เว็บพลังจิต ประมวลภาพเยือนภูทอก ทอดผ้าป่าวัดป่าเมืองอีสาน 10-12 ธ.ค.54 P.20

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 28 กรกฎาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบค่ะ ตอนนี้พักผ่อนเก็บแรงกันไว้ก่อนค่ะ *-* [​IMG]

    รับทราบค่ะพี่นิด จัดให้ตามคำขอ

    รับทราบค่ะพี่ปา ขอให้จบจากกิจกรรมบุญกฐินวัดรัตนานุภาพและกฐินวัดท่าขนุนก่อน หญิงจะมาสรุปเรื่องจำนวนรถที่จะไปให้ทราบว่า จะจัดรถเพิ่มเป็น ๔ ตู้ได้หรือไม่ แต่ทุกอย่างขอให้เป็นไปตามวาระธรรมะจัดสรรค่ะ

    รับทราบและปรับปรุงชื่อให้แล้วค่ะ

    ถะ ถะ ถูก ถูกต้องนะคะพี่มา .....กฎไตรลักษณ์ "ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน" แต่ที่แน่นอนในขณะนี้ก็คือ ภูทอกวาระ ๒ นี่จะยิ่งกว่าวาระแรก และนั่นคือเหตุผลที่ต้องเปิดรับจำนวนจำกัด เพราะการไปกราบหลวงปู่ หลวงตาบางองค์ไม่เหมาะกับการเดินทางไปเป็นคณะใหญ่ค่ะ *-*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ปฎิปทาของพระป่า หรือพระธุดงค์

    <center>
    [SIZE=+2].....เนื่องจากการเดินทางไปในกิจกรรมบุญนี้ คือ การเดินทางกราบพระอริยสงฆ์ที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบที่องค์หลวงตามหาบัวรับรอง และรวมถึงพระอริยสงฆ์หลายองค์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น "เนื้อนาบุญบริสุทธิ์" หรือ "เนื้อนาบุญทองคำ" ตามที่เรียกขานกัน ผู้จัดจึงขออนุญาตนำบทความเกี่ยวกับพระป่า มาให้สมาชิกทุกท่านได้อ่าน เพื่อรับทราบถึงปฎิปทาของท่าน ความดีทั้งหมดในบทความนี้ ขอยกให้กับเว็บธรรมจักร ซึ่งเป็นผู้รวบรวมข้อมูลไว้ค่ะ [/SIZE][SIZE=+2]
    [/SIZE]
    </center>[SIZE=-1][SIZE=-1]




    [/SIZE][/SIZE]<table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#99cc00" height="23">ปฏิปทาของพระป่า หรือพระธุดงค์</td></tr></tbody></table><table border="0" height="20" width="100%"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table><table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2" height="188" valign="top">
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td width="30%">[​IMG]</td><td width="70%"> พระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขาที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติจึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า
    พระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด
    </td></tr></tbody></table>​
    </td></tr><tr><td colspan="2" height="20">พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี
    และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมา ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชน ได้ผลดี เป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม
    </td></tr><tr><td height="20" width="48%">
    </td><td width="52%">
    </td></tr><tr><td height="20">[​IMG]</td><td> พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทา ตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์
    พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ที่เรียกท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูงว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์
    ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์ เช่นกัน[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </td></tr><tr><td height="20">
    </td><td>
    </td></tr><tr><td colspan="2" height="20"> ประมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอย เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะ ทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรม แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง
    พระป่าทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ สมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้า ในทางธรรมชั้นสูง
    ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิ และตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ นอกจากนั้น ในการจาริกธุดงค แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะป้องกัน ที่ดีที่สุด
    </td></tr><tr><td height="20"> พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูป ตามประวัติได้ เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่าน ได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพ ด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล
    </td><td>
    [​IMG]
    </td></tr><tr><td height="20">
    </td><td>
    </td></tr><tr valign="top"><td colspan="2" height="20"> พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทา ที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทา ที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร 13 ขันธวัตร 14 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน 40 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป ในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร 13 และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัย ที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรม ที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหา ให้หมดสิ้นไป

