้องเป็นอย่างเดียวกันหมดในธรรม เห็นเกิดขึ้น..ตั้งอยู่..ดับไป เห็นความเสื่อม มันคือความไม่เที่ยง ธรรมก็คือความไม่เที่ยงเช่นเดียวกัน เมื่อโยมไปยึดมันก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าโยมรู้ทุกข์เมื่อไหร่..รู้แล้วต้องทำยังไง..ให้ทำใจ

    ทำใจยังไง? ทำใจให้ตั้งมั่น ให้เป็นกลาง ให้สงบ ให้เป็นวิหารธรรม..คือวางเฉย เมื่อวางเฉยแล้วรู้ทุกข์แล้ว ไอ้ความวางเฉยเราตั้งสติอยู่ตรงนั้นคือการทนทุกข์ ทนเวทนา ไอ้ตัวทนเวทนาเค้าเรียกว่าดูเวทนา เมื่อดูแล้วต้องทำอย่างไร ดูอย่างเดียวไม่ได้ ดูอย่างเดียวไม่เกิดปัญญา ต้องพิจารณาในตัวทุกข์ว่าทุกข์มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มันมาจากไหน สาเหตุมันมาอย่างไร..ก็คือเกิดจาก"การเกิดที่มีกายสังขาร"

    โยมก็หยั่งรู้ไป อ้อ..การเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ ไม่น่าเกิดมาเลย แต่ถ้าเกิดมาแล้วทำยังไง เกิดมาแล้วต้องหาทางออกจากทุกข์ให้ได้จะได้ไม่เสียชาติเกิด อ้าว..แล้วจะออกยังไง จิตมันก็จะคิดอีกต่อไปอีก นี่คือการวิปัสสนาญาณ คือหยั่งรู้ลงไปอีก คือถามมันไปอีก..จนที่มันไม่มีอะไรจะตอบเรา พอไม่มีอะไรจะตอบเราก็คือมันสงบ เมื่อสงบตัวปัญญาที่แท้จริงมันจะผุดขึ้นมาทันที

    พอมันผุดขึ้นมา..ผุดขึ้นมาอย่างไร เราก็จะหวนคิดถึงในคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ในการเจริญทาน ศีล สมาธิ ปัญญา คือทางเดินสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ ให้เราพิจารณาในทางออกจากทุกข์ คือพิจารณาอริยสัจธรรม ๔ ประการ เอาที่ธรรมอันเป็นเลิศในที่สุดแล้วขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านหยิบยกมาพิจารณา เราต้องหยิบยกมาพิจารณา ไม่ใช่ไปท่องจำว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคมันเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่ได้น้อมเข้ามาพิจารณากาย..แล้วมาพิจารณาเป็นธรรม เมื่อยังไม่พิจารณาเป็นธรรมโยมยังเข้าไม่ถึงหรอกจ้ะในอริยสัจ ๔

    แต่เมื่อโยมเห็นทุกข์ รู้ทุกข์แล้วทนทุกข์ แล้วคิดจะออกจากทุกข์ ที่จะเดินออกนี้แล..นี่เรียกว่าการดำริ มันต้องมีการดำริชอบก่อนว่าการเกิดเป็นทุกข์ การเกิดมันเกิดมาจากอะไร..มันเกิดจากกาม เห็นมั้ยการเกิดจากกามนี้คือการดำริออก การดำริออกจากกาม การไม่พัวพันในกามมันเป็นสุขยังไง

    ดังนั้นเมื่อเราเห็นโทษเห็นภัยในการเกิดอย่างนี้ เค้าเรียกว่าจะมีการดำริออก คือเห็นชอบ นี่อยู่ในทางเดินสายกลางของมรรคแล้ว เราก็หยิบยกในอริยสัจ ๔ มาพิจารณา น้อมเข้ามาในกาย นี่แหล่ะโยมจะเห็นโมกขธรรมที่แท้จริง..นี่คือตัวปัญญา แล้วถ้าเห็นได้อย่างนี้อย่างชัดเมื่อไหร่..โยมก็ดับที่นั่น ไม่ได้ดับที่ไหนเลย..

    เมื่อโยมเข้าใจที่จิตที่ใจก็ดับที่กาย เมื่อโยมยกกายมาพิจารณาอาศัยเป็นที่เจริญสมถะธรรมเป็นวิหารธรรมแล้ว..ก็ดับในที่กายนี้ และเข้าใจและแจ้งในธรรมที่เรานั้นหยิบยกมาพิจาณา ไม่ใช่โยมจะต้องวุ่นวายไปหาอะไรมากมายไปหยิบยกมาพิจารณา แสวงหาที่ทางมากมายเพื่อเจริญโมกขธรรมให้บังเกิด..ไม่จริง โมกขธรรม..วิหารธรรม..วัด..อยู่ในกายสังขารนี้ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็อยู่ในกายสังขารนี้

    ไม่ว่าโยมจะห่มเครื่องแบบเสื้อผ้าอาภรณ์สีใด ถ้าโยมมีศีลและมีการบวชจิตแม้ใครไม่รู้..แต่เทวดาก็รู้ ฆราวาสบรรลุธรรมไม่ได้หรอกจ้ะจำเอาไว้ ฆราวาสบรรลุธรรมไม่ได้ถ้าฆราวาสนั้นไม่เจริญศีลไม่บวชจิต..ไม่มีทางบรรลุธรรม คนที่จะบรรลุธรรมต้องมีศีลและบวชจิตเท่านั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  12. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    B323CB4B-6755-46FA-96ED-F458F9E5BEC1.jpeg

