หลวงปู่มั่นแนะนำวิธีการถอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือผี เข้าทรง การนับถือเทพเจ้าต่างๆ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 3 มิถุนายน 2013.

  1. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    มีแต่ธรรม แต่ดูเหมือนคุณจะรับไม่ไหวนะ แสดงไปหลายกัณฑ์แล้วไม่กระเตื้องขึ้นมาเลย บางอย่างเป็นสมมติ ก็บอกว่าสมมติ คุณก็ไปถือเป็นจริงจัง บางอย่างจริงจังก็ดันหาว่าเรา สมมติ ยังไงก็ยังหวังว่าคุณจะเจริญในธรรมนะ ยังมีคนที่เก่งกว่าผมอีกเยอะเขาคงอธิบายในคุณเข้าใจได้
     
  2. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ไม่ต้องมาลีลา สมมติ
    เอาจริง ๆ สิ ก่ เห็นว่านัก เป็นโน้นนี้นั้น เก่งๆทั้งนั้น
    ก่ ส่งมา หากไม่ส่งมา ก่ ไม่ต้องโม้ ว่า สมมติ
    มาเลย ไปหาพวกมาก่ ได้ รับได้ ทุกอย่าง
    ....................

    หามาเยอะ น่ะ เทวดา ขี้กะป้อ ขี้กะหรึน อะไรนั้นน่ะ
    ไปหา พวดสุดยอด มาก่ อยากจะเจอ อยู่
    ไม่มีอะไร มีฝ่ามือ ใหญ่ ๆ รอต้อนรับ มันอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2013
  3. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ดังนั้น ไม่ต้องไป บ้าเทวดา พรหม ทั้งหลาย
    เหล่านั้น มา ก่ เพราะต้องการพึ่งพา

    มีก่ มีได้ แต่ไม่ต้องมาทำอวดให้ใหญ่โต
    มันให้ อะไร ก่ ไม่ต้องโอ้ จนกระทั่ง
    ตนเองต้อง ผิดความปกติ
    ต้องพึ่งพิง เทวดา พรหม

    แล้วนำมาคุยโต โอ้อวด ว่ามี เทวดา
    มีพรหม ระดับ อภิมหาพรหม

    ไม่เห็นจะน่า พิศมัย อะไรเลย

    เลิกอวดเทวดา พรหม ก่ เลิก เสีย
    มันเป็นอดีต ..... ปัจจุบันคือ มนุษย์
    ก่ ทำในส่วนของมนุษย์ ให้ดี
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้ทำครับ มีแต่ลูกศิษย์เอาอาจารย์มาขาย มีเยอะครับ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]

    ใช้สติหน่อยครับ หลวงปู่มั่นสอนธรรมะครับ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภาษาธรรม
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภาษาคน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภาษาธรรม เป็นนามธรรม รู้เห็นยาก ผู้ที่จะเห็นจริงต้องปฏิบิติด้วยตนเอง
    เช่นเชื่อเรื่องกรรมผลของกรรม ผู้ปฏิบัติต้องมีศีลเป็นเบื้องต้น ต้องทำสมาธิ ต้องเจริญปัญญา
    แบบนี้ทำได้ยาก

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภาษาคน คนเชื่อได้ทันที เพราะได้ยินมาว่าฟังมาว่า การจะทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
    คุ้มครองตน ต้องกราบไหว้บูชา ต้องเซ่นสรวง ไม่ต้องทำเอง ทำง่าย บูชาเสร็จแล้วต้องคอย
    รักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะสิ่งศิกดิ์สิทธิ์รักษาตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งพามนุษย์

    บางครั้งพระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในการสอนธรรม เพื่อต่อสู้กับพวกมีฤทธิ์ลัทธิต่างๆ
    แต่หลังจากปราบพวกมีฤทธิ์แล้ว ก็ทรงแสดงธรรมะที่ปฏิบัติได้จริง เห็นจริงได้ด้วยตนเอง
    แต่คนส่วนมากติดอยู่แค่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใจเชื่อทันทีว่าดลบันดาลให้เป็นนั่นเป็นสิ่งนั้น
    โดยลืมไปว่า คนนั่นเองสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาด้วยมือ
     
  7. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อุปโลก (สิ่งศักดิสิทธิ์ ตามความหมายของชาวบ้าน)

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์(ภาษาธรรม) : จำกัดความได้ดี ครับ

    และที่ว่า หลวงปู่มั่น แนะนำถอดถอน สิ่งศักดิสิทธิ์ อันไหนล่ะครับ
    ท่าน จขกท ......

