หลวงปู่มั่นแนะนำวิธีการถอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือผี เข้าทรง การนับถือเทพเจ้าต่างๆ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 3 มิถุนายน 2013.

  1. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    เจ้าชายสิทธัตถะ บรรลุสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วออกสั่งสอน จึงประดิษฐานพระศาสนาในโลกธาตุได้มั่นคง

    พระสาวก ปฏิบัติจนสำเร็จอรหันต์แล้วจึงเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรือง

    อุรุเวลา สำเนาคำสอนครูบาอาจารย์แล้วออกสั่งสอน จึงหมั่นไส้กันทั้งสามโลก

    พุทธทาสภิกขุเธอเป็นศิษย์ภูริทัตโตภิกขุหรืออย่างไร เหตุใดจึงเอาคำของเขามาสั่งสอน แลเหตุใดจึงนั่งหันหลังสอนเล่า

    อุรุเวลาเธอจงจาริกไปเทศนาในดินแดนปัตตานีเถิด เพื่อความสงบสุขของพระศาสนาแลสัตว์โลกทั้งปวงจะได้อยู่กันอย่างสงบสุข
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สีลัพพตปรามาส ความลูบคลําศีลและวัตรใหกลายเปนของผิดความหมายเดิม.

    ขอนี้หมายถึงการที่เขาใจผิดในสิ่งๆ หนึ่งจนถึงกับทําสิ่งนั้น ซึ่งมีความมุ่งหมายเปนอยางหนึ่งใหกลายเปนอยางอื่นไปจนผิดความประสงคเดิม ถึงกับทําสิ่งนั้นใหกลายเปนของมีมลทินต่ําทรามไป. ทั้งนี้เนื่องมาจากความหลงใหลในสิ่งที่ลึกลับอัศจรรยที่เขาใจไมไดมากกวาที่จะนิยมชมชอบสิ่งที่เปดเผยชัดเจนเขาใจได เชนศีลวัตรขอปฏิบัติตางๆ ในพระศาสนา ซึ่งที่แทมีเพื่อการขูดเกลากิเลสหาความสงบสุข กลับยึดถือไปวาเปนเครื่องมือที่จะทําผูนั้นใหกลายเปนผูวิเศษมีอํานาจกายสิทธิ์อยางใดอยางหนึ่งเหนือคนธรรมดา จนถึงกับปฏิบติดวยความลุมหลง ยังผลใหเกิดขึ้นคือการเสียจริตก็มี นั่นเปนผลของการลูบคลําศีลวัตรทําใหกลายเปนของสกปรกไป.หรือเชนพระพุทธรูป ซึ่งสรางขึ้นบูชาตามความมุงหมายเดิม ก็เพียงเพื่อเปนอนุสาวรียเครื่องเตือนใจใหเกิดความระลึก และเลื่อมใสในพระผูมีพระภาคเจา ครั้นตอมา ความหลงอันเปนสมบัติเดิมในใจของผูนิยมของอัศจรรย ก็ทําพระพุทธรูปนั้นใหกลายเปนของศักดิ์สิทธิ์ สําหรับออนวอนขอสิ่งตางๆ ตามที่ตนปรารถนา หรือตามแตที่ตนจะสมมติใหพระพุทธรูปนั้นๆ มีอานุภาพอยางใด เชนกลายเปนพระเครื่องรางเปนตน.

    ความลุมหลงอันนี้นําความเสียหายมาใหอยางใหญหลวง โดยไมรูสึกตัว คือนอกจากจะลูบคลําสิ่งบริสุทธิ์ใหกลายเปนของสกปรกไปแลว ยังทําใหมนุษยถอยหลังไกลไปจากความเปนสัตวที่อยูในอํานาจแหงเหตุผลมากเขาเทานั้น. การยึดถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดใหเปนของศักดิ์สิทธิ์ดวยอํานาจความขี้ขลาดของตนนั้น มีมาแลวตั้งแต่สมัยมนุษยปาเถื่อนและมีมากระทั่งถึงพระพุทธกาล. พระผูมีพระภาคเจาทรงบัญญัติความรูสึกอันต่ําขอนี้ ใหเปนความโงเขลาชนิดหนึ่งในบรรดาความโงเขลาพวกตนๆ ที่พระอริยบุคคลขั้นตนที่สุด คือพระโสดาบันจะพึงละเสียพระผูมีพระภาคเจาทรงสอนใหถือเอาบุญ หรือความดีที่คนกระทํานั่นเอง เปนเครื่องราง สําหรับเปนเครื่องอุนใจปลอบใจใหกลาหาญซึ่งเปนเครื่องรางอันสูงและแทจริง ไมตองเอาความขลังเขามาชวยก็เปนเครื่องรางอันสูงและแทจริง ไมตองเอาความขลังเขามาชวยก็เปนเครื่องรางที่ทาหนาที่ของมันจริงๆ.

    ธรรมะเปนเครื่องรางไดศักดิ์สิทธิ์กวาสิ่งใดหมด ไดแกความเชื่อตัวเอง การเคารพตัวเอง ในการที่มีความดีอยูในตัวความสัตยซื่อตอหนาที่ความรักชาติ เหลานี้เปนตน เปนธรรมะหรือองคพระธรรมที่เปนเครื่องราง
    อันแทจริงซึ่งผูมีจิตใจสูงพอสมควรจะมองเห็นไดโดยทั่วไป ไมตองมีการปลุกเสกชิ้นวัตถุอยางใดอยางหนึ่งขึ้นยึดถือซึ่งเปนของงอนแงนคลอดแคลนยิ่งนัก.

    เมื่อยังไมสามารถใชของจริงใหเปนเครื่องรางจริงอยูเพียงใดก็ยังเรียกวาอริยชนหรืออารยชนไมไดอยูเพียงนั้น, ยังไมมีความจริงยังไมมีความสงบ เพราะยังมืดมัวตอเหตุผล ตอแนวทางที่จะนําไปสูชั้นสูงของจิตไมรูจักตนกระแสที่จะไหลไปสูความทุกข, หรืออยางนอยที่สุดก็เปนผูมีการตั้งอยูในเหตุผลนอยเกินไปจนนาอันตรายแกสังคม คือชักจูงกันทําสิ่งที่นาสงสารตัวเอง เปนความไมสงบชนิดที่ไมรูสึกตัวอยางยิ่ง. พระอริยบุคคลแม้ขั้นตนที่สุด คือพระโสดาบันยอมละการลูบคลําผิดๆ ชนิดนี้ไดเด็ดขาด ไมมีการถือที่พ่งอันเท็จเทียม เชนถือตนไม้ศักดิ์สทธิ์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ วัตถุเครื่องรางที่ศกดิ์สิทธิ์ ฯลฯ, นอกจากเครื่องราง คือธรรมอยางเดียว. สวนพระอริยบุคคลชั้นสูงคือพระอรหันตนั้น พนจากการตายเสียแลวดวยอํานาจอมตธรรมที่ทานบรรลุ เปนอันไมมีปญหายุงยากอันใดที่เกี่ยวกับความยึดถือหรือลูบคลําเลย. เมื่อใดพิจารณาเห็นความวุนวายอันเกิดจากความมืดบอดอันนี้ เมื่อนั้นยอมจะเห็นไดวา การละเสียไดซึ่งสีลัพพตปรามาสนั้น จะเปนความสงบเพียงใด และเปนความสงบแจมใสชนิดที่คนธรรมดายังไมเคยรูจักมากอนหรือไม.

    พุทธทาส อินฺทปฺโญ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหา ผูกมัดรัดรึงอยู่ภายในใจ ใจหาความอิสระได้ที่ไหนแม้แต่ขณะหนึ่ง
    ถ้าไม่ตั้งใจแก้ไขถอดถอนหรือปราบปรามออกให้ได้แล้ว จิตจะหาความสงบร่มเย็นและหาอิสระไม่ได้เลยตลอดไป
    อย่าเข้าใจว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนจะมาช่วยแก้ช่วยถอดถอนกิเลสตัวศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์มหาศาลที่ครอบหัวใจอยู่เวลานี้ได้
    ถ้าไม่เอาความศักดิ์สิทธิ์จากวิริยธรรม สติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรมเหล่านี้เข้าแก้มัน ถ้าเชื่อธรรมก็ต้องเชื่อว่า
    กิเลสเป็นตัวก่อเหตุให้เกิดทุกข์แก่เราเรื่อยมา และแก้กันอย่างไม่ชักช้านอนใจ ด้วย อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
    ตนเป็นผู้ช่วยตัวเอง เป็นหลักใจในเวลาเข้าตาจนกับกิเลส


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หลักความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ อันนี้เราจะเห็นได้ชัด พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลาย เชื่อเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยฤทธิ์เดชปาฏหาริย์ ยุ่งอยู่กับเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ งมงายหวังผลสำเร็จจากการดลบันดาลของเทพเจ้า ไม่ต้องคิดทำอะไร อ้อนวอนบวงสรวงบูชายัญไป ไม่ต้องฝึกฝนตนเอง นี่ผิดหลักสองข้อข้างต้น

    เทพเจ้าที่คนนับถือที่มีฤทธิ์เดชนั้นคืออย่างไร ก็คือฤทธิ์ที่เกิดจากกิเลส ฤทธิ์แสดงกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งนั้นเลย ดังจะเห็นว่าเทพเจ้ามีโทสะแรง มีความโลภ มีราคะรุนแรง แย่งชิงคู่ครองกัน เบียดเบียนทำลายกัน โกรธแค้นกัน ยกทัพไปรบกัน เวลาสร้างเทวรูปขึ้นเป็นอย่างไร จะเห็นว่ามักแสดงความฮึกห้าว โหดเหี้ยมทารุณ หรือแสดงความสามารถที่จะไปทำลายผู้อื่น ต้องทำให้มีมือมากๆ สองมือไม่พอ เอาสิบมือ เศียรเดียวไม่พอ เอาสิบเศียร ตาเดียวไม่พอ เอาหลายตา มือเท้ามีเยอะแล้วยังไม่พอ ต้องเอาอาวุธอีก ต้องมีจักร มีสังข์ มีคทา มีอะไรต่างๆ อาวุธเยอะแยะ แสดงรูปร่างท่าทางผาดโผนโจนทะยาน กำลังจะจัดการคนอื่น มีแต่เรื่องกิเลสทั้งนั้น แล้วเรื่องที่เล่ามาประวัติเทพเจ้ามีแต่วุ่นวายทั้งนั้น คือ ฤทธิ์จะควบมากับกิเลส ความศักดิ์สิทธิ์อยู่กับกิเลส แต่มาในพุทธศาสนา ความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ก็ค่อยโน้มมาสู้ปัญญาและคุณธรรม พอมาถึงพระพุทธศาสนาฤทธิ์ทั้งหมดที่ผสมความโกรธ ความหลง ระคา โทสะ โมหะ เหล่านั้นจะสู้ฤทธิ์แห่งความบริสุทธิ์ไม่ได้ ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดมาสูงสุดที่ความบริสุทธิ์ปัญญาและคุณธรรม เราสร่างพระพุทธรูปขึ้นมา เป็นมนุษย์ธรรมดา นั่งงามสง่าด้วยธรรมะ ไม่ต้องแผลงฤทธิ์ สงบเย็น มีเมตตา ยิ้มแย้ม ให้คนมีความอุ่นใจ สบายใจ มีความสุข มีพระปัญญาคุณ มีพระวิสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณ

    ตกลงความศักดิ์สิทธิ์ก็โอนมาอยู่ที่ความบริสุทธิ์ คุณธรรม และปัญญา และนี่แหละคือความศักดิ์สิทธิ์ที่สูงสุด เพราะฉะนั้น ความศักดิ์สิทธิ์ที่ให้นับถือนี้จะค่อยดึงจากความมีกิเลส สู่ความหมดกิเลส จากความเป็นอยู่ภายใต้อำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ สู่ความเป็นอยู่และการกระทำต่างๆ ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจเหตุผลตามเหตุปัจจัย เราก็ดูว่า การสอนในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าหลักนี้หรือไม่ ดูว่าจูงคนให้เข้ามาสู่ความศักดิ์สิทธิ์แบบมีกิเลสน้อยลง มาสู่ความหมดกิเลส มาสู่ความหมดโลภะ โทสะ โมหะ มาสู่ความบริสุทธิ์ มีปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ มหากรุณาคุณหรือไม่แค่นั้นเอง

    เป็นอันว่าให้เลิกจากความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม ฯลฯ ที่มีฤทธิ์ แสดงตัณหา มานะ แสดงโทะ โมหะ ที่มีกิเลสเรียกร้องการอ้อนวอนบนบาน โปรดใครก็ช่วย ไม่โปรดก็แช่ง นำเขาให้เข้ามาหาพระรัตนตรัย ให้มั่นในคุณานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ให้เขาได้เข้าสู่คุณธรรมมากขึ้น ซึ่งก็มาสัมพันธ์กับหลักการแห่งกรรม ให้เขาหวังผลสำเร็จจากการเพียรพยายามกระทำเอา และให้เขาฝึกฝนพัฒนา คือ ปฏิบัติตามหลักสิกขา เขาจะได้ฝึกฝนตัวเองให้ดีขึ้น และให้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าหากว่าพระอาจารย์ไปสอนแล้วกลับทำให้เขาออกไปหาฤทธิ์ที่วุ่นวายกับกิเสลมากขึ้น ก็ผิดหลักทันที

    รวมความว่า ในแง่หลักการสามอย่างนี้ชัดแล้ว ถ้าหากความศักดิ์สิทธิ์ยังอยู่ในหลักความเชื่อกรรม อยู่ในหลักปฏิบัติสิกขา และอยู่ในความหมายของความศักดิ์สิทธิ์แบบไม่มีกิเลส โดยหันมาสู่ความบริสุทธิ์มีปัญญากรุณาเป็นหลัก ก็ใช้ได้ ถือว่าพออนุโลมได้

    คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ (พระธรรมปิฎก)
     
  5. ิBat of light

    ิBat of light เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2012
    โพสต์:
    687
    ค่าพลัง:
    +842

    ถูกใจจังเล้ย เราเห็นแล้วขัดตาขัดใจเป็นอย่างยิ่งเลยท่าน
    โธ่เอ้ย กระจอกงอกง่อย กระจ้อยร่อยกระจิ๊ดริด คิดเองก็ไม่เป็น ฮู่ฮู่ (เสียงโห่)
    ความรู้ความเข้าใจของตัวเองมีแค่ไหนกัน ไม่เห็นโชว์กิ๋นให้ดูบ้าง มีป่าว กิ๋นน่ะ
    ถ้าทำได้แค่นี้ จงรีบเอารูปลูกพี่เราออกให้ไวเลย ก่อนจะได้รับหมายศาล 555

    วิญญานกระต่ายป่า ข้างวัด / ค้างคาวแห่งแสง

    .
     
