เว็บพลังจิต ปฎิทินพลังจิตธรรมสัญจร 54

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 17 ธันวาคม 2010.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    บันทึกการเดินทางแบบสบาย ๆ

    .....ทริปนี้เป็นกิจกรรมบุญที่คล่องตัวและสำเร็จลงในเวลาที่รวดเร็วทันใจมาก เหตุที่ต้องกล่าวเช่นนี้....เนื่องจากเดือนนี้ผู้เขียนมีกิจกรรมบุญเยอะ เดินทางทุกสัปดาห์ ล่าสุดก็วันอังคารที่ผ่านมากับทริปร่วมพิธีอุปสมบทหมู่ รุ่นพิเศษที่วัดท่าขนุน ทำให้คิดว่าวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ในสัปดาห์นี้คงทำได้แต่ร่วมทำบุญและร่วมอนุโมทนากับกัลยาณธรรมทุกท่านที่ได้เดินทางไป


    [​IMG]
    ทองคำ แผ่นทอง และปัจจัยบรรจุใส่พานที่ชาวคณะฯ เป็นตัวแทนร่วมกรายถวาย


    หลังจากกลับมาจากวัดท่าขนุน-วัดพระแท่นดงรังในเย็นวันอังคาร เช้าวันพุธอธิษฐานจิตกับสมเด็จองค์ปฐม ก่อนตัิดสินใจยื่น "วีซ่า" กับทางบ้าน ผลปราฏว่า "ผ่าน" อย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย ทำให้ต้องวางแผนการเดินทางและประกาศรับสมาชิกทันที ซึ่งเต็มลงอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนทำใ้ห้ต้องเปิดรับเป็นคันที่สองและเต็มบริบูรณ์ทั้ง ๒ คัน

    หนึ่งในสมาชิกร่วมเดินทางมีน้องคนหนึ่งที่ต้องเิดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด เนื่องจากคุณพ่อป่วยเข้าโรงพยาบาล แต่น้องก็มีกำลังใจสูงที่จะขอร่วมเดินทางบุญด้วยโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ผู้เขียนรู้ว่าน้องต้องกลับมาขึ้นรถเที่ยวสุดท้ายไม่เกิน ๒๐.๐๐ น. นั่นแสดงว่า... ช้าที่สุดเวลา ๑๙.๐๐ น. คณะฯ ต้องเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว รายนามพระอริยสงฆ์เมืองมะขามหวานมีหลายองค์ที่น่าไปกราบ แต่เมื่อคำนวณดูระยะทางและเวลา ทราบดีว่าไปไม่ครบทุกองค์แน่ ได้แต่คิดว่า...แล้วแต่เวลาและธรรมะจัดสรร

    เช้าวันเสาร์ เวลา ๐๓.๔๕ น. ทุกคนพร้อมกันที่ปั้มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า คนครบ รถพร้อม ได้เวลาล้อหมุนกันในเวลา ๐๔.๐๐ น. นั่งหลับกันมาตลอดทาง รถขับแบบสบาย ๆ ไม่เร่งรีบ แวะพักเข้าห้องน้ำ-เดิมแก๊ส จวบจนเดินทางถึงวัดธรรมยานในเวลาประมาณ ๐๘.๒๕ น. ร่วมกันถวายทองคำ แผ่นทอง ปัจจัยก่อนที่จะแจ้งให้ทุกคนแยกย้ายกันไปตามอัธยาศัย และมาพร้อมกันที่รถในเวลา ๐๙.๔๐ น. เพื่อออกเดินทางต่อ

    เวลา ๐๘.๔๕ น. พิธีเททอง หล่อพระเริ่มจนเสร็จพิธี หลังจากนั้นได้เวลาเดินทางไปสถานที่ต่อไป คือ วัดป่าซับคำกอง ชาวคณะฯ เดินทางถึงวัดในเวลาประมาณ ๑๐.๔๐ น. ซึ่งปกติเป็นเวลาที่หลวงปู่ท่านขึ้นพักธาตุขันธ์แล้ว แต่ตอนที่คณะเดินทางไปถึง หลวงปู่ท่านยังนั่งอยู่ที่ศาลา ยังไม่ได้ขึ้นและสั่งให้พี่ที่ดูแลปูเสื่อเตรียมไว้ พอคณะไปถึงก็นำปัจจัย-สังฆทานกราบถวาย หลวงปู่เมตตานำสวดด้วยตัวเอง และอยู่แสดงธรรมให้ฟังเกือบ ๒ ชั่วโมง สร้างความปลื้มปีติและประทับใจกับทุกคน ยิ่งเมื่อมาทราบจากพี่ที่ดูแลหลวงปู่ในภายหลังว่า วันนี้หลวงปู่ท่านเมตตารอและให้เวลากับคณะมาก ปกติท่านเมื่อได้เวลาท่านจะขึ้นกุฎิ บางคนมาหลังเวลานิดหน่อยยังไม่ได้กราบ หรือบางคนพอมาถวายของเสร็จท่านก็ไม่ได้แสดงธรรมให้ฟังมากและนานถึงขนาดนี้ คณะนี้ถือว่าโชคดีและได้รับโอกาสพิเศษมาก ก็ยิ่งปีติในความเมตตาขึ้นเป็นทวีคูณ ก่อนจะกราบลากลับ พี่คนหนึ่งในคณะได้ขออนุญาตขอชมฟันของหลวงปู่ที่เป็นพระธาตุ ซึ่งหลวงปู่ได้เมตตาให้นำออกมาให้ได้ดูมีทั้งหมดหลายซี่ บรรจุอยู่ในผอบแก้วใบใหญ่ ซี่ยาวเป็นพระธาตุเนื้อสีเขียวคล้าย ๆ มรกต ส่วนที่เหลือเป็นสีม่วงและสีน้ำตาล