    การถือธุดงค์ ของพระป่า พระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนา ที่แสดงออก เพื่อประหารกิเลส ของตน เกี่ยวเรื่อง เครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"
    สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ
    o ฝ่ายปริยัติ ได้แก่ พระภิกษุ ที่มุ่งศึกษาศาสนธรรม จากตำราจากคัมภีร์ ส่วนมาก พำนักอยู่ที่วัด ในเมือง หรือชุมชน จึงเรียกว่า พระฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน
    o พระภิกษุอีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งศึกษาโดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าตามเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่า หรือ พระธุดงคกรรมฐาน
    พระภิกษุ ได้รับการยกย่อง นับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่ง กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ในประเทศไทย ได้แก่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตตมหาเถร ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุ ถึงธรรมชั้นสูงสุด ดังมีหลักฐานปรากฎ คืออัฐิของท่านกลายเป็น พระธาตุดังที่มีบรรยาไว้ว่าเป็นลักษณะของพระอรหันตสาวก ซึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก อาทิ[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </td></tr><tr><td height="20">[​IMG]</td><td>หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ. จันทบุรี
    หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เป็นต้น[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC]
    [/FONT]
    </td></tr><tr><td colspan="2" height="20"> พระคุณเจ้าทั้งหลายนี้ได้สืบต่อการปฏิบัติข้อวัตรตามแนวทางของท่านพระ อาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในกาลต่อมาเมื่อศิษย์ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตหลายองค์ถึงแก่มรณภาพอัฐิของท่าน ก็ได้ แปรสภาพ ไปในทำนองเดียวกับ ของพระอาจารย์มั่น อาทิ อัฐิธาตุ ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ของท่าน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประกอบกับ ความเค่งครัด ในวินัย และศีลาจารวัติ ได้เสริมสร้าง ศรัทธา ของ ประชาชน ในการปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุแห่ง การฟื้นฟู วัดป่า และชักจูงให้ มีผู้บวช เป็นพระป่า พระสายปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน

    สำหรับ ผู้ที่เคยเข้าไป สัมผัสวัดป่า เป็นครั้งแรก ความรู้สึก ที่กระทบจิตใจ เมื่อย่างเข้า ถึงเขต วัดป่าคือ "ความร่มรื่น" ซึ่งเกิดจากต้นไม้น้อยใหญ่ภายในวัด สิ่งกระทบใจประการที่สอง คือ ความสะอาด และมีระเบียบ "ความสงบเงียบ" ไม่อึกทึกพลุกพล่าน ต้นไม้ ธรรมชาติ จะได้รับการรักษา ให้ยืนย คงอยู่

    กุฏิเสนาสนะ ที่พำนักของพระป่า จะปลูกสร้าง อย่างเรียบง่าย สมถะ ด้วยวัสดุพื้น ๆ เว้นแต่ บางแห่ง ที่มีคณะศรัทธา ญาติโยม สร้างถวาย ก็อาจใช้วัสดุ หรือการก่อสร้าง ที่พิถีพิถัน แต่บางแห่ง ท่านก็ไม่ยอมให้สร้างใหญ่โต หรือพิถีพิถัน เกินไป เพราะแกรงว่า จะทำให้ พระ คุ้นกับความสบาย จน "ติดสุข" ไม่อยากออกไป เผชิญความลำบาก ในการออกเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นภารกิจ ที่สำคัญ ของพระป่า

    โดยทั่วไป ภายในกุฏิ ของพระป่า จะมีเพียงกลด พร้อมด้วยมุ้งกลด เสื่อ ปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไข และหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระ รูปพระอาจารย์ต่างๆ ส่วนของมีค่า อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกสบายนั้น ท่านไม่สะสม กุฏิแต่ละหลัง ผู้พำนักอาศัย ต้องรักษา ให้สะอาด ทั้งในกุฏิ และบริเวณ

    พวกชาวเมือง ที่ได้ไปเยือนวัดป่าครั้งแรก มักจะแปลกใจว่า นี่ท่านทำอย่างไร วัดจึงสะอาดฉะนี้ ทั้งๆ ที่ มีต้นไม้ เต็มไปหมด ทุกแห่ง ทางเดินของท่าน ก็โล่งเตียน ห้องน้ำ ก็สะอาด ศาลา ก็สะอาด คำตอบคือ พระป่า ท่านปฏิบัติ ตามพระวินัย ท่านต้องรักษา เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และบริเวณ ให้สะอาด ทุก ๆ วัน เวลาประมาณ บ่ายสามโมง เป็นเวลา ปัดกวาดลานวัด ซึ่งปกติท่าน สมภาร หรือ ประธานสงฆ์ ก็จะลงมือกวาด ด้วย ยกเว้น ก็แต่ ผู้อาพาธ เท่านั้น งานปัดกวาดนี้ ใช้แรงมาก เพราะ ไม้กวาดหนัก และด้ามยาวกว่า จะแล้วเสร็จ ก็เหงื่อท่วมตัว ซึ่งเท่ากับ เป็นการออกกำลังกาย ไปในตัว พระป่าท่าน เดินจงกรม เดินบิณฑบาต ทุกวัน ถูศาลา ทุกวัน และกวาดวัด ทุกวัน ท่านจึงแข็งแรง และสุขภาพดี

    พระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวช เป็นสมาชิกของวัด ก็ต้อง ผ่านการลงมติ ของคณะสงฆ์ เสียก่อน ข้าวของต่างๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด ย่อมเป็นของกลาง ใครจะ นำไป เป็นประโยชน์ ส่วนตัว ไม่ได้ ทุกคน มีส่วนที่จะ ได้รับประโยชน์ จากของสงฆ์ ถ้ามีการพิพาทกัน ก็ต้อง ตั้งกรรมการ พิจารณา เหล่านี้ เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย แต่เป็นแบบพุทธ คือ เป็นการสมัครใจ ไม่บังคับ ถ้าไม่พอใจ ก็ไปที่อื่นเสีย แล้วก็ยังมีคาราวะ มีอาวุโส มีบารมี มีกรรม มีวิบาก ไม่ใช่ทุกคน เท่ากันหมด อาหารที่บิณฑบาต มาได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไป ให้ทั่วถึง

