พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    ;k07
    ของพี่เหมียวเอา hello kitty หรือ kiki lala หรือ minna tabo ก็ได้ค้ะ
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รังผึ้งแกงกินได้ พื้นบ้านจานเด็ด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TXc9PQ==


    จานเด็ด 76 จังหวัด




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผึ้งเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยกันดี ในเมืองไทยตามธรรมชาติมี 4 สายพันธุ์ คือ ผึ้งมิ้ม ผึ้งมิ้มเล็ก ผึ้งหลวง และผึ้งโพรง

    ผลผลิตจากผึ้ง ที่เป็นที่นิยมกันเห็นจะไม่พ้นน้ำผึ้ง น้ำผึ้งประกอบด้วยน้ำตาลที่ย่อยง่าย มีโปรตีนและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูง รักษาโรคได้สารพัดชนิด มีคุณสมบัติพิเศษ คือรวมตัวได้กับตัวยาทุกชนิด

    นอกจากน้ำผึ้งแล้ว รังผึ้งก็เป็นอาหารได้เช่นกัน กินได้ทั้งแบบสดๆ คือหักเอารังมาจิ้มกับน้ำผึ้ง และเอามาปรุงอาหาร วันนี้ วีระ นุชกระโทก ข่าวสดนครราชสีมา มีแกงรังผึ้ง มาแนะนำกัน

    ก่อนอื่นขอกล่าวถึงขั้นตอนการเอารังผึ้งจากธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าการตีผึ้ง ชาวบ้านจะจุดคบที่ทำด้วยเปลือกของต้นมะละกอที่ตายแล้ว หรือกาบมะพร้าวตากแห้ง ทุบให้เป็นฝอยมัดรวมกัน เอาคบไฟไปลนให้ผึ้งเมา จะเห็นผึ้งแตกรังบินว่อน เมื่อผึ้งหนีไปหมดก็ใช้มีดปาดรังผึ้งลงมา

    ที่ต้องเตือนกันคือถ้าเป็นผึ้งหลวง จะดุและหวงรังมากกว่าทุกชนิด การตีผึ้งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญช่ำชองจริงๆ ถ้ามือไม่ถึงหรือพลาดแม้เพียงเล็กน้อย อันตรายถึงชีวิต

    ได้รังผึ้งมาแล้ว ฉีกเป็นชิ้นๆไม่เล็กไม่ใหญ่ หรือจะใส่ทั้งรังก็ได้ แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะรังผึ้งจะแตก ใส่กะละมังรอไว้ เครื่องแกงเป็นพริกแกงแบบพื้นบ้าน ใส่พริกขี้หนู ตะไคร้ซอย ใบมะกรูด กระเทียม หัวหอม ข่า ลงครกโขลกให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตั้งหม้อต้มน้ำบนเตา ใส่รังผึ้งลงไปรอจนน้ำเดือด เมื่อเห็นว่ารังผึ้งแตกดีแล้วใส่พริกแกงลงไป คนสักครู่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา ยกขึ้นได้ทันที

    แกงรังผึ้งต้องกินตอนร้อนๆหรืออุ่นจัด เพราะถ้ากินในเวลาน้ำแกงเย็น จะมีไขหรือขี้ผึ้งจับตัวเป็นก้อนไม่อร่อย

    รังผึ้งหากคิดจะหาจากธรรมชาติ อาจลำบาก แต่นานๆครั้งอาจมีคนหาบมาขายพร้อมน้ำผึ้ง ถ้าสนใจลองซื้อมาทำดูได้
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คึกคักมหกรรมครบเครื่องเรื่องอาหาร

    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB3TXc9PQ==

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>แม็คโคร (Makro) จัดงาน "มหกรรมครบเครื่องเรื่องอาหารและอุปกรณ์ ครั้งที่ 4" หรือ Makro HoReCa 2009 ภายใต้แนวคิด "ต่อยอดธุรกิจ สร้างแนวคิดใหม่" เพื่อให้สมาชิก ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้รับความรู้และสามารถนำแนวคิดที่ได้จากการจัดงานไปต่อยอดในการทำธุรกิจ ที่ อิมแพค เมืองทองธานี มีผู้คนในแวดวงธุรกิจตบเท้าร่วมงานอย่างคับคั่งกว่า 60,000 คน และเป็นงานเดียวที่รวบรวมผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม และผู้ค้าส่งอาหาร มาร่วมกันกว่า 267 บูธ

    ไฮไลต์เป็นการเชิญเชฟชื่อดังทั้งไทยและเทศมาร่วมกันทำอาหารโชว์ พร้อมถ่ายทอดเทคนิคพิเศษอย่างไม่หวงฝีมือ อาทิ เชฟ ซาไค ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารฝรั่งเศส จากรายการยุทธการกระทะเหล็กอันโด่งดังของญี่ปุ่นมาสร้างไอเดียสดใหม่ พร้อมโชว์ฝีมือทำอาหารหลายเมนูให้คนไทยได้ลิ้มรส ซึ่งจานพิเศษที่ทำเอาคนไทยต่อคิวรอชิมกัน คือ "ฟัวกราส์ โครแก็ต" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้มีเหล่าพ่อครัว แม่ครัวฝีมือดี จากร้านอาหารทั่วประเทศไทยเองก็เข้าแข่งขันทำอาหาร "Makro HoReCa Thailand Challenge 2009" ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

    ผลการแข่งขันสำหรับผู้ชนะเลิศระดับกลุ่มภัตตาคาร ร้านอาหาร ประเภทมืออาชีพ ได้แก่ ทีมบูลสเต๊ก จาก จ.นครราชสีมา ในเมนู "ดอลลี่ บูลสเต๊ก วิธ เฮิร์บ" ส่วนประเภทบุคคลทั่วไป (Smoothies) ได้แก่ ทีมกระดานดำ จากกรุงเทพฯ ที่ทำเอากรรมการผู้ตัดสิน ทั้ง อ.ชาลี อมาตยกุล, อ.สง่า ดามาพงศ์, เชฟบุญเชิด ต่างยกนิ้วให้ในความอร่อย ขณะที่การแข่งขันประเภทโรงแรม ผู้ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมโรงแรมริชมอนด์ สุดท้ายประเภทธุรกิจจัดเลี้ยง (โต๊ะจีน) ผู้คว้ารางวัล ได้แก่ ทีมอิมแพค จากกรุงเทพ

