วัตถุมงคล...เริ่มหน้า 676 เป็นต้นไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 4 มกราคม 2017.

  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,689
    ค่าพลัง:
    +4,635
    :):)***สรุปรายการจองวัตถุมงคล2/10/2567***:):):):)

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ***คุณshajจองครับ****

    10417.เหรียญนาคปรกหลวงพ่อดำ วัดทอง จ.พระนครศรีอยุธยา เนื้อทองแดงรมดำ ปี16 สภาพสวย
    10454.พระปิดตา เนื้อตะกั่ว หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง ปทุมธานี สร้างนานแล้ว ครับ ตั้งแต่ อยู่วัดบางกุฎีทองสวยเดิม พร้อมกล่อง
    10470.พระผงเม็ดกระดุม หลวงปู่แผ้ว ออกวัดกำแพงแสน จ.นครปฐม
     
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,689
    ค่าพลัง:
    +4,635
    10523.พระสมเด็จนาคปรก หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ พิมพ์หางขดใหญ่ (นิยมหายาก) เนื้อผงพระพุทธคุณ สร้างราวปี พ.ศ. 2500 มีผงสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จโตผสมอยู่ พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตา มหานิยม แก้ดวงตก มีคราบกรุคลาสสิค พระพิมพ์นี้อยู่ในตำราพิมพ์มาตรฐานของหลวงปู่หินวัดระฆังครับ รับประกันแท้ มาตราฐานสากล สมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย *****สนใจแบ่งให้บูชา พิเศษ 3250 บาท*****(พิมพ์นี้มีอยู่ในรายการประกวดพระครับ)
    พระสมเด็จหลวงปู่หิน วัดระฆัง มีพุทธคุณสูงส่งมากทาง ด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด แม้แต่ทางด้านคงกระพันก็มีเจอมาหลายรายเช่นกัน นอกจากนี้พระสมเด็จของท่าน ยังใช้อาราธนาทำน้ำมนต์ได้ศักดิ์สิทธิ์เป็นยิ่งนัก ใช้รักษาทางโรคคุณไสย หรือ ภูตผีปีศาจเข้าสิงได้เหมือนท่านรดน้ำมนต์เอง ชื่อเสียงทางด้านน้ำมนต์ของดังมาก วันๆมีคนมาให้ท่านรดน้ำมนต์มากมาย ในสมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2 พระสมเด็จหลวงปู่หินก็ปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายอย่างมาก ซึ่งพระสมเด็จของท่านก็ใช่ว่าจะรู้จักแต่คนไทยสมัยเก่าเท่านั้น แม้แต่คนต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือฮ่องกงหรือ ประเทศมาเลยเชีย หรืออินโดนีเซียเขาก็รู้จักและนิยม พระของหลวงปู่ท่านมานานแล้ว ปัจจุบันพระของหลวงปู่ท่านยังพอหาได้อยู่บ้าง
    DSC_0358 (1).JPG DSC_0360 (1).JPG DSC_0362.JPG
     
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,689
    ค่าพลัง:
    +4,635
    10524.พระผงรูปเหมือนหลังหนุมานเชิญธง ๒๕๒๓ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน พิเศษมีเกศา สวยๆแชมป์พร้อมกล่องเดิมๆไม่ผ่านการใช้งาน ***แบ่งให้บูชา 2500 บาท***
    เนื้อผงพุทธคุณ พิเศษผสมผงสมเด็จวัดระฆัง ว่านต่างๆ และผงพุทธคุณศักดิ์สิทธิ์หลายร้อยชนิด ด้านหน้าหลวงพ่อจรัญห่มเชียงครึ่งองค์ยิ้ม ด้านหลังเป็นลายเส้นรูปหนุมานเชิญธง สภาพเก็บ สวยกริ๊ป
    " เมตตามหานิยม มหาลาภ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี มีชัยชนะเหนือทุกสิ่ง สำเร็จสมดังใจปรารถนาทุกประการ "

    พระผงรูปเหมือน รุ่นหนุมานเชิญธง สร้างในปี๒๕๒๓ จะมีลักษณะมีผิวสีขาวนวลออกเหลือง มีจุดดำเล็กทั่วองค์พระ ตามผิวพระจะมีลายเส้นขนแมวขึ้นตามองค์พระเป็นส่วนใหญ่
    คุณสุกฤต ธนะสัมพันธุกุล และคณะลูกศิษย์หลวงพ่อจรัญ สร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด จึงได้กราบเรียนขออนุญาตพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญสร้าง หลวงพ่อท่านได้อนุญาต อีกทั้งหลวงพ่อยังมอบผงสมเด็จวัดระฆัง ว่านต่างๆ และผงพุทธคุณหลายอย่างให้ไปเป็นชนวนมวลสารในการสร้างพระรุ่นนี้อีกด้วย
    DSC_0679.JPG DSC_0681.JPG DSC_0683.JPG
     