    พระป่า ท่านมีคติ อีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าวันไหน จะบิณฑบาต ได้ภัตตาหาร มากน้อย เท่าใด ต้อง ฉันแต่น้อย แต่พอดี แม้จะมีอาหาร ล้นเหลือ ก็จะไม่ฉัน จนอิ่มตื้อ เพราะ ถ้าทำเช่นนั้น จะง่วง ภาวนา ไม่ได้ นอกจาก ระวังไม่ฉันมากแล้ว พระป่า ท่านยังระวัง ไม่ให้ติด รสอาหาร ด้วย โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่อร่อย ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าจะ "ติดสุข" นั่นเอง ในเวลาฉัน ต้องพิจารณา ตามแบบ ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน พูดง่าย ๆ คือว่า กินเพื่ออยู่ เพื่อประทังชีวิต ประทังความหิว ท่านจึงเงียบสงบ ระหว่างฉัน ไม่สนทนาพาที อะไรกัน เพราะท่านต้อง พิจารณาอาหาร ไปด้วย

    กิจวัตร ของ พระป่า คือ ตื่นนอน ตั้งแต่ตีสาม หรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัว ออกบิณฑบาต ครั้นรุ่งอรุณ พระป่า จากอรัญญวาสี จะออกบิณฑบาต เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

    บรรยากาศ ยามรุ่งอรุณ กลิ่นไอธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ ของชนบท ดวงหน้า ที่เอิบอิ่มใน บุญกุศล ของชาวบ้าน เป็นภาพชีวิต อันประทับใจ ผู้ได้สัมผัส พระป่าจะต้อง ออกบิณฑบาต ทุกวัน นอกจาก อาพาธ หรือเดินไม่ได้ ตามปกติ วัดป่า ต้องอยู่ ห่างหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจาก การรบกวน คน สัตว์ และ เสียงอึกทึก แต่ต้องไม่ไกล เกินไป จนเดินไปบิณฑบาต ไม่ไหว โดยมาก เว้นระยะห่าง จากหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับ ได้ภายใน หนึ่งชั่วโมง

    ารอบรม พระป่า ตามวัดต่างๆ ในสายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะอาศัยหลัก อย่างเดียวกัน แต่การปฏิบัติ แตกต่างกันไป ตามความเห็น และความถนัด ของท่านอาจารย์ ทุกวัด มีการเน้นเรื่อง ศีล พระป่า ทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์

    ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

    นอกจากนั้น ในการออกธุดงค์ แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต จะต้องฝ่าอันตราย ต่าง ๆ นานา พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะกำบัง ที่ดีที่สุด พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ละองค์ มีประวัติ บุกป่าฝ่าดง ไปในแดนสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง และงู ทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว ต้องผจญกับ มนุษย์ ที่ถูกอวิชชาครอบงำ…. แต่เพราะท่าน รักษาศีลบริสุทธิ์ สัตว์ร้าย หรือคนร้าย ตลอดจน สภาวอากาศ ที่แปรปรวน ก็ไม่อาจ ทำอันตรายท่านได้ เพราะฉะนั้น พระป่า ที่จะออกธุดงค์ จะต้องแน่ใจว่า ศีลของท่าน บริสุทธิ์จริง ๆ เพื่อให้มั่นใจ ในข้อนี้ และแน่ใจว่า จะไม่พลั้งเผลอ ท่านจึงรักษาศีล ให้บริสุทธิ์อยู่ เสมอ

    ในวัดป่า จะมีการไหว้พระ สวดมนต์ร่วมกัน การสวดมนต์ มีผลให้ใจสงบลง เป็นการเตรียม สำหรับ การภาวนาต่อไป ตามปกติ เมื่อฉันเสร็จ จัดการชำระล้าง ทำความสะอาด บาตร เรียบร้อยแล้ว พระป่า ท่านจะกลับกุฏิ มาลงมือภาวนา ส่วนมาก มักจะเริ่มด้วยการ เดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้น ภายหลังฉันอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิ ทุกหลัง จะมีลานเดินจงกรม กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10-15 เมตร ระหว่างเดิน อาจบริกรรมภาวนา หรือพิจารณา เกี่ยวกับสังขาร ร่างกาย จุดประสงค์ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ หรือปัญญา เมื่อหยุดเดิน ก็เข้าที่นั่งภาวนา พอเมื่อย หรือ ง่วง ก็ออกมาเดินอีก สลับกันไป ในการภาวนา พระป่า สายท่าน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะใช้บริกรรม "พุทโธ" รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ ซึ่งวิธีเหล่านี้ ใช้กันโดยทั่วๆ ไป