    งานนี้มีดาราและผู้ที่อยู่ในแวดวงอาหารมาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์และเคล็ดลับธุรกิจอาหารอย่างคับคั่ง เช่น คุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ Food Stylist ชื่อดังของเมืองไทย, ดุ๊ก ภาณุเดช วัฒนสุชาติ มาปั้นไอเดียเพิ่มมูลค่าเปลี่ยนของธรรมดาให้เป็นเงิน, กอหญ้า ฮุนตระกูล ผู้สร้างโรงแรมสีเขียว เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ตบท้ายด้วยสัมมนา อาทิ ข้อคิดการทำธุรกิจร้านอาหาร และการตลาด โดยร้าน TO-SIT, เคล็ดลับความสำเร็จ จากครัว เจ๊ง้อ, บทเรียนชีวิตนักสู้ ของศิริชัยแซนวิช เป็นต้น
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การล้างผักสดให้ปลอดภัย
    http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=2&Template=1

    การบริโภคผักสดเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ควรระมัดระวังว่าผักสดอาจมีสารพิษตกค้างได้ วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีล้างผักสดให้ปลอดภัยมาบอก...
    1. ปอกเปลือกหรือลอกเปลือกชั้นนอกของผักสดออก แกะเป็นกลีบ หรือแกะใบออกจากต้น
    2. ล้างผักสดด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง และคลี่ถูใบ หรือล้างด้วยการใช้น้ำก็อกไหลผ่าน ผักสดนานอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายในการล้าง ดังนี้
    - ใช้น้ำยาล้างผัก (ตามวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำ) หรือ
    - ใช้น้ำคลอรีน (ผงปูนคลอรีน ครึ่งช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ
    - ใช้น้ำเกลือ (เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูน ต่อน้ำ 4 ลิตร) หรือ
    - ใช้น้ำโซดา (โซเดียมไปคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร) หรือ
    - ใช้น้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชู ครึ่งถ้วย ต่อน้ำ 4 ลิตร)
    ให้เลือกวิธีที่สะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก็สามารถลดหรือขจัดสารพิษออกจากผักสดได้

    ใครที่อยากบริโภคผักสด สะอาดและปลอดภัย ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    'บริจาคอวัยวะ' บุญยิ่งใหญ่...ให้ชีวิตใหม่พ้นทุกข์
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=195038&NewsType=1&Template=1

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เป็นที่ทราบกันสำหรับความสำคัญของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจากปัจจุบันที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ตับ ไต ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานตามปกติได้

    การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยต่อชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ป่วยที่หมดหวังรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ซึ่งปัจจัยสำคัญในการรักษานี้คือ การให้ได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิต ทั้งนี้เพราะการบริจาค อวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีกว่าเดิม

    จากการคาดคะเนในประเทศไทยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต ที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้เกือบสองพันคน แต่ในความเป็นจริงยังมีข้อจำกัดในการนำอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาใช้รักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย ซึ่งอุปสรรคสำคัญคือ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะภายหลังเสียชีวิต

    จากที่ผ่านมา สภากาชาดไทย องค์กรกลางการกุศลได้ให้ความช่วยเหลือโดยเป็นศูนย์กลางดำเนินการเสนอโครงการ จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย ขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2536 สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะและในปีต่อมาได้จัดหาสถานที่ ทำการของศูนย์ฯ โดยตั้งอยู่ ณ ตึกกองอาสากาชาด ถนนราชดำริ จากนั้นย้ายที่ทำการมายังชั้น 5 อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ถนนอังรีดูนังต์ และจากปี พ.ศ. 2537 ที่เริ่มปฏิบัติงานมาจวบปัจจุบันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ครบรอบ 15 ปี อีกทั้งในวันนี้ยังเป็นวันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

    ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันให้ความรู้ สร้างความเข้าใจการบริจาคอวัยวะทั้งในเรื่อง สมองตาย ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการเสียชีวิต การจัดระบบการจัดสรรอวัยวะอย่างเป็นธรรม ตลอดจนรณรงค์ประชาชนในสังคมให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง สร้างการรับรู้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เล่าถึงจำนวนผู้รอรับการบริจาค พร้อมให้ความรู้การบริจาค อวัยวะให้ชีวิตใหม่ช่วยเหลือผู้ป่วยว่า จากจำนวน ผู้รอรับบริจาคอวัยวะที่ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มีจำนวนรวมกว่าสองพันราย โดย มีจำนวนผู้รอรับบริจาคไตมาก ที่สุด รองลงมาได้แก่ ตับ หัวใจและปอด ฯลฯ

    ขณะที่โอกาสการได้รับ บริจาคอวัยวะยังคงมีไม่มากเพียงแค่ 36 รายซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ระหว่างจำนวนผู้ลงทะเบียนขอรับบริจาคอวัยวะกับจำนวนผู้ได้รับ บริจาคอวัยวะอยู่ในระดับแค่ร้อยละ 1.5 และแนวโน้มคาดว่าจะมีจำนวนผู้ขอรับบริจาคเพิ่มขึ้น

    การบริจาคอวัยวะนอกจากจะช่วยชีวิต ให้ชีวิตใหม่แก่ ผู้ป่วยแล้วยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคอย่างเป็นกลางเสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่าง ๆ ไปใช้

    “อวัยวะที่ได้รับจากการบริจาคจึงต้องมีความเสมอ ภาค โปร่งใส ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่มีการซื้อขาย เพราะไม่เช่นนั้นจะขาดความเชื่อ ถือ ศรัทธา การรณรงค์บริจาคก็จะยากลำบากซึ่งในการทำงาน ที่ผ่านมาช่วงแรกจะเป็นการบอกกล่าวถึงศูนย์ฯ สถานที่ตั้ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบว่าตั้งอยู่ที่ไหน ทำหน้าที่อะไรเพื่อให้เกิดความมั่นใจและที่สำคัญสุด คือการให้ความรู้ เข้าใจในเรื่อง สมองตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเสียชีวิตแล้ว ขจัดข้อข้องใจที่เป็นอุปสรรคต่อการ บริจาคอวัยวะ”

    ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกถึงการปลูกถ่ายอวัยวะซึ่งเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่หมดหวังรักษาด้วยวิธีอื่น จากข้อมูลผู้ป่วยกว่าแสนคนที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ภายหลังการปลูกถ่ายไต ตับ หัวใจ ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งผู้ป่วย ที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจคนแรกตอนนี้ดำเนินชีวิตผ่านมากว่า 20 ปี

    เสียงหนึ่งจากผู้ได้รับการ บริจาคอวัยวะ น้องออย วัย 15 ปี ซึ่งเพิ่งรับการเปลี่ยนหัวใจเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในการได้รับความช่วยเหลือครั้ง นั้นคุณแม่เป็นตัวแทนบอกเล่าความรู้สึกว่า บุตรสาวป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจติดเชื้อ สองปีหลังกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงมีอาการเหนื่อยเพิ่มขึ้นซึ่งแพทย์แนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ครั้งนั้นก็คิดว่ามีโอกาสน้อยแต่เมื่อได้รับโอกาสถือว่าเป็นความโชคดี ประทับใจกับการให้ของผู้บริจาคซึ่งได้ให้ชีวิตกับลูกสาว

    “ความรู้สึกตอนนั้นบอกไม่ถูกว่าดีใจมากแค่ไหนและไม่คิดว่าจะมีโอกาส ขอบคุณผู้ที่มีเมตตาผู้ที่เสียสละบริจาคอวัยวะนี้ให้กับลูกสาวซึ่งป่วยมายาวนานและอยากฝากถึงผู้ที่มีความตั้งใจบริจาคเช่นกันว่าอวัยวะทุกส่วนมีค่ามีความสำคัญ ยามเสียชีวิตมีโอกาส มอบอวัยวะให้เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อื่นได้นั้นก่อเกิดประโยชน์มากมายเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ที่กำลังเจ็บป่วยรอคอย”

    ขณะที่การปลูกถ่ายอวัยวะทำให้ผู้ที่ได้รับอวัยวะมีชีวิตใหม่ อย่างที่กล่าวมาการรณรงค์ให้ความ รู้เข้าใจในการบริจาคอวัยวะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีต่อเนื่องไป

    อวัยวะทุกส่วนมีความสำคัญจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไปคงไม่ได้ การบริจาคเป็นเรื่องของการช่วยเหลือระยะยาวเป็นการต่อชีวิตจากชีวิตหนึ่งให้กับอีกหลายชีวิต ซึ่งร่างกายก็เหมือนกับเครื่องยนต์เมื่อเริ่มมีอายุมาก ขึ้นก็มีการเสื่อมถอยลง จากซ่อมเล็กน้อยก็อาจต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่

    เมื่อการบริจาคอวัยวะเป็นการให้ชีวิตใหม่ การรณรงค์คง ต้องมีต่อไปเพื่อสร้างความเข้าใจขยายจำนวนผู้มีจิตกุศลบริจาคอวัยวะ นอกจากนี้การบริจาคที่หนึ่งคนให้หลายคนรับช่วยชีวิต ผู้ที่กำลังรอคอยได้มีคุณภาพชีวิต ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะส่วนใด ตับ หัวใจ ไต ปอด ดวงตา ทุกส่วนมีคุณค่า อย่างหัวใจหากใช้ ไม่ได้ก็อาจใช้ลิ้นหัวใจ ซึ่งเวลานี้ศูนย์ฯ มีคลังเก็บลิ้นหัวใจ อีก ทั้งต่อไปจะมีคลังผิวหนัง ฯลฯ ซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สามารถนำเนื้อเยื่อมาใช้ได้

    การให้ชีวิตด้วยการบริจาค อวัยวะยังช่วยเพิ่มโอกาสแก่ผู้ขอรับบริจาคซึ่งการแสดงความจำนงเพื่อบริจาคแก่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยทำได้โดยแจ้งความจำนงไปยัง ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย โทร. 1666 และในการแจ้ง ความจำนงสามารถระบุอวัยวะ ที่ต้องการบริจาคได้ทั้งตับ ไต ปอด หัวใจ ฯลฯ ตามความสมัครใจของผู้ให้ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวทิ้งท้าย

    การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การบริจาคอวัยวะไม่เพียงช่วยชีวิตให้คนคนหนึ่งได้พ้นจากความเจ็บป่วยทรมาน การทำบุญสร้างกุศลที่เกิดขึ้นยังมีความหมายกับอีกหลายชีวิตได้มีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ก็ด้วยเพราะการให้.
    พงษ์พรรณ บุญเลิศ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    "สุข ดี เก่ง" สร้างได้

