ประวัติ และการดูเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย นิลศิลป์, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    ตามท่านจิน นะครับ เนื้อ พิมพ์ รอยจาร ยังไม่ถึงยุคนะครับ ยังใหม่อยู่นะครับผม ค่อยๆศึกษาไปครับ ถ้าเสือมีรอยลานตามผิว แบบที่เรียกว่าเสือมีขนจะดีครับ ต้องเอาแบบเนื้อจัดๆไว้ก่อน

    ตามด้วยรูปหลวงปู่ชาญ วัดบางบ่อ ท่านเมตตามากนะครับ วัตถุมงคลท่านขลัง และมีเรื่องราวเล่าขาน ท่านมีเสือโลหะหล่อให้บูชาด้วย ผมเองบูชาขิก และเหรียญมา แล้วรับจากมือท่าน ปีนี้ท่านเก้าสิบกว่าแล้ว ริบๆกันหน่อยนะครับ รูปนี้ผมถ่ายเองครับ ท่านไม่ค่อยสบาย มือยังถือกระป๋องยาดมอยู่เลยครับ แปลกจริง ถ่าย 4 รูป ชัดแค่รูปแรกรูปเดียวครับ

    [​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript> function setAttributeOnload(object, attribute, val) { if(window.addEventListener) { window.addEventListener("load", function(){ object[attribute] = val; }, false); } else { window.attachEvent('onload', function(){ object[attribute] = val; }); } } </SCRIPT>
    ประวัติหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ


    ประวัติหลวงพ่อ พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบ่อ ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการเดิมชื่อ ชาญ รอดทอง เกิดวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2457 ที่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบางโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนจบชั้น ป.5 จากโรงเรียนอภัยพิทยาคาร ( วัดแก้วพิจิตร) จังหวัดปราจีนบุรี กลับมาช่วยบิดามารดาทำนากระทั่งอายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดคลองสวน ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ที่เป็นบ้านเกิด และไปจำพรรษาที่วัดนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอบางบ่อเมื่อ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ ผลงานที่ได้ปฏิบัติตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางบ่อ กระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2548 ส่วนใหญ่ คือ เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระเณรเป็นจำนวนมาก นับได้มากกว่า 5,000 รูป เนื่องจากท่านเป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย มีอัธยาศัยดีต่อทุกคนเสมอเหมือนกัน จึงเป็นที่นับถือ และเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนทั่วไปจะเห็นได้จากการบวชพระตามวัดต่างๆ ถึงแม้ว่าวัดนั้นจะมีพระอุปัชฌาย์อยู่แล้วผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อท่านยังได้นิมนต์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ นอกจากนั้นยังได้ปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เช่นการพัฒนาวัด อุดหนุนให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนรับกิจนิมนต์โดยไม่ปฏิเสธหากมีเวลา ปี พ.ศ. 2548 พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ มีอายุครบ 91 ปี 72 พรรษา เป็นพระครูชั้นพิเศษ ปัจจุบันท่านมีอายุ (3 เม.ย. 2552) 95 ปี 76 พรรษาไ ดัรับพระราชทาน ดำรงตำแหน่งท่านเจ้าคุณพระมงคลวรากรในวันที่ 5ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมามีอาวุโสสูงสุด ยังมีสุขภาพแข็งแรงปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นปกติ เป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์ ทั้งในอำเภอบางบ่อ และใกล้เคียง

    ที่มาของข้อมูล สวัสดี สวัสดีบางบ่อ

    พระปฏิบัติดี วิชาดีรูปต่อไปนี้คือ หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ อ.บางบ่อ สมุทรปราการ อายุ 92 ปี (ปัจจุบันอายุ 95 ปี) เป็นศิษย์ หลวงพ่อไผ่ วัดบางบ่อ ซึ่งเป็นศิษย์ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อีกที ท่านจึงรับวิชามาจากอาจารย์รุ่นต่อรุ่นเต็มที่ นอกจากนั้น หลวงพ่อชาญ ยังเรียน กัมมัฏฐาน 40 กอง จาก หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา... กัมมัฏฐาน เป็นวีธีฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็เกิดปัญญา และมองได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง มี เกิด แก่เจ็บ ตาย สรุปคือ ไม่มีอะไรเลย เพื่อให้ ปลง และหลุดพ้น ...การเรียนกัมมัฏฐาน แบ่งเป็นหลายวิธี เช่น อสุภกัมมัฏฐาน(นั่งพิจารณาซากศพให้ได้คิดว่าก่อนนี้คือร่างกายที่เคยสวยงาม แต่ตายแล้วก็เหม็นเน่า) นอกนั้นยังมี กสิณ10, อนุสติ 10 ซึ่งล้วนเป็น อุบายพื้นฐาน ทำให้ จิตสงบ นำไปสู่นิพพาน... กัมมัฏฐาน 40 กอง เป็นพระปรีชาของพระพุทธเจ้าที่ทรงทราบกิเลสของพระสาวกว่าไม่เหมือนกัน บางรูปอยากแสดงฤิทธิ์ บางรูปอยากอยู่เงียบๆจึงมีวีธีให้เลือกตามอัธยาศัย แต่สุดท่ายก็ มุ่งพระนิพพานเหมือนกัน... หลวงพ่อชาญ ยังเรียน วิชาธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ จาก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ซึ่งสามารถแสดงฤทธิ์ เรียกน้ำ-ห้ามไฟได้... นายนๆครั้งหลวงพ่อชาญจะสร้างวัตถุมงคลที่ดังคือ เสือแกะจากไม้พญางิ้วดำ เพราะมีประสบการณ์ที่ปืนยิงไม่เข้า แต่ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้น้อยและไม่เป็นวาระทุกวันนี้จึงหายาก ใครไปก็กราบขอพรท่านถือว่าสูงสุดแล้ว อย่าไปรบกวนท่านให้เหนื่อยสร้างโน่นสร้างนี่อีกเลย อายุตั้ง 92 แล้ว(ปัจจุบันอายุ 95 ปี)

    ที่มาของข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2549 :สนามพระวิภาวดี ,กราบ 9 พระดีเป็นศิริมงคล สีกาอ่าง .