    เห็นไหม คนขัดแย้งเพราะ คำ ความหมายของคำ มีเยอะ

    เพราะปรุงแต่ง ไปตามความเข้าใจ ที่แตกต่าง กัน

    เช่น คนยังไม่บรรลุอรหันต์ มันก่ ว่า บรรลุอรหันต์แล้ว
    คนที่ทำตัวบ้าๆ มันก่ บอกว่า คนขาดสติ ไร้ปัญญา

    นี่ล่ะคน
     
  8. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    แต่ท่านก็ลงยันต์นี้เอาไว้แจกในยามสงครามเหมือนๆกับพระอาจารย์ท่านอื่นๆนิครับ ต่างกันตรงไหน

    ผ้ายันต์ที่พระอาจารย์ท่านอื่นๆลงก็ใช้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าลงในผ้าหรือเหรียญเหมือนกันนิครับ ต่างกันตรงไหน

    เอาอะไรมาแบ่งแยก แล้วไปว่าพระอาจารย์ท่านอื่นเพราะเหตุใด ตกลงพระอาจารย์สายท่านใช่ ส่วนที่อื่นนอกสายนี้ไม่ใช่รึครับ
     
  9. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    ที่อื่นๆลูกศิษย์ก็เอาอาจารย์มาขายครับ ต่างกันตรงไหน ไปว่าท่านทำไมครับ หรือเพราะว่าท่านเหล่านั้นไม่ใช่ศิษย์สายเดียวกับอาจารย์คุณ
     
  10. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    และก็สงสัยอย่างหนึ่ง พุทธทาสภิกขุเป็นศิษย์อาจารย์มั่นหรืออย่างไร ทำไมถึงเอาคำของอาจารย์มั่นมาสั่งสอน (นั่งหันหลังสอนซะด้วย)
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภาษาธรรม ผมจำมาจากพระพุทธทาสครับ

    คำพูด คำเดียวกัน แต่ยากยิ่งนักที่จะเข้าใจ
    พระอริยะท่านว่า ธรรมอยู่ที่ตัวเรา
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่พระสงฆ์
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่วัด
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่พระพุทธรูป
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่เทพเจ้า
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่เทวดา
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่เจ้าพ่อ
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่เจ้าแม่
    ชาวบ้านท่านว่า ธรรมอยู่ที่ภูตผี ฯลฯ
    ภาษาธรรมของพระอริยะ ภาษาหนึ่ง
    ภาษาธรรมของชาวบ้าน ภาษาหนึ่ง
    จริงๆ แล้วเป็นภาษาธรรม ภาษาเดียว
    บางคนฟังแล้วเข้าใจได้ทันที
    บางคนต้องคิดก่อนเป็นวันๆ จึงเข้าใจ
    บางคนต้องคิดทั้งชีวิต ก็ไม่เข้าใจ
    เหล่านี้ ขึ้นอยู่กับสติและปัญญาของแต่ละคน
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ศีลข้อแรกคือ "ห้ามฆ่าสัตว์พรากชีวิตผู้อื่น" คนทำสงคราม มือถืออาวุธเพื่อฆ่ากัน ตัวเองจะทำผิดศีล แล้วหวังเอายันต์เอาพระเครื่องเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ป้องกันตัว เพื่ออะไร ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่ตรงไหน อยู่ที่ป้องกันตัวเองได้แต่คนอื่นตายอย่างนั่นหรือ ผ้ายันต์ทำให้หนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า แล้วผ้ายันต์ศักดิ์สิทธิ์งั้นหรือ เอาธรรมะไปป้องกันตนเองเพื่อไปฆ่าชีวิตผู้อื่น ไม่ใช่คำสอนในพระพุทธศาสนา ในพระศาสนาพระทำผ้ายันต์ไม่ได้ ผิดวินัยสงฆ์ แต่มีพระที่ละเมิดพระธรรมและวินัยตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์ เอาธรรมไปขาย หลวงปู่มั่นเขียนพระธรรมบนผ้า เขียนพระธรรมบนกระดาษเพื่อเผยแผ่ธรรมะ แต่มีบางคนเปลี่ยนเป็นของขลังก็อปปี้ขาย ต่างกันตรงนี้ครับ สายนั้นสายนี้ นิกายนั้นนิกายนี้จะมีไม่ได้ ถ้าทุกคนยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ยึดคำสอนมักจะหาข้ออ้างมาบิดเบือนพระธรรมและวินัย เหมือนพระรับเงินแล้วบอกว่าไม่ผิดธรรมและวินัย อ้างว่าจำเป็นบ้างอะไรบ้างก็สุดจะเอามาอ้าง พระสงฆ์ทำผิดวินัยชาวบ้านประพฤติผิดศีล ถ้าคนทำผิดแล้วอ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน คุณก็พวกเดียวกันนั่นแหละครับ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]