    [​IMG]
    หลวงปู่ำคำสุข วัดป่าซับคำกอง และชาวคณะฯ


    ๑๓.๐๐ น. ชาวคณะฯ กราบลาหลวงปู่เพื่อเดินทางต่อ แวะพักรับประทานอาหารมื้อกลางวันกันที่ร้านตาแป๊ะ อ.วิเชียรบุรี ให้เวลาทุกคนที่นี่ ๑ ชม. อิ่มหนำสำราญได้เวลาล้อหมุนเพื่อเดินทางต่อไปวัดที่สอง คือวัดพรหมยานเพื่อกราบหลวงพ่อผอง


    [​IMG]
    หลวงพ่อผอง ธมมธีโร วัดพรหมยาน

    ชาวคณะร่วมกันถวายปัจจัย สังฆทานก่อนที่จะกราบลาหลวงพ่อเพื่อออกเดินทางต่อ ดูนาฬิกาเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. รู้ว่าอาจจะเแวะวัดอื่นอีกไม่ทันแน่เนื่องจากเวลาที่ต้องใช้เดินทางกลับไม่ต่ำกว่า ๓ ชั่วโมง ตัดสินใจแจ้งทุกคนว่า เราจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ เพื่อให้ถึงในเวลาไม่เกิน ๑๘.๓๐ น. มีเวลาและวาระค่อยขึ้นกันมาใหม่ ทุกคนรับทราบ หลังจากนั้นก็หลับยาวกันมาจนเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง คือปั้มน้ำมัน ปตท.สนามเป้าในเวลา ๑๘.๒๐ น. น้องรีบเดินทางต่อไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งสายใต้ และเมื่อได้ขึ้นรถน้องส่งข่าวมาว่า "ฝากขอโทษทุกคนที่เป็นต้นเหตุให้ไม่ได้ไปไหว้พระอีกหลายวัด ได้ตอบน้องไปว่า ไม่ต้องกังวลเพราะพี่แจ้งตั้งแต่แรกแล้วว่า ไหว้พระตามเวลาและธรรมะจัดสรร ไม่ได้ไปไหว้วันนี้ วันหน้าก็ต้องได้ไป เรื่องกลับไปดูแลคุณพ่อน้องเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญกว่า ขอให้น้องเดินทางไป-กลับโดยสวัสดิภาพ" ส่วนตัวผู้เขียนเองก็เิดินทางกลับถึงบ้านในเวลา ๑๙.๓๐ น. เป็นอันจบอีกหนึ่งกิจกรรมบุญอย่างบริบูรณ์

    ญ.ผู้หญิง
    ๒๖ มิ.ย.๕๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2011
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ที่พักเป็นเรือนไทยไม้สัก จำนวน ๑ หลัง ของวัดสันปายางหลวง โดยความเมตตาของครูบาอินทร มีทั้งหมด ๔ ห้องนอนใหญ่ เป็นห้องน้ำในตัว แยกนอนชาย-หญิง นอนได้ห้องละประมาณ ๗-๑๐ คนค่ะ
     
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในทริปนี้กันเถอะ

    ๑. ศาลาธรรมญานวิโมกข์

    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]


    ก่อตั้งโดยพระอาจารย์อภิวิชญ์ อภิชโย ปัจจุบันท่านประจำอยู่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานจังหวัดลำพูน สาขา ๒ วัดพระธาตุดอยแต ต. เหมืองจี้ อ. เมือง จ. ลำพูน มีจุดประสงค์เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมิกิจกรรมในการสวดมนต์รัตนสูตรและบทอื่น ๆ เป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งกิจการงานในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา


    ๒. ดอยขะม้อ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ดอยขะม้อ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูน อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลำพูน อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ-แม่ตีบ-แม่สาร ในเขตท้องที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน ห่างจากตัวศาลากลางลำพูน ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
    ๑. มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน ยอดเขาแหลมแตกต่างจากยอดเขาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาเคยเป็นภูเขาไฟที่ดับมานานแล้ว มีลักษณะเหมือนหม้อคว่ำ ชาวเมืองแต่โบราณเรียกว่าดอยคว่ำหม้อ ภายหลังเพี้ยนมาเป็นดอยขะม้อ ปัจจุบันนี้บางคนเรียกว่าดอยขะม้อบ่อน้ำทิพย์เพราะว่าบนยอดดอยมีบ่อน้ำเกิดกลางแผ่นหินสูงจึงถือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์หรือชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำทิพย์
    ๒. บนยอดดอยขะม้อมีความกว้างประมาณ ๑๒ เมตร ยาวประมาณ ๓๐ เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนอันเป็นต้นน้ำของลำห้วยแม่ตีบ
    ๓. บนดอยขะม้อมีสิ่งก่อสร้างคือ พระวิหาร ๑ หลัง พระบาทจำลอง ๑ แห่ง สร้างเมื่อพ.ศ.๒๔๗๐ โดยพระครูสิงห์ชัยวัดสะแล่ง พระครูชัยลังกา วัดศรีชุมขุนจันทนุปาน กำนันตำบลมะเขือแจ้ และนายชัยกำนันตำบลบ้านกลาง หลังพระวิหารเก่าแก่นี้มีบ่อน้ำทิพย์เป็นลักษณะบ่อที่เกิดกลางแผ่นหิน ปากบ่อกว้างประมาณ ๓ เมตร ความลึกไม่สามารถวัดได้ มีรั้วล้อมรอบและมีป้ายห้ามผู้หญิงเข้าไปเพราะมีความเชื่อว่าถ้าผู้หญิงเข้าไปแล้วน้ำในบ่อจะแห้งทันที