    จากใจผู้เขียน

    หลวงพ่อชาญ อิณมุตฺโต พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ พระมงคลวรากร หรือ หลวงพ่อใหม่ คืออริยะบุคลคนเดียวกันที่เรารู้จักกันในนาม หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ ท่านเป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านโดยแท้ เริ่มจากหลวงพ่อไผ่ท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อปาน จากนั้น หลวงพ่อชาญก็เรียนวิชาจากหลวงพ่อไผ่ และยังเป็นศิษย์ หลวงพ่อเหลือวัดสาวชะโงก เป็นศิษย์ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เป็นศิษย์ หลวงพ่อดิ่งวัดบางวัว การสร้างวัตถุมงคลของท่านนานๆท่านจะสร้างเป็นวาระสักครั้งหนึ่ง เช่นพระเหรียญและพระผง 80 ปี เหรียญนั่งเสืเสือหล่อ เสือไม้แกะและอื่นๆเป็นต้น แต่โดยส่วนมากญาติโยมจะมาขอสร้างท่านก็เมตตาอนุญาตให้จัดสร้าง หลวงพ่อชาญท่านเกิดในสมัย ร.6 ซึ่งในปัจจุบัน(3เม.ย. 2552) หลวงพ่อมีอายุครบ 95 ปี 72 พรรษาสุขภาพท่านยังแข็งแรง ยังรับกิจนิมนต์อยู่และยังเดินทางไปพุทธาพิเษกในวาระต่างๆอยู่เป็นนิจ หลวงพ่อจะนั่งรับญาติโยมตลอดทั้งวัน ...

    *** ฝากไปถึงญาติโยมทุกๆท่านที่เข้าหาหลวงพ่อ อย่ารบเร้าให้ท่านจารวัตถุมงคล นะครับ ขอให้บอกท่านว่า หลวงพ่อครับพุทธาภิเษกพระให้ด้วยครับ เท่านี้ก็พอ

    หลวงพ่อสักยันต์

    </SPAN>หลายท่านที่เคยเคยเข้ากราบนมัสการหลวงพ่อจะสังเกตุว่าหลวงพ่อชาญท่านสักยันต์ที่ต่างๆของร่างกาย หลวงพ่อเมตตาเล่าให้ฟังว่าเหตุที่สักยันต์เพราะสัก"กันงู"เนื่องจากพื้นที่บางบ่อและพื้นที่ใกล้เคียงในสมัยก่อนนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบกับมีเจดีย์เก่าเป็นจำนวนมากทำให้มีงูอาศัยอยู่อย่างชุกชุม หลวงพ่อได้สักยันต์กันงูกับหมอเที่ยง ซึ่งเป็นฆารวาสเป็นบุคคลที่มีวิชาอาคมหรือมี่เรียกกันว่า หมองูเที่ยง หมองูเที่ยงเป็นคนบางบ่อมีอาชีพจับงูขายแขนทั้งสองข้างของหมองูเที่ยงจะสักยันต์กันงู แกจะนอนตามวัดหรือนอนในเรือ(ปัจจุบันหมอเที่ยงได้เสียชีวิตไปแล้ว และมีลูกคนหนึ่งที่บางบ่อ) แกจะร่องเรือมานอนที่วัดบางบ่อมีพระเณรรวมทั้งคนทั่วไปมาขอสักยันต์กันงูกับหมอเที่ยง หนึ่งในนั้น มีหลวงพ่อชาญ(ตอนนั้นหลวงพ่อท่านย้ายมาวัดบางบ่อแล้ว)มาสักต์กันงูด้วย หมอเที่ยงแกเคยโดนงูกัดที่มือจนมือหงิกงอแต่แกก็ไม่ได้รับอันตารยถึงชีวิต ในสมัยก่อนหมอเที่ยงแกใช้เรือแบบที่เปิดท้องเรือได้(ไม่แน่ใจว่าเรียกชือเรือว่าอะไร) พอแกจับงูเห่าได้แกจะขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือ วันดีคืนดีหมอเที่ยงจะเอางูที่ขังไว้เป็นจำนวนมากออกมาโยนลงน้ำ เพื่อให้งู(อาบ)เล่นน้ำ แล้วจับใส่เรือเหมือนเดิม ต่อจากนั้นหมอเที่ยงจะเอางูไปขายที่"เสาวภา"ทราบมาว่าในสมัยนั้นจะนำงูไปรีดพิษ เพื่อทำเซรุ่ม หลวงพ่อเล่าต่อให้ฟังว่า หมอเที่ยงเดิมคือ "เสือเที่ยง"เป็นสหายเดียวกับเสือไท เสือหา เคยออกปล้นแต่ไม่เตยฆ่าใคร ...ไม่ทราบปั้นปลายชีวิตของหมอเที่ยงที่แน่นนอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S4023532.JPG
      S4023532.JPG
      ขนาดไฟล์:
      828.7 KB
      เปิดดู:
      7,519
    • S4023533.JPG
      S4023533.JPG
      ขนาดไฟล์:
      655.4 KB
      เปิดดู:
      217
    • S4023534.JPG
      S4023534.JPG
      ขนาดไฟล์:
      610 KB
      เปิดดู:
      225
    • S4023535.JPG
      S4023535.JPG
      ขนาดไฟล์:
      601.9 KB
      เปิดดู:
      240
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  2. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    รูปหลวงปู่พูลทรัพย์ เกจิดังวัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี ศิษย์หลวงปู่ศรี วัดอ่างศิลา เจ้าตำหรับพระปิดตา หลังยันต์กระบองไขว้ วัดอ่างศิลา เป็นวัดของหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี ที่หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านไปเรียนวิชาจากวัดนี้ วัดนี้หลวงพ่อพูลทรัพย์ท่านก็สร้างเสือเช่นกัน แต่เป็นพวกเนื้อโลหะ และเรซิ่น ปิดด้านล่างด้วยหนังเสือแท้

    และตามด้วยรูปหลวงพ่อโสธร องค์จริงครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S4023301.JPG
      S4023301.JPG
      ขนาดไฟล์:
      628.9 KB
      เปิดดู:
      154
    • S4023303.JPG
      S4023303.JPG
      ขนาดไฟล์:
      635.9 KB
      เปิดดู:
      155
    • S4023304.JPG
      S4023304.JPG
      ขนาดไฟล์:
      623.5 KB
      เปิดดู:
      151
    • S4023305.JPG
      S4023305.JPG
      ขนาดไฟล์:
      632.5 KB
      เปิดดู:
      153
    • S4023290.JPG
      S4023290.JPG
      ขนาดไฟล์:
      621.1 KB
      เปิดดู:
      208
    • S4023291.JPG
      S4023291.JPG
      ขนาดไฟล์:
      733.3 KB
      เปิดดู:
      220
    • S4023297.JPG
      S4023297.JPG
      ขนาดไฟล์:
      486.2 KB
      เปิดดู:
      183
    • S4023292.JPG
      S4023292.JPG
      ขนาดไฟล์:
      743.2 KB
      เปิดดู:
      265
    • S4023293.JPG
      S4023293.JPG
      ขนาดไฟล์:
      582.5 KB
      เปิดดู:
      184
    • S4023294.JPG
      S4023294.JPG
      ขนาดไฟล์:
      581.8 KB
      เปิดดู:
      194
    • S4023295.JPG
      S4023295.JPG
      ขนาดไฟล์:
      558.3 KB
      เปิดดู:
      152
    • S4023296.JPG
      S4023296.JPG
      ขนาดไฟล์:
      527.1 KB
      เปิดดู:
      168
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  3. TanaiTA