    ครูบาอาจารย์ จะคอยติดตาม การดำเนินของการปฏิบัติ อยู่เสมอ โดยการซักถาม ปรากฎการณ์ ทางจิต ของศิษย์ จึงสามารถ ดัดแปลงแก้ไข การปฏิบัติ ให้เหมาะสม กับภาวะ ของแต่ละคน ช่วยให้ได้ ผลดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ ถ้าหากมีอะไร แทรกแซงขึ้นมา เช่น นิมิตเห็น ภูตผีปีศาจ หรือยักษ์ เห็นมาร อาจารย์ ก็จะชี้แจง ให้ทราบความหมาย ของนิมิตนั้น ๆ และบอกวิธี ที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป หลักสำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ ในสายของท่าน พระอาจารย์มั่น เน้นอยู่เสมอ คือ "ธรรมะทั้งหลาย อยู่ภายในกาย ของเราเอง"

    ในการพิจารณา ให้ส่งจิต เข้าภายในกาย ไม่ให้ส่งออก ไปภายนอก เพราะนอกจาก จะไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอย ของจิตอีกด้วย การแสดงธรรมของ พระป่า ไม่มีพิธีรีตองอะไร มากนัก แต่จะเน้นที่ เนื้อหาสาระ ใช้ภาษา สำนวน ที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา

    การอบรมจิต แนะนำ การเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาระกิจ ที่ครูอาจารย์ จะต้องให้การ อบรม แนะนำแก่ศิษย์ ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านทั่วไป

    ปฏิปทาศีลาจารวัตร ของครูบาอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสานุศิษย์ของท่าน อีกหลายองค์ เป็นประทีปนำทาง ให้พระป่า มีความวิริยะ อุตสาหะ ในการบำเพ็ญ ความเพียร เพราะเห็นแสงสว่าง ข้างหน้า ขอเพียงให้เดินโดยถูกทาง ถูกวิธี ไม่ย้อท้อ ต่อความยากแค้น และอุปสรรคทั้งมวล

    พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน เป็นผู้ชูธงชัย แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ เป็นผู้ วีรอาจหาญ เป็นนักรบ ที่จะสู้ กับกิเลสตันหา ความดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน ตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้. ผู้ตื่น. ผู้เบิกบาน.
    ..................
    อ้างอิงข้อมูลจาก
    - วิปัสสนากรรมฐานอีสาน
    - หอมรดกไทย

    </td></tr></tbody></table>
     
  3. อวยชัย จิรชัยธร

    อวยชัย จิรชัยธร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +662
    อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ทุกท่าน เห็นทริปภูทอกแรกแล้วน่าไปมากกกก ตอนแรกคิดไว้นานแล้วว่าจะไปแต่ด้วยผมไม่ค่อยจะว่าง เลยยังไม่มีโอกาสที่ดีนัก มาทริป 2 นี่ดูแล้วยัง fever เหมือนทริปแรกเลย น่าไปจัง ดูแล้วสงสัยคงจะไม่ได้ไปเหมือนเดิม ....(cry)(cry)
     
  4. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +1,721
    สวัสดีครับผมขออนุโมทนาบุญกับผู้จัดและคณะที่จะร่วมเดินไปทางในครั้งนี้ด้วยนะครับ
     
  5. Angie_04

    Angie_04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +431
    ขอกราบอนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านด้วยค่ะ

    ทุกคนเก่งมากๆ เลย ขนาดชมแค่ภาพยังหวาดเสียวแทน
    ที่ต้องปรบมือให้ดังๆ ก็ต้องเป็น กลุ่มสวยไม่ว่อกแว่ก (สว.) เก่งสุดๆค่ะ

    :cool::cool::cool:
    (||)(||)(||)
     
  6. จ๊อบพุทธสาวก

    จ๊อบพุทธสาวก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +10
    พี่ หญิง

    พี่หญิงครับ ศุภวัฒน์ ขอจอง 2 ที่นะครับ
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    แจ้งข่าวความคืบหน้าของเยือนภูทอก กับวาระพิเศษ

    ... วันที่ ๒๒ ก.ย.๕๔ ได้รับทราบข่าวจากพระคุณเจ้าที่จะเดินทางไปกราบนมัสการใน "ภูทอกวาระ ๒" ว่าทางวัดยังไม่มีเจ้าภาพกฐิน เมื่อได้ทราบเช่นนี้ ผู้จัดจึงขอแจ้งข่าวให้สมาิชิกทุกท่านทราบว่า จะจัดกฐินนำขึ้นไปกราบถวายวัดแต่ละวัด โดยหัวใจหลักในครั้งนี้ คือ ถวายผ้ากฐิน และร่วมถวายบริวารกฐินให้ถูกต้องครบถ้วนตามประเพณีปฎิบัติของพุทธศาสนิกชน

    โดยขอกำหนดวันเดินทางในภูทอกวาระ ๒ ดังนี้


    ทริปธรรมเฉพาะกิจ (๑๐)
    กฐินเมืองอีสาน วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) ไหว้พระอริยสงฆ์เมืองอีสาน จ. บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย วันที่ ๒๘-๓๐ ต.ค. ๕๔ (๓ วัน ๒ คืน)


    [​IMG]


    กำหนดการเดินทาง
    โดยรถตู้ปรับอากาศ VIP ๑๐ ที่นั่ง

    วันศุกร์ที่ ๒๘ ต.ค. ๕๔
    ๒๑.๐๐ น. จุดนัดพบ ปั๊มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
    - ตรวจสอบรายชื่อ
    - ล้อหมุน



