อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    99403804_1915529798577984_6146424970277814272_o.jpg

    99120506_1915529771911320_2571372327132463104_o.jpg

    99059097_1915529781911319_4853900772099751936_o.jpg


    พระหยกเชียงราย วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

    พระแก้วมรกตถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญอันดับหนึ่งแห่งสยามประเทศ ที่ในชีวิตควรจะมีโอกาสได้เข้าไปกราบสักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต

    ที่วัดพระแก้ว เชียงราย แห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อนที่จะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานยังที่ต่างๆ เมื่อพระแก้วมรกตไม่ได้อยู่ที่นี่แล้วพุทธศาสนิกชนจึงได้รวมใจกันจัดสร้าง "พระหยกเชียงราย" ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ประวัติการสร้างเป็นเช่นไรมาติดตามกัน


    ******************

    พระหยกเชียงราย
    (พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล)


    เนื่องในมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พระชันษา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้จัดสร้าง พระแก้วหยกเชียงราย ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้วแห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน การสร้าง พระแก้วหยกเชียงราย ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการบูชาและน้อมจิตรำลึกว่า วัด (พระแก้ว) นี้ ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีของพระองค์ (พระแก้วมรกต) อีกทั้งเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๐ พระชันษา ด้วยพระองค์ทรงเปรียบประดุจประทีปนำควาเจริญก้าวหน้ามาสู่เมืองเชียงราย

    พระแก้วหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบฐานเขียง ขนาดหน้าตักว้าง ๔๗.๙ ซ.ม. สูง ๖๕.๙ ซ.ม. ซึ่งเป็นส่วนสัดที่ใกล้เคียงกับพระแก้วมรกต (กว้าง ๔๘.๓ ซ.ม. สูง ๖๖ ซ.ม.) สร้างด้วยหยกชนิดที่ดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่งมิสเตอร์ ฮูเวิร์ด โล เป็นผู้นำมาถวายเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย โดยมีอาจารย์กนก วิศวะกุล เป็นผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งให้มิสเตอร์เหยน หวุน หุ้ย นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้แกะสลัก โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก พณฯ พลเอกชาติชาย และท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้าง

    เมื่อการแกะสลัก พระแก้วหยกเชียงราย เสร็จเรียบร้อยแล้ว มิสเตอร์ฮูเวิร์ด โล ได้กราบอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พร้อมด้วย พระราชรัตนากร (สมณศักดิ์ในขณะนั้นของพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระแก้วเชียงรายรูปปัจจุบัน) และคณะรวม ๑๕ ท่าน เดินทางไปรับมอบถวาย ซึ่งได้ประกอบพิธีขึ้น ณ พระวิหารวัดกวางจี้ มหานครปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในพิธีนี้ ได้มีพระสงฆ์จีนและชาวพุทธเมืองปักกิ่งมาร่วมพิธีจำนวนหลายร้อยคน

    เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี้ ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปหยกว่า พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ ๙๐ พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามสามัญว่า พระหยกเชียงราย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในวันศุกร์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธี ตั้งแต่ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงจุดเทียนชนวนถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อทรงจุดเทียนชัย

    ทางจังหวัดเชียงรายได้จัดทำพิธีอัญเชิญและสมโภชพระหยกเชียงราย ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยในวันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ ได้เริ่มเคลื่อนขบวนรถอัญเชิญพระแก้วหยกจากวัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และในวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. ขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปเข้าเมือง อันประกอบด้วยขบวนเสลี่ยง เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ขบวนพระสงฆ์ ๑๐๐๐ รูป และขบวนแห่งเครื่องสักการบูชา นำโดยท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัน ก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่วัดพระแก้วเชียงราย


    ที่มา: http://www.watphrakaew-chiangrai.com/article_detail.php…



    100053789_1916511048479859_8797234220788350976_o.jpg

    หอพระหยกเชียงราย

    วัดในเขตภาคเหนือสมัยโบราณ นอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ หอฉัน หอธรรม หอระฆัง หอกลอง ฯลฯ แล้วยังมี หอพระ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของวัดอีกด้วย

    หอพระหยกเชียงรายนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญเช่นเดียวกัน โดยสร้างเป็นอาคารไม้ ทรงล้านนาโบราณ ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างโดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย และพุทธศาสนิกชนจังหวัดเชียงรายร่วมกันบริจาคทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รับพระกรุณาจากกองทุนการกุศลสมเด็จย่า ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ ภายในหอพระหยกมี พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคลนามสามัญว่า พระหยกเชียงราย ประดิษฐานในบุษบกทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง สูง ๕.๖๐ เมตร เรือนยอดบุษบกทำด้วยไม้สักสลักลวดลาย ลงรักปิดทองประดับกระจก มีฉัตร ๗ ชั้น ทำด้วยเงินแท้ลงรักปิดทอง เรียกว่า ฉัตรเงิน ฉัตรทองมีส่วนสูง ๔๐ เซนติเมตร

    ผนังด้านในโดยรอบหอพระหยก ตบแต่งด้วยแผ่นหยก โดยมีแสงส่องจากด้านหลัง มีภาพเขียนฝีมือช่าง (สล่า) ล้านนา เป็นภาพเหตุการณ์สร้างหอพระหยก การสร้างพระหยกเชียงราย และประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต จำนวน ๙ ภาพ เขียนระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ แต่ละภาพมีข้อความบรรยาย โดยพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน


    ภาพที่ ๑ เป็นภาพต้นโพธิ์ทอง

    ภาพที่ ๒ เป็นภาพต้นโพธิ์เงิน ผู้เขียนภาพที่ ๑ และ ๒ คือนายสมพงษ์ สารทรัพย์

    ภาพที่ ๓ เป็นภาพเกี่ยวกับการสร้างหอพระหยกและพระหยกเชียงราย

    ภาพที่ ๔ เป็นภาพเหตุการณ์ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระหยกเชียงราย

    ผู้เขียนภาพที่ ๓ และ ๔ คือ นายสมพล ยารังษี และนายเฉลิมชาติ

    สิทธิราษฎร์

    ภาพที่ ๕ - ๙ ภาพประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต ตามตำนานรัตนพิมพวงศ์

    ผู้เขียนภาพคือ นายปรีชา ราชวงศ์ และนายณรงค์เดช สุดใจ


    ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาทรงเปิดหอพระหยกเชียงราย ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑


    ที่มา: http://www.watphrakaew-chiangrai.com/article_detail.php…
     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    99430057_1919320444865586_3926784626164498432_o.jpg

    100051204_1920309791433318_801162867020660736_o.jpg

    100985369_1918406188290345_3863192137789079552_o.jpg


    พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประวัติของพระแก้วมรกตนั้นยังคงคลุมเคลืออยู่ มีตำนานเรื่องเล่าอยู่มากมายหลายสำนวน บางสำนวนก็เกินจริงไปอยู่มาก เพราะตำนานจะเล่าเสริมเติมแต่งอย่างไรก็ได้ แต่สิ่งที่จะยืนยันความเป็นมาขององค์พระแก้วมรกตได้ดีที่สุดก็คือพุทธศิลป์ขององค์พระ ว่าถูกสร้างขึ้นในสกุลช่างสมัยใด ก็จะสามารถสืบค้นความเป็นมาขององค์พระต่อไปได้ ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญศึกษากันต่อไป

    มาลองฟังตำนานพระแก้วมรกตกัน ซึ่งจะขอนำมาลงไว้หลายสำนวนลองติดตามกันครับ

    ตำนานพระแก้วมรกต
    สำนวนแรกจากวัดพระแก้วเชียงราย

    พ.ศ. ๕๐๐ ตามตำนานพระแก้วมรกตในหนังสือรัตนพิมพวงศ์ กล่าวว่าสร้างโดยเทวดาเพื่อถวายพระนาคเสนเถระ ที่เมืองปาฏลีบุตร (คือรัฐปัตนะ ประเทศอินเดีย)

    พ.ศ. ๘๐๐ บ้านเมืองเกิดสงคราม จึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่ลังกาทวีป

    พ.ศ. ๑๐๐๐ พระเจ้าอนุรุทธมหาราช แห่งเมืองพุกาม ทรงส่งสมณทูตไปขอพระไตรปิฎกและพระแก้วมรกตโดยบรรทุกสำเภามา ระหว่างทางเกิดพายุพัดไปยังเมืองมหานคร หรือนครธม ประเทศกัมพูชา

    พ.ศ. ๑๘๙๐ อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ยังกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) หลังจากนั้นอัญเชิญไปไว้ยังเมืองละโว้และกำแพงเพชรตามลำดับ

    พ.ศ. ๑๙๒๙ เจ้ามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย ยกทัพไปเชียงใหม่เพื่อแย่งราชบัลลังค์จากพระเจ้ากือนาพระอนุชา แต่สู้ไม่ได้จึงหนีลงไปอาศัยอยู่กับพระยาญานดิส เจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้ไปนมัสการพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงส์ จึงอยากได้พระพุทธรูปทั้งสององค์

    พ.ศ. ๑๙๓๓ เจ้ามหาพรหม ได้ขอยืมพระพุทธรูปทั้งสององค์จากนางจันทร์มารดาของพระยาญานดิส ซึ่งเป็นผู้ดูแลพระพุทธรูปทั้งสอง กลับไปอาณาจักรล้านนา โดยได้มอบพระพุทธสิหิงส์ให้พระเจ้ากือนา ส่วนพระแก้วมรกตได้นำกลับไปเมืองเชียงราย

    พ.ศ. ๑๙๓๔ เจ้ามหาพรหมได้ขอยืมพระพุทธสิหิงส์ไปเชียงราย เพื่อเป็นแบบหล่อพระพุทธสิ-หิงส์จำลอง และได้ทำการสมโภชที่เกาะดอนแท่นกลางแม่น้ำโขง แล้วนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย จนถึงปัจจุบัน

    ส่วนพระแก้วมรกต เมื่อเจ้ามหาพรหมชราภาพลง ก็คิดอุบายนำไปซ่อนไว้ในคอระฆังของพระเจดีย์วัดป่าเยี๊ยะ



    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    พ.ศ. ๑๙๗๗ เกิดอสนีบาตฟาดใส่พระเจดีย์วัดป่าเยี๊ยะ เมืองเชียงรายจนพังทลายลง พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่ง ต่อมาปูนที่พอกกะเทาะออกจนเห็นเป็นแก้วสีเขียว เมื่อลอกปูนออกทั้งองค์จึงพบว่าเป็นแก้วมรกต วัดป่าเยี๊ยะจึงมีผู้เรียกว่า วัดพระแก้ว

    พ.ศ. ๑๙๗๙ เจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้จัดขบวนช้างอัญเชิญพระแก้วมรกตไปเชียงใหม่ ระหว่างทางถึงทางแยกเมืองแจ้สัก ช้างตื่นหนีไปเมืองลำปาง จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง

    พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราช เจ้าครองนครเชียงใหม่ขณะนั้น ได้อาราธนาอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ในซุ้มจรนำ มุขพระเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๐๙๑ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จากเมืองศรีสัตนาคนหุตเชียงทอง (ลาว) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระนางยอดคำ พระธิดาของพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์เชียงใหม่องค์ก่อน ได้มาครองเมืองเชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๐๙๕ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับไปเมืองเชียงทอง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงส์ และพระแซกคำ ไปด้วย ต่อมาได้คืนพระพุทธสิหิงส์ให้เชียงใหม่

    พ.ศ. ๒๑๐๗ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงทองไปเมืองเวียงจันทน์ โดยนำอาพระแก้วมรกตและพระแซกคำไปด้วย

    พ.ศ. ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จไปปราบเมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐาน ณ กรุงธนบุรี

    พ.ศ. ๒๓๒๗ พระองค์ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ตั้งปฐมราชวงศ์จักรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๒๒ มีนาคม จนถึงปัจจุบัน


    ที่มา: http://www.watphrakaew-chiangrai.com/article_detail.php…


    บรรยากาศภายในหอพระหยกเชียงราย


     
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    15356656_538582626328050_8004030135023417028_n.jpg

    97014040_2594428770772971_1601713224460271616_n.jpg (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    ตำนานพระแก้วมรกต(๒)
    (สำนวนที่๒)

    พระแก้วมรกต : จากล้านนาสู่ล้านช้าง ถึงกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ (๑) ตอนที่ ๑