    http://www.thaihealth.or.th/node/8560

    เพื่อคนและสังคมคุณภาพแท้จริง
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p>[​IMG]</O:p>
    <O:p></O:p>
    โดย จุมพล พูลภัทรชีวิน www.thaissf.org แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ปีที่ผ่านมา โชคดีและมีความสุขมากที่ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะหัวหน้าโครงการถึงสองโครงการ เพราะทั้งสองโครงการมีแนวคิดและแนวปฏิบัติที่มีความสุขเป็นฐาน และเป็นเป้าหมาย มุ่งหวังให้คนในระบบการศึกษามีความสุข สร้างระบบการศึกษาที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanized Educare Systems) ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและสังคมมีคุณลักษณะ "สุข ดี เก่ง" เป็นคนและสังคมที่มีคุณภาพแท้ (Authentic) ไม่ใช่คุณภาพเทียม (Artificial) หรือเสมือนจริง (Virtual) <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    โครงการแรกเป็นการขับเคลื่อนเรื่อง "จิตตปัญญาศึกษา" สู่สถาบันอุดมศึกษา โดยได้เชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ 5 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ก่อให้เกิดชุมชนปฏิบัติ (Community of Practice) วิทยากรและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษาในหลายมหาวิทยาลัย อาจารย์จำนวนหนึ่งได้นำแนวคิด แนวปฏิบัติ และวิธีการที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการเรียนการสอนและการทำงาน แล้วได้แจ้งให้ทราบด้วยความปีติที่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีทั้งต่อตนเอง ลูกศิษย์ เพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ผู้เขียนเองก็เป็นปลื้มและมีความสุขไปกับเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษาที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    โครงการที่สองเป็นโครงการวิจัยประเมินผลคุณภาพคนไทย: การวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" ของคนไทย โครงการวิจัยประเมินคุณภาพคนไทย แบ่งการดำเนินงานออกเป็นสามระยะ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ระยะแรกเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ระยะที่สองเป็นการวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือวัด/ประเมิน "สุข ดี เก่ง" <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    และระยะที่สามจะเป็นการประเมินสภาวะ "สุข ดี เก่ง" ของคนไทยทั้งประเทศ และจำแนกตามตัวแปรอิสระต่างๆ เช่น อาชีพ อายุ ระดับการศึกษา... <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    การวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" ซึ่งเป็นระยะแรกของโครงการได้ดำเนินการสำเร็จแล้ว อยู่ระหว่างการปรับปรุงต้นฉบับรายงานการวิจัยหลังจากที่ได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิของสภาการศึกษา <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    การวิจัยครั้งนี้ถือเป็นนวัตกรรมทั้งในแง่ของแนวคิด ระเบียบวิธีวิจัย และการพัฒนาตัวชี้วัด ลักษณะพิเศษของการวิจัยครั้งนี้มีหลายประการ เช่น <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    1. การใช้ความสุขเป็นฐานของการทำวิจัย (มีความสุขในการทำงาน) <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    2. การไม่ยึดติดอยู่กับระเบียบวิธีวิจัย หรือกรอบทฤษฎีการพัฒนาตัวชี้วัดหนึ่งใด แต่พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และประสบการณ์ตรงระหว่างการทำวิจัยของทีมวิจัย (งานคือครู-เรียนรู้จากการทำงาน) <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    3. ไม่มีคำนิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) สำหรับ ความสุข ความดี ความเก่ง แต่ใช้วิธีการพูดคุยแบบไม่ชี้นำ (Nondirective/Informal Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ที่ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนว่าเป็นคนที่มีความสุข ความดี ความเก่ง และขอให้ท่านแนะนำผู้มีความสุข ความดี ความเก่ง ตามที่ท่านรู้จักให้ผู้วิจัยเพื่อจะได้คัดเลือกและขอไปพูดคุยด้วยต่อๆ ไป <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    4. การพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" ในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่แยกเป็น "สุข" "ดี" "เก่ง" ออกจากกัน <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    5. แหล่งข้อมูลที่นำมาประกอบการวิเคราะห์/สังเคราะห์ความหมายและตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" มาจากการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม การประเมินและตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรึกษาหารือระหว่างทีมวิจัย <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    6. ผู้ให้ทุนทำวิจัยส่งคนในสำนักงานเข้ามาร่วมเรียนรู้และร่วมกระบวนการวิจัยกับทีมวิจัย <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    7. ผู้ให้ทุนมีความ "ใจกว้าง" และ "กล้า" พอที่ให้ "ความไว้วางใจ" ผู้ทำวิจัยลองสร้างนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนา <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ผลการวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" ครั้งนี้ ได้ตัวชี้วัด 3 ชุด อันเนื่องมาจากวิธีการสังเคราะห์ที่แตกต่างกัน แต่ละชุดมีจำนวนตัวชี้วัดที่ไม่เท่ากัน <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ชุดแรกได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยเอกสาร (99 ตัวชี้วัด) ผ่านการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรจิตตปัญญาศึกษาในโครงการแรกที่จัดโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาจิตตปัญญาศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เหลือ 22 ตัวชี้วัด) กับข้อมูลที่ได้จากการวิจัยภาคสนาม (73 ตัวชี้วัด) ผ่านการพิจารณาความซ้ำซ้อนของทีมวิจัย (เหลือ 25 ตัวชี้วัด) ผลการสังเคราะห์ได้ตัวชี้วัดทั้งหมด 11 ตัว นำตัวชี้วัด พร้อมคำนิยาม 3 ระดับให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการวัดการประเมิน และการวิจัยทางการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ชุดที่สอง ได้จากข้อมูลภาคสนามเฉพาะที่ผู้ให้ข้อมูลหลักระบุว่า "สุข ดี เก่ง" เป็นลักษณะเดียวกัน รวมอยู่ในคนคนเดียว เป็นตัวชี้วัด "รวม" ไม่แยกเป็นส่วนๆ มีตัวชี้วัดทั้งหมด 25 ตัว ผ่านการพิจารณาทบทวนจากทีมวิจัยเหลือ 23 ตัวชี้วัด <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ชุดที่สาม ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยเอกสารที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (22 ตัวชี้วัด) กับตัวชี้วัด "ร่วม" (ตัวชี้วัดที่ปรากฏตรงกันในทุกมิติของตัวชี้วัด "สุข" "ดี" และ "เก่ง") ที่ได้จากการวิจัยภาคสนาม (16 ตัวชี้วัด) ผลการสังเคราะห์ได้ตัวชี้วัดร่วม 6 ตัวชี้วัด <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดชุดที่สอง (23 ตัวชี้วัด) และตัวชี้วัดชุดที่สาม (6 ตัวชี้วัด) พบว่าตัวชี้วัดทั้งหกตัวในชุดที่สามล้วนเป็นตัวชี้วัดที่ปรากฏในชุดที่สอง งานวิจัยนี้จึงนำเสนอผลการวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัด "สุข ดี เก่ง" ของคนไทยในระยะแรกนี้เป็น 6 ตัวชี้วัด <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ซึ่งได้แก่ มีความเพียร รักในการเรียนรู้ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ประนีประนอม มีอุดมการณ์ในชีวิต และ มีความพอเพียง <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ตัวชี้วัดรวม "สุข ดี เก่ง" ในชุดที่สอง (23 ตัวชี้วัด) ถือเป็นนวัตกรรมทางความคิด/กระบวนทัศน์ทางการวิจัยและการพัฒนาตัวชี้วัด หากมีการพัฒนาวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลให้รอบคอบ รัดกุมขึ้น จะน่าสนใจมากทั้งในแง่ของวิชาการ และการนำไปใช้ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ตัวชี้วัดร่วม "สุข ดี เก่ง" ในชุดที่สาม (6 ตัวชี้วัด) และเป็นผลการวิจัยครั้งนี้ ถือเป็นนวัตกรรมทางระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาตัวชี้วัดที่น่าสนใจ ในแง่ที่เป็นการวิจัยฐานราก (Grounded Research) ที่มีวัฒนธรรมเป็นฐานร่วม ในกรณีนี้จะสังเกตได้จากตัวชี้วัดทั้ง 6 ตัว มีความเป็นไทยอยู่พอควร เช่น ความพอเพียง ความเพียร และประนีประนอม <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ที่น่าสนใจมากในเชิงวิชาการ โดยเฉพาะการตีความ ความหมายของคำที่ผู้ให้ข้อมูลหลักใช้ และสถานการณ์/บริบทประกอบการอธิบาย หากตีความตามผู้ให้ข้อมูลหลักโดยตรง อาจจะมีความหมายแตกต่างหรือไม่ตรงกับที่นักวิชาการ (เฉพาะทาง) เข้าใจก็ได้ เมื่อนำผลการวิจัยมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาก็อาจจะตีความไม่ตรงกัน ในการเรียนการสอนด้านการวัดการประเมิน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงควรต้องนำประเด็นเหล่านี้ไปพิจารณาด้วย <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ประเด็นเรื่องตัวชี้วัดรวม ตัวชี้วัดร่วม และการตีความดังกล่าว น่าจะนำไปทำเป็นวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกได้ โดยผมและทีมวิจัยยินดีเป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ให้ครับ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    การวิจัยและพัฒนาในระยะที่สอง หากได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หรือหากมีหน่วยงานอื่นที่จะร่วมสนับสนุน ทีมวิจัยก็พร้อมที่จะพัฒนานวัตกรรมการสร้างเครื่องมือ/แบบวัดและประเมิน "สุข ดี เก่ง" เพื่อนำไปประเมินสภาวะ "สุข ดี เก่ง" ของคนไทยในระยะที่สามต่อไป <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    น่าสนใจไหมถ้าเราจะประกาศผลการประเมินสภาวะ "สุข ดี เก่ง" ของคนไทยเป็นประจำทุกปี ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือทุกๆ 5 ปีควบคู่ไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต พระนักปราชญ์ไทยจากหนังสือเราจะกู้แผ่นดินกันอย่างไร ได้ให้แง่คิดว่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจนั้นไม่สำคัญเท่าการสูญเสียคุณภาพของคน "เราจึงต้องกู้คนขึ้นมา แล้วคนนี่แหละจะมากู้เศรษฐกิจได้ แล้วจะเป็นเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืนอย่างแท้จริง" <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ผู้เขียนมีความสุขมากที่ได้มีโอกาสทำโครงการที่มีความมุ่งมั่นและเจตนาที่ดีทั้งสองโครงการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงขอขอบคุณด้วยความจริงใจมา ณ ที่นี้ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทั้งสองโครงการที่ช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จ ผมได้เรียนรู้จากท่านทั้งหลายมากมายเหลือเกิน <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    เข้าใจอย่างชัดเจนแล้วว่า ที่ท่านพุทธทาสสอนว่า จงทำงานอย่างมีความสุข และ มีความสุขกับการทำงาน หมายถึงอะไร และเข้าใจชัดเจนแล้วว่าที่ท่านสอนว่า งานคือครู หมายถึงอะไร <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    คุณครูทั้งหลาย อาจารย์ที่เคารพ พ่อแม่ที่รัก นักการเมืองที่นับถือ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นยอด นักกฎหมายชั้นเยี่ยม ศิลปินชั้นแนวหน้า...มาช่วยกันเป็นตัวแบบที่ดี ช่วยกันสร้างและพัฒนาคนไทยให้มีคุณลักษณะ "สุข ดี เก่ง" ร่วมกัน เพราะ "สุข ดี เก่ง" สร้างได้ครับ <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ก่อนจบขอฝากแง่คิดไว้นิดหนึ่งว่า "ชาติจะมั่นคง สงบสุข อย่างยั่งยืนได้ด้วยสติและปัญญา การศึกษาจึงต้องพัฒนาคนให้มีสติและปัญญา เพื่อเป็นปัญญาชน"
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
    ที่มาภาพประกอบ: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์<O:p></O:p>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แนะนำเส้นทางลัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
    ที่มา กระปุกดอทคอม