    วันเสาร์ที่ ๒๙ ต.ค. ๕๔
    เดินทางกราบนมัสการพระอริยสงฆ์-ถวายสังฆทาน ผ้ากฐินและบริวารกฐิน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ. สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label> หลวงปู่สมชาย มหาวีโร วัดภูกำพร้าเทพนิมิตร อ. เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>พระอาจารย์บุญลม ธมฺมวฺฒโฒ วัดป่าดานศรีสำราญ (วัดหลวงปู่คำตัน ฐิตธมฺโม) อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label><label for="rb_iconid_31"> </label>หลวงปู่อุดม ญานรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงตาแยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
    - เข้าที่พัก
    - ไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    - ทำวัตรเย็น ปฎบัติธรรม
    - พักผ่อนตามอัธยาศัย



    วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ต.ค. ๕๔

    ๐๔.๐๐ น. ตื่นทำธุระส่วนตัว
    - ทำวัตรเช้า
    - กราบนมัสการลาหลวงตา และถวายปัจจัยร่วมกัน


    ๐๗.๐๐ น.
    เดินทางกราบนมัสการพระอริยสงฆ์ และร่วมพิธีทอดกฐิน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>หลวงปู่บุญมา คมฺภีร์ธมฺโม วัดป่าสีห์พนมประชาราม อ. สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ๑๒.๐๐ น. เดินทางกลับ
    ๒๒.๐๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

    ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๒,๓๐๐ บาท


    ทริปภูทอก ๒ (กฐินเมืองอีสาน) ปิดรับจองที่นั่งและโอนเงินในวันศุกร์ที่ ๒๑ ต.ค. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น. หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม


    ท่่านที่ประสงค์จะร่วมเดินทาง กรุณาโอนเงินค่าพาหนะเดินทางตามจำนวนที่กำหนดข้างต้นเข้าบัญชีตามข้างล่างนี้ และมาโพสต์ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้และจำนวนเงินที่โอนให้ทราบด้วย

    ชื่อบัญชี : น.ส. ณญาดา ศราภัยวานิช
    ธนาคาร : กรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ สาขาบางบัวทอง
    เลขที่บัญชี : ๑๒๑-๐-๑๐๕๔๕-๔ (121-0-10545-4)
    โทรศัพท์ : ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261)


    ท่านที่สำรองที่นั่งหรือโอนเงินแล้วต่อมาประสงค์จะยกเลิกการเดินทาง ขอให้แจ้งล่วงหน้าภายในวันที่ ๑๘ ต.ค. หากไม่แจ้งภายในกำหนดดังกล่าว ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินค่าเดินทางให้หากปรากฏว่าการยกเลิกล่าช้าของท่านทำให้ตัดสิทธิ์ของบุคคลอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้จัด

    ในการโอนเงินคืนจะมีค่าธรรมเนียมการโอน ๒๕ บาท ซึ่งจะหักจากยอดเงินค่าเดินทางของท่าน หากมีเงินเหลือหลังจากชำระค่าใช้จ่ายทุกส่วนแล้ว ผู้จัดขออนุญาตนำเงินคงเหลือทั้งหมดเข้ากองทุนบึงลับแลเพื่อใช้ในทุกกิจกรรมบุญต่อไป



    ;aa59
    กำหนดการเดินทางของภูทอก ๓ ยังคงเป็นวันที่ ๑๘-๒๐ พ.ย.๕๔ เช่นเดิม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2011
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ-ร่วมเดินทาง กฐินอีสาน