    เมื่อผู้เขียนอ่านตำนานพระแก้วมรกต ในศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ที่รวบรวม “เอกสารอันเป็นหลักฐานที่แสดงความเป็นมาดั้งเดิมของพระแก้วมรกต…หลายสำนวน” จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ในโอกาสที่ศิลปวัฒนธรรมรายเดือนมีอายุขึ้นปีที่ ๒๕ ก็ได้เกิดคำถามหลายข้อขึ้นมาในใจ
    ทำไมตำนานในล้านนาจึงพยายามเล่าว่า “พระแก้วมรกต” ไม่ได้ทำมาจาก “แก้วมณีโชติ” อันเป็นแก้วที่สำคัญที่สุดในบรรดาแก้วทั้งเจ็ดประการของพระจักรพรรดิราช? ทำไมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงให้ความสำคัญแก่ “พระแก้วมรกต” มาก ถึงกับทรงเฉลิมพระนามราชธานีใหม่และพระนามพระอารามประจำพระบรมมหาราชวังให้สอดคล้องกับพระพุทธรูปพระองค์นี้? ทำไมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเรียกว่า “พระมหามณีรัตนปฏิมากร” โดยตัดเรื่องพระอินทร์ไปขอแก้วมณีโชติไม่สำเร็จและต้องเปลี่ยนมาใช้ “แก้วอมรกต” แทนออกไปเสีย ทั้งๆ ที่ในคำบรรยายภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องตำนาน “พระแก้วมรกต” ณ วัดหงส์รัตนาราม ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ นี้ ยังคงเรื่องราวตอนนี้เอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในเวลานั้นเรื่องราวในตำนานที่มีมาแต่โบราณยังมิได้ถูกลืมเลือนไปแต่อย่างใด? และทำไมในที่สุดแล้วคนไทยจึงคิดว่า “พระแก้วมรกต” ทำมาจากแก้วที่มีมูลค่าสูง ตรงกันข้ามกับความคิดเดิมในตำนานฉบับล้านนาและฉบับหลวงพระบางที่เน้นความเป็นแก้วไม่มีราคา? ฯลฯ
    คำถามข้างต้นทำให้ผู้เขียนสร้างสมมุติฐานเบื้องต้นว่า ความหมายหรือความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” มิได้หยุดนิ่ง หากแต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท และเมื่อผู้เขียนได้ศึกษา “การเดินทางของพระแก้วมรกต จากล้านนาสู่ล้านช้างถึงกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ” ก็พบว่าความหมายหรือความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” มีความเปลี่ยนแปลงในหลายช่วงเวลาด้วยกัน ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของความหมายหรือความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” นี้ สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างลึกซึ้ง
    ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์การเดินทางของ “พระแก้วมรกต” จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของความหมายหรือความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคพื้นทวีปได้ไม่น้อยอีกด้วย
    ในที่นี้จะขอแบ่งประวัติศาสตร์การเดินทางและความหมายของ “พระแก้วมรกต” ออกเป็น ๕ ยุค เพื่อวิเคราะห์ความหมายของ “พระแก้วมรกต” ในแต่ละยุค ดังนี้

    ๑. ยุคที่ “พระแก้วมรกต” มีฐานะเป็น “แก้วมณีโชติ”
    หากอ่าน “ตำนานพระแก้วมรกต” ที่ได้รับการเขียนขึ้น ในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชินกาลมาลีปกรณ์ และเป็นตำนานฉบับแรกที่เล่าประวัติของ “พระแก้วมรกต” ที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน ก็จะเห็นถึงความพยายามของพระรัตนปัญญาเถระ พระภิกษุนักปราชญ์แห่งเชียงใหม่ ในการพรรณนาให้เห็นว่าเมื่อพระอรหันต์นาคเสนเถระคิดจะสร้าง “พระแก้วมรกต” ขึ้นนั้น พระอินทร์ได้เสด็จไปขอแก้วมณีโชติของพระจักรพรรดิราชมาจากพวกกุมภัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าแก้วมณีโชติอยู่ เพื่อจะใช้ในการสร้างพระพุทธรูป แต่ทรงขอไม่สำเร็จ ต้องเปลี่ยนมาใช้ “แก้วอมรกต” (คือแก้วที่เทวดาสร้าง) แทน
    ความพยายามที่จะปฏิเสธว่า “พระแก้วมรกต” ไม่ใช่แก้วมณีโชติ สะท้อนว่า ก่อนที่พระรัตนปัญญาเถระจะเขียนชินกาลมาลีปกรณ์ (คือก่อนปี พ.ศ. ๒๐๖๐) นั้น คงมีความเชื่อกันทั่วไปในล้านนาว่า “พระแก้วมรกต” ก็คือแก้วมณีโชติของพระจักรพรรดิราช มิฉะนั้นก็คงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ผู้แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ จะต้องบรรยายถึงความพยายามของพระอินทร์ (ท้าวสักกะเทวราช) ที่จะนำเอาแก้วมณีโชติของพระจักรพรรดิราชมาสร้างพระพุทธรูป โดยเล่าว่าเมื่อพระอินทร์มีพระบรมราชโองการให้พระวิสสุกรรมไปขอแก้วมณีโชติ แล้วพระวิสสุกรรมกราบบังคมทูลว่า ราชากุมภัณฑ์คงจะไม่ยอมให้แก้วมณีโชติมาเป็นแน่ เนื่องจากเป็นเครื่องราชูปโภคของพระจักรพรรดิราช พระอินทร์ก็ถึงกับเสด็จไปขอด้วยพระองค์เอง แม้กระนั้นราชากุมภัณฑ์ก็หาได้ให้แก้วมณีโชติแก่พระอินทร์ไม่ แต่แนะนำให้ใช้แก้วอมรกต (ซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่า) แทน
    เพราะเหตุใดพระรัตนปัญญาเถระจึงต้องเขียนถึงความล้มเหลวในการขอแก้วมณีโชติ ผู้เขียนจะวิเคราะห์ต่อไปข้างหน้า

    “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนา ยุคที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัย ดังที่อาจารย์ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า “พระแก้วมรกต” เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เมืองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “พระแก้วมรกต” นี้อาจจะได้แก่เมืองเวียงไชยซึ่งเป็นเมืองโบราณสำคัญเมืองหนึ่งใกล้กับเมืองเชียงราย เพราะเป็นบริเวณที่พบพระพุทธรูปหินทรายจำนวนหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ “พระแก้วมรกต” แต่เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จึงมีการเล่าและเขียนประวัติให้ “พระแก้วมรกต” เดินทางผ่านกาลเวลาอันยาวนานในโลกพระพุทธศาสนา เริ่มจากกำเนิด ณ เมืองปาฏลีบุตรในอินเดีย ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาช่วยพระอรหันต์นาคเสนในการสร้าง โดยได้ทรงเชิญ “พระวิสสุกรรม” ลงมาเป็นช่าง เมื่อสร้างเสร็จก็อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุถึง ๗ องค์เข้าไปสถิตอยู่ในส่วนต่างๆ ขององค์พระรัตนปฏิมา หลังจากนั้นก็พรรณนาถึงการเดินทางของ “พระแก้วมรกต” จากอินเดียสู่ลังกา กัมโพช กำแพงเพชร แล้วจึงมาถึงล้านนา

    ตามตำนานนั้น “พระแก้วมรกต” เป็นที่ปรารถนาหรือได้รับการบูชาจากพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์สากลของพุทธศาสนาหลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งพระเจ้าอนุรุทธแห่งอาณาจักรพุกามด้วย แต่กษัตริย์แห่งพุกามไม่เคยได้ “พระแก้วมรกต” ไปบูชาเลย เมื่อพระเจ้าอนุรุทธเสด็จไปอัญเชิญพระไตรปิฎกและ “พระแก้วมรกต” มาจากลังกานั้น บางตำนานเล่าว่าพระเจ้าอนุรุทธดีใจที่ได้พระไตรปิฎกจนลืม “พระแก้วมรกต” แต่บางตำนานผู้เขียนคงต้องการเน้นความศักดิ์สิทธิ์และความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” มากเกินกว่าจะเล่าว่าเป็นพระพุทธรูปที่ถูกลืม จึงเล่าไปในทำนองว่าเรือลำที่บรรทุกพระไตรปิฎกไปนั้นลอยไปพุกาม แต่เรืออีกลำหนึ่งได้นำ “พระแก้วมรกต” ลอยไปสู่พระนครหลวง (นครธม) ประหนึ่งว่าลอยไปด้วยบุญญานุภาพของ “พระแก้วมรกต” เอง นัยยะของเรื่องนี้ก็คือ “พระแก้วมรกต” ไม่เคยประดิษฐานอยู่ในประเทศพม่าและคงไม่เป็นที่รู้จักในประเทศพม่า ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อกองทัพพม่าตีได้เมืองเวียงจันครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๑๐๖ นั้น ได้นำเอาเจ้านางคำไข เจ้านางแท่นคำ พระยานคร และเจ้าอุปราช ไปพม่า แต่หาได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ไปไม่ “พระแก้วมรกต” จึงเป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันอย่างสูงในหมู่ชนชาติไท-ลาว แต่คงไม่เป็นที่รู้จักในพม่าแต่อย่างใด

    อนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า แม้แต่คนไทยในพระราชอาณาจักรอยุธยาก็มิได้รู้จัก “พระแก้วมรกต” ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาทั้ง ๓๓ พระองค์นั้น “หาได้พระพุทธรัตนปฏิมากรอันวิเศษพระองค์นี้ลงมาไว้ในพระนครไม่ แต่ข่าวคราวว่าพระแก้วมีอยู่ก็ไม่ได้ความว่าทราบมาเลย” อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบถึงความสำคัญของพระแก้วมรกตเป็นอย่างดี เมื่อได้ “พระแก้วมรกต” มาจากเวียงจันจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ดังปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับงานฉลอง “พระแก้วมรกต” ใน จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์ว่า “การฉลองพระนี้ดูเจ้ากรุงธนบุรีเองจะสนุกมากกว่าคนอื่น” ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าชนชั้นนำของราชอาณาจักรอยุธยาคงจะมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” อยู่แล้ว เมื่อเจ้าพระยาจักรีตีได้นครเวียงจันจึงได้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” กลับมา และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิทรพิทักษ์เสด็จขึ้นไปรับถึงท่าเจ้าสนุก เมืองสระบุรี และพระองค์เองก็ “เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกฎ ณ พระตำหนักบางธรณี” แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เช่นนั้น

    “พระแก้วมรกต” คงได้รับการสร้างขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นเวลาที่เมืองสำคัญหลายเมืองในล้านนาเข้มแข็งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองพะเยา เชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ น่าน เพราะในช่วงเวลานี้การค้าในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวมาก รวมทั้งการค้าทางบกในอาณาบริเวณภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบน อันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง โดยมีเส้นทางการค้าทางบกเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงดินแดนเหล่านี้เข้าหากัน และมีเส้นทางการค้าเชื่อมโยงดินแดนแถบนี้กับตลาดสำคัญในสองภูมิภาคใกล้เคียง คือเมืองท่าชายฝั่งทะเลอันดามันซึ่งในเวลานั้นการค้าทางทะเลได้ขยายตัวขึ้นมาก และเมืองต่างๆ ในแถบยูนนาน ซึ่งจำนวนประชากรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการอพยพเข้ามาของประชาชนจากเอเชียกลางและตอนกลางของจีน ผู้ปกครองเมืองต่างๆ ในล้านนาและล้านช้าง มีรายได้จากการทำให้เมืองของตนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ คือมีสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดที่จะดึงดูดพ่อค้าจากต่างถิ่น (ซึ่งอาจเป็นเจ้า ขุนนาง หรือตัวแทนการค้าของเจ้าและขุนนาง ตลอดจนพ่อค้าทั่วไป) ให้เดินทางเข้ามาค้าขาย

    เนื่องจากการค้าแบบโบราณต้องอาศัยการจัดตั้งกำลังคนเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน และพ่อค้าบางคนก็อาจทำการปล้นสะดมในบางโอกาส (ถ้าเป็นการค้าทางเรือก็อาจเป็นทั้งพ่อค้าและโจรสลัดไปพร้อมกัน) และพ่อค้าที่มั่งคั่งและมีกำลังคนมากนี้เองที่จะสามารถตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์และพยายามขยายอำนาจออกไป โดยที่การทำสงครามก็คือการปล้นขนาดใหญ่นั่นเอง เพราะถ้ารบชนะก็จะทำการกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สิน และบังคับให้ส่งสินค้าไปให้เป็นรายปีที่เรียกเป็นศัพท์ว่าเครื่องราชบรรณาการ อย่างไรก็ตามเมื่อพ่อค้าตั้งตัวเป็นใหญ่ในบ้านเมืองใดบ้านเมืองหนึ่ง จนมีลักษณะเป็นแคว้นหรือเป็นรัฐขนาดเล็กแล้ว ย่อมจะต้องสร้างสรรค์พิธีกรรมและประเพณีของความสัมพันธ์ทางสังคมที่จะทำให้เกิดระเบียบและความสงบสุขขึ้นมาในรัฐ เพื่อเอื้อให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น สามารถทำการผลิตและทำการค้าอย่างสะดวกและมั่นคงพอสมควร การขยายอำนาจก็มิได้ใช้อำนาจดิบคือกองทัพเสมอไป แต่อาจอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการแสดงแสนยานุภาพให้ปรากฏเพื่อบีบบังคับให้ผู้ปกครองเมืองที่อ่อนแอกว่ายอมถวายบรรณาการ

