รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ผมไม่ได้เข้ามาหลายวันเลยครับ
    ขออนุโมทนา กับทุกๆท่านที่มาฝึกในวันนี้ด้วยนะครับ
     
  2. manussanun

    manussanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +202
    ไปฝึกกันตรงจุดไหนในสวนลุมครับ
    คนที่จะไปตรงเตรียมตัวยังไงบ้างครับ
     
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ฝึกบริเวณ ศาลาหกเหลี่ยม บนเกาะลอยครับ
    หาเกาะลอยเจอก็จะหาศาลาหกเหลี่ยมเจอครับ
    เวลาตั้งแต่9.30น. จนถึงเย็นเลยครับ
    หากมีธุระ อยากจะกลับเมื่อไหร่ก็ได้ครับ

    สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ เตรียมทำใจให้สบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนอนหลับให้เต็มที่ก็พอครับ

    อันนี้เบอร์โทรศัพท์ของผมครับ ในกรณีที่หาสถานที่ฝึกไม่เจอครับ 083-900-3388
     
  4. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Maxzimon ครับ

    ผมก็ทรงสมาธิตลอดเวลาเช่นกันกับคุณMakoto นะครับ เพียงแต่สิ่งที่ผมจับคือการกระทำ ผมสามารถระลึกได้ว่ากำลังทำสิ่งใด เมื่อใดที่เกิดกิเลสขึ้นผมก็ตัดทันที
    ยิ่งเข้าสู่สมาธิมาเท่าไหร่ยิ่งรู้สึกใดว่ายังมีผู้คนมากมายเท่าใดที่เขายังไม่หลุดพ้นจากกิเลส พวกเขายังวนเวียนอยู่ในบวงกิเลสมากมาย แต่ไม่ได้กังวลจนทุกข์ใจ แต่เมื่อใดที่เห็นพวกเขาหลุดพ้น ได้ผมก็รู้สึกมีความสุข

    ผมคงหาโอกาสไปที่สวนลุมยากแล้ว เพราะต้องไปเรียน+อาจจะต้องไปเกณฑ์ทหาร

    ยังไงก็ขอให้ทุกคนหลุดพ้นจากกิเลส และได้เข้าถึงนิพพานทุกคนนะครับ

    การทรงสมาธิ ทรงเมตตาเอาไว้เสมอนั้น เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว
    แนวทางในการปฏิบัตินั้น ผมเชื่อว่าเห็นได้ชัดเจนแล้ว
    ก็ขอให้เดินทาง มุ่งหน้า ก้าวเดินไปในหนทางแห่งความดี ซึ่งตั้งใจไว้แล้วนั้นเทอญ

    ปฏิปทาซึ่งมุ่งจะทำเพื่อผู้อื่น ซึ่งได้บังเกิดรู้ตื่นขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตา ด้วยอำนาจแห่งพรหมวิหาร4
    ขอให้ยึดมั่น ตั้งมั่น ในปฏิปทาเพื่อผู้อื่นนี้ ตลอดไปทุกภพชาติตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    ระยะนี้ผมยังไม่มีอะไรจะถาม แต่ก็เข้ามาอ่านเรื่อยๆครับ
    ที่ยังไม่มีอะไรจะถามเนื่องจาก สำรวจตัวเองแล้ว ยังเห็นว่า
    ห่างไกลจากสิ่งที่ตั้งใจไว้มากครับ ตอนนี้พยายามจะรักษาศีล5
    ให้ได้เสียก่อน เพราะหลังจากที่ออกพรรษามาก็เกือบครึ่งปีแล้วครับ
    รู้สึกว่าตัวเอง กลับไปวังวนเดิมๆ สับสน วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน เครียด
    เบื่อ เซ็ง ขี้เกียจ เมา...ฯลฯ นี่เองที่เป็นสาเหตุที่ไม่มีความก้าวหน้า
    ในการปฏิบัติธรรมสักที เล่าไปก็นึกอายท่านชัดอยู่เหมือนกัน อิอิ
    ตั้งใจไว้ว่า ทาน ศีล ภาวนา ก็จะทำไปเรื่อยๆครับ ไว้มีปัญหาติดขัด
    นอกเหนือจากที่เคยเรียนถามท่านชัดไว้ ก็จะขอมารับคำปรึกษาอีกครับ

    ขออนุโมทนากับท่านชัด และเพื่อนๆทุกท่านครับ
    ขอให้สิ่งที่หวังไว้สำเร็จตามที่ใจต้องการ

    ถ้ามีโอกาสก็ลองมาฝึกด้วยกันที่สวนลุมก็ได้ครับ
    ผมเชื่อว่าจะทำให้เห็นผลของการปฏิบัติ ได้โดยเร็ว ได้โดยง่ายดาย ได้อย่างมั่นคงในจิตใจ
    สมาธิคือ อารมณ์สบาย หากจิตของเรายังสบาย เบา ชุ่มเย็นอยู่ด้วยกำลังของสมาธิ
    จิตก็ยังมีความตั้งมั่น ในหนทางแห่งความดีอยู่ตราบนั้น

    หากจิตเกิดความไม่สบาย อึดอัด ขัดข้อง เร่าร้อน
    ก็แปลว่าจิตของเรา กำลังไม่เป็นสมาธิ กำลังดำเนินไปอย่างผิดทิศผิดทาง

    ความสุขก็คือสมาธิ จิตเป็นสุข มีความชุ่มเย็นเมื่อไหร่ จิตเป็นสมาธิเมื่อนั้น
    หากจิตไม่เป็นสมาธิก็จะเข้าถึงความสุขไม่ได้

    ดังนั้นการปฏิบัติ ย่อมไม่เร่งรัด หรือย่อหย่อนจนเกินไป
    หากย่อหย่อน ก็ต้องใช้ความเพียรเพิ่ม
    เพียรในการทำให้จิตมีความสุข เพียรในการทำให้ใจสบาย

    หากเร่งรัดเกินไป ก็ต้องผ่อน ต้องคลาย ต้องพัก
    คลายจิต คลายความเคร่ง ในการปฏิบัติ ให้เกิดความสบาย ความเบาของจิต

    ส่วนศีล5นั้น ศีลที่แท้จริง
    เกิดจากกำลังของเมตตา ให้เราเจริญเมตตา หรือเจริญสมาธิ เจริญอารมณ์ที่สุข ชุ่มเย็น
    จนกระทั่งจิตมีอาการประคองอยู่ในความสุข ในความปรารถนาดี ในกุศล
    จนทำร้ายใครไม่ลง เบียดเบียนใครไม่ลง

    การปฏิบัติทุกอย่าง ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา รักษาที่ใจ รักษาที่จิตเพียงจุดเดียว
    จิตมีเมตตา ทานก็อยากบริจาค ศีลก็ทรงตัว สมาธิก็ตั้งมั่น ปัญญาก็ฉับไว แหลมคม

    ดังนั้นให้เจริญจิตให้เป็นสมาธิ และประคองอารมณ์นั้นให้ได้
    เพราะตราบใดที่จิตยังเป็นสมาธิอยู่ ความเสื่อมของศีลจะไม่เกิดขึ้น

    ขอให้จิตมีความชุ่มเย็น ด้วยกำลังของเมตตา ของสมาธิ สัมผัส ระลึกถึง เข้าถึง อารมณ์สบาย อารมณ์จิตที่ชุ่มเย็น จิตที่เบิกบาน แย้มยิ้ม มีความสุข ความอิ่มเต็มในธรรมปีติ
    ได้โดยฉับพลันทันใด้ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ meng2010 ครับ