  6. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    แนวพระพุทธศาสนายึดหลักอหิงสา คือไม่เบียนเบียดใคร แต่เธอไม่ใช่อุรุเวลา

    เจตนาเธอดี แต่วิธีของเธอนั้นผิดแล้วอุรุเวลา

    พระศาสนานี้จะเจริญก็ด้วยการไม่สร้างศัตรู แต่เธอไม่ใช่อุรุเวลา

    พระตถาคตไม่เคยเปรียบเทียบกับผู้ใดแลไม่ยกตนข่มใครๆ แต่เธอไม่ใช่อุรุเวลา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2013
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002

    กฎกติกาของเว็บบอร์ดพลังจิต


    ขอความกรุณาช่วยกันรักษากฎกติกามารยาทที่ให้ไว้ข้างล่างเพื่อความสงบสุขของตัวเองและสังคม

    ขอให้สมาชิก ตกลงที่จะทำตามกฎกติกามารยาท

    1) ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดปด ไม่หลอกลวง ไม่พูดวาจาทำให้แตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาไร้ประโยชน์
    2) ไม่โพส ใส่ร้ายป้ายสี เสียดสี ในสิ่งไม่เป็นความจริง บิดเบือน ตำหนิติเตียน จาบจ้วงพระรัตนตรัย หรือ บุคคลใดๆ ในทางเสียหาย
    3) ไม่โพสหรือสื่ออะไรต่างๆที่ ละเมิดต่อ กฎหมายบ้านเมือง ศีลธรรม ประเพณี
    4) ไม่โพส รูปไม่เหมาะสม วิดีโอคลิปโป๊ ล่อแหลม ขัดต่อศีลธรรม ลงในกระทู้และในรูปแทนตัว
    5) ไม่ก่อกวนสมาชิก แต่บางกรณีสมาชิกสามารถสอบถามเพื่อความชัดเจนและ ไม่ก่อกวนระบบของเว็บพลังจิต
    6) ไม่เผยแผ่สิ่งที่เป็นมิจฉาทิฐิ
    7) ถ้ามีการกระทู้ของต่างศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในเว็บพลังจิต ทางเว็บพลังจิตจะพิจารณาเป็นกรณีๆไป
    ถ้ามีกระทู้ใดๆหรือแนวสอนใดๆ ที่เข้ามาเผยแผ่ในเว็บพลังจิต อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนออกจากพุทธศาสนา ทางเราจะพิจารณาและย้ายกระทู้ดังกล่าวไปในห้องที่เหมาะสมหรือลบออก


    คนไทยมีสิทธิ์เสรีภาพในการนับถือศาสนา ศาสนาพุทธคือศาสนาประจำของชาติไทย เว็บบอร์ดนี้เป็นเว็บบอร์ดพระพุทธศาสนา มีหลายกระทู้ในห้องนี้ที่เป็นเรื่องนอกศาสนา กระทู้ที่คุณตั้งผมเคยเข้าไปอ่านแต่ผมไม่เคยแสดงความคิดเห็นอะไร เพราะผมรู้ดีว่าจะเกิดการตอบโต้กันขึ้น คนพุทธใจกว้างพอที่จะให้พื้นที่กับคนต่างศาสนา ผมตั้งกระทู้นี้สำหรับคนนับถือศาสนาเดียวกันคือศาสนาพุทธ คุณนับถือศาสนาอื่นคุณเข้ามาอ่านคุณยอมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกับผม และในฐานะที่คุณเข้ามาอาศัยเว็บบอร์ดของศาสนาพุทธเผยแผ่คำสอนของลัทธิอื่น คุณควรให้เกียรติเจ้าของบ้าน คุณควรให้เกียรติคนพุทธด้วยเช่นกัน ผมบอกว่าผมไม่นับถือ ผมไม่ได้กล่าวโทษศาสนาใด รูปที่ผมเอามาลงผมเอามาจากอินเตอร์ ไม่ใช่รูปที่ผมถ่าย ผมไม่ใช่เจ้าของรูปนั้นและที่มาผมก็นำมาลงให้คุณทราบแล้ว ถ้าคุณจะเอาเรื่องถึงศาล ผมไม่มีปัญหาแต่คุณอย่าลืมว่าทุกคนมีสิทธิ์และเสรีภาพในการนับถือศาสนา ผมบอกหลายครั้งแล้ว ผมคัดลอกมาจาก ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ เขียนโดยพระอาจารย์วิริยังค์ คำสอนทั้งหมดพ่อแม่ครูบาอาจาย์ไม่ได้เอามาจากทีไหน ครูบาอาจารย์เอามาจากพระไตรปิฏกซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ไม่ได้เอามาจากศาสนาอื่น ผมนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ผมพึ่งธรรมและพึ่งตน ผมไม่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวดา เทพเจ้า ศาลพระภูมิ เจ้าที่ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ภูเขา ต้นไม้ ศาลหลักเมือง ผี พระเครื่อง ตะกรุด ยันต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ที่พึ่ง
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    <iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/qW-l9vyqowk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มีอยู่วันหนึ่ง หมู่บ้านที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านนามนนี้เท่าไรนัก เกิดมีการลือว่าผีปอบกำลังอาละวาดและมีผีป่าเข้าผสม มีการตายกันไม่เว้นแต่ละวัน ชาวบ้านได้มีความเชื่อว่าผีอาละวาดจริง ต่างก็พากันครั่นคร้ามหวาดเสียว กลัวกันเป็นการใหญ่ พวกชาวบ้านได้ส่งตัวแทนมาที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ขอให้ไปไล่ผีให้พวกเขาด้วย เมื่อตัวแทนชาวบ้านนั้น มีอยู่ ๓-๔ คนมากราบพระอาจารย์แล้วก็เล่าถึงเหตุเภทภัยที่พวกเขากำลังได้รับอยู่ให้ท่านฟัง

    เมื่อท่านได้ฟังแล้วจึงบัญชาให้ผู้เขียนไปจัดการแก้ไขพวกผีปอบ อันที่จริงผู้เขียนก็เคยจัดการเรื่องผีๆ มาหลายครั้งแล้ว มาคราวนี้ท่านอาจารย์มั่นฯมาใช้ให้ไปจัดการทั้งๆ ที่พระเถรอื่นๆ ที่มีความสามารถในทางนี้ตั้งหลายองค์ ทำไมท่านจึงไม่ใช้ให้ไปจัดการ แต่กลับมาให้ผู้เขียน ซึ่งขณะนั้นเป็นพระผู้น้อย มีพรรษาเพียง ๓ พรรษาเท่านั้น ก็คงจะเป็นการทดลองความสามารถหรือดูใจว่าจะเชื่อฟัง ก็สุดที่จะเดา แต่ขณะนั้นผู้เขียนก็เป็นผู้คอยดูแลอุปัฏฐากท่านตลอดเวลา ก็เป็นห่วงจะได้ใครมาแทนการอุปัฏฐาก สำหรับผู้ใคร่อุปัฏฐากก็มีมาก เพราะใคร ๆ ก็อยากอยู่ใกล้ชิดตัวท่าน แต่โอกาสไม่ให้เท่านั้น

    เป็นอันว่าผู้เขียนเดินทางไป เพื่อจัดการกับผี ได้สามเณรไปเป็นเพื่อนหนึ่งองค์ ไปพักอยู่ที่ป่าใกล้ ๆ บ้านนั้นมีพวกญาติโยมมาแผ้วถางที่อยู่ เห็นเนินปลวกพอที่จะพักชั่วคราวได้ เมื่อพักอยู่ ตกกลางคืนได้มีประชาชนพากันมามากมาย ผู้เขียนสังเกตดูชาวบ้านที่มานั้นดูตื่นๆ คล้ายๆ จะตกใจ เพราะทุกคนเกรงกลัวผี ถึงมันไม่กินเรา มันอาจจะกินลูกเรา เขาคงคิดว่าอาจารย์องค์นี้จะสู้ผีไหวหรือไม่ เพราะดูแล้วก็ยังหนุ่มเด็กอยู่เลยถ้าไม่ไหวพวกเราอาจะถูกผีรุกพวกเราหนักยิ่งขึ้น แต่เขาก็ดูจะมั่นใจว่านี้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ฯ คงจะมีความสามารถจัดการกับผีได้ท่านจึงส่งมา

    ในค่ำคืนวันนั้นผู้เขียนได้แสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง และให้เขารับพระไตรสรณคมน์ แนะนำความเชื่อถือผิดต่าง ๆ พอสมควรแล้วเขาก็พากันกลับบ้าน ตอนจะกลับผู้เขียนได้เตือนพวกโยมว่า

    “โยม คืนนี้อาตมาจะไล่ผีที่มีอยู่หมู่บ้านนี้ จะเป็นผีปอบหรือผีอะไรจะไล่ออกให้หมด และขอให้ทุกคนจงบำเพ็ญภาวนาอย่างที่อาตมาสอนไว้โดยทั่วกัน และในคืนนี้ใครมีประสบการณ์อย่างไร ให้มาบอกอาตมาในวันพรุ่งนี้”

    เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ เมื่อวันรุ่งขึ้นพวกประชาชนในหมู่บ้านนี้ ได้มาเล่าความฝันและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อคืนนี้สุนัขมันเห่าหอนกันตลอดคืน ทำเอาชาวบ้านนั้นไม่ใคร่หลับกันทีเดียว ต่างก็เข้าใจว่าอาจารย์ได้ใช้วิชาอาคมปราบผีแน่นอนแล้ว และเขาก็เล่าความฝันของโยมหลายคนที่ปรากฏการณ์เช่นเดียวกัน เขาฝันว่า พวกผีนับจำนวนร้อย พากันหอบลูกจูงหลาน มีหน้าตาลักษณะต่าง ๆ กันเดินออกจากหมู่บ้านนี้ไป พลางก็พูดกันว่า อยู่ไม่ได้แล้วโว้ย ร้อนเหลือเกิน พวกกูก็อยู่กันมานานแล้ว ไม่เคยถูกใครบังอาจมารังควานเลย คราวนี้กูสู้ไม่ไหว ดูท่าทางของพวกผีบอกว่าเดินหนีกันอย่างรีบร้อน และในความฝันเขาบอกว่า เวลาเดิน ๆ ถอยหลังมิได้เดินไปข้างหน้า เหมือนคนเรา

    มันเป็นการได้ผลรวดเร็วเกินคาด ทำให้จิตใจของชาวบ้านนี้เกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้เขียนมากทีเดียว และเขาทั้งหลายก็เชื่อแน่ว่า พวกผีมันไปกันจริง ๆ โดยอาศัยความเชื่อมั่นนี้ ทำให้หมู่บ้านเกิดความสงบเงียบ ได้รับความสุขสบายอย่างยิ่งเพียงชั่ววันเดียว บรรยากาศที่เคยคุกรุ่นด้วยความหวาดเสียว และหวาดระแวงด้วยความกลัวผี ก็หายไปจากหมู่บ้านนี้ยังกะปลิดทิ้ง

    ในครั้งนั้นปรากฏว่า ชาวบ้านที่อยู่กันเป็นหมู่ ๆ ใกล้เคียงยิ่งได้ร่ำลือกันว่าผีออกจากบ้านนี้แล้ว มันกำลังบ่ายโฉมหน้าไปโน้น หมายความว่าจะต้องผ่านหมู่บ้านใกล้เคียงเหล่านั้น ต่างก็ตกใจ นึกว่าคงจะมาอยู่กับพวกเรากระมัง พากันมายังผู้เขียนเป็นการใหญ่ ผู้เขียนก็พานั่งสมาธิและแสดงธรรมให้เขาฟัง แต่พวกเขาได้พูดว่า ขอให้ท่านช่วยส่งพวกผีให้พ้นหมู่บ้านของพวกผมด้วยเถิด ผู้เขียนเห็นเป็นโอกาสดี เลยบอกว่าต้องมาฟังเทศน์ทำสมาธิภาวนารักษาศีล พวกเขาเหล่านั้นก็ทำตามทุกอย่าง ซึ่งขณะนั้นจะให้เขาทำอะไรก็ยอม เป็นการให้พวกเขาได้รับธรรมจากผู้เขียนมากทีเดียว จึงนับว่าได้ประโยชน์ไม่น้อยเลย และในเวลาอันรวดเร็วด้วย เมื่อได้ทำพิธีต่าง ๆ เป็นการไล่ผีที่พวกเขาเข้าใจผิดจนรู้เหตุผลในเรื่องนี้ดีแล้ว อยู่กับเขาประมาณอาทิตย์เศษ เรื่องความวุ่นวายของ“ ผีปอบ” ได้สงบลง เป็นความยินดีปรีดาของชาวบ้าน

    หายความหวาดผวาแล้ว ผู้เขียนก็ลาพวกเขากลับมาที่บ้านนามน เพื่อพบกับพระอาจารย์มั่น ฯ เข้าประจำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากตามเดิม เมื่อพบพระอาจารย์ในวันนั้น ท่านได้ถามว่า

    “วิริยังค์ได้แก้มิจฉาทิฏฐิสำเร็จหรือไม่”

    ผู้เขียนตอบอย่างภาคภูมิว่า “ได้แก้สำเร็จแล้วทุกประการ”

    ท่านได้พูดเสริมต่อไปว่า

    “นี้แหละคือประโยชน์และพระภิกษุสามเณรผู้บวชมาแล้วในพระพุทธศาสนา นอกจากจะทำประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็ควรจะได้ทำประโยชน์ผู้อื่นต่อไป จึงจะเป็นการเชิดชูไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา บางคนเขาว่าพวกเราอยู่ในป่า บ้านนอกบ้านนา เอาแต่ความสุขส่วนตัว ได้รู้ธรรมเห็นธรรมแล้ว ก็หลบตัวซ่อนอยู่ในป่าเขา ไม่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ความจริงแล้วพวกเราก็ทำประโยชน์ส่วนรวมกันแล้วทุกองค์ เพราะชาวบ้านนอกบ้านนาที่ยังต้องการผู้เข้าใจในธรรมทั้งส่วนหยาบและละเอียดมาสอนเขา หากพวกเขาไม่มาแนะนำในทางที่ถูกอันเป็นส่วนหยาบและละเอียดแล้ว ก็จะหลงเข้าใจผิดกันอีกมาก นี้แหละคือการทำประโยชน์แก่คนบ้านนอกบ้านนา จะคอยให้เจ้าฟ้าเจ้าคุณผู้ทรงความรู้ในกรุงในถิ่นที่เจริญมาสอนนั้นเห็นจะไม่ไหว เพียงแต่ท่านเดินทางด้วยเท้าสักหนึ่งกิโลสองกิโล ก็ไม่เอาแล้ว พวกเราจึงได้ชื่อว่า ได้มีส่วนช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ที่ใครอื่นเขามองไม่ใคร่เห็น”

    ผู้เขียนนั่งฟังท่านอธิบายก็ซาบซึ้งใจเป็นหนักหนาและเข้าใจอะไร ๆ หลายอย่าง เกี่ยวกับส่วนตัวและส่วนรวม

    ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ โดยพระอาจารย์วิริยังค์
     
  10. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    จะบอกว่าตนเข้าใจในธรรมแล้วเช่นนั้นหรือ จึงออกสั่งสอน เหตุใดไม่จาริกไปในส่วนที่ร้อนเล่า(ปัตตานี) ก็เพราะที่นี้(เว็บพลังจิต)เป็นที่ที่เย็นแลมีผู้เข้าใจในธรรมอยู่มากโข

    สามพรรษาของอาจารย์ท่านนั้น แสดงให้เห็นว่าท่านได้เข้าใจในธรรม นานกว่าสองพรรษาแล้ว อาจารย์มั่นจึงส่งอาจารย์ท่านนั้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2013
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทีนี้อุบาสกอุบาสิกาก็ดีท่านก็สอนให้ถึงพระไตรสรณาคมน์ คือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กราบที่ไหว้ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะได้ จึงว่า นัตถิเม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นยังงั้นหรอก ถ้าเราไม่ถือยังงั้นแล้ว พระไตรสรณาคมน์ของเราก็เศร้าหมอง เจ้าของเป็นบาป ขาดจากพระพุทธศาสนา เหตุนั้น ให้พึงรู้ พึงเข้าใจต่อไป ผู้ปฏิบัติศาสนาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ท่านไม่ต้องหามื้อหาวันหาฤกษ์ยาม ทำการทำงานต้องหามื้อหาวัน ไม่ใช่วันนั้นไม่ดี วันนี้ไม่ดี วันมันไม่ได้ทำอะไรแก่คน วันดีทำไมคนตายล่ะ วันไม่ดีทำไมคนยังเกิด ในเจ็ดวัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสฯ ศุกร์ เสาร์ นี้ ทำไมมันมีเท่านี้ คือสมมุติว่าเราจะทำการงานสิ่งใด พร้อมเพรียงกันหรือยัง เขาหาวันพร้อมเพรียงกัน จะเอาวันไหนเวลาไหนนัดกันพร้อมเพรียงกัน ถ้าพร้อมกันแล้วละวันนั้นนั่นหละดี ให้หาวันอย่างนี้ ถ้าวันใดยังไม่ได้พร้อมกันอย่าเพ่อทำ จะแต่งงานแต่งการกัน หรือจะปลูกบ้านปลูกช่องตึกร้านอาคารก็ตามให้รู้ไว้ คือวันไหนมันพร้อมกันแล้วเรียบร้อยแล้ว ทำได้ ขึ้นได้ ถ้ายังไม่พร้อมแล้วมันขัดข้อง เรียกว่าวันไม่ดี เขาหาวันอย่างนี้หรอก ให้เข้าใจซิ อธิบายย่อ ๆ ให้ฟัง นี่หละ ให้ละเว้นเหล่านี้ แล้วดูว่าดวงดี ดวงไม่ดี คนโกหกหลอกลวงกันให้วุ่นวายเดือดร้อน ในพระพุทธศาสนาดวงดีก็ดูซี่ มันไม่ได้มาจากฟ้าอากาศ ให้ดูดวงดีแล้วเดี๋ยวนี้ ดวงดีมันเป็นยังไง ดวงดีรวมมาสั้น ๆ คือใจเราดี มีความสุขความสบาย เมื่อใจเราสุข ใจเราสบายแล้ว ทำอะไร ๆ มันก็สบาย การงานมันก็สบาย ประเทศชาติมันก็สบาย นี่เรียกว่าดวงดี ดวงไม่ดีคือใจเราไม่ดี ใจเราทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน นี่หละดวงไม่ดี ทำอะไรมันก็ไม่ดี หาอะไรมันก็ไม่ดี ดูเอาตรงนี้ จะให้ใครดูให้ ดูเอาซิทุกคนที่มานั่งอยู่นี่ ทั้งพระทั้งเณร ทั้งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ดวงดีตรงนี้ อย่าไปพิจารณาอื่น แล้วอย่าเข้ารีตพวกเดียรถีย์นิครนถ์ คนนอกศาสนาเหล่านั้น เข้าไปถืออย่างนั้นแล้วขาดจากพุทธศาสนา นี่หละผู้จะปฏิบัติศาสนาต้องถือยังงี้ แล้วอุบาสกอุบาสิกาให้รักษาศีลห้า อย่าไปฆ่าควายวัว อย่าเอาแต่ว่าศีลรับกับพระ ศีลอยู่กับพระ พระว่าศีลอยู่กับพระพุทธเจ้า แน่ะ ศาสนาก็อยู่กับพระพุทธเจ้า ไม่นึกว่าเป็นของของเรา เมื่อเราไม่นึกว่าเป็นของของเราแล้ว เราก็ท้อถอยน้อยใจของเรา ถ้าว่าของเรานี้เป็นของเราแล้ว เราก็เอาใจใส่ จะไปรับกับใครเล่าศีล

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
     
  12. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    ก็ไม่ได้ต่อต้านอะไรหรอกนะครับ หยอกบ้างนิดหน่อยไม่ถือกันก็ดีแล้วครับ
    ต้องขอโทษด้วย หนักนิดเบาหน่อยไม่ว่ากันก็ขอบคุณมากเลยครับ

    คืออย่างนี้ครับผมเดาเจตนาคุณอุรุเวลาออกประมาณว่า ต้องการให้ชาวพุทธเป็นพุทธแท้ ไม่อยากให้ถูกหลอกลวงจากพวกมิจฉาชีพ หรือจากพวกที่พึ่งเจ้าเข้าทรงจากเทพหรือผี อยากให้มีเขาเหล่านั้นนับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่แท้หนึ่งเดียวมั่นคง ก็ขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วย

    แต่ขอเสนอแนวคิดเพื่อแก้ตัวให้ชาวพุทธที่ยังนับถือสิ่งที่นอกเหนือจากพระรัตนตรัยบ้างนิดหน่อย เพื่อว่าจะได้มองกันอย่างเป็นมิตรขึ้นมาบ้าง และให้เข้าใจเราๆท่านๆที่ถูกพาดพิงเหล่านั้นบ้าง

    สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นคงในพระรัตนตรัยเพียงหนึ่งเดียว คือยังมีพิธีกรรมและการประกอบด้วยไสยเวททางพราหมณ์บ้างก็ด้วยเหตุผลที่ว่า เข้าถึงง่ายและเห็นผลไว คล้ายกับว่าใช้ยาถูกโรค สำหรับคนเราที่ยังไม่ศึกษาพระธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งอย่างคุณและอีกหลายท่าน เรียกว่าชาวบ้านอย่างผมและอีกหลายท่านยังต้องการความมั่นคงและแสวงหาทรัพย์เพื่อสืบทอดและดำรงเผ่าพันธุ์กันอยู่ และบางท่านยังมีภาระกิจที่จะต้องเป็นอนาคตพุทธเจ้า (นิตยโพธิสัตว์)อีกก็ยังมากท่านด้วย

    สำหรับคำสอนแบบที่คุณนำมาเสนอนี้ ใช้สำหรับผู้ต้องการจะจบวัฏสงสารเสียแต่ชาตินี้หรือในอีกไม่เกิน7ชาติ

    ดังนั้นยังไงก็ขอให้เราสองสายไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน และในสิ่งที่ท่านยังไม่สัมผัสในส่วนที่เราเป็น ก็ขอให้อย่าพาดพิงประนาฌเราก็เพียงพอแล้วครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ธรรม ก็คือความจริง ได้แก่กฏธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

    ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามธรรม คือเป็นไปตามเหตุปัจจัยหรือตามกฏธรรมชาติอันนี้ มนุษย์ต้องการผลอะไรก็ต้องทำเหตุที่จะให้เกิดผลนั้น ไม่ต้องไปมัวอ้อนวอนรอคอยการดลบันดาลของเทพเจ้า เมื่อทำเหตุตรงที่จะนำมาซึ่งผล ผลก็เกิดขึ้นมาตามที่เราต้องการ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือการทำเหตุกระกระทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการด้วยเรี่ยวแรงของเรา เรียกว่า "กรรม" เพราะฉะนั้น "ธรรม" หรือหลักความเป็นจริงในกฏธรรมชาติ จึงเรียกร้องให้เราทำกรรม คือ ธรรมบอกเราว่า เธอต้องการผลใด เธอต้องทำเหตุของผลนั้น แต่กรรมหรือการกระทำนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้ความเพียร ไม่เหมือนกับการไปอ้อนวอนเทพเจ้า ถ้าเราไปอ้อนวอนเทพเจ้า พอเราอ้อนวอนท่านเสร็จ เราก็นอนหวังรอคอยผลแล้วแต่ท่านจะบันดาลให้ แต่ถ้าเราทำเหตุให้เกิดผล เราก็ใช้ความเพียรพยายามตั้งกำหนดทำเอาด้วยตัวเราเอง

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสหลักกรรม คู่กับ หลักความเพียร จะเห็นได้ว่า ในพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระองค์เองว่าเป็น กรรมวาที วิริยวาที ด้วยเรียกคู่กัน กรรมวาที ผู้ถือหลักกรรม วิริยวาที ผู้ถือหลักความเพียร และเรียกชื่อพระพุทธศาสนาว่า กรรมวาทะ วิริยวาทะ แปลว่า หลักการแห่งกรรม หรือหลักการกระทำ และหลักแห่งความเพียรพยายาม มนุษย์จะต้องทำกรรม และทำด้วยความเพียรพยายาม อันนี้คือหลักการพระพุทธศาสนา หมายความว่า ทำกรรมที่ดี เพื่อให้เกิดผลที่ดี ด้วยความเพียรพยายามของเราเอง แทนที่จะไปเซ่นสรวงอ้อนวอน แล้วรอคอยผลที่เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า ก็หันมาทำกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผล ด้วยความเพียรพยายามของตน อย่างไรก็ตาม มนุษย์แม้ทำกรรมด้วยความเพียรพยายามแต่ถ้าทำไม่ตรงเหตุปัจจัย ทั้งๆ ที่ทำเสียเหน็ดเหนื่อยยากลำบากด้วยความเพียรเต็มที่ แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่ต้องการ เพราะเหตุไม่ตรงผล เมื่อการกระทำนั้นไม่ตรงกับผลที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นมันก็ไม่สำเร็จ เรียกว่า กรรมนั้นไม่ตรงตามธรรม คือกรรมนั้นไม่เป็นเหตุปัจจัยของผลดีที่ต้องการจะให้เกิดขึ้น เมื่อเป็นอย่างนั้น จะทำอย่างไรให้เกิดผลสำเร็จก็ต้องมีปัญญา รู้เหตุปัจจัย แล้วทำกรรมให้ตรงเหตุปัจจัย คือ ต้องรู้ธรรม ได้แก่รู้ตามความเป็นจริงตามเหตุปัจจัยนั้น เมื่อรู้ตัวเหตุปัจจัยในธรรมชาติตามหลักธรรม กรรมที่ทำก็สอดคล้องกับธรรม คือถูกต้องตามกฏธรรมชาติ เมื่อกรรมสอดคล้องกับธรรม ก็เกิดผลที่ต้องการขึ้นมา ทั้งหมดนี้ก็หมายความว่า ต้องมีปัญญารุ้เหตุปัจจัย เพื่อให้ทำกรรมได้ถูกต้องตามธรรม พูดสั้นๆ ว่า "รู้ธรรม" นั่นเอง ทำอย่างไรจะมีปัญญา รู้ธรรม รู้เหตุปัจจัยขึ้นได้ ก็ต้องมี "สิกขา" หรือ "ศึกษา" คือต้องเรียนรู้ ต้องฝึกฝนต้องพัฒนาตนแล้วก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้น เพื่อให้กรรมคือการกระทำเกิดผลตามธรรม จึงเรียกร้องว่า เราจะต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน ที่เรียกว่าสิกขา เพราะฉะนั้น หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาก็คือ สิกขา โดยนัยนี้ ชีวิตมนุษย์จึงต้องเป็นชีวิตแห่งการศึกษา คือต้องฝึกฝนพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา มนุษย์เรียนรู้ขึ้นมา ก็จะทำกรรมที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น กรรมนั้นก็จะเป็นไปเพื่อผลดีที่ต้องการ ชีวิตก็จะประสบสุขความดีงามยิ่งขึ้นไป รวมความว่า เมื่อสิกขา/ศึกษา ก็เกิดปัญญาจึงรู้ธรรม แล้วก็ทำกรรมได้ตรงเหตุปัจจัย จึงได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป

    เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าดึงคนจากเทพมาสู่ธรรม แล้วหลักธรรมก็เรียกร้องหลักกรรรม หลักกรรมก็เรียกร้องให้มีสิกขาคือการศึกษา สิกขาก็เอาปัญญามาโยงกรรม ให้กรรมถึงและถูกธรรม สิกขา/ศึกษา เรียกเต็มว่า "ไตรสิกขา" เป็นระบบการปฏิบัติทั้งหมดของชาวพุทธ ชาวพุทธนั้นถือว่า ชีวิตของเราอยู่ได้ด้วยการศึกษา และชีวิตที่มีการศึกษาก็จะเป็นชีวิตที่ดีงาม เดินถูกทางที่เราเรียกว่า "มรรค"