    [​IMG] กฐินภาคอีสาน (วัดภูกำพร้าเทพนิมิตร-วัดป่าดานศรีสำราญ-วัดป่าสถิตย์ธรรมาราม-วัดป่าสีห์พนมประชาราม)
    ๑. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๑,๐๐๐ บาท*
    ๒. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๑๐๐ บาท*
    ๓. คุณโจ้ ข้าแผ่นดิน จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๔. คุณ vena จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๕. คุณอัสนี จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๖. คุณ Vietnam จำนวน ๑๐๐ บาท* (๒๘/๙/๕๔)
    ๗. คุณ wariti จำนวน ๑๐๐ บาท (๒๘/๙/๕๔)
    ๘. คุณพัชรกันย์ จำนวน ๕๐ บาท (๒๙/๙/๕๔)
    ๙. คุณวีรชโย จำนวน ๑๒.๕๐ บาท (๒๙/๙/๕๔)
    ๑๐. คุณ Miss Brown จำนวน ๙๕ บาท (๒๙/๙/๕๔)
    ๑๑. คุณวีรศักดิ์ และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท (๓๐/๙/๕๔) (อุทิศให้คุณพ่อกิมซัว แซ่ตั้ง และคุณแม่จุ้ยงิ้ง แซ่เล้า)
    ๑๒. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๓๐/๙/๕๔)
    ๑๓. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๓๐/๙/๕๔)
    ๑๔. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๐ บาท (๓๐/๙/๕๔)
    ๑๕. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๓๐/๙/๕๔)
    ๑๖. คุณปิยราช-ปิยฤทธิ์-ปิยวัชร์-ปิยศักดิ์ แซ่อุ้ย จำนวน ๕๒๕ บาท (๑/๑๐/๕๔) (อุทิศให้คุณพ่อโป่ง แซ่อุ้ย)
    ๑๗. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๑/๑๐/๕๔)
    ๑๘. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๑/๑๐/๕๔)
    ๑๙. คุณ klu จำนวน ๑๐๐ บาท (๒/๑๐/๕๔)
    ๒๐. คุณอ้งชุน แซ่ตั้ง จำนวน ๑๒๕ บาท (๒/๑๐/๕๔)
    ๒๑. คุณธรรมรัตน์1974 จำนวน ๑๐๐.๕๐ บาท (๒/๑๐/๕๔)
    ๒๒. คุณ hanbin จำนวน ๒๐๐ บาท* (๓/๑๐/๕๔)
    ๒๓. คุณลูกหลานคุณยาย จำนวน ๑๒๕ บาท (๓/๑๐/๕๔)
    ๒๔. คุณนภัสดล และครอบครัว จำนวน ๒๕๙ บาท (๔/๑๐/๕๔)
    ๒๕. คุณ vena จำนวน ๑๐๐ บาท (๕/๑๐/๕๔)
    ๒๖. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๑๒๕ บาท (๕/๑๐/๕๔)
    ๒๗. คุณ tom_tassanee จำนวน ๑๐๐ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๒๘. คุณ pismai จำนวน ๒๕ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๒๙. คุณฝั่งแห่งภพ จำนวน ๗๕ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๓๐. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๓๑. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๓๒. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๐ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๓๓. คุณ thongchai394 จำนวน ๕๐ บาท (๗/๑๐/๕๔)
    ๓๔. คุณอรนุช จำนวน ๑๕๐ บาท (๘/๑๐/๕๔)
    ๓๕. คุณ suppysuppy จำนวน ๒๐ บาท (๙/๑๐/๕๔)
    ๓๖. คุณธรรมวิวัฒน์ จำนวน ๒๕ บาท (๙/๑๐/๕๔)
    ๓๗. คุณ Iself จำนวน ๕๐ บาท (๑๐/๑๐/๕๔)
    ๓๘. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๐ บาท
    (๑๐/๑๐/๕๔)
    ๓๙. คุณวารุนี และครอบครัว จำนวน ๑๑๑ บาท (๑๐/๑๐/๕๔)
    ๔๐. คุณรัตนภูมินทร์ จำนวน ๒๕ บาท (๑๑/๑๐/๕๔)
    ๔๑. คุณ Nirvana_30 จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๒/๑๐/๕๔)
    ๔๒. คุณ rehacked จำนวน ๒๕ บาท (๑๒/๑๐/๕๔)
    ๔๓. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๒๕ บาท (๑๒/๑๐/๕๔)
    ๔๔. คุณ titapoonyo จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๒/๑๐/๕๔)
    ๔๕. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๕๐ บาท (๑๒/๑๐/๕๔)
    ๔๖. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๑๐ บาท (๑๓/๑๐/๕๔)
    ๔๗. คุณ bank 33 จำนวน ๒๕ บาท (๑๓/๑๐/๕๔)
    ๔๘. คุณ SUTASSEE จำนวน ๗๐๐ บาท (๑๓/๑๐/๕๔)
    ๔๙. คุณ ponlakrit จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๓/๑๐/๕๔)
    ๕๐. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๓/๑๐/๕๔)
    ๕๑. คุณวี06 จำนวน ๒๕ บาท (๑๔/๑๐/๕๔)
    ๕๒. คุณวี06 (ครั้งที่ ๒) จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๔/๑๐/๕๔)
    ๕๓. คุณออย จำนวน ๒๕ บาท (๑๕/๑๐/๕๔)
    ๕๔. คุณ Interionut จำนวน ๒๕ บาท (๑๕/๑๐/๕๔)
    ๕๕. คุณเกสรมณีช์ และครอบครัว จำนวน ๑๐๐ บาท (๑๕/๑๐/๕๔)
    ๕๖. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๑๔๔.๒๕ บาท (๑๕/๑๐/๕๔)
    ๕๗. คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม จำนวน ๓๕.๗๕ บาท (๑๗/๑๐/๕๔)