    �ѹʧ��ҹ�� �ҧ��ǧ��й� ��鹷ҧ�Ѵ㹪�ǧ ʧ��ҹ��

    [​IMG]
    กรมทางหลวง แนะนำเส้นทางลัด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2551

    รายงานข่าวจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวงแจ้งว่าเนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม เพื่อเยี่ยมญาติหรือเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวต่างจังหวัดการเดินทาง พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก มักจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางหลวงสายหลักๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นประจำทุกปี ​

    เพื่อให้การเดินทางของประชาชนรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอแนะนำเส้นทางลัดในการเดินทางไปสู่ภาคต่างๆ ของประเทศดังนี้ ...​

    [​IMG]สู่ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



    [​IMG]เส้นทางที่ 1 ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 31) หรือใช้ทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ ต่อสายอุตราภิมุขเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ถึงต่างระดับบางปะอิน เข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) มุ่งสู่อ่างทองเพื่อเดินทางสู่ ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรีเพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-2529-1441, 0-3524-5093) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 2 จากถนนรัตนธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง – สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข340 ) เลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก(ทางหลวงหมายเลข 9) จนถึงต่างระดับบางปะอิน แล้วใช้ถนนพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือใช้ถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32 )เพื่อไปภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-2527-2488, 0-3524-5093) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 3 จากถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงหมายเลข 302) ใช้ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340) ผ่านสุพรรณบุรีไปสู่ชัยนาทเข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ไปสู่ จ.นครสวรรค์เพื่อไป ภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2527-2488, 0-3555-5434) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 4 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนต่างระดับลำลูกกา (ทางหลวงหมายเลข 9) ถึงแยกพหลโยธิน(ทางหลวงหมายเลข 1) เลี้ยวขวาเพื่อเดินทางสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือเลี้ยวซ้ายไปต่างระดับบางปะอินเข้าถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) เพื่อสู่ภาคเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3524-5093, 0-3621-1105) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 5 จากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ (ทางหลวงหมายเลข 304) ห้าแยกปากเกล็ด ใช้ถนนติวานนท์ (ทางหลวงหมายเลข306) เลี้ยวขวาข้ามถนนบางพูน - บางปะหัน (ทางหลวงหมายเลข 347) ผ่านต่างระดับเชียงรากน้อยจนบรรจบถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 32) ที่ อ.บางปะหัน แล้วเดินทางไป ภาคเหนือ หรือเข้าถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) มุ่งสู่สระบุรี เพื่อไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-3524-5093, 0-3621-1105) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 6 จากต่างระดับรังสิตไปตามถนนรังสิต - องครักษ์ (ทางหลวงหมายเลข 305) ผ่านต่างระดับธัญบุรีตรงไปจังหวัดนครนายก, กบินทร์บุรี เพื่อไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2529-1441, 0-3733-5383) ​