    ตำนานเกี่ยวกับดอยขะม้อ
    มีตำนานเล่าขานกันต่อมาเกี่ยวกับประวัติของบ่อน้ำทิพย์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ได้ เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์
    ในที่ต่าง ๆ และได้มาพักฉันอาหารบนยอดดอยนี้ ก่อนที่จะฉันอาหารพระองค์ได้ทรงบิณฑบาตแล้วขึ้นไปจัดแจงแต่งดาบนดอยลูกหนึ่ง ทางตอนเหนือของดอยขะม้อ ดอยลูกนั้นจึงได้ชื่อว่าดอยห้างบาตร (ห้างเป็นภาษาเหนือที่แปลว่าแต่งดา) ดอยห้างบาตรอยู่ในเขตตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ในปัจจุบัน

    ที่บนดอยห้างบาตร มีรอยบาตรประทับบนแผ่นดิน เมื่อจัดแจงแต่งบาตรเสร็จก็ออกบิณฑบาตรไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ แล้วไปแวะพักฉันอาหารบนยอดดอยขะม้อ เมื่อฉันอาหารเสร็จไม่มีน้ำจะเสวย เมื่อเป็นดังนี้พระพุทธองค์จึงอธิษฐานถึงบารมีทานแล้วใช้พระหัตถ์กดลงบนแผ่นหิน ฉับพลันก็มีน้ำพุ่งขึ้นมาให้เสวย
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ดูก่อน อานนท์เมื่อตถาคตเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วธาตุของตถาคตจะไปตั้งอยู่กลางเมืองหริภุญชัย ในสมัยพญาอาทิตยราช
    แล้วคนทั้งหลายจะมาตักเอาน้ำแห่งนี้ไปสรงพระธาตุของตถาคต


    ความสำคัญของบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อ
    ๑. ใช้เป็นน้ำสรงพระธาตุหริภุญชัยในประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยตรงกับวันเพ็ญเดือนหก (วันวิสาขบูชา) หรือวันเพ็ญเดือนแปด (เหนือ) ชาวบ้านเรียกว่าประเพณีเดือนแปดเป็ง จะมีพิธีการตักน้ำจากบ่อน้ำทิพย์นี้ก่อนสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยเป็นประะจำทุกปี
    ๒. มีการใช้น้ำทิพย์จากดอยขะม้อในพิธีบรมราชาภิเษกและงานราชพิธีต่าง ๆ คือในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๓ (โดยพิธีจัดในปีพ.ศ.๒๔๕๔) ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ใช้น้ำจากบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อ ในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ รัชกาลที่ ๘ ไม่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้ใช้น้ำทิพย์ดอยขะม้อในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปี พ.ศ.๒๔๙๓ โดยมีการพลีกรรมตักน้ำจากแม่น้ำแหล่งต่าง ๆ ที่ถือว่าสำคัญและเป็นสิริมงคลมาตั้งทำน้ำพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ มหาเจดีย์สถานที่เป็นมหานครโบราณมีการใช้น้ำจากบ่อน้ำทิพย์ในพระราชพิธีต่าง ๆ ตามโบราณราชประเพณี
    ๓. น้ำจากบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อเป็น ๑ ใน ๗ แห่ง ของน้ำทิพย์ที่ได้จากแม่น้ำและแหล่งต่าง ๆ ที่ถือว่าสำคัญและเป็นสิริมงคลของประเทศเพื่อนำมาตั้งทำน้ำพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ มหาเจดีย์สถาน ที่เป็นมหานครโบราณนับว่าบ่อน้ำทิพย์มีความสำคัญต่อท้องถิ่นภูมิภาคและประเทศเป็นอย่างยิ่ง

    การเดินทางขึ้นดอยขะม้อในอดีตต้องเดินทางไปตามป่าเขาแต่ในปัจจุบันได้มีการก่อสร้างบันไดจำนวน ๑,๗๔๙ ขั้น ถึงยอดภูเขาทำให้ง่ายต่อการเดินทางเป็นอันมาก


    ขอบคุณที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ. ๒๕๔๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ๒.jpg
      ๒.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.3 KB
      เปิดดู:
      78
    • ๓.jpg
      ๓.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.3 KB
      เปิดดู:
      66
    • ๔.jpg
      ๔.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.1 KB
      เปิดดู:
      76
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในทริปนี้กันเถอะ (ต่อ)

    ๓. วัดสันป่ายางหลวง

    [​IMG]


    วัดสันป่ายางหลวง
    ชื่อเดิม วัดขอมลำโพง สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๗๔ โดยชาวบ้านที่พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา นับเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาของแคว้นล้านนา หลังจากสร้างเสร็จจึงได้มีการอัญเชิญเอาพระอัฐิธาตุของพระอัครสาวกของพระพุทธองค์คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ มาบรรจุไว้ ณ ที่เจดีย์ของวัดแห่งนี้ ต่อมาในยุคเสื่อมของพุทธศาสนา วัดแห่งนี้ก็กลายเป็นวัดร้าง จนมาถึงสมัยของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ของเมืองลำพูน จึงได้มีการฟื้นฟูวัดด้วยการสร้างถาวรวัตถุ และมีการกำหนดเขตธรณีสงฆ์ขึ้นใหม่ พร้อมกับประทานชื่อวัดใหม่ว่าวัดอาพัฒนารามป่าไม้ยางหลวง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า วัดสันป่ายางหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสถานที่ตั้ง เพราะในสมัยก่อนบริเวณดังกล่าวมีต้นยางขึ้นอย่างหนาทึบ

