หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๔. อย่าเชื่อเพียงสักว่า อ้างมาจากตำราหรือคัมภีร์

    เป็นพุทธพจน์อีกข้อหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ พระพุทธเจ้าทรงมีพระญาณหยั่งรู้เรื่องศาสนาของพระองค์ว่า เมื่อบั้นปลายศาสนาของพระองค์จะมีผู้เขียนตำราอ้างไปว่า นี้เป็นคำสอนของเราตถาคตขึ้นมา แต่ละตำราจะมีความแตกต่างกันออกไป ใครมีความเห็นอย่างไรก็ตีความไปอย่างนั้น และเขียนเป็นตำราออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ละตำราจะเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง บางตำราจะไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด ในบางตำราจะไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด ในบางตำราก็มีความถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อพุทธบริษัทนำไปปฏิบัติ ก็จะให้ผลเป็นไปในมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง มีทั้งพระและฆราวาสเขียนตำราขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เมื่อตำราไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ที่นำไปศึกษาก็เกิดความสับสน จับต้นชนปลายไม่เข้าใจเลยว่า ตำราไหนผิดตำราไหนถูก แต่ละตำราก็อ้างอิงว่า เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ผู้อ่านที่มีสติปัญญาน้อยก็ปักใจเชื่อไปว่าตำรานี้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เพราะถือว่าตำราคัมภีร์นี้เป็นของเก่าแก่ ไม่กล้าที่จะแก้ไขเพิ่มเติม นักปราชญ์ยุคใหม่ได้เขียนตำราออกมา แล้วนำไปอบรมสั่งสอนต่อๆกันไป ส่วนมากจะเน้นหนักในวิธีทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความสงบ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น ที่ผู้เขียนตำราหรืออบรมสั่งสอนกันอยู่นั้น แสดงว่าไม่ได้อ่านประวัติเดิมของพระพุทธเจ้าเลย ในครั้งนั้นพระองค์ได้ไปฝึกสมาธิกับดาบสทั้งสองอยู่นานร่วมปี พระองค์ก็ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นแต่อย่างใด จากนี้ไปให้เราอ่านพุทธประวัติให้ดี มีเหตุผลในการอ่านให้เข้าใจ

    พระพุทธองค์ได้สร้างบารมีมาด้วยปัญญาธิกะ พระองค์มีปัญญาพร้อมแล้วอย่างสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อพระองค์ทำสมาธิอยู่กับดาบสทั้งสองนั้น พระองค์ก็ทำให้จิตมีความสงบอย่างเต็มที่ ไม่มีประวัติว่าปัญญาได้เกิดจากความสงบของสมาธิแต่อย่างใด ที่เขียนตำราไปและสอนกันไปอย่างไร้เหตุผล หากมีคนถามว่า เหตุใดท่านจึงสอนเช่นนี้ ก็จะตอบว่า ตำราเขียนไว้อย่างนี้ในทันที หากมีคำถามอีกว่า ตำรานั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็จะตอบไปว่า ไม่รู้ นี้คือสอนกันไปโดยไม่รับผิดชอบ ทำให้ชาวพุทธมีจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดในคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากทีเดียว ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ศาสนาของเราตถาคตจะเสื่อมก็เพราะพุทธบริษัททำให้เสื่อม ศาสนาของเราตถาคตจะมีความเจริญก็เพราะพุทธบริษัททำให้เจริญ ในยุคนี้สมัยนี้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงหรือเจริญขึ้น ให้เราพิจารณาตัวเองว่า เราเป็นผู้ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมหรือทำให้พระพุทธศาสนาเจริญ ให้เราสังเกตดูตัวเราเองว่าใจเรามีความหนักแน่นหรือไม่หนักแน่นในพระพุทธศาสนาเพียงใด ในตำราคัมภีร์ที่เราอ่าน เราต้องอ่านด้วยเหตุและผล มีสติปัญญาในการอ่าน วิจัย วิเคราะห์ ใคร่ครวญ ตรึกตรองให้ดี เพราะทีทั้งหนัวสือใหม่และหนังสือเก่า ถ้าอ่านตำราไม่มีปัญญา ก็จะพากันเชื่อแบบงมงายต่อไป

    ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อย่าได้เชื่อเพียงสักว่านี้ อ้างมาจากตำราหรือคัมภีร์ ในความหมายนี้มีความชัดเจนมาก ทำไมพวกเราจึงไม่เอามาพิจาณาดูบ้าง พระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อโดยผูกขาดในตำราเพียงฝ่ายเดียว พระพุทธองค์ต้องการให้เรามีความมั่นใจในเหตุผลที่เป็นธรรมาธิปไตยมาเป็นหลักประกัน ให้รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริงด้วยปัญญาของเราเอง มิใช่ว่าตำราว่าอย่างไรก็เชื่อกันไปอย่างนั้น หรือครูอาจารย์สอนอย่างไรก็เชื่อไปอย่างนั้น เช่นสอนว่า ทำสมาธิไปเถอะ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น ในสมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้หรือไม่ ถ้าเราอ่านประวัติของพระพุทธเจ้าและประวัติของพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายในสมัยครั้งพุทธกาล มีความเข้าใจดีแล้ว จะนำเอาอุบายนั้นไปปฏิบัติจนได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลตามกำลังบารมีที่ได้บำเพ็ญมา ในสถานที่ใดมีพุทธบริษัทได้มาฟังธรรม แล้วพระพุทธเจ้าจะจะยกสัจธรรมที่เป็นจริงขึ้นมาอธิบายให้พุทธบริษัทใช้สติปัญญาพิจารณา ให้รู้เห็นตามหลักความจริงนั้นๆ จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในขณะนั้น

    อุบายธรรมของพระพุทธเจ้าที่นำมาอบรมสั่งสอนนั้น เป็นอุบายให้คนเปลี่ยนความเห็นผิดเป็นจุดแรก เพราะนิสัยเดิมของคนเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดในหลักความจริงตลอดมา ฉะนั้นพระองค์จึงมีอุบายสอนให้มีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ให้มีความรู้เห็นที่ถูกต้องชอบธรรม เรียกว่าปัญญาความเห็นชอบ ให้พวกเราได้ศึกษาในหมวดธรรมที่เรียกว่ามรรค ๘ ซึ่งเป็นหมวดธรรมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในมรรค ๘ นั้น พระองค์จะทรงยกเอาสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบเป็นหลักยืนตัวเอาไว้ ดังที่พระองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมรวมอยู่ในเท้าช้างเท่านั้น นี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย หมวดธรรมทั้งหลาย ย่อมมารวมลงในสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบนี้เท่านั้น

    ขอให้พวกเราชาวพุทธทั้งหลาย พากันศึกษาประวัติความเป็นมาของพระอริยเจ้าทั้งหลายในสมัยครั้งพุทธกาลให้เข้าใจ ในครั้งนั้นพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีทั้งห้าเป็นกลุ่มแรก และกลุ่มอื่นๆอีกมากมาย แต่ละกลุ่มพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องของความจริง ความถูกต้องชอบธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบตามความเป็นจริงก่อนทุกครั้ง แม้พระองค์ทรงแสดงธรรมให้แก่ฆราวาส พระองค์ก็ต้องแสดงธรรมตามความเป็นจริงก่อนทุกครั้ง ให้ผู้ฟังเปลี่ยนจากความเห็นผิดกลับมาเป็นความเห็นถูก นี้คือจุดยืนถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าต้องการในขั้นเริ่มต้น ถ้าเปลี่ยนความเห็นผิดไม่ได้ ถึงจะแสดงธรรมไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร เรียกว่าตัวส่งตัวรับเข้ากันไม่ได้ จึงยากในการอบรมสั่งสอน ฉะนั้น สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

    หลายท่านที่อ่านหนังสือข้าพเจ้าแล้ว มีความเข้าใจว่า หลวงพ่อทูลไม่ได้สอนในวิธีการทำสมาธิ นี่แสดงว่าท่านผู้นั้นอ่านหนังสือหลวงพ่อทูลไม่เข้าใจ เพราะท่านเหล่านี้มีการทำสมาธิเพียงอย่างเดียว เพราะได้รับความรู้มาจากครูผู้สอนมา มีแต่วิธีทำสมาธิเท่านั้น และมีความเชื่อตามครูผู้สอนไปว่า เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น นี้คือความเห็นสมัยใหม่ ส่วนหลวงพ่อทูลอยากให้คนเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อันเป็นหลักดั้งเดิมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว พระพุทธเจ้าต้องการให้มีปัญญาความเห็นชอบ เมื่อมีปัญญาความเห็นชอบเป็นหลกัที่มั่งคงแล้ว การทำสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ ทำให้จิตมีความสงบตั้งมั่นในสมาธิได้เร็ว ข้าพเจ้าไม่ได้ปฏิเสธในการทำสมาธิแต่อย่างใด ใครจะมีคำบริกรรมทำสมาธิให้จิตมีความสงบตั้งมั่นได้ในระดับไหนก็ทำกันไป เพราะการทำสมาธิจะทำให้เกิดกำลังใจ เพื่อจะเป็นอุบายหนุนปัญญาได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสมาธิเสริมปัญญา ให้มีความเฉียบแหลมมากขึ้น ที่ว่าหลวงพ่อทูลปฏิเสธนั้น คือปฏิเสธในคำว่าทำให้เกิดปัญญา นั่นคือ ทำสมาธิจิตมีความสงบดีแล้ว จะไม่ทำให้เกิดปัญญาแต่อย่างใด เพราะพื้นฐานของปัญญาเรายังไม่รู้เรื่องอะไร ถึงจะทำสมาธิมีความสงบได้ก็จะเป็นสมาธิหัวตอ จะต่อเชื่อมโยงไปสู่ปัญญาไม่ได้เลย จะทำสมาธิเพื่อเสริมปัญญาได้ ผู้นั้นต้องฝึกทางปัญญาความเห็นชอบเป็นฐานรองรับไว้ก่อน เมื่อทำสมาธิจิตมีความสงบตั้งมั่นได้แล้ว ก็น้อมไปสู่ปัญญาเชื่อมโยงต่อกันได้เลย จะง่ายต่อการปฏิบัติและมีความก้าวหน้าในทางที่ถูกต้องชอบธรรม

    จงศึกษาให้เข้าใจว่า สมถะ วิปัสสนา ทั้งสองนี้เป็นของคู่กัน เป็นอุบายหนุนซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่าปัญญาเสริมสมาธิ สมาธิเสริมปัญญา เพราะนิสัยแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางท่านใช้ปัญญามากทำสมาธิน้อย บางท่านใช้ปัญญาน้อยทำสมาธิมาก บางท่านใช้ปัญญาและทำสมาธิเสมอกัน เพื่อให้เป็นไปตามนิสัยแต่ละท่าน เพื่อความสะดวกสบายไม่ต้องฝืนนิสัยตัวเอง เช่นผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ จะใช้ปัญญามากกว่าการทำสมาธิ ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ จะใช้สมาธิมากกว่าการใช้ปัญญา การทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว การภาวนาปฏิบัติจะไม่มีความก้าวหน้าแต่อย่างใด จะวกวนเวียนไปมาอยู่ที่จุดเดิม คือความสงบเหมือนคนพายเรืออยู่ในสระ จะพายเรือวนไปเวียนมาหาทางออกไม่ได้เลย ถึงจะมีประตูเปิดกว้างอยู่ก็ไม่เห็นช่องทางที่จะออกไป หรือเหมือนมีปากกาอยู่ในมือ แต่ไม่มีกระดาษที่จะเขียน หรือมีกระดาษให้เขียน แต่เขียนหนังสือไม่เป็น ปากกากระดาษก็ไม่มีความหมายอะไร