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,689
    ค่าพลัง:
    +4,635
    10525.***มีไว้เป็นมงคลยิ่งผสมฟันในหลวง+ผงจิตรดา**** พระสมเด็จพระพุทธชินสีห์ ทันโต เสฏโฐ ปี 2533 พระรุ่นเดียวที่มีผงพระทนต ์ของในหลวง+ผงจิตรลดา พิธีใหญ่ สภาพสวย ****แบ่งให้บูชา 2000 บาท****
    ***มวลสารที่บรรจุในพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.***เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ แบบหล่อพระทนต์ และชิ้นส่วนวัสดุอุดพระทนต์ ซึ่งเป็นมวลสารที่สำคัญ อีกทั้งยังทรงพระราชทานผงจิตรลดาอันเป็นมวลสารรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวไทยทั่วประเทศ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ครั้งนี้ ด้วยศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนทั่วไป จึงมีผู้บริจาคมวลสารอื่นๆ ที่นับว่าหายากยิ่ง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ เพื่อนำมาผสมเป็นมวลสาร ซึ่งผู้ศรัทธาได้เก็บรักษามานาน คณะกรรมการฯ ได้นำมวลสารที่รวบรวมได้ทั้งหมดเข้าทูลถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก เพื่อทรงอธิษฐานจิตตลอดไตรมาส แล้วจึงนำมวลสารเหล่านี้มาผสมกับมวลสารหลัก เพื่อนำมาบรรจุในองค์พระที่จัดทำ โดยพระบูชาบรรจุในองค์พระใต้ฐาน พระกริ่งเจาะรูบรรจุพร้อมกับเม็ดกริ่งที่บริเวณใต้ฐาน ส่วนพระผงได้ผสมเข้ากับเนื้อพระ

    ***การจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. แบ่งขั้นตอนใหญ่ๆ ๓ ขั้นตอน***
    1.พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์ พิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระจายทุอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ถูกนำมาทำให้เป็นกลางและนำมาผสมกับผงพุทธคุณอื่นแล้วนำมาตากแห้ง กรองในตะแกรงแล้วผสมกับมวลสารอื่น เช่น ผงจิตรลดา พระทุกองค์ที่จัดสร้างจะมีอณูของชี้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึงความศรัทธาและความสักดิ์สิทธิ์
    2.พิธีเททองหล่อพระ
    3.พิธีมหาพุทธาภิเษก

    ***พิธีมหาพุทธาภิเษก***
    พิธีมหาพุทธาภิเษก ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญมากในการจัดสร้างพระ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายกทรงพระเมตตารับเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรงประทานในฤกษ์ ในวันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๓ เวลา ๑๔ นาฬิกา ๑๙ นาที เป็นฤกษ์จุดเทียนชัย การจัดพิธีได้รับความรวมมือจากกองพิธีการ สำนักพระราชวัง และที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิจารณาถึงพิธีและฤกษ์พิธีจะเห็นได้ว่า ความสมบูรณ์ของพิธีครั้งนี้นับได้ว่าฤกษ์ที่ดี เพราะฤกษ์ที่ทรงประทานเป็นฤกษ์เสาร์ห้า ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ดีที่สุดในการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแต่โบราณกาล ทั้งตรงกับวันมหาสงกรานต์ซึ่งเป็นวันอุดมมงคลของชาวไทย ประธานในพิธีคือสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นองค์ประธานของพระพุทธศาสนา พิธีจัดทำในอุโบสถวัดวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์ เสมือนหนึ่งเป็นพระประธานในการปรก โดยมีเถระคณาจารย์จากทั่วทุกภาค ๕๔ องค์ ร่วมนั่งปรกในครั้งนี้

    ***รายนามพระสงฆ์ ผู้สวดภาณวสรในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
    พระครูประสิทธิพุทธมนต์
    พระมหาถาวร
    พระมหาจิรพล
    พระมหาวงศ์ไทย
    พระเสน่ห์
    พระมหานิรันดร
    พระมหาฉลอง
    พระมหาเพชร

    ***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก***
    สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
    สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
    พระพรหมคุณาคุณาภรณ์ วัดสระเกศ กทม.
    พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม กทม.
    พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
    พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาสวิหาร กทม.
    พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    พระเทพวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    พระมงคลรัตนมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.