    TanaiTA สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอคำชี้แนะอีกครั้งครับ

    ไม่ทราบว่าเสือตัวนี้ทันหลวงพ่อปานหรือเปล่าครับ..
    ขอบคุณทุกคำชี้แนะครับ..
    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC03450.jpg
      DSC03450.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      275
    • DSC03451.jpg
      DSC03451.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      266
    • DSC03454.jpg
      DSC03454.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      266
    • DSC03465.jpg
      DSC03465.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      289
    • DSC03466.jpg
      DSC03466.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      297
  4. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    ฟอร์มยังไม่ดีครับ ยังไม่เข้าฟอร์มเสือหลวงพ่อปาน เนื้อ ความฉ่ำใส ความเก่า ของเขี้ยว ยังไม่ได้ครับ ค่อยๆหาไปครับ
     
  5. TanaiTA

    TanaiTA สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอคำชี้แนะอีกครั้งครับ

    ตัวนี้ใช้ติดตัวครับ...ไม่ทราบว่าจะทันท่านหรือเปล่า..
    สูงประมาณ 1 ซม. ฐานขนาด 1*0.5 ซม.
    ขอคำชี้แนะด้วยครับ..
    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.6 KB
      เปิดดู:
      3,545
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49 KB
      เปิดดู:
      3,544
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.2 KB
      เปิดดู:
      3,516
  6. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    คำตอบเหมือนเดิมครับ
    สู้ๆครับ หาไปเรื่อยๆเด๋วก็เจอ
     
  7. bnserm

    bnserm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +2
    ช่วยดูให้ผมทีครับว่าดีหรือเปล่าครับ

    รูปไม่ค่อยชัดครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    โดนครับ ศิลป์และความเก่าไม่ได้ครับ
     
  9. bnserm

    bnserm สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +2
    อยากให้พี่เห็นตัวจริงจังเลย ในรูปภาพไม่ชัดเพราะใช้กล้องมือถือถ่าย
    อักขระ ครบสูตรแต่บางมาก เจ้าของเลื่อมเปลือยไว้ ยันต์กอหญ้าครบ
     
  10. jukjuk

    jukjuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,196
    ค่าพลัง:
    +2,229
    ของคุณธนัยผมชอบทั้งสามตัวครับ.....
    ตัวแรกเหมือนเคยเห็นที่ไหน
    ตัวที่สองศิลออกวัดกลาง
    ตัวที่สามนี่ชอบเลยครับ
    ส่วนของคุนระยองต้องดูครับว่าเขี้ยวอะไร
    ก้อเลี่ยมปิดหมดเลยดูยากแต่ดูจากศิลแล้วไม่ถึงจิงๆครับ
     
  11. das999

    das999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +2,223
    รบกวนช่วยดูให้ผมด้วยครับ
    ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1235.jpg
      IMG_1235.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53 KB
      เปิดดู:
      321
    • IMG_1236.jpg
      IMG_1236.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.9 KB
      เปิดดู:
      249
    • IMG_1237.jpg
      IMG_1237.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.9 KB
      เปิดดู:
      261
    • IMG_1238.jpg
      IMG_1238.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      277
  12. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    ไม่ใช่ ลพ ปาน ครับ พี่ das999
     
  13. das999

    das999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +2,223
    อ้าวเหรอครับ ขอบคุณมาก จะได้บอกเจ้าของเค้าถูก เค้าก็เข้าใจผิด
     
  14. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    ครับพี่ บางคนเห็นเส้นขนเเตกใต้เนื้อ ก็นึกว่าเก่า ตีเป็นหลวงพ่อปานหมดครับ
     
  15. ขาเดฟ

    ขาเดฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +186
    เสือหลวงพ่อปาน

    :cool::cool: ทันหรือไม่ทันไม่รู้ รู้แต่เนื้อบางส่วนใสอมเขียว รูด้านบนถูกปิด
    ด้วยปลายเขี้ยวส่วนแหลม ติดด้วยกาวธรรมชาติ(ยางมะตูม)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF4287.jpg
      DSCF4287.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.7 KB
      เปิดดู:
      343
    • DSCF4289.jpg
      DSCF4289.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      324
    • DSCF4290.jpg
      DSCF4290.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      309
    • DSCF4293.jpg
      DSCF4293.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.4 KB
      เปิดดู:
      289
    • DSCF4299.jpg
      DSCF4299.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.4 KB
      เปิดดู:
      272
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2009
  16. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    ภาพเล็กจังนะครับ ไม่ได้ซูมด้วย เสือเพรียบเลย เยี่ยมๆๆๆ ดีครับช่วยกันศึกษา

    เมื่อวานไปพันธ์ทิพย์งามวงศ์วานมา คนไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ เงียบๆ

    ถ่ายกันชัดๆจะดีมากเลย เอาไฟลนกรอบพลาสติกออกเลยนะครับ...

    หนังสือเครื่องรางของคุณตี๋เหล้า ท่าพระจันทร์เล่มปกแข็งล่าสุด มีภาพเสือตัวจริงหลวงพ่อปานเพรียบเลย
     
  17. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    เนื้อบางส่วนใสอมเขียว เค้าทำมาให้ดูเก่า...ตัวนี้ไม่แท้ครับ

    สีเขียวเกิดจากการเอาเขี๊ยวเสือไปใส่ไว้ในสีผึ้ง

    ถ้ามาจากสาเหตุนี้..ตัวเขี๊ยวจะถูกสีผึ้งกัดเนื้อบางส่วนจะใส...

    แต่สีเขียวแบบนี้..ใช้เคมีทำให้ดูเก่า..
     