    นี้ฉันใด ถึงใจจะมีความสงบอยู่ก็ตาม กำลังใจที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ก็มีแต่ความยินดีพอใจในความสงบเท่านั้น อีกไม่นานกำลังใจที่เกิดจากสมาธิก็จะเสื่อมไป ไม่ได้ประโยชน์อะไร จะไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงในสัจธรรมได้เลย เมื่อสมาธิเสื่อมลง ก็นึกคำบริกรรมทำสมาธิให้จิตมีความสงบอีก แล้วเสื่อมไปอีก วกวนซ้ำซากอยู่อย่างนี้ จะไม่มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติแต่อย่างใด ขอให้พวกเราได้ศึกษาในหมวดมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้จัดหมวดหมู่เอาไว้แล้ว เป็นอุบายเปลี่ยนความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดความเข้าใจผิดในหลักความจริง แต่เรามาฝืนความเป็นจริง เพื่อให้ได้ตามที่ใจเราชอบ ถ้าไม่ได้ตามใจที่ต้องการก็จะเกิดความทุกข์ใจ นี้คือความเห็นผิดความเข้าใจผิดในหลักความเป็นจริง

    ถ้าความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ ก็จะเกิดความคิดผิดตามมา วาจาที่พูด กายที่ทำในสิ่งใด ก็จะเป็นการพูดผิดทำผิดเรื่อยไป ถ้าลบล้างความเห็นผิดให้หมดไปจากใจไม่ได้ เมื่อไปทำสมาธิ กำลังใจที่เกิดขึ้นจากจิตที่สงบก็จะมาบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดที่มีอยู่เดิมก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิขึ้นที่ใจ จะทำให้เกิดความไม่ปกติ จะมีความเพียรก็เป็นความเพียรที่ผิดปกติ จะมีสติระลึกถึงในสิ่งใดก็ระลึกได้ผิดปกติ จะเกิดมีปัญหาในการภาวนาปฏิบัติที่เป็นผลไม่ปกติเกิดขึ้น ที่พูดกันว่า กรรมฐานแตก หรือเป็นสัญญาวิปลาสภาวนาปฏิบัติเกิดเป็นบ้า ก็เพราะเหตุที่เป็นมิจฉาเดิมไม่ได้แก้ไขนั้นเอง พระพุทธเจ้าจึงให้แก้ไขความเห็นผิดให้หมดไปจากใจ ให้ตั้งหลักสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบตามหลักความเป็นจริงให้มั่นคง คำว่าความเป็นจริงหมายถึงความจริงที่เป็นไปในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้พิจารณาด้วยปัญญารอบรู้สิ่งที่เป็นไปตามไตรลักษณ์นี้อยู่ นั้นคือตั้งหลักสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม

    ถ้าตั้งสัมมาทิฏฐิ ปัญญาความเห็นชอบมีความมั่นคงภายในใจแล้ว ความคิดพิจารณาในสิ่งใด ก็มีความคิดที่ถูกต้องชอบธรรม จะพูดในเรื่องอะไร จะทำในสิ่งใด จะหาเลี้ยงชีพอย่างไร ล้วนแล้วแต่มีความชอบธรรม จะมีความเพียรในสิ่งใดก็เป็นความเพียรที่ชอบธรรม สติระลึกในสิ่งใดก็เป็นความระลึกที่ชอบ ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง จะทำสมาธิก็มีความตั้งใจที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ทั้งหลาย จะเป็นอารมณ์แห่งความรัก อารมณ์แห่งความชัง อารมณ์ที่ชอบใจ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่มีความหวั่นไหวไปตามอารมณ์นั้นๆ นี้คือปัญญารอบรู้ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอารมณ์สิ่งใดมาทำให้ใจเกิดความเห็นผิดไปได้ ฉะนั้นความเห็นผิดและความเห็นถูกทั้งสองนี้ จึงจำเป็นที่เราต้องศึกษาให้ใจได้รู้ว่า ความผิดและความถูกต่างกันอย่างไร แต่ละอย่างให้ผลเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจในสิ่งที่ผิด ก็จะไม่รู้ว่าความถูกเป็นอย่างไร ถ้าไม่รู้จักความชั่ว ก็ไม่รู้ว่าจะเอาความดีมาจากไหน ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจในตำราและคัมภีร์ที่ผิด จะหาเอาตำราและคัมภีร์ที่ถูกต้องชอบธรรมไม่ได้เช่นกัน

    นี่เองที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นห่วงหมู่พุทธบริษัทในช่วงบั้นปลายพระพุทธศาสนา ก็หมายถึงยุคของพวกเราในปัจจุบันนี้เอง พวกเราเคยได้อ่านในตำราและคัมภีร์มามากแล้ว จะได้รู้ความแตกต่างกันหลายตำราทีเดียว หรือได้รับฟังวิธีปฏิบัติแต่ละสำนักแต่ละครูอาจารย์ก็มีความแตกต่างกัน พวกเราผู้อ่านจะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ว่าตำราไหนผิด คัมภีร์ไหนถูก พวกเราก็พอจะเลือกเอาตำราที่ถูกได้ ถ้าเลือกได้ตำราและคัมภีร์ตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เราก็จะได้รับข้อมูลในหมวดธรรมที่เป็นจริง เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะได้รับผลถูกต้องตามที่เราต้องการ ถ้าเป็นหนังสือปรัมปราที่พากันเขียนขึ้นด้วยการสุ่มเดา เมื่อเอามาปฏิบัติก็จะเกิดผลที่ไม่ดีตามมา ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าต้องการให้พวกเราพึ่งตัวเอง หมายถึงให้พวกเราได้ฝึกสติปัญญาและแนวความคิดเป็นของตนเอง อย่าลอกเลียนแบบเอาจากตำราหรือเอาความรู้จากผู้อื่นมากนัก เหมือนกับการเขียนกระทู้ธรรม คำเฉลยในกระทู้นั้น ถือว่าเป็นตำราแบบอย่าง เราไม่ควรที่จะเขียนลอกเอาตามคำเฉลยนี้มาเป็นความรู้ของตัวเอง เราต้องฝึกสติปัญญาความรอบรู้เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น จึงจะสมกับคำว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เราต้องฝึกสติปัญญาให้เกิดขึ้นกับใจเราให้ได้

    มีนักปราชญ์ท่านให้คติธรรมเอาไว้ว่า การปฏิบัติอย่าทิ้งตำรา และอย่าเอาตามตำรา คำว่าอย่าทิ้งตำราและอย่าเอาตามตำราหมายความว่า ตำรานั้นเป็นต้นแบบตัวอย่าง เป็นหลักอ้างอิงได้เป็นอย่างดี ให้เราพิจารณาตั้งข้อสังเกตว่า ตำราหรือคัมภีร์นั้น เป็นความรู้ของผู้มีสติปัญญานำมาเขียนเอาไว้ ให้ทำความเข้าใจแก่ตนเองว่า เราต้องฝึกสติปัญญาขึ้นมาเอง ความรู้และปัญญาของเราก็ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับตำรา ถึงสำนวนและประโยคจะมีความแตกต่างกันไปบ้างก็ไม่เป็นไร ข้อสำคัญในความหมายให้เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนพระโปฐิละ ที่แบกใบลานเปล่า ถึงจะเรียนรู้จดจำมาจากตำรา ก็ถือว่าเป็นความรู้ของผู้อื่น จะเอามาแก้ปัญหาภายในใจของตัวเราไม่ได้เลย ฉะนั้นเราต้องฝึกสติปัญญาให้เกิดขึ้นแก่ตัวเรา แล้วเอามาแก้ปัญหาของตัวเราเอง จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ดังคำว่า หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง หมายความว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้นจากความเห็นและความคิดในเรื่องใด เราต้องใช้ปัญญาเรามาเป็นอุบายแก้ไข ให้ปัญหาทั้งหลายหมดไปจากใจให้ได้

    ฉะนั้นการปฏิบัติเราต้องพึ่งตัวเอง พึ่งสติปัญญาความสามารถของตัวเอง อย่าเป็นนิสัยลอกเลียนแบบอย่างของคนอื่นมากนัก เช่น มรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าได้เรียงลำดับไว้แล้ว ถ้าจัดให้เป็นสิกขา น่าจะออกมาในรูปแบบ ปัญญา ศีล สมาธิ เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา ที่พวกเราได้รู้กันมาจากตำรานั้น เพียงเป็นหลักสูตรในภาคปริยัติเท่านั้น เมื่อจะเอามาปฏิบัติต้องเอาตามหลักเดิม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้แล้ว เรียกว่า ปัญญา ศีล สมาธิ หลักปัญญาต้องนำหน้า เช่น ปัญญา ๓ คือ สุตฺตมยปัญญา จินฺตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา มีความชัดเจนว่า สุตฺตมยปัญญาเป็นปัญญาในภาคการศึกษา เช่นการศึกษาในหมวดศีล ๕ ศึกษาในหมวดศีล ๘ หรือหมวดศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ของพระเณร จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจในข้อห้ามนั้นให้ดี จึงรักษาศีลในหมวดนั้นๆต่อไป หรือจะทำสมาธิแต่ละวิธี ก็ต้องมีปัญญาศึกษาในหมวดสมาธินั้นๆให้เข้าใจจึงจะทำสมาธิต่อไปได้ เฉพาะหมวดศีล หมวดสมาธิ เป็นหลักปริยัติ ต้องใช้ปัญญาศึกษาให้เข้าใจ หรือธรรมะที่จะนำมาเป็นอุบายในการปฏิบัติ ก็ต้องศึกษาในหมวดธรรมนั้นๆให้รู้ความหมาย จึงเอาหมวดธรรมนั้นมาปฏิบัติต่อไป ฉะนั้นพวกเราต้องเอามรรค ๘ อันเป็นหมวดธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วในสมัยครั้งพุทธกาล มีพุทธบริษัทปฏิบัคิธรรมมรรค ๘ พากันได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเป็นจำนวนมาก ในยุคนี้ ถ้าพวกเราเอาวิธีปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า พวกเราก็จะรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมเหมือนในครั้งพุทธกาลเช่นกัน
     
  2. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๕. อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า ตรรก คิดคำนวณด้วยการสุ่มเดาเอา