    ผมนั่งสมาธิแล้วรู้สึกอึดอัดมากเหมือนหายใจไม่ค่อยออกผมท่อง พุธโธด้วยน่ะครับผมก็กลืนน้ำลายทีนี้ก็ค่อยยังชั่วสักพักก็เป็นอีกก็กลืนอีกสักพักก็เป็นอีก แล้วก็เหมือนมันกำลังกลับหัวอ่ะครับ แล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำไงต่อดีครับแนะนำหน่อยดิครับ ไม่รู้จะทำไงต่อดี แล้วต่อจากนี้มันจะเป็นไงอ่ะครับ ขอบคุณครับ
    คือผมถามในกระทู้อื่นมาแล้วแต่ได้คำตอบมา 2 แบบที่ต่างกันสำหรับแนวทางปฏิบัติอ่ะครับเลยต้องรบกวนถามตรงกระทู้แนะนำอ่ะครับ ขอบคุณครับ แต่ถ้ามันจะเพิ่มแนวทางปฏิบัติมาอีก 1 ทาง ผมก็จะลองทั้งหมดอ่ะครับ ขอบคุณมากๆครับ<!-- google_ad_section_end -->

    คำตอบอื่นที่ได้ทราบมา ผมเชื่อว่ายังไม่สามารถแก้ไข ในความอึดอัดที่เกิดขึ้นได้
    เพราะที่รู้สึกอย่างนั้นเกิดจากการวางอารมณ์หนักไป
    การวางอารมณ์หนักไปนั้น ในกรณีนี้ เกิดจากการนั่งด้วยท่า ที่มีอาการเกร็ง อึดอัด
    ไม่ผ่อนคลายไม่สบาย
    เมื่อกายไม่ผ่อนคลาย ไม่สบาย จิตย่อมมีอาการหนัก อึดอัด ตามความไม่สบาย ไม่ผ่อนคลายของร่างกาย
    และเกิดจากการที่จิตก็มีอาการเพ่ง เกร็ง ตั้งใจ อยากเข้าถึงความสงบมากเกินไป
    อาการที่จิตหนักนั้น เกิดจากการตั้งกำลังใจ ที่เร่งรัด หรือหวังผลในการปฏิบัติอย่างเร่งรีบเกินไป

    ในด้านของร่างกายนั้น ให้เรานั่งพิงเก้าอี้ นั่งโซฟา นั่งเบานุ่มๆ หรือจะนอนก็ยังได้
    ทำอย่างไรก็ได้ ให้ร่างกายสบาย การทำสมาธินั้น คือการทำที่จิต ฝึกที่จิต รักษาที่จิต
    ไม่ใช่ฝึกร่างกาย ดังนั้นท่านั่ง ให้เลือกท่าที่สบายที่สุด จะเหยียดจา จะนอนก็ทำได้ตามสะดวก

    ผ่อนคลาย ความรู้สึก อาการเกร็งของร่างกาย ไล่ผ่อนคลายความรู้สึกให้ครบทุกส่วนของร่างกาย
    แขน ขา มือเท้า หลัง คอ ใบหน้า คลายความรู้สึกให้เบา ให้คลาย ให้สบาย
    ยิ่งร่างกายผ่อนคลายมากเท่าไหร่ จิตยิ่งเป็นสมาธิมากเท่านั้น
    ร่างกายเกร็งมากจิตจึงไม่สงบ อึดอัด ขัดข้อง ไม่เข้าถึงซึ่งสุขจากสมาธิ

    ต่อมาเมื่อคลาย ผ่อน วาง ในร่างกายแล้ว
    ก็มาแก้ที่ใจ ที่จิต
    การทำสมาธินั้น ไม่ใช่การบีบจิตให้สงบ ไม่ใช่การบังคับจิตให้สงบ ไม่ใช่การบีบเพ่ง เร่งรัดให้จิตสงบ
    แต่คือการผ่อนคลาย ทำใจให้สบาย จนจิตเกิดความสงบ
    คนส่วนมากเข้าไม่ถึงสมาธิ เพราะพยายาม บีบ เร่งรัด คาดคั้นให้จิตนิ่ง หยุด สงบ
    ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คือ การผ่อนคลาย ฝึก เรียนรู้สัมผัส วิธีการผ่อนคลายจิต ผ่อนคลายกาย
    จนเกิดความสงบ สบาย เบา เย็น
    เมื่อเห็นแล้วว่าวิธีที่เราผฏิบัตินั้น สร้างความหนักให้กับจิต ก็ให้เปลี่ยนการวางอารมณ์ใหม่ โดยเน้นการผ่อนคลายจิตเป็นสำคัญ
    ต่อมาที่ต้องแก้ คือกาตั้งกำลังใจ ตั้งกำลังใจเอาไว้สูงเร่งรัดจนเกิดความคาดคั้นตัวเอง
    จิตก็ไม่อาจจะสงบได้ ดั่งพระอานนท์ ปรารถนาจะเข้าถึงซึ่งอรหัตผล โดยรวดเร็ว
    ท่านได้เดินจงกรม อยู่จนกระทั่งเท้าแตก ก็ไม่บรรลุ เพราะจิตมีอาการเร่ง เคร่ง เครียด จนเกินไป
    แต่เมื่อท่าน ตัดสินใจว่า พอเถอะจะบรรลุ ไม่บรรลุก็ไม่เป็นไร
    แล้วท่านก็จะนอนพัก ณ ขณะนั้น จิตที่หนัก ของท่าน ก็คลาย ก็ผ่อน ก็เกิดอารมณ์สบาย
    เมื่อท่าน กำลังจะล้มนอนนั่นเอง ท่านจึงบรรลุธรรมในระหว่างอิริยาบถทั้ง4
    บรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านคลายจิต ผ่อนความตึง อาการหนักของจิต

    การตั้งกำลังใจของเราก้เช่นกัน
    อย่าไปตัง้ใจว่าจะให้ได้ฌาณนั้น ฌาณนี้ ระดับนั้นนี้
    ให้ตั้งใจ วางกำลังใจสบายๆ ง่ายๆว่า
    เราทำสมาธินี้เพื่อให้จิตเกิดความสบาย ความเบา ความสุข
    ดังนั้นจิตของเราเกิดความสบายเมื่อไหร่ แปลว่าเราทำแล้วเกิดผล
    หากจิตยังไม่สบาย ถือว่ายังไม่ผ่าน
    การทำสมาธิ คือการทำจิตให้สบาย พุทโธ จนใจเบา สบาย แย้มยิ้ม
    จับลมหายใจจนจิตเบา สบาย แย้มยิ้ม
    แผ่เมตตา จนจิตเบิกบาน สุข อิ่มเอิบ แย้มยิ้ม ดั่งดอกไม้
    ฝึกสมาธิ ไม่ใช่เพื่อสมาธิ แต่ฝึกเพื่อให้จิตสบาย
    วางใจแบบนี้ แล้วจิตจะสงบระงับลงได้ในฉับพลันทันใด

    และในการทำสมาธินั้น อารมณ์ที่เราต้องการจะเข้าถึงในขั้นต้น คือ สภาวะของฌาณ4
    โดยจิตของเรานี้ จากภาวนาพุทโธ พอใจเริ่มสบาย ก็จะเริ่มไม่อยากภาวนา อยากจะหยุด พุทโธ ก็ปล่อยให้จิตหยุด
    พอหยุดพุทโธ ก็จะเลหือลมหายใจ ก้ให้จับลมหายใจ ด้วยอารมณ์ที่เบา สบาย สัมผัสอาการลื่นไหล ต่อเนื่อง นวลนุ่ม ชุ่มเย็นของลมหายใจ
    หากยังไม่รู้สึกถึงความเย็นของลมหายใจ แปลว่ายังเข้าไม่ถึงการจับลมหายใจที่แท้จริง
    ยิ่งลมหายใจเย็นมาก เบามาก จิตก็ยิ่งสบาย สบายเพราะความเย็นจากลมหายใจ
    เมื่อจิตสบายมากขึ้นๆ ลมหายใจก็จะช้าลงๆ
    จนในที่สุดลมหายใจก็หยุดไป เหลือเพียงแต่ความเบา สบาย ลอยนิ่ง หยุด อยู่ของจิตของเรา
    สภาวะที่จิตนิ่ง หยุด ตั้งมั่นในอารมณ์สบาย ประคองในความสุข นิ่ง ปราศจากความคิด
    ก็คือฌาณ4 คือ อารมณ์สุดของการฝึกสมถะในขั้นต้น