    รวมเงินร่วมบุญ จำนวน ๗,๓๖๓ บาท

    หมายเหตุ
    * ระบุผ้ากฐิน และบริวารกฐิน


    [​IMG] รายนามผู้ร่วมเดินทาง
    ๑. คุณ ญ.ผู้หญิง จ่ายแล้ว ลว.๓๐/๙/๕๔
    ๒. คุณ ๒๐๑๑* จ่ายแล้ว ลว.๒๗/๙/๕๔ ขอเดินทางวาระ ๓ ชำระเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท
    ๓. คุณ vena จ่ายแล้ว ลว.๒๓/๙/๕๔ ขอเดินทางวาระ ๓ ชำระเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท
    . คุณ SUTASSEE (๑) จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๐/๕๔ ถอนตัว ลว. ๒๗/๑๐/๕๔
    ๕. คุณ SUTASSEE (๒) จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๐/๕๔ ถอนตัว ลว. ๒๗/๑๐/๕๔
    ๖. คุณ SUTASSEE (๓) จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๐/๕๔ ถอนตัว ลว. ๒๗/๑๐/๕๔
    ๗. คุณ SUTASSEE (๔) จ่ายแล้ว ลว.๑๓/๑๐/๕๔ ถอนตัว ลว. ๒๗/๑๐/๕๔
    ๘. คุณ thongchai394 จ่ายแล้ว ลว.๗/๑๐/๕๔ ขอเดินทางวาระ ๓ ชำระเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท
    ๙. คุณปาริสุทธิ์ (๑)
    ๑๐. คุณปาริสุทธิ์ (๒)

    รวมจำนวน ๑๐ คน

    หมายเหตุ
    ๑.
    รับจำนวนจำกัด
    ๒. * หมายถึง สมาชิกที่เป็น สว. หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เมารถ
    . ที่พัก : วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)

    ๔. สมาชิกประสงค์ยกเลิกการเดินทางแจ้งก่อน
    : วันที่ ๑๘ ต.ค. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น.
    ๕. ปิดรับการโอนชำระเงิน : วันที่ ๒๑ ต.ค. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น.
    ๖. ประกาศผังที่นั่ง : วันที่ ๒๔ ต.ค. ๕๔

    ๗. สมาชิกท่านใดที่โอนชำระค่าเดินทางแล้ว กรุณารักษาสิทธิ์ของท่าน โดยการโพสต์หรือส่ง SMS ที่เบอร์ ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261) แจ้งฃื่อ-วัน-เวลาและจำนวนเงินที่โอนให้ทราบเพื่อจะได้ทำการปรับปรุงข้อมูล
    ๘.
    สมาชิกทุกท่านจะต้องจัดส่งข้อมูลส่วนตัวพื่อใช้ในการทำประกันมายังผู้จัดภายในวันที่ ๑๘ ต.ค.๕๔ ตามรายละเอียด ดังนี้
    . นามแฝงที่ใช้ในเว็บ
    ๒. ชื่อ-สกุล-หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน-อายุ
    ๓. ที่อยู่
    ๔. เบอร์โทรศัพท์
    ๕. ชื่อ-สกุล-เบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน


    โดยทุกท่านสามารถจัดส่งข้อมูลเข้ามาได้ ๓ ช่องทาง
    ๑. หน้ากระทู้
    ๒. PM
    ๓. E-Mail :
    papa3107@gmail.com
    (ข้อมูลของทุกท่านจะถูกจัดเก็บไว้เป็นความลับ ไม่มีการเผยแพร่ ยกเว้น บริษัทประกันฯ หรือผู้ที่ต้องรับรู้ข้อมูล ท่านใดที่ไม่จัดส่งข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่จัดทำประกันให้<object height="315" width="420"></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  9. interionut

    interionut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +619
    งั้นขอย้ายจากวาระที่3 มาวาระที่ 2 เลยครับ ^_^
     
  10. จุติญาณ

    จุติญาณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +91
    ขอร่วมเดินทางไปงานบุญกฐิน ๑ ที่ครับผม
     
  11. vena

    vena เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +590
    ;aa40 พี่แอ๋วขอไปทริป ทอดกฐินด้วยค่ะ 1 ที่
     
  12. ปาริสุทธิ์

    ปาริสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +817
    กฐินเมืองอีสาน ภูทอก 2 อีก 1 ที่ค่ะ ขอบคุณ
     
  13. sutanee

    sutanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +3,248
    จองทริปกฐิน

    จองด้วย4ที่จากสุทัสสีและญาติ
     
  14. vena

    vena เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +590
    วันนี้พี่แอ๋วได้โอนเงินไป 2,800 บาท ร่วมทำบุญ 500 บาท ค่าเดินทาง 2,300 บาท จ๊ะ:z8
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ปาริสุทธิ์

    ปาริสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +817
    ขอจองทริปกฐินอีสานอีก 1 ที่ รวมทั้งหมดเป็น 3 ที่ ค่ะ
    ขอบคุณ
     
  16. kuppa20

    kuppa20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +312
    ขอจอง 2 ที่ครับ (ภูทอก วาระ 3)
     
  17. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    อนแล้วครับ ต้นบุญ อัฐบริขารวันนี้ 3,000 บาท ผมโอนเข้าบัญชีนี้ครับผม
    ไม่ทราบถูกบัญชีหรือไม่


    ชื่อบัญชี
    : น.ส. ณญาดา ศราภัยวานิช
    ธนาคาร : ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขาเทสโก้โลตัส บางบัวทอง
    เลขที่บัญชี : ๔๐๒-๗๐๖๒๘๓-๓ (402-706283-3)
    โทรศัพท์ : ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261)

    โมทนาสาธุในบุญกับทุกๆท่านที่ร่วมบุญทำกุศลกัน สาธุ ๆ ๆ
     
  18. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ถูกต้องและขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง อย่าลืมแจ้งที่อยู่ให้พี่ทาง PM นะคะ จะได้จัดส่งไม่ขัดฟันของหลวงปู่เคนไปให้ึค่ะ
     