    [​IMG] เส้นทางที่ 7 จากถนนรามอินทรา ใช้ถนนรามอินทรา - สุวินทวงค์ (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านฉะเชิงเทรา, พนมสารคาม, กบินทร์บุรี, ปักธงชัย เข้าสู่ถนนมิตรภาพ (สาย 2) ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3851-1015)
    [​IMG]เส้นทางสู่ ภาคตะวันออก

    [​IMG] เส้นทางที่ 8 ไปตามถนนบางนา - บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34) จนถึง กม. 39 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนกรุงเทพ - ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 7) ที่ต่างระดับบางควาย มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2397-4086, 0-3875-8538)​

    [​IMG] เส้นทางที่ 9 จากถนนศรีนครินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 3344) ใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ - ชลบุรี(ทางหลวงหมายเลข7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2397-4086, 0-3857-8626)​

    [​IMG]เส้นทางที่ 10 จากถนนรามอินทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) ใช้ถนนสุวินทวงศ์ (ทางหลวงหมายเลข 304)ผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา เข้าทางหลวงหมายเลข 314 แล้วใช้ทางหลวงพิเศษกรุงเทพ - ชลบุรี (สาย 7) มุ่งสู่พัทยาไป ภาคตะวันออก (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2521-3745, 0-3851-1015, 0-3857-8626)
    [​IMG]เส้นทางสู่ภาคใต้


    [​IMG]เส้นทางที่ 11 ใช้ถนนธนบุรี - ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35 : ถนนพระราม 2) เข้าถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข4) เดินทางสู่จังหวัด ภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821)​

    [​IMG] เส้นทางที่ 12 ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม , โพธาราม ,ราชบุรี อ.ปากช่องเพื่อเข้าสู่จังหวัดภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821, 0-3425-8856)​

    [​IMG] เส้นทางที่ 13 จากขนส่งสายใต้ใหม่ ใช้ถนนบางกอกน้อย - นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) เข้านครปฐม ,ราชบุรีเพชรบุรี สู่จังหวัดภาคใต้ (สอบถามรายละเอียดเส้นทาง โทร. 0-2420-6821, 0-2433-0797, 0-3425-8856)​