    สมเด็จพระสังฆราช เตือนชาวพุทธศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ มิใช่เพียงกราบไหว้ขอพร
    พระสังฆราช ประทานพระวรธรรมคติวันอาสาฬหบูชา ให้ชาวพุทธนำพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของจิตใจ ศึกษาหลักธรรมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ มิใช่เพียงกราบไหว้ขอพร

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระวรธรรมคติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2556 ความว่า วันอาสาฬหบูชา เป็นอภิลักขิตกาล คือ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ คำสอนที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาครั้งแรก เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และเป็นวันที่เกิดพระสงฆ์ซึ่งเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นในโลกครบบริบูรณ์ ซึ่งจะถือว่าเป็นวันบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยก็ได้

    เมื่ออภิลักขิตกาลเช่นนี้เวียนมาถึง ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จักได้น้อมใจรำลึกถึงพระรัตนตรัย พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบดูใจของตนเองว่า ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งแท้จริงแค่ไหนเพียงไร
    อันการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตามนัยแห่งพระพุทธศาสนานั้น มิใช่ถึงโดยการกราบไหว้อ้อนวอน หรือถึงโดยการอธิษฐานขอพรให้พระรัตนตรัยมาช่วยปกป้องรักษา เพื่อที่ตนจะได้มีชีวิตอย่างปลอดภัยเป็นสุข

    แต่การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะอย่างแท้จริงนั้น คือ การศึกษาเรียนรู้พระรัตนตรัยให้เข้าใจแจ่มชัดแล้วน้อมนำเอาความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นแบบอย่าง มาเป็นหลักเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมถูกต้อง อันจะทำให้ได้ชื่อว่านับถือและบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงด้วยทั้งพระรัตนตรัยก็จะปกป้องคุ้มครองมิให้ตกไปสู่ความชั่ว โดยไม่ต้องอธิษฐานอ้อนวอน
    ขออำนวยพรให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรม ประสบสันติสุขทั่วกัน
    ขออำนวยพร

    Quality of Life - Manager Online - �ѧ��Ҫ��͹��Ǿط� �֡����ѡ��������ͧ��
     
  14. stone111

    stone111 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +32
    กด like ให้คุณ phudit999 สักล้านครั้ง
    ถามตรงประเด็นดีแท้

    แต่ จขกท. จะรู้เรียงสา หรือ จะไร้เรียงสา ไหมนี้
    ทำไม ต้องตั้งปริศนาประมาณนี้
    แล้วทำไมจึงไม่ตอบข้อสงสัยให้มันกระจ่างละพ่อคู๊ณ