    วาระ ๕ อย่างที่บอกที่จะทำให้เข้าถึงการบรรลุธรรมเข้าถึงธรรมได้..การเจริญมนต์สาธยายมนต์อันนี้มีหนึ่ง การฟังธรรมก็บรรลุธรรมได้ การหยิบยกธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองวิเคราะห์นั้นก็สามารถทำให้เรานั้นเข้าใจธรรมได้ การเจริญวิปัสสนาญาณ การเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออบรมบ่มจิตให้เกิดปัญญา เหล่านี้เมื่อโยมได้กระทำแล้วไม่ว่าโยมจะอยู่เคหะสถานบ้านเรือนใดของโยมก็ดี เมื่อจิตเราได้เข้าถึงพระรัตนตรัยเค้าเรียกว่า..เราได้ถึงวัดแล้ว เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    จริงๆเมื่อก่อนมีวัดซะที่ไหน พระพุทธเจ้ายังไม่ได้มีวัดอยู่นะจ๊ะ เพราะท่านเห็นว่าชาวบ้านชาวช่องเดือดร้อน เข้าพรรษาที ฝนตกชุกทีพระภิกษุไปเหยียบข้าวปลาอาหารชาวบ้านชาวเรือนเค้าเสียหาย มีการจำพรรษาเสร็จก็มีจุดหมายกำหนดว่าที่นี่คือที่ตั้งเขตของสงฆ์ เพื่อรวบรวมสงฆ์ให้อยู่เป็นหมู่คณะ จึงเรียกว่าเขตพุทธาวาสเป็นวัดขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    แท้ที่จริงการประพฤติปฏิบัติในธรรมนี้ วัดมันอยู่ที่จิตใจของโยม เมื่อโยมเข้าถึงน้อมนำเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว..วิหารเคหะเสนาะทั้งหลายมันก็บังเกิดขึ้น..เป็นวัดที่ใจโยม ถ้าใจโยมสงบมันก็เป็นวัด ใจโยมไม่สงบมันก็เป็นวัดไม่ได้ เพราะนั่นเป็นของมารอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นเค้าถึงได้ไปวัดแล้วเค้าไปหาความสงบ บางทีไปวัดแล้วก็หาความสงบไม่ได้ นั้นโยมอย่าไปพึ่งวัดไม่ได้..โยมต้องพึ่งศีลเป็นสรณะให้ได้เสียก่อน ไปวัดต้องไปด้วยศีล ถ้าโยมไม่เอาศีลไป..มารก็รออยู่ที่วัดนั้น เพราะโยมจะไปเจอคู่อาฆาตคู่พยาบาท บางทีไปเจอหน้าไอ้คนนี้ไม่ถูกชะตาแล้ว เพราะโยมไม่ได้เอาศีลไปไม่ได้สำรวม พอเห็นใครมองตามองแล้ว...อ๋อ..ไม่ถูกชะตา เห็นพระองค์นี้ก็ไม่ถูกใจ คือไม่ถูกใจทั้งนั้น แม้ตัวเองก็ยังไม่ถูกใจตัวเอง

    นั้นจะไปไหนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ จะมาประพฤติปฏิบัติเราก็ต้องสำรวม กิริยาอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อเราจะสาธยายมนต์ขอให้มีความตั้งใจ แม้จะตั้งใจเล็กตั้งใจน้อยสะสมไป เราจะสวดตลกสวดขบขันผิดพลาดไปบ้าง ขอให้กลับมาน้อมจิตใหม่ตั้งใจใหม่ เริ่มใหม่ได้ทั้งนั้น เหมือนล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    16D5021F-39F6-4E41-A561-22303859DE68.jpeg

    ลูกศิษย์ ๑ : หลวงปู่ครับ เวลานั่งวันนี้มันสบายใจ สบายใจเย็นสบาย มันมีความสุขน่ะครับ
    หลวงปู่ : โยมมีความสุขเหรอจ๊ะ มัวแต่หาความสุขอยู่นั่นแหล่ะ ใช่มั้ยจ๊ะ

    ลูกศิษย์ ๑ : ผมพยายามไม่คิด จิตพอมันว่าง..มันว่างเลยครับหลวงปู่ แล้วมันก็เลยมีความสุขน่ะครับ
    หลวงปู่ : ใช่สิจ๊ะ ความสุข..พอเราไม่คิดมันก็ไม่ทุกข์ ใช่มั้ยจ๊ะ มันก็เลยสุข พอเราทุกข์อีกเราก็ไม่ไปคิดอีก โยมน่ะโชคดีแล้ว ว่าได้ออกจากพันธนาการเป็นอิสระแล้ว แต่ก็อย่าได้ประมาทไปติดบ่วงแร้วอีกก็แล้วกัน ทุกข์นี้แม้มันจะดับไป ทุกข์หน้ามันก็ยังมีอยู่ ทุกข์เพราะเรายังมีความพอใจ ยังมีความอยากอยู่ หาที่สิ้นสุดไม่ได้หรอกจ้ะ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพลินได้..แต่อย่าเพลิดเพลิน สุขได้..แต่อย่าติดในสุข แล้วโยมจะกลับมาทุกข์อีก

    ลูกศิษย์ ๒ : หลวงปู่เจ้าคะ เวลาเข้ากรรมฐานเหมือนกัน เวลาโยมนั่งแล้วไม่เห็นเป็นแบบนั้นเลย มันจะว่างค่ะ รู้สึกว่ามันว่าง เหมือนมันหนักน่ะเจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : โยมเคยเห็นห้องว่างๆมั้ยล่ะจ๊ะ ห้องที่ว่างเพราะเค้ายังไม่ได้ตกแต่ง จิตที่ว่างๆก็เหมือนว่าจิตนั้นไม่ได้ปรุงแต่ง จึงเรียกว่าจิตว่าง แต่จิตว่างนั้นไม่ได้บอกว่าจิตนั้นไม่มีตัวสติอยู่ ไม่มีผู้รู้อยู่ มันอยู่ที่ว่าโยมเห็นความว่างนั้นเป็นอย่างไร ว่างที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร ว่างจากอุปกิเลส ว่างจากไฟโทสะ ว่างจากไฟโมหะ ว่างจากไฟโลภะ ให้โยมระลึกแล้วพิจารณาดูว่า โทสะ โมหะ โลภะนี้..เราทำให้มันว่างหรือยัง เราละเราดับมันได้หรือยัง

    ก็เอาความว่างนั้นที่มีความสงบนั้น..ไประลึกรู้เพ่งโทษในไฟ ๓ กองในอกุศลมูล คือเพ่งโทษในกรรมชั่วของเรา เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี่คือการชำระล้างให้มันสะอาดให้ว่างอย่างแท้จริง เพราะในความว่างของโยมนั้นมันได้แค่ความสงบ เมื่อความสงบมันหายไปจิตมันก็จะฟุ้งขึ้นมาใหม่