    การสุ่มเดานี้ มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดได้ง่ายเหมือนการเดินทาง ถ้าไปด้วยการสุ่มเดาจะมีการหลงทางได้ง่าย จะกลับเข้าเส้นทางที่ถูกต้องนั้นยาก หรืองานทุกประเภท ถ้าทำด้วยการสุ่มเดา จะมีการทำที่ผิดพลาดนั้นสูง จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามเดิมก็ยากที่จะแก้ได้นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมครั้งนี้ความละเอียดอ่อน ถ้าสุ่มเดาในการปฏิบัติถูกก็โชคดีไป ถ้าสุ่มเดาผิดการปฏิบัติก็จะมีผลที่ผิดเกิดขึ้น ถ้าเข้าใจผิดคิดว่าปฏิบัติถูก ก็จะเกิดความเห็นผิดโดยไม่รู้ตัว เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของใจโดยตรง ส่วนกายวาจาเพียงเป็นอุบายประกอบเท่านั้น ข้อสำคัญคือใจที่เป็นศูนย์รวมให้แก่หมวดธรรมทั้งหลาย จึงเรียกว่าใจเป็นใหญ่เป็นประธาน การศึกษาธรรมต้องรู้จักในหมวดธรรมให้ชัดเจนว่า ธรรมหมวดไหนปฏิบัติแล้วให้ผลเป็นอย่างไร ถ้าปฏิบัติไปแบบสุ่มเดา โดยไม่เข้าใจในธรรม ปฏิบัติผิดก็ไม่รู้ปฏิบัติถูกก็ไม่รู้ จะไม่เกิดผลดีแก่ตัวเราแต่อย่างไร

    ธรรมหมวดใดที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่าไม่ถูกต้องให้พากันละ พวกเราก็ต้องละธรรมหมวดหมวดใดพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ให้พากันปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญ เราก็พากันปฏิบัติในธรรมหมวดนั้นๆ ให้เกิดความเจริญแก่ตัวเรายิ่งๆ ขึ้นไป มิใช่ว่าจะพากันพิจารณาปฏิบัติกันแบบสุ่มเดา อาจจะเข้าใจผิดไปว่า ธรรมนี้พระพุทธเจ้าให้ละ แต่เรากลับไปทำให้มากขึ้น หมวดธรรมนี้พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ให้พากันเจริญมากขึ้น แต่ก็พากันละธรรมกมวดนั้นเสีย ถ้าเป็นในลักษณะนี้ จะไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด เหมือนกับการรับเหมางานก่อสร้างอาคารต่างๆ ถ้าคิดราคาประมูลแบบสุ่มเดา ผู้รับเหมามีแต่จะขาดทุน การคำนวณน้ำหนักของอาคารแบบสุ่มเดา ฐานรองรับน้ำหนักของอาคารแบบสุ่มเดา ใส่เหล็กไม่ได้มาตรฐาน อาคารก็ทรงตัวไม่อยู่ จะทำให้เกิดการทรุดตัวพังทลายไปตามๆ กันนี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมด้วยการสุ่มเดา จะเอาความถูกต้องที่ชัดเจนไม่ได้เลย ธรรมปลอมก็ไม่รู้ ธรรมจริงก็ไม่เข้าใจ การปฏิบัติจะให้เข้าาถึงซึ่งมรรคผลนิพพานนั้นก็ต้องผิดหวังกันไป
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นหาหมวดธรรมที่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อได้หมวดธรรมที่ถูกต้องมาปฏิบัติ ก็จะเกิดผลดีที่ถูกต้อง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างสนิทใจ ในยุคนี้ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติจะเป็นในลักษณะแบบสุ่มเดา เหมือนคนตาบอกทำงานต้องลูกคลำไปมา เมื่อหาจุดไม่ได้ก็พากันสุ่มเดากันไป ใจก็เกิดความสงสัยลังเลไม่รู้ว่าตัวเองปฏิบัติผิดหรือถูก เกิดความไม่แน่ใจในหมวดธรรมนั้นๆ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นการปฏิบัติรูปแบบใด จับต้นชนปลายเกิดความสับสน ไม่แน่ใจในการปฏิบัตของตัวเอง ในที่สุดก็คือการปฏิบัติแบบสุ่มเดา เอาหลักธรรมที่แน่นอนไม่ได้ ปฏิบัติไปแบบสุ่มเดากันไป แบบไม่มีจุดหมายปลายทาง พากันไปถามหลวงพ่อหลวงตาบอกทางให้ ถ้าถามถูกองค์ที่รู้จริงเห็นจริงในสัจธรรมที่ถูกต้อง ถือว่าท่านผู้นั้นมีความโชคดีไป ถ้าถามถูกองค์ที่กำลังหลงทางสุ่มเาเหมือนกับเรา รับรองว่าหลวงพ่อจะเป็นผู้ได้เปรียบ ถามธรรมหมวดไหน หลวงพ่อก็ตอบได้หมดไม่มีคำว่า หลวงพ่อไม่รู้ไม่เข้าใจ กำลังหลงทางสุ่มเดาเหมือนโยมนั้นแหละ จะไม่มีคำอย่างนี้อย่างเด็กขาด หลวงพ่อจะไม่ยอมเสียโง่ให้กับใครๆ ทั้งนั้นจะต้องแสดงท่าทีลีลาออมา เหมือนักบว่าตัวเองมีความรู้จริงเห็นจริงในธรรมทันที ที่พูดกันอยู่เสมอว่า บอดจูงบอดไปไม่รอด เพราะตาบอดจูงกัน ฉะนั้น คำว่า ตรรก ถ้าหมายถึงคิดแบบสุ่มเดา จะเอาความถูกต้องชอบธรรมอย่างสนิทใจมาจากที่ไหน ในยุคนี้สมัยนี้อยู่ในช่วงบั้นปลายของพระพุทธศาสนา จะหาครูอาจารย์องค์ที่ท่านปฏิบัติดีมีความสามารถ และมีคุณธรรมพอจะหาได้ ถ้าหากเรามีสติปัญญา แสวงหาครูอาจารย์ที่ปฏิบัติมีความชอบธรรม จะหาท่านองค์นั้นได้โดยไม่เหลือวิสัย
    การสุ่มเดาถือว่าเป็นความเสี่ยงเป็นทั้งผิดและถูกเรียกได้ว่าถูกน้อยผิดมาก เฉพาะเรื่องมรรคผลนิพพานเป็นสถานที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น และไม่เคยได้ไปมาก่อนว่า มรรคผลนิพพานเป็นอย่างนี้ ส่วนอุบายแนวทางที่จะปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดนั้นจะมีการเริ่มต้นจากอุบายวิธีในการปฏิบัติอย่างไร ถ้าไม่เข้าใจก็จะพากันสุ่มเดา เรียกว่าปฏิบัติแบบสุ่มเดาเพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้เป็นจำนวณ เพราะจริตนิสัยของคนในยุคนั้น มีความแตกต่างกัน พระองค์จึงมีอุบายในธรรม ที่มีความแตกต่างไม่เหมือนกัน เมื่อเอามารวมกันไว้ในที่เดียวกันจึงเป็นพระธรรมคำสอนของพระองค์จำนวนมาก ถ้าผู้ฉลาดมีสติปัญญา จะเอาหมวดธรรมมาปฏิบัติ ให้ถูกกับจริตนิสัยของตัวเราไม่ยากเลย จะไม่มีการสุ่มเดาให้เสียเวลา ฉะนั้นเราต้องศึกษาจริตนิสัยของตัวเราให้รู้ว่า เรามีจริตนิสัยอะไร เมื่อมารู้มาเข้าใจในจริตนิสัยของตัวแล้ว ก็คัดจัดสรรหาหมวดธรรมมาปฏิบัติให้มีความต่อเนื่องกัน อีกไม่นานผลของการีปฏิบัติ ก็จะเกิดขึ้นที่ตัวเราเอง เหมือนกับคนป่วยกินยาถูกกับโรคกินไปไม่นานโรคก็จะหายไป ไม่เหมือนคนป่วยกินยาแบบสุ่มเดา กินยาหมดไปไม่รู้ว่ากี่ตัวกี่ชนิด โรคก็ไม่หายไปได้ นี้ก็เพราะกินยาแบบสุ่มเดา นี้ฉันใดการปฏิบัติธรรมแบบสุ่มเดา จะไม่เข้าถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้เลย
     
  3. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๖. อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า คาดคะเนไปตามเหตุผลของปรัชญาเพียงอย่างเดียว

    นี้ก็เป็นพุทธพจน์อีกอย่างหนึ่ง เราควรนำมาวินิจฉันวิเคราะห์ พิจารณาให้ดีตามหลักวิธีที่เขาคาดคะเนเอาไว้ว่า สิ่งนั้นควรเป็นอย่างนั้นสิ่งนี้ควรเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นการคาดคะเนไปตามหลักการอาจผิดถูกได้ ถ้าหากคาดการณ์เอาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเอง ตีความหมายเข้าข้างตัวเอง หาเหตุผลมาประกอบเพื่อเข้าข้างตัวเอง ถ้าเป็นในลักษณะนี้ ย่อมผิดไปจากธรรมาธิปไตย ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดความเข้าใจผิดทันที
    ในยุคปัจจุบันนี้ ที่มีอุบายการปฏิบัติมีความแตกต่างกัน ก็เพราะตีความหมายในการคาดคะเน ในหลักธรรมเพื่อให้เข้ากันได้ กับความเห็นของตน ถ้าตนมีความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด การคาดคะเนก็จะผิดไปตามความเห็นของตนในทันที เพื่อให้มีความสัมพันธ์กลมกลืนไปในความหมายนั้นๆ และเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ เข้ามาให้เป็นเรื่องเดียวกัน อ้างอิงเอาธรรมหมวดนั้นหมวดนี้บ้าง คาดคะเนเอาบ้าง ตีความหมายให้เข้ากันกับที่ตัวเองคาดคะเนเอาไว้ เหมือนบางศาสนา เขาก็มีอุบายวิธีตีความหมายในทางพระพุทธศาสนาแล้วเอามาประยุกต์ ใช้ให้เข้ากันกับศาสนาของเขาอย่างกลมกลืนกัน ตีความหมายโยงใยให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้ผู้อ่านที่มีสติปัญญาน้อย เกิดความเห็นคล้อยตามและเชื่อว่า ศาสนานั้นๆ มีหลักคำสอนเหมือนกันกับพระพุทธศาสนา เขาหารู้ไม่ว่า หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้องแม้จริงนั้นเป็นอย่างไร

    ฉะนั้นการคาดคะเนและตีความหมาย ไปตามเหตุผลนั้น ยังเป็นดาบสองคม แม้แต่ชาวพุทธด้วยกันเอง ก็ยังตีความหมายในหมวดธรรมนั้นๆ มีความแตกต่างกันไป เช่น คำว่า พุทโธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ก็มีการตีความที่แตกต่างกันไป มีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้าเรามีสติปัญญารอบรู้ตามความเป็นจริง จะรู้ได้ทันที เพราะมีชาวพุทธเราเข้าใจในความหมายการคาดคะเน ตีความกันไปตามความเข้าใจของแต่ละคน และไม่มีใครในยุคนี้สมัยนี้คัดค้านกันได้เลย และมีประโยคหนึ่ง ที่ตีความที่แตกต่างกันนั่นคือคำว่า “วิปัสสนา” นี้เป็นประโยคหนึ่ง ที่ชาวพุทธเราตีความหมายแตกต่างกันไป จึงทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสับสน เราเป็นชาวพุทธคนหนึ่งต้องพิจารณาให้ดี และกก็มีหลายประโยคที่ชาวพุทธ ตีความที่แตกต่างกัน เราจะเชื่อถือเอาอุบายแนวทางใดเป็นหลักยืนตัว ขอให้เราตั้งสติให้ดี มีเหตุผลให้เป็นธรรมาธิปไตย เอาความเป็นจริงในธรรมเป็นเครื่องตัดสินใจ