    ***รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก***
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
    พระอุดมสังวรเถระ (อุตตมะ) วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
    พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์,หลวงพ่อเมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา
    พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัญ) วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
    พระราชพุทธิรังสี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
    พระราชสุพรรณนาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
    พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
    พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    พระครูสมุห์อวยพร (มาแทนหลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    พระสำอาง อนาลโย (มาแทนหลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
    พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
    พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช เชียงราย
    พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม
    พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณบุรี
    พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย
    พระครูนิยุตธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเสี้ยว นครสวรรค์
    พระมหาวิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ ตาก
    พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
    พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง
    หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส นครพนม
    พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ ปราจีนบุรี
    พระอธิการยิด จันทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
    พระครูรักขิตสีลคุณ (ณรงค์ชัย) วัดปราทรงคุณ ปราจีนบุรี
    พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
    พระอาจารย์สงัด กมโล สำนักสงฆ์เกษตร นครราชสีมา
    พระราชญาณดิลก วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
    พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
    พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี) วัดเหวลึก สกลนคร
    พระครูวิบูลศีลวัตร (ช้วน) วัดหนังราชวรวิหาร กทม.
    หลวงปู่วัย จตตาลโย วัดเขาพนมยงค์ สระบุรี
    พระอาจารย์สุภาพ ธรรมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
    พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
    พระอาจารย์บุญรัตน์ กนตจาโร วัดโขงขาว เชียงใหม่
    พระครูสิริธรรมรัต (หร่ำ) วัดสามัคคีธรรม กทม.
    พระครูศิริปุญญาทร วัดตูม พระนครศรีอยุธยา
    พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ วัดสำราญนิวาส ลำปาง
    หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
    พระครูสุวรรณธรรมโชติ วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    หลวงปู่สุพรรณ อินทวังโส วัดป่าประชานิมิต อุดรธานี
    พระสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษมาลา กทม.
    พระอาจารย์กิมเส้ง ฐิตธัมโม สำนักสงฆ์โอภาสี กทม.
    พระครูสุวรรณสิทธิ์ (ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี สุพรรณบุรี
    พระธรรมศาสตร์รักษา วัดหนองบัวทอง สุพรรณบุรี
    พระครูวรเวทย์โกวิท วัดเลียบ สุพรรณบุรี
    พระอาจารย์เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู เลย
    พระอาจารย์ณรงค์ วฑฒโณ วัดถ้ำผาปู เลย
    พระครูวิจิตรนวการ วัดโคนอน กทม.
    พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ กทม.

    ที่มาการสร้าง :
    พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ ๕๐ ปี ปี ๒๕๓๓

    สร้างพร้อมพระกริ่งพระพุทธชินสีห์ทันโตเสฏโธ ภ.ป.ร. (พระทนต์ในหลวง) ปี ๒๕๓๓
    ความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.
    ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง
    จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกราบพระบาทเพื่อกราบบังคมทูลมีใจความว่า

    " เรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าจะกราบบังคมทูล ข้าพระพุทธเจ้ามิทราบด้วยเกล้าฯ ว่าจะเป็นการบังควรหรือไม่ ถ้าไม่เป็นการบังควรข้าพพระพุทธเจ้ากราบพระบาทขอพระราชทานอภัย เนื่องด้วยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะมีอายุครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ นี้ คณะฯ ดำริจะจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ขึ้นเพื่อให้คณาจารย์และศิษย์เก่าทุกคนมีไว้สักการะบูชา แต่เนื่องด้วยเป็นทันตแพทย์ องค์ประกอบหลักสิ่งใดคงไม่ดีเท่าพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่รักและเทิดทูลสูงสุดของเหล่าข้าพระพุทธเจ้า จึงใคร่ขอพระราชทาน"

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่สักครู่ แล้วจึงทอดพระเนตรชิ้นส่วนพระทนต์พร้อมกับทรงรับสั่งว่า " เท่าใดจึงจะพอ จะทำพระกี่องค์จะได้ทั่วถึง กันหรือ " และทรงรับสั่งต่ออีกว่า " ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป "

    ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช เมื่อได้ยินพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อคณาจารย์และศิษย์เก่าทันตแพทย์เป็นอย่างยิ่งที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานพระทนต์ เพื่อการจัดสร้างพระครั้งนี้จากพระราชกระแสรับสั่งแสดงว่าพระองค์ท่านทรงนึกถีงบ้านเมืองทุกขฃระ ทรงต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี บ้านเมืองจะได้มีคนดีมากๆ เพื่อนำชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ด้วยเหตุนี้ พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ทุกองค์จึงมีคำว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ ซึ่งแปลว่า "ฝึกตนได้ประเสริฐ" โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ได้ทรงเมตตาประทานตามกระแสพระราฃดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ต่อมาทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอพระราชทานผงจิตรลดาและพระปรมภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เพื่ออัญเชิญมาประดิษฐานในองค์พระที่จัดสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้แก่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมควรที่คณาจารย์และศิษย์เก่าจะต้องจดจำสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท โดยตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระราชกระแสรับสั่งที่ทรงฝากไว้

    ศ. ท.ญ. ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช ยินดีที่มอบชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๙ ชิ้นส่วนพระทนต์องค์กรามน้อยบนซึ่งแตกบิ่นออกมา พร้อมทั้งวัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำพระทนต์ ตลอดจนครอบทองที่เคยทำพระทนต์ไว้ ให้แก่คณะทันตแพทย์เพื่ออัญเชิญเป็นองค์ประกอบหลักของพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ที่จะจัดสร้าง จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธชินสีห์ ภปร. ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้นำชิ้นส่วนพระทนต์ และผงจิตรลดามาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างวัตถุมงคล ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินสีห์ ภปร. พระบูชา พระกริ่ง และพระผง
    เพิ่มเติม https://www.tnews.co.th/variety/365578
    DSC_0286.JPG DSC_0284.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...