    เพราะในความว่างในความสงบนั้นมันเป็นต้นทุนรอนมันเป็นเบื้องบาทแห่งฌานที่เราจะเอาไปพิจารณาธรรม ดังนั้นในความว่างไม่ได้บอกว่าตัวรู้ตัวสติไม่มีอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ว่างเพราะจิตมันสงบ จิตมันอยู่ในสมาธิ นั้นจงเอาความว่างนั้นเพ่งไปให้เป็นอารมณ์ให้จิตนั้นมันเกิดฌาน ให้จิตมันตื่นรู้ เมื่อตื่นรู้แล้วก็เอาจิตนั้นสตินั้นต้องไปปักที่ใดที่หนึ่งในกาย ในกายก็ดี ในเวทนาก็ดี ในจิตก็ดี ในธรรมก็ดี หากโยมไม่ปักหลักอยู่ใน ๔ ฐานที่กล่าวมานี้ จิตมันจะว่างอย่างนั้นจนหาอาณาเขตไม่ได้ในสูญญตา..คือไม่มีจักรวาล ไม่มีภพ มันก็จะว่างอยู่อย่างนั้น มันหาเกิดประโยชน์อะไรไม่ได้ เค้าเรียกว่าหลับอยู่ในฌาน ก็เลยไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง นานเพียงใดแล้วที่เรานั่งไป เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    บางคนบอกนั่งหลับอยู่ในฌาน ตื่นมา..โอ้ย..นั่งได้เป็นตั้งนาน ปิติมากวันนี้ คุยอวดชาวโลกเค้าหมดเลย ฉันนั่งได้ตั้งนาน ๕ ชั่วโมงผ่านไป พอมีคนถามกลับว่า อ้าว..แล้ว ๕ ชั่วโมงนี่ได้อะไรบ้างจ๊ะ ไม่ได้อะไรเลย..สงบว่างอย่างเดียว แล้วโยมบอกว่าว่างแล้วโยมจะได้อะไร..มันว่างน่ะ แท็กซี่ที่มันว่างไม่มีคนนั่งมันจะได้ตังค์หรือเปล่าจ๊ะ แล้วค่าเชื้อเพลิงโยมจะเอาที่ไหนจ่าย มันจะได้ประโยชน์มั้ยจ๊ะ ไม่ได้เอาพลังงานไปประหัตประหารกิเลสบ้างเลย เค้าเรียกว่านั่งทับตอนั่งทับกิเลสอยู่อย่างนั้น

    พอหลุดจากสมาธิจากฌานจิตใจก็วกวนฟุ้งซ่านอยู่เหมือนเดิม สงสัยอยู่อย่างนั้น..หาที่สุดไม่ได้ ใช่มั้ยจ๊ะ ดังนั้นในความว่างไม่ใช่ให้มันว่างอย่างเดียวอยู่อย่างนั้น แต่ที่ว่างมันต้องว่างจากกิเลส ต้องรู้ตัวกิเลสก่อน รู้ตัวอยากก่อน ทำตัวอยากให้มันดับลงไป..ดับลงไป..ดับลงไป ให้มันเหลือน้อย

    นั้นจิตที่ว่างเค้าเรียกว่าจิตที่มันสงบ ถ้าจิตที่มันไม่สงบมันจะว่างไม่ได้ เพราะมันยังมีความคิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา เพราะที่มันว่างก็เหมือนห้องนั้นมันได้ทำความสะอาด ถูกนำของที่รกนั้นเอาออกไป..เรียกว่าถูกกำจัด ถูกกำจัดด้วยการภาวนาจิตว่าพุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี พุทธังสรณังคัจฉามิก็ดี หรือถูกกำจัดด้วยความว่างด้วยการสาธยายมนต์ก็ดีอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    หรือความว่างเกิดจากสมถะกรรมฐานก็ดี คืออาศัยความสงบนั่นแลเป็นเบื้องบาทเพื่อทำให้จิตว่าง คือข่มจิตให้มันเข้าถึงความสงบถึงความว่างนั่นเอง เหล่านี้เรียกว่ามันเป็นแค่ฌาน เพราะว่าในความสงบนั้นมันไม่มีกิเลส มันไม่มีอะไรเลย ไม่มีความอยาก ไม่มีการเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย..ถ้าโยมว่างจริงๆอย่างนั้น

    แต่แท้ที่จริงแล้วความว่างนั้นโยมก็อยู่ได้ไม่นาน โยมว่าจริงมั้ยจ๊ะ ยังไงโยมก็ต้องออกมา เพราะมันยังไม่ใช่ที่สุดของทางแห่งมรรค ทางที่สุดของมรรคมันเป็นอย่างไร คือทางเดินสายกลาง ทางเดินสายกลางเป็นอย่างไร คือการน้อมจิตเข้ามาพิจารณาธรรม ให้เห็นกฎในไตรลักษณ์ เห็นความเป็นจริงแห่งสัจธรรม คือทุกข์ว่ามีอยู่จริง เรานั้นได้ดับได้ละได้มากน้อยเพียงใด นั่นก็คือรากเหง้าของอกุศล ถ้ามันยังไม่ถูกตัดออกไป..ภพ ชาติ ชรา มรณา..โยมว่ามันจะมีอยู่มั้ยจ๊ะ มันก็ต้องแตกกิ่งก้านสาขาอยู่เรื่อยไป

    ถ้าโยมตัดรากเหง้าของอกุศลได้เมื่อไหร่..นั่นแหล่ะจ้ะจิตโยมจะว่าง คำว่าจิตว่างเป็นอย่างไร จิตจะมีแต่ความสงบอยู่ตลอดเวลา หาความวุ่นวายไม่ได้เลย แม้มันจะมีความวุ่นวายมาแต่โยมก็สงบ หรือแม้มันจะมีความไม่สงบแต่จิตโยมสงบโยมก็นั่งอยู่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไม่เก็บอารมณ์เหล่านั้นมาเป็นอารมณ์ให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน

    นั้นเค้าถึงบอกว่าการอบรมบ่มจิตให้เข้าถึงปัญญาหรือวิปัสสนากรรมฐานก็คือการเพียรละ..ดับอารมณ์ในขันธ์ ๕ ให้ได้มาก คือตัดรากเหง้าอกุศล คำว่ารากเหง้ามันคืออะไร อกุศลก็คือบาปที่เรานั้นยังได้กระทำอยู่ ยังละออกไม่ได้ ยังพอใจยังติดอยู่ เหล่านี้แลควรชำระคือการอบรม คือการเอาชนะใจตนให้มากๆ ถ้าเราไม่อบรมบ่มจิตเพื่อมาฝึกจิตเพื่อละ..กิเลสตัณหามันก็หน่วงหนักมีมากแบบนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  14. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    FC215018-C953-459E-932F-758A656C65E4.jpeg

    การที่โยมสาธยายมนต์..บางคนคิดว่ามีอานิสงส์น้อย คำว่า"อานิสงส์"คือผลที่จะได้รับนั้นเอง ว่าจะทำให้ชีวิตนั้นมีความสุขเจริญทางโลกได้เท่านั้นเท่านี้ สำเร็จสมความปรารถนาในสิ่งที่หวัง..ล้วนแล้วแต่เรียกว่าเป็นผลจากกิเลสตัณหาทั้งนั้น

    แต่แท้ที่จริงแล้วการสาธยายมนต์นี้เรียกว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ความฟุ้งซ่านรำคาญใจทั้งหลายเหล่านี้ให้มันห่างไกลก็ดี ให้มันหลุดออกจากที่มันครอบงำเราอยู่ก็ดี

    เมื่อเราสวดสาธยายมนต์ไปมากๆเข้าจนจิตมันตั้งมั่นเป็นสมาธิ นั้นเค้าเรียกว่าสมาธิก็บังเกิด เมื่อสมาธิบังเกิดในขณะใดขณะจิตหนึ่ง ในขณะที่เราภาวนาหรือสาธยายมนต์อยู่นั้น..ปัญญาก็บังเกิด รู้เห็นตามความเป็นจริงในอักขระภาษา ในคำนั้น ในความหมายนั้น สิ่งเหล่านี้มันก็คือบอกว่าเมื่อเราสาธยายมนต์ไปมากๆเข้า..ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมมันก็บังเกิด นี่เค้าบอกว่ามันจะทำให้เรานั้นน้อมเข้าถึงในพระรัตนตรัย..เข้าถึงอะไร เข้าถึงความเชื่อความศรัทธา เพราะเมื่อเราสาธยายมนต์มีจิตตั้งมั่นมาก จิตมันต้องมีกำลังมาก สมาธิมันก็บังเกิดมาก

    บุคคลใดสาธยายมนต์ด้วยมีจิตปิติเบิกบานแล้วไซร้ย่อมมีอานิสงส์มาก เสียงสวดนั้นจะไปไกลถึงพรหมโลกแสนจักรวาลพิภพ ยังเป็นประโยชน์ต่อสัตว์นรกที่ยังถูกทรมาน ดังนั้นจะหาว่าการสาธยายมนต์นั้นหาว่ามีประโยชน์น้อย..บุคคลนั้นกำลังเข้าไม่ถึงธรรม กำลังปรามาสธรรม กำลังประมาทในธรรมในบุญกุศลนั้น

    ทำไมต้องมาสวดมนต์ภาวนาอยู่ตลอดเวลา ทำไมไม่ยอมนั่งสมาธิเลย หรือการภาวนาเลย ทำไมไม่ทำอย่างนั้น เหตุเพราะว่าจิตของมนุษย์นั้นมี"ความอยาก"เป็นต้นทุน เอาแต่ความอยากนั้นความปรารถนานั้นมาสร้างบุญกุศลกัน เพราะความอยากโยมมีมาก เมื่อหมดอยากในการจะแสวงหาบุญนั้นแล้ว มันก็ได้แค่ความพอใจ มันไม่ได้เกิดจากศรัทธาหรือน้อมเข้าหาในบุญกุศลอย่างแท้จริง หากมันเป็นเช่นนั้นแล้วการจะรักษาคุณงามความดี หรือการรักษากายวาจาใจให้สงบตั้งมั่น เรียกว่าจิตนั้นเป็นปกติเข้าถึงศีลนั้น..มันจึงทำได้ยากนั้นแล

    แต่เมื่อโยมสาธยายมนต์อยู่เป็นนิจนั้นแล ทุกค่ำเช้าเย็นก็ดี หรือการภาวนาจิตก็ดี เมื่อจิตโยมนั้นมีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เรียกว่าเป็นการอบรมบ่มจิตอยู่เป็นนิจแล้วไซร้ ผู้นั้นแลเรียกว่ากำลังดำเนินฌานอยู่ กำลังเจริญสติอยู่ นั้นการเจริญคุณงามความดีก็หาว่าต้องบอกว่า..ต้องให้มีเวลาพร้อมไม่ แต่ว่าอยู่ที่ว่ากายวาจาใจของโยมนั้นพร้อมหรือไม่

    เพราะทุกสถานที่ที่โยมนั่ง ยืน นอนก็ดี เรียกว่าเมื่อจิตโยมเข้าถึงในพระรัตนตรัย เข้าถึงศีล เข้าถึงธรรมแล้ว เข้าถึงองค์ภาวนาแล้ว จนเกิดสติเกิดปัญญานั้นแล เรียกว่าในขณะนั้นโยมได้อยู่ในวิหารโบสถ์เสนาสนะ เกิดความสันโดษความสัปปายะแล้วแห่งธรรมทั้งปวง เมื่อนั้นเมื่อมีอารมณ์ในขณะนั้นใด ตัวปัญญามันก็บังเกิดได้..