    สอบถามเส้นทางผ่านสายด่วนกรมทางหลวง 1586 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมทางหลวง
    [​IMG]
    ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต​
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    "งานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี"
    วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2552<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผ่านพ้นไปสำหรับ "งานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี" ในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2552 สำหรับงานสรงน้ำฯนี้ มีงานบุญ(หลัก) อยู่ 5 งานคือ <O:p</O:p
    1.งานบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง (ยอดเงินร่วมทำบุญ 4,500 บาท)<O:p</O:p
    2.งานบุญร่วมสร้างศาลาปฎิบัติธรรมสวนทิพย์โลกอุดร (ยอดเงินร่วมทำบุญ 3,390 บาท)<O:p</O:p
    3.งานบุญทุนนิธิสงฆ์อาพาธ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร (ยอดเงินร่วมทำบุญ 6,140 บาท)<O:p</O:p
    4.ถวายปัจจัยส่วนตัว พระอาจารย์นิล (ยอดเงินร่วมทำบุญ 3,290 บาท)<O:p</O:p
    5.ถวายปัจจัยส่วนตัว พระอาจารย์ผม (ยอดเงินร่วมทำบุญ 3,290 บาท)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    และมีงานบุญอีก 2 งานที่พี่จิ๋ว(ลูกชายท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร) ได้มาบอกบุญกัน งานแรกเป็นการร่วมทำบุญซ่อมแซมเมรุเผาศพ ที่วัดในจังหวัดนครราชสีมา (ผมจำชื่อวัดไม่ได้) ส่วนอีกงานบุญ(ที่พี่จิ๋วได้มอบซองมาให้ผม จำนวน 15 ซอง) ก็คือ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในการสร้างศาลาการเปรียญ ที่วัดบ้านอ่าง อ.มะขาม จ.จันทบุรี มีกำหนดการทอดในวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2552 หากพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ท่านใดสนใจที่จะร่วมทำบุญ แจ้งให้ผมทราบด้วยครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในวันงานครั้งนี้ ผมไปเป็นคนแรก ไปกับน้องพรสว่าง_2008 ไปถึงที่บ้านท่านอาจารย์ประถม ประมาณ 8.45 น. ไปถึงก็ช่วยกันอัญเชิญงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อีกทั้งนำสิ่งของต่างๆลงจากรถ
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    หลังจากนั้น ท่านที่มาร่วมงานก็ทยอยกันมาเรื่อยๆ ในช่วงบ่ายมีผู้ที่นับจำนวนท่านที่มาในงาน นับได้ 64 ท่าน ต่อมามีผู้ที่ทยอยมาร่วมงานอีกประมาณ 12-15 ท่าน ซึ่งผมได้ทราบตัวเลขก็ค่อนข้างจะเซอร์ไพรส์ เนื่องจากจำนวนท่านที่มาร่วมงานมากถึง 76-80 ท่าน แต่ที่ผมเห็นนั้น ผู้ที่มาร่วมทำบุญเต็มบ้านท่านอาจารย์ประถม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เรื่องของอาหารการกิน มีให้ทานกันอย่างอุดมสมบูรณ์มาก มีหลายๆท่านที่มาร่วมงานก็ได้นำอาหารมาร่วมทำบุญถวายพระ และให้กับท่านที่มาร่วมงานได้ทานกันอย่างเต็มที่ แถมยังได้นำกลับไปบ้านกันด้วย ผมขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ได้นำอาหารมาร่วมทำบุญกันในงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ้านคือพี่จิ๋ว ,พี่แอ๊ว ,พี่ฉัน ,น้องหมอ ,คุณศักดิ์ ,คุณแด๋นและอีกหลายๆท่าน ส่วนเรื่องน้ำดื่ม คุณkaticat ได้นำมาร่วมงานด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อพระอาจารย์ผม และพระอาจารย์นิล ได้เดินทางมาในงาน ก็ได้มีการนั่งคุยกันหลายๆเรื่อง พอได้เวลาอันเหมาะสม ก็นิมนต์พระอาจาย์ผม และพระอาจารย์นิล ถวายเพล พี่จิ๋วเป็นผู้ที่นำสวด พอถวายภัตตาหารเพลเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาลูกศิษย์ จำนวนท่านที่มาในงาน ทานอาหารกัน ทานกันอย่างไรก็ทานไม่หมด อาหารเยอะจริงๆ ทานอาหารกันไป คุยกันไป ดูมีความสุข และความสนุกกันมาก บางท่านไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็ยังคุยกันได้อย่างสนิทสนม นี่แหละครับ กลุ่มลูกศิษย์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (ชาวคณะพระวังหน้า และผู้ที่มีความเคารพท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อรับประทานอาหารกันเรียบร้อยแล้ว ก่อนเวลาที่จะสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ผมได้เข้าไปคุยกับพี่สิทธิพร ได้ผลสรุปก็คือ พี่สิทธิพรได้เป็นผู้ที่ดำเนินการ ผมเองก็เข้าไปร่วมดำเนินการด้วย ทุกๆท่านที่ได้ไปในงานก็จะทราบดีว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ในช่วงนี้ก็สามารถบอกได้เพียงเท่านี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผมได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม มามอบให้กับทุกๆท่าน(ที่มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งมี 2 วรรณะ ซึ่งมีหลายๆท่านได้นำเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็ได้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามสมณโคดม กลับไปบ้านเพื่อไปสักการะบูชากันด้วยครับ<O:p</O:p
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    หลังจากนั้นก็เริ่มการสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยนิมนต์พระอาจารย์นิล องค์แรก ,พระอาจารย์ผม องค์ที่สอง ในการสรงน้ำฯ ต่อจากนั้นเชิญท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร สรงน้ำฯเป็นท่านที่ 3 เมื่อพระอาจารย์นิล ,พระอาจารย์ผม และท่านอาจารย์ประถม อาจสาครสรงน้ำฯแล้วก็เดินไปนั่งในส่วนที่จัดเตรียมไว้ให้ หลังจากนั้นทุกๆท่านที่ได้มาในงานก็ทยอยสรงน้ำกันไปเรื่อยๆ โดยสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ต่อจากนั้นก็ได้สรงน้ำพระอาจารย์นิล ,พระอาจารย์ผม และท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ท่านที่สรงน้ำพระอาจารย์นิล ท่านได้มอบพระสมเด็จ(เนื้อปัญจสิริ) ให้กับผู้ที่สรงน้ำ ท่านที่สรงน้ำพระอาจารย์ผม ท่านได้มอบพระสมเด็จ(เนื้อปูนสอ) และท่านที่สรงน้ำท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ท่านก็ได้มอบพระสมเด็จ (top of the top) ให้กับทุกๆท่าน