    ภายในวัดมีวิหารที่สวยงามคือ วิหารพระโขงเขียว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นที่ประดิษฐานพระหยกเขียวซึ่งนำมาจากแม่น้ำโขง พระนามเต็มของพระเขียว คือ พระพุทธอัญญรัตนมหานทีศรีหริภุญชัย ซึ่งเหมือนพระพุทธศีศากยโคดม องค์ปัจจุบัน วิหารพระเขียวโขงเมื่อมองจากด้านหน้าจะมีหลังคา ๕ ชั้น มีช่อฟ้า ๕ ตัว หมายถึงพระเจ้า ๕ พระองค์ ด้านหลังอีก ๓ หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา หมายถึงการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าเพื่อเดินเข้าสู่พระนิพพาน หน้า ๕ รวมหลัง ๓ รวมเป็น ๘ หมายถึง ต้องปฏิบัติตามทางสายกลาง คือ มรรค ๘ ได้ธรรมมัชฌิมา ทางสายกลางคือ ๙ เป็นโลกุตตรธรรม

    ตรงกลางหลังคามีเรือหงส์และฉัตร หมายถึง โลกุตตรธรรมหรือ นิพพาน ความสงบดับเย็นจากกิเลศตัณหา ด้านล่างมีรูปปั้นผางประทีป เปรียบเหมือนรังกา และกาเผือกนอนในรัง รูปพรหมสี่หน้านั่งอยู่บนหลังกา หมายถึง กำเนิดตำนานผางประทีป ภายในพระวิหารพุทธอัญญรัตนมหานทีศรีหริภุญชัยมีมณฑปทรงล้านนา ด้านล่างประดิษฐานพระพุทธเมตไตรจำลองมาจากพุทธคยาตอนที่พระพุทธเจ้าโคตรมะ บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้านบนเป็นที่ประดิษฐานพระเขียวโขง หมายถึง พระพุทธเจ้าโคตมะที่มีอายุพระพุทธศาสนาผ่านมาถึงกึ่งพุทธกาล ๒๕๕๐ ปีของยุคพระพุทธเจ้าโคตมะ ซึงพระครูบาอินทร ปัญญาวัฑฒโนและญาติโยมพร้อมทั้งพุทธบริษัทได้ตั้งใจสร้างบูชาพระคุณของพระรัตนตรัย และภายในวิหารยังมีมณฑปพระเขี้ยวแก้วซึ้งเป็นพระเขี้ยวแก้วของพระมหาสารีบุตรด้านซ้ายบน ซึ่งเหมือนพระเขี้ยวแก้วของเมืองจีน เป็นของสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง นอกจากนั้นก็มีพระพุทธรูปแก้วขาวของเก่าเมืองลำพูน รวมทั้งพระเครื่องสกุลหริภุญชัยซึ่งหาได้ยากอีกมากมาย นอกจากจะมีวิหารที่สวยงามแล้ว ยังมี พระพุทธรูปหินหยกขาวปางปรินิพพานที่สวยงามอีกด้วย



    ๔. วัดพระธาตุหริภุญชัย

    [​IMG]


    พระธาตุประจำปีระกา รับพรให้ พระบรมธาตุปกเกศคุ้มเกล้า วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษ์ที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวี โดยที่แห่งนี้เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัด พระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

    พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐาน อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุยอ่นอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่ามีลักษณะเป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวารเข้า-ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มี มากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่นสำหรับประดิษฐานพระโกศที่บรรจุพระบรมสาริริกธาตุในสมัยของพญา สรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรง สร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อพญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรงขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ.๑๙๕๑ โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ

    พ.ศ.๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒ ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน


    ๕. อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

    [​IMG]


    ไหว้สา พระแม่เจ้าจามเทวี รับพรให้ นำพาชีวิตไปในทิศทางถูกต้องดีงาม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญขัย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน


    ๖. วัดจามเทวี

    [​IMG]


    ไหว้สา พระสุวรรณจังโกฎิเจดีย์ วัดจามเทวี เพื่อระลึกถึงปฐมกษัตรย์ แห่งหริภุญชัย เป็นวัดเก่าแก่ มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของ จ. ลำพูน โดยเฉพาะพระเจดีย์กู่กุดซึ่งพบที่วัดนี้ เป็นเจดีย์แบบเหลี่ยมที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด และเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรมของหริภุญขัย พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ รู้จักกันในชื่อ "เจดีย์กู่กุด" เนื่องจากยอดบนสุดของเจดีย์หรือกู่หักหายไป เจดีย์องค์นี้อยู่ด้านหน้าวิหาร ฐานกว้างด้านละ ๑๕.๓๕ เมตร สูง ๒๑ เมตร เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลงหลั่นขั้นไปห้าชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานอภัยรวม ๖๐ องค์ ส่วนยอดเจดีย์กล่าวกันว่าหุ้มด้วยทองคำเรียกว่า สุวรรณจังโกฏ แต่หักหายไป