    ต้องทำใจให้สบาย จนกระทั่งลมหายใจเบา หยุดนิ่ง เย็น ให้ได้

    ขอให้คลายจิต คลายกาย คลายความเร่งรัดของกำลังใจ ให้เกิดความเบา สุข ชุ่มเย็นสบาย ของสมาธิ
    จิตสบาย คือ สมาธิ จิตที่หนัก คือ ความเครียด
    ขอให้เข้าถึงซึ่งความสบาย หยุด นิ่ง เย็น ของสมาธิ ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
     
  7. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ อยู่เย็น ครับ

    เวลานั่งภาวนาดูลมหายใจเข้าออก นับเลขไปด้วยสักพักสมหายใจเริ่มสั้นลงเบาลงเลยเอาจิตไปไว้ตรงกลางอกดูลมหายใจเข้าออกเฉยๆ ไม่นับเลขสักพักลมหายไปรู้สึกว่าเหลือแต่ใจเต้นเบาๆ ก็ดูจังหวะของหัวใจ ตึก ๆ ๆ เบาๆ สบายๆ ผ่อนคลายเคลิ้มๆ ตัวเบา หูได้ยินเสียงอยู่แต่ไม่ตกใจเหมือนเมื่อก่อน สักพักก็หยุดภาวนา ขยับตัว เริ่มใหม่ไม่กล้าให้ตัวเองอยู่ในภาวะ เบาๆ นิ่งๆ นาน เพราะ 1 กลัวหลับ 2 กลัวหลุดจากวงจรชีวิต อยากถามว่า ถ้าพอภาวนารู้สึกนิ่งๆ แล้วควรทำอย่างไรต่อ

    1.อย่ากลัวหลับ ปล่อยให้จิต เคลิ้มนิดๆ ประคองอยู่ในอารมณ์สบายนั้น
    จิตจะคล้ายหลับแต่ไม่หลับ ยังไงก็ไม่หลับ
    ปล่อยให้จิตเข้าประคองอยู่ในสภาวะนั้น เพราะนั่นคือ สภาวะที่เราต้องการจะเข้าถึง
    หากเราฝืนไม่ให้เกิดความสบาย ก็คือการฝืนจิตไม่ให้เป็นสมาธิ

    2.นั่นคือสภาวะของสมาธิ คือ จิตคลาย วาง เบา จากการรับรู้ จากการรู้สึกทางร่างกาย
    จนกระทั่งไม่รู้สึกไม่รับรู้ในอาการทางกายทั้งหมด
    เหลือแต่สภาวะของจิต ลอยเด่น สว่างดวยความประภัสสรงดงามของจิต สะอาดขากนิวรณ์ จากกิเลสชั่วขณะ สงบระงับประคองอยู่ในอารมณ์สบายของจิต
    เรานอนหลับไปแล้ว ก็ตื่นขึ้นมาได้ฉันใด
    เราเข้าสมาธิแล้ว ก็กลับออกมาได้ฉันนั้น จึงไม่ควรกลัวสมาธิ
    เพราะถ้ากลัวสมาธิ ก็จะเข้าถึงสมาธิไม่ได้

    เมื่อจิตนิ่งแล้ว ให้เราจดจำ สัมผัส รู้สึก ระลึกรู้ ในอารมณ์ของสมาธิ
    เสวยสุขอยู่ในสภาวะที่สบายนั้น
    และให้อธิษฐานว่ากำกับจิตของเราว่า
    ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งสภาวะที่หยุดนิ่ง ปราศจากการรับรู้ทางรางกาย
    จิตลอย นิ่ง เย็น สบาย อย่างนี้
    ได้ทุกครั้งทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการ ทุกภพชาติตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ
    อธิษฐานย้ำเอาไว้สามครั้ง

    จากนั้นในคราวต่อมา ให้เราอธิษฐาน ระลึก นึกถึงสภาวะนี้ โดยไม่ต้องภาวนา พุทโธ หรือจับลมหายใจ
    เพียงระลึกถึงสภาวะนี้เท่านั้น จิตจะรวม ลง สู่ความสบายนี้ได้โดยทันที
    ฝึกขเออกในสภาวะที่สบายนี้จนคล่อง และประคองเอาไว้ได้ตราบนานเท่านาน
    จะเข้าขะออกเมื่อไหร่ สามารถทำได้ตลอด
    ประคองจิตให้สบาย ให้เย็นในอารมณ์นี้ได้ตลอดเวลา ตลอด24ชั่วโมง จลอดทั้งวัน ทั้งหลับตาลืมตา
    ทำงาน เดินไปมา กินข้าว จิตยังทรง ยังประคอง ยังตั้งมั่น ในอารมณ์สบายนี้ได้อยู่เสมอ

    การเดิน ยืน ทำงานด้วยภาวนาพุทโธด้วยทำให้เพลินจนเคยชิน แต่พอนั่งภาวนาจะไม่ค่อยติดคำว่าพุทโธ จะดูแต่ลมเข้าออกเฉยๆ มันขัดแย้งกันเองหรือเปล่าระหว่างการนั่ง กับการเดิน ถ้าคิดพุทโธ จะไม่ค่อยดูลมหายใจ ต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง

    จิตของเราก็ทำได้ ทำได้เอง เรารู้ได้เองอยู่แล้วว่า ไม่ขัดกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน สนับสนุนกันและกัน
    ผมจึงจะขอยืนยันให้ ว่า ไม่ขัดกัน
    จึงไม่ควรจะสงสัยอีกต่อไปว่าจะขัดกันหรือไม่
    เพราะการขัดกันในธรรมะ ในการปฏิบัติซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอน ย่อมไม่มี
    มีแต่ส่งเสริม สนับสนุน เกื้อกูล เกื้อหนุน หนุนนำซึ่งกันและกันเท่านั้น

    ขอให้ปล่อยใจ ให้ได้พักผ่อน ในความสบายของสมาธิ อย่ากลัว อย่าหวั่นหวาด ในการทำความดี
    <!-- google_ad_section_end -->จงอย่ากลัวที่จะเข้าถึงความดี จงอย่ากลัวที่จะเข้าถึงสมาธิ
    ขอให้จิตประคองรักษา มีความคล่องแคล่วในการเข้าออก ประคองอารมณ์สบาย สุข ชุ่มเย็นของสมาธิ
    ได้ทุกครั้งทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอิริยาบถ ทุกขณะจิตตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    อยู่ เย็น
    อยู่ในสภาวะจิตที่ชุ่มเย็น คือ สมาธิ อยู่อย่างร่มเย็น คือ ทางสายกลาง และอยู่ในสถานที่ซึ่งมีแต่ความเย็น คือในร่มโพธิ์แห่งพระพุทธศาสนา ในหนทางแห่งความดีงามตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2010
  8. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    อานาปนสติกรรมฐานใช้ซักซ้อมวาโยกสิณด้วยได้ไหม?