    ฉะนั้น การคาดคะเนเอาตามความเห็นของตัวเองมิใช่ว่าจะมีความถูกต้องไปเสียหมด ถึงจะมีเหตุผลมารองรับอยู่ก็ตาม ถ้าเหตุผลนั้นไม่เป็นธรรมก็จะเกิดความผิดพลาด จากหลักความจริงไปได้ เพราะความเข้าใจในทุกเรื่องจะมีหลักอนิจจัง ฝังอยู่ในตัวของมันเอง ตลอดไป ใครจะมีความเข้าใจอย่างไรถือว่าเป็นเรื่องของปุถุชน เหตุผลของปุถุชนกับเหตุผลของอริยชน จะเป็นผลออกมาแตกต่างกันอยู่แล้ว และในยุคสมัยนี้ เราจะมีความเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า ใครเป็นปุถุชนหรือริยชน จะมีเหตุผลอะไรมาเป็นตัววัด ดังข้าพเจ้าจะได้อธิบายเปรียบเทียบเอาไว้ เรื่องดูพระอริยเจ้านั้นดูยาก เพราะพระอริยเจ้าละนิสัยเดิมของตัวเองไม่ได้ นิสัยเดิมเป็นอย่างไร เป็นพระอริยเจ้าแล้วก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น จึงเปรียบเทียบได้ดังนี้
    ๑. น้ำลึก ๒. น้ำลึก เงาตื่น
    ๓. น้ำตื้น เงาลึก ๔. น้ำตื้น เงาตื้น

    ข้อ ๑. คำว่า น้ำลึก หมายถึง จิตที่ได้บรรลุถึงแล้วซึ่งคุณธรรม เงาลึก หมายถึง เป็นผู้มีกิริยา มารยาทในการแสดงออกมาทางกายและวาจา มีความสำรวมดีหาที่ตำหนิไม่ได้เลย

    ข้อ ๒. คำว่า น้ำลึก ก็หมายถึง จิตที่มีคุณธรรมที่เรียกว่า จิตเป็นพระอริยเจ้าแล้ว เงาตื้น หมายถึงกิริยาแสดงออกมาทางกายและวาจา ไม่มีความสำรวมเลย การทำการพูดก็เหมือนกับสามัญชนทั่วไปนิสัยไม่สมกับคำว่า สมณะ แต่อย่างใด ทั้งที่ใจได้บรรลุธรรมเป็นสามัญชนทั่วไปนิสัยไม่สมกับคำว่า สมณะ แต่อย่างใด ทั้งที่ใจได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าแล้ว จึงเรียกว่า น้ำลึก เงาตื้น

    ข้อ ๓. คำว่า น้ำตื้น หมายถึงจิตที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมที่เป็นอริยเจ้า คำว่า เงาลึก หมายถึง นิสัย กิริยา มารยาทสำรวมดี การยืน เดิน นั่ง นอน หรือการพูกมาทางวาจาก็เป็น กัปปิยะวาจา เป็นคำพูดที่สำรวม ประชาชนได้รับฟังคำพูดแต่ละประโยค ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา

    ข้อ ๔. คำว่า น้ำตื้น ก็หมายถึงใจยังไม่ได้บรรลุในคุณธรรม เงาตื้น หมายถึงกิริยามารยาทขาดการสำรวมอยากจะทำอะไรก็ทำไปตามใจชอบ ทั้งที่เป็นเรื่องนั้นไม่เหมาะสม ไม่เป็นกิจที่สมณะจะต้องทำ การพูดก็ไม่มีความสำรวม อยากจะพูดในเรื่องอะไร ก็ไม่คิดว่าคนอื่นจะเสียใจ พูดคำไม่สุภาพ หยาบคาย จะพูดดุด่าว่าใคร ก็ไม่คิดว่าคนอื่นจะเกิดความเสียหาย

    ถ้าหากเอากลุ่มน้ำลึก เงาลึก และเอากลุ่มน้ำตื้น เงาลึก มาอยู่ร่วมกัน ทั้งสองกลุ่มนี้ จะมีกิริยามารยาทที่สำรวมเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด ถ้าในลักษณะนี้ เราจะไม่รู้เลย กลุ่มไหนเป็นพระอริยเจ้าองค์จริงหรือองค์ปลอม ถ้าเอากลุ่มน้ำลึก เงาตื้น และเอากลุ่มน้ำตื้นเงาตื้น มาอยู่รวมกัน การแสดงออกด้วยกิริยา มารยาท ทางกายและวาจาจะไม่มีความสำรวมแต่อย่างใด ถ้าในลักษณะนี้ เราก็จะไม่รู้เลยว่า กลุ่มไหนเป็นพระอริยเจ้าองค์จริงหรือองค์ปลอม เช่นกัน ฉะนั้นการดูพระอริยเจ้าจะไม่รู้เลยว่า กลุ่มไหนเป็นพระอริยเจ้าองค์จริงหรืององค์ปลอมเช่นกัน ฉะนั้นการดูพระอริยเจ้าจะไม่รู้เลยว่า พระองค์ใด้ที่ได้บรรลุในคุณธรรมแล้ว และองค์ใดที่ยังไม่ได้บรรลุในคุณธรรม จึงดูได้ยาก รู้ได้ยากเพราะผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าแล้ว ไม่ได้ประกาศตัวว่าตนเองเป็นพระอริยเจ้าแล้ว เราจึงไม่รู้ ส่วนมากจะพากันคาดคะเนเอาเอง ถ้าครูอาจารย์ที่เรามีความเคารพกราบไหว้ มักจะได้รับคำพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ถ้าองค์ที่เราไม่เารพเชื่อถือ ถึงท่านจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าแล้ว ก็จะไม่อยู่ในสายตา มิหนำซ้ำยังมีความปรามาสต่อท่านไปด้วย เหตุนั้นการคาดคะเนไปตามเหตุการณ์ จะเชื่อว่าเป็นของจริงไปเสียทั้งหมดไม่ได้ ในยุคบั้นปลายพระพุทธศาสนานี้ จะต้องมีเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นแน่นอน จะเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้แล้วทุกประการ
     
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๗. อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า ตรึกตามอาการ

    คำว่า ตรึก ในความหมายง่ายๆ ก็คือนึกขึ้นได้นั้นเอง คำว่า ตรอง ก็หมายความว่า คิดพิจารณาไปตามอาการ ฉะนั้นการตรึกหรือนึกขึ้นได้ในสิ่งใดเรื่องใด ก็อย่าเพิ่งปักใจเชื่อว่า การตรึกได้อย่างนั้นจะมีความถูกต้องไปเสียหมด ตรึกถูกก็เป็นได้ หรือตรึกผิดก็เป็นไปได้เช่นกัน ฉะนั้นการตรึกนี้มีเหตุผลให้เกิดขึ้นในส่วนลึกของใจ เรียกว่า ตรึกไปตามความเห็น ถ้าความเห็นเป็นมิจฉาชีพก็จะมีการตรึกผิด ถ้าความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็จะมีการตรึกถูก คำว่า ตรึก ในอีกความหมายหนึ่ง เรียกว่า ระลึกได้ ก็หมายถึง สติ ก็คือระลึกได้นั่นเอง ความระลึกได้ของสติก็มีเหตุให่ระลึกได้สองอย่าง คือ สมัมาสติ ความระลึกได้ถูกต้องชอบธรรม มิจฉาทิฏฐิ จะมีความระลึกได้ไปทางทุจริต เป็นมิจฉาหาความถูกต้องชอบธรรมไม่ได้เลย ฉะนั้นการตรึกจึงเป็นไปได้ในทางโลกและทางธรรม หรือการตรึกตรองของคนพาลสันดานชั่ว ก็ตรึกในรูปแบบหนึ่ง การตรึกชองผู้เป็นนักปราชญ์บัณฑิต ก็มีการตรึกไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ทุกคนจะมีการตรึกด้วยกัน จะมีการตรึกผิดหรือถูกเราต้องใช้วิธีการตรองนั้นคือ นำการตรึกมาพิจารณาด้วยปัญญา ให้รู้เห็นในเหตุผลที่เป็นจริง ก็จะเกิดความเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า ตรึกอย่างไรเชื่อถือได้ ตรึกอย่างไรเชื่อถือไม่ได้ เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาจนเรื่องนั้น เกิดความแยบคายและหายความสงสัย
    ตรึกอีกรูปแบบหนึ่งคือ ระลึกรู้ไปตามอารมณ์ของจิต อารมณ์ของจิตยังตกอยู่ในสังขารที่เรียกว่าสังขารจิต สังขารจิตนี้เองก็จะไปตรึก ในสมมตินั้นบ้างและตรึกในสมมตินี้บ้าง แล้วก็ขยายสมมติออกไปที่เรียกว่าปรุงแต่ง จึงเป็นสังขารการปรุงแต่งไปตามสมมติทั้งหลาย แล้วขยายวงกว้างออกไปโดยไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ และเข้าสู่วงจรของภพทั้งสาม อันมีกิเลสตัณหาพาให้เป็นไป ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ อีกประการหนึ่งการตรึกนี้ย่อมเกิดกับผู้ที่ชอบทำสมาธิความสงบอยู่บ่อยๆ สงบอยู่นานๆ อย่างต่อเนื่อง จนจิตได้เกิดความวางเฉย หรือเรียกว่าจิตว่าง ไม่มีอารมณ์แห่งความรัก ความชัง หรือว่างจากตัณหาราคะ ถ้าเป็นในลักษณะนี้อาจตรึกไปว่า นี้เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบัณบ้าง เป็นภูมิธรรมของพระสกิทาคามีบ้างเป็นภูมิธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นทุกติยฌาณ เป็นตติยฌาณบ้าง เป็นจตุตถฌานบ้าง หรือรูปฌาณบ้าง อรูปฌาณบ้าง
    ฉะนั้น การตรึกตรองอย่างนี้จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความตรึกผิด ความเห็นผิด เข้าใจผิด จะกลายเป็นผู้สำคัญในตัวเองผิดไปโดยไม่รู้ตัว พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า ตรึกตามอาการในลักษณะอย่างนี้ ถ้าผู้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญารอบรู้ในเหตุและผล และมีความรอบรู้ในหลักสัจธรรมตามความเป็นจริง สิ่งที่ตรึกผิดดังที่ได้อธิบายมา จะไม่เกิดการตรึกผิดแต่อย่างใด เพราะความเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ชอบธรรม ถ้ามีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม เป็นหลักยืนตัวที่มั่นคงแล้ว ธรรมที่เป็นสัมมาในหมวดอื่นๆ ก็จะดึงดูดเข้ามาหาความเห็นชอบนี้ ทั้งหมดเป็นอุบายการปฏิบัติธรรมที่เป็นไปในความเจริญ เรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เข้าทางแห่งองค์มรรคได้แล้ว ไม่มีทางแยกอื่น ที่จะทำให้เกิดความหลงผิดแต่อย่างใด ใจก็ไหลทวนกระแสของกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ และเป็นไปในมรรคผลนิพพานในเวลาอันใกล้นี้
     