    ขอบคุณที่มา : ท่องเที่ยวลำพูน


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในทริปนี้กันเถอะ (ต่อ)

    ๗. วัดพระคงฤๅษี

    [​IMG]


    ไหว้สา พระคง วัดพระคงฤาษี รับพรให้ ชีวิตมั่นคง เกียรติยศเป็นที่ปรากฎตลอดกาล วัดพระคงฤาษี หรือวัดอนันทราม ตั้งอยู่ ต.ในเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ครองเมืองหริภุญชัย ในวัดนี้มีพระคง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่นับถืออีกองค์หนึ่งของเมืองลำพูน


    ๘. วัดมหาวัน

    [​IMG]


    ไหว้สา พระรอด วัดมหาวัน รับพรให้ ชีวิตรอดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนวัดมหาวันวนารามสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิม อยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตัง คมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูป ประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมา ในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหา วันที่โด่งดังนั่นเอง


    ๙. วัดพระนอนม่อนช้าง

    [​IMG]


    ไหว้สา พระนอน วัดพระนอนม่อนช้าง รับพรให้ สุขภาพดีมีสุขทุกทิวาราตรี
    วัดพระนอนม่อนช้าง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญอีกวัดหนึ่งที่มีอายุกว่า ๓๐๐ ปี นอกจากศิลปกรรมล้านนาของพระอุโบสถที่หาชมได้ยากแล้ว วัดนี้ยังมีองค์พระนอนขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง ภายในวัดยังพบศิลาจารึกโบราณกล่าวถึงการบูรณะองค์พระนอนม่อนช้าง ตอนหนึ่งว่า

    "สิริสฺภนมัสตุ จุลศักราชได้ ๑๑๕๖ ตัว ในปีกาบยี เดือนปุสสะ แรม ๘ ค่ำ พร่ำได้วันจันทร์ ไทยเมืองเหม้า ติถี ๘ ตัว นาทีฤกษ์ ๑๔ ตัว นาที ๑๕ ตัว ในตุลยวาโยราศี ยามทุดเช้า ลัคนาเถิงในมังกรอาโปราศีมีวรัทธมาน ฉายาแนอุดมดี เหตุนั้น เจ้าเคล้าปฐมมูลสัทธาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก ห้องภายในหมายมีพระมหาสวาธุเจ้านันทวิสุทธวังโส ตนเป็นเจ้าเหง้าอารามวัดสะปุ๋งทีนีเป็นเคล้า..."


    จากจารึกทำให้ทราบว่าการสร้างองค์พระนอน ไม่ทราบว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เพราะไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่หลักฐานการบูรณะจากรึกไว้ว่า มีพระมหาสาธุเจ้าพระวิสุทธวังโส วัดสะปุ๋งและสาธุเจ้าปัญญา วัดเชียงรายกับสาธุเจ้าเทพิน วัดบ้านถอง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และประธานฝ่ายฆราวาส องค์สมเด็จพระเชษฐาเจ้าและพระยารัตนหัวเมืองแก้วเป็นประธาร ได้มาซ่อมแซมองค์พระนอนพุทธไสยาสน์ให้ดีขึ้นพร้อมกันนั้นได้สร้างพระอุโบสถไว้กับวัด
    นอกจากนั้นยังมีตำนานการสร้างวัดพระนอนม่อนช้าง กล่าวว่าพระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาในดินแดนแถบนี้ หลังจากเสด็จมาที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า ในเวลานั้นมีลัวะ ๒ ผัวเมียได้มาถวายภัตตาหารแด่พระพุทธองค์ แล้วได้ทูลขอพระเกศาจากพระพุทธเจ้า ได้ทรงประทานแก่ลัวะ ๒ ผัวเมียนั้น นำมาบรรจุในพระเจดีย์บนดอยม่อนช้างในปัจจุบัน

    ศิลปกรรมล้านนาที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ก็คือ พระอุโบสถวัดพระนอนม่อนช้าง เป็นอาคารเครื่องไม้ครึ่งล่างก่ออิฐถือปูน ด้านหน้าอุโบสถตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงฐานล่างมีลายปูนปั้นแบบล้านนาผสมจีน บริเวณหน้าบันแบ่งเป็น ๓ ช่อง แต่ละช่องมีตัวเทวดายืนประจำ ๒ องค์ ภายในช่องปรากฏลวดลายปูนปั้นเครือเถาไม้เลื้อยมุมทั้งสองข้างมีตัวกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์นวนิยาย ตรงกลางด้านล่างสุดของหน้าบันเป็นลายปูนปั้นรูปเทวดารำ ซึ่งร่องรอยบางส่วนชำรุดไปตามกาลเวลา นับเป็นศิลปกรรมล้านนาที่ยังคงสมบูรณ์อยู่มาก
    เสาด้านหน้าพระอุโบสถทั้ง ๔ เสา มีลายปูนปั้นศิลปะแบบจีน ตั้งแต่หัวเสาจนถึงฐาน แต่ปัจจุบันบริเวณด้านล่างของเสาลวดลายได้หลุดหลายไปคงเหลือเฉพาะหัวเสา คันทวยของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักรูปพญานาคประดับด้วยปูนปั้นลายไม้เลื้อย