    ขอบคุณครับ อย่างนี้เตือนสติผมได้เยอะเลย ที่ผ่านมาเวลาทำอะไรมักจะอาศัยกำลังของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้อาราธนาพระท่านให้ช่วย ต่อไปนี้จะลองทำอย่างเจ้าของกระทู้ดูบ้าง

    มีข้อขอคำแนะนำต่อดังนี้ครับ (วันนี้ขอวางเรื่องของวิปัสสนา มาถามกันในเรื่องของวิสัยผู้ฝักใฝ่ในทางอภิญญาบ้างนะครับ)

    1.ผมเริ่มสมถะจากอานาปนสติ เวลาจะทำอะไร กรรมฐานกองไหน มักต้องเริ่มจากอานาปนสติก่อนทุกครั้ง ไล่ฌาณเล่นก่อน 1 2 3 4 อรูป ขึ้นไป ลงมา จนพอใจแล้วถึงไปที่อื่นต่อ

    ทีนี้ถ้าอยากซ้อมวาโยกสิณเล่นแก้กลุ้ม ว่าต่อไปเลยได้ไหมครับไม่ต้องไปนึกถึงลูกบอลลมกลมๆ แล้ว ใช้ลมหายใจนั่นล่ะ ที่ไหลเป็นสายยาวจากจุดสัมผัสที่จมูกลงไปยังทรวงอก กระทบศูนย์ที่ฐานเหนือสะดือเล็กน้อย แล้วขากลับก็ไหลเป็นสายยาวออกจากฐานเหนือสะดือกลับไปออกที่จมูก เพ่งสายยาวๆของลมที่ว่านี้ไปตามลำดับ แล้วยังรับสัมผัสความพริ้วไหวของสายลม กระแสอากาศ ขณะผ่านไปยังส่วนต่างๆของร่างกายไว้ด้วย

    ที่ผ่านมาก็ใช้ได้ดี เพียงแต่เปลี่ยนจากลูกบอลลมกลมๆ มาเป็น เส้นสายของกระแสลมลักษณะยาวแทน

    อย่างนี้ถือว่าผิดแผกแตกต่างจากตำรับ ตำราของครูบาอาจารย์ไปมากไหมครับ ผมเป็นคนชอบทดลองครับ แต่ถ้าอะไรที่ผิดไปมากๆ ผมไม่ค่อยสบายใจที่จะทำ กลัวจะเกิดเป็นโทษไปน่ะครับ

    2.บรรดากสิณทั้งหลายที่เป็นฐานของทิพยจักขุญาณ อาจารย์แต่โบราณกล่าวไว้ว่ามีอาโลกกสิณและเตโชกสิณ เป็นต้น เวลาซ้อมอาโลกกสิณแล้ว เนื่องจากใจนั้นรักชอบเตโชกสิณเป็นพิเศษ จึงมักซ้อมเตโชกสิณต่อ ดังนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ในโอกาสใดถ้าผมจะซ้อมอาโลกกสิณเล่นแก้กลุ้ม ในคราวเดียวกัน ผมไล่เตโชกสิณควบไปด้วยในคราวเดียวกันเลย ทำพร้อมๆกันไป อย่างนี้ได้ไหมครับ หรือว่าควรทำไปทีละอย่าง จะดีกว่าครับ(ความจริงกสิณแต่ละอย่างก็อารมณ์สุดท้ายอย่างเดียวกัน เพียงแต่จับรูปไม่เหมือนกันในตอนเริ่มต้นเท่านั้น ถ้าจะทำกันจริงๆ ไล่กสิณ ทั้ง 10 อย่างพร้อมๆกันเลย สุดท้ายเอานิมิตทั้ง 10 อย่าง มารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็น่าจะทำได้นะ อันนี้ผมคิดเอาเอง แต่ยังไม่เคยทำ)

    3.ก่อนจะนอนหลับทุกครั้งจะตั้งใจให้อยู่ในระดับอุปจารสมาธิกึ่งๆ ปฐมฌาน (จริงๆแล้ว ก็ใกล้เคียงกันมาก เส้นยาแดงผ่าแปด) แต่หลายครั้ง จิตมันไหลพรวดไปของมันเองถึงอรูปฌาน อย่างนี้ถ้าปล่อยใจให้หลับไป ถ้าเกิดไหลตายขึ้นมา ไม่แคล้วไปอรูปพรหมแน่นอน ถ้าไม่อยากไปอรูปพรหม จะต้องตั้งจิต ตั้งใจอธิษฐานไว้อย่างไรก่อนถึงจะดีครับ (ในเวลาปกติเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา แต่มีปัญหาเวลาที่หลับไป ปิดสวิทช์ไปชั่วขณะอย่างนี้ จะรู้สึกว่าคุมจิตไม่ได้ครับ จิตจะไปอยู่ที่สมาธิระดับไหนนั้นไม่ทราบ แต่ถ้าปล่อยไปตามเรื่องตามราวก็เห็นจะไม่ดีแน่ๆ)

    มีข้อสงสัยเพียงเท่านี้ครับ วันนี้ลองเล่นอย่างนี้แก้กลุ้มไปก่อน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ แต่กิจที่พึงทำ เพื่อการไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด เพื่อหลีกหนีไปจากกองทุกข์ทั้งหลายก็ยังต้องทุ่มเทกันต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2010
  9. อยู่ในความทุกข์

    อยู่ในความทุกข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2009
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +132
    นอกจากที่สวนลุมแล้วยังมีสอนที่อื่นอีกหรือเปล่าคะ
    อยู่แถวสายใต้ใหม่ค่ะ
     
  10. meng2010

    meng2010 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอบคุณมากครับ จะลองทำตามดูครับ
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    พรุ่งนี้ของดฝึดสมาธิที่สวนลุมนะครับ

    เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองที่ไม่สงบ

    และอาจจะมีการปิดถนน จึงคิดว่าคงจะไม่สะดวกนักที่จะจัดฝึกในอาทิตย์นี้

    ช่วยๆกันแผ่เมตตา แผ่ความชุ่มเย็น ให้กับบ้านเมืองกันด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2010
  12. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขอเรียนถามท่านชัดครับ
    คือเร็วๆนี้ รู้สึกว่าใจกลางฝ่ามือข้างซ้ายเหมือนจะมีความร้อนเกิดขึ้นครับ บางทีก็ร้อนขึ้นมาเฉยๆเลย
    ตอนที่รู้สึกครั้งแรก ผมใช้มือซ้ายกำขวดน้ำครับ บริเวณอื่นๆของมือจะรู้สึกเย็น แต่ตรง
    ใจกลางฝ่ามือกลับร้อนซะงั้น เอาขึ้นมาแนบแก้ม ก็ปกติดีครับ แก้มไม่เห็นร้อนเลย หลังจากนั้น
    ก็สังเกตุเรื่อยมา ก็อุ่นบ้าง ร้อนบ้าง เป็นบางเวลาครับ
     
  13. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Nickaz ครับ

    ขอบคุณครับ อย่างนี้เตือนสติผมได้เยอะเลย ที่ผ่านมาเวลาทำอะไรมักจะอาศัยกำลังของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้อาราธนาพระท่านให้ช่วย ต่อไปนี้จะลองทำอย่างเจ้าของกระทู้ดูบ้าง

    ในเรื่องของฤทธิ์นั้น ในพระพุทธศาสนามีฤทธิ์ ซึ่งกำเนิดเกิดขึ้นจาก3แหล่งหลัก ได้แก่
    บุญฤทธิ์ เทพฤทธิ์ และอิทธิฤทธิ์

    บุญฤทธิ์ ก็คือ อำนาจฤทธิ์ที่เกิดจากบุญกุศล ความดีงามที่เราได้สั่งสมมา
    เป็นฤทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรม ดำรงอยู่โดยธรรม
    เช่น เมตตาฤทธิ์ การเจริญเมตตา พรหมวิหาร4 จนเกิดอานิสงค์11ประการ
    ทั้งศาตราวุธ พิษ ไฟ น้ำ ไม่อาจจะกล้ำกราย ทำร้าย ผู้ทรงอยู่ในเมตตาได้
    หรือการที่บุคคลในสมัยพุทะกาล เมื่อฟังธรรมจบเดียว บรรลุเป็นพระอรหันต์
    ก็จะมีผ้าสบงจีวรทิพย์ลอยมา ห่อหุ้มกาย ผมก็จะถูกปลงออกจนหมด กลายเป็นพระโดยสมบูรณ์ในทันที
    อันนี้ก็ย่อมเกิดจากบุญญฤทธิ์ ซึ่งได้เคยถวายผ้า สบง ไตรจีวรเอาไว้ในพระพุทธศาสนา
    อันนี้ก็ย่อมบังเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจของบุญฤทธิ์ เป็นฤทธิที่จะติดตัวเรา
    เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดมาเอาไปจากเราได้

    พอเรามีบุญฤทธิ์ มีเมตตาจิต ทรงอยู่ในพรหมวิหาร4 ในความดี เราก็จะเกิด เทพฤทธิ์
    คือเทพ เทวดา พรหม ตลอดจนถึงพระอริยเจ้า พระวิสุทธิเทพ พระอรหันต์เจ้าทุกพระองค์
    ท่านก็จะเมตตาสงเคราะห์ ปกป้องคุ้มครอง ดูแลเรา ให้รอดพ้นจากภยันอันตรายและความเสื่อมทั้งปวง
    การที่บุคคลผู้สวมพระ มีความเคารพในพระรัตนตรัย รอดพ้น แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุได้
    ก็เกิดด้วยอำนาจของเทพฤทธิ์ ความเคารพในพระรัตนตรัย ที่ช่วยให้เทวดาท่านเมตตาปกปักรักษา
    ในทศชาติของพระพุทธเจ้า ทุกชาติของพระองค์ ก็จะมีเทวดาที่ท่านคอยเกื้อหนุนในการบำเพ็ญบารมีทุกๆชาติ
    ในชาติพระสุวรรณสาม ก็มีเทวดาซึ่งเคยเป็นมารดาของท่าน มาคืน มาชุบชีวิตให้
    ในชาติพระมหาชนก ก็มีนางมณีเมฆขลา มาช่วยให้พ้นจากท้องทะเล
    ในชาติพระเวสสันดร พระอินทร์ท่านก็จำแลงกาย มาขอพระนางพิมพา
    เทพฤทธิ์นั้น ก็ยอมกำเนิดจากบุญญฤทธิ์
    เพราะเทวดาท่านย่อมเมตตา ท่านย่อมคุ้มครอง บุคคลผู้เป็นคนดี ผู้มีจิตเมตตาอยู่เป็นปรกติ

    เมื่อบุคคลมีบุญฤทธิ์ มีเทพฤทธิ์ ก็จะบังเกิดอิทธิฤทธิ์ขึ้น
    อิทธิฤทธิ์นี้ จุดสำคัญก็คือ อธิษฐานฤทธิ์
    ฤทธิ์อันเกิดจากการอธิษฐาน การตั้งกำลังใจในการทำความดี การตั้งกำลังใจในการำเพื่อส่วนรวม
    จนบังเกิดสัมฤทธิ์ผลออกมาเป็นรูปธรรมได้
    เช่น ผมตั้งกำลังใจว่า ขอให้บุคคลที่ได้อ่าน ตัวหนังสือ ข้อความที่ผมเขียนนี้
    ขอให้มีจิตเบิกบาน เอิบอิ่มชุ่มเย็น เจริญห้าวหน้าทั้งทางโลกทางธรรม
    เข้าถึงซึ่งอารมณ์จิตที่เย็น หยุด สบาย มีความสุข ความแช่มชื่นหล่อเลี้ยงอยู่
    ได้โดยฉับพลันทันใด ด้วยบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ

    และคำอธิษฐานนั้นบังเกิดผล สามารถยังจิตใจของผู้อ่านข้อความ ให้เข้าถึงซึ่งอารมณ์จิตที่ละเอียดชุ่มเย็นได้จริง
    ก็คือ การควบทั้งบุญฤทธิ์ เทพฤทธิ์ และอธิษฐานฤทธิ์ สมบูรณ์อยู่แล้ว

    บุญญฤทธิ์ จากความดีงามของผู้ปฏิบัติ
    ผนวกเข้ากับอธิษฐานฤทธิ์ซึ่งผมอธิษฐานให้ และนำให้อธิษฐานผ่านข้อความที่ผมเขียนนี้
    รวมเข้ากับเทพฤทธิ์ ฤทธิ์ ธรรมบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระวิสุทธิเทพ เทพเจ้าผู้สะอาด สว่าง บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวง

    เมื่อคำอธิษฐานสัมฤทธิผล ปรากฏเป็นความก้าวหน้าในการเจริญจิต ของสาธุชนผู้ใฝ่ในความดี
    ก็คือ ฤทธิ์กุศล ฤทธิ์ที่อธิษฐานเพื่อความดี มุ่งหวังในความดีของผู้อื่น ได้บังเกิดขึ้น สัมผัสได้ด้วยใจ และด้วยกาย อันผ่องใส มีใบหน้าที่เอิบอิ่มในความสุข

    ดังนั้นการขอบารมีพระ ไม่ใช้กำลังใจตัวเอง ก็คือ อภิญญาในตัวเองอยู่แล้ว
    และยิ่งเราขอบารมีพระ ใช้ฤทธิ์ทั้งสาม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเท่าไหร่
    เราก็จะยิ่งเกิด ความแนบแน่น ตั้งมั่น อ่อนน้อม ในไตรสรณคม ในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น
    เท่ากับยิ่งใช้ฤทธิ์กุศล ก็ยิ่งเคารพพระรัตนตรัยมากยิ่งกว่าเดิม
    แต่หากเราใช้กำลังใจตัวเอง แล้วมันเกิดผล สิ่งที่จะได้ก็คือ
    คือ มานะทิษฐิ สังโยชน์ข้อแปด เพราะเมื่อเกิดผล เราก็จะคิดว่า เออเรานี่เก่งเนอะ เรานี่ดีเนอะ
    จิตก็เลยฟูในมานะทิษฐิขั้นละเอียด ขึ้นโดยไม่รู้ตัว
    แต่หากขอบารมีพระ ฤทธิ์ที่เกิด ก็เกิดจากบารมีของพระพุทธเจ้า
    ถ้าเราไม่ได้ไตรสรณคม ไม่ได้อารมณ์ของพระโสดาบัน ซักชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็ไม่อาจจะใช้ได้
    ขอบารมีพระแล้วเกิดผลก็ยิ่งศรัทธา เคารพ นอบน้อมต่อพระรัตนตรัยสูงยิ่งกว่าเดิม

    กลายเป็นยิ่งใช้ฤทธิ์กุศล ก็ยิ่ง เข้าใกล้อารมณ์ของความเป็นพระอริยเจ้ายิ่งกว่าเดิม
    แล้วก็จะเริ่มขอบารมีพระ ในการทำอะไรที่มีความวิเศษได้มากยิ่งขึ้นตามกาลเวลา
    เช่น ขอบารมีพระ รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ผู้อื่นด้วยเมตตา รักษาด้วยเมตตา ด้วยเทพฤทธิ์ รักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้โดยส่วนเดียว
    เริ่มขอบารมีพระรักษาโรคได้ ไล่สิ่งไม่ดีที่ถูกกระทำมาได้ ต้องทำฟรีหมดนะ
    ถ้าคิดเงินจะเริ่มเสื่อมจากความดี
    แล้วยิ่งช่วยคนมากเข้าๆ สุดท้ายก็ขอบารมีพระ ใช้ฤทธิ์ได้ในระดับที่เป็นอภิญญา
    แล้วอภิญญาก็เป็น สัมมาอภิญญา
    คือ อภิญญาซึ่งเกิดจาก เมตตา เกิดจากความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เกิดจากความนอบน้อมในไตรสรณคม

    สุดท้ายกลายเป็นยิ่งใช้ ยิ่งทรงสัมมาอภิญญามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใกล้พระนิพพานมากเท่านั้น
    ดังนั้น เราสร้างบุญฤทธิ์ ทำตัวเองให้ดี สร้างบุญ สร้างกุศล สร้างเมตตาให้กับตัวเอง
    ขอบารมีพระ เทพฤทธิ์ สร้างความเคารพ นอบน้อมต่อพระรัตนตรัยให้ตัวเอง
    และอธิษฐาน ใช้อิทธิฤทธิ์ อธิษฐานฤทธิ์ อธิษฐานเพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่น ให้เข้าถึงซึ่งความดี
    นี่แหละคือ ฤทธิ์ในพระพุทธศาสนา ยิ่งใช้ก็ยิ่งเข้าใกล้พระนิพพาน ยิ่งใช้ก็ยิ่งไม่มีกิเลส