    ถอนอะไร ถอนแบบไหน ถอนที่ไหน ถอนอย่างไร
    บอกเป็นขั้นเป็นตอนละ อย่ามั่วอีกละ

    จะได้ปูเสื่อรอ
    ประทานโทษนะ... อย่าแถไปเรื่องอื่นอีกละ
     
  15. romancehawk

    romancehawk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +537
    ตอบโต้กันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันจริงๆคะ
    น่าคิดนะคะว่าจะใช้ วินัยสงฆ์ เป็นตัวเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการตัดสินว่าพระหรือขาดจากความเป็นพระ อย่างเดียวเลยดีไหม
    หรือจะดูที่ภูมิธรรม และเจตตนาของท่านประกอบไปด้วยดี
    ท่านมีเจตตนาที่จะโปรดสงเคราะห์ญาติโยมตามกำลังใจและภูมิธรรมของญาติโยม หรือตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า
    สมัยก่อนไม่ต้องย้อนไปไกล แค่สมัยปู่ย่าตาทวด การแพทย์ปัจจุบันไม่เจริญทั่วถึง โจรผู้ร้ายชุกชุมกำลังเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมีน้อย
    กำลังใจชาวบ้าน ศูนย์รวมจิตใจชาวบ้านก็อยู่ที่ใครถ้าไม่ใช่วัดไม่ใช่พระ
    โยมป่วยไข้มานอนซมหามกันมาหาหลวงปู่ หลวงพ่อ หลวงตา เอาไงดีละโยม พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนวิชาแพทย์ไว้ในพระไตรปิฎก แล้วถ้าอาตมาจะใช้วิชาความรู้สมุนไพรคาถาอาคมรักษาโยมก็จะอาบัติผิดวินัยไหมละโยม เอาไงดี
    เอางี้ไหมโยม ถ้าคนป่วยไหวก็สวดโพชฌงค์ปริต ถ้าไม่ไหวพวกเราก็ช่วยกันสวด อาตมาก็จะช่วยสวดด้วย คิดว่าคนป่วยจะหายไหม คนป่วยจะมีกำลังใจเท่าพระพุทธเจ้าเท่าพระอรหันต์ไหมที่ฟังโพชฌงค์ปริตแล้วหายป่วยลุกขึ้นมาเดินปร๋อออออออ

    กลางค่ำกลางคืนมีโจรบุกมาปล้นบ้านหรือย่องมาลักควาย เจ้าของบ้านตื่นมาเจอเข้าเอาไงดี หลบเงียบๆไว้ ตะโกนให้คนช่วย หยิบดาบปืนผาหน้าไม้ไปสู้กับโจร หรือตะโกนบอกโจรว่า เฮ้ยยย หลวงตาสอนไว้นะโว้ยยยย ผิดศีลอทินนาทานมันบาปปปปปปป
    หลวงปู่ หลวงตาท่านก็เมตตาเสกตะกรุด เสกผ้ายันต์ เสกผ้าประเจียด ไว้ให้ป้องกันตัวกันไว้ก่อนเผื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเป็นต้องป้องกันตัวถึงขั้นลงไม้ลงมือ

    ย้อนไปดูซัก 400 ปีกว่าๆมาแล้ว แม่ทัพนายกองสำคัญหลายนายตามช้างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถไม่ทัน ท่านตกอยู่ท่ามกลางวงทหารพม่าต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบท้าทำยุทธหัตถีจนฟันพระมหาอุปราชาขาดคอช้าง
    เสร็จศึกกลับมา แม่ทัพนายกองเกือบหมดทัพอโยธยาต้องโทษประหารเพราะตามเสด็จไม่ทัน ใครมาขอบิณฑบาตรชีวิตแม่ทัพนายกองเหล่านั้นเอาไว้ ???? พระ ????
    เราพิจารณาถึงสิ่งศักดิสิทธิ์ที่สัมผัสได้มีตัวตนนี้แหละ ผิดวินัยสงฆ์ไหม ????
    บาปไหม มาขอชีวิตแม่ทัพนายกองซึ่งเขาเหล่านี้มีหน้าที่ฆ่าฟันคน แม้คนเหล่านั้นเป็นอริราชศัตรูของแผ่นดิน พระรูปนั้นคือสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วใช่ไหม ???
    ถ้าจะมองแง่ลบก็ได้ สมเด็จพระพนรัตน์ท่านส่งเสริมการรบราฆ่าฟันใช่ไหมจึงได้มาขอชีวิตแม่ทัพนายกองของอโยธยาไว้ ถ้าปล่อยให้แม่ทัพนายกอง สมมุติว่า 10 คนถูกประหารก็เสียแค่สิบชีวิต เพราะ 10 ชีวิตนี้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่มีอำนาจสั่งการทหารในสังกัดไปฆ่าคนได้อีกเป็นพันเป็นหมื่น ปล่อยให้ถูกประหารไปดีกว่าไหม ???
    นิ่งเฉยเสียก็น่าจะได้ แต่สมเด็จพระพนรัตนืท่านตัดสินใจไปขอบิณฑบาตรไว้ ทำไมละ ??? ระหว่างบ้านเมืองที่กำลังฟื้นตัวจากการตกเป็นเมืองขึ้นกับพระวินัยสงฆ์ เอาไงดี ???