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ครูบาขาวปีได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารและธรณีพระธาตุโดยรอบแต่ไม่แล้วเสร็จ ต่อมาครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปางได้มาบูรณะและสร้างต่อจนเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก (พระสุพรหมนเถระ) วัดพระบาทตากผ้าได้มาเป็นประธานในการสร้างกำแพงวัดและสร้างเสริมธรณีรอบองค์พระเจดีย์ กระทั่ง ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ทางคณะสงฆ์อำเภอป่าซาง มีพระครูพิศาลพุทธิธร เจ้าคณะอำเภอป่าซาง วัดป่าซางงามได้มาเป็นประธานซ่อมแซมพระอุโบสถ


    พ.ศ. ๒๕๑๕ พระครูพิศาลพุทธิธร เจ้าคณะอำเภอป่าซางและพระสุพรหมยานเถระวัดพระพุทธบาทตากผ้าได้ร่วมกับคณะศรัทธาประชาชน ได้มาบูรณะสิ่งก่อสร้างภายในวัด และได้ทำการเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๑๖ วัดพระนอนม่อนช้อง ตั้งอยู่บนเนินเขาที่บ้านกิ่วมื่น ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดพระนอนม่อนช้าง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ปัจจุบันมีพระมหาอมร อมโร เป็นเจ้าอาวาส สำหรับผู้สนใจชมพระอุโบสถศิลปกรรมล้านนาที่หาชมยาก ใช้เส้นทางสายป่าซาง - ลี้ ก่อนถึงวัดพระบาทตากผ้าเลี้ยวซ้ายที่บ้านกิ่วมื่น เข้าไปประมาณ ๒ กม.



    ๑๐. กู่ช้าง-กู่ม้า

    [​IMG]


    ไหว้สา กู่ช้าง กู่ม้า รับพรให้ มีโชคผ่านพ้นอุปสรรคถึงความสำเร็จทุกประการ กู่ช้าง - กู่ม้า เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว ซอยโรงเรียนจักรคำคณาทร ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร กู่ช้าง เป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อ “ ภูก่ำงาเขียว” หมายถึง ช้างผิวสีคล้ำ งาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม ส่วน กู่ม้า เป็นสถูปทรงระฆัง เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักสถานที่ ๆ จะไปในทริปนี้กันเถอะ (ต่อ)

    ๑๑. วัดพระยืน

    [​IMG]


    ไหว้สา พระยืน วัดพระยืน รับพรให้ อายุ ความรักยั่งยืน เจริญรุ่งเรือง พระยืน ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านพระยืน หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จ.ลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีเนื้อที่ประมาณ ๒๙ ไร่ ๒ งาน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ชื่อวัดพระยืน เรียกตามปูชนียวัตถุสำคัญที่อยู่ในวัด คือพระยืน (พระพุทธรูปยืน) ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระยืนนี้ ได้มีการกล่าวไว้ในหนังสือตำนานหลายเล่ม อาทิ ในหนังสือตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวถึงตอนที่พระญากือนาได้อาราธนานิมนต์พระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัยเพื่อมาเชียงใหม่ โดยได้พักที่วัดพระยืน ในเมืองหริภุญชัย ราว พ.ศ. ๑๙๑๒ ซึ่งขณะนั้นได้มีพระยืน ๑ องค์อยู่ก่อนแล้ว แต่บริเวณนั้นเป็นป่า พระญากือนาจึงให้คนไปแผ้วถาง แล้วสร้างพระพุทธรูปยืนเพิ่มอีก ๓ องค์ โดยองค์หนึ่งให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก องค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ และอีกองค์หนึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ และสร้างมณฑปครอบพระพุทธรูปยืนทั้ง ๔ องค์นี้ไว้

    ต่อมามณฑปที่ได้สร้างไว้นั้นทรุดโทรมและปรักหักพังลง โดยเฉพาะที่ส่วนยอดพังลงมาจนถึงซุ้ม ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในมณฑปคงเหลือที่สมบูรณ์เพียงด้านทิศตะวันออกองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้นในสมัยของเจ้าหลวงอินทยงยศ จึงได้ให้หนานปัญญาเมือง ชาวบ้านหนองเส้งซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวงเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างครอบของเดิมที่ปรักหักพังไป แล้วให้นำเอาอิฐ หินและดินที่พังลงมานั้นใส่ถมพระมณฑปองค์เดิมที่มีพระพุทธรูปยืนเหลือเพียงองค์เดียวนั้นจนหมดสิ้น มณฑปองค์ใหม่นี้ทำจากศิลาแลงและอิฐบางส่วน และประดับลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงกว่าเดิมมาก มีบันไดที่ตกแต่งด้วยเหงาทอดขึ้นสู่มณฑปทั้ง ๔ ด้าน บนมณฑปมีลานทักษิณล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ที่มุมประดับด้วยสถูปิกะหรือเจดีย์บริวาร ถัดจากฐานมีเรือนธาตุย่อเก็จ และซุ้มจระนำ ๔ ด้าน โดยยึดรูปแบบคล้ายกับองค์เดิมที่สร้างในสมัยของพระญากือนา แต่ละซุ้มประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปยืน เหนือขึ้นไปเป็นมาลัยเถาสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น และมีมุมประดับด้วยสถูปิกะ ส่วนยอดประดับด้วยฉัตร นอกจากนั้นยังมียอดเล็ก ๆ ที่ประดับรอบยอดใหญ่อีก ๔ ยอด อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่ารูปลักษณะของมณฑปวัดพระยืนนี้คล้ายกับมณฑปสัพพัญญูในเมืองพุกามประเทศพม่า ทั้งนี้คงเนื่องมาจากชาวพม่าเข้ามาอาศัยในล้านนาและได้มีส่วนสร้างหรือสนับสนุนในการบูรณะมณฑปพระยืนแก่หนานปัญญาเมือง

    ความสูงของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ เมื่อเทียบกับระดับของพระพุทธรูปเดิมที่ถูกถมอยู่ข้างในแล้ว ระดับของพระนลาฏของพระองค์เดิมจะอยู่ในระดับเดียวกับระดับพระบาทของพระยืนองค์ที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการห้ามสตรีขึ้นไปบนเจดีย์ การก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และสำเร็จลงในปี พ.ศ. ๒๔๕๐


    ๑๒. พิพิธภัณฑ์หริภุญชัย-พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง

    [​IMG]

    พิพิธภัณฑ์หริภุญชัย ตั้งอยู่ถนนอินทยงยศเยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุแบ่งเป็น ๓ ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่ เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น ๓ สมัย คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ได้แก่ พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวดา เป็นต้น ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียวมีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคาร หลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือตีเหล็ก เครื่องมือทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พานดอกไม้เชี่ยนหมาก เป็นต้น ห้องศิลาจารึก เป็นห้องโถงเปิดโล่ง อยู่ชั้นล่างของตัวอาคาร จัดแสดงศิลาจารึก สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และศิลาจารึกสมัยล้านนา สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นไป เปิดเข้าชมเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

    พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง
    เดิมเป็นคุ้มเจ้าสัมพันธ์วงศ์สร้างใน พ.ศ.๒๔๕๕ สมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เป็นอาคารทรงปั้นหยาที่งดงาม ปัจจุบันเทศบาลเมืองลำพูนจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนชาวลำพูนเมื่อราว ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา อาทิ ภาพถ่ายเก่า ร้านขายเครื่องเขียน ของใช้สมัยก่อน


    ๑๓. วัดพระแก้วดอนเต้า

    [​IMG]


    ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๗๙ เป็นเวลานานถึง ๓๒ ปี เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้ามีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวงจนถึงปัจจุบัน ปูชนียสถานที่สำคัญในวัดพระแก้วดอนเต้า ได้แก่ พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า มณฑปศิลปะพม่าซึ่งมีลักษณะงดงามและเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ วิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีอายุเก่าพอๆกับวัดนี้ นอกจากนี้ยังมี วิหารหลวง และพิพิธภัณฑสถานแห่งลานนา การเดินทางไปยังวัด ข้ามสะพานรัชฎาภิเษกแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้วประมาณ ๑ กม. จะเห็นองค์พระธาตุตั้งเด่นอยู่บนเนิน


    ๑๔. พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ

    [​IMG]

    ประดิษฐานอยู่ในมณฑป ซึ่งเป็นอาคารทรงไทยแบบจตุรมุข หน้าศาลากลางจังหวัดลําปาง เป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะผสมรมดำดําทั้งองค์ปางสมาธิ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อดํา จัดสร้างโดยกรมการรักษาดินแดนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ มี ๔ องค์ เพื่อนําไปประดิษฐานไว้ ๔ ทิศของประเทศ โดยทางทิศเหนือได้นํามาประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดลําปาง นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ปิดทองเกือบทั้งองค์โดยสาธุชนที่มานมัสการ


    ๑๕. วัดพระธาตุลำปางหลวง

    [​IMG]
    เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตอนปลาย เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย ได้แก่ พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอก บุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญชัยและพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่

    วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๙ โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคาร ก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย เมื่อหันหน้าเข้าหาวิหารหลวง ด้านขวามือ คือ วิหารน้ำแต้ม หรือวิหารภาพเขียนสี (“แต้ม” แปลว่า ภาพเขียน) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๔ เป็นวิหารเปิดโล่งที่เก่าแก่ที่สุดอีกหลังหนึ่งทางภาคเหนือ ภายในเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม ไม่มีฝ้าเพดาน กำแพงด้านพระประธานเขียนภาพลายทองบนพื้นรักแดง มีภาพจิตรกรรมศิลปะล้านนาบนแผงไม้คอสองที่กล่าวกันว่าเก่าแก่ที่สุด และหลงเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา แต่ปัจจุบันภาพเขียนลบเลือนไปมาก และประดิษฐานพระพุทธรูปสัมริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สูง ๑.๒๕ เมตร


    ซุ้มพระบาท สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๒ ภายในมองเห็นแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น

    กุฏิพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างเมื่อใด แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว

    วิหารพระเจ้าศิลา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้ เมื่อ พ.ศ. ๑๒๗๕ พระบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้ประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้

    พิพิธภัณฑ์ รวบรวมศิลปวัตถุจากที่ต่างๆ ที่หาชมได้ยาก เช่นสังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนี้วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า (พระแก้วมรกต) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะล้านนาสลักด้วยหยกสีเขียว ทุกปีจะมีงานนมัสการพระแก้วดอนเต้าในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้ระหว่างเวลา ๐๗.๓๐-๑๗.๐๐ น.