    ช่วงเวลาที่ “พระแก้วมรกต” ได้รับการสร้างขึ้นในล้านนานี้ เป็นช่วงเวลาที่เมืองต่างๆ ในล้านนาเข้มแข็งขึ้นจากการขยายตัวของการค้า และต่างก็พยายามขยายอำนาจออกไปให้มากที่สุด เพื่อจะครอบครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (คือกำลังคน แหล่งผลิตสินค้า ตลาด และเครื่องราชบรรณาการ) เกิดเป็นอาณาจักร คือมีเมืองราชธานีเป็นศูนย์กลาง และมีเมืองที่อ่อนแอกว่าเป็นบริวาร แต่อาณาจักรในยุคแรกนี้รวมตัวกันอย่างหลวมๆ เท่านั้น ผู้ปกครองเมืองต่างๆ มักเป็นญาติกัน อาจโดยทางสายเลือดหรือโดยการแต่งงาน แต่การเป็นญาติกันก็ไม่เป็นหลักประกันว่าจะไม่แย่งอำนาจกัน หรือว่าจะช่วยให้รวมตัวกันได้มั่นคงเสมอไป การแย่งชิงอำนาจกันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แม้แต่พระเจ้าติโลกราชก็แย่งอำนาจจากพระราชบิดา คือพระเจ้าสามฝั่งแกน โดยได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางและพระปิตุลาซึ่งเป็นเจ้าครองนครลำปาง ส่วนพระไชยเชษฐาธิราชซึ่งในเวลาต่อมาได้ครองเชียงใหม่ก็หาได้กลับไปครองล้านช้างอย่างราบรื่นไม่ หลังจากที่พระโพธิสารราชพระราชบิดาสวรรคต ก็ต้องทำการแย่งชิงอำนาจจากพระอนุชาต่างพระมารดา และแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่มากของล้านช้าง แต่ในที่สุดก็ถูกผู้อื่นแย่งชิงราชสมบัติไปเช่นกัน และทรงหายสาบสูญไปเมื่อมีพระชนมายุเพียง ๓๘ พรรษาเท่านั้น

    ในท่ามกลางการเกิดอาณาจักรอย่างหลวมๆ และการช่วงชิงอำนาจกันเพื่อครอบครองผลประโยชน์ทางการค้าตลอดจนผู้คน ช้างม้า ทรัพย์สินเงินทองดังกล่าวข้างต้นนี้ พระพุทธศาสนาและ “พระแก้วมรกต” มีบทบาทอย่างมาก

    ก่อนที่ลัทธิลังกาวงศ์จะเข้ามาในล้านนา พุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบหริภุญไชยมีอิทธิพลอยู่ในเมืองต่างๆ อยู่แล้ว ลัทธิลังกาวงศ์คงมีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเหนือคณะสงฆ์มากขึ้น ดังปรากฏว่าเมื่อลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยมาถึงเชียงใหม่ในรัชกาลพญากือนา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์นิกายเดิมคือเถรวาทแบบหริภุญไชยนั้น ทำพิธีบวชใหม่ถึง ๘,๔๐๐ รูป เมื่อพระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ใหม่ที่ไปบวชจากลังกาโดยตรงเดินทางมาถึงเชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช พระองค์ก็ทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์นิกายลังกาวงศ์ใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดป่าแดง เพื่อลดอิทธิพลของพระสงฆ์นิกายลังกาวงศ์เดิม โดยอ้างว่าวัดบุปผารามหรือวัดสวนดอก (นิกายลังกาวงศ์เดิม) ครอบครองทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งผิดหลักพระธรรมวินัย

    นอกจากศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์จะช่วยให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเหนือคณะสงฆ์มากขึ้นแล้ว ยังทำให้ทรงได้รับความเคารพเชื่อฟังจากประชาชน ด้วยการนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาสร้างความเชื่อร่วมกันในหมู่คนทั้งหลายในอาณาจักร และการแสดงออกให้เป็นที่ประจักษ์ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีอายุครบห้าพันปีตามคติปัญจอันตรธาน รวมทั้งการเป็นผู้ครอบครองและปฏิบัติบูชาศาสนวัตถุและศาสนบุคคลอันเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน เช่น พระพุทธรูปสำคัญ พระธาตุสำคัญ พระภิกษุสงฆ์สำคัญ ที่จะดึงดูดพุทธศาสนิกชนให้เดินทางมาสักการบูชาและทำบุญอยู่เสมอ ส่งผลให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นผู้นำในการดูแลรักษา และทรงเป็นประธานในพระราชพิธีบูชาพระพุทธรูปและพระธาตุเหล่านั้น ทั้งนี้โดยจะมีการแต่งตำนานเมืองและตำนานปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่เน้นการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์นำไปถ่ายทอดเพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาร่วมกันอีกด้วย

    ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ แนวคิดสำคัญที่มาจากการตีความพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเน้นในล้านนา อยุธยา และหลวงพระบาง คือแนวคิดเรื่องพระจักรพรรดิราช คือกษัตริย์ที่เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์ทั้งหลาย เนื่องจากได้ทรงขยายพระราชอำนาจออกไปโดยมีแก้วมณีโชตินำเสด็จไปในทิศต่างๆ จนกระทั่งทรงมีพระบรมเดชานุภาพเหนือเมืองทั้งปวง และทรงเป็นประธานในการจรรโลงธรรมะในเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้าทรงบังเกิดในโลกมนุษย์ แนวคิดนี้เห็นได้ชัดเจนในพระนามของพระมหากษัตริย์ซึ่งแสดงถึงความเป็นใหญ่ในจักรวาล หรือความเป็นใหญ่ในไตรภูมิ เช่นพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา (พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๔) พระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) และพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว (พ.ศ. ๑๙๙๙-๒๐๒๒) กับพระยาหล้าแสนไตรภูวนาถ (พ.ศ. ๒๐๒๘-๒๐๓๘) แห่งหลวงพระบาง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีบทบาทในการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจ-การเมืองและการอุปถัมภ์พุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แนวคิดเรื่องจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนาจึงสอดคล้องกับการขยายอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกษัตริย์เหล่านี้เป็นอย่างดี

    “พระแก้วมรกต” เป็นพระพุทธรูปสำคัญในช่วงเวลาที่กษัตริย์เชื้อสายไท-ลาวทั้งหลายกำลังพยายามขยายอำนาจออกไปให้กว้างขวางที่สุด ทั้งโดยการทำสงครามระหว่างกันและการสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ในเวลานั้น “พระแก้วมรกต” เป็นพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวที่ทำจากแก้ว จึงน่าจะเป็นความจงใจของผู้สร้างที่จะทำให้ “พระแก้วมรกต” มีความหมายในฐานะเป็น “แก้วมณีโชติ” ของพระจักรพรรดิราช (จนกระทั่งปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปอื่นๆ ด้วยแก้ว ซึ่งก็เป็นเพียงพระพุทธรูปขนาดเล็กเท่านั้น)

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระประสบการณ์เกี่ยวกับพระพุทธรูปโบราณมามาก ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า “พระแก้วมรกต” น่าเป็นฝีมือช่างลาวในแถบเมืองเชียงแสน และผู้ครอบครอง “พระแก้วมรกต” ก็น่าจะเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่ากษัตริย์พระองค์อื่นจนสามารถแผ่อาณาจักรได้ใหญ่โต ดังความว่า
    เมื่อเปรียบเทียบไปโดยละเอียด ดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณข้างเมืองเชียงแสน…แลถึงจะเป็นช่างที่เมืองลาวก็จะเป็นช่างดีช่างเอกทีเดียวมิใช่เลวทราม ด้วยเป็นของงามดีเกลี้ยงเกลาอยู่ไม่หยาบคาย…คงจะเป็นของท่านผู้มีบุญ เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองของชนที่นับถือพุทธศาสนามากกว่าถือผีสางเทวดา…และมีบุญญานุภาพแข็งแรงมากกว่าเมืองใกล้เคียงโดยรอบคอบ และแผ่อาณาจักรได้โตใหญ่สมควรแก่เวลาเมื่อมนุษย์ยังไม่มีปืนใหญ่ปืนน้อยใช้
    ด้วยเหตุที่เชื่อกันว่า “พระแก้วมรกต” เป็น “แก้วมณีโชติ” ของพระจักรพรรดิราชนี้เอง ที่ทำให้กษัตริย์ที่ต้องการเป็นใหญ่เหนือกษัตริย์อื่นๆ ในล้านนา พยายามช่วงชิง “พระแก้วมรกต” มาครอบครอง

    อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ประมาณว่า “พระแก้วมรกต” มาเชียงใหม่ราว พ.ศ. ๒๐๒๒-๒๐๒๕ ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ก่อนที่ “พระแก้วมรกต” จะได้รับการอัญเชิญมาประดิษฐานในเชียงใหม่ พระแก้วประดิษฐานอยู่ที่เชียงรายซึ่งเป็นเมืองสำคัญไม่น้อยไปกว่าเชียงใหม่ เพราะอาณาจักรล้านนาในยุคต้นนี้ เมืองที่เป็นศูนย์อำนาจหรือเป็นที่ประทับของกษัตริย์มิใช่มีแต่เชียงใหม่เมืองเดียว แต่มีหลายเมืองด้วยกัน ในสมัยที่พญาสามฝั่งแกนครองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๘๔) เป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีอำนาจมากขึ้น พระองค์คงจะทรงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าผู้ครองนครเชียงรายส่ง “พระแก้วมรกต” มาถวาย
    “ตำนานพระแก้วมรกต” ทั้งฉบับที่เป็นส่วนหนึ่งของชินกาลมาลีปกรณ์ และฉบับที่มีชื่อว่ารัตนพิมพวงศ์ ซึ่งพระพรหมราชปัญญาเป็นผู้แต่ง เล่าไว้ตรงกันว่า ช้างทรงของ “พระแก้วมรกต” ไม่ยอมเดินทางมาเชียงใหม่ แต่เดินทางไปลำปางแทน เข้าใจว่าในเวลานั้นเจ้าผู้ครองนครเชียงรายยอมอ่อนน้อมต่อพญาสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่แล้ว จึงต้องส่ง “พระแก้วมรกต” มาถวายพญาสามฝั่งแกน ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อพญาสามฝั่งแกนเกณฑ์ทัพจากเมืองต่างๆ อันได้แก่เชียงแสน ฝาง พะเยา เชียงของ ไปต่อสู้กับกองทัพฮ่อ (ซึ่งยกมาโจมตีล้านนา เนื่องจากเชียงใหม่นับตั้งแต่รัชกาลพญากือนาเป็นต้นมา ไม่ยอมส่งส่วยให้แก่ฮ่อ) ก็ปรากฏว่าเชียงรายถูกเกณฑ์ทัพไปรบกับฮ่อด้วย อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏว่ามีกองทัพลำปางรวมอยู่ในรายชื่อเมืองที่ร่วมมือกับเชียงใหม่ในการทำสงครามกับฮ่อแต่อย่างใด เป็นไปได้อย่างมากว่าในระยะนั้นลำปางซึ่งมีหมื่นโลกนครเป็นใหญ่สามารถมีอำนาจเป็นอิสระจากกษัตริย์เชียงใหม่ และปรากฏในเวลาต่อมาว่าหมื่นโลกนครได้สนับสนุนหลาน คือเจ้าลก โอรสองค์ที่หกของพระเจ้าสามฝั่งแกนซึ่งเกิดจากพระราชชายาซึ่งเป็นพี่สาวของหมื่นโลกนคร ให้ชิงราชสมบัติจากพระเจ้าสามฝั่งแกนจนได้เสด็จขึ้นครองราชย์แทน๒๒ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจอันใดที่ “พระแก้วมรกต” จะถูกชิงไปยังนครลำปางในรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกนนี้
    เมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเสด็จจากเมืองยวมมาแย่งพระราชอำนาจจากพระราชบิดาที่เมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ โดยความช่วยเหลือของหมื่นโลกนครแห่งลำปางดังที่กล่าวมาข้างต้น พระองค์ทรงขยายอำนาจได้กว้างขวางกว่ากษัตริย์แห่งเชียงใหม่แต่ก่อน คือทรงได้แพร่และน่านไว้ในอำนาจของเชียงใหม่เป็นครั้งแรก แล้วยังได้รับบรรณาการจากเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ตลอดจนเมืองต่างๆ ของไทใหญ่และไทลื้อ อีกหลายเมือง เข้าใจว่าในเวลาต่อมา คือหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ประมาณสามสิบเศษ (คงเป็นเวลาที่หมื่นโลกนคร-พระปิตุลาของพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว) พระองค์ทรงได้ลำปางไว้ในอำนาจด้วย ลำปางจึงต้องส่ง “พระแก้วมรกต” มาถวาย ใน พ.ศ. ๒๐๒๒ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้บูรณะพระเจดีย์หลวงเพื่อประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” ไว้ ณ ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก และ “พระแก้วมรกต” คงจะเป็น “แก้วมณีโชติ” ของ “จักรพรรดิ” แห่งล้านนานับแต่นั้นเป็นต้นมา