    ย้อนกลับมาอีก 200 กว่าปี ชาวบ้านบางระจันไปนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขาเดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี มาอยู่บ้านระจัน ท่านฉลาดพอแหละที่จะรู้ว่าชาวบ้านนิมนต์ท่านไปทำไม คงไม่ใช่ไปเพียงเพื่อเทศน์มหาชาติมั้ง
    พระอาจารย์ธรรมโชติไม่ไปได้ไหม รู้ทั้งรู้ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นอะไรยังไง ชาวบ้านบางระจันที่ไปนิมนต์ท่านก็คงไม่ไปโกหกท่านหลอกวา่นิมนต์ไปเทศน์มหาชาติ(สมมุติ)

    ท่านไปอยู่บ้านระจันก็คงไม่พ้นต้องไปเป็นกำลังใจให้ชาวบ้านระจันรบพุ่งพม่าอังวะ มันได้ฆ่ากันถึงชีวิตอยู่แล้ว คงไม่ได้ไปแอบเป่าลูกดอกยาสลบแล้วเอาตัวมาให้พระอาจารย์ธรรมโชติเทศน์สั่งสอนหรอกว่า อย่าฆ่ากันนะ กลับบ้านกลับอังวะไปเถิด รบกันมันบาปนะโยม
    ปรากกหลักฐานว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ เสกผ้าประเจียดแจกชาวบ้าน เสกบ่อน้ำในหมู่บ้านให้เป็นน้ำมนต์กันไปเลย ผิดวินัยสงฆ์ไหม ???? ต้องเลือกละว่า สงเคราะห์ชาวบ้านระจันกับวินัยสงฆ์ ????
    ถ้ามองกันแง่ลบ พระอาจารย์ธรรมโชติส่งเสริมปาณาติบาตรเลยนะ จะบอกว่าอาตมาเสกผ้าประเจียด ทำน้ำมนต์ไว้เฉยๆนะ โยมเอาไปใช้ในทางฆ่าคนกันเอง อาตมาไม่รู้ไม่เห็นนะ ได้ไหมละ วัตถุประสงค์นะแจ้งชัดตั้งแต่ชาวบ้านระจันไปนิมนต์ท่านมาจากเขานางบวชแล้วนาาาาาาาาา

    คำถาม ใครจะกราบหรือไม่กราบ สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วและพระอาจารย์ธรรมโชติบ้าง ???? ถ้าตอบว่ากราบ ถามว่า กราบอย่างสนิทใจไหม ??? แล้วถ้ากราบท่านได้สนิทใจ ถามว่าทำไม ????
    หรือจะปรับปาราชิก พระสองรูปนี้ดี ???? ผิดปาณาติบาตรส่งเสริมการฆ่าฟัน ????

    ส่วนตัว เวลาได้อ่านประวัติศาสตร์ทั้งสองบทสองตอนนี้ทีไร ยกมือไหว้ท่วมหัวขอบพระคุณและอนุโมทนาพระทั้ง 2 องค์นี้ทุกที เคยไปที่วัดเขานางบวชก้ไปกราบรูปปั้นท่านอย่างเคารพสนิทใจ และยังได้บูชาองค์ท่านมากราบไหว้ต่อที่บ้าน
    สำหรับคนพม่า มันคงด่าพระสององค์นี้ไม่มีดี ฆ่าได้มันก็ต้องฆ่า อย่างที่เขียนประวัติศาสตร์ไว้ว่า พม่าได้เข้ามาลอบฆ่าพระอาจารย์ธรรมโชติ

    เอาละทีนี้ จะตัดสินยังไงก็ขึ้นกับแต่ละท่านละ คงต้องตามใจแต่ละท่านแต่ละคน
    จะเอาพระวินัยอย่างเดียวตัดสินเบ็จเสร็จเด็ดขาดเลยไหม อย่างไร