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2019
  15. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    D3E2CF7D-F9B0-4A7C-B877-3EB19FEFD361.jpeg

    เมื่อจิตเรายังไม่ตื่นรู้ ไม่สว่าง ยังไม่เกิดปัญญา..มันก็จะมีธรรมอกุศลเกิดขึ้นมา ในจิตที่เป็นความใคร่ก็ดีเหล่านี้ จะบอกว่าจิตเรานั้นเป็นอกุศล..ไม่ใช่ แต่มันเป็น"ธรรมอกุศล" มันไม่ใช่จิตอกุศล จิตที่เราเจริญศีลอยู่แต่มีธรรมอกุศลเข้ามา..ให้เราพิจารณา ไม่ใช่จิตเรานั้นเสวยอยู่ในสิ่งอกุศล..ไม่ใช่ แต่มันเป็นธรรมอกุศลเกิดขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าโยมแยกไม่เข้าใจกันแล้ว..โยมจะบอกว่า อ้าว..ทำไมเราเจริญศีลอยู่เจริญภาวนาอยู่มีอารมณ์แบบนี้ขึ้นมาได้ยังไง เป็นเพราะเรานั้นไม่เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรก็ตามที่ไม่มีเหตุแล้วผลจะตามมามั้ยจ๊ะ ในหนึ่งวันก็ดี ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็ดี มันต้องเกิดจากที่เราระลึกขึ้นมาในอารมณ์นั้น..มันถึงจะเกิดตามมาในผลของเหตุ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วอย่าไปรังเกียจเค้า เพราะสิ่งที่น่ารังเกียจนั้นไม่ใช่สิ่งที่ว่านั่นเป็นกิเลส แต่กิเลสมันเกิดจากจิตที่เรานั้นมีความอยากได้ใคร่ดีนั้นเอง ถ้าจิตเราไม่มีความอยากได้ใคร่ดี..มันจะเป็นกิเลสไปไม่ได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แล้วสิ่งที่โยมมองเห็นก็ดีเป็นรูปก็ดี เป็นวัตถุแห่งกามก็ดี..นั้นไม่ใช่ตัวกิเลส ตัวกิเลสคือตัวที่ใจเรานั้นมีความอยาก..นั่นเค้าเรียกกิเลส ขอให้จำและเข้าใจอย่างนี้

    ถ้าเรานั้นจิตที่เป็นกุศลแล้ว จิตเราจะสว่างรู้ ในขณะจิตเราจะสว่างเราต้องผ่านในธรรมอกุศล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ก็คือสิ่งที่ไม่ดี เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้แล้วเราถึงจะรู้ว่าดีมันเป็นอย่างไร แล้วไอ้ที่ไม่ดีเราละได้หรือยัง เราต้องเห็นโทษมันเสียก่อน ถ้าเรายังละและเห็นโทษในสิ่งที่ไม่ดีในธรรมอกุศลไม่ได้..จะว่าเราดีแล้วก็ยังว่าไม่ได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะเรากำลังจะหลงอยู่

    แม้ดีเราก็ไม่ควรยึด เพราะถ้าเราไปยึดอยู่ สภาวะอะไรก็ตามที่ไปยึดแล้วเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่นานมันก็จะเปลี่ยนแปลง เหมือนความสุขก็ดี ถ้ามันสุขจริงมันจะไม่แปรเปลี่ยนเป็นทุกข์ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ร่างกายสังขารก็ดีเหล่านี้ถ้ามันเป็นของเราจริงมันต้องอยู่ใต้อาณัติบัญชาของเรา ไม่แก่ ไม่เสื่อม ไม่ชรา ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ถ้าอะไรที่เราบังคับบีฑามันไม่ได้ อยู่นอกเหนือคำสั่งของจิตเรา..อันนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นของที่เรานั้นได้แค่อาศัย รู้จัก"อาศัย"มั้ยจ๊ะ

    โยมจะบังคับโลกนี้ให้เป็นไปตามสิ่งที่โยมต้องการได้มั้ยจ๊ะ เมื่อมันไม่ได้สังขารก็คือโลกอย่างหนึ่ง เค้าเรียกว่าโลกธรรม โลกแห่งสังขาร โลกแห่งธรรม โยมต้องเข้าใจคำว่าอาศัย เครื่องนุ่งห่มนี่ของโยมมั้ยจ๊ะ โยมได้ยังไงมา (ลูกศิษย์ : ซื้อค่ะ) แล้วเมื่อก่อนเป็นของโยมมั้ยจ๊ะ โยมต้องไปแลกเปลี่ยนมามั้ยจ๊ะ ถ้าได้มาโดยไม่ชอบธรรมเป็นไงจ๊ะ มันก็ผิดศีลผิดธรรม ใช่มั้ยจ๊ะ งั้นโยมไปอาศัยมา แต่ในขณะตัวอาศัยที่โยมไปได้มา..ได้มาอย่างไร เข้าใจมั้ยจ๊ะ นี้จึงเป็นตัววิบากกรรมที่เกิดขึ้น

    ไหนๆแล้วก็ฟังไว้ในธรรม คนเราจะเกิดกรรมที่เป็นเวรพยาบาทกันไม่ได้เลย ที่เกิดจากกรรมเป็นเวรพยาบาทเพราะอะไร เพราะมันติดอยู่ในอารมณ์ในกรรมนั้นที่เราละวางอารมณ์ไม่ได้ เมื่อเราละวางอารมณ์ไม่ได้ก็เป็นวิบากกรรมเกิดความพยาบาทเกิดความไม่พอใจกัน เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ดังนั้นแล้วกรรมของคนอื่นทั้งหลาย แม้กรรมเราก็มีพอแล้ว..อย่าไปรับกรรมคนอื่นเค้ามา แต่ถ้าเราเห็นกรรมเค้าแล้ววาง กรรมนั้นก็ไม่ติด เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้เพ่งดูในกรรมของเรานั้นให้มากๆในการกระทำ เค้าทำไม่ดีมันก็เรื่องของเค้า แล้วจะถามว่าเราเคยไม่ดีแบบเค้ามาก่อนรึเปล่า..ก็เคย เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ถ้าเราดีแล้วมันก็ดีแล้ว ขอให้เข้าใจในสิ่งที่เค้านั้นยังไม่ดี ยังไม่พ้นในสิ่งนั้น ถ้าเราพ้นมาได้แล้วมันก็ดี ควรเข้าใจเค้าให้มากๆ คือการให้อภัย คนที่เข้าใจจริงคือจะเกิดการให้อภัยเกิดขึ้น..ถ้าเข้าใจจริง เข้าใจมั้ยจ๊ะ เมื่อโยมเข้าใจอย่างนั้นโยมจะไม่สร้างเวรสร้างพยาบาทให้เกิดขึ้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    ฉันถึงได้บอกว่ามนุษย์มีกรรมเป็นของตัวเอง เมื่อเค้านั้นไม่รู้จักรักษาตัว ไม่รู้จักรักษาศีล เมื่อถึงเวลาวิบากกรรมก็ให้ผลเค้าเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ โยมไม่ต้องไปทำอะไรเค้าเลยเมื่อถึงเวลา..วิบากกรรมมันก็จะให้ผลมันเอง ถ้าเค้าทำมาไม่ดี..ผลก็เกิดความไม่ดีเกิดขึ้น ถ้าเค้าทำมาด้วยสุจริตหรือความดี..ผลย่อมเป็นความสุข มันก็เป็นของธรรมดา เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    นั้นเมื่อโยมแสวงหาความสุข ไม่อยากสร้างเวรสร้างพยาบาทกัน ขอให้โยมนั้นให้อภัยกันให้มาก การให้อภัยกันให้มากแล้ว..ความเมตตามันจะเกิดขึ้นเอง ที่ใดมีความเมตตาบังเกิดขึ้น..ที่นั้นจะเกิดสันติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ ไฟก็ดี ลมก็ดี อุทกภัยก็ดี..จะทำลายที่นั่นไม่ได้เลย เข้าใจมั้ยจ๊ะ เพราะมันเกิดสันติแล้ว