    เพราะฉะนั้น สิกขาก็สอดคล้องกับมรรค สิกขาก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ย่อลงแล้วเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น ชีวิตดีงามที่เดินตามมรรค ก็คือชีวิตที่มีสิกขาคือการศักษานั่นเอง เราสิกขา คือฝึกชีวิตให้เป็นอยู่ดี เรามีมรรค คือมีชีวิตที่เป็นอยู่ดีหรือดำเนินไปได้ดี ฝึกอย่างไรก็ได้อย่างนั้น พูดตามสำนวนนี้ว่า หัดดำเนินชีวิตให้ดีเป็นสิกขา แล้วก็ดำเนินชีวิตได้ดี (หรือด้วยดี) เป็นมรรค สิกขาก็ทำให้ดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้นๆ เรียกว่าก้าวหน้าไปในมรรค ในที่นี้ต้องการเน้นว่า หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาก็คือ การที่เราต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และจะต้องฝึกฝนพัฒนาตนเพื่อจะทำกรรมให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป แทนที่จะคิดว่าเราจะขอให้ใครช่วย เราจะไปอ้อนวอนเทพเจ้าองค์ไหนให้ทำให้เรา ก็หันมาถามตัวเองนี่แหละว่าเราจะต้องทำอะไร และเราจะต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเราอย่างไร เพื่อให้การกระทำของเราได้ผลดียิ่งขึ้น นี้คือหลักการของพระพุทธศาสนา ที่ถามว่าเราจะต้องทำอะไรก็คือ "หลักกรรม" และที่ถามว่าเราจะต้องแก้ไขปรับปรุงพัฒนาตัวเราอย่างไรก็คือ "หลักสิกขา" นั้นเอง ยิ่งกว่านั้น ในกระบวนการที่เตาจะต้องทำกรรมด้วยความเพียรพยายาม และมีการศึกษาฝึกฝนพัฒนาตนตลอดเวลานี้ ท่านยังย้ำด้วยหลัก "อัปปมาทะ" อีกว่า จะต้องมีความไม่ประมาท "ไม่ประมาท" หมายความว่า ต้องใช้เวลาแต่ละขณะที่ผ่านไปให้ได้ประโยชน์ที่สุด ต้องเร่งรัดพากเพียร จะผัดเพี้ยนไม่ได้ จะทอดทิ้งปล่อยปละละเลยไม่ได้ หลักพระพุทธศาสนาย้ำในเรื่องที่ว่า จะต้องมีความเพียรพยายามตลอดเวลา ถ้าเราปฏิบัติตามหลักสิกขา และมีความไม่ประมาทอยู่เสมอแล้ว เราก็จะเป็นบุคคลที่มีความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ มีการแก้ไขปรับปรุงตัว พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะชีวิตของชาวพุทธ ชาวพุทธทราบดีอยู่แล้วว่า ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่มีการบังคับ ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการบังคับ ไม่มีการบังคับให้เชื่อ หรือให้นับถือ ไม่มีเทพเจ้ามาห้ามมาสั่ง เมื่อไม่มีใครมาบังคับเราให้ทำหรือไม่ให้ทำ ไม่มีใครมาลงโทษหรือให้รางวัล การที่จะทำอะไรให้ถูกต้องดีงาม หรือการที่จะปฏิบัติตามธรรม จึงอยู่ที่ตัวเราเอง จะต้องมีจิตสำนึกในการศึกษา คือการที่ระลึกตระหนักอยู่เสมอว่า เราจะต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน ให้มีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นไป ด้วยความรับผิดชอบต่อธรรม คือกฏธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถ้าขาดจิตสำนึกในสิกขานี้เสียแล้ว ก็หมดพลังก้าว ชาวพุทธก็ร่วงหลุดออกจากธรรม หล่นลงไปสู่เทพ หรือเฉไปเข้าไสย์โดยง่าย คือตกไปจากพระพุทธศาสนานั้นเอง ทีนี้ก็หันมาดูว่า ตามสภาพปัจจุบัน เราได้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเราเป็นชาวพุทธจริง เราก็จะเรียกร้องการกระทำของตัวเอง เราจะไม่ถ่ายโอนภาระไปให้กับสิ่งภายนอก ไม่มัวรอให้สิ่งภายนอกมาสร้างผลที่ต้องการให้ด้วยการอ้อนวอน พระพุทธเจ้าดึงเราขึ้นมาแล้วจากเทพมาสู่ธรรม มาสู่กรรม มาสู่สิกขา มาสู่ความไม่ประมาท อันนี้เป็นหลักการที่ ๑ ที่เสนอให้สำรวจ

    มีฤทธิเดช เป็นได้แค่ผู้วิเศษ หมดกิเลส จึงเป็นพระอรหันต์

    หลักการที่ ๒ คืออะไร ในยุคพุทธกาลนั้น คนเขาเชื่อว่า พระอรหันต์คือผู้วิเศษ ผู้วิเศษคือผู้มีฤทธิ์ มีปาฏิหาริย์ ดลบันดาลทำอะไรต่างๆ ได้แปลกๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ เพราะฉะนั้น เขาจะวัดกันว่า ใครเป็นพระอรหันต์ก็ต้องมีฤทธิ์จำพวกนี้ จะเห็นได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ เสด็จออกประกาศพระศาสนา จะเข้าไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในเมืองราชคฤห์ ก็ทรงพิจารณาว่าจะต้องไปโปรดชฏิล ๓ พี่น้องก่อน เพราะว่าชฏิล ๓ พี่น้องนั้นเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไป ชฏิลที่พบก่อนก็คือ อุรุเวลกัสสปะ ซึ่งถือเอาอิทธิปาฏิหาริย์เป็นเครื่องวัดว่า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ ตอนแรกท่านอุรุเวลกัสสปะจึงคิดว่า พระพุทธเจ้าที่เสด็จมานี่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา เพราะเรามีฤทธิ์ จนกระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีฤทธิ์ มีอิทธิปาฏิหาริย์เหนือว่าชฏิลเหล่านั้น ชฏิลจึงยอมรับแล้วก็ยอมฟังธรรม ตลอดมายาวนาน เราจะเห็นเหตุการณ์ปรากฏอยู่เสมอว่าคนอินเดียนั้นถือเอาอิทธิปาฏิหาริย์เป็นเกณฑ์ตัดสินความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าประการพระศาสนา พระองค์จึงต้องทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์เพื่อปราบอิทธิปาฏิหาริย์บ่อยๆ

    พระองค์ได้ตรัสหลักการในเรื่องนี้ว่า ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง คือ
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการแสดงฤทธิ์ได้
    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการดักใจ การทายใจ รู้ความคิดของผู้อื่นได้
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือคำสอนที่ให้เกิดปัญญารู้เห็นความจริง

    แล้วก็ตรัสว่า พระองค์ทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์ ทรงรังเกียจอาเทศนาปาฏิหาริย์ ทรงสรรเสริญแต่อนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น นี่คือหลัการของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า แม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์ ก็จะทรงใช้ฤทธิ์เมื่อทรงปราบฤทธิ์ เรียกง่ายๆ ว่าใช้ฤทธิ์ปราฤทธิ์ เมื่อใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์เสร็จแล้ว พระองค์ก็ไม่ใช้ฤทธิ์อีกเลย ขยายความว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ฤทธิ์เพื่อให้เขายอมฟังธรรม เมื่อเขายอมแล้ว ต่อจากนั้นพระองค์ก็จะทรงแสดงแต่ธรรมต่อๆ ไป เช่นทรงใช้ฤทธิ์ปราบชฏิล ๓ พี่น้อง พอปราบเสร็จแล้ว เขายอมฟัง พระองค์ก็เลิกใช้ฤทธิ์ ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงธรรม สอนให้ชฏิลเกิดปัญญารู้ความจริง จนบรรลุธรรมสูงสุดด้วยตนเอง ขอให้สังเกตว่า พระพุทธเจ้าทรงทั้งที่ทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากเก่งกว่าผู้วิเศษทั้งหลาย ทรงปราบชฏิลและเทพพรหมยักษ์ที่ฤทธิ์กล้าได้หมด แต่พระองค์ไม่เคยยอมให้ชาวพุทธคนไหนไปหวังพึ่งฤทธิ์ของพระองค์ ไม่ทรงดลบันดาลสิ่งปรารถนาให้แก่สาวกคนใด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น จะต้องมีเหตุผลในเรื่องนี้ เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์ และทรงรังเกียจอาเทศนาปาฏิหาริย์ คิดดูง่ายๆ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ คนทั้งหลายก็จะชื่นชมความเก่งกล้าสามารถของพระองค์ ซึ่งเขาเองทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อเขาทำไม่ได้ เขาก็ต้องพึ่งพาอาศัยขึ้นต่อพระองค์เรื่อยไป เมื่อเขาคอยรอพึ่งพาอาศัย เขาก็ปล่อยเวลาเสียไป ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ และโดยเฉพาะที่สำคัญคือ ไม่ได้พัฒนาตนเอง เวลาผ่านไป เคยเป็นอย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น นอกจากนั้นเขาไม่สามารถรู้ว่าฤทธิ์นั้นเกิดได้อย่างไร ท่านผู้นั้นทำฤทธิ์ได้อย่างไร เขาก็อยู่กับความหลงเรื่อยไป และจึงเป็นทางของการหลอกลวง คนอื่นที่เป็นนักเล่นกลก็ใช้ช่องตรงนี้ ควรสังเกตด้วยว่า คนจำนวนมากที่เข้ามาทางนี้ จะมีสติฉุกใจฉุกคิดน้อยลงๆ เมื่อเพลินหมกมุ่นไปก็ยิ่งไม่ใช้ปัญญา เห็นแปลกๆ แผลงๆ ดูน่าอัศจรรย์ ก็เชื่อ ก็นับถือ ก็ตื่นกันไป พร้อมกันนั้นก็ยิ่งโน้มไปในทางที่จะสร้างนิสัยเห็นแก่ง่าย ไม่ใช้ปัญญาแก้ปัญหา ขาดความคิดวิจัย ถูกหลอกลวง และลุ่มหลงได้ง่าย เมื่อเป็นกันอย่างนี้ ทั้งบุคคลและสังคมก็ยิ่งหมกจมไม่พัฒนา พระพุทธเจ้าสอนคนให้พึ่งตนได้ ให้เขาพัฒนาตนเองจนเป็นอิสระไม่ต้องขึ้นต่อพระองค์ คนที่ชอบอิทธิปาฏิหาริย์จะต้องมาขึ้นกับผู้แสดงฤทธิ์เรื่อยไป ไม่รู้จักพึ่งตนเอง ไม่พัฒนา ไม่เป็นอิสระ แต่ถ้าใช้อนสาสนีปาฏิหาริย์ ก็ทำให้เขาเกิดปัญญารู้เห็นความจริงด้วยตนเอง และทำสิ่งนั้นๆ ได้ด้วยตัวเขาเอง แล้วเขาก็เป็นอิสระ เขาพึ่งตนเองได้ แม้แต่ถ้าใครชอบอิทธิปาฏิหาริย์ พระพุทธศาสนาก็สอนให้เขาทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นให้ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ไปหวังพึ่งอิทธิปาฏิหาริย์ของคนอื่น อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงต้องการให้คนมีปัญญาเห็นความจริง อิทธิปาฏิหาริย์ไม่เป็นเครื่องที่จะวัดความเป็นพระอรหันต์ คนที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ เรียกได้แค่ว่าเป็น "ผู้วิเศษ" ความเป็นผู้วิเศษไม่ทำให้เกิดปัญญารู้ธรรม ไม่ทำให้หมดกิเลสหรือหมดความทุกข์ได้ หันมาดูสภาพในเมืองไทยปัจจุบันนี้ เรากำลังจะเอาเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ หรือความเป็นผู้วิเศษมาเป็นเครื่องวัดความเป็นพระอริยะไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นสภาพที่จะต้องตรวจสอบทบทวนกันตามหลักการที่ ๒

    จะทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์ หรือจะคอยขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์
    หลักการที่ ๓ คือ หลักคติพระโพธิสัตว์ ต้องตรวจสอบให้ชัดว่า คติพระโพธิสัตว์ แต่ก่อนนี้ในพระพุทธศาสนาที่แท้นับถืออย่างไร และปัจจุบันนับถืออย่างไร เรายังนับถือถูกต้องหรือไม่ คติพระโพธิ์สัตว์เกิดขึ้นโดยถือว่า พระพุทธเจ้านั้น จะสำเร็จโพธิญาณตรัสรู้ได้ ก็เพราะทรงบำเพ็ญเพียร ทำความดีอย่างยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า "บารมี" ซึ่งยากที่ใครจะทำอย่างพระองค์ได้ บารมี คือคุณธรรมความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ยิ่งยวดหมายความว่าเหนือสามัญวิสัยของคนธรรมดา หมายความว่า จะบำเพ็ญคุณความดีข้อไหน ก็ทำอย่างเต็มที่จนสุดวิสัย พระพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามบำเพ็ญบารมีมาด้วยความยากลำบาก เราจึงมีเรื่องของพระโพธิสัตว์ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้น ทรงเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน โดยทรงบำเพ็ญเพียรทำความดีด้วยความเสียสละอย่างยิ่ง ถ้าตกลงว่าจะทำความดีข้อไหนแล้ว ก็จะทำด้วยความเข้มแข้งเต็มที่ ไม่มีการย่อท้อ ไม่มีการถดถอย แม้จะต้องสละชีวิตของตนก็ยอมได้ พระโพธิ์สัตว์เป็นคติสำหรับสนับสนุนการระลึกถึงพุทธคุณ การระลึกถึงพระพุทธคุณนั้น เป็นเครื่องเตือนใจเราให้ระลึกถึงความเป็นมนุษย์ และศํกยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเราว่า เราก็เป็นมนุษย์อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ แต่พระองค์มีความเพียรพยายามบำเพ็ญบารมีเพื่อพัฒนาพระองค์เอง จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เราก็จะต้องพัฒนาตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองอย่างนั้นด้วย นี้เป็นการเตือนให้เราทั้งมีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาได้ ทั้งสำนึกในหน้าที่ของตนที่จะต้องพัฒนายิ่งขึ้นไปและทั้งทำให้เกิดกำลังใจในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองด้วย พร้อมกันนั้นก็จะได้นำเอาวิธีปฏิบัติพัฒนาตนเองด้วยพร้อมกันนั้นก็จะได้นำเอาวิธีปฏิบัติพัฒนาของพระองค์ที่ได้ทรงสอนไว้มาใช้ประโยชน์ ถ้าเราทำความดีไปแล้ว เกิดความรู้สึกท้อแท้ว่า เราทำความดีถึงอย่างนี้ ก็ยังไม่ได้รับผลที่ต้องการ เราก็หันไปดูพระจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ว่า พร่ะองค์ทำความเพียรลำบากยากเย็นกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากว่าเรา พระองค์ไม่เคยท้อถอยพระองค์ถูกกลั่นแกล้งมากมาย พระองค์ก็ยังทำต่อไปในความดี เมื่อเรานึกถึงคติพระโพธิสัตว์ ระลึกถึงจริยาวัตรของพระองค์ เราก็เกิดกำลังใจฮึดสู้ต่อไป ทำความเพียรต่อไป ไม่ถอยเพราะฉะนั้น คติโพธิ์สัตว์จึงหนุนการระลึกถึงพระพุทธคุณ ซึ่งทำให้เรามั่นใจในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่ต้องพัฒนา ระลึกถึงหน้าที่ของเราที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตน และเกิดกำลังใจในการฝึกฝนพัฒนาตนอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ต่อมาปรากฏว่า คติพระโพธิสัตว์ได้กลายไปเพี้ยนไป คนในยุคหลังต่อมาคงจะเห็นว่า เออ! พระโพธิส้ตว์นี้ท่านเสียสละมาก ท่านตั้งใจทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยมหากรุณา ท่านมาคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ในเมื่อขณะนี้มีพระโพธิสัตว์คอยช่วยเหลืออยู่แล้ว เราก็ไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ก็แล้วกัน ถึงตอนนี้ คติพระโพธิ์สัตว์ก็เปลี่ยนไป แทนที่จะนึกถึงพระโพธิสัตว์เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำความดีให้เกิดกำลังใจ และต้องทำความดีด้วยความเสียสละจริงจังอย่างท่าน ก็กลายเป็นลัทธิหวังพึ่งว่า คราวนี้มีพระโพธิสัตว์ไว้คอยช่วยเหลือ เราไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ดีกว่า จากคติที่เพี้ยนไปอย่างนี้ ก็มีพระโพธิสัตว์อย่างเจ้าแกวนอิมขึ้นมา แล้วคนก็ไปขอความช่วยเหลือกัน แทนที่จะบำเพ็ญความดีอย่างพระโพธิสัตว์ กลับกลายเป็นขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ กลายเป็นคติคล้ายกับการนับถือเทพเจ้า แล้วไปขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้า โดยอ้อนวอนให้ท่านดลบันดาลสิ่งที่ตนต้องการให้ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา สั่งสอนประชาชนให้พ้นออกมาจากการบวงสรวงอ้อนวอนเทพเจ้า อย่างที่ว่าดึงจากเทพสู่ธรรม ไปๆ มาๆ ชาวพุทธกลับไปนับถือศาสนาแห่งการอ้อนวอนตามเดิม วันนี้คิดว่า หลักกาทั้ง ๓ นี้ น่าจะเป็นเครื่องสำรวจความเชื่อถือและข้อปฏิบัติของชาวพุทธในปัจจุบันว่า ยังคงอยู่ในพระพุทธศาสนาหรือไม่

    http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhism_situation_retort_black_magic_trend.pdf
    สถานการณ์พระพุทธศาสนา: ทวนกระแสไสยศาสตร์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)
     