    ส่วนตัวก็คงต้องดูเจตนาท่านว่าจะสงเคราะห์โยมหรือจะพุทธพาณิชย์ หรือท่านเจตตนาสงเคราะห์แต่ลูกศิษย์ดันทำตัวเป็นเปรตเอาครูบาอาจารย์ไปหารัปทาน

    โยมก็มีหลายระดับหลายกำลังใจ พวกที่พลังใจสูงพร้อมที่จะน้อมนำหลักธรรมล้วนๆไม่ปนกระพี่ไม่ปนเปลือกเลยก็มี ก็ต้องขอกราบอนุโมทนาด้วยความจริงใจ
    พวกที่ยังต้องข้องกับโลก หากินเลี้ยงปากท้อง ลูก หลาน เมีย ผัว ก็ยังมี เขาคงยังไม่พร้อมนิพพาน ก็ให้ก็สอนอย่างอื่นไปก่อน พร้อมแล้วเมื่อไหร่ก็ค่อยๆโน้มไปหาแก่นธรรม
    เอางี้ดีกว่าไหม
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
    มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
    ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
    เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
    เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
    เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
    ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก
    ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
    เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
    จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
    อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
    โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
    ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
    ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
    ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
    เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
    ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    จบจุลศีล.
    มัชฌิมศีล
    [๑๐๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม
    เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
    เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
    เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
    ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็น
    ข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่า
    นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น
    ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
    ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
    การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๐๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
    เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
    สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา
    เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น
    ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.

    [๑๐๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน
    อันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
    เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี
    สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
    เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ
    เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
    หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน
    อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการ
    แต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
    ขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว
    ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า
    ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า
    ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
    ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา
    เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
    เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
    เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ
    ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๑] ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็น
    ปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
    ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
    คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
    ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
    ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๒] ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและ
    การรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
    และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้
    ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูด
    เลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    จบมัชฌิมศีล.

    มหาศีล
    [๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
    ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
    รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
    บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
    ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
    เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
    เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.

    [๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
    ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
    ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
    ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
    ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
    ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.

    [๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
    พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
    พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
    จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
    นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
    ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
    จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
    อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
    จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
    หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
    คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
    หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
    ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
    ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
    ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

    [๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
    เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
    แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
    ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
    อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยศีล.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๕๙/๓๘๓ ข้อที่ ๑๐๒ - ๑๒๑
     
  17. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    อุรุเวลาเธอจงจาริกไปเทศนาในดินแดนปัตตานีเถิด เพื่อความสงบสุขของพระศาสนาแลสัตว์โลกทั้งปวงจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข
     
  18. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    เจ้าชายสิทธัตถะ บรรลุสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วออกสั่งสอน จึงประดิษฐานพระศาสนาในโลกธาตุได้มั่นคง

    พระสาวก ปฏิบัติจนสำเร็จอรหันต์แล้วจึงเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรือง

    คุณอุรุเวลา สำเนาคำสอนครูบาอาจารย์แล้วออกสั่งสอน จึงหมั่นไส้กันทั้งสามโลก
     
  19. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    และก็สงสัยอย่างหนึ่ง พุทธทาสภิกขุเป็นศิษย์อาจารย์มั่นหรืออย่างไร ทำไมถึงเอาคำของอาจารย์มั่นมาสั่งสอน (นั่งหันหลังสอนซะด้วย)
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    โยธาชีวสูตร
    [๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
    ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบ
    อาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม
    ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง
    ความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างไร

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลยนายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย
    แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ นายบ้านนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ
    กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้น
    ซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต
    ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคจะตรัสว่ากระไร

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรนายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด
    อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายบ้าน นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะ
    พยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
    จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่าอย่าได้มีคนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึง
    ความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพ
    คนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย
    ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไซร้ ความเห็นของผู้นั้น
    เป็นความเห็นผิด ดูกรนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ
    นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ

    [๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบอาชีพร้องไห้สอื้น น้ำตาไหล
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายบ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของด
    ข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้
    ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์
    และปาจารย์ก่อนๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม
    คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้า
    ถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระธรรมเทศนาของพระองค์
    แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาค
    ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง
    หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
    ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
    ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
    จบสูตรที่ ๓

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๑๗/๔๐๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...