    ที่มา: https://www.silpa-mag.com/history/article_8133



    ฟังคลิปเสียงที่นี่

     
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    86264388_2526408437575005_4854526351266283520_n.jpg

    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)



    ตำนานพระแก้วมรกต(๓)
    (สำนวนที่ ๒ ตอนที่ ๒ บทความจากศิลปวัฒนธรรมได้นำมาโพสไว้แค่ ๒ ตอนเท่านั้น แต่ก็ทำให้ได้รับความรู้ไปพอสมควรเลยทีเดียว ตอนนี้ไม่มีคลิปเสียงนะครับ สำหรับเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงมูลเหตุการเขียนหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์(ตรงนี้น่าสนใจ) ส่วนที่สองเป็นตอนที่พระแก้วถูกอัญเชิญไปยังล้านช้าง)

    พระแก้วมรกต : จากล้านนาสู่ล้านช้าง ถึงกรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ (๑) ตอนที่ ๒

    ยุคที่มีการแต่งตำนาน “พระแก้วมรกต” ในชินกาลมาลีปกรณ์ (พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑)
    เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงวิชาการว่า การแต่งตำนานทางพุทธศาสนาในล้านนาเกิดขึ้นใน “ยุคทอง” ซึ่งหมายถึงยุคที่ล้านนารุ่งเรืองสูงสุด แต่ผู้เขียนพบว่า ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้รับการแต่งขึ้นในระยะที่ล้านนาได้เสื่อมลงแล้วเนื่องจากความสูญเสียในการสงครามและภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง จึงมีสมมุติฐานว่าผู้แต่งตำนานไม่ต้องการจะให้พระพุทธรูปนี้เกี่ยวข้องกับการขยายอำนาจตามคติจักรพรรดิราชอีกต่อไป

    ได้กล่าวแล้วว่าในยุครุ่งเรืองของล้านนา (สมัยพญากือนา พญาสามฝั่งแกน พระเจ้าติโลกราช พญายอดเชียงราย และพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว-ก่อนจะถึงปลายรัชกาล) คือก่อนที่จะมีการแต่งตำนาน “พระแก้วมรกต” นั้น “พระแก้วมรกต” น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราช คือเป็นแก้วมณีโชติ หาก “ราชา” พระองค์ใดเป็นใหญ่ขึ้นมาก็จะอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ไปประดิษฐานในเมืองของตน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเมืองนั้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ “ราชา” ที่ครองเมืองนั้นทรงเป็น “จักรพรรดิราชา”

    “ตำนานพระแก้วมรกต” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชินกาลมาลีปกรณ์นั้น แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระแห่งเชียงใหม่ โดยแต่งขึ้นในระหว่างปี ๒๐๖๐-๒๐๗๑ ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชกาลพญาแก้วต่อเนื่องกับรัชกาลพญาเกศเชษฐราช (พ.ศ. ๒๐๖๘-๒๐๘๑) และเป็นเวลาหลังจาก “พระแก้วมรกต” ถูกสร้างขึ้นกว่าหนึ่งศตวรรษ ช่วงเวลานี้เชียงใหม่ได้เสื่อมอำนาจลงไปมากแล้ว การทำนุบำรุงพุทธศาสนาครั้งใหญ่เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๕๙ เป็นครั้งสุดท้าย นั่นคือการหล่อพระเจ้าเก้าตื้อ

    ในด้านการทำสงครามนั้น พญาแก้วพยายามขยายอำนาจลงไปทางใต้เช่นเดียวกับพระเจ้าติโลกราช เริ่มจาก พ.ศ. ๒๐๕๐ พญาแก้วทรงส่งกองทัพไปตีสุโขทัย แม้ว่าจะตีไม่สำเร็จแต่พระองค์ก็มิได้ทรงละความพยายาม จึงทรงส่งกองทัพไปทำสงครามอีกหลายครั้ง บางครั้งก็ยึดได้กำแพงเพชรและเชลียง แต่ก็ไม่สามารถจะรักษาอิทธิพลเอาไว้ได้ การณ์กลับปรากฏว่าใน พ.ศ. ๒๐๕๘ (ในปลายรัชกาลพญาแก้ว) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงยกทัพมาตีลำปางแตก กวาดต้อนผู้คนจำนวนมากกลับไปยังอาณาจักรอยุธยา สองปีสุดท้ายในรัชกาลพญาแก้ว เชียงใหม่ต้องประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ คือในปี พ.ศ. ๒๐๖๖ พญาแก้วส่งกองทัพที่มีคนถึงสองหมื่นคนไปรบเชียงตุง แต่พ่ายแพ้ยับเยิน เสียทั้งขุนนางและไพร่ และในปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๐๖๗ ก็เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีคนตายมากมาย

    ควรกล่าวด้วยว่าการสูญเสียขุนนางและไพร่ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจเสื่อมโทรมด้วย การสูญเสียขุนนางหมายถึงการสูญเสียความมั่งคั่งจากการค้า เพราะขุนนางเป็นผู้ประกอบการค้ารายใหญ่ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าในการทำสงครามกับอยุธยาและสงครามตีเชียงตุง เชียงใหม่สูญเสียขุนนางชั้นสูงจำนวนมาก เฉพาะคราวที่รบกับกองทัพอยุธยาที่ลำปาง เชียงใหม่ก็สูญเสียขุนนางไม่น้อยกว่าสิบคน ส่วนการสูญเสียไพร่ หมายถึงการลดลงของผลผลิตในตลาด (เพราะมีการลดลงของส่วยและภาษีอากรต่างๆ ซึ่งเจ้าและขุนนางนำมาขายในตลาดต่างๆ)
    ความเสื่อมของเชียงใหม่และล้านนานับแต่รัชกาลพญาแก้ว เห็นได้ชัดจากการที่กฎหมายโบราณซึ่งพบที่วัดป่าลาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่าในรัชกาลพญาแก้วเป็นต้นมา ค่าของเงินตรา (เบี้ย) ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ หรือเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้น เข้าใจว่าสาเหตุที่ค่าของเงินตราลดลงเป็นเพราะสินค้าในตลาดมีน้อยลงจนทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น

    ส่วนในด้านการเมืองก็มีการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้ง มีการปลงพระชนม์กษัตริย์โดยขุนนาง หรือการปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง หรือการสละราชสมบัติ และใน พ.ศ. ๒๑๐๑ ภายหลังการแต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เพียง ๓๐ ปีเท่านั้น เชียงใหม่ก็อ่อนแอจนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

    อนึ่งแม้ว่าพญาแก้วจะทรงเป็นกษัตริย์พระองค์หนึ่งของล้านนาที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก แต่วัดสำคัญในเชียงใหม่ก็สร้างมาตั้งแต่ต้นรัชกาล เมื่อถึงปลายรัชกาล คือช่วงที่พระรัตนปัญญาเถระแต่งชินกาลมาลีปกรณ์นี้ เชียงใหม่คงเสื่อมโทรมลงจนคนทำบุญให้ทานน้อยลง และเป็นไปได้อย่างมากว่า ปัญหาต่างๆ อันเป็นผลกระทบจากการทำสงครามขยายอำนาจของพญาแก้ว รวมทั้งการที่ฝ่ายกรุงศรีอยุธยายกทัพมาโจมตีตอบแทน จนพญาแก้วต้องทรงทุ่มเททรัพยากรไปในการป้องกันราชอาณาจักร เช่น การก่อสร้างกำแพงเมือง ทั้งเมืองลำพูนและเมืองเชียงใหม่ด้วยอิฐ ทำให้พระรัตนปัญญาเถระไม่ต้องการให้กษัตริย์เชียงใหม่ทำสงครามขยายอำนาจอีกต่อไป

    ดังนั้นพระรัตนปัญญาเถระจึงต้องเล่าตำนาน “พระแก้วมรกต” ที่พยายามปฏิเสธว่า “พระแก้วมรกต” ไม่ใช่แก้วมณีโชติ และเขียนประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาที่เน้นคติปัญจอันตรธาน เพื่อเร่งให้คนทำบุญให้ทานสร้างกองการกุศล บำเพ็ญศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อจะได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ดังปรากฏรายละเอียดในชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งหากความคิดทางพุทธศาสนาดังกล่าวนี้เป็นที่รับรู้และเชื่อถืออย่างกว้างขวางแล้ว ก็จะช่วยทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม เพราะเมื่อคนทำตามหลักธรรมะของพระพุทธศาสนา ก็ย่อมมีผลในการจัดระเบียบและควบคุมสังคมได้ดียิ่งกว่าการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งในเวลานั้นรัฐล้านนากำลังเสื่อมอำนาจลงจนน่าจะขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการละเมิดประเพณีหรือระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม

    กล่าวได้ว่าสงครามและภัยธรรมชาติ ทำให้พระรัตนปัญญาเถระกับคนทั้งหลายในล้านนาต้องการให้การแย่งชิงอำนาจและการขยายอำนาจสิ้นสุดลง แล้วหันมาเร่งทำบุญให้ทานเพื่อสะสมบุญ ก่อนที่พระพุทธศาสนาของพระสมณโคดมจะอันตรธานไป พระรัตนปัญญาเถระจึงพยายามสร้างคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับ “พระแก้วมรกต” ว่าแท้ที่จริงแล้วพระพุทธรูปนี้เป็น “แก้วอมรกต” มิใช่แก้วมณีโชติ เพื่อจะลบความเชื่อเดิมที่ว่า “พระแก้วมรกต” เป็นแก้วมณีโชติของพระจักรพรรดิราชลงเสีย

    นอกจากนี้อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อมีการแต่ง “ตำนานพระแก้วมรกต” ขึ้นมาใน พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑ นั้น หากเน้นประวัติ “พระแก้วมรกต” ว่าทำมาจากแก้วมณีโชติ ก็จะไม่สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ล้านนากำลังเสื่อมอำนาจลง และจะส่งผลให้ชาวล้านนาทั้งปวงสูญเสียความศรัทธาใน “พระแก้วมรกต” ด้วย จำเป็นต้องเล่าว่า “พระแก้วมรกต” ทำมาจากแก้วอมรกตซึ่งพระอินทร์ได้มาจากบริเวณใกล้เคียงกำแพงแห่งแก้วมณีโชตินั้น

    ยุคที่ “พระแก้วมรกต” ได้รับการประดิษฐานในล้านช้าง

    ในระหว่างที่เชียงใหม่อ่อนแอลง อาณาจักรหลวงพระบางรุ่งเรืองอย่างยิ่ง กษัตริย์หลวงพระบางคือพระโพธิสารราชเจ้า (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๑) ซึ่งพระนามเต็มคือ “สมเด็จพระโพธิสารราชมหาธรรมิกทศลักขกุญชรมหาราชาธิปติจักรพรรดิภูมินทร์นรินทรราชเจ้า” สะท้อนคติที่ว่าพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์และทรงเป็นพระจักรพรรดิราช หนังสือประวัติศาสตร์ลาว ของมหาสิลา วีระวงส์ ระบุว่า สมเด็จพระโพธิสารราชนี้เองที่ทรงเป็นผู้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ออกจากเชียงใหม่ไปยังเชียงคำ (หลวงพระบาง) มิใช่พระไชยเชษฐาธิราชดังที่นักประวัติศาสตร์ของไทยเชื่อกัน (รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์ว่า “เมื่อพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้ เป็น…พระพุทธศาสนกาล ๒๐๙๕”) ซึ่งปี พ.ศ. ๒๐๙๕ นี้อยู่ในรัชกาลพระไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรหลวงพระบาง

    อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. ๒๐๙๕ อาจเป็นปีที่ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐานในเชียงทองก็เป็นได้ กล่าวคือ สมเด็จพระโพธิสารราชสวรรคต พ.ศ. ๒๐๙๓ แต่พระไชยเชษฐาธิราชมิได้เสด็จขึ้นครองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ในทันที เนื่องจากเวลานั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เชียงใหม่ กลุ่มการเมืองอื่นที่อยู่ใกล้พระโพธิสารราชเจ้าอาจได้ครอบครอง “พระแก้วมรกต” ก่อน กว่าพระไชยเชษฐาธิราชจะทรงยึดอำนาจได้และได้ครอบครอง “พระแก้วมรกต” ก็อาจจะเป็นปี พ.ศ. ๒๐๙๕ ก็ได้