    ๑๖. หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น

    [​IMG]


    ประวัติหลวงปู่ฯ
    หลวงปู่ครูบาครองปัจจุบันอายุ ๘๙ ปี ๖๙ พรรษา (นับเฉพาะบวชพระ) เกิดวันที่ ๓ ส.ค. ๒๔๖๓ เป็นลูกคนโตของพ่อซาว-แม่น้อย จากบุตรทั้งหมด ๔ คน บวชเณรตอนอายุ ๑๖ ปี โดยพระครูพุทธวงศ์ (ก๋วน) เกจิดังวัดแม่ปะหลวง ตุ๊ลุงของท่านเป็นผู้บรรพชาและบวชพระเมื่ออายุ ๒๐ ปีโดยพระครูรักขิตคุณ(ต๋า) วัดอุมลอง เกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ อ.เถิน เป็นพระอุปํชฌาย์ จำพรรษา ณ.วัดท่ามะเกว๋น

    เมื่อท่านบวชเณรแล้วได้ศึกษาอักขระล้านนา และศึกษาการปฏิบัติเบื้องต้นกับตุ๊ ลุงของท่าน จนบวชเป็นพระแล้วก็เริ่มศึกษากับพระอุปํชฌาย์และหนานหลายคนหลังจากนั้นจึงออกเดินรุกขมูลร่ำเรียนไปทั่วภาคเหนือ จนเกือบ ๑๐ พรรษาจึงกลับมายังบ้านท่าอุดม โดยปักกลดอยู่ในป่าลึกจากวัดเข้าไปมาก พอพี่น้องลูกหลานท่านทราบถึงการกลับมาของหลวงปู่ครูบาครองก็เกิดความปีติ ดีใจรีบเดินทางไปนิมนต์ท่านกลับเข้าวัดท่ามะเกว๋น แต่ท่านปฏิเสธเนื่องจากไม่ต้องการพบความวุ่นวายของโลกอีกต่อไป อยากอยู่บำเพ็ญฌานสมาบัติโดยลำพังเพียงรูปเดียวในป่านี้ ทันทีที่ลูกหลานทราบวัตถุประสงค์ของหลวงปู่ฯ ก็ได้ร่วมกันปลูกเพิงพักให้ท่านได้ปฏิบัติธรรมตามเจตนา หลวงปู่ครูบาครองจึงได้อยู่ป่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน รวมกว่า ๖๐ปี

    ขอบคุณที่มา :ท่องเที่ยวลำพูน-ลำปาง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. itipizo

    itipizo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +86
    อ่านข้อมูลทริป..แล้ว เกิดกิเลสอีก..เอิ้ก ๆ
    เืมื่อเดือนที่แล้วทุกอาทิตย์...555
    เดือนนี้ว่าจะเว้นไว้สักอาทิตย์เดียวพอ....

    โมทนาบุญกับทุกท่านนะครับ...สาธุ
     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๑) เททอง-หล่อพระ วัดธรรมยาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๒)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๓)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    คุณพิชิต ไม้พุ่ม กรรมการใหญ่ บริษัทเอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจำกัด ประธานฝ่ายฆราวาส
    จุดธูปเทียนบูชา ประกอบพิธีบวงสรวง



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๔)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    หลวงพ่อพระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ (อนันต์ พทฺธญาโณ)
    เป็นประธานเททองคำหล่อยอดพระเกตุสมเด็จองค์ปฐม เป็นปฐมฤกษ์


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๕)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๖)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๗)

    [​IMG]
    พระสมุห์ปรินทร์ ธมฺมสรโณ (หลวงพี่เอก)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๘) หลวงปู่คำสุข ญานสุโข วัดป่าซับคำกอง

    [​IMG]
    ภาพฟันหลวงปู่ กลายสภาพเป็นพระธาตุ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ประมวลภาพ (๙) หลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ปิดท้ายด้วยกฎไตรลักษณ์ของชาวคณะ เป็นอันจบทริปอย่างสมบูรณ์ (จริง ๆ) ฮิ ฮิ


    เครดิตภาพ
    ๑. ชมรมพุทธศาสตร์ บริษัทเซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด

    ๒. คุณ ญ.ผู้หญิง
    ๓. คุณ pate_thailand


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2011
  19. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    นับถอยหลังอีก ๘ วัน
    กับแอ่วหละปูน อิ่มบุญอิ่มรักพระแม่เจ้าจามเทวี

     
  20. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    เรียนเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพถวายเทียนพรรษา

    ขอเชิญร่วมทำบุญถวายเทียนจำนำพรรษา
    ประจำปี ๒๕๕๔



    เพื่อถวายวัดให้ได้นำมาใช้ในโบสถ์ ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงไว้ที่ศาลา วิหารเพื่อบูชาพระรัตนตรัย มีจำนวนรวม ๑๑ วัด ในกิจกรรมบุญแอ่วหละปูน-หละปาง ดังนี้



    ๑. วัดสันป่ายางหลวง
    ๒. วัดพระธาตุหริภุญชัย
    ๓. วัดจามเทวี
    ๔. วัดพระคงฤๅษี
    ๕. วัดมหาวัน
    ๖. วัดพระนอนม่อนช้าง
    ๗. วัดพระยืน
    ๘. วัดพระแก้วดอนเต้า
    ๙. วัดพระธาตุลำปางหลวง
    ๑๐. วัดท่ามะเกว๋น
    ๑๑. ศาลาธรรมญานวิโมกข์

    จึงขอเรียนเชิญกัลยาณธรรมทุกท่านได้ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพถวายเทียนพรรษาในครั้งนี้โดยทั่วกัน


    อานิสงส์ถวายเทียนพรรษา
    ๑. ทำให้เกิดปัญญาทั้งชาตินี้ และชาติหน้า เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งเทียน
    ๒. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
    ๓. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี
    ๔. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร
    ๕. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
    ๖. เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
    ๗. เมื่อลาลับโลกนี้ไป ย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
    ๘. หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน


     

แชร์หน้านี้

Loading...