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๘. อย่าได้เชื่อเพียงว่า ชอบใจที่เข้ากันได้กับทิฏฐิของเรา

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้ ต้องมีสติปัญญาตีความหมายให้ชัดเจน เพราะตามปกติเราก็มีทิฏฐิ คือความเห็นอยู่ในใจเราอยู่แล้ว ให้เราได้มาศึกษาทิฏฐิความเห็นของตัวเองว่า เห็ฯผิดหรือถูก เพราะตามปกติแล้ว คนเราจะมีความเห็นผิดเป็นเจ้าเรือนอยู่แล้ว หากมีคนอื่นที่มีความเห็นผิดเหมือนกันกับเรา เรียกว่าเห็นผิดไปในทิศทางเดียวกับเรา เมือ่ได้เข้าไปสนทนาซึ่งกันและกันในเรื่องใดก็ตาม ความเห็นนั้นจะเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน การทำก็มีความคิดเห็นตรงกัน การพูดก็มีความเห็นตรงกัน ความเห็น ความเห็นในทุกเรื่องก็มีความเข้าใจที่เหมือนกัน ความผูกพันในหลักความเชื่อใจไว้ใจกัน เพราะตรงกับความเห็นของเรา สมมติว่ามีครูบาอาจารยืองค์นั้นท่านสอนสมาธิมาดี มีการสอนอยู่เสมอว่า ทำสมาธิไปเถอะ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะเกิดปัญญาขึ้น เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ก็จะไปละกิเลสตัวนั้นและละตัณหาตัวนี้ เมื่อเราได้รับการสอนมาอย่างนี้ และเราก็มีความเห็นเป็นอย่างนี้แล้ว ฉะนั้นการที่ได้ฟังครูบาอาจารย์อธิบายใรการทำสมาธิว่า เมื่อจิตสงบแล้วปัญญาจะเกิด ทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเองขึ้นมาว่าทิฏฐิความเห็นของอาจารย์ ก็ตรงกันกับความเห็นของเรา และเข้ากันได้อย่างสนิทแนบแน่น มีความเชื่อมั่นเคารพ นับถือ ในครูอาจารย์องค์นั้นอย่างฝังใจ สายทางปฏิบัติก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ ใครจะมาพูดว่าทิฏฐิความเห็นอย่างนี้ผิดก็จะมีการต่อต้านเอาชีวิตเข้าประกันว่าถูกต้องแล้ว ถ้าทิฏฐิความเห็นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดก็จะมาเข้าใจว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมตลอดไป

    ในลักษณะการอบรมสั่งสอนในวิธีนี้จะมีสำนักน้อยใหญ่สอนกันในวิธีอย่างนี้ มีอยู่ถึง ๙๙.๙๙% ไม่ว่าจะในแระเทศไทยหรือต่างประเทศต่างพากันสอนวิธีทำสมาธิ ให้จิตมีความสงบแล้ว จะมีปัญญาเกิดขึ้น ตามความเข้าใจของผู้สอน การทำสมาธิให้จิตมีความสงบนั้นย่อมทำได้ เมื่อจิตมีความสงบแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ขอให้ท่านสังเกตดูตัวเองบ้างว่า ปัญญาเราได้เกิดขึ้นหรือยัง ถ้าท่านได้ศึกษาในประวัติของพระอริยเจ้า ในยุคสมัยครั้งพุทธกาลท่านจะเข้าใจได้ทันทีว่า ในบั้นปลายพระพุทธศาสนา จะเกิดปัญหาในทิฏฐิความเห็น เป็นดังที่ได้อธิบายมานี้พระพุทธองค์จึงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ เพื่อให้กุลบุตรลูกหลานที่เกิดมา ในบั้นปลายพระพุทธศาสนา ได้คิดพิจารณาในเหตุผลดูบ้าง ในบางท่านอาจจะมีสติปัญญาและเหตุผล ก็จะมีอุบายวิธีที่เปลี่ยนทิฏฐิในความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด ให้เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิมีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมได้ และจะเปลี่ยนนิสัยในทางความเชื่อในทางที่ผิด ให้เกิดเป็นความเชื่อในทางที่ถูกได้ ในยุคนี้ถือว่าเรามีความโชคดี ที่มีพระพุทธศาสนา เป็นสรณะที่พึ่งทางใจ ในคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกหมวดหมู่ และทุกขั้นตอนล้วนแต่เป็นคำสอนที่เป็นจริง มีบทอ้างอิงพร้อมด้วยเหตุผลที่เชื่อถือได้ สิ่งใดผิดพระองค์ก็ตรัสไว้ว่าสิ่งนั้นผิด สิ่งใดถูกพระพุทธองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่าสิ่งนั้นถูก จะเป็นฝ่ายโลกียธรรมหรือฝ่ายโลกุตรธรรม ทุกคำสอนของพระพุทธเจ้าล้วนเป็นของจริงทั้งสิ้น ข้อสำคัญจะเป็นที่พวกเรา เอาคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาตีความหมายผิดไปเองโดยไม่รู้ตัว ทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดความมัวหมอง และไม่ถูกต้องตามหลักเดิมที่พระองค์ได้ตรัสเอาไว้

    พระพุทธเจ้าทรงมีพระญาณรู้แล้วว่า เมื่อบั้นปลายพระพุทธศาสนา จะมีผู้ตีความในคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดเพี้ยนไป คำสอนของพระองค์จะแตกเป็นก๊กเป็นเหล่าแล้วเอาคำสอนหมวดนั้นไปศึกษา เมื่อหนังสือมีหลายหมวดก็ยิ่งแตกต่างกันออกไปหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีความเห็นตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เมื่อศึกษาในหมวดธรรมต่างๆ ก็จะเกิดทิฏฐิ มีความเห็นไม่ตรงกันจำเป็นต้องจับกับเป็นกลุ่มเป็นสาย ถ้ากลุ่มนั้นสายนั้นมีความเข้าใจในธรรมเหมือนกัน การปฏิบัติก็ไปในทิศทางเดียวกันร่วมกันได้ ชาวพุทธที่มีอยู่ในโลกนี้หลายประเทศ แต่ละประเทศ แยกกันออกมีหลายนิกาย เฉพาะประเทศไทยเป็นอย่างไรก็รู้กันอยู่แล้ว และแยกออกเป็นหลุ่มย่อยที่เรียกว่า สายนั้นสายนี้มีจำนวนมากเลยทีเดียว ใครชอบใจในทิฏฐิ ความเห็นสายใดก็เข้าไปปฏิบัติตามสายนั้น ในบางกลุ่มบางสายก็ใช้ความรุนแรงเพื่อแสดงว่ากลุ่มเราสายเรา มีการภาวนาปฏิบัติถูกต้องเพียงสายเดียว กล่าวคำชั่วร้ายถากถางไปว่า กลุ่มอื่นสายตาอื่นปฏิบัติผิด หรือโฆษณาประกาศให้คนในกลุ่มอื่นสายอื่น มีความเชื่อถือแล้วคล้อยตาม ทางการเมืองเขาพูดกันว่าดูด ส.ส.กัน ทางชางพุทธจะว่าดูดศรัทธา ในลักษณะนี้จะว่ามีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ หลายคนพอจะเข้าใจในเรื่องอย่างนี้ ในยุคสมัยนี้เป็นอย่างนี้อีกร้อยกว่าปีขึ้นไป ชาวพุทธจะแยกเป็นกลุ่มเป็นสาย เพิ่มขึ้นอีกไม่รู้ว่าจะมีมากน้อยเท่าไร ใครชอบใจทิฏฐิ ความเห็นในกลุ่มใดสายใด ก็ต้องไปเกาะกลุ่มรวมกันอยู่สายนั้น

    นักปราชญ์ท่านมีการเปรียบเอาไว้ว่า เรื่องของตาบอดคลำช้าง ใครคลำถูกจุดไหน ก็จะพูดว่าช้างเป็นตัวอย่างนั้นไป ความเข้าใจในทิฏฐิคือความเห็นไม่ตรงกัน จึงมีความขัดแย้งกันในความเห็น ใครก็ว่าตัวถูก หาอุบายวิธีเพื่อที่จะโน้มน้าวให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเชื่อในความเห็นของตัวเอง เมื่อตกลงกันไม่ได้ ก็ไปถกเถียงกันอยู่ใต้ร่มมะกอกที่มีผลสุกงอม ขณะนั้นมีมะกอกลูกหนึ่งได้หล่นลงมาถูกหัวคนตาบอดคนหนึ่ง อะไรเกิดขึ้นให้เราคิดดูก็แล้วกัน ถึงจะมีคนตาดีที่รู้จักช้างทั้งตัวเป็นอย่างไร จะไปทำความเข้าใจอธิบายเรื่องช้างให้ฟัง คนตาบอดเหล่านั้นจะเชื่อตามคนตาดีหรือไม่ จึงยากมากที่จะให้กลุ่มคนตาบอดนั้นกลับใจได้ นี้ฉันได้ ชาวพุทธทั้งหลาย ในุยคนี้สมัยนี้ ให้เราได้พิจารณาดูในเหตุการณ์อย่างนี้ก็แล้วกัน

    ฉะนั้นชาวพุทธทั้งหลาย จงมาศึกษากันในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจให้เป็นไปในธรรมาธิปไตยเอาความจริงในสัจธรรมเป็นหลัก ใช้เหตุผลมาเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดยอมรับในความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว พระองค์ตรัสว่าสิ่งนั้นผิดก็ต้องผิด พระองค์ตรัสว่าถูกต้องก็ต้องถูก ถ้าเราเอาอัตตาธิปไตยเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติมในคำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อไร ความเห็นของเราก็จะมีการเปลี่ยนไปในทันที จะตีความหมายในคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้ากันกับความเห็นของตัวเองไปนี้คือจุดเสื่อมของพระพุทธศาสนา อนาคตต่อไปภายภาคหน้า กุลบุตรลูกหลานที่เกิดมาในสุดท้ายภายหลังได้อ่านหนังสืออย่างนี้ ก็จะมีความเห็นผิดเข้าใจผิดติดต่อกันไป ไม่มีผลดีกับคนในยุคนั้นเลย ฉะนั้นขอให้ชาวพุทธในยุคนี้ ได้วางพื้นฐานในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง เพื่อรองรับลูกหลานที่จะเกิดมาในวันข้างหน้าให้เขาได้รับความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อรองรับลูกหลานที่จะเกิดมาในวันข้างหน้าให้เขาได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ในคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป จนถึงยุคกาลสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่าหลังจากพระพุทธองคืได้อนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ต่อไปอีก ๕,๐๐๐ ปี พระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นจากโลกนี้
     
  6. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๙. อย่าได้เชื่อเพียงว่า ผู้พูดเป็นที่น่าเชื่อถือได้