    ในที่นี้ใคร่ขอวินิจฉัยว่า ผู้อัญเชิญ “พระแก้วมรกต” ออกจากเชียงใหม่ น่าจะเป็นสมเด็จพระโพธิสารราช ตามที่มหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของลาวได้เขียนไว้ เพราะในเวลาที่เสด็จออกจากล้านช้างมาครองเชียงใหม่นั้น พระไชยเชษฐาธิราชทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา และทรงครองเชียงใหม่ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสมเด็จพระโพธิสารราชแห่งอาณาจักรหลวงพระบาง อำนาจของพระไชยเชษฐาธิราชในเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ได้ในช่วงสองปีที่ครองราชสมบัติ ก็ด้วยเหตุที่มีพระราชอำนาจของสมเด็จพระโพธิสารราชพระราชบิดาค้ำจุนอยู่นั่นเอง เพราะพระราชบิดาได้เสด็จมายังล้านนาพร้อมด้วยกองทัพที่แห่พระไชยเชษฐาธิราชมาครองเมือง และก่อนจะเสด็จเข้าไปทำพิธีราชาภิเษกพระราชโอรส ณ เมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระโพธิสารราชก็ได้เสด็จไปเมืองต่างๆ ในล้านนาหลายเมือง เพื่อแสดงบุญบารมีของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิราชให้ปรากฏในเมืองเหล่านั้น

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระโพธิสารราชเสด็จมาล้านนาในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ เมืองสำคัญทั้งหลายในล้านนายอมอ่อนน้อมต่อพระองค์แต่โดยดี และพระองค์ก็ได้ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่การเป็นพระจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนา ดังนั้นจึงน่าจะทรงมีพระราชอำนาจมากพอที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญไปจากล้านนา ดังความในหนังสือประวัติศาสตร์ลาว กล่าวว่า

    พร้อมกับการแห่แหนพระราชโอรสไปคราวนี้ พระองค์ได้มีพระราชอาชญาแต่งตั้งให้พระยาเวียงกับแสนนครเป็นแม่ทัพ…ยกขึ้นไปตีเอาเวียงพระบึงด้วย…สมเด็จพระโพธิสารราชเจ้าก็ยกรี้พลโยธาหาญออกจากพระนคร แห่พระราชโอรสไปถึงนครเชียงแสน…ขณะที่ประทับอยู่นครเชียงแสน พระองค์ได้บำเพ็ญพระราชกุศล ทำพิธีบวชกุลบุตรในอุทกุกเขปสีมาน้ำโขงเป็นปฐมฤกษ์ก่อน…เสด็จประทับอยู่นครเชียงราย ๙ วัน จึงยกขบวนเสด็จไป…ถึงปะรำชัยของหมื่นขอม กำนันหนองแก้วที่นครเชียงใหม่ได้มาปลูกไว้รับเสด็จ…พวกเสนาอำมาตย์นครเชียงใหม่…ได้จัดเครื่องราชูปโภคออกมาถวายอยู่ปะรำชัย…

    ครั้น (พระราชพิธีราชาภิเษก) เสร็จบริบูรณ์แล้ว พระโพธิสารธรรมิกราชพระราชบิดาก็ทรงบริจาคพระราชทรัพย์อันนำมาแต่นครเชียงทองกับที่เสนาอำมาตย์นครเชียงใหม่นำมาถวาย ออกให้ทานแก่พระสังฆเจ้าและยาจกวณิพกคนอนาถาเป็นอันมาก

    ในขณะที่พระโพธิสารราชเจ้าประทับอยู่นครเชียงใหม่นี้ สมเด็จพระเจ้าบุเรงนอง…ได้ส่งทูตมาขอผูกพระราชไมตรี…ชักชวนพระโพธิสารราชเจ้าไปตีเอากรุงศรีอยุธยา…

    สมเด็จพระโพธิสารราชเจ้าประทับอยู่เมืองเชียงใหม่พอสมควรแล้ว ก็เสด็จคืนมานครเชียงทอง และพระองค์ได้เชิญเอาพระแก้วมรกตกับพระแซกคำที่สถิตอยู่ในวิหารวัดปุพพารามมาด้วย
    เหตุที่สมเด็จพระโพธิสารราชสามารถเสด็จมาล้านนาในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ เมืองสำคัญๆ ในล้านนายอมอ่อนน้อมแต่โดยดี และพระองค์สามารถเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในเมืองเหล่านั้นเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพในฐานะจักรพรรดิราชได้อย่างราบรื่น ก็เพราะว่าก่อนจะทรงขยายพระราชอำนาจมาสู่ล้านนานั้น สมเด็จพระโพธิสารราชได้ทรงประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือและทางตะวันตกมาก่อนแล้ว ในรัชกาลของพระองค์มีเมืองขึ้นที่ถวายบรรณาการแก่พระองค์อย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองแสนหวี และมีเจ้าทางไดเวียด นำคน ๓,๐๐๐ คนมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วย

    หนังสือประวัติศาสตร์ลาว ของมหาสิลา วีระวงส์ ระบุด้วยว่า กษัตริย์จามแห่งเมืองจำปาศักดิ์และกษัตริย์เขมรแห่งพระนครธมก็ถวายบรรณาการแก่สมเด็จพระโพธิสารราชเช่นกัน นอกจากนี้ภายหลังจากเจ้านายแห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง คือพระไชยราชา ทรงหนีภัยการเมืองมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร กองทัพอยุธยาได้ยกมาตีถึงเมืองชายแดนล้านช้างแต่ถูกกองทัพล้านช้างตีแตกกลับไป ฝ่ายอยุธยาต้องสูญเสียไพร่พลและช้างม้าเป็นอันมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๗๗ สมเด็จพระโพธิสารราชก็ยกทัพใหญ่มาหมายจะตีอยุธยา เข้าใจว่ายกมาช่วยพระไชยราชาชิงราชสมบัติ (หรืออาจจะถือโอกาสเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยามาเป็นเมืองขึ้น) ซึ่งปรากฏว่าในปี พ.ศ. ๒๐๗๗ นี้ พระอาทิตยราชได้เสด็จสวรรคตและพระไชยราชาธิราชได้เสด็จขึ้นครองราชย์แทนเรียบร้อยแล้ว กองทัพของสมเด็จพระโพธิสารราชจึงยกกลับโดยมิได้ทำสงครามแต่อย่างใด

    ก่อนเสด็จล้านนา สมเด็จพระโพธิสารราชน่าจะทรงมีอิทธิพลมาถึงบริเวณเมืองพิษณุโลกและนครพนมด้วย เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการค้าทางบกสำคัญที่เชื่อมโยงอาณาจักรหลวงพระบาง กับเมืองท่าทางทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้มีพระราชประสงค์จะครอบครองเมืองสำคัญแห่งนี้ เมื่อสมเด็จพระโพธิสารราชทรงผนวชนั้นสมเด็จพระสังฆราชมหาศรีจันโทซึ่งเป็นชาวพิษณุโลกเป็นพระอุปัชฌาย์ และใน พ.ศ. ๒๐๗๘ พระองค์ก็ได้เสด็จยกทัพไปตีพิษณุโลก สี่ปีต่อมาภายหลังการยกทัพไปตีพิษณุโลก พระองค์ก็ทรงประกาศพระบารมีในแถบนครพนมโดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่งในบริเวณพระธาตุพนมและทรงกัลปนาข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมถึง ๓,๐๐๐ คน

    ในการเสด็จล้านนาเพื่อราชาภิเษกพระไชยเชษฐาธิราชโอรสขึ้นครองเชียงใหม่ ปรากฏว่าสมเด็จพระโพธิสารราชได้รับผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมาก เพราะเท่าที่ปรากฏหลักฐานนั้นกองทัพของพระองค์ได้ช้างป่าถึง ๒,๐๐๐ เชือก และได้กวาดต้อนกำลังคนจากเวียงพระบึงกลับมาถึง ๔๐,๐๐๐ คนกับช้างอีก ๑,๐๐๐ เชือก

    เมื่อสมเด็จพระโพธิสารราชเสด็จสวรรคต พระไชยเชษฐาธิราชก็ต้องรีบเสด็จออกมาจากเมืองเชียงใหม่ มิฉะนั้นก็อาจถูกขุนนางบางกลุ่มวางแผนกำจัดพระองค์เช่นเดียวกับที่พญาเกศเชษฐราชพระอัยกาของพระองค์ได้เคยถูกกำจัดมาแล้ว พระไชยเชษฐาธิราชได้รับการสนับสนุนจากขุนนางล้านช้างกลุ่มหนึ่ง มีพระยาศรีสัทธรรมไตรโลกเป็นผู้นำ ช่วยกำจัดกลุ่มอำนาจของพระล้านช้าง จึงสามารถเสด็จกลับไปยังเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ เชียงทองแล้ว ต้องทรงแต่งตั้งพระยาศรีสัทธรรมไตรโลกให้เป็นผู้ปกครองเมืองเวียงจันซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญทางการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลาต่อมาเมื่อพระไชยเชษฐาธิราชเสด็จยกทัพกลับมาตีเชียงใหม่เพื่อยึดล้านนาคืนมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง พระองค์ทรงเกณฑ์ทัพพระยาศรีสัทธรรมไตรโลกจากเวียงจันมาช่วย แม้ว่ากองทัพล้านช้างจะไม่สามารถยึดเชียงใหม่จากพม่าได้ แต่พระไชยเชษฐาธิราชกับกลุ่มขุนนางที่เป็นพันธมิตรได้ถือโอกาสนั้นกำจัดพระยาศรีสัทธรรมไตรโลกเสีย แล้วใน พ.ศ. ๒๑๐๓ ก็ทรงย้ายราชธานีไปยังเวียงจันพร้อมกับอัญเชิญ “พระแก้วมรกต” มาประดิษฐาน ณ ราชธานีใหม่ของอาณาจักรล้านช้าง

    พระแก้วมรกตได้รับการอัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองเวียงจันในเวลาที่เวียงจันมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการขยายตัวของการค้าระหว่างเวียงจันกับอยุธยา กัมพูชา และภาคกลางของเวียดนาม

    จะเห็นได้ว่าอิทธิพลทางการเมืองที่สมเด็จพระโพธิสารราชทรงมีอยู่อย่างกว้างขวาง ทำให้พระองค์ทรงต้องการอุดมการณ์จักรพรรดิราช เพื่อเป็นพื้นฐานทางอุดมการณ์ในการปกครองราชอาณาจักรและการทำสงครามขยายพระราชอำนาจ ดังนั้นจึงต้องทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างมาก และสิ่งหนึ่งที่จะช่วยยืนยันการเป็นจักรพรรดิราชของพระองค์ได้เป็นอย่างดี ก็คือการอัญเชิญพระแก้วมรกต ซึ่งคนส่วนใหญ่น่าจะยังคงเชื่อว่าเป็น “แก้วมณีโชติ” ไปสู่อาณาจักรล้านช้างของพระองค์นั่นเอง

    หากพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองของล้านนาในช่วงก่อนที่สมเด็จพระโพธิสารราชจะเสด็จมาราชาภิเษกพระราชโอรส จะเห็นภาพค่อนข้างชัดเจนว่า ไม่นานหลังจากพญาแก้วสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๖๗ ล้านนาอาจขึ้นต่อกษัตริย์แห่งล้านช้าง พญาเกศต้องถวายราชธิดาให้สมเด็จพระโพธิสารราช (พระราชธิดาพระองค์นี้ต่อมาทรงมีพระโอรสคือพระไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษาแล้วนั้นได้ครองเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๐ และครองล้านช้าง ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) พญาเกศซึ่งเป็นพระอัยกาของพระไชยเชษฐาธิราชนี้หาได้ทรงมีอำนาจไม่ ทรงครองราชย์ได้ไม่นานก็ถูกขุนนางถอด เมื่อขุนนางสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์อีกครั้งหนึ่งก็ทรงครองราชย์อยู่ได้เพียงสองปีก็ถูกขุนนางจับปลงพระชนม์ ก่อนที่พระไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาครองเชียงใหม่นั้น ล้านนาอ่อนแอมากจนไม่สามารถต้านทานการรุกรานของอยุธยาได้ ในสมัยพระมหาเทวีจิรประภา คือใน พ.ศ. ๒๐๘๘ เชียงใหม่ได้ถูกกองทัพพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยายกมาโจมตี พระมหาเทวีจิรประภา ต้อง “แต่งเจ้าขุนเอาบรรณาการไปถวาย” ในการรบครั้งต่อมาซึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกันนั้นปรากฏว่ากองทัพพระไชยราชาธิราชถึงกับเผาเมืองเชียงใหม่บางส่วน หลังจากนั้นหัวเมืองไทยใหญ่บรรดาเมืองเล็กเมืองน้อยทั้งปวงที่เคยขึ้นกับล้านนาก็เข้าปล้นเมืองเชียงใหม่ และยังมีกองทัพเงี้ยวเมืองนายกับเมืองยองห้วยพยายามถมคูเมืองเพื่อเข้ายึดเชียงใหม่ด้วย แม้ว่ากองทัพเงี้ยวเมืองนายกับเมืองยองห้วยจะเข้าเมืองไม่ได้ แต่ก็ได้เผาทัพเชียงใหม่ที่เวียงสวนดอกแล้วจึงยกทัพกลับไป