  18. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    สายตะวันออก และ ภาคกลาง ที่น่าเก็บ หลวงพ่อชาญ บางบ่อ หลวงพ่อฟู บางสมัคร หลวงพ่อสาคร หนองกรับ



    สายใต้ พ่อท่านเอื้อม บางเนียน พ่อท่านไข่ ลำนาว พ่อท่านท้วม ศรีสุวรรณ



    ตะวันตก หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว



    สายเหนือ ไม่ค่อยรู้ ^_^
     
  19. ขาเดฟ

    ขาเดฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +186
    หลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว

    ผมก็เก็บเหมือนกันครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled-3.jpg
      Untitled-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.6 KB
      เปิดดู:
      275
    • Untitled-2.jpg
      Untitled-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.7 KB
      เปิดดู:
      218
  20. นิลศิลป์

    นิลศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,664
    พอดี ไปอ่านประวัติปาฏิหาริย์จากหนังสือพระเล่มเก่าๆ เป็นเรื่องที่คนเล่า เล่าเรื่องของผู้หญิงท่านหนึ่งแขวนพระปิดตา ของหลวงปู่แก้ว (พระเทพสาครมุณี) วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร แล้วไปทำทั้งสร้อยทอง และพระปิดตาเลี่ยมทอง ที่แขวนเดี่ยวหล่นหายในตลาด และกลุ้มใจมาก ต่อมาวันที่ 3 หลวงปู่แก้วท่านมาเข้าฝัน ให้ไปถามแม่ค้าขายผักในตลาด และเขาชี้ไปที่แม้ค้าขายปลา และตกลงยอมคืนทั้งพระปิดตา และสร้อยให้โดยเขาตอบแทนให้เงินไป 1,000 บาท เขาดีใจมาก รุ่นนี้เป็นพระปิดตารุ่นแรก และรุ่นเดียวของวัดนี้ และน่าแขวนมากครับ มีปาฏิหาริย์มากจากผู้แขวนพระปิดตารุ่นนี้ บ้างเรียกว่า เป็นรุ่นปลดหนี้ เพราะทางวัดสร้างพระรุ่นนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้ค่าสร้างเขื่อน ที่เป็นหนี้กว่า 1.0 ล้านบาท และยังได้เงินบริจาคเกินมาอีกเกือบ 1.0 ล้านบาท ไว้ทำกิจการอื่นๆต่อไป เห็นว่าน่าสนใจดีครับ เลยนำมาบอกกล่าวกัน หาไม่ง่ายนะครับ รุ่นนี้ เพราะคนเขาหวง และผมจะนำ เรื่องของการสร้างพระผงชุดแก้วสุทธิมาบอกกล่าวรวมด้วย เพราะน่าสนใจมากเช่นกัน หาไม่ง่ายเหมือนกันในปัจจุบัน เจตนาการสร้างดีมาก

    [​IMG]

    วัดช่องลม พระอารามหลวงแห่งนี้ นับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสมุทรสาคร ที่มีอายุยั่งยืนมาเกือบ 200 ปี และนับว่าจะอยู่ยั่งยืนต่อไปอย่างไม่มีวันเสื่อมสลาย เป็นวัดที่พำนักของพระราชสาครมุนี เจ้าคณะจังหวัด สมุทรสาคร และเจ้าอาวาสวัดช่องลม
    ชื่อวัด ในสมัยโน้นชาวบ้านพากัน เรียกว่า "วัดท้ายบ้าน" เห็นจะเป็นวัดอยู่สุดหมู่บ้านจึงเรียกเช่นนั้น เพื่อความเหมาะสมในเวลาต่อมาจึงพากันเรียก "วัดช่องลม" จนชาวบ้านเริ่มลืมวัดท้ายบ้านแทบหมดแล้ว ถ้าใครไปเรียกเข้าคงมีคนรู้จักน้อยเต็มที
    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกวัดช่องลมเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2508 และถัดจากนั้นเป็นเวลาอีก 5 เดือนเต็ม ก็ได้ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชาย พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงทุกพระองค์ มาทรงบำเพ็ญพระ-ราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดช่องลมเมื่อวันที่26 ตุลาคม 2508 นั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเมตตาบารมีล้นกล้า ฯ ของเหล่าพศกนิกรอย่างถ้วนหน้า
    [​IMG]

    ชัยภูมิที่ตั้งของวัดช่องลม ซึ่งด้านหน้าวัดหันสู่ทิศใต้ตรงกับปากน้ำท่าจีนพอดีมองเห็นทัศนียภาพปากอ่าวที่งดงามยิ่งนักส่วนทางเบื้องหลังวัดก็ช่างมีความประหลาดมากเหมือนธรรมชาติช่วยสรรสร้างอย่างจำเพาะเจาะจงให้หันหลังสู่แม่น้ำท่าจีนอีกด้วย แผ่นดินสำคัญตอนที่เป็นชัยภูมิสำคัญที่ตั้งวัดช่องลมจึงอยู่ตรงตอนที่แคบคอด หากที่ดินตอนนี้มิได้เป็นที่ตั้งวัด และขาดการถมเสริมเติมต่อไว้เสมอ ๆ ก็น่าจะขาดออกเปลี่ยนทางเดินของกระแสน้ำเปลี่ยนปากน้ำท่าจีนใหม่ ตำบลท่าฉลอมก็จะกลายเป็นเกาะหลุดออกจากแผ่นดินใหญ่ไปแน่ทีเดียว เมื่อแผ่นดินที่ตั้งวัดมีความสำคัญมากเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาไปให้ถึงบรรพบุรุษคนแรกที่ได้มาเห็นชัยภูมิเหมาะและเจาะจงสร้างเป็นวัดขึ้นและผู้ที่จะบอกเล่าได้อย่างละเอียดก็เห็นจะไม่มีใครอื่น ท่านผู้นั้นก็คือ พระราชสาครมุนีนั่นเอง
    คุณปู่และคุณย่าอ่วม แช่เล้า ได้บริจาคที่ดินสร้างวัดช่องลม ที่แปลงนี้ตามสันนิฐานแล้ว น่าจะกว้างขวางมากประมาณ 60 ไร่ เมื่อก่อนนี้ตามคำบอกเล่าว่า โรงเรียนเปี่ยมวิทยาคม (สกุลจินดาสร้าง) ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า นอกจากนั้นแล้ว หน้าโรงเรียนยังมีสนามฟุตบอลอีกหนึ่งสนาม โรงเรียนหลังนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ เพราะตลิ่งพังรุกเข้ามา แม้ว่าจะยกไปอยู่ที่ที่ใหม่นี้แล้วก็ยังไม่พ้นอันตราย เพราะภัยธรรมชาติรบกวนรุนแรงเช่นเคย จึงย้ายมาตั้งอยู่ข้างหลังวัดด้านเหนือเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ที่ตั้งวัดแปลงเก่าเหลืออยู่ประมาณ 5 ไร่ นอกนั้นพังลงน้ำหมดแล้ว เท่าที่เห็นอยู่เป็นที่ของนายเต๋าบิดาของนายบุญศรี นุตตาลัย และผู้ใหญ่จรูญ จันทร์ภักดี ซึ่งได้ถวายไว้มีเนื้อที่ 22 ไร่ 49 วา และต่อมานายบุญศรี นุตาลัย และผู้ใหญ่จรูญ จันทร์ภักดี ได้ร่วมกันถวายอีกแปลงหนึ่งเนื้อที่ 27 ไร่ แปลงนี้ติดกับแม่น้ำท่าจีนด้านหลังวัดและติดกับทางรถไฟสายแม่กลองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2496 รวมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 47 ไร่ 40 วา รวมทั้งของเก่าที่เหลืออยู่ 5 ไร่ รวมเป็น 52 ไร่ 40 วา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=480 border=0><TBODY><TR><TD><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ประวัติพระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว)</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวรารามและอดีตเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร พระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) ฉายา สุวณฺณโชโต อายุ 79 พรรษา 59 ป.ธ. 6 น.ธ. เอก วัดสุทธิวาตวราราม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร อดีตเคยดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าอาวาสวัดสุทธิวาตวราราม ลำดับที่ 8