    แต่ถ้าเรานั้นยังไม่รู้จักการให้อภัยกัน เวรพยาบาทมันก็ยังบังเกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ มันก็จะรอดพ้นจากภัยไม่ได้ โยมไม่ต้องเจอภัยหรอกจ้ะ แค่วิบากกรรมที่โยมทำโยมก็รับมันไม่ได้แล้วเมื่อถึงเวลา ใช่มั้ยจ๊ะ สาปแช่งกันไปสาปแช่งกันมา ถามว่าที่โยมสาปแช่งกันไปสาปแช่งกันมานี่..ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์..มันมีแต่ต่างคนต่างเสียทั้งนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  16. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
     
  17. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    EAC5A917-0C7D-46A9-9A8E-39A589569BF8.jpeg

    ความง่วงก็ดี ความคิดก็ดีนั้น..เราไม่สามารถไปบังคับไม่ให้มันเกิดได้ แต่ว่ามันเกิดแล้วเราสามารถกำหนดรู้มันได้ เมื่อเรารู้อยู่บ่อยๆ เท่าทันในอารมณ์นั้น..มันก็จะดับของมันเอง เมื่อมันดับอยู่บ่อยๆจนดับสนิทแล้ว เรียกว่าในเหตุที่มันทำให้ง่วงเป็นเพราะอะไร เมื่อจิตเรานั้นไม่มีความหดหู่เศร้าหมองแล้ว..ความง่วงมันก็บังเกิดยาก ถ้าเรานั้นไปตั้งจิตตั้งใจเจริญความเพียร

    ความคิดก็ดีเมื่อเรายังมีกายสังขารอยู่ ความคิดนั้นมันย่อมก่อเกิดอยู่ตลอดเวลา เพราะเมื่อเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ความคิดมันก็บังเกิดอยู่ตลอดเวลา นั้นความคิดจะไปดับหรือห้ามมันไม่ให้เกิดนั้นก็เป็นไปได้ยาก แต่เมื่อมันเกิดแล้วในความคิดนั้นมันคิดดี คิดอกุศล หรือคิดกุศล..มันเป็นอย่างไรก็ขอให้รู้อย่างนั้น เมื่อรู้อยู่แล้ว รู้อยู่บ่อยๆ ความคิดนั้นอารมณ์นั้น เมื่อคิดย่อมเกิดอารมณ์ เมื่อไม่คิดย่อมไม่มีอารมณ์

    อารมณ์นี้แล ความคิดนี้แลมันทำให้เกิดมีอารมณ์ ถ้าไม่มีตัวคิดเสียแล้ว แล้วถ้าไม่มีอารมณ์ เราไม่มีอารมณ์ เราจะเอาจิตหรือเอาอะไรมาฝึกนั้นก็ฝึกยาก เราจะได้รู้ว่าอารมณ์เราเป็นอย่างไร ถ้าไม่อย่างนั้นเราจะไม่รู้โทษ ไม่รู้จักโทสะ ไม่รู้จักโมหะ ไม่รู้จักราคะ เมื่อเราไม่รู้จักเหล่านี้จิตนั้นจะไปฝึกจะไปจับต้องอะไรไม่ได้เลย เพราะมันเป็นแต่ความว่าง

    ดังนั้นก็สิ่งพวกนี้แลที่มันมี..มีกาย มีรูป มีเวทนา มีสังขารวิญญาณนี้แล..จึงเป็นที่ให้จิตเรานั้นฝึกได้เรียนรู้ได้ ก็ค่อยๆฝึกค่อยๆละมันไป นั้นความคิดนี้มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เรานั้นต้องไปละไปดับมัน แต่เมื่อเรากำหนดรู้และเท่าทันในความคิดว่าสิ่งที่เราคิดนั้นตัวที่เกิดขึ้นมาแล้ว..มันเป็นธรรมฝ่ายกุศลหรือเป็นธรรมฝ่ายอกุศล

    เมื่อเรากำหนดรู้ก็ลองพิจารณาในธรรมนั้น ความคิดของอารมณ์มันก็ดับลงไปเอง เมื่อเราทำอยู่บ่อยๆ ฝึกอยู่บ่อยๆ เท่าทันอยู่บ่อยๆในความคิดแล้ว สติย่อมตั้งมั่นและควบคุมความคิดได้ เมื่อควบคุมความคิดได้ก็ควบคุมคำพูดได้ เมื่อควบคุมคำพูดได้แล้ว เราก็จะควบคุมพฤติกรรมการกระทำเราได้ นี่แลเรียกว่าเป็น"ผู้ควบคุมกรรม"