    ความสนใจของสมเด็จพระโพธิสารราชที่มีต่อการขยายอำนาจในล้านนาคงมาจากปัจจัยสำคัญสามประการ
    ๑. ความต้องการที่จะใช้ล้านนาเป็นแดนป้องกันทัพพม่า มิให้ยกมาถึงล้านช้างโดยง่าย เวลานั้นพม่ากำลังขยายอำนาจมาสู่ล้านนาและอยุธยา
    ๒. ความต้องการกำลังคนและช้าง ดังปรากฏว่าระหว่างทางเสด็จกลับล้านช้างทรงได้ช้างป่าถึง ๓,๐๐๐ เชือก และกวาดต้อนคนจากเมืองรายทางได้ถึง ๔๐,๐๐๐ คน (แต่เสด็จสวรรคตเพราะถูกช้างล้มทับ)
    ๓. ความต้องการที่จะครอบครองศูนย์ความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนา รวมทั้งพระแก้วมรกต และเพื่อแสดงบุญญาบารมีในเมืองต่างๆ ในฐานะพระจักรพรรดิราช

    ก่อนที่สมเด็จพระโพธิสารราชได้เสด็จมายังล้านนาเพื่อทรงแสดงแสนยานุภาพให้พระราชโอรสได้ครองเมืองเชียงใหม่อย่างราบรื่นนั้น พระองค์ได้ทรงรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของล้านนามาเผยแพร่ในล้านช้างได้ระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ทรงทราบถึงความหมายและความสำคัญของ “พระแก้วมรกต” เป็นอย่างดี กล่าวคือ สมเด็จพระโพธิสารราชทรงแต่งราชทูตขอพระไตรปิฎกและพระสังฆเจ้าจากเชียงใหม่ในรัชกาลพญาแก้ว ทำให้พระพุทธศาสนาในล้านช้างรุ่งเรือง หลังจากนั้นได้ทรงห้ามประชาชนนับถือผีฟ้าและผีแถน

    มีพระราชอาชญาประกาศให้บ่าวไพร่พลเมืองเลิกนับถือผีฟ้าผีแถน อันเคยมีมาแต่โบราณกาลนั้นเสียหมด บรรดาหอโรง กว้านศาล อันเป็นสถานที่ขึ้นฟ้าขึ้นแถนของพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนนั้น พระองค์ก็ได้รื้อถอนทิ้ง แล้วทรงสร้างพระอารามขึ้นแทน

    ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนเคารพพระองค์ในฐานะ “สมเด็จพระโพธิสารราชมหาธรรมิกทศลักขกุญชรมหาราชาธิปติจักรพรรดิภูมินทร์นรินทรราชเจ้า” และยอมรับกฎหมายที่ทรงตราขึ้น (คือกฎหมายโคสาราษฎร์) นั่นเอง กฎหมายโคสาราษฎร์นี้ถูกนำมาใช้ในล้านนาสมัยที่พระไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาครองเชียงใหม่ด้วย หลักธรรมะของพระพุทธศาสนามีความสำคัญมากต่อกฎหมายโบราณของล้านช้าง เนื่องจากมาตราต่างๆ ของกฎหมายได้ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักศีลห้าของพระพุทธศาสนา เช่นการฆ่าตีกัน จัดเป็นหมวดปาณาติบาต การลักขโมย ฉ้อโกง ปล้นสะดม ซื้อขาย จัดเข้าในหมวดอทินนาทาน กฎหมายลักษณะผัวเมียและข้าทาสจัดเข้าในหมวดกาเมสุมิจฉาจาร เป็นต้น

    เมื่อสมเด็จพระโพธิสารราชสวรรคตแล้ว พระไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จกลับมาแย่งราชสมบัติในล้านช้าง ทั้งนี้ก็เพราะในเวลานั้นการค้าทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายตัวมาก โดยมีอาณาจักรอยุธยาและกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการค้าดังกล่าว และเวียงจันตั้งอยู่ในตำแหน่งที่จะทำการค้ากับอยุธยาและกับเมืองท่าในกัมพูชาตลอดจนเวียดนามได้สะดวก สามารถสร้างระบบส่วยและระบบหมุนเวียนสินค้าภายในอาณาจักรที่ทำให้มีสินค้าส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศผ่านทางกรุงศรีอยุธยาและพนมเปญ ได้แก่สินค้าประเภทแร่ธาตุ เช่น ทอง เงิน เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก และสินค้าประเภทของป่า เช่น กำยาน ครั่ง นอแรด งาช้าง หนังกวาง ชะมดเชียง เมื่อประกอบกับความต้องการที่จะถอยออกห่างจากการรุกรานของพม่าให้มากที่สุด สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชก็ได้ย้ายราชธานีไปยังเวียงจัน ใน พ.ศ. ๒๑๐๓
    พระองค์ได้เชิญเอาพระแก้วมรกตและพระแซกคำกับราชสมบัติทั้งมวล…ลงมาอยู่ ณ นครเวียงจันทน์…พระองค์ก็ได้สร้างมหาปราสาทราชวังขึ้นใหม่ พร้อมทั้งหอพระแก้ว พระแซกคำ อย่างวิจิตรพิสดารยิ่งนัก

    ดังนั้น “พระแก้วมรกต” จึงประทับอยู่ที่เชียงคำชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่ประทับอยู่ ณ นครเวียงจันสืบมา แม้ว่าอาณาจักรล้านช้างจะถูกแบ่งแยกออกเป็นสามอาณาจักรคือเวียงจัน หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๔๑ อันเป็นผลมาจากการที่กลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นมีอำนาจสูงขึ้น เพราะสามารถทำการค้าอย่างเป็นอิสระจากเวียงจัน โดยที่ผู้นำท้องถิ่นเหล่านี้จะส่งสินค้าที่กินระวางต่ำแต่มีมูลค่าสูงซึ่งรวบรวมได้ในท้องถิ่น ไปจำหน่ายยังศูนย์กลางการค้าต่างๆ ในภาคพื้นทวีปโดยตรง โดยไม่จำเป็นจะต้องส่งสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศโดยผ่านทางเวียงจันเพียงแห่งเดียว ซึ่งทำให้กษัตริย์แห่งเวียงจันอ่อนแอลง และสามารถรักษาพระแก้วมรกตเอาไว้ได้อีกราวแปดสิบปี แต่ความหมายของ “พระแก้วมรกต” ในช่วงก่อนที่เวียงจันจะตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ ก็เปลี่ยนจากการเป็นแก้วมณีโชติของพระจักรพรรดิราช มาเป็นพระพุทธรูปที่เป็นมิ่งขวัญของบ้านเมืองแทน

    ส่วนทางล้านนานั้น ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๐๙๔ หลังจากพระไชยเชษฐาเสด็จไปล้านช้างแล้ว เชียงใหม่ก็ว่างกษัตริย์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า “เกิดเป็นกลียุคมากนัก” ไม่กี่ปีต่อมาล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กล่าวได้ว่าความเสื่อมของล้านนาทำให้ต้องสูญเสีย “พระแก้วมรกต” และความรุ่งเรืองของล้านช้างก็ทำให้กษัตริย์แห่งล้านช้างได้ “พระแก้วมรกต” ไปครอบครองแทน ตราบจนกระทั่งเวียงจันเสื่อมอำนาจลงไปเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ภายในล้านช้าง เวียงจันจึงเสีย “พระแก้วมรกต” ให้แก่กรุงธนบุรี ซึ่งทำให้ความหมายของ “พระแก้วมรกต” เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งหนึ่ง ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า


    ที่มา: https://www.silpa-mag.com/history/article_8666
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    118328745_2013085962155700_7458861851909178385_o.jpg

    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)



    ตำนานพระแก้วมรกต(๔)
    (สำนวนที่ ๓)

    พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยพระพุทธรูปสำคัญที่จัดเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่ควรกล่าวถึงพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)ปัจจุบันประดิษฐานใน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน พระบรมมหาราชวัง

    ประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกตปรากฏในตำนานของชาวล้านนา กล่าวว่า สร้างจากหยกเนฟไฟรต์จากจีน สร้างโดยช่างในอินเดีย และได้อัญเชิญมายังเมืองไชยาโดยทุนทรัพย์กษัตริย์ไชยา ก่อนจะส่งต่อไป เมืองนครศรีธรรมราช ละโว้ อยุธยา ชัยนาท สุโขทัย กำแพงเพชร จนกระทั่งมาถึงล้านนาตามลำดับ

    หลักฐานที่พบ และสามารถสืบค้นได้คือ ประวัติพระแก้วมรกตจากพงศาวดาร ซึ่งกล่าวว่า ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต ใน พ.ศ ๑๙๗๙ ตรงกับสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ปกครองล้านนา โดยพบในเจดีย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งถูกฟ้าผ่าพังทลายลงมาหลังจากที่ได้พบพระแก้วมรกตแล้ว ได้มีการอัญเชิญเพื่อจะนำมาประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ แต่ก็เกิดปาฏิหาริย์ จึงได้นำพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว ดอนเต้า เมืองลำปาง จนมาถึงรัชกาลพระเจ้า ติโลกราช ครั้นเมื่อสร้างวัดเจดีย์หลวงเสร็จแล้ว จึงโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจาก เมืองลำปาง มาประดิษฐานในจระนำซุ้มด้านทิศตะวันออกของเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระอุปราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง มาปกครองล้านนา เป็นเวลา ๒ ปี เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครอง อาณาจักรล้านช้าง พร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังเมืองหลวงพระบาง และในภายหลังได้ย้ายมาประดิษฐานยังวัดพระแก้ว ในเมืองเวียงจันทน์ เป็นเวลานานกว่า ๒๐๐ ปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่ง กรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมือง เวียงจันทน์ มายังกรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นวัดสำคัญ ในเขตพระบรมมหาราชวัง

    ประวัติการสร้างพระแก้วมรกตตามตำนานนานาชาติ
    เริ่มที่
    พ.ศ.1180 พระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช กษัตริย์พม่า / มอญ แห่งพุกาม ในสมัยนั้นได้ยกกองทัพมาตีกรุงทวาราวดี มหานครบาจาย (ไพศาลีลุมสัคอัคคบุลี ) แห่งชนเผ่ามอญขอมเผาทำลายอย่างย่อยยับ ลูกหลานของกษัตริย์ทวาราวดี มอญขอม อพยพหนีไปตั้งนครละโว้ ขึ้นเป็นเมืองหลวง บางส่วนอพยพต่อไป “สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม”และเมืองไชยา ส่วนเมืองต่างๆ ของคนไทยทางแดนล้านนา ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพุกาม เป็นเวลานานมาก จนนิยมใช้จุลศักราช กษัตริย์ในดินแดนล้านนาไปชุมนุมกันทั่ว ยกเว้นแต่กษัตริย์ที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) และสวรรคโลก (สุโขทัย) พระเจ้ากากวรรณดิศราช โอรสพระเจ้าอนุรุธ ยกทัพมาตีเมืองละโว้ ถึง 7 ปี แล้วมาตั้งพระปฐมเจดีย์ที่นครปฐม (ต่อมา รัชกาลที่ 4 บูรณะใหม่)
    ประมาณ พ.ศ.1205 พระเจ้ากรุงละโว้ จึงได้ส่งพระนางจามเทวีไปครองนครหริภุญชัย
    พ.ศ.1232 ปรากฏว่ารัฐต่างๆ ในแถบทะเลใต้มีรัฐพาน(เวียงสระ) รัฐไฮลิง (ตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช) ปองพอง (ปาหัง) กิลันตัน (กลันตัน) ปลึกฟอง (ปาเลมบัง) และรัฐอื่น ๆ อีก 10 รัฐ เข้ารวมกันเป็น “อาณาจักรศรีวิชัย” เมืองหลวงคือ นครโพธิ์ไชยา หรือ นครปาตลีบุตร มีกษัตริย์ที่ครองเมือง ทรงพระนามว่า พระอินทรวรมเทวะ เป็นลูกหลานกษัตริย์ พระเจ้ากรุงทวาราวดีที่อู่ทอง มอญขอม สมัยโบราณนั้น พระมหากษัตริย์องค์ใดที่เลื่อมใสในศาสนา ทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง จะเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป เมื่อสวรรคตแล้วจะมีการสร้างเจดีย์ หรือพระพุทธรูปอุทิศถวาย เพื่อเป็นความหมายของนิพพานธรรม สมัยนั้นพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระราชบุตรกษัตริย์ พระอินทร์วรมเทวะ คือ พระวิษณุกรรมเทพบุตร มีฝีพระหัตถ์ในการหล่อพระพุทธรูปที่สวยงามจำนวนมาก