    </TD></TR><TR><TD height=10>




    </TD></TR><TR><TD>สถานะเดิม


    เดิมชื่อ แก้ว นามสกุล ธนสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2446 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 2 ปีเถาะ เวลา 21.00 น. ณ ที่ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นอาณาจักรของประเทศไทย มีบิดาชื่อกัน มารดาชื่อ วงษ์ ที่ ต.กระสัง จ.พระตะบอง



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>บรรพชา


    เมื่ออายุได้ 12 ขวบ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดจำบกมาศ ต.กระสัง อ.กระสัง จ.พระตะบอง เมื่อวันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้บ้านท่านเพื่อศึกษาเล่าเรียนชั้นสามัญ จนท่านได้มีความรู้อ่าน และเขียนภาษาไทย และภาษาขอมได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะภาษาขอมปรากฏว่า ท่านมีความรู้แตกฉานเป็นพิเศษในขณะที่ท่านบวชเป็นสามเณรนั้นท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดี




    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>อุปสมบท



    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดจำบกมาศ โดยมีพระปัญญาสุธรรม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เผือก พรหฺมสโร วัดกระสัง เป็นพระกรรมทวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ แห่งวัดชำนิหัตถการกรุงเทพมหานคร เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2466 เวลา 09.55 น. ณ วัดจำบกมาศ ต.กระสัง อ.กระสัง จ.พระตะบอง



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>วิทยฐานะ


    1. พ.ศ. 2458 สำเร็จวิชาสามัญศึกษาเทียบเท่า ป.1 โรงเรียนวัดจำบกมาศ ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดพระตะบอง
    2. พ.ศ. 2480 สอบได้นักธรรมเอก สำหนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม อ.บางรัก จ.กรุงเทพมหานคร
    3. พ.ศ. 2481 สอบได้ ป.ธ. 6 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม อ.บางรัก จ.กรุงเทพมหานคร
    4. การศึกษาพิเศษ มีความรู้แตกฉานในภาษาขอมเป็นอย่างดี
    5. ความชำนาญการ มีความชำนาญในการก่อสร้าง การวางผังอาคาร ทั้งตามแบบสถาปัตยกรรมไทย และแบบประยุกต์ มีความชำนาญในการคำนวณหน้าไม้และวิชาช่างไม้



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>งานปกครอง


    พ.ศ. 2482 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ. 2488 เป็นเจ้าอาวาสวัดคลองตันราษฎร์บำรุง
    พ.ศ. 2489 เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม (อารามราษฎร์)
    พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าคณะจังหวัด



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>งานการศึกษา
    พ.ศ. 2473 เป็นครูสอนบาลีที่วัดชำนิหัตถการ
    พ.ศ. 2477 เป็นครูสอนปริยัติธรรมที่วัดหลักสองราษฎร์บำรุง
    พ.ศ. 2478 เป็นครูสอนบาลี และนักธรรมที่วัดใหญ่บ้านบ่อ
    พ.ศ. 2488 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดคลองตันราษฎร์บำรุงและเป็นผู้อุปการระโรงเรียนวัดคลองตันราษฏร์บำรุง
    พ.ศ. 2495 เป็นเจ้าสำนักเรียน วัดช่องลม และเป็นผู้อุปการะ โรงเรียนเทศบาลวัดช่องลม (เปี่ยมวิทยาคม)
    วิธีการส่งเสริมการศึกษา คือ จัดตั้งทุนการศึกษาประจำสำนักเรียน จัดส่งนักเรียนไปศึกษาต่อเพิ่มเติม จัดพิมพ์หลักสูตรทั้งบาลีและนักธรรมใช้ใมนสำนักเรียน หลักสูตรที่แพร่หลาย คือ หลักสูตรย่อนักธรรมตรี



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>งานเผยแผ่
    พ.ศ. 2489 เป็นองค์ประธานการเผยแผ่จังหวัดสมุทรสาคร
    พ.ศ. 2509 เป็นหัวหน้าฝ่ายพระธรรมทูตประจำจังหวัดสมุทรสาคร
    พ.ศ. 2520 เป็นประธานหน่วยการอบรมประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร
    มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่คือ จัดพิมพ์หนังสือประวัติวัดสุทธิวาตวราราม, หนังสือคู่มืออุโบสถศีล, คู่มือการอุปสมบท, หนังสือสวดมนต์, หนังสือหลักสูตรย่อ น.ธ. ตรี, ศิลปะในการพัฒนาวัด, โพชฌงค์ 7 ประการ, มงคลสูตร, รวมเรื่องเบ็ดเตล็ด,เลือดแม่,10 วันในอินเดีย, ความเป็นมาของสะพานสาครบุรี
    บรรยายธรรมเรื่อง "หญ้าปากคอก" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ บรรยายธรรมอบรมประชาชนในตำบลต่างๆ เป็นประจำ
    ร่วมมือกับคณะสงฆ์ และทางราชการในการเผยแพร่ คือ จัดส่งพระธรรมทูตจาริกอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน และนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ทั่วจังหวัด อบรมศีลธรรม แก่ข้าราชการ ครู และนักเรียนในวันสำคัญของโรงเรียน ในวันสำคัญของทางราชการ และในวันขึ้นปีใหม่เสมอมา