  14. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    เปรียบเทียบง่ายๆให้ฟังนะ ปู่่ทะเลาะกับพ่อเพราะพ่อทำผิด ปู่่ด่าพ่อว่า ไอ้ชั่ว ผิดหรือเปล่า แต่พอเราได้ยินปู่่ด่าพ่อแบบนั้น เราก็ ด่าตามบ้าง ว่าไอ้ชั่ว จริงอยู่ว่าพ่อทำผิด แต่เราสมควรทำแบบนั้นจริงๆหรือ จะงงกันไหมเนี่ย กับคำว่าสมควรหรือไม่สมควร
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    (คำถามทางอินเตอร์เน็ตครับผม) ถามว่าไง ลองว่ามาซิ

    เรื่องคนในครอบครัว พ่อแม่ ลูก นะครับ เขาบอกว่า นมัสการหลวงตาบัว หนูมีเรื่องทุกข์ใจ และมีปัญหาจะกราบเรียนขอความเมตตาหลวงตาชี้ทางสว่างด้วยค่ะ ครอบครัวของหนูเป็นครอบครัวมีฐานะปานกลาง มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน พ่อแม่ประกอบอาชีพค้าขาย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่หนูเป็นเด็กจนเติบโตขึ้น ได้เห็นความทุกข์ใจของแม่ ความรักของแม่ที่มีต่อพ่อ พ่อได้ทำลายจิตใจแม่ตลอด คือพ่อมีภรรยาใหม่ นำทรัพย์สินของแม่ไปปรนเปรอผู้หญิงอื่นกับลูก พ่อเหินห่างครอบครัวไม่ได้มาใกล้ชิดสนิทสนมเหมือนเดิม พวกพี่น้องก็รับรู้การกระทำที่ไม่ดีของพ่อ

    พ่อชอบทำบาป ตกปลา เล่นการพนัน เที่ยวโสเภณี สร้างความทุกข์ใจให้กับแม่ แม่ก็พร่ำสอนลูกว่า อย่าไปว่าพ่อมันเป็นบาป เวลาพ่อทำไม่ถูก แม่สั่งให้ลูกเงียบๆ ไม่ต่อล้อต่อเถียงกับพ่อ ที่บ้านหนูเลี้ยงสุนัข พี่น้องหนูทุกคนรักสุนัข บ่อยครั้งที่พ่อจะทำร้ายความรู้สึกของลูกๆ เช่น นำสุนัขที่ลูกนำมาเลี้ยงไปปล่อยวัดบ้าง ไปปล่อยข้างถนนบ้าง โดยที่ลูก ๆ ไม่รู้ ทุกครั้งที่สุนัขของหนูถูกนำไปปล่อย ก็จะเกิดทะเลาะมีปากเสียงกับพ่อ พ่อบอกว่าไม่อยากทำความสะอาดมันเป็นภาระ นี่เป็นข้ออ้างของพ่อ บางครั้งพ่อก็ทำร้ายสุนัขถึงตาย และมีการวางยาให้สุนัขกิน แล้วมันก็ตายสมใจพ่อ

    ครั้งสุดท้ายที่หนูคิดว่าไม่ไหว คือพ่อนำสุนัขพุดเดิ้ลตัวเล็กๆ ไปปล่อย สุนัขตัวนี้เป็นสุนัขที่คุณปู่ของหนูซึ่งท่านชรามากแล้ว และเป็นเพื่อนเล่นของท่าน พ่อก็นำไปปล่อย หนูคิดว่านับวันพ่อก็ยิ่งทำบาปมากขึ้น หนูอยากจะคุยกับพ่อบอกพ่อว่า เมื่อไรพ่อจะหยุดทำบาปเสียที แล้วเมื่อไรจะเห็นใจในความรู้สึกของคนในครอบครัว เมื่อไรจะรู้สึกเมตตาต่อบุคคลอื่นบ้าง

    หนูก็บอกกับแม่ว่า หนูเหลืออดแล้ว ถ้าไม่คุยไม่พูดไม่บอกกับพ่อ พ่อก็ไม่มีวันได้รับรู้ แม่ก็บอกกับหนูว่า ถึงพูดกับพ่อก็ไม่รู้สึก แม่บอกว่าอย่าไปต่อความยาวสาวความยืด หนูเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกไม่ควร และเกิดบันดาลโทสะ ก็บอกพ่อว่า พ่อคิดโง่ๆ ทำโง่ๆ แม่ก็บอกว่า หนูไม่ควรจะว่าพ่อเพราะว่ามันเป็นบาป หนูเป็นคนที่ละอายต่อบาป เข้าใจว่าบาปเป็นอะไร แต่หนูก็ย้อนกลับถามแม่ว่า หนูเข้าใจคำว่ากตัญญู และหนูก็มีให้เต็มร้อย แต่ความผิดความถูกความชอบธรรมนั้น เราว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ใครถูกก็ต้องสนับสนุน แต่แม่บอกว่า ไปว่าพ่อนั้นมันเป็นบาป หนูก็อยากกราบเรียนถามหลวงตาว่า สิ่งที่หนูต่อว่าพ่อของหนูที่พ่อทำผิด เป็นบาปต่อบุพการีหรือไม่ ขอหลวงตาเมตตาชี้ทางสว่างให้แก่หนูในเรื่องนี้ด้วยเทอญ กราบขอบพระคุณ

    หลวงตา เรื่องที่กล่าวมานี้ แม่ก็ดี ลูก ๆ ก็ดี เป็นแม่ตัวอย่างของลูกทั้งหลาย ลูกๆ ทั้งหลายก็เป็นตัวอย่างของลูกทั่วๆ ไป ควรจะยึดเป็นคติสอนตนเองให้ประพฤติเหมือนแม่กับลูกที่มาเล่าอยู่เวลานี้ทั่วหน้ากัน จะเป็นความดีมาก ส่วนพ่อนั้นเรียกว่าเลวเป็นลำดับลำดา อย่าเอามาเป็นตัวอย่าง ที่เลว พ่อคนนี้ถ้าเป็นพ่อหมาหรือก็น่ากลัวว่ามันจะไม่รับเป็นพ่อมัน เพราะมันเลวกว่าหมา ให้พากันระมัดระวัง พ่อประเภทที่กล่าวมาเหล่านี้ ไม่ใช่พ่อของคนดีทั่วๆ ไป ขอให้พี่น้องทั้งหลายทราบทุกคน ที่เด็กมาพูดเหล่านี้กระจายทั่วโลก ควรจะได้เป็นคติตัวอย่าง โดยนำเอาเรื่องของแม่และเรื่องของลูกนี้มาเป็นคติเครื่องเตือนใจ

    ส่วนเรื่องของพ่อเป็นพ่อที่เลว อย่านำมาเป็นคติจะเป็นคนเลวกันทั่วโลกไปหมด นี่เราพูดเฉพาะเรื่องแม่ดี ลูก ๆ ดี พ่อเลว ทีนี้เมื่อย้อนแล้วพ่อดี แม่ไม่ดี ลูก ๆ ไม่ดี ลูกเลวก็เป็นความเสียหายเช่นเดียวกัน จึงอย่านำมาใช้ให้เป็นพ่อดี เป็นคติตัวอย่าง พ่อดี ลูก ๆ ดี เป็นคติตัวอย่าง แล้วทั่วโลกนี้มีพ่อมีแม่มีลูกทั่วหน้ากัน ซึ่งใครก็มีโอกาสที่จะทำผิดหรือทำถูกได้เต็มตัวเช่นเดียวกัน ส่วนมากมักจะทำผิด เพราะสิ่งที่ผิดนี้มีกำลังมากกว่าสิ่งที่ถูกอยู่ภายในใจดวงเดียวของเรา จึงขอให้พากันพินิจพิจารณาให้ดี

    เรื่องของเด็กกับแม่นี้เป็นคติอันดีงาม เรื่องของพ่อนี้เป็นผู้ที่เลวอย่านำมาใช้ ทุกคนผู้ชายเราให้เห็นใจ อยู่ร่วมกันในครอบครัว อยู่กับเมียให้เห็นใจเมีย เมียมีหัวใจ ผัวมีหัวใจ ลูก ๆ ทั้งหลายมีหัวใจ แม้ที่สุดสัตว์เลี้ยงในบ้านเขาก็มีหัวใจ เอาไปปล่อยไปทิ้งไปขว้าง หรือไปฆ่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งทำลายจิตใจและร่างกายของสัตว์นั้นไม่เป็นสิ่งที่ควรอย่างยิ่ง ให้นำธรรมอันนี้ไปปฏิบัติทั่วโลก สมกับนามว่าเราเป็นชาวพุทธนะ นี่เป็นข้อหนึ่ง แล้วมีอะไรที่ยังบกพร่อง

    (ลูกเขาถามว่าเขาทนไม่ไหว ที่พ่อเขาทำบาป เขาถามว่าที่เขาต่อว่าพ่ออย่างนี้เป็นบาปไหมครับ) ต่อว่าพ่ออย่างที่ต่อว่าในทางที่ถูกอย่างนี้ไม่เป็นบาป พระพุทธเจ้าก็เคยต่อว่าสัตว์มามากแล้ว เป็นแต่เพียงว่าสัตว์มันดื้อด้าน มันไม่ยอมฟังคำพ่อใหญ่คือพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ให้เราฟังคำพ่อของเราคือพระพุทธเจ้าทุกคนๆ นะ ต่อไปว่าไป (ไม่มีครับ มีข้อเดียวนี่ครับเขาข้องใจอยู่ ) ว่าเขาจะเป็นบาปไหมว่างั้น ไม่เป็นบาป ควรว่าต้องว่าซิ พ่อกับลูก แม่กับลูก มีความรับผิดชอบกันอยู่เต็มตัวด้วยกัน ใครผิดใครถูกต้องแนะนำ ต้องดุต้องว่ากันเป็นธรรมดา คนเราถ้าว่าถ้าสั่งสอนกันไม่ได้ โลกนี้เรียกว่าไม่มีธรรมเลย ถ้าเป็นสัตว์ก็เป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครต่อว่า ไม่มีใครรับผิดชอบ จึงอย่าให้เป็นดังที่ว่านี้

    ให้แนะนำตักเตือนกันได้ ไม่ว่าแต่ในครอบครัวเหย้าเรือนของเรา เพื่อนฝูง ญาติมิตร คนร่วมงาน รวมแล้วทั่วโลก เห็นหน้ากันแล้วใครผิดใครถูกให้แนะนำบอกกล่าวกันได้ เพราะความดิบดีทั้งหลายนี้เป็นธรรมทั่วโลก โลกเราถ้าต่างคนต่างคอยฟังเสียงถูกต้องดีงามคือเสียงอรรถเสียงธรรมต่อกันอยู่แล้ว จะมีความสนิทสนมกันทั่วประเทศ เช่นอย่างประเทศไทยสนิทกันทั่วประเทศ ในวงงานต่าง ๆ ก็มีความสนิทตายใจกันทั่ววงงาน เข้ามาครอบครัวเหย้าเรือนก็สนิทสนมตายใจกันด้วยทั้งครอบครัว เพราะต่างคนต่างฟังเสียงเหตุเสียงผล เสียงอรรถเสียงธรรม เพื่อการแก้ไขในสิ่งไม่ดี และปฏิบัติตัวให้ดีต่อกัน

    มีเท่านั้นหรือถามมาอีก (เขาว่าปรกติปัจจุบันนี้ผู้ใหญ่จะชอบเอ็ดเด็ก เวลาเด็กจะต่อว่าผู้ใหญ่ก็จะอ้างว่าเป็นพ่อเป็นแม่ เด็กมาว่าพ่อแม่ไม่ถูก เป็นบาปไม่สมควรครับผม) พ่อเช่นนี้เรียกว่าพ่ออันธพาล แม่เช่นนี้ก็ว่าแม่อันธพาล เข้าใจเหรอ ถ้าลูกคอยจะต่อว่า จะเถียงพ่อเถียงแม่ โดยความประพฤติของตัวที่เลวนี้ไม่ยอมแก้ไข นี่ก็เรียกว่าลูกอันธพาล ถ้าตรงกันข้ามดีแล้ว พ่อก็เป็นคนดี แม่เป็นคนดี ลูกเป็นคนดี ไปสังคมกับใคร ๆ ก็กลายเป็นคนดีด้วยกัน เอ้า ถามมา ถ้าเตรียมจะตอบแล้วถามมาก็ตอบเลยแหละ (อย่างนี้ให้ยึดหลักธรรมะเป็นหลักนะฮะ ถ้าทำถูกต้องตามหลักธรรมะ จะเป็นลูกเป็นผู้น้อยก็ต่อว่าผู้ใหญ่ที่ไม่มีธรรมได้)

    ได้ เพราะธรรมใหญ่กว่าอยู่แล้ว อยู่กับเด็ก ธรรมก็ใหญ่ เพราะฉะนั้นเด็กนำธรรมมาแนะนำสั่งสอนจึงถูกต้องดีงาม เพราะธรรมใหญ่อยู่แล้ว ไม่มีอะไรใหญ่เกินธรรมไป ใครจะหยิบขึ้นมาตักเตือนสั่งสอนซึ่งกันและกันได้ทั้งนั้น เอ้า ถามมา (ให้หลวงตาอธิบายให้ลึกซึ้งไปอีกครับ) แล้วแน่ใจหรือยังว่าที่ถามนี่ลึกซึ้งขนาดไหน ถามมานี่ เอะอะจะให้ผู้ตอบตอบลึกซึ้งเลย เราตอบไม่ได้ เราต้องคอยฟังเสียงคำถามมาก่อน ว่าผู้ถามถามอะไรและลึกซึ้งอย่างไรหรือไม่ จะมาบังคับให้เราตอบคนเดียว เอาลึกซึ้งทีเดียวเลยไม่ได้ เดี๋ยวเราจะพาไปขุดส้วมขุดถาน มันลึกซึ้งตรงนั้นนะ เข้าใจ เอ้าว่าไป