    นี่ก็เป็นอุบายหนึ่งที่เราควรนำมาฝึกตัวเอง เพื่อเป็นการฝึกฝนนิสัยไม่เชื่ออะไรเร็วเกินไป ถึงผู้พูดจะเป็นที่น่าเชือ่ถือได้ก็ตาม เรื่องที่คนอื่นพูดนั้น เราอย่าเพิ่งน้อมใจเชื่อไปเสียหมด ให้เอาเรื่องที่ได้ฟังนั้นมาพิจารณาให้เข้าใจในเหตุผลก่อนว่า เรื่องที่ได้ฟังมามีเหตุผลพอเชื่อถือได้หรือไม่ ให้ใช้สติปัญญามาวิจัยวิเคราะห์ ตีความหมายในเรื่องที่ได้ยินมาให้เข้าใจ ให้เป็นไปในหลักธรรมที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ผ่านการพิจารณาด้วยปัญญา รอบรู้ตามความเป็นจริง ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นจนเกิดความแยบคาย ว่าเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้ แล้วจึงตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อในภายหลัง ถ้าเชื่อเร็วเกินไปจะทำให้ได้รับความโง่เขลางมงายตามมาโดยไม่รู้ตัว เรียกว่าเชื่ออะไรแบบมั่วๆ โดยขาดเหตุผลและหลักฐาน จะเป็นศรัทธาวิปยุต เชื่ออะไรจะขาดสติปัญญา จะนำพาตัวเองเกิดความงมงายไร้เหตุผล เรียกว่าเป็นคนหูเบาใจเบา เอาความเชื่อตัวเองไปฝากไว้กับความเห็นของคนอื่น ผลที่ได้รับก็คือความผิดหวัง ความเสียใจที่ตัวเองได้ตักสินเชื่อไปในทางที่ผิดแล้ว

    ฉะนั้น เราอย่าเป็นนิสัยเชื่อแต่คนอื่นเพียงฝ่ายเดียว เราต้องฝึกสติปัญญาหาวิชาความความรู้ มาเป็นองค์ประกอบมาเป็นเหตุผลของตัวเองให้มาเอาไว้จะได้ซื้อว่าเป็นที่พึ่งตัวเองได้ จะได้ไม่ถูกหลอกต้มตุ๋นจากคนอื่นต่อไป ดังจะได้ยกเอาประวัติของบุคคลที่เชื่อง่ายมาเป็นอุทาหรณ์สอนตัวเองดังนี้ ในสมัยครั้งพุทธกาลมีภิกษุกลุ่มหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มีความต้องการฟังธรรม เพื่อจะนำภาวนาปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ พากันฟังด้วยความตั้งใจ เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้จดจำเอาหมวดธรรมนั้นๆ ใส่ใจเอาไว้เป็นอย่างดี แล้วกราบลาพระพุทธเจ้าเพื่ออกธุดงค์วิเวก หาสถานที่ภาวนาปฏิบัติต่อไป ในขณะที่เดินทางอยู่นั้น บังเอิญได้ไปพบพระสารีบุตร ทั้งสองฝ่ายก็ได้สนทนาธรรมซึ่งกันและกัน กลุ่มที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้ามาก็ได้เล่าหมวดธรรมที่ได้ฟังจากพระพุทธเจ้าให้แก่พระสารีบุตรฟัง แล้วถามพระสารีบุตรว่า ธรรมที่ได้ฟังจากพระพุทธเจ้าสอนมาอย่างนี้ๆ พระสารีบุตรเชื่อหรือไม่ ท่านพระสารีบุตรก็ตอบทันทีว่า ข้าพเจ้ายังไม่เชื่อพระเหล่านั้นเมื่อได้ฟังพระสารีบุตรตอบว่าไม่เชื่อเท่านั้น ก็เกิดความโกรธภายในใจ พระเหล่านั้นจึงได้นำเรื่องนี้กลับไปกราบทูลพระพุทธเจ้า แล้วเล่าเหตุการณ์ที่ได้ไปสนทนาธรรม กับพระสารีบุตรในหมวดธรรมต่างๆ แต่พระสารีบุตรไม่เชื่อ

    เมื่อพระพุทธเจ้าได้รับฟังอย่างนี้ พระองค์ก็ให้พระเหล่านั้น ไปนิมนต์พระสารีบุตรเข้าฝันทันที พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า ธรรมที่เราตถาคตได้อธิบายให้พระเหล่านี้ได้รับฟัง ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมที่เป็นของจริงทั้งนั้น ที่ว่าพระสารีบุตรไม่เชื่อนั้นจริงหรือไม่ พระสารีบุตรได้กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าว่า จริงพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า ทำไมจึงไม่เชื่อในธรรมของเราตถาคตเล่า พระสารีบุตรได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ธรรมหวมดนั้นๆ ข้าพระองค์ยังไม่ได้พิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงก่อน ข้าพระองค์จึงตอบพระเหล่านี้ว่า ยังไม่เชื่อในธรรมหมวดนั้นพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า นี้ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตร เป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดในธรรม ไม่เชื่ออะไรง่ายดายเหมือนพวกเธอ พวกเธอทั้งหลายควรเอาแบบอย่างพระสารีบุตรผู้เป้นปราชญ์นี้ ตราบใดที่ยังไม่รู้เห็นธรรมหมวดนั้นๆ ต้องเอาธรรมหมวดนั้นๆ มาพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาของตัวเองก่อนจึงตัดสินใจเชื่อในภายหลัง มิใช่ว่าได้ฟังธรรมมาอย่างไรก็ตัดสินใจเชื่อก็ตาม ถ้าเป็นนิสัยเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ได้พิจารณาให้รู้เห็น ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาของตัวเอง จะมีความโง่เขลาเป็นสมบัติของตัวเอง

    นี้พวกเราทั้งหลาย เมื่อได้รับฟังเรื่องนี้แล้วพวกเราทั้งหลายควรเอามาเป้นแบบอย่าง ฝึกนิสัยตัวเองให้เหมือนักบพระสารีบุตรให้ได้ ถ้าทำได้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาสาธุกับท่านมาในที่นี้ด้วย การอ่านหนังสือธรรม การฟังเทศน์ในรูปแบบใด ขอให้เราเอาธรรมที่ฟังมาพิจารณา วิจัย วิเคราะห์ให้ดี และมีเหตุผลเป้นองค์ประกอบในการตัดสินใจ นี้คือ นิสัยของนักปราชญ์ผู้ฉลาดธรรม ถ้าเป็นทางโลก คนที่เชื่ออะไรง่ายก็จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดไป ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีความอยาก เช่นอยากรวยในเงินทองกองสมบัติ และขาดความยั้งคิดในทางสติปัญญา ใครพูดออกมาอย่างไรในวิธีรวยทางลัด ถ้าไม่รู้เท่าทันในเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายในวิธีรวยทางลัด ในวิธีการต้มตุ๋นหลอดหลงแล้ว เขาพูดอย่างไรก็เชื่อตามว่าต้องได้เงินก้อนมหาศาล ดังข่าวที่ออกมาทางทีวี หนังสือพิมพ์ ที่รู้กันในยุคปัจจุบัน ฉะนั้นความเชื่อง่ายจะทำให้ตัวเองได้รับความเดือนเป็นทุกข์หาความสุขไม่ได้เลย เพราะสันดานของคนเราส่วนใหญ่ จะมีนิสัยในความเชื่อง่าย ได้ฟังเรื่องอะไรจากบุคคลที่พอเชื่อถือได้ ก็ตัดสินใจเชื่อไปอย่างนั้น เชื่อแบบไม่ได้คิดพิจารณาในเหตุผลแต่อย่างใด หรือวัยคะนองของหญิงสาว ที่มีข่าวออกมาในทางที่ไม่ดี เรื่องอย่างนี้มีข่าวอยู่ทุกประเทศทั่วโลก นี้ก็มาจากความเชื่อเป็นต้นเหตุ นี่เป็นเพียงให้ข้อคิดสะกิดใจ เพื่อให้ทุกคนได้ตั้งสติ ฝึกใจให้มีปัญญารอบรู้ ในเรื่องที่จะทำให้ตัวเองเกิดความเสียหาย ถึงเราจะได้รับฟังมาในเรื่องอะไร หรือคิดว่าเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือได้ก็ตาม เราต้องตั้งหลักให้ดีมีความรู้รอบตัวเอาไว้ เมื่อได้รับฟังในเรื่องใด เราจะได้พึ่งความรู้ความสามารถของตัวเองได้
     
  7. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ๑๐. อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า สมณะนั้นเคยเป็นครูของเรา

    คำว่าสมณะนั้น หมายถึงพระ หรือแปลอีกประโยคหนึ่งว่า หมายถึงผู้สอน เคยเป็ยครูของเรามา หมายถึง ท่านนั้นเคยเป็นครูอาจารย์ของเราหมายถึง เคยสั่งสอนอบรมเรามา ได้ช่วยเหลือสงเคราะห์เรามา เคยเป็นสรณะที่พึ่งในตัวเอาตลอดมา คำว่าอย่าได้เชื่อ หมายถึงสมณะนั้นจะอบรมสั่งสอนในวิธีภาวนาปฏิบัติให้เราได้เข้าถึงซึ่งมรรคผลในนิพพานหรือไม่ สมณะนั้นท่านมีความรู้ความฉลาดรอบรู้ในธรรมที่ถูกต้องเพียงใดความรู้กสึกความเข้าใจสมณนั้น จะมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้องชอบธรรม หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดไปจากเส้นทางแห่งมรรคผลนิพพาน เมื่อเรายังไม่เข้าใจในความเห็นของท่านและความรู้ความสามารถของท่านอย่างถูกต้อง เราก็อย่าเพิ่งตัดสินใจว่า ท่านจะแนะนำอบรมสั่งสอนให้เราได้รับความถูกต้องได้ ถึงท่านจะเป็นสมณะ เป็นนักบวชก็ตาม ความรู้เห็นของท่านในทางปฏิบัติธรรมอาจผิดพลาดได้ เมื่อได้ฟังธรรมจากท่านแล้ว เราควรจะนำเอาหมวดธรรมนั้น มาพิจารณาก่อนว่า เรื่องที่ท่านพูดนั้นมีเหตุผล พอเชื่อถือได้เพียงใด มิใช่ว่าเคยเป็นครูของเรามา แล้วก็จะเชื่อท่านไปเสียหมด ฉะนั้นเราต้องฝึกตัวเรา ให้มีนิสัยอย่าเชื่ออะไรง่ายเกินไป ไม่เช่นนั้นเราจะผิดหวังในภายหลัง ดังที่มีข่าวใหญ่ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ผิดหวังมาแล้ว ก็เพราะถือว่า ท่านเคยเป็นครูบาอาจารย์เรามานั่นเอง