    เมื่อเราเป็นผู้ควบคุมกรรมแล้ว..ย่อมกำหนดชะตากรรมของชีวิตได้ เมื่อเรากำหนดชะตากรรมของชีวิตได้แล้ว..เราย่อมลิขิตกรรมเราได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถลิขิตกรรมได้..กรรมเราก็จะเป็นผู้ลิขิตอย่างนี้ตลอดเวลา ดังนั้นบุคคลที่ไม่สามารถลิขิตชีวิตลิขิตกรรมตัวเองได้..ไฉนเลยจะหาทางพ้นทุกข์ได้ หรือหาทางแสวงหาทางออกจากทุกข์ภัยในวัฏฏะนี้ได้

    นั้นผู้ที่เจริญในทางเดินแห่งมรรคนี้แลเป็นผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงชะตากรรมชีวิต เป็นผู้ที่จะล่วงรู้ชะตาชีวิตของตน เป็นผู้ที่ทำฌานให้เกิด ทำญาณให้เกิด ทำวิปัสสนาญาณให้เกิด เป็นผู้ที่ทำอภิญญาให้เกิด คือความรู้ยิ่ง อบรมบ่มจิตเข้า ดังนั้นแล้วเราอบรมบ่มจิตมากเท่าไหร่..ปัญญาหรือตัวรอบรู้มันก็มีมากเท่านั้น

    แต่ปัญญาที่แท้จริงก็คือการรอบรู้ในสังขารของตน รอบรู้และเท่าทันในอารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือรอบรู้ในกองทุกข์นั้นแล เรียกว่าเป็นผู้ที่เจริญปัญญาอย่างแท้จริง หาใช่ว่าจะต้องมีความรู้ทางโลกคือความจำ เราจำมากเท่าไหร่..เราก็ยึดมากเท่านั้น

    ดังนั้นเมื่อเรารู้ที่แท้จริงแล้ว..มันจะไม่ยึด มันจะวางได้ เพราะเมื่อเราอยากจะรู้แค่กำหนดจิตตัวรู้ตัวปัญญามันก็บังเกิด ก็ที่เรียกว่ารู้ด้วยจิต รู้ด้วยญาณ รู้ด้วยทัศนะ ไม่ใช่ว่ารู้ด้วยความจำ ยึดมั่นถือมั่นในตำรับตำราก็ดี ยึดมั่นถือมั่นในครูบาอาจารย์ก็ดี..เหล่านี้หาใช่ว่าเป็นปัญญาและเป็นธรรมของเราเลย

    ดังนั้นถ้าเราจะมีปัญญามีธรรมของเราเอง..เราก็ต้องประพฤติปฏิบัติเอง เรียนรู้ศึกษามีประสบการณ์..นั่นแลชื่อว่ามีปัญญาของเราเอง

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  18. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
     
  19. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
    5334E79F-5435-4B19-B73B-3C7FB3C00F3A.jpeg

    เมื่อเราปรารถนาความสุขความเจริญในทางธรรมและทางโลกก็ดี นั่นก็เรียกว่าต้องดับขจัดตัวอกุศลมูลของจิตที่มีความคิดร้ายอาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยาเหล่านี้ เพราะตัวเหล่านี้มันเป็นตัวขัดขวางความสำเร็จ ขัดขวางความเจริญ หรือง่ายๆเรียกว่าขัดขวางความสุข

    เพราะว่าเมื่อเรามีความอาฆาตพยาบาท มีความอิจฉาริษยาเสียแล้ว ขณะใดก็ตามที่เรามาเจริญภาวนาจิตอยู่..จิตมันจะสงบได้ยาก ก็เพราะอารมณ์เหล่านั้นแลมันยังมาสิงมาสู่ยังมาวนมาเวียน..ที่ทำให้เรานั้นยังคอยคิดอาฆาตพยาบาทเอาแต่ชนะอยู่ อย่างนี้ต้องกำจัดด้วยการเจริญเมตตาจิตและการอโหสิกรรม คือกำหนดรู้โทษ การขอขมากรรมต่อพระรัตนตรัย เพื่อน้อมจิตนั้นเข้าเป็นที่พึ่งมีสรณะแล้วเอามายึดเหนี่ยวจิตใจแทน แล้วถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาไปเสีย

    ดังนั้นไม่ว่าอารมณ์นั้นจะผูกอาฆาตพยาบาทกับผู้ใดแล้วก็ตามที ยังตัด..ให้อภัยยังไม่ได้ก็ดี ก็ให้ตั้งจิตขึ้นมาเป็นกุศล จิตนี้ที่พยายามที่จะละความอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนนั่นแล..เป็นจิตที่เป็นกุศล แม้เรายังไม่ได้ให้หรือมันยังไม่มอดสนิทก็ตาม..แต่นี่แลเค้าเรียกว่าเป็นการละแล้วในตัว

    เมื่อเรามีความพยายามเพียรละลงไป..เชื้อนั้น..อำนาจแห่งไฟโทสะ โมหะ โลภะเหล่านั้นมันก็จะลดน้อย นี่เรียกว่ามันบั่นทอน ไม่เพิ่มเชื้อ นี่แลเรียกว่าการเจริญกรรมฐาน คือการละอารมณ์ในขันธ์ ๕ เมื่อเราได้กรรมฐานเสียแล้วจิตเรานั้นจะมีแต่ความโอบอ้อมอารี จิตเรานั้นจะตั้งมั่นอยู่ในความสุขสงบ ความเร่าร้อนก็จะบังเกิดได้ยาก อยู่ที่ไหนก็อยู่เป็นสุข

    ดังนั้นคำว่า"กรรมฐาน"คือการงานอย่างหนึ่งของจิต การงานหมายถึงว่า..การงานนี้หาว่ามีห้างร้านที่ตั้งอยู่ไม่ อาศัยจิตที่เป็นกุศลนั้นแลที่มีความพอใจในความวิเวกสัปปายะความสงบ..ก็ให้เจริญความเพียรได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด มันเป็นปัจจัตตัง ไม่มีกาลไม่มีเวลา เมื่อเรามีความพอใจเสียอย่างเดียวแล้ว ก็เรียกว่าเป็นการเจริญอิทธิบาท ๔ ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด

    แม้ขณะตอนที่เราจะนอน เราก็สามารถภาวนาจิตเจริญพระกรรมฐานได้ ให้พิจารณาว่ากายเรานี้แลเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นกาย ที่จิตเรานั้นได้เข้ามาอาศัยเพื่อเจริญคุณงามความดีเจริญบารมี เมื่อปราศจากกายสังขารแล้วกายนี้เป็นที่อาศัยอยู่ในธาตุทั้ง ๔ ก็ไม่ต่างอะไรกับท่อนไม้ท่อนฟืนชนิดหนึ่ง ก็หามีประโยชน์อันใดไม่ นั้นเราก็ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ เห็นว่ากายนี้เป็นที่อาศัยนั่นแล เราก็จะได้มีความเพียรตั้งมั่น เห็นโทษภัยในวัฏฏะแห่งการเกิด อาศัยกายนี้แลที่จะละถอดถอนอุปาทานแห่งขันธ์

    คำว่าถอดถอนอุปาทานก็คือการละความยึดมั่นถือมั่นของขันธ์ในกองทุกข์ในรูปนี้แล รูปก็คือกายที่เราไปยึดมั่นถือมั่น เป็นกายหยาบที่เราสามารถจับต้องสัมผัสได้ นามรูป นามธรรม..นามธรรมมันจับต้องไม่ได้แต่รู้สึกได้นั่นแล เหล่านี้ก็ให้พิจารณาไป ก่อนนอนก็ดี เมื่อเราจะตื่นก็ดีก็ให้พิจารณาได้ แม้ในขณะนี้แม้ว่าร่างกายสังขารมันจะอ่อนล้าอ่อนเพลียอย่างไรก็ตาม ขอให้ทรงจิตในความสงบในความเพียรในความพอใจ นี่เรียกว่าเรากำลังดำเนินอยู่ในทางอริยมรรคอยู่

    นั้นในขณะจิตใดที่เรามีความตั้งมั่นในความเพียร..จิตนั้นแลย่อมทรงอยู่ในสมาธิทรงฌานอยู่ ย่อมเป็นผู้รู้มีสติอยู่ไม่มากก็น้อย ขอให้รู้อยู่ว่ากายนี้เป็นแค่ที่อาศัยชั่วคราว เหมือนบ้านเรือนเหมือนแผ่นดินเหมือนโลกนี้ที่เรานั้นมาอาศัยแค่ชั่วคราว วันหนึ่งคราใดเราก็ต้องจากไป นั้นเมื่อเรามาอาศัยแล้วกิจใดธุระใดที่เรานั้นยังไม่ได้สะสาง เป็นกิจอันเป็นธุระที่แท้จริง..ก็คือการกำจัดอกุศลมูล คือการถอดถอนอุปาทานแห่งขันธ์ เพื่อจะทำลายขันธ์นี้ เพื่อจะยังไม่มาจุติเกิดในโลกนี้อีก

    เพราะการมีการจุติในครรภ์ก็ดีย่อมเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป นั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าโลกนี้หรือโลกหน้าก็ดีมันย่อมมีแต่ทุกข์หากยังมีความเกิดอยู่ ความเกิด..เกิดจากอะไร เกิดจากความพอใจ นั้นเราต้องไปดำริออกจากความพอใจเสียก่อน ความพอใจที่ไม่อยากเกิด ความพอใจนี่แลต้องไปดำริ เราต้องมีดำริมีความปรารถนา

    การจะดำริได้อย่างนี้เราต้องเห็นโทษมันก่อนว่าการเกิดเป็นทุกข์อย่างไร เช่นว่าเรานั่งเจริญภาวนาจิตเจริญความเพียรอยู่ มีแต่เวทนาทุกข์เวทนาที่เกิดขึ้นในกายนี้แลขอให้เพ่งโทษ อดทนมีขันติพิจารณาธรรมลงไปว่ากายสังขารเรานี้มันมีทุกข์อย่างไร มันหามีสุขไม่ อะไรก็ตามที่เรานั้นไม่สามารถบังคับบีฑามันได้ สิ่งเหล่านั้นแลเรียกว่าเหนือการควบคุมของเรา เมื่อมันเหนือแล้วแสดงว่ามันไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตของเรา เป็นเพียงว่าจิตนั้นอาศัยอยู่

    ดังนั้นมันก็แค่เป็นเพียงตัวอาศัย เป็นที่ตั้งอยู่ของการงานของจิต นั้นที่ตั้งการงานของจิตที่ใด..เราก็ควรเอาจิตนั้นไปพิจารณาที่ตั้งของการงานของกายนี้ ว่ากายนี้ประกอบไปด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นว่าสักแต่ว่าเป็นธาตุ เมื่อสักแต่เห็นว่าเป็นธาตุแล้วไซร้..ความยึดมั่นถือมั่นในกายนี้มันก็จะลดน้อยลง เมื่อมันลดน้อยลงแล้วจิตมันก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่น จิตมันก็จะวางจากกายนี้

    เมื่อจิตที่ว่างจากกายนี้วางลงไปแล้ว จิตมันก็เบากายมันก็เบา เมื่อมันเบาเสียแล้วเวทนามันก็เบา คลายจากเวทนาความทุกข์นั้นได้ เราก็จะเห็น..จิตมันก็จะเห็นด้วยเกิดปัญญาว่า อ้อ..ที่มันมีความทุกข์นี้แลก็เพราะว่าจิตเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ว่ามันเป็นของหนัก ไปยึดมากเท่าไหร่มันก็เหมือนไปแบกของหนักไว้นั่นเอง เมื่อแบกไว้นานแล้วย่อมเป็นธรรมดาทุกข์เวทนามันก็บังเกิดขึ้น จึงเรียกว่าเป็นอุปาทานแห่งขันธ์ สิ่งเหล่านี้เมื่อเรารู้ต้นตอต้นเหตุของมัน ดังที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็บอกตรัสไว้ว่า เหตุแห่งธรรมเกิดที่ใด..ก็ให้ไปดับเหตุแห่งธรรมนั้น เข้าใจมั้ยจ๊ะ

    สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
    โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒
     
  20. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,917
     

แชร์หน้านี้

Loading...