  19. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    อานิสงส์กฐิน

    [​IMG]



    อานิสงส์กฐินทาน... พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


    ต่อไปนี้จะพูดถึงอานิสงส์กฐิน เอาย่อ ๆ นะ อานิสงส์ในการถวายกฐินหรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายสังฆทาน สังฆทานวันนี้เป็นสังฆทานของกฐิน การถวายสังฆทานทุกอย่างมีผลควบกับกฐิน เพราะเป็นวันของกฐิน ความจริงการทอดกฐิน ไม่ใช่ประเพณีนิยม เป็นพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ผ้ากฐินทาน จะรับได้ก็ต่อเมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ หลังจากนั้น จะทอดขนาดไหนก็ตาม จะไม่เป็นกฐิน ฉะนั้น กฐินมีเวลากาลจำกัด

    ทีนี้ ว่าถึงอานิสงส์กฐิน อานิสงส์กฐินนี้ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยเทศน์ และก็เทศน์ตามบาลี ท่านพูดถึงอานิสงส์ให้ทราบ ฉะนั้น การถวายวันนี้ทั้งหมด เมื่อวานก็ดี วันนี้ก็ดี จะเป็นเงินก็ตาม จะเป็นของก็ตาม ถือว่าทุกอย่าง เป็นอานิสงส์กฐิน

    ต่อไปนี้ก็โปรดทราบ จะนำพระสูตรตามที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีให้ทราบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ในสมัยพระองค์เกิดเป็น "มหาทุคคตะ" ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระปทุมมุตระ" เวลานั้น พระพุทธเจ้าของเรา เกิดเป็นคนจนอย่างยิ่ง เป็นทาสของคหบดี เวลานั้น ถอยหลังจากนี้ไป ๙๒ กัป ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระปทุมมุตระ"

    วันหนึ่ง มหาทุคคตะ ไปดูงานทอดกฐินเขา เมื่อเขาทอดกฐินเสร็จ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใด เคยทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี และเป็นบริวารกฐินก็ดี (แต่ว่ากฐินนี้ไม่มีบริวาร มีแต่เจ้าภาพ เพราะเป็นกฐินสามัคคี) จะทำบุญน้อย จะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน และอานิสงส์กฐินนี่ เวลานั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

    "โภ ปุริสะ ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้น จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า ๕๐๐ ชาติ"!!!!......

    นั่นหมายความว่า ถ้าหมดอายุเทวดา หรือ นางฟ้า จุติแล้วก็เกิดทันที ๕๐๐ ครั้ง เมื่อบุญหย่อนลงมานิดหน่อย เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ!!!!

    คำ ว่า"มหาเศรษฐี"นี่ มีเงินตั้งแต่ ๘๐ โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า "มหาเศรษฐี" ถ้ามีเงินต่ำกว่า ๘๐ โกฏิ แต่ว่าตั้งแต่ ๔๐ โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า "อนุเศรษฐี"

    เมื่อเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ หลังจากเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ !!!

    ก็รวมความว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า นอกจากจะเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีแล้ว บุคคลที่ทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญาณก็ย่อมได้!!!.....นั่นก็หมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพานเป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้!!!!

    ฉะนั้น การทอดกฐินแต่ละคราว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท โปรดทราบถึงอานิสงส์ คนที่เคยทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่ายากจนเข็ญใจ จะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกชาติ!!!

    สำหรับวันนี้ การทอดกฐินมันมี ๓ อย่าง ความจริงอานิสงส์กฐินก็ย่อมเป็นอานิสงส์กฐิน แต่ในปัจจุบัน จัดกฐินเป็น ๓ อย่าง คือ (๑) จุลกฐิน (๒) ปกติกฐิน (๓) มหากฐิน กฐิน ๓ อย่าง ย่อมเป็นเทวดานางฟ้าเหมือนกัน แต่ทว่าจะมีทรัพย์สมบัติมากกว่ากัน

    คำ ว่า"จุลกฐิน" เวลานี้แปลงไป คงจำของพระพุทธเจ้าไม่ได้ คำว่า"จุลกฐิน" ก็หมายความว่า เขาถวายผ้าโดยเฉพาะชิ้นเดียว คือ ผ้ากฐิน จะเป็นผ้าสังฆาฏิตัวหนึ่งก็ได้ จะเป็นผ้าจีวรตัวหนึ่งก็ได้ สบงตัวหนึ่งก็ได้ ถ้าเราไม่มีทั้งไตร ถวายผ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็เป็นกฐิน!!!.......

     
  20. vietnam

    vietnam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +2,684
    ขอร่วมบุญ ผ้ากฐินและบริวารกฐิน ๑๐๐ บาทครับ

    โอนเข้าบัญชี
    ๔๐๒-๗๐๖๒๘๓-๓ เรียบร้อยครับ

    เมื่อ ๒๘
    /๐๙/๒๕๕๔ - ๑๗.๐๘.๔๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...