    พระนาคเสนเถระ บวชเป็นพระ ณ นครโพธิ์ไชยา ได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนา ถึง พ.ศ. 5,000 จึงจะหาวัสดุมาสร้างพระพุทธรูปนี้ วิตกว่า หากใช้ไม้ก็จะไม่อยู่ถึง 5,000 ปี หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงใจเลือกใช้แก้วมณี มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป

    พ.ศ.1260-1270 พระวิษณุราชบุตรแห่งอาณาจักรศรีวิชัย เมืองไชยา(องค์ที่จับเจ้าชายชัยวรมันที่2เป็นตัวประกันและเป็นองค์เดียวกันที่สร้างบุโรพุทโธที่ชวากลาง) บุตร พระเจ้าอินทร์บรมเทพ ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก สีเขียวทึบ (หยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวมรกตพบมากในประเทศจีน)ที่ทูลขอจากพระเจ้ากรุงจีน พระจักรพรรดิถังเสวียนจง ราชวงค์ถัง มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ศิลปะศรีวิชัย ก่อนยุคเชียงแสน ถึงศิลปะเชียงแสน สำเร็จในเวลา 7 วัน แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงไป 7 จุด คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา ตอนแรกพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต

    แต่เมื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดแล้ว เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสน ได้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต ไว้ว่า “ พระพุทธรูปองค์นี้จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ ทำให้พุทธศาสนามีความสำคัญโชติช่วงสูงสุดใน 5 ดินแดน คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และสุวรรณภูมิ.. จากนั้น กาลเวลาถึงพ.ศ. 1400 การเดินทางของพระแก้วมรกตก็ได้เริ่มต้นขึ้น

    การเดินทางของพระแก้วมรกตจากอดีตสู่ปัจจุบัน
    พระแก้วมรกต จุดกำเนิดจากภาคใต้! อำเภอไชยา ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ.234 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีพวกเดียรถีย์ปลอมเป็นพระภิกษุสงฆ์ จึงได้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกกำจัดเดียรถีย์ กระทำที่ ถูปาราม กรุงปาฏลีบุตร ชมพูทวีป ต่อจากนั้นได้ส่งพระเถระออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ แผ่นดินสุวรรณภูมิ มีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้าคณะ ผู้ร่วมคณะติดตามจึงน่าจะเป็นชนชาติมคธ ดินแดนสุวรรณภูมิในศตวรรษที่ 3 น่าจะเป็นชนชาติ ละว้า, มอญ, ขอม และชนพื้นเมืองอื่นๆ ไทยพึ่งจะตั้งตนปกครองอาณาจักรสุโขทัย ราวศตวรรษที่ 18 หลังจากพุทธศาสนามาถึงเมืองไทยราว 1500 ปี
    ในเวลานั้นมีการเดินทางของญาติพี่น้องชาวมคธ มายังประเทศไทย ทั้งทางตอนเหนือ, ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ เช่นที่เมืองไชยา ( ไทยเรียกชื่อว่า “ ปาฏลีบุตร ” เหมือนในประเทศอินเดีย ) และเมืองนครศรีธรรมราช ( ตามพรลิงค์ ) และอยู่กินกับชนพื้นเมืองในประเทศ มีบุตรหลานที่มีการศึกษาเฉลียวฉลาด สามารถรวบรวมพลเมืองตั้งเป็นอาณาเขตปกครองของตระกูลไศเลนทร์วงษ์

    ในยุคศรีวิชัย เช่นเดียวกับชนพื้นเมืองในภาคกลาง ได้อยู่กินกับชาวมคธ จากอินเดีย สามารถรวบรวมอาณาเขตปกครองในยุคทวาราวดี ซึ่งชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นชนชาติมอญ นอกจากนี้ชาวตะวันออกกลางยที่นับถือศาสนาใหม่ได้แก่ศาสนาอิสลามแห่งราชวงศ์อุมัยหยัด (อุมัยวิยะห์)โดยคำสัั่งของคอรีฟ่ะห์คนที่1ได้รุกราน ฆ่าฟัน เผาและทำลายอาคารในพุทธศาสนาตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 จนถึงศตวรรษที่ 9 จนถึงแก่ชีวิต ต้องหลบหนีมาทางพม่าและไทย ชนชาติที่นิยมมาทางพม่าได้แก่ชนชาติจากแคว้นโกศล และใกล้เคียง ที่เข้ามาทางไทยเพราะมีญาติพี่น้องอยู่ในไทยอยู่แล้วได้แก่ชาวมคธ และใกล้เคียง พวกที่เข้ามาทางเรือ จะเข้ามาทางเมืองไชยาและเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้ศาสนาพุทธในไทยเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น

    ปี พ.ศ.1260 กษัตรย์ไศเลนทร์วงษ์ ซึ่งครองเมืองไชยา ( ปาฏลีบุตร ) ทรงพระนามพระเจ้าอินทร์บรมเทพ ได้ให้พระวิษณุกรรมราชบุตร ส่งเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน และทูลขอหินสีเขียวจากเมืองจีน นำมาสร้างพระแก้วมรกต ( ทำไมจึงสร้างพระพุทธรูปจากแก้ว? เรื่องมีว่าเมื่อพระอรหันต์นามพระมหาธรรมรักขิตเถรเจ้า ผู้เป็นอาจารย์นิพพานไปแล้ว พระอรหันต์นาม นาคเสนผู้เป็นศิษย์ คิดเห็นว่า ควรจะสร้างพระพุทธรูปเจ้าขึ้นไว้ เพื่อแทนองค์อาจารย์ผู้ได้สั่งสอนนิพานธรรมให้แก่ศิษย์ .......... ได้เข้าถึงสวรรค์และนิพพาน ได้เป็นจำนวนมาก ถ้าจะสร้างด้วยเงินและทองคำ จะให้ยั่งยืนมั่นคงหาได้ไม่ เพราะคนทั้งปวงเขามี โลภะ โทสะ โมหะมาก เขาจะทำลายพระพุทธรูปเสีย เราควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้ด้วยแก้ว พระอินทร์กับพระวิษณุกรรม ทราบความปรารถนาของพระนาคเสนแล้ว ก็รับอาสาไปหาก้อนแก้วมรกตมาถวาย... )

    ปี พ.ศ.1400 กรุงไชยาเกิดอุทกภัย เกิดโรคระบาด จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่นครศรีธรรมราช ( ตามพรลิงค์ ) จนถึงปี พ.ศ.1432 พระเจ้าอนุรุธกษัตริย์พม่าได้ส่งกองเรือสำเภามาทูลขอพระไตรปิฎก พร้อมทั้งพระแก้มรกต ลงเรือสำเภากลับพม่า เจ้าชายในตระกูลไศเลนทร์วงษ์ โกรธแค้น ได้ฆ่านายท้ายเรือพม่า พร้อมทั้งแล่นเรือกลับด้วยเกรงว่ากษัตริย์ไศเลนทร์วงษ์แห่งเมืองนครศรีธรรมราชจะลงโทษ จึงแล่นเรือเลยไปจนถึงเมืองเขมร ซึ่งมีกษัตริย์ ทรงพระนามพระเจ้า ปทุมสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์ไศเลนทร์วงษ์ ซึ่งมารดาเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เขมรองค์ก่อน ได้ถวายวังให้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ชื่อว่า “ นครวัด ” ต่อมาในปี พ.ศ.1545 เขมรเกิดจลาจลรบพุ่งแย่งชิงราชสมบัติ พระเถระได้ลอบนำพระแก้วมรกต ลงเรือมายังกรุงละโว้ ( ลพบุรี ) ถวายพระเจ้ากรุงละโว้ เพราะเป็นเครือญาติกับกษัตริย์เขมร

    ต่อมา พ.ศ.1592 กษัตริย์เมืองอโยธยา ( อู่ทอง ) ได้ทูลขอพระแก้วมรกต จากพระเจ้ากรุงละโว้ จึงมาประดิษฐานอยู่ที่อโยธยา จนถึงปี พ.ศ.1730 กษัตริย์กำแพงเพชรได้ทูลขอพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้จนปี พ.ศ.1900 กษัตริย์เมืองเชียงรายเรืองอำนาจ จึงทูลขอต่อกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ประดิษฐานอยู่เมืองเชียงรายจนถึงปี พ.ศ.2019 ต่อมามีการสร้างเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เรืองอำนาจ จึงทูลขอต่อพระเจ้าเชียงราย ได้บรรทุกช้างมา ช้างพาหลงทางไปจนถึงเมืองลำปาง ประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปางจนถึงปี พ.ศ.2022

    พระเจ้าเชียงใหม่ติดตามพระแก้วมรกตกลับไปเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ.2095 พระเจ้าเชียงใหม่สวรรคต มอบราชสมบัติให้พระราชนัดดา พระไชยเชษฐาธิราชโอรสพระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์ลาว ซึ่งพระราชมารดาเป็นพระราชธิดากษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พระไชยเชษฎาธิราชครองเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน คิดถึงพระราชบิดามารดา เสด็จกลับเมืองหลวงพระบาง และนำเอาพระแก้วมรกต และพระพุทธสิหิงค์ กลับไปประเทศลาวด้วย เมือพระโพธิสารสวรรคต พระไชยเชษฐาธิราช ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ลาว จนปี พ.ศ.2107 ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่นครเวียงจันทน์

    จนถึงปี พ.ศ.2322 พระเจ้าตากสินมหาราชได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาพระมหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศลาว ยึดเอาพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ และพระบาง นำกลับมากรุงธนบุรี ต่อมาเห็นว่าพระบางเป็นสมบัติของประเทศลาว จึงดำเนินการส่งคืน เมื่อ ร.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นครองราชย์ ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกตไว้ที่พระบรมมหาราชวังและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในปี พ.ศ.2327 จนกระทั่งปัจจุบัน

    สรุป พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ตามที่ต่างๆ ดังนี้
    1. ไชยา ( ปาฏลีบุตร ) พ.ศ. 1260 – 1400 รวม 140 ปี
    2. นครศรีธรรมราช ( ตามพรลิงค์ ) พ.ศ.1400 – 1432 รวม 32 ปี
    3. นครวัด ( เขมร ) พ.ศ. 1432 – 1545 รวม 113 ปี
    4. ลพบุรี ( ละโว้ ) พ.ศ. 1545 – 1592 รวม 47 ปี
    5. อโยธยา ( อู่ทอง ) พ.ศ. 1592 – 1730 รวม 138 ปี
    6. กำแพงเพชร พ.ศ. 1730 – 1900 รวม 170 ปี
    7. เชียงราย พ.ศ. 1900 – 2019 รวม 119 ปี
    8. ลำปาง พ.ศ. 2019 – 2022 รวม 4 ปี
    9. เชียงใหม่ พ.ศ. 2022 – 2095 รวม 73 ปี
    10. หลวงพระบาง ( ลาว ) พ.ศ. 2095 – 2107 รวม 12 ปี
    11.เวียงจันทน์ ( ลาว ) พ.ศ. 2107 – 2322 รวม 215 ปี
    12. ธนบุรี พ.ศ. 2322 – 2327 รวม 5 ปี
    13. กรุงเทพฯ พ.ศ. 2327 – ปัจจุบัน

    ซึ่งเมื่อพิจารณาพุทธลักษณะของพระแก้วมรกตพบว่า
    พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดาน เกลี้ยง ตามความจริงแล้ว เนื้อวัสดุนั้นไม่ใช่มรกต แต่เป็นหยกเนฟไฟรต์ (หยกอ่อน)
    ได้มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการกำหนดอายุพระแก้วมรกตอยู่ ๒ ข้อ คือ

    ข้อแรก เชื่อว่าหยกจากจีน สร้างขึ้นในอินเดีย และได้อัญเชิญมายังเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในตำนาน

    กับอีกข้อหนึ่งเชื่อว่า สร้างขึ้นในล้านนา ซึ่งความเป็นไปได้น่าจะสร้างขึ้นในล้านนามากกว่า เพราะการพบครั้งแรก รวมทั้งประวัติความเป็นมา ล้วนแต่เกิดขึ้นในล้านนาทั้งสิ้น