    ถึงเท่านจะมีบุญคุณต่อเรา เคยสงเคราะห์ช่วยเหลือตัวเรามาก็ต้องแยกออกจากกันเป็นคนละส่วน เราต้องมีนิสัยกตัญญูกตเวที นึกถึงบุญคุณท่านในส่วนนี้ อะไรที่จะตอบแทนบุญคุณท่านได้ เราก็ปฏิบัติไปตามหน้าที่ของเรา อย่าประมาทในตัวท่าน และให้ความเคารพในตัวท่านอยู่เสมอ อันความถูกต้องในทางธรรมปฏบัติก้เป้นอีกส่วนหนึ่ง อย่าเอาบุญคุณ และความถูกต้องในธรรมปฏิบัติไปรวมกัน จะทำให้เกิดความสับสน คำว่าศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ให้เชื่อในสิ่งควรเชื่อ สิ่งใดควรเชื่อถือได้ สิ่งใดเชื่อถือไม่ได้ เราต้องรู้วิธีเลือกเฟ้นในความเชื่อ ให้ถูกต้องตามหลักควาเมป็ฯจริง มีเหตุที่เป็นธรรมาธิปไตย รองรับในความเชื่อนั้นๆ ฉะนั้นความเชื่อจึงเป็นดาบสองคม เป็นได้ทั้งคุณและโทษ มีประโยชน์และเสียประโยชน์ พุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ ก็เพราะพระองค์มีพระญาณหยั่งรู้แล้วว่า เมื่อถึงยุคบั้นปลายพระพุทธศาสนา จะมีศรทธาบางคนบางกลุ่มมีความเชื่อต่อพระบางองค์ที่เรียกว่า เชื่อแบบผูกขาดไม่ยอมเชื่อต่อพระองค์ไหนอีกเลย ไม่เชื่อถือในพระธรรมจากพระองค์อื่น หรือไม่ฟังเทปธรรมะของพระองค์อื่นๆ แต่อย่างใด จะมีความเชื่อฝังใจอยู่กับพระองค์เดียวเท่านั้นหรือเชื่อว่าอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์องค์อื่นเป็นพระอรหันต์ไม่ได้เลย ถ้าหากแต่ละกลุ่มมีความเชื่อในครูอาจารย์ของตัวเองอย่างนี้ จะเกิดความแตกแยกของหมู่ชาวพุทธด้วยกัน แต่ละกลุ่มก็จะยกเหตุผลในความดี ความเด่นของอาจารย์ตัวเองเพื่อชูโรง เพื่อเชิญชวนคนอื่นเป็นสมาชิกเพิ่มให้มากเอาไว้ มีอะไรเกิดขึ้นจะได้ใช้พลัง ในการต่อรองว่ากลุ่มนี้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์องค์นี้ กลุ่มนั้นเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์องค์นั้น เมื่อเป็นไปในลักษณะนี้เกิดขึ้น พระพุทธศานสนาจะมีความบอบช้ำเพียงใด ขอให้ทุกคนศึกษาเรื่องนี้ให้ดี

    อีกจุดหนึ่งให้เรามองมุมกลับดูบ้างว่า สมณะนั้นจะเชื่อถือ และผูกขาดต่อลูกศิษย์ได้หรือไม่ เป็นไปได้เพราะเป็นปุถุชน ต้องหวังผลประโยชน์จากลูกศิษย์อยู่แล้ว มีพระบางองค์ได้ผูกขาดกับลูกศิษย์บางกลุ่ม ได้สัญญาต่อลูกศิษย์ว่า ถ้าเข้ามาเป็นลูกศิษย์แล้ว ห้ามไปเป็นลุกศิษย์พระองค์อื่นอีก ถ้าขืนไปจะต้องขาดจากกันไม่ถือว่าเป็นลูกศิษย์กันอีกต่อไป ในเหตุนี้มีช่องทางให้เกิดขึ้นได้ ที่เรียกว่า ศิษยามัจฉริยะ หมายถึงพระหวงลูกศิษย์ หรือพระหวงตระกูล ถ้าได้ตระกูลที่มีฐานะร่ำรวยอุปัฏฐาก ให้ความสะดวกสบายในปัจจัยสี่ที่สมบูรณ์ หากพระองค์อื่นไปทำความรู้จักคุ้นเคยกับตระกูลของเราแล้ว จะมีปฏิกิริยา โต็ตอบขัดขวาง กีดกัน ทุกวิถีทาง เรื่องอย่างนี้มีมาแล้ว ในสมัยครั้งพุทธกาล จึงมีคำบาลีว่า มจฺฉริยตกูล ที่แปลว่า มีความตระหนี่ในตระกูล หรือมีบาลีอีกว่า อาวาสมจฺฉริย แปลว่า พระผู้หวงอาวาส (หวงวัด) ความหวงความตระหนี่ ที่เป็นเรื่องของพระมีมากมายหรือลูกศิษย์ก็มีความหวงในครูอาจารย์ก็มีมากเช่นกัน

    ฉะนั้นพวกเราเป็นชาวพุทธ ควรทำตัวในทางที่ดีอวดศาสนาอื่นเขาบ้าง เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุผลรองรับในความถูกต้อง คนที่เคยนับถือศาสนาอื่นมาแล้ว เมื่อได้เข้ามาศึกษาหลักพระพุทธศาสนาเขายอมรับว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเหตุผลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดในโลก ขณะนี้ต่างคนต่างศาสนาพากันเข้ามานับถือพระพุทธศาสนากันมากขึ้น แต่ไม่ได้เปิดเผยเป็นทางการเท่านั้น ผู้ที่เข้ามาล้วนแล้วแต่เป็นปัญญาชนมีการศึกษาดีและมีเหตุมีผลในตัวของเขาเอง ถึงเขาไม่ได้ประกาศตัวเป็นพุทธมามกะ ต่อนห้าพระสงฆ์ แต่เขาก็เป็นชาวพุทธโดยปริยาย และไม่ควรพูด ว่าประเทศอะไรบ้าง ที่เป็นชาวพุทธวิธีลึกลับอย่างนี้ แต่เขาจะปิดบังในสังคมศาสนาเดิมเอาไว้ แต่ใจของเขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นชาวพุทธเต็มตัว

    ที่พวกเราเป็นชาวพุทธนั้น ก็เป็นความจริงตามที่เราพูด แต่เป็นชาวพุทธกี่เปอร์เซ็นต์ ให้เรามาประเมินดูตัวเราเองก็แล้วกัน เหตุนั้นข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียง เรื่องกาลามสูตรขึ้นมา มิใช่ว่าเป็นเรื่องใหม่กาลามสูตรนี้เป้ฯพุทธพจน์ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว จึงขยายข้อความนั้นยาวออกไป เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้น ขอให้ท่านอ่านไปพิจารณาไปในเหตุผลว่า เราจะประพฤติตนอย่างไรจะไม่ทำให้ตนเอง ตกอยู่ในกลุ่มกาลามชนกลุ่ม ถ้าหากท่านยังมีความสงสัย และยังไม่เข้าใจในธรรมหมวดใด ข้าพเจ้าพร้อมที่จะให้ความกระจ่างเพิ่มเติม คิดว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์ แก่ตัวท่านอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ขอให้ท่านนำเรื่องกาลามสูตรทั้ง ๑๐ ข้อนี้มาพิจารณา ท่านจะมีวิธีการอย่างไรในภาคปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเรา มีความเชื่อแบบกาลามชน เราต้องฝึกความเห็นให็ถูกต้อง แล้วจึงเชื่อในภายหลัง ขอให้ท่านจงมีสติปัญญารอบรู้ในสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว หากกุศลบารมีเราพร้อมแล้ว ขอให้ท่านจงก้าวสู่กระแสธรรมคือมรรคผลนิพพานด้วยเทอญ


    อภินิหารมี ๓ อย่าง

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้นานาประการ
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ รู้วิธีพูดดักใจคนอื่นได้
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ มีความสามารถแสดงธรรมอย่างมีเหตุ ทำให้คนผู้รับฟังมีความเข้าใจในหลักสัจธรรมได้อย่างถูกต้อง อภินิหาร ๑-๒ นั้น พระพุทธเจ้าได้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าได้สรรเสริญในข้อ ๓ คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น หลวงปู่มั่นได้พยากรณ์ไว้ว่า จะมีช้างเผือกหนุ่มแสดงอภินิหารนั้นหมายถึง อนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น ขอผู้อ่านจงเข้าใจตามนี้


    ............................จบเรื่องกาลามสูตร.......................
     
  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
  9. naicharty

    naicharty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +394
    หลวงพ่อทูลท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านบรรลุธรรที่จังหวัดเชียงราย ท่านเน้นฝึกปัญญาให้มากเพราะคนพ้นทุกข์ได้ด้วยปัญญา หลักกาลามสูตร ก็เป็นหลักหนึ่งในการใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลก่อนค่อยเชื่อ ...ขออนุโมทนาแก่ผู้นำมาเผยแพร่ด้วย...ขอให้เจริญในธรรม
     
  10. naicharty

    naicharty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +394
    ขอก้มกราบ หลวงพ่อทูล....กราบ กราบ กราบ....
     
  11. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
    โมทนาสาธุครับ.....กับธรรมทานของหลวงพ่อทูล ลงให้ญาติธรรมได้อ่านและศึกษาตาม.....เรื่อยๆนะครับท่านสมบัติ.....:cool:
     
  12. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    [​IMG]
    รหัส พ. พาน ในพระพุทธปฐวีธาตุ

    พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ได้มีเมตตาสอนธรรม ให้ผู้ปรารถนาความเจริญงอกงาม คือเดินไปในทางที่ดีที่ถูกที่ต้องที่ควรที่ตรง จักต้องเวียนไปทางขวา (ลักษณะของพระพุทธเจ้า) โดยอาศัยกำลังหรือพลังคือพละ 5 เป็นตัวขับเคลื่อน โดยอาศัยมรรคมีองค์ 8 ก็จักถึงโลกุตรธรรม 9 จึงจักถึงความพ้นทุกข์(โดยมีพุทธะอยู่ในใจ) และประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 เป็นเครื่องหนุน เครื่องอาศัย
    .........................................................................
    1. มีพละ(พลัง)ทั้ง 5 ประกอบด้วย
    - ศรัทธา(เชื่อในคำสอนพระพุทธเจ้า)
    - วิริยะ(ความเพียร)
    - สติ(ในทางที่ชอบ)
    - สมาธิ(ตั้งมั่นในทางที่ชอบ)
    - ปัญญา(มีปัญญาในทางที่ชอบ)
    เป็นเครื่องหนุนให้ตนเองพ้นทุกข์
    2. โดยมีพรหม(ผู้เป็นใหญ่)วิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นที่อาศัย
    3. และมีพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ
    4. จึงจักถึงที่สุดแห่งทุกข์คือความพ้นทุกข์
    .........................................................................
    - โลกุตรธรรม 9 คือธรรมเหนือโลก : มรรค 4 ผล 4 พระนิพพาน 1 (พระพุทธเจ้า)
    - พระอริยบุคคล 8 หรือ 4 คู่ ผู้มีธรรมเหนือโลก : คือพ้นจากจากปุถุชนคนธรรมดาแล้ว
    คู่ที่ 1 พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค....โสดาปัตติผล
    คู่ที่ 2 พระผู้ตั้งในสกิทาคามิมรรค....สกิทาคามิผล
    คู่ที่ 3 พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค....อนาคามิผล
    คู่ที่ 4 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหันตมรรค....อรหันตผล
    .........................................................................
    - มรรคมีองค์ 8
    มรรค คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    2.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    3.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    4.สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    5.สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
    6.สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    7.สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    8.สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

    อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พละ 5.mp3
      ขนาดไฟล์:
      13.4 MB
      เปิดดู:
      366
  13. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    แฮ่ม...อย่าลืม Load ไปฟังนะครับ ธรรมะพ่อแม่ครูอาจารย์มอบให้ก่อนเดินทางกลับภูดานไห