    เออ ชี้ทางสว่าง ให้พากันฟังเหตุฟังผล เราเป็นลูกชาวพุทธ พ่อของเรานั้นเรียกว่าเลิศเลอแล้ว ในโลกทั้งสามนี้ไม่มีใครเกินพระพุทธเจ้าแหละ ขอให้พากันยึด เด็กยึด ผู้ใหญ่ยึด น่าเคารพเลื่อมใส เด็กก็น่ารัก ผู้ใหญ่น่าเคารพเลื่อมใส ยึดมาปฏิบัติ ประสับประสานกันด้วยความดีทั้งหลายคือธรรม จะเป็นคนดีทั่วโลก เวลานี้ที่มันเกิดเรื่องเกิดราวตลอดเวลาทั่วโลกดินแดนกันนี้ มีตั้งแต่เรื่องกิเลสออกทำงานอาละวาด ผู้ใหญ่ยิ่งอาละวาดหนัก ไม่มีเหตุมีผลมีกฎมีเกณฑ์ ถืออำนาจป่าเถื่อนมาเป็นผู้สั่งการสั่งงาน ทีนี้โลกก็เลยเดือดร้อนไปหมด ถ้ามีอรรถมีธรรม ผู้ใหญ่เท่าไรยิ่งมีความเมตตาสงสาร เฉลี่ยเผื่อแผ่แก่ผู้น้อยได้เต็มกำลังของตนๆ ผู้น้อยก็มีความเคารพรัก ไปที่ไหนเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ตามหลักของผู้ใหญ่แล้วดี เช่นประเทศชาติต่างๆ นี้ มีประเทศใหญ่ประเทศเล็ก มีทั่วไป นี่ก็เท่ากับเป็นพ่อเป็นพี่เป็นน้องกันมาโดยลำดับ แล้วต่างคนต่างให้อภัยเฉลี่ยเผื่อแผ่กัน เป็นธรรมด้วยกันทั้งนั้น ตอบนี้ลึกไหมนี่ ตอบนี้ลึกหรือไม่ลึก

    เอา ให้ถามมาลึกๆ กว่านี้ลองดูซิ จะตอบว่ายังไงผู้ตอบน่ะ คอยฟังคำถาม ถามมาเสียก่อนซิ (ในจดหมายนี้นะครับ แม่ก็คอยจะห้ามลูกอยู่ตลอดเวลา เวลาลูกจะต่อว่าพ่อ กรณีที่พ่อทำบาปทำผิดนี่นะครับ) แม่นี้ถูกต้องดีมากทีเดียว ถึงขั้นดีมากของขั้นฆราวาสเรา เราฟังเสียงมาโดยลำดับ ไม่มีอะไรแสลงหูเลย เอ้า ว่าไป (ลูกก็อธิบายกับแม่ว่า ลูกเข้าใจคำว่ากตัญญู แล้วเขาก็มีให้เต็มร้อยกับพ่อแม่ แต่ทีนี้ความถูกความชอบธรรมนั้น ควรจะว่ากล่าวกันได้ ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกก็ต้องว่าไปตามถูก แต่แม่ก็ชอบอ้างว่าอย่าไปต่อว่าพ่อ เพราะจะเป็นบาป)

    อันนี้แม่คงเห็นว่าพ่อมันเป็นเสืออยู่แล้ว ใครเดินผ่านมามันจะงับเอา แม่ก็เลยเตือนลูก กลัวลูกตายเพราะพ่องับเอา แม่ไม่ได้ผิดนะ แม่มีแง่คิดอยู่ภายในลึกๆ ว่าจะเกิดเรื่อง ความหมายว่างั้น เอ้าว่าไป วันนี้เอาสนทนาละมา เอ้า ถามมาจะตอบ การเทศน์สอนโลกคราวนี้ ๕ ปีกว่า บกพร่องที่การถามการตอบธรรมะ เราพูดมาโดยตลอด ถ้ามีการถามการตอบธรรมะกันแล้ว ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้จะมีรสชาติสูงขึ้นโดยลำดับ เพราะการถามการตอบธรรมะนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน ออกจากความรู้สึกของแต่ละคนที่ถามมา การตอบไปก็ตอบไปตามเหตุตามผลหลักเกณฑ์ของการถาม เพราะฉะนั้นคติตัวอย่างอันดีจึงมักจะเกิดจากปัญหา ธรรมนี้ท่านไปกลางๆ ยึดได้เป็นลำดับๆ แต่ปัญหานี้มักตอบเข้าสะดุดใจกึ๊กๆ ไปเลย

    (เหตุผลของพ่อที่ทำร้ายสุนัขก็ดี เอาสุนัขไปปล่อยก็ดี บอกว่าสุนัขมันชอบทำสกปรก พ่อไม่อยากทำความสะอาด มันเป็นภาระของพ่อ) ถ้าหากพ่อว่าสุนัขสกปรก ก็ชำระพ่อตัวสกปรกใหญ่ ๆ นั้นเสียก่อนซี พ่อทำทุกอย่างที่เป็นความสกปรกแก่ครอบครัวเหย้าเรือน มิหนำซ้ำอาจทำต่อเพื่อนฝูงต่อไปก็ได้ ด้วยความสกปรกจากความประพฤติอันนี้ พ่อควรจะทำความสะอาดให้พ่อเสียบ้าง หมาทำความสกปรกไม่เหมือนพ่อทำความสกปรก ซึ่งเป็นความเสียหายมากยิ่งกว่าหมาทำความสกปรกในบ้านในเรือน ไม่เห็นมีความเสียหายอะไร เป็นตามประสาหมาเฉยๆ ถ้าว่าขี้เขาไม่มีส้วม เขาก็ขี้ระไป จะไปว่าเขาทีเดียวก็ไม่ได้ เราคนมีส้วมอยู่มันยังไปขี้ใส่หัวคนได้ ขี้รดหัวคนก็ได้ ความประพฤติชั่วนั่นแหละรดหัวใจของคนให้บอบช้ำมากมาย ยิ่งกว่าหมาทำความสกปรกต่อคน เอ้า แล้วมีอะไรอีก

    (มีอีกนิดหนึ่ง เขามีปู่อยู่ด้วย ปู่ก็รักหมา แต่พ่อก็เอาหมาของปู่ไปปล่อย) นี่ละพ่อตัวอันธพาล ไปทำลายจนกระทั่งปู่ หมาปู่ก็ทำลาย ปู่ก็ทำลาย พ่อคนนี้เลวมากใครอย่าเอามาเป็นตัวอย่าง พ่อคนนี้ถ้าลงเป็นปู่แล้วมันยังจะร้ายยิ่งกว่านี้ มันเป็นขนาดนี้ก็ยังเลวมากอยู่แล้ว ถ้าได้เป็นปู่คนนี้โลกนี้พินาศเลยนะ ปู่คนนี้น่ะ เข้าใจไหม เอาแค่นั้นก่อน เอ้า ถามมา ถ้าเตรียมจะตอบเอาจริงนะ พอถามปั๊บมันจะใส่ปั๊วะเลย พูดจริงๆ เพราะฉะนั้นเราถึงว่าบกพร่องในเรื่องปัญหา การไปเทศนาว่าการ ถ้ามีปัญหามามันจะรับกันทันที ออกทันที ขนาดไหนออกมา เว้นแต่อะไรควรไม่ควรมันก็รู้เอง เท่านั้นเอง

    ปัญหาเหล่านี้เป็นกัณฑ์เทศน์อันใหญ่หลวงสำหรับเราชาวพุทธ ควรจะได้ถือเป็นคติตัวอย่างในครอบครัวเหย้าเรือนของกันและกัน ให้ดูใจกัน ผู้หญิงฝ่ายแม่บ้านก็ให้ดูใจพ่อบ้าน พ่อบ้านดูใจแม่บ้าน ดูใจลูกเล็กเด็กแดงตลอดไปหมด ต่างคนต่างอ่านเข้าอ่านออก กระจายออกไปแล้วจะมีส่วนดีออกใช้มากกว่าส่วนที่เสียหายนะ ส่วนมากคนเราไม่ค่อยคิด อยากทำอะไรก็ผลุนผลัน เพราะอำนาจของกิเลสมันรุนแรง เกินกว่าที่จะได้ไตร่ตรองหรือห้ามปรามไว้เสียก่อน มันผางออกไปแล้ว ๆ เสียหายมาแล้วมันก็เสียไปแล้ว แก้ไม่ตก แล้วก็ไม่สนใจจะแก้ด้วย นี่ที่สำคัญ มีแต่ทำเรื่องสกปรกไปเรื่อย ไม่มีการแก้เลย

    (คัดลอกมาบางส่วน)
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๖
    เถียงพ่อเป็นบาปหรือไม่
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เย็นวันหนึ่งมีโยมขึ้นไปหาหลวงปู่สิม พุทธาจโร ที่ถ้าผาปล่อง แล้วก็เอ่ยว่า
    “หลวงปู่ หลวงปู่ต้องแสดงฤทธิ์ให้ผมดู ไม่อย่างนั้นผมจะไม่นับถือพระศาสนา”
    “ได้!!!” หลวงปู่ตอบทันที “โยมนั่งๆ ไปเถอะ เดี๋ยวทนไม่ไหว หิวข้าวก็ลุกไปเอง…….นั่นล่ะหลวงปู่แสดงฤทธิ์แล้ว”
    แต่โยมคนนั้นก็ยังไม่ยอม นั่งคาดคั้นอยู่เป็นชั่วโมงๆ จะให้หลวงปู่แสดงฤทธิ์ท่านั้นท่านี้ หลวงปู่เอาแต่หัวเราะลูกเดียว
    จนในที่สุดโยมทนฤทธิ์หลวงปู่ไม่ไหว (คงหิวข้าวด้วยนั้นล่ะ) ลุกกลับไป ฯลฯ พอคล้อยหลังโยม
    พระอุปัฏฐากซึ่งคงอดกลั้นอยู่นานเต็มทีก็โพล่งออกมาว่า “โอ้ เจออย่างนี้บ่อยๆ น่าเบื่อแย่เลยน่ะครับ”
    “จะไปทุกข์ร้อนทำไมกับคนใจต่ำ”หลวงปู่ตอบด้วยเสียงเรียบเย็น “ไม่ได้มาเอาธรรมคำสอน จะเอาแต่ฤทธิ์อย่างเดียว”

    อีกโอกาสหนึ่งเมื่อพระอุปัฏฐากปรารภถึงเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามพระแสดงฤทธิ์
    เพราะในความเห็นของตนเอง น่าจะทรงอนุญาตบ้างเพื่อจูงใจให้คนที่ไม่มีศรัทธา หันมานับถือศาสนา……
    หลวงปู่ตอบว่า
    “….. นั่นแหละคือความเสื่อมของพระพุทธศาสนาละ คือว่าบารมีของพระอรหันต์แต่ละองค์ไม่เท่ากัน
    พระอรหันต์ทั้งหมดมีกี่องค์ที่แสดงฤทธิ์ได้ พวกที่ได้โลกียฌานก็แสดงฤทธิ์ได้เหมือนกัน คนก็จะหลงผิดไปเลือกนับถือแต่ผู้มีฤทธิ์
    ศาสนาก็เสื่อมล่ะทีนี้”

    เกร็ดประวัติหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คนมากมายทั้งที่เป็นคนไทย บอกว่าเป็นพุทธศาสนิกชน นับถือพุทธศาสนาแต่ไม่รู้จักพุทธศาสนา ไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไร ไม่รู้ว่าเชื่ออย่างไรถูก เชื่ออย่างไรผิด จะเห็นว่าคนเดี๋ยวนี้มากมาย มีข่าวออกทางหนังสือพิมพ์ว่า ไปขูดต้นไม้หาเลขหาหวยบ้าง สัตว์เกิดมาพิการแขนขาไม่เต็ม หรือมีอวัยวะวิปริต ก็ไปกราบไปไหว้ขอหวย อย่างนี้หรือคือชาวพุทธ เคยบอกว่า เอ ! ลูกสัตว์พิการเกิดมาคนพากันไปกราบไหว้แล้วทำไม ลูกคนประเสริฐกว่า เมื่อลูกคนเกิดมาพิการ ทำไมไม่ไปกราบไปไหว้ ไปกราบไหว้ลูกคนที่พิการยังดีกว่า แต่นี่ลูกคนเกิดมาพิการกลับไม่เอาใจใส่ ลูกสัตว์เกิดมาพิการไปกราบไปไหว้ เห็นเป็นเรื่องดีไปได้ เป็นเรื่องแปลกๆ รวมแล้วก็คือ คนไทยนี่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา ไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้า

    พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )
     
  18. พี่บู

    พี่บู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +78
    โดนไสยศาสตร์ปลอมเล่นงานเข้าไปเสียทั้งเงินเสียทั้งความศรัทธา หาของแท้เมื่อไหร่ก็ไม่เคยพบเพราะไร้วาสนา อันนี้ก็เข้าใจ
    แต่ไปว่าของแท้ๆที่เขาช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนาทำไมเล่า อยากสอนธรรมะแท้ก็ไปสอนกรรมฐานกันในสถานปฏิบัติธรรมโน้น อย่ามาโจมตีแนวร่วมที่เขาต่อสู้กับพญามารด้วยอิทธิฤทธิ์ทำไมกัน พระอัครสาวกท่านยังแบ่งเป็นสองทางเสมอกัน ทั้งสายฤทธิ์(พระโมคคัลานะ) ทั้งสายปัญญา (พระสารีบุตร)
    แล้วตอนนี้สายปัญญาถือดีมาว่าสายอิทธิฤทธิ์เสียแล้ว จะเอาอย่างในอินเดียกันหรือ ว่ากันไปสวดกันมา สุดท้ายกองทัพต่างศาสนาก็ครองชมพูทวีปไปเสียทั้งหมด เพราะพวกอวดดีที่เที่ยวระรานนี่ล่ะ

    ไม่เข้าใจแผนการใหญ่แล้วยังทำลายแนวปฏิบัติ ทำตัวเป็นตะเข้ขวางคลอง อย่างนี้มีแต่สร้างความแตกแยกมากกว่าจะทำให้คนมีดวงตาเห็นธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ถาม ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในอดีตจนปัจจุบัน จะมีลูกศิษย์ลูกหาแบ่งเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งเห็นว่า ควรเน้นการสอนสัจจธรรมล้วนๆ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าอภินิหารเป็นอุบายอย่างหนึ่ง และยังอ้างสมัยพุทธกาลด้วยว่า บางครั้งพระอรหันต์บางองค์ยังต้องใช้อิทธิปาฏิหาริย์เป็นการดึงคนเหมือนกัน อยากกราบเรียนว่าไม่ทราบว่าหลวงพ่อมีความคิดเห็นอย่างไร?