    มีข้อขอคำแนะนำต่อดังนี้ครับ (วันนี้ขอวางเรื่องของวิปัสสนา มาถามกันในเรื่องของวิสัยผู้ฝักใฝ่ในทางอภิญญาบ้างนะครับ)

    1.ผมเริ่มสมถะจากอานาปนสติ เวลาจะทำอะไร กรรมฐานกองไหน มักต้องเริ่มจากอานาปนสติก่อนทุกครั้ง ไล่ฌาณเล่นก่อน 1 2 3 4 อรูป ขึ้นไป ลงมา จนพอใจแล้วถึงไปที่อื่นต่อ

    ทีนี้ถ้าอยากซ้อมวาโยกสิณเล่นแก้กลุ้ม ว่าต่อไปเลยได้ไหมครับไม่ต้องไปนึกถึงลูกบอลลมกลมๆ แล้ว ใช้ลมหายใจนั่นล่ะ ที่ไหลเป็นสายยาวจากจุดสัมผัสที่จมูกลงไปยังทรวงอก กระทบศูนย์ที่ฐานเหนือสะดือเล็กน้อย แล้วขากลับก็ไหลเป็นสายยาวออกจากฐานเหนือสะดือกลับไปออกที่จมูก เพ่งสายยาวๆของลมที่ว่านี้ไปตามลำดับ แล้วยังรับสัมผัสความพริ้วไหวของสายลม กระแสอากาศ ขณะผ่านไปยังส่วนต่างๆของร่างกายไว้ด้วย

    ที่ผ่านมาก็ใช้ได้ดี เพียงแต่เปลี่ยนจากลูกบอลลมกลมๆ มาเป็น เส้นสายของกระแสลมลักษณะยาวแทน

    อย่างนี้ถือว่าผิดแผกแตกต่างจากตำรับ ตำราของครูบาอาจารย์ไปมากไหมครับ ผมเป็นคนชอบทดลองครับ แต่ถ้าอะไรที่ผิดไปมากๆ ผมไม่ค่อยสบายใจที่จะทำ กลัวจะเกิดเป็นโทษไปน่ะครับ

    ทำได้ครับ แต่ทำให้ได้ ทั้งแบบลูกบอลลม และแบบกระแสของลมที่พริ้วไหว
    ก็จะยิ่งดีครับ สุดท้ายก็คือทำให้เป็นทั้งหมดแหละครับ
    และกระแสลมนั้น ให้เรานึกว่า เป็นมีละออง เกร็ดเพชร ประกายเพชร ระยบะระยับ สว่างไสว ในกระแสของลมหายใจด้วยครับ
    เพราะว่าอาณาปานสติเฉยๆ จะเป็นอารมณ์สบาย การสัมผัสลมหายใจ
    แต่จะไม่เห็นภาพของกระแสลม
    เมื่อเห็นภาพของกระแสลม ก็คือการควบกสิณในตัวเองอยู่แล้ว
    เรื่องจริงนั้น ทรงเมตตา ทรงภาพพระ ก็เหาะได้ครับ
    ทำกสิณลมให้เป็น ให้คล่อง แล้วหันมาจับกองที่เราถนัดก็ได้ครับ มันจะเกิดอารมณ์สบายมากกว่า

    2.บรรดากสิณทั้งหลายที่เป็นฐานของทิพยจักขุญาณ อาจารย์แต่โบราณกล่าวไว้ว่ามีอาโลกกสิณและเตโชกสิณ เป็นต้น เวลาซ้อมอาโลกกสิณแล้ว เนื่องจากใจนั้นรักชอบเตโชกสิณเป็นพิเศษ จึงมักซ้อมเตโชกสิณต่อ ดังนั้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ในโอกาสใดถ้าผมจะซ้อมอาโลกกสิณเล่นแก้กลุ้ม ในคราวเดียวกัน ผมไล่เตโชกสิณควบไปด้วยในคราวเดียวกันเลย ทำพร้อมๆกันไป อย่างนี้ได้ไหมครับ หรือว่าควรทำไปทีละอย่าง จะดีกว่าครับ(ความจริงกสิณแต่ละอย่างก็อารมณ์สุดท้ายอย่างเดียวกัน เพียงแต่จับรูปไม่เหมือนกันในตอนเริ่มต้นเท่านั้น ถ้าจะทำกันจริงๆ ไล่กสิณ ทั้ง 10 อย่างพร้อมๆกันเลย สุดท้ายเอานิมิตทั้ง 10 อย่าง มารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็น่าจะทำได้นะ อันนี้ผมคิดเอาเอง แต่ยังไม่เคยทำ)

    รวมนิมิตสิบอย่างเป็นกองเดียว ก็คือ ตอนอธิษฐานรวมอภิญญาครับ
    คือ เรียกกสิณขึ้นมาสิบกอง พร้อมๆกัน และรวมเข้ามาตรงกลางเป็นหนึ่ง
    ให้เราอธิษฐาน เป็นอธิษฐานฤทธิ์ว่า
    ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ มีสมเด็จองค์ปฐม พระพุทธเจ้าพระองค์แรกเป็นที่สุด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆเจ้าทุกๆพระองค์ เทพ พรหม เทวดา ครูบอาจารย์ พระโพธิสัตว์ ตลอดจนถึงผู้มีจิตเป็นสัมมาทิษฐฺทุกท่านทุกพระองค์
    เมตตาสงเคราะห์ ให้ข้าพเจ้าบังเกิด ตื่นขึ้น ซึ่งญาณทัศนะ มโนมยิทธิ สัมมาอภิญญา
    รวมบุญฤทธิ์ เทพฤทธิ์ อธิษฐานฤทธิ์ ให้สามารถใช้ เพื่อสงเคราะห์บุคคลอื่น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ให้พ้นจากความทุกข์ได้ ด้วยกำลังแห่งกสิณ10 และกรรมฐานทั้ง40กองด้วยเทอญ

    เสร็จแล้วกสิณจะเหลือกองเดียว เป็นเพชร ใสสว่าง ระยิบระยับ เจิดจรัส ยิ่งกว่าเดิม

    3.ก่อนจะนอนหลับทุกครั้งจะตั้งใจให้อยู่ในระดับอุปจารสมาธิกึ่งๆ ปฐมฌาน (จริงๆแล้ว ก็ใกล้เคียงกันมาก เส้นยาแดงผ่าแปด) แต่หลายครั้ง จิตมันไหลพรวดไปของมันเองถึงอรูปฌาน อย่างนี้ถ้าปล่อยใจให้หลับไป ถ้าเกิดไหลตายขึ้นมา ไม่แคล้วไปอรูปพรหมแน่นอน ถ้าไม่อยากไปอรูปพรหม จะต้องตั้งจิต ตั้งใจอธิษฐานไว้อย่างไรก่อนถึงจะดีครับ (ในเวลาปกติเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา แต่มีปัญหาเวลาที่หลับไป ปิดสวิทช์ไปชั่วขณะอย่างนี้ จะรู้สึกว่าคุมจิตไม่ได้ครับ จิตจะไปอยู่ที่สมาธิระดับไหนนั้นไม่ทราบ แต่ถ้าปล่อยไปตามเรื่องตามราวก็เห็นจะไม่ดีแน่ๆ)