    สิ่งหนึ่งที่ท่านเมตตาสอนไว้ที่สุรินทร์คือ...
    เรื่องการรักษาศีล
    - ความดีทั้งหลาย เกิดขึ้นได้ยาก (กว่าจะเข้าวัด ฟังธรรม ยากลำบาก) แต่เสื่อมง่าย
    - ความชั่วทั้งหลาย สร้างง่าย แต่เสื่อมยาก มักจะติดอยู่นั่นแหละ
    - จึงต้องมีการรักษาศีลอย่างตั้งใจมั่นไม่หวั่นไหว
    - ขณะที่เขามีชีวิตอยู่ เรามักจะทุกข์ มักจะห่วงคนรอบข้าง สมบัติเสมอๆ
    - ยิ่งเวลาจะตาย จิตมันจะห่วงมากๆ จึงต้องมีศีลที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวโดยง่าย

    ความวิบัติมี 2
    1. วิบัติในทรัพย์สินเงินทอง : เช่น กรณีน้ำท่วม เราไม่สามารถหามาคืนหรือช่วยเขาได้
    2. วิบัติจากความดีความงาม : เขาวิบัติในสิ่งนี้ เขาจึงสร้างแต่ความชั่ว เขาจึงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    ต้องอาศัยอุเบกขาเข้ามาช่วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2011
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ธรรมะสัญจรสู่ นรธ. ครั้งที่ 2 [IT Man:แม่สอด-ภาคเหนือ]

    [​IMG]
    ภูดานไห-แม่สอด-แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง
    ระหว่างวันที่ 11-17 พ.ย. 2554

    นับเป็นมหาบุญกุศลของผมเป็นอย่างยิ่ง ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านจักพาคณะญาติธรรม(มีผู้อาสา)มาโปรดผมที่แม่สอด จากนั้นก็จักเดินทางขึ้นเหนือไปโปรดทางแม่ฮ่องสอน,เชียงใหม่ ฯลฯ จึงค่อยกลับมาภูดานไห เพื่อวางแผนสร้างศาลาปฏิบัติธรรมต่อไบ

    นับเป็นความกรุณาต่อกระผมยิ่งนักครับ :)

    กำหนดการคร่าวๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมดังนี้

    [FONT=Verdana, sans-serif]11 พ.ย.'54: [ภูดานไห-แม่สอด][/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]12 พ.ย.'54: [ที่แม่สอด][/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ศึกษาศิลปะเพื่อเป็นแบบก่อสร้างศาลา ณ.วัดโพธิคุณ[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ไปสักการะ เยี่ยมชมวัดถ้ำอินทนิล (หลวงปู่เจี๊ยะ,หลวงตามหาบัว)[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- สักการะพระพุทธรูปหินอ่อน แห่งแรกในประเทศ อ.แม่ระมาด[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- เยี่ยมชมห้วยลึก สถานที่ผมเคยไปบำเพ็ญภาวนา[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]13 พ.ย.'54: [ที่แม่สอด][/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ชมไม้แกะสลักริมเมย[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ชมวัดไทยวัฒนาราม (วัดพม่า)[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ขึ้นเขาชมพระธาตุดอยหินกิ่ว[/FONT]
    14 พ.ย.'54: [แม่สอด-แม่สะเรียง]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ชมถ้ำแก้วโกมล อ.แม่ลาน้อย[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ชมน้ำตกแม่สุรินทร์,ทุ่งบัวตอง อ.ขุนยวม[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ปฏิบัติธรรมที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน[/FONT]
    15 พ.ย.'54: [แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ไปวัดวัดจองคำ,ดอยกองมู[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ชมถ้ำปลา[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- ผ่านปาย[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- นอนเชียงใหม่[/FONT]
    16 พ.ย.'54: [เชียงใหม่]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- สักการะพระพุทธบาท 4 รอย อ.แม่ริม[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- วัดถ้ำผาป่อง อ.เชียงดาว[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- สวนทิพย์โลกอุดร อ.ฝาง[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- นอนเชียงใหม่[/FONT]
    17 พ.ย.'54: [เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง-กลับ]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- พระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้[/FONT]
    [FONT=Verdana, sans-serif]- พระธาตุลำปางหลวง[/FONT]

    [ร่วมทำบุญธรรมะสัญจรครั้งที่ 2:สายเหนือ]

    [เพิ่มเติม]
    - วันศุกร์ที่ 11 พ.ย.'54 คุณสันติกับคณะทางจันทบุรี จักเดินทางมาสมทบท่าน ดร.นนต์ที่พิษณุโลก แล้วค่อยเดินทางมาที่แม่สอด
    - คุณพิเชฐก็สนใจอยู่ครับ กำลังตัดสินใจ...


    E-Mail: IT.Man@Hotmail.CO.TH
    มือถือ: 087 683 2992
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1230265.jpg
      P1230265.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.2 KB
      เปิดดู:
      2,397
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  15. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    องค์จตุคามวังหน้าเนื้อควอร์ต

    องค์จตุคามที่ล้ำค่าอีกองค์หนึ่งในโลก ที่ผู้มีบุญได้สะสมไว้นานแล้ว และท่านได้ส่งมาให้ผมเผยแพร่เป็นวิทยาทาน จตุคามองค์นี้เป็นแก้วรัตนชาติที่ตรวจสอบโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีแห่งชาติแล้ว ปรากฏว่าเป็นเนื้อ Natural Quart : Chalcedony ผมพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นพระกรุวังหน้าหรือวัดพระแก้ว(วังหน้า) ที่ล้ำค่ามาก จึงขออนุญาตท่านเจ้าของนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ
    ขออนุโมทนากับท่านเจ้าของด้วยนะครับ
    ดร.นนต์
    5 พฤศจิกายน 2554

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    พระพุทธปฐวีธาตุ รุ่นแก้วจักรพรรดิมณีนาคา ที่บรรจงสร้างและอธิษฐานจิตโดยพ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ในวาระพิเศษ กันยายน 2554 นำมาให้ชมภาพอีกครั้งครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      453.7 KB
      เปิดดู:
      1,580
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      428.5 KB
      เปิดดู:
      1,457
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.4 KB
      เปิดดู:
      1,461
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      427.6 KB
      เปิดดู:
      1,434
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      383.6 KB
      เปิดดู:
      1,420
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      318 KB
      เปิดดู:
      1,389
    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.5 KB
      เปิดดู:
      1,398
    • 8.jpg
      8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      355.1 KB
      เปิดดู:
      1,392
    • 9.jpg
      9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      261.2 KB
      เปิดดู:
      1,366
    • 10.jpg
      10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      495.7 KB
      เปิดดู:
      1,373
    • 11.jpg
      11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      396.6 KB
      เปิดดู:
      1,369
    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      401.7 KB
      เปิดดู:
      1,358
    • 13.jpg
      13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      360.5 KB
      เปิดดู:
      1,338
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2011
  17. "นนต์"

    "นนต์" เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    521
    ค่าพลัง:
    +1,157
    พระพุทธปฐวีธาตุ รุ่นแก้วจักรพรรดิมณีนาคา ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช มอบให้แก่เหล่านักรบธรรม ในวาระพิเศษ 24 กันยายน 2554 ลองชมดูนะครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2011
  18. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    สวัสดีครับ เพื่อนนักรบธรรม
    ช่วงนี้ผมมาอยู่ที่พิษณุโลก ประมาณวันจันทร์จะเดินทางไปที่ดอยหลวงเชียงดาว ช่วงอ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (หมู่บ้านถ้ำ ใกล้ถ้ำผาปล่อง)ที่ซึ่งผมรู้สึกผูกพัน ดูบรรยากาศในรูปดูนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 103_0376.JPG
      103_0376.JPG
      ขนาดไฟล์:
      975 KB
      เปิดดู:
      2,752
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    สวยมากๆครับ
    ธรรมะสัญจรครานี้ พี่ท่านหนึ่งที่อยู่เชียงใหม่แนะนำว่า...อุตส่าห์เดินทางไปถึงพระพุทธบาทสี่รอย (แม่ริม) ในเส้นทางเดียวกันนี้อีกราวๆ 3 ชม. ก็น่าจะเดินทางต่อไปยังดอยอ่างขาง (ฝาง) ซึ่งมีโครงการเกษตรหลวง และสามารถไปพักแรมที่สวนทิพย์โลกอุดร ที่ครูบาอาจารย์ของผมท่านหนึ่งพำนักอยู่ที่นั่น(คณะศิษย์สายวังหน้าเคยไปบวชศึกษาธรรมะกันที่นั่นทุกๆปีด้วย)...ก็เป็นความปราถนาที่อยากไปที่นั่นสักครั้งในชีวิตครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2011
  20. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ดอยหลวงเชียงดาว ดินแดนที่มีตำนานว่า พระศรีอาริยะเมตไตรย จะมาปรากฏ ณ ดินแดนแห่งนี้ เรื่องราวตำนานมีหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งหน้าปกเป็นรูปองค์พระประธาน วัดหน้าพระเมรุ (พระสมัยอยุธยาทรงเครื่อง แบบจักรพรรดิ)เหมือนรูปที่ผมใช้เป็นรูป log in รวบรวมตำนานอันเกี่ยวกับองค์พระศรีอาริยะเมตไตรยไว้มากมาย เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์อีกที่หนึ่ง
    แต่ช่วงที่ผมบวชศึกษาธรรมอยู่กับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์(หลวงปู่สิม) ที่ถ้ำผาปล่อง ไม่ได้ยินว่าท่านกล่าวถึงเรื่องราวเหล่านี้ มีแต่ท่านได้กล่าวถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าที่พระองค์ได้เคยมาประทับที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนดอยหลวงเชียงดาว เป็นถ้ำที่อยู่บนหน้าผาสูงชัน มีครั้งหนึ่งที่หลวงปู่ตื้อท่านปรารถนาจะขึ้นไปยังถ้ำแห่งนี้ หลวงปู่สิมเล่าว่า ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่กลัวอะไรของหลวงปู่ตื้อ ท่านปีนหน้าผาไป ยังไม่ทันได้ถึงถ้ำแห่งนั้นก็ต้องพักจำวัดช่วงหน้าผาสูงชัน หลวงปู่ตื้อต้องมัดตัวเองกับต้นไม้เพื่อพักผ่อนจำวัด แล้วจึงปีนต่อไปจนถึงจุดหมาย นั้นคือความมุ่งมั่น กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ของพ่อแม่ครูอาจารย์ในยุคก่อนๆ หลวงปู่สิมท่านชื่นชม ยกย่องหลวงปู่ตื้อมาก ซึ่งท่านมักเล่าเรื่องราวของหลวงปู่ตื้อให้พระเณรได้ฟังอยู่บ่อยๆ
    ขอน้อมกราบบูชาองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ทุกๆองค์ กราบ กราบ กราบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCN4228.JPG
      DSCN4228.JPG
      ขนาดไฟล์:
      697.1 KB
      เปิดดู:
      272
    • DSCN4245.JPG
      DSCN4245.JPG
      ขนาดไฟล์:
      711.1 KB
      เปิดดู:
      223
    • DSCN4282.JPG
      DSCN4282.JPG
      ขนาดไฟล์:
      687.3 KB
      เปิดดู:
      269

แชร์หน้านี้

Loading...