    ตอบ ยุคนี้ควรพูดเรื่องนี้ที่สุด คำถามนี้ดีมาก เพราะเวลานี้กำลังเกร่อเหลือเกิน ถ้าปฏิบัติไม่ถูก เสียหลักเมื่อไรก็ไปเลย คือทำให้ตกจากพระศาสนา ตัวเองก็พลัดตกจากพระพุทธศาสนา พร้อมกันนั้นก็พาให้เกิดผลเสียแก่สังคมส่วนรวม พุทธศาสนาเองก็เสื่อมโทรม ดังนั้นจะต้องมีหลัก เราต้องเข้าใจเรื่องนี้ก่อน เพราะมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนามาก

    สำหรับพระพุทธเจ้าเราพูดกันทีหนึ่งแล้วว่า พระองค์เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมอย่างไร คนสมัยนั้นเชาเชื่อถึงขนาดวัดกันว่า ความเป็นพระอรหันต์อยู่ที่มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พระองค์จึงต้องทำลายความเข้าใจผิดของมนุษย์เสียใหม่ ให้เห็นว่ามันไม่ได้อยู่ที่สิ่งนี้ และสิ่งนี้มีปมไม่ดีด้วย พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์เพื่อปราบฤทธิ์ แต่พอปราบเสร็จแล้วพระองค์ก็ไม่ใช้อีก หมายความว่า คนไหนที่หลงเรื่องฤทธิ์พระองค์ก็ปราบด้วยฤทธิ์ ปราบเสร็จ สำหรับคนนั้นก็จบเรื่องฤทธิ์แล้วเข้าไปสู่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ (คำสอนที่เป็นจริง และทำให้เห็นความจริง เมื่อนำไปปฏิบัติก็พบความจริงแห่งความพ้นทุกข์เป็นที่น่าอัศจรรย์) แสดงความเป็นจริงเป็นสัจจธรรม ทรงใช้วิธีนี้ นี่คือหลักหนึ่งที่จะต้องเอามาใช้

    ขณะนี้คนกำลังมีค่านิยมสูงในเรื่องการนิยมอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ในทุกที่ เราต้องถือหลักของพระพุทธเจ้า คือ การเอาฤทธิ์ปราบฤทธิ์ ไม่ใช่ต้องการยกย่องฤทธิ์ และไม่ต้องการให้คนหลงระเริงและมัวเมาในเรื่องนี้มากขึ้น แต่ในขณะที่เขายังหลงอยู่ เราต้องมีเป้าหมายให้เขาหายหลง แล้วก็หาวิธีว่าชักจูงอย่างไรให้เขาก้าวหน้าไป ในกรณีนี้จะมีหลักการที่ว่า หลักพุทธศาสนาต้องการพัฒนาคนให้เจริญงอกงามขึ้นในศีล สมาธิ ปัญญา แต่ตอนแรกคนเขาไม่ได้พัฒนา เขาก็อยู่ของเขาที่จุดยืนของเขา (ลุ่มหลงมัวเมาในฤทธิ์หรือหวังผลจากฤทธิ์) เราทำไงจะพาเขาให้ก้าวจุดยืนนี้ไป ตอนนี้ก็จะมีปัญหาที่เป็นความละเอียดอ่อน ซึ่งมันก็จะมีความยืดหยุ่นและความแตกต่างเกิดขึ้น ซึ่งขึ้นต่อปัจจัยว่า สำหรับคนที่เขายืนอยู่ เขาอยุ่ในสภาพไหนที่จุดใด (เราต้องปฏิบัติให้เหมาะสมควรกับเหตุปัจจัยของแต่ละคน)

    สำหรับคนหมู่ใหญ่ที่แตกต่างหลากหลายทั่วทั้งสังคมนี้ เราไม่สามารถกำหนดเลือกให้เป็นไปอย่างใจ คนจำนวนมากยังไม่แว่วเสียงของธรรมเลย ถ้าคนเหล่านี้จะยอมละเว้นการประพฤติตามอำเภอใจ ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่เพื่อนมนุษย์ และอยู่ให้เป็นปกติสุขได้บ้าง เพราะเชื่อถือและเกรงกลัวต่ออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่าง ก็ยังดีกว่าปล่อยให้เขาล่องลอยเคว้งคว้างอย่างไม่มีหลักอะไรเลย ถ้าเขายังเข้าไม่ถึงสิ่งที่จริงแท้ดีกว่านั้น แม้จะได้แค่นี้ ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเกาะเกี่ยวเหนี่ยวรั้งเสียเลย ข้อสำคัญก็คือ อย่างหยุดจมกันอยู่กับความเชื่อแบบปฐมกัปนั้นเรื่อยไป หรือเอาความศักดิ์สิทธิ์นั้นไปรับใช้กิเลสของเขา หรือใช้ล่อเขาเพื่อหาลาภให้แก่ตัว แทนที่จะใช้เพื่อช่วยเขาให้ขยับขึ้นมา เมื่อถึงจุดนี้ ก็ต้องพูดถึงปัจจัยที่สอง

    ปัจจัยที่สองคือ “ผู้สอน” ผู้สอนต้องรู้ก่อนว่า หลักพระพุทธศาสนาคืออะไร จะต้องสอนให้เขารู้หลักนั้น ถ้าเป็นผู้สามารถพอ สอนแป๊ปเดียว ผู้ฟังก็ก้าวมาถึงจุดที่ต้องการได้เลย ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับฤทธิ์ อย่างพระพุทธเจ้าปกติก็ไม่ทรงใช้ฤทธิ์แต่ใช้วิธีเขี่ยผงในตา สอนทีเดียวเขาก็ข้ามมาอย่างที่พระองค์ต้องการเลย แต่ทีนี้ ในกรณีผู้สอนไม่มีความสามารถ หรือมีความสามารถไม่เพียงพอ ก็อาจจะไปสู่จุดที่พุดเมื่อกี้ว่า อาจจะเอาฤทธิ์เป็นสื่อชักจูง คือต้องยอมรับความสามารถของตัวว่า ฉันไม่มีสามารถอย่างพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่จะสอนได้ขนาดนั้น ไม่สามารถใช้อนุศาสนีปาฏิหาริย์ให้คนถึงความจริงได้ ก็เลยยังต้องอาศัยอันนี้เป็นสื่อเป็นอุบายเพื่อจูงคนขึ้นมา แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เพื่อดึงเขาก้าวต่อ ไม่ใช่ดึงตัวเข้าไปหมกอยู่กับเขา หรือไปทำให้เขาหลงยิ่งขึ้น หรือตัวเองหลงลาภสักการะ แทนที่จะมุ่งประโยชน์แก่เขา ก็กลายเป็นมุ่งจะไปเอาจากเขา ไปทำกับเขาเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตัว แล้วทำให้เขาหลง ก็กลายเป็นการหลอกลวงเขาไป อันนี้เป็นข้อพิจารณาในแง่แรงจูงใจ

    เอาละ ตกลงจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้ คือเรื่องเจตนาที่จะพาเขาเดินก้าวหน้า แต่เพราะความสามารถไม่พอก็เลยไปพบเขาที่จุดที่เขายืนอยู่แล้วจะพาก้าวต่อไป นี่เป็นส่วนที่หนึ่งคือพูดในแง่แรงจูงใจ หรือ “เจตนา”

    ในส่วนที่สองจะต้องปฏิบัติให้ถูกหลักการ แง่ที่สองนี่ก็สำคัญมาก ต้องไม่ให้ผิดหลักการ ๓ อย่าง จะต้องรู้ว่าหลักการทั้ง ๓ อย่างเป็นอย่างไร ขอให้เอาหลักการนั่งมาพิจารณากัน

    หลักการที่ ๑ คือ หลักกรรม ตามปกติความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิปาฏิหาริย์นี้มีลักษณะทั่วไป ก็คือ การหวังผลสำเร็จจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าพูดสั้นๆ ว่าหวังผลจากการดลบันดาล จุดนี้แหละสำคัญที่สุด ตนเองไม่ต้องทำความเพียร ได้แต่รอคอยผลสำเร็จที่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลให้ ก็นั่งคอยนอนคอย นั่งนอนรอคอยโชค หวังลาภเลื่อนลอย แล้วก็งอมือ งอเท้า ไม่ทำ จุดนี้คือจุดตัดสิน จุดตัดสินที่หนึ่งคือหลักกรรม การที่จะเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อภินิหารจะต้องไม่ให้เสียหลักกรรม หลักกรรมขั้นต้นเป็นหลักความเชื่อ เชื่อในกรรม คือเชื่อในการกระทำ เชื่อในการกระทำ คือเชื่อในหลักเหตุผล ได้แก่ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย กรรรมก็คือหลักเหตุผลในแง่การกระทำของมนุษย์ว่า ผลที่ต้องการจะสำเร็จด้วยการกระทำ

    ความเชื่อกรรมที่ว่าเป็นความเชื่อในความเป็นเหตุเป็นผลแห่งการกระทำของมนุษย์นั้น ก็บ่งบอกว่า เมื่อทำดี ก็ให้เกิดผลดี เมื่อทำเหตุชั่ว ก็ให้เกิดผลชั่ว เมื่อเราต้องการผลดี ก็ต้องทำเหตุดี และต้องเว้นการกระทำชั่ว ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะต้องให้มาสนับสนุนการกระทำดี ตามหลักกรรมนี้ ไม่ใช่ว่าอยากได้ผลดีก็อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ติดสินบนเทพเจ้าเอา แล้วจะทำดีหรือทำชั่ว หรือประพฤติเหลวไหลอย่างไรก็ได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าก็จะดลบันดาลผลที่ต้องการให้ทั้งนั้น ถ้าอย่างนั้นก็เสียหลักกรรม ไม่อยู่ในพระพุทธศาสนา ไปๆ มาๆ ทั้งมนุษย์และทั่งเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะเสื่อมลงไปด้วยกัน จนถึงสภาพที่กลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ซื้อด้วยเงิน

    เมื่อเราหวังผลสำเร็จเราต้องทำ และจะต้องทำเหตุดี เพื่อให้เกิดผลที่ดี อย่าให้หลักการนี้เสียไปเป็นอันขาด อันนี้คือหลักความเชื่อที่สำคัญ ถ้าความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ทำให้คนรอคอยหวังผลสำเร็จจากการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วผิดหลักกรรมทันที อันนี้ถือว่าผิดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนเลย

    ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ของเทพเจ้า ตลอดจนเรื่องไสยศาสตร์ทั้งหลายนั้นก็เป็นเครื่องบำรุงขวัญ ปลอบขวัญ เมื่อคนยังมีพลังจิตพลังปัญญาไม่เข้มแข็งพอ ก็มักเรียกร้อยใฝ่หาสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดความอุ่นใจมั่นใจขึ้นมา อย่างน้อยก็ทำให้มีที่เกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยว เป็นเครืองปลอบใจ ชะโลมใจ ทำให้ชุ่มชื้นขึ้น มีความหวังขึ้น แต่ก็ต้องระวังอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีหลักกรรมมาคุมไว้ ก็จะมัวสบายใจ แช่มชื่นใจ อุ่นใจว่า เราได้ทำพิธิแล้ว เราได้บวงสรวงท่านแล้ว เดี๋ยวท่านก็จะบันดาลให้ พวกเรามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง มีภัยอันตรายมา เดี๋ยวท่านก็จะช่วยเอง เลยปล่อยตัวปล่อยใจ ไม่เร่งคิดการและทำอะไรๆ ที่ควรทำตามเหตุตามผล ทอดทิ้งเรื่องเหตุปัจจัยเสีย เอาความหวังมากล่อมใจตัว เลยเพลิดเพลินอยู่ในความประมาท ก็คือหลอกตัวเองนั่นเอง ไม่อยู่กับความเป็นจริง ไม่ได้แก้ไขปรับปรุงอะไร ไม่ได้เตรียมการป้องกันอะไร ในที่สุดก็พังพินาศ ชีวิตล่มจม สังคมเสื่อมสลาย และแม้แต่พระศาสนาต้องย่อยยับมา เพราะมัวหลงเพลินกับยากล่อมอย่างนี้เท่าไหรแล้ว ควรจะได้บาทเรียนกันเสียที อย่าดึงกันลงไปเลย จงดึงกันขึ้นมาเถิด

    ในแง่นี้ก็เป็นอันว่า ถ้าความเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังเป็นเพียงสิ่งส่งเสริมให้เกิดกำลังใจที่จะทำความเพียรพยายาม โดยหวังผลสำเร็จจากการลงมือทำและสนับสนุนให้ทำกรรมที่ดี ไม่ทำให้เกิดความประมาท ก็ยังพอใช้ได้ ไม่ผิดหลักกรรม ตัวตัดสินที่หนึ่งนี้อย่าให้ผิด ฉะนั้นเราดูเลยว่า การที่พระไปสอนให้คนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีผลอย่างไร ท่านมีหลักในการสอนของท่านหรือเปล่า ถ้าสอนโน้มให้เขาออกจากหลักกรรมยิ่งขึ้นก็จะเป็นการกระทำผิดต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงที่สุด ฉะนั้น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะต้องเป็นเพียงสิ่งที่เสริมให้เขายิ่งกระทำโดยมีกำลังใจและยิ่งทำการที่ดีเพื่อผลสำเร็จที่ถูกต้อง อันนี้จึงจะไม่ผิดหลักความเชื่อเรื่อกรรม

    หลักการที่ ๒ในพุทธศาสนา คือ หลักสิกขา หลักสิกขาคือหลักการฝึกฝนพัฒนาคน พุทธศาสนาสอนให้คนฝึกฝนพัฒนาตนขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ว่าใครต้องศึกษาทั้งนั้น ที่เราเข้ามาบวชก็เพือต้องการศึกษาเพื่อพัฒนาตนจนกระทั่งเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษาได้แก่อริยบุคคล ๓ คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี) และอเสขะ (ผู้ศึกษาจบสิ้นแล้วคือพระอรหันต์) กระบวนการปฏิบัติในพุทธศาสนาคือสิกขา เพราะฉะนั้นถ้าเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา ก็ต้องทำตามหลักการใหญ่ ที่เป็นหลักปฏิบัติ คือสิกขา ต้องศึกษาฝึกฝนพัฒนาตน อย่าให้ผิดหลักนี้ เมื่อเขาเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ต้องให้เขาโน้มจิตมาสู่การฝึกฝนพัฒนาตนและก้าวต่อ ไม่ใช่มัวเพลินหยุดนิ่ง ไม่ใช่หมกอยู่กับที่ ถ้าความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้เขาหมกตัวอยู่กับที่ ก็ผิดหลักปฏิบัติ ผิดหลักสิกขา พระจะต้องจูงให้เขาเดินหน้า