    ขอบารมีพระนั่นแหละครับ
    ถ้าเราอธิษฐานจิตเอาไว้ ขอบารมีพระเอาไว้
    เราจะไม่ตายเป็นอรูปพรหม อาจจะเข้าอรูปฌาณ ทรงอยู่ในอรูป
    แต่เวลาจะตายจิตจะถอนกลับมาในช่วงฌาณ4 ไม่ก็ไปพระนิพพานเลยเท่านั้น
    อธิษฐานฤทธิ์ เอาไว้ว่า
    ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาสงเคราะห์
    ข้าพเจ้าทรงอรูปฌาณเอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องทรงให้การดำรงอยู่มีความสุข ความชุ่มเย็น ไม่ปรารถนความเป็นอรูปพรหม
    เพราะทราบว่าไม่ใช่พระนิพพาน เพราะทราบว่ายังต้องเกิดต่อไป
    หากข้าพเจ้าตายเมื่อไหร่ ขอให้จิตของข้าพเจ้า ออกจากายด้วยกำลังของฌาณ4 ไปยังรูปพรหมโลก หรือพระนิพพาน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเข้าถึงแล้วเท่านั้น
    ถ้าเราเป็นพุทธภูมิก็เผื่อพรหมโลกเอาไว้ ถ้าสาวกภูมิก็อธิษฐานพระนิพพานจุดเดียว พรหมโลกไม่ต้องอธิษฐาน
    ตายจากชาตินี้เมื่อไหร่ ข้าพเจ้าขอเข้าถึงซึ่งสภาวะพระนิพพาน แบบเดียวกันกับพระพุทธองค์เพียงจุดเดียวเท่านั้นด้วยเทอญ

    มีข้อสงสัยเพียงเท่านี้ครับ วันนี้ลองเล่นอย่างนี้แก้กลุ้มไปก่อน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ แต่กิจที่พึงทำ เพื่อการไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด เพื่อหลีกหนีไปจากกองทุกข์ทั้งหลายก็ยังต้องทุ่มเทกันต่อไปครับ<!-- google_ad_section_end -->

    พอได้มโนมยิทธิ แล้ว ก็จะทรงอารมณ์พระนิพพานได้ พอได้แล้ว จะลืมอรูปฌาณไปเลยครับ
    เย็น ชุ่มฉ่ำ เบาสบายกว่าอย่างเทียบกันไม่ติดเลย

    ขอให้จิตซึ่งได้บังเกิดของสว่าง ความงดงาม ความปีติในธรรมแล้ว
    มีแต่ความสุข อันละเอียด เย็น ประณีตยิ่งๆขึ้นไป
    ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ ด้วยเทพฤทธิ์แห่งพระวิสุทธิเทพเจ้าทุกๆพระองค์ด้วยเทอญ
     
  14. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ว่าด้วยเรื่องความเป็นพุทธภูมิและสาวกภูมิ


    ขอบคุณครับ เดี๋ยวขอลองกลับไปทดลองปฏิบัติดูก่อนว่าจะเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำหรือไม่

    ตกลงเรื่องกสิณ 10 อย่าง ควบเป็นหนึ่งเดียว ในทางปฏิบัติก็ทำได้ อันนี้รับทราบครับ

    ตกลงเรื่องกสิณที่ส่งเสริมทิพยจักขุญาณ คืออาโลกกสิณ แต่ถ้าชื่นชอบ เตโชกสิณด้วย ก็ไล่ไปทั้งสองอย่างพร้อมกันเลยก็ได้ใช่ไหมครับ

    สงสัยอีกเล็กน้อยตามที่ได้เน้นสีไว้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราอยู่ในประเภทใดพุทธภูมิ หรือว่า สาวกภูมิ ดูกันตรงไหน หรือต้องตัดสินใจ ตั้งจิต ตั้งใจอธิษฐานเอาเองตามความต้องการ

    แล้วบางท่านที่เป็นพุทธภูมิ บางทีเห็นได้ยินว่า ลาพุทธภูมิแล้ว นี่หมายความว่าอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์อธิบายเพิ่มเติม เพือประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ

    ขอขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2010
  15. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    ขอเรียนถามท่านชัดครับ
    คือเร็วๆนี้ รู้สึกว่าใจกลางฝ่ามือข้างซ้ายเหมือนจะมีความร้อนเกิดขึ้นครับ บางทีก็ร้อนขึ้นมาเฉยๆเลย
    ตอนที่รู้สึกครั้งแรก ผมใช้มือซ้ายกำขวดน้ำครับ บริเวณอื่นๆของมือจะรู้สึกเย็น แต่ตรง
    ใจกลางฝ่ามือกลับร้อนซะงั้น เอาขึ้นมาแนบแก้ม ก็ปกติดีครับ แก้มไม่เห็นร้อนเลย หลังจากนั้น
    ก็สังเกตุเรื่อยมา ก็อุ่นบ้าง ร้อนบ้าง เป็นบางเวลาครับ

    มันเกิดจากลมปราณน่ะครับ
    ตอนนี้อย่าพึ่งไปสนใจมากครับ
    เน้นอารมณ์ของสมาธิให้ได้ มั่นคงก่อนครับ

    พอได้สมาธิแล้ว ค่อยย้อนมาสนใจมันอีกทีครับ
    ถ้าได้สมาธิแล้ว จะให้มันเย็น จะให้มันร้อนก็ควบคุมได้ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2010
  16. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Nickaz ครับ

    ขอบคุณครับ เดี๋ยวขอลองกลับไปทดลองปฏิบัติดูก่อนว่าจะเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้แนะนำหรือไม่

    ตกลงเรื่องกสิณ 10 อย่าง ควบเป็นหนึ่งเดียว ในทางปฏิบัติก็ทำได้ อันนี้รับทราบครับ

    ตกลงเรื่องกสิณที่ส่งเสริมทิพยจักขุญาณ คืออาโลกกสิณ แต่ถ้าชื่นชอบ เตโชกสิณด้วย ก็ไล่ไปทั้งสองอย่างพร้อมกันเลยก็ได้ใช่ไหมครับ

    ได้เลยครับ

    สงสัยอีกเล็กน้อยตามที่ได้เน้นสีไว้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราอยู่ในประเภทใดพุทธภูมิ หรือว่า สาวกภูมิ ดูกันตรงไหน หรือต้องตัดสินใจ ตั้งจิต ตั้งใจอธิษฐานเอาเองตามความต้องการ

    ดูกันตรงไหน
    1.พุทธภูมิ จะปรารถนาในกรรมฐาน40กอง มโนมยิทธิ อภิญญา อรูป เอาหมด
    ส่วนสาวกภูมิท่านจะเอากองเดียว หรือได้จนถึงอรูป แต่จะไม่ทำทั้ง40กอง
    2.พุทธภูมิ จะมีเมตตามาก จะเด่นด้านเมตตา เวลาแผ่เมตตาจะแผ่ได้เย็น ได้ชุ่มฉ่ำ มากกว่าสาวกภูมิ
    3.พุทธภูมิ จะอยากช่วยคนเยอะๆ ไปพระนิพพานคนเดียวไม่ได้ ต้องพาคนไปด้วยเยอะๆ

    เราจะสามารถแน่ใจได้อย่างไรว่า เป็นพุทธภูมิ
    ถ้าจริงๆ ก็ต้องหาปาฏิหารย์มายืนยัน เพื่อให้เกิดความแน่ใจ
    เช่น ตั้งจิตอธิษฐานกับพระบรมสารีริกธาตุ
    หากข้าพเจ้าตั้งจิตปรารถนาพุทธภุมิ เพื่อช่วยรื้อขนสรรพสัตว์เข้าสู่ยังพระนิพพาน ทำเพื่อความสุข เพื่อส่วนรวม
    โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากการเห็นผู้อื่นมีความสุขโดยส่วนเดียว
    ก็ขอให้พระพุทธเจ้าทรงเมตตาสงเคราะห์ ให้พระบรมสารีริกธาตุ เปลี่ยน เป็นเนื้อเพชร เนื้อแก้วใสระยิบระยับ
    เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในหนทางที่ข้าพเจ้าได้ปรารถนานี้ด้วยเทอญ