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>งานสาธารณูปการ
    สร้างกุฏิใหม่ทั้งหมด โดยดัดแปลงจากชั้นเดียวเป็นสองชั้น สร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงครัว สร้างถนน-กำแพงรอบบริเวณวัด สร้างซุ้มประตูหน้าวัด ห้องน้ำ ห้องส้วม ศาลาท่าน้ำ ติดตั้งเสาไฟฟ้า เจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในวัด สร้างเขื่อนกันน้ำกัดเซาะด้านหน้าและด้านหลังวัด สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ปรับปรุงเสนาสนะที่เห็นว่าไม่เหมาะ โดยพยายามรักษาของเดิมไว้ให้มากที่สุด



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
    สร้างสะพานสาครบุรี สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่าง ต.ท่าจีน - ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร สร้างสถานีตำรวจภูธรชั่วคราว และโครงการสร้างสถานีอนามัย ต.ท่าฉลอม เป็นผู้อุปถัมภ์ในการปรับปรุงวัดใหญ่บ้านบ่อ เป็นผู้วางแผนผังการก่อสร้าง วัดบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นองค์อุปถัมภ์การจัดตั้งมูลนิธิ โรงเรียนสาครวิทยา เป็นกรรมการอุปถัมภ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ร่วมนั่งปรกพิธีพุทธาภิเศก เหรียญไพรรีพินาศที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกพระพุทธรูปของพุทธมณฑล, นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกเหรียญศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ฯ สมุทรสาคร, นั่งปรกพิธีพุทธาภิเศกสร้างเหรียญ และพระพุทธรูปบูชา ของวัดต่าง ๆ อีกมาก ตลอดจนถึงเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และดับเทียนชัย
    สร้างรูปเหรียญ, ผ้ายันต์, พระพุทธรูปบูชา, พระสมเด็จผงพิมพ์เล็ก-พิมพ์ใหญ่, พระปิดตามหาลาภให้เป็นสมบัติของวัดสุทธิวาตวราราม เพื่อหารายได้บำรุงวัด สร้างพระสังกัจจายน์มหาลาภ เพื่ออุปถัมภ์การสร้างวัดหงส์อรุณรัศมี ต.ท่าจีน จ.สมุทรสาคร วัตถุมงคลแต่ละชนิดลงเองและปลุกเสกเองแต่ผู้เดียวทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุมงคลดังกล่าวนี้ บางอย่างยังมีเหลืออยู่บางอย่างหมดไปแล้วและบางอย่างเพิ่มเริ่มมีขึ้นแต่ละอย่างมีผู้มาขอไปเป็นจำนวนมาก



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ปฏิปทาและความเคารพนับถือของประชาชน
    ท่านเป็นผู้สนใจต่อการศึกษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาขอม หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเสมอ ติดตามความเคลื่อนไหวของโลกและบ้านเมืองอยูตลอดเวลา มีความสนใจเป็นพิเศษ ต่อภาษาหนังสือ แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม แต่ละเล่มเป็นที่สนใจของผู้อ่านทั้งสิ้น มีความสามารถในการเทศนาสั่งสอน การบรรยายธรรม ตลอดจนการปาฐกถาธรรม บรรยาย และตอบโต้ได้เป็นที่พอใจของผู้ฟัง ท่านเป็นผู้เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย จึงวางระเบียบ และกติกาของวัดไว้เคร่งครัดมาก ปกครองให้ความเป็นธรรม แบบบิดาปกครองบุตร จึงเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์โดยทั่วไป ตลอดเวลาที่ท่านปกครองวัดสุทธิวาตวราราม (ช่องลม) ท่านได้พัฒนาวัดของท่านเป็นอย่างมากต่อมา กรมศาสนาจึงยกวัดช่องลม ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ดีเด่น อันดับ 1 ของประเทศไทย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ประทานพัดพัฒนาดีเด่นให้ กรมศาสนาถวายประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติให้ เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2512 ต่อมาทางเทศบาลเมืองสมุทรสาครได้หล่อรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่วัดเบญจมบพิตร แล้วอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐานที่หน้าวัดทำให้บริเวณหน้าวัดเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น
    ในสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้นได้พัฒนาวัด ตลอดจนเสนาสนะอย่างต่อเนื่อง จนมีเจ้าอาวาสวัดต่างๆ เดินทางมาดูตัวอย่างการก่อสร้างที่วัดอยู่เสมอ ๆ จากการพัฒนาวัดดังกล่าว ความทราบถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้าพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา จึงเสด็จพระราชดำเนินทรงทอดพระกฐินต้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508 พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบรรณพระอุโบสถ พระราชทานฉัตรขาว 9 ชั้น ตั้งสองข้างพระประธาน และทรงพระราชทานนามของวัดช่องลมให้ใหม่ว่า "วัดสุทธิวาตวราราม"