    ถ้าปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ต้องพัฒนาขึ้นไป ไม่ใช่ถอยหลังลงมา พฤติกรรมที่วุ่นวายเกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ที่เป็นการพึ่งพาอาศัยปัจจัยภายนอกนี้ เมื่อเข้ามาสู่พระศาสนาแล้ว ก็ควรจะต้องเบาบางลดน้อยลงไปทุกวันๆ ไม่ใช่นับวันแต่ระบาดดาษดื่นแพร่หลายหนักหนามากขึ้น คนเรานั้นทางด้านร่างกายก็ต้องเจริญเติบโตขึ้นฉันใด ท่างด้านจิตใจและภูมิปัญญาก็จะต้องเติบโตพัฒนาขึ้นฉันนั้น ถ้าต้องมัวปลอบขวัญกันอยู่ก็ไม่รู้จักเติบโตเป็นผู้ใหญ่สักที

    เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงต้องการให้เราพัฒนาขึ้นมีจิตใจและปัญญาที่เติบโตขึ้น จึงไม่ทรงสนับสนุนอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ซึ่งทำให้คนไปฝากความหวังไว้กับเครื่องปลอบใจภายนอก ถึงกับทรงให้ปรับอาบัติพระที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ทรงสรรเสริญแต่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ที่ทำให้คนเข้าถึงความจริงได้ด้วยปัญญาของตนเอง ทำให้มนุษย์แก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้จริง

    ในการเดินทางชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกันไป และเสี่ยงภัยมากมาย ท่ามกลางความไม่เที่ยงแท้แน่นอน และอนาคตที่ไม่อาจรู้ได้นี้ ก็น่าเห็นใจ คนทั้งหลายมีกำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา กำลังความสามารถไม่เหมือนกัน เมื่อดิ้นรนกันไป หลายคนจะเหน็ดเหนื่อย ล้า อ่อนแรง บางทีรู้สึกแห้งโหย และหวั่นหวาด เมื่อยังไม่พบสิ่งจริงแท้ที่ดีกว่า เมื่อตัวเองยังทำอะไรไม่ได้ดีกว่านั้น ความมั่นใจในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และความหวังในฤทธิ์เดชอภินิหาร ก็เหมือนที่พักใจให้ได้ความแช่มชื่นกลางหนทาง แต่ถ้ามัวเพลินติดอยู่ที่นั่น ก็จบสิ้นความก้าวหน้า ไม่ได้เดินทางต่อไป กลับยิ่งเสี่ยงภัยหนักขึ้นไปอีก เพราะเป็นภัยในความเพลิดเพลินที่เกิดจากความหลง และประมาทของตัวเอง เพราะฉะนั้น ถ้าจะหาที่พักอย่างนี้บ้าง ก็เอาพอช่วยให้สดชื่นมีกำลังวังชาขึ้นแล้วรีบลุกขึ้นเดินทางมุ่งหน้าต่อไป

    ถ้าความเชื่อไม่ผิดหลักกรรม และการปฏิบัติไม่ผิดหลักสิกขานี้ แม้เขายังจะเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่มันก็จะไม่พลาด แล้วเขาจะเดินหน้าต่อไป จนในที่สุด เขาจะไม่ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปเอง เรายอมรับความจริงของปุถุชนว่า ธรรมชาติของเขา ยังไม่มีความเข็มแข็งพอ จิตใจของเขายังไม่เข้มแข็ง แล้วเราช่วยเขาแค่ไหน เราเป็นกัลยาณมิตรที่มีความสามารถขนาดไหน ต้องดูตัวเองด้วย ถ้าตัวเองมีความสามารถมากอย่างพระพุทธเจ้า เอาเลย สอนให้เลิกละไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข้ามกระโดดไปเลย แต่ทีนี้ตัวเองก็ไม่มีความสามารถขนาดนั้น ก็เอาความศักดิ์สิทธิ์มาเป็นสื่อ แต่อย่าให้ผิดต่อหลักกรรมและต่อหลักสิกขาถ้าอย่างนี้แล้วเขาจะเดินหน้าแล้วเขาจะพ้นเอง เมื่อเขามีความเข็มแข็งขึ้นมา เขาพัฒนาตัวไป เขาจะเข้มแข็งขึ้น เขาจะหลุดพ้นไปเอง แต่ข้อสำคัญต้องให้เขาเดินหน้า นี่สองละ

    หลักการที่ ๓ คือ หลักความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ อันนี้เราจะเห็นได้ชัด พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลากหลาย เชื่อเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยฤทธิ์เดชปาฏหาริย์ ยุ่งอยู่กับเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ งมงายหวังผลสำเร็จจากการดลบันดาลของเทพเจ้า ไม่ต้องคิดทำอะไร อ้อนวอนบวงสรวงบูชายัญไป ไม่ต้องฝึกฝนตนเอง นี่ผิดหลักสองข้อข้างต้น

    เทพเจ้าที่คนนับถือที่มีฤทธิ์เดชนั้นคืออย่างไร ก็คือฤทธิ์ที่เกิดจากกิเลส ฤทธิ์แสดงกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งนั้นเลย ดังจะเห็นว่าเทพเจ้ามีโทสะแรง มีความโลภ มีราคะรุนแรง แย่งชิงคู่ครองกัน เบียดเบียนทำลายกัน โกรธแค้นกัน ยกทัพไปรบกัน เวลาสร้างเทวรูปขึ้นเป็นอย่างไร จะเห็นว่ามักแสดงความฮึกห้าว โหดเหี้ยมทารุณ หรือแสดงความสามารถที่จะไปทำลายผู้อื่น ต้องทำให้มีมือมากๆ สองมือไม่พอ เอาสิบมือ เศียรเดียวไม่พอ เอาสิบเศียร ตาเดียวไม่พอ เอาหลายตา มือเท้ามีเยอะแล้วยังไม่พอ ต้องเอาอาวุธอีก ต้องมีจักร มีสังข์ มีคทา มีอะไรต่างๆ อาวุธเยอะแยะ แสดงรูปร่างท่าทางผาดโผนโจนทะยาน กำลังจะจัดการคนอื่น มีแต่เรื่องกิเลสทั้งนั้น แล้วเรื่องที่เล่ามาประวัติเทพเจ้ามีแต่วุ่นวายทั้งนั้น คือ ฤทธิ์จะควบมากับกิเลส ความศักดิ์สิทธิ์อยู่กับกิเลส แต่มาในพุทธศาสนา ความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ก็ค่อยโน้มมาสู้ปัญญาและคุณธรรม พอมาถึงพระพุทธศาสนาฤทธิ์ทั้งหมดที่ผสมความโกรธ ความหลง ระคา โทสะ โมหะ เหล่านั้นจะสู้ฤทธิ์แห่งความบริสุทธิ์ไม่ได้ ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดมาสูงสุดที่ความบริสุทธิ์ปัญญาและคุณธรรม เราสร่างพระพุทธรูปขึ้นมา เป็นมนุษย์ธรรมดา นั่งงามสง่าด้วยธรรมะ ไม่ต้องแผลงฤทธิ์ สงบเย็น มีเมตตา ยิ้มแย้ม ให้คนมีความอุ่นใจ สบายใจ มีความสุข มีพระปัญญาคุณ มีพระวิสุทธิคุณ มหากรุณาธิคุณ

    ตกลงความศักดิ์สิทธิ์ก็โอนมาอยู่ที่ความบริสุทธิ์ คุณธรรม และปัญญา และนี่แหละคือความศักดิ์สิทธิ์ที่สูงสุด เพราะฉะนั้น ความศักดิ์สิทธิ์ที่ให้นับถือนี้จะค่อยดึงจากความมีกิเลส สู่ความหมดกิเลส จากความเป็นอยู่ภายใต้อำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ สู่ความเป็นอยู่และการกระทำต่างๆ ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจเหตุผลตามเหตุปัจจัย เราก็ดูว่า การสอนในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าหลักนี้หรือไม่ ดูว่าจูงคนให้เข้ามาสู่ความศักดิ์สิทธิ์แบบมีกิเลสน้อยลง มาสู่ความหมดกิเลส มาสู่ความหมดโลภะ โทสะ โมหะ มาสู่ความบริสุทธิ์ มีปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ มหากรุณาคุณหรือไม่แค่นั้นเอง

    เป็นอันว่าให้เลิกจากความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม ฯลฯ ที่มีฤทธิ์ แสดงตัณหา มานะ แสดงโทะ โมหะ ที่มีกิเลสเรียกร้องการอ้อนวอนบนบาน โปรดใครก็ช่วย ไม่โปรดก็แช่ง นำเขาให้เข้ามาหาพระรัตนตรัย ให้มั่นในคุณานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ให้เขาได้เข้าสู่คุณธรรมมากขึ้น ซึ่งก็มาสัมพันธ์กับหลักการแห่งกรรม ให้เขาหวังผลสำเร็จจากการเพียรพยายามกระทำเอา และให้เขาฝึกฝนพัฒนา คือ ปฏิบัติตามหลักสิกขา เขาจะได้ฝึกฝนตัวเองให้ดีขึ้น และให้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าหากว่าพระอาจารย์ไปสอนแล้วกลับทำให้เขาออกไปหาฤทธิ์ที่วุ่นวายกับกิเสลมากขึ้น ก็ผิดหลักทันที

    รวมความว่า ในแง่หลักการสามอย่างนี้ชัดแล้ว ถ้าหากความศักดิ์สิทธิ์ยังอยู่ในหลักความเชื่อกรรม อยู่ในหลักปฏิบัติสิกขา และอยู่ในความหมายของความศักดิ์สิทธิ์แบบไม่มีกิเลส โดยหันมาสู่ความบริสุทธิ์มีปัญญากรุณาเป็นหลัก ก็ใช้ได้ ถือว่าพออนุโลมได้

    คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พระธรรมปิฎก
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ในตอนต้น ได้เคยเขียนถึงเหตุการณ์ ที่หลวงปู่ผจญภัย โดยถูกควายป่าไล่ขวิดตอนออกธุดงค์ในแดนกัมพูชามาแล้ว หลายครั้งที่มีผู้ถามหลวงปู่ว่า ตอนที่ท่านเดินธุดงค์ไปกัมพูชา แล้วมีควายป่ามาไล่ขวิดท่านอุตลุดไปหมด แต่ท่านไม่เป็นอันตรายนั้น หลวงปู่มีของดีหรือคาถาอาคมอะไรหรือเปล่า

    หลวงปู่ตอบว่า
    “ไม่มีอะไร มันขวิดไม่ถูกเอง ถูกแต่ตามซอกแขนซอกขาเท่านั้น ถ้าถูกเต็มที่ มันก็อันตรายเหมือนกัน”

    ทั้งๆ ที่ท่านก็ตอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ คนก็มักไม่ค่อยเชื่อกัน พยายามพากเพียรรบเร้าขอวัตถุมงคล หรือของดีอะไรต่างๆ จากหลวงปู่อยู่เรื่อยๆ ความจริงแล้ว สำหรับ หลวงปู่ ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า ความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดี ในสิ่งเร้นลับเหลือวิสัยก็ดี ในเรื่องฤกษ์งามยามดีต่างๆ ไม่มีเอามาเป็นสาระในจิตใจ ท่านซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป จากอาการที่ปรากฏทางร่างกาย ทางวาจาของท่านนั่นเอง

    เมื่อมีผู้ใดจะดำเนินกิจกรรมอะไร มาถามความเห็นท่าน เรื่องฤกษ์งามยามดี หลวงปู่ก็จะบอกว่า วันไหนก็ได้ วันไหนพร้อม วันไหนสะดวกสบาย ใช้ได้หมด และก็นิ่งเฉย ไม่ค่อยจะพูดว่า วันนั้นดี วันนี้เหมาะ วันนั้นใช้ไม่ได้

    หลวงปู่เคยพูดในหมู่สงฆ์ว่า
    “ถ้ากายวาจา และจิตใจดี อำนาจความดีงามก็จะเกิดขึ้นเอง”

    ในหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนกันยายน ๒๕๒๖ ซึ่งคณะแม่บ้านกระทรวงมหาดไทย ได้แวะไปกราบหลวงปู่ เมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. แล้วมีสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ถือโอกาสพิเศษกราบเรียนหลวงปู่ว่า

    “ดิฉันขอของดีจากหลวงปู่ด้วยเถอะเจ้าค่ะ…”
    หลวงปู่เจริญพรว่า
    “ของดีก็ต้องภาวนาเอาเองจึงจะได้ เมื่อภาวนาแล้วใจก็สงบ กาย วาจา ก็สงบ แล้วกายก็ดี วาจาใจก็ดี เราก็อยู่ดีมีสุขเท่านั้นเอง”
    “ดิฉันมีภาระมาก ไม่มี่เวลาจะนั่งภาวนา งานราชการเดี๋ยวนี้รัดตัวมากเหลือเกิน มีเวลาที่ไหนมาภาวนาได้เจ้าคะ่”
    สุภาพสตรีท่านนั้นชี้แจง

    หลวงปู่อธิบายว่า
    “ถ้ามีเวลาหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา”

    เรื่องการพรมน้ำมนต์ หรือเจิมรถ เจิมบ้าน ร้านค้าอะไรต่างๆ แต่ก่อนหลวงปู่ไม่ยินดีทำเลย มาในระยะหลังๆ เห็นว่าบุคคลมีหลายระดับ เพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่เขา ให้เขาได้พ้นทุกข์เล็กๆน้อยๆ ท่านจึงปฏิบัติไปเพื่อโลกัตถจริยา เป็นการ อนุเคราะห์ อนุโลมตามความประสงค์ของทางโลกเท่านั้น

    ครั้งหนึ่ง มีพระภิกษุสงฆ์นำรถของตนมาให้ท่านเจิม หลวงปู่ไม่ยอมทำและดุเอาว่า
    “งมงาย”

    บางครั้งมีคนชอบขอชานหมากท่านก็ว่า
    “เอาไปทำไม ของสกปรก”

    มีคนมาขอให้เป่าหัว ท่านก็ว่า
    “เป่าทำไม เดี๋ยวน้ำลายเลอะ”

    เรื่องวัตถุมงคล เช่นเหรียญต่างๆ เป็นต้น หลวงปู่ไม่นิยมยินดีที่จะทำหรือให้ทำเลย แต่ภายหลังท่านก็อนุโลมตามบ้าง เมื่อมีลูกศิษย์ลูกหาจัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ท่านก็อนุโลมแผ่พลังจิตให้ตามสมควร เพื่อไม่ให้เป็นการขัดศรัทธา ต่อทายกทายิกา และลูกศิษย์ลูกหา ที่มีความปรารถนาเช่นนั้น.

    พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
    ต้นฉบับโดย พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต)
    เรียบเรียงโดย รศ. ดร. ปฐม – รศ.ภัทรา นิคมานนท์
     

แชร์หน้านี้

Loading...