    หรือในแต่ละวัด จะมีฆ้อง ใหญ่ๆ ที่พระท่านจะตี เวลามีกิจต่างๆ
    ก็ให้เราตั้งจิตอธิษฐานในลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็น
    ขอให้ฆ้องดังสนั่น หากเราเป็นพุทธภุมิ

    แล้วก็ใช้มือเปล่าๆ ลูบไปที่ฆ้อง หากเราปรารถนาพุทธภูมิ
    พอลูบไปเรื่อยๆ ฆ้องจะเกิดเสียงดังสนั่น ลั่นวัด ดังมาก นั่นแหละเป็นเครื่องยืนยัน

    หรืออธิษฐานเอา ในสมาธิ
    นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วตั้งจิตว่า
    ขอบารมีอง์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาสงเคราะห์ หากข้าพเจ้าตั้งจิตปรารถนาพุทธภูมิ
    เพื่อช่วยรื้อขนสรรพสัตว์เข้าสู่ยังพระนิพพาน ทำเพื่อความสุข เพื่อส่วนรวม
    โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากการเห็นผู้อื่นมีความสุขโดยส่วนเดียว
    ขอให้บังเกิดรูปพระพุทธเจ้าขึ้นในจิตของข้าพเจ้า
    หากข้าพเจ้าเป็นสาวกภูมิ ก็ขอให้บังเกิดภาพพระอริยสงฆ์ขึ้นในจิตของข้าพเจ้าด้วยเทอญ
    จากนั้นทำใจสบายๆ
    ภาพใดภาพหนึ่งในสองภาพจะปรากฏขึ้น

    แต่วิธีใช้ปาฏิหารย์ยืนยันจะเกิดผล เกิดปีติแก่ดวงจิตของเรามากกว่า


    แล้วบางท่านที่เป็นพุทธภูมิ บางทีเห็นได้ยินว่า ลาพุทธภูมิแล้ว นี่หมายความว่าอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์อธิบายเพิ่มเติม เพือประโยชน์ในเชิงวิทยาการต่อไปด้วยครับ

    ก็คือ ขอลาจากความเป็นพุทธภูมิ ลาจากความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า
    ขอเป็นสาวกภูมิ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุนแทน
    พอลาพุทธภูมิแล้วก็จะฝึกจิตจนเป็นพระอริยเจ้าได้
    ถ้ายังลาไม่ขาด ก็ฝึกจิตจนบรรลุธรรมไม่ได้ ฝึกจิตจนเข้าถึงซึ่งสภาวะพระนิพพานได้
    แต่เป็นพระอริยเจ้าโดยสมบูรณ์ไม่ได้

    หากอยากจะทราบว่าจะลาต้องทำอย่างไร
    ก็ขอให้ลองทดลองจนทราบก่อนว่าเราเป็นพุทธภูมิหรือไม่ เมื่อเป็นแล้วอยากจะลาหรือไม่
    ถ้าตัดสินใจที่จะลา ผมจึงจะแนะนำวิธีให้

    แนะนำให้ลองอธิษฐานกับพระบรมสารีริกธาตุครับ

    ขอให้สามารถทราบรู้ ตื่นขึ้น แก่ดวงจิต ถึงคำอธิษฐาน ปฏิปทาซึ่งได้ตั้งจิตเอาไว้ ได้โดยฉับพลันทันใด และมุ่งมั่น ตั้งมั่น ในคำอธิษฐานนั้น ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  17. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ ออกกรรม ครับ

    ส่วนเรื่องสอนนั้น ผมรับสอนทั่วราชอาณาจักรครับ

    จริงๆ จะให้ไปสอนที่ไหนก็ได้ครับ สอนทางmsn เบอร์บ้าน Skype หรืออะไรก็ได้ครับ

    เคยมีคนโทรมือถือมาให้ผมสอนจากต่างจังหวัด ยอมเสียนาทีละสามบาทกันเลย

    อันนั้นผมขออนุโมทนาด้วยใจจริงครับ เพราะกำลังใจสูงยิ่ง

    ถ้าใครสนใจก็ลอง Pm มาหาผมก็แล้วกันครับ

    และไม่มีค่าใช้จ่ายทุกประการ

    เพราะผมตั้งกำลังใจว่า

    ผมถ่ายทอดธรรมะของพระพุทธเจ้า เพื่อตอบแทนพระคุณของพระพุทธองค์

    พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผม อย่างหาที่สุดหาที่ประมาณมิได้

    เพราะพระองค์ทรงเมตตาให้ผมได้มีโอกาสสัมผัส ความสุข ความชุ่มเย็น ความเบิกบาน ธรรมปีติ อันเอิบอิ่ม

    ดังนั้นผมสอนผมถ่ายทอด ผมแนะนำในการเจริญสมาธิ เจริญจิตนั้น

    ปรารถนาความสุขของผู้รับธรรมะ โดยส่วนเดียว ไม่ได้หวังอะไรเป็นการตอบแทน

    นอกจากการเห็นจิตใจที่งดงาม เบิกบาน ของผู้มีความเคารพในพระรัตนตรัย

    ได้รู้ ได้ตื่นขึ้น สู่ความดีงาม สู่จิตเดิมแท้อันประภัสสรของตัวเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2010
  18. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    สวัสดีครับ อาจารย์
     
  19. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขอบคุณครับที่ช่วยกรุณาชี้แนะ

    ตอนนี้หลังจากที่หยุดดื่มมาเกือบ10วัน พอไปประชุมก็อดไม่ได้ก็ดื่มติดต่อกัน
    4วัน ตอนนี้ก็งดได้เข้าวันที่3แล้วครับ เพราะหลังจากที่ดื่ม รู้สึกเจ็บปากครับ
    ช่องปากมันบวมๆยังไงก็ไม่รู้ ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคยเป็น มานั่งนึกทบทวนดู
    ก็เคยได้ยินครูบาอาจารย์ที่นับถือท่านพูดว่า เวลาที่เราตั้งใจดีแล้ว ถ้ามีเหตุการณ์
    หรือการกระทำใดๆที่ จิตเค้าไม่เอา ไม่ยอมรับแล้ว เค้าก็จะแสดงอาการต่างๆ
    ออกมาให้เจ้าตัวรับรู้ครับ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือปล่าว

    ตอนนี้ผมก็ตามระลึกรู้ถึงลมหายใจไปเรื่อยๆครับ ก็พอจะรู้วิธีการที่จะตาม
    ดูลมหายใจบ้างแล้วครับ คือไม่เพ่ง ไม่เผลอ นึกได้เมื่อไหร่ก็ตามดูลม
    แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐานหรือปล่าว แต่ลองใช้วิธีนี้ดู
    ใจก็สบายครับ รู้สึกจะง่ายกว่าแบบเดิม คือรู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง (รู้ลม)

    ก่อนนอนก็ไหว้พระสวดมนต์ ส่วนมากผมจะนอนทำสมาธิครับ จะได้หลับเลย
    เพราะเป็นคนนอนดึก ถ้าทำแบบนั่งจะกระวนกระวาย กลัวว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ
    บางทีก็ต้องหยุดภาวนา เพราะมันนอนไม่หลับครับ กลัวตื่นสาย
    ตอนนี้ก็เลิกกังวลใจไปได้เยอะแล้วครับ ในเรื่องเกี่ยวกับ
    ความอยากได้อยากดี ขอบพระคุณท่านชัดมากๆครับที่คอยแนะนำการปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  20. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    ชัดเจนตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงสุดท้ายปลายทางแล้วครับ

    ขอขอบคุณสำหรับคำชี้แนะครับ ช่วงนี้ยังไม่มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติม ขอเก็บตัวฝึกวิชาลูกเดียวก่อน เดี๋ยวถ้ามีกระบวนท่าใดเกิดติดขัดอีก จะมาขอความอนุเคราะห์อีกครั้งนะครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...