    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ปัจฉิมกาล
    พระเทพสาครมุนี (หลวงปู่แก้ว) ได้อุทิศชีวิตและร่างกายให้กับพระศาสนา และสังคมอย่างไม่หยุดยั้ง ตลอดชีวิตของท่านตั้งแต่บวชจนถึงปี พ.ศ. 2524 หลวงปู่ไม่เคยป่วยมากถึงกับต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเลย นอกจากบางครั้งเป็นไข้หวัด เรียกหมอมาฉีดยา
    ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2524 หลวงปู่ได้เดินพลาดบันได เท้าแพลง เดินไม่ได้หลายเดือน ถึงกระนั้นท่านก็ยังทำกิจวัตรของท่านโดยการใช้รถเข็น
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 หลวงปู่เริ่มป่วยบ่อยครั้งส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดและอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และไม่ค่อยมีแรง คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์ ต้องการที่จะให้ท่านได้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำท่านไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นเวลาเกือบเดือน เมื่อท่านหายเป็นปกติแล้วจึงได้นำกลับมาพักผ่อนที่วัดตามเดิม
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 หลวงปู่ได้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคเก่า คืออ่อนเพลีย-วิงเวียนศีรษะ-และไข้หวัด แต่เมื่อได้เข้าพักรักษาตัวไม่นาน ท่านก็หายเป็นปกติทุกครั้ง
    จนกระทั่งเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2526 อาการป่วยของหลวงปู่ก็เริ่มเกิดขึ้นอีกเวลาประมาณ 16.00 น. ศิษย์หลวงปู่ ได้นำเอารถมารับหลวงปู่ ไปยังโรงพยาบาลพญาไทในเย็นของวันนั้น หลวงปู่ต้องเข้าพักรักษาตัวใน ห้อง ไอ.ซี.ยู. เป็นเวลา 1 คืน
    วันที่ 6 ก.ย. 26 อาการของหลวงปู่ก็เริ่มดีขึ้นโดยลำดับ ท่านก็บอกหมอ และศิษย์ที่ไปเฝ้าว่า ท่านต้องการกลับวัด หมอขอร้องให้ท่านอยู่อีกสัก 2-3 วัน จึงจะกลับได้
    วันที่ 7 ก.ย. 26 อาการของหลวงปู่ก็เริ่มดีขึ้นโดยลำดับ
    วันที่ 8 ก.ย. 26 อาการของหลวงปู่ก็นับว่า เกือบจะเป็นปกติแล้ว และตั้งใจว่าจะกลับไปวัดได้ในวันรุ่งขึ้น
    จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.00 น. พระมหาสมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ และคณะที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ตั้งแต่ตอนเย็น วันนั้น ต่างพูดคุยกวันในห้องพักนั้นอย่างปกติ โดยคุยกับหลวงปู่บ้าง คุยกันเองบ้าง เพราะดีใจที่หลวงปู่หายดีแล้ว
    เวลาประมาณ 24.00 น. หลวงปู่ได้ตื่นขึ้นมาเพื่อเข้าห้องน้ำ พระประจวบก็ได้ประคองให้หลวงปู่เข้าห้องน้ำ เมื่อเสร็จกิจแล้ว ก็กลับมานอนตามปกติ หลวงปู่ก็นอนหลับ
    เวลา 3.30 น. หลวงปู่ได้ตื่นขึ้น และเข้าห้องน้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จแล้วหลวงปู่ก็นั่งอยู่บนเตียงและบอกให้พระประจวบหยิบบุหรี่ใบจากให้ท่านสูบ ท่านก็ถามพระประจวบว่า "เวลาเท่าไรแล้ว" พระประจวบ ตอบว่า จวนตี 4 แล้ว ท่านก็พยักหน้ารับรู้แล้วบอกพระประจวบว่า ให้ถอยออกไปก่อนบอกว่าให้ไปนอนต่อเถอะยังดึกอยู่
    จนเวลา 05.00 น. เห็นหลวงปู่นอนหลับ ก็เดินเข้าไปจับดูเหมือนกับท่านกำลังหลับ น้ำเกลือที่ให้ยังหยดอยู่ตามปกติ พระประจวบคิดว่าหลวงปู่นอนหลับจึงไม่รบกวนท่าน สักพักหนึ่งพระประจวบจึงฉุกคิดว่า ปกติหลวงปู่ท่านเป็นคนตื่นง่ายเมื่อถูกตัวท่านแล้วท่านจะต้องรู้ตัวจึงรีบเข้าไปจับดูและเอานิ้วไปแต่ที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านไม่หายใจเสียแล้ว ด้วยความตกใจ รีบไปเรียกนางพยาบาลมาโดยเร็ว เมื่อนางพยาบาลมาตรวจดู เห็นหลวงปู่ตัวยังอุ่นอยู่ จึงรีบปั้มหัวใจเพื่อช่วยเหลือให้ท่านได้หายใจอีกครั้ง แต่ ...สายไปเสียแล้ว หลวงปู่สิ้นใจโดยสงบ ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยแต่มันก็เป็นไปแล้วจริง ๆ ... (เหตุการณ์นี้จากการจดบันทึก ของพระประจวบ สุนฺทรญาโณ พระผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดจดไว้)
    วันที่ 9 ก.ย. 26 หลวงปู่กลับมาวัดจริง ๆ ตามความประสงค์ของท่าน แต่ท่านกลับมาเพียงร่างกายเท่านั้น ส่วนวิญญาณของท่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์แล้วโดยความสงบสุข ปล่อยให้ลูกศิษย์ทั้งหลายต้องเศร้าโศรกเสียใจอย่างใหญ่หลวง ถึงแม้เป็นกฎธรรมชาติก็จริงอยู่ แต่ใครเล่าจะอดใจได้ ในเมื่อสิ่งที่รัก-สิ่งที่เคารพ-บูชาสุงสุด ได้จากไปอย่างที่ไม่ทันจะคาดคิดอย่างนี้
    หลวงปู่จากไปเมื่อตอนเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2526 เวลา 04.45 น. ท่ามกลางความอาลัยของศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพทั่วไป




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ประปิดตา บางท่านเรียกว่า รุ่นปลดหนี้

    [​IMG]

    ปิดตามหาลาภ สำหรับผงปิดตามหาลาภนั้น สร้างขึ้นเมื่อ 2525 และนับว่าเป็นวัตถุมงคลชิ้นสุดท้ายของหลวงปู่ ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวันคล้ายวันเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 และเพื่อหาเงินสร้างเขื่อนหลังวัด มูลเหตุแห่งการสร้างพระผงปิดตารุ่นนี้ ก็เนื่องจากว่า หลังจากทำเขื่อนหลังวัดเสร็จเรียนร้อยแล้ว ซึ่งต้องใช้เงินถึง 6 ล้านบาท ทางวัดเป็นหนี้อยู่อีก 1 ล้านบาท หลวงปู่จึงได้ปรึกษากับ คุณบันเทิง เอมเจริญ ถึงเรื่องนี้ คุณบันเทิงจึงคิดสร้างพระผงปิดตาขึ้น เพราะในยุคนั้น คนนิยมพระปิดตากันมาก เพื่อนำเงินที่ได้จากการให้ศิษย์เช่าไปบูชา แล้วนำเงินมาใช้หนี้ คุณบันเทิงจึงได้เข้าปรึกษากับหลวงปู่ เพื่อขออนุญาตสร้าง เมื่อหลวงปู่อนุญาตแล้ว คุณบันเทิงจึงคิดทำแบบและรูปลักษณะของพระผงผิดตานั้น จากนั้นได้ให้นายช่างเกษม มงคลเจริญ ทำแบบให้แล้วนำเอาผงสมเด็จรุ่น 1 และ รุ่น 2 ที่ชำรุด แตก หัก นำมาบดให้ละเอียดใหม่ แล้วนำผงเกษรดอกไม้-ผงไม้นางพญางิ้วดำ-และผงอื่นๆ ที่เป็นมงคลมาผสมกันเข้าตามวิธีการของการทำพระผงปิดตามหาลาภ ขึ้นตอนในการทำพระผงนี้ ตั้งแต่การผสมผง-การพิมพ์ออกมาเป็นรูปองค์พระ ทางวัดจัดทำเองทั้งหมด จากคณะศิษย์ของหลวงปู่ โดยคณะของคุณบันเทิง และพระภิกษุสามเณรในวัดนี้ทั้งสิ้น รูปลักษณะของพระผงปิดตานั้น ด้านหน้าองค์เป็นรูปพระสังกัจจายน์ นั่งขัดสมาธิเพชรมือทั้งสองปิดหน้า ด้านล่างมีผ้าทิพย์ห้อยลงมาส่วนด้านหลังเป็นยันต์อุณาโลม สำหรับพระผงปิดตารุ่นนี้นับเป็นวัตถุมงคลที่มีคนนิยมสูงสุดในจำนวนวัตถุมงคลทั้งหมด เพราะเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้เปิดให้คณะศิษย์ทั้งหลายได้เช่าบูชา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 ปรากฎว่า ประชาชนและศิษยานุศิษย์พากันมาเช่าพระผงผิดตากันอย่างมากมาย จนกระทั่งพระปิดตานั้นหมดภายในวันเดียว ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายที่ดี ซึ่งพระผงปิดตานั้นมีถึง 3 หมื่นกว่าองค์ ส่วนผู้ที่มาในภายหลังก็ผิดหลังกันตามๆ ไปทำให้ทางวัดได้เงินใช้หนี้ค่าก่อสร้างเขื่อน จำนวน 1 ล้านกว่าบาท แล้วยังมีเงินเหลืออีกเกือบล้านบาท หลวงปู่ได้พูดกับคณะศิษย์ทั้งหลายว่า "ปิดตารุ่นนี้ต้องเรียกว่า รุ่นปลดหนี้" เพราะทำให้ทางวัด หมดหนี้ หมดสินและไม่เป็นหนี้ใครอีกต่อไป ในขณะนี้ พระผงปิดตานี้ก็ยังเป็นนิยมสูง ในวงการพระทั่วๆไปและนับว่าจะมีแนวโน้มว่าจะนิยมกันมากขึ้นทุกขณะ