    <O:p</O:p
    พอพิธีการสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระอรหันต์ 45 พระองค์ ,หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เรียบร้อยแล้ว ก็นั่งพักผ่อนกัน พูดคุยกันตามอัธยาศัย แต่ยังไม่หมดครับ ในงานสรงน้ำฯนี้ ยังมีงานบุญต่ออีก มางานเดียวได้ทำกันหลายๆบุญ คุ้มค่า คุ้มค่ามากๆ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อจากนั้น ก็ได้มีการถวายสังฆทานและยารักษาโรค แด่พระอาจารย์นิล และพระอาจารย์ผม ก่อนที่จะถวาย พระอาจารย์นิลท่านได้เทศน์ให้ฟังเรื่องของสังฆทาน และแนะนำเรื่องของการถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์เพียง 1 องค์ ผมได้คำถวายสังฆทานในงานนี้มาด้วย หากพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ท่านใดสนใจ ให้แจ้งมา ผมจะส่งให้ทาง email ครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในงานสรงน้ำฯ ทางคณะทุนนิธิท่านอาจารย์ประถม อาจสาครก็ได้เดินทางมาร่วมงาน ทางคณะพระวังหน้า ยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนพระสมเด็จ(เนื้อปูนสอ) ที่เคยร่วมทำบุญกันมานั้น พระสมเด็จ(เนื้อปูนสอ) ในส่วนที่เหลือ ผมได้มอบให้กับท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร เรียบร้อยแล้ว โมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญพระสมเด็จด้วยนะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การถวายสังฆทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาประมาณ 15.00น. หลายๆท่านที่มาร่วมงานก็ทยอยเดินทางกลับ แต่ส่วนที่ยังอยู่กันในงานก็มีมากพอสมควรเช่นกัน ท่านที่ยังคงอยู่ในงาน ก็พูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง มีความสนิทสนมกลมเกลียวกัน ต่อมาท่านที่มาร่วมงานก็ทยอยเดินทางกลับกันไป คงเหลือกลุ่มสุดท้ายอีก 12 ท่าน คือทางคณะพี่สมสิทธิ์ 4 ท่าน ,คุณแด๋นและน้องแอ้ม ,พี่แอ๊วและน้องชา ,คุณตั้งจิต ,คุณชวภณ ,ผม และน้องพรสว่าง ที่น้องพรสว่างกลับก่อนไม่ได้ก็เนื่องจากมากับผม ก็เลยจำยอมกลับเป็นกลุ่มสุดท้าย นั่งคุยกันท่านอาจารย์ประถมจนถึงเวลาประมาณ 17.30 น. คุณแด๋นและน้องแอ้ม ,พี่แอ๊วและน้องชา ก็ได้เดินทางกลับ ส่วนที่เหลือก็ยังไม่ยอมกลับกันอีก ยังนั่งคุยกันต่อจนเวลาประมาณ 18.45 น.จึงได้ลาท่านอาจารย์ประถม กลับบ้านกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เกือบลืมไป ตอนที่ผมเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในพานทองที่วางพระพุทธรูป ผมได้นำดอกไม้ออก และเทน้ำในขันไม้ไว้ ผมกำลังจะนำพานทองไปใส่ไว้ในลัง ปรากฎว่าผมได้ยินเหมือนกับเศษหินอยู่บนพาน เหลือบตามองไปก็เห็นวัตถุคล้ายๆกับหินสีขาวเกือบใส จำนวน 2 อัน ผมก็เลยนำไปให้พี่ใหญ่ช่วยดูให้ พี่ใหญ่บอกว่า เป็นกระดูกพระอรหันต์ ให้ผมเก็บไว้ ครับในงานพระธาตุพระอรหันต์เสด็จมา 2 องค์ครับ ผมก็เลยมอบให้กับคุณnongnooo 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผมขอขอบพระคุณและโมทนาบุญทุกๆท่านที่มาร่วมทำบุญกัน ไว้ปลายปีนี้ ผมจะจัดงาน(ใหญ่)ขึ้นอีกรอบ เนื่องในวันครบรอบอายุ 89 ปี ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ส่วนงานจะเป็นอย่างไร ผมจะแจ้งให้กับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทราบกันอีกครั้งครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    โมทนาสาธุ<O:p</O:p
    โมทนาสาธุ<O:p</O:p
    โมทนาสาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->sithiphong<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2021071", true); </SCRIPT> <O:p</O:p
    6 เมษายน 2552<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.2 KB
      เปิดดู:
      87
    • 1-1.jpg
      1-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.9 KB
      เปิดดู:
      105
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.7 KB
      เปิดดู:
      854
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      702.5 KB
      เปิดดู:
      94
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      661.2 KB
      เปิดดู:
      105
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      619.7 KB
      เปิดดู:
      113
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      573.5 KB
      เปิดดู:
      95
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      613.5 KB
      เปิดดู:
      100
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      570.1 KB
      เปิดดู:
      102
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      520.9 KB
      เปิดดู:
      93
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      681.1 KB
      เปิดดู:
      102
    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      632.2 KB
      เปิดดู:
      121
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      488.8 KB
      เปิดดู:
      103
    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      451.1 KB
      เปิดดู:
      93
    • 15.jpg
      15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      452 KB
      เปิดดู:
      90
    • 16.jpg
      16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      569.8 KB
      เปิดดู:
      101
    • 17.jpg
      17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249.5 KB
      เปิดดู:
      105
    • 18.jpg
      18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      588.3 KB
      เปิดดู:
      104
    • 19.jpg
      19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      571.9 KB
      เปิดดู:
      101
    • 21.jpg
      21.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.9 KB
      เปิดดู:
      93
    • 22.jpg
      22.jpg
      ขนาดไฟล์:
      492.1 KB
      เปิดดู:
      121
    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      499.5 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ภาพในงานสรงน้ำฯ

    [​IMG]

    โต๊ะที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ,พระบรมสารีริกธาตุองค์พระปัจเจกพุทธเจ้า 3 พระองค์ ,พระธาตุพระอรหันต์สมัยพุทธกาล 42 พระองค์ ,พระธาตุหลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ,พระธาตุหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ และพระธาตุสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

    [​IMG] [​IMG]

    พระบูชาที่อัญเชิญมาสรงน้ำ

    [​IMG]

    โต๊ะที่ใช้สรงน้ำ พระอาจารย์ 2 รูป

    [​IMG]

    โต๊ะที่ใช้สรงน้ำท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ภาพงานสรงน้ำฯ

    เริ่มพิธีการสรงน้ำ เป็นการนิมนต์พระอาจารย์นิล และพระอาจารย์ผมสรงน้ำก่อนเป็นลำดับแรก

    [​IMG]
    ต่อมาเชิญท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร สรงน้ำเป็นลำดับต่อไป

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลังจากนั้น ทุกๆท่านที่เข้าร่วมงาน ก็ทยอยเข้าไปสรงน้ำกันครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพท่านที่ไปร่วมงานสรงน้ำฯ อีกบางส่วนครับ

    [​IMG]

    พระอาจารย์นิล ท่านกำลังชี้แจงเรื่องของการสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ที่ดำเนินการไปแล้ว และยังคงที่จะดำเนินการต่อไป

    [​IMG]

    [​IMG]

    อาหาร มีมากมาย ทานกันไม่หมด จนต้องนำกลับบ้านกันเยอะ นี่เป็นบางส่วนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รูปพระบูชา หลวงปู่ฝั้น ซึ่งสร้างปี พ.ศ.2500

    [​IMG]

    พี่ท่านนึงที่เป็นเจ้าของ วัดไ.......... ได้มอบให้กับท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร เนื่องจากหลวงปู่ฝั้น ท่านเป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์ประถม อาจสาครครับ

    [​IMG]

    ส่วนหนังสือเล่มนี้ พี่ท่านนี้ ได้รับมาจาก MD ลีเวอร์บราเดอร์ แล้วพี่ท่านนี้ก็ได้มอบให้กับผมครับ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2009
  17. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    สองวันก่อนไปบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทย และ
    วันนี้ไปทำบุญที่มูลนิธิมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    ผมขอน้อมอุทิศ กุศลผลบุญ แก่กัลยาณมิตร ทุกท่าน ครับ
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ท่านโดฝากบอกไม่ไหวครับคราวหน้าใครหอมแก้มคิดครั้งละ 200บาทครับ แต่เฉพาะ พี่ไฟดูดนี่ หอมทีพระ 1องค์ครับ หุ หุ
     
  19. dragonlord

    dragonlord เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,541


    กรี๊ด อิจฉาคนที่ได้ไปงานคะ ได้บุญแถมได้หอมแก้มคุณน้องด้วย แล้วถ้าให้คุณน้องหอมแก้มละคะ
     
  20. dragonlord

    dragonlord เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,541
    อนุโมทนาบุญ กับ ทุกท่านที่ได้ไปร่วมงาน โดยเฉพาะพี่หนุ่มนะคะ ที่เป็นคนจัดงาน อนุโมทนาค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...