    พระผงพิมพ์พระพุทธ รุ่นแก้วสุทธิ

    [​IMG]

    พระผงสมเด็จหลวงปู่แก้ว รุ่นที่ 1. สำหรับพระผงสมเด็จหลวงปู่แก้วนี้ ทำเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2513 ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นจำนวน50,000 เศษ เก็บไว้ 40,000 องค์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ผู้มีศรัทธา นอกนั้นนำไปบรรจุไว้ในกรุพร้อมทั้งแม่พิมพ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นหลักชัยของวัดสุทธิวาตวรารามในอนาคตสืบต่อไป รูปลักษณะของพระสมเด็จของสมเด็จรุ่นนี้ ทำเป็นแบบสมเด็จทั่วๆ ไปรูปองค์พระนั้น จำลองมาจากพระประธานในพระ-อุโบสถของวัดสุทธิวาตวราราม คือ นั่งขัดสมาธิ บนแท่นสูง มีผ้าทิพย์ห้อมลงมาด้านล่าง มีเส้นโค้งรอบองค์พระ ส่วนด้านหลัง ทำเป็นซุ้ม 3 ยอด ตรงกลางซุ้ม มียันต์อุณาโลมเขียนเอาไว้ ด้านล่างซุ้มมีอักษรว่า "แก้วสุทธิ" สำหรับส่วนผสมของพระผงสมเด็จนี้ ค่อนข้างจะหนักไปในจำพวกเกษรดอกไม้-ผงแร่-ผงว่าน 108-ผงจากดิน 8 จังหวัด-ผงอิทธิเจปฐมัง และผงอื่นๆ ตามกรรมวิธีของการทำ เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ได้ทำการลงอักขระทุกองค์โดยลงทีละองค์จนครบ แล้วทำการปลุกเสกในพรรษา ครบไตรมาศ นับว่าเป็นพระผงสมเด็จที่ทำถูกวิธีและทำด้วยปราณีรอบคอบจึงเป็นที่นิยมของพวกชอบพระผงทั่ว ๆ ไป แต่พวกชาวสมุทรสาครชอบเรียกพระผงรุ่นนี้ว่า "สมเด็จน้ำท่วม" เพราะในวันที่เริ่มจัดทำก็เกิดปรากฏการณ์ประหลาดน้ำได้ท่วมวัดเป็นที่อัศจรรย์ต่อผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ​

    [​IMG]

    รุ่นที่ 2. สร้างขึ้นเมื่อ 2515 เนื่องในงานปีปิดทองพระพุทธบาทจำลอง ของวัดสุทธิวาตวราราม เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2515 การทำเหรียญรุ่น 2 นี้ ทำเป็น 2 แบบคือ แบบใหญ่เท่ากับรุ่นแรกและแบบเล็ก เท่ากับสมเด็จคะแนน (ใหญ่กว่าสมเด็จวัดปากน้ำเล็กน้อย) เพราะหลวงปู่ได้พิจารณาเห็นว่าสมเด็จใหญ่นั้น พวกสตรีและเด็ก แขวนรุ่นใหญ่จะทำให้ไม่เหมาะสมจึงได้ทำสมเด็จคะแนนขึ้นอีกแบบหนึ่ง สำหรับลักษณะของสมเด็จรุ่นนี้ ทำเหมือนกับรุ่นแรกทุกอย่าง โดยนำเอาพิมพ์ของรุ่นแรกไปแกะให้มีความคมชัดขึ้นอีก และทำให้ลึกกว่าเก่า เพราะเมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว จะดูคมชัดและสวยงามขึ้น เพราะฉะนั้น รูปลักษณะของรุ่น 2 นี้จึงเหมือนกับรุ่น 1 ทุกอย่าง แต่มีที่สังเกตอยู่ด้านหลังคือ คำว่า "แก้วสุทธิ" นั้นจะมีเส้นล้อมรอบตัวหนังสือไว้เท่านั้น และที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ องค์ของสมเด็จรุ่น 2 นี้ จะนูนกว่ารุ่นแรกส่วนสมเด็จเล็กนั้นรูปลักษณะเหมือนกันกับรุ่นใหญ่ทุกอย่างเพียงแต่ย่อรูปให้เล็กลงเท่านั้นส่วนตัวหนังสือ "แก้วสุทธิ" ไม่มีเส้นล้อมรอบเหมือนรุ่นใหญ่ และพระผงรุ่นเล็กนี้ออกเพียงครั้งเดียว ไม่มีพิมพ์เสริม หรือพิมพ์เพิ่มเติมแต่อย่างใด เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วได้นำแท่นพิมพ์ และแม่พิมพ์บรรจุไว้ในกรุ ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถวัดสุทธิวาตวราราม ​

    ที่มาของประวัติ และรูป : เว็ป chonglom.com ขอขอบพระคุณครับ สำหรังท่านผู้จัดทำ เพื่อเผยแพร่เกียรติประวัติท่านครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...