    แต่ก็ยังมีข้อสงสัยในขณะนั้นว่า รูปแบบของพระแก้วมรกตไม่เหมือนกับพระพุทธรูปกลุ่มใดๆ ในล้านนาได้พบหลักฐานสนับสนุนว่า พระแก้วมรกตน่าจะสร้างขึ้นในล้านนา และเป็นฝีมือช่างในแหล่งที่พบคือ แถบเมืองเชียงราย พะเยา กล่าวคือ ได้พบพระพุทธรูปหินทรายในสกุลช่างพะเยากลุ่มหนึ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับพระแก้วมรกต ทั้งรูปแบบและวิธีการสร้างรายละเอียดเกี่ยวกับอายุสมัยและรูปแบบของพระแก้วมรกตนั้น เนื่องจากพระแก้วมรกตมีรูปแบบใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแบบล้านนาระยะแรกที่รับอิทธิพลมาแบบพุทธศิลปะแบบศิลปะศรีวิชัยแบบลังกา แต่ก็มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยผสมแล้ว จึงเชื่อว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะแรก ที่รับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยในสมัยพระเจ้ากือนา ที่ได้อาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัย ขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา ใน พ.ศ. ๑๙๑๓ ดังนั้น ปีที่สร้าง พระแก้วมรกตจึงน่าจะอยู่ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๓ - ๑๙๗๙

    ประกอบกับในตำนานที่กล่าวถึงพระแก้วมรกต ระบุว่า ได้มาปรากฏในล้านนาใน สมัยของท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นพระอนุชาของ พระเจ้ากือนา โดยพระองค์ได้เป็นผู้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองกำแพงเพชร มาประดิษฐานยังเมืองเชียงราย จึงนับเป็นหลักฐานที่สัมพันธ์กับการแผ่อิทธิพลของสุโขทัยในล้านนา ในช่วงระยะเวลานี้ พระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างพระพุทธรูปล้านนาระยะต่อๆ มา โดยเฉพาะในกลุ่มพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาดังกล่าว ดังนั้น ระยะเวลาในการสร้างงานน่าจะมีความใกล้เคียงกันด้วยคือ อยู่ในราวๆ ต้น - กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐


    Cr .จากเพจต้นโพธิ์
    ศักดิ์สิทธิ์ เรียบเรียงใหม่

    ที่มา: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=846145395862626&id=490609941416175
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    118328745_2013085872155709_2238508236166819315_o.jpg

    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    ตำนานพระแก้วมรกต(๕)
    (สำนวนที่ ๔ )

    มงคลแห่งพระพุทธปฎิมาแก้วมรกต

    (สำนวนนี้จะใช้เรื่องเล่าจาก อ.เผ่าทอง ทองเจือ)

    พระแก้วมรกตนี้ เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักขึ้นจากหินมีค่า ที่เรียกว่า หยกอ่อน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "เนฟไฟรต์" มีความพิเศษที่มีเนื้อหินเป็นสีเขียวเข้มคล้ายสีของมรกต ประกอบกับในสมัยนั้นยังไม่มีคำว่า "หยก" ใช้ ดังนั้น หินมีค่าที่ออกสีเขียวทั้งปวง ก็จะนิยมเรียกว่า "หินมรกต" และเมื่อนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป จึงเรียกว่า "พระแก้วมรกต" เพราะ "แก้ว" คือ หินใสที่ไม่ทึบแสง

    ทางด้านนักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักโบราณคดี จัดให้อยู่ในรูปแบบของสกุลช่างศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หรือในปัจจุบันจะนิยมเรียกว่า สมัยล้านนายุคต้น กำหนดอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ คือ ราว พ.ศ. ๑๘๕๐ - ราวก่อน พ.ศ. ๑๙๕๐ มีขนาดความกว้างของหน้าตักจากเข่าถึงเข่าประมาณ ๑๙ นิ้ว และส่วนสูงขององค์พระพุทธรูปอีกประมาณ ๒๘ นิ้ว

    ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เคยเล่าให้ผมฟังว่า ในส่วนที่อยู่ตอนใต้ขององค์พระแก้วมรกตนั้น ยังมีเนื้อหินหยกต่อเนื่องกับองค์พระพุทธรูปลงไป มีลักษณะเป็นเดือยหินหยกขนาดใหญ่มาก เนื้อหินหยกนั้นมีคุณภาพดี และมีสีเสมอเท่ากับองค์พระพุทธรูป มีความบริสุทธิ์ ไม่มีรอยร้าว หรือเส้นใดๆ ในเนื้อหินหยกเลย สามารถนำไปตัดออกเสมอฐานขององค์พระแก้วมรกต แล้วนำไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปใหม่ให้มีขนาดเท่าเทียมกันกับพระแก้วมรกตอีกองค์หนึ่งเลยทีเดียว

    ได้เคยมีผู้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วด้วย แต่ทรงมีพระราชวินิจฉัยไม่เห็นด้วย เพราะทรงเกรงว่าจะกระทบกระเทือน และเป็นอันตรายแก่องค์พระแก้วมรกต

    สำหรับเรื่องราวความเป็นมาของพระแก้วมรกตนั้น มีการแต่งกันไว้หลายบท หลายตอน มีความตื่นเต้นเร้าใจในอภินิหารต่างๆ ยิ่งกว่านวนิยาย แต่เรื่องราวของพระแก้วมรกตที่ค่อนข้างเจนหู คือ เรื่องที่หลายท่านคงเคยได้ยินคำเล่าลือกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่า ได้มีการอัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ของลาว ทำให้ในบางครั้งที่พี่น้องชาวลาวที่เดินทางมากราบไหว้บูชาก็อด "น้ำไหลออกตา" ไม่ได้ จนบางครั้ง บางคนถึงกับรำพันตัดพ้อว่า คนไทยไปยกมาจากเมืองลาวอะไรทำนองนี้

    วันนี้เป็นวันดี เป็นวันต้นๆ ของปีใหม่ ผมจึงขอถือโอกาสนำเรื่องราวอันเป็นมงคลมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือ ประวัติของพระแก้วมรกตครับ แต่ประวัติที่ผมจะเล่านี้ จะเป็นประวัติในยุคสมัยที่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถตรวจสอบ ตรวจทานพิสูจน์ได้เท่านั้น จะไม่ขอเล่าประวัติในเชิงตำนาน หรือต้องตำนานๆ จึงจะเชื่อถือได้ เช่น พระอินทร์สร้าง พระพรหมแปลง หรืออะไรเทือกนั้นนะครับ

    พระแก้วมรกตสร้างโดยใคร สร้างเมื่อไหร่ สร้างขึ้นที่ไหน ไม่มีใครรู้ พวกตำนานทั้งหลายก็ว่ากันไปอย่างสนุกสนาน แต่ไม่ว่าตำนานหรือตำนานๆ จะว่ากันไว้อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะก็ต้องยึดเอารูปพุทธศิลป์และพุทธลักษณะเป็นหลัก หากตำนานใดขัดแย้งกับรูปแบบพุทธศิลปะก็ต้องตกไป

    พระแก้วมรกตถูกค้นพบในกรุของพระเจดีย์ขนาดย่อม ที่วัดป่าญะ หรือวัดป่าเยี้ยะ หรือวัดป่าเหี้ยะ อันแปลว่า วัดป่าไผ่ ตำบลในเวียง ในตัวจังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน คือ วัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย เชื่อกันว่า กษัตริย์แห่งเมืองเชียงรายขณะนั้น คือ เจ้ามหาพรหม ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือสามหัวเมือง คือ เชียงราย เชียงแสน และเมืองฝาง ได้นำปูนเข้าพอกทับองค์พระพุทธเดิมที่เป็นหยกเขียว และได้ลงรักปิดทองทับไว้ จนดูไม่ออกเลยว่า มีเนื้อหินมีค่าซ่อนอยู่ภายใน และได้อัญเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในกรุขององค์พระเจดีย์ เพื่อซ่อนข้าศึก ซึ่งในขณะนั้น คือ เมืองเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อเมืองเชียงรายแพ้สงคราม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่แล้ว เรื่องราวของพระแก้วมรกตก็เงียบหายไปพร้อมๆ กับการสูญหายของพระพุทธรูปองค์นี้

    ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๗๙ ได้เกิดฟ้าผ่าลงที่องค์พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ทำให้องค์เจดีย์ทลาย ชำรุดลง พบว่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน จึงได้อัญเชิญออกมาไว้ที่โถงของพระวิหารของวัด เมื่อโดนลมโกรกและไอแดดไม่นาน รักและปูนที่หุ้มองค์พระพุทธรูปก็แห้งร้าว จึงเกิดรอยกะเทาะขึ้นที่ปลายพระนาสิกหรือปลายจมูก เมื่อเจ้าอาวาสและผู้คนทั้งหลายเห็นเข้า จึงชวนกันกะเทาะรักและปูนที่ฉาบองค์พระพุทธรูปนั้นออกจนหมด พบว่าเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ เนื้อเป็นหิน สีเขียวเข้มคล้ายมรกต จึงเรียกขานนามพระพุทธรูปตามที่ตาเห็นว่า "พระแก้วมรกต"

    ในขณะนั้นเมืองเชียงรายได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่แล้ว และกษัตริย์ที่ปกครองในขณะนั้น คือ พระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อทรงทราบเรื่องราวอันเป็นที่น่าปีติยินดีเช่นนี้ จึงได้ทรงจัดกระบวนช้างไปอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ อันเป็นเมืองหลวง แต่เกิดเหตุอัศจรรย์กับช้างทรงที่ใช้อัญเชิญพระแก้วมรกต เมื่อเดินลงมาจากเมืองเชียงราย และถึงทางสามแพร่ง หากเลี้ยวซ้ายจะไปเมืองเชียงใหม่ หากเลี้ยวขวาจะไปเมืองลำปาง ปรากฏว่าช้างที่ทรงพระแก้วมรกตกลับเตลิดจะเลี้ยวไปแต่ทางขวาถึง 3 ครั้ง ควาญช้างจะบังคับอย่างไรก็ไม่ยอม จนถึงขั้นได้เปลี่ยนช้างทรงอีกเชือกหนึ่งแทน การก็ยังคงเป็นไปตามเดิม

    พระเจ้าสามฝั่งแกนนั้นทรงเชื่อถือในเรื่องของผีและเทวดาอยู่เป็นอันมากเป็นทุนเดิมมาตลอดอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวนี้ขึ้น จึงทรงคิดว่า ผีที่ปกปักรักษาพระแก้วมรกต ไม่ประสงค์จะมาสถิตยังเมืองเชียงใหม่ จึงต้องทรงยอมให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง เพราะขณะนั้นเมืองลำปางเอง ก็เป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่

    ครั้นเวลาผ่านไปราว ๓๒ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๐๑๑ ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช ได้ทรงดำริถึงพระบุญญาธิการของพระองค์ จึงโปรดให้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนมา ณ เมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็เป็นไปได้โดยราบรื่น ได้โปรดให้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ซุ้มด้านทิศตะวันออก บนองค์เรือนธาตุของพระมหาเจดีย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

    ครั้นกาลเวลาล่วงผ่านไปจนถึงปี พ.ศ. ๒๐๙๔ ราชบัลลังก์เมืองเชียงใหม่ว่างลง หาพระราชโอรสนัดดาที่เป็นชายขึ้นครองราชย์ไม่ได้ เหล่าบรรดาเสนามาตย์จึงได้พร้อมใจกันไปเชิญพระเจ้าไชยเชษฐา หรือลาวเรียกว่าพระไชยเชษโฐ หรือเชษฐวังโส ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารราชกับพระราชมารดาที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงเชียงใหม่องค์ก่อน และขณะนั้นได้ประทับอยู่ ณ กรุงศรีสัตนาคนหุต (หลวงพระบาง) ให้มาครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระอัยกา ในปี พ.ศ. ๒๐๘๘/๒๐๘๙ ในฐานะที่ทรงมีสายเลือดล้านนาไทยทางพระราชมารดา

    ครั้นต่อมาเพียง ๒ ปีเศษ เมื่อพระเจ้าโพธิสารผู้เป็นพระราชบิดาได้เสด็จออกประพาสป่า เพื่อคล้องช้าง และได้ทรงถูกช้างล้มทับ ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อเสด็จกลับเข้าเมืองก็มีพระชนม์ต่อมาได้เพียง ๓ สัปดาห์ ก็สิ้นพระชนม์ลง ทางกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงได้กราบทูลเชิญให้พระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับไปครองเมืองหลวงพระบางแทน ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่

    แต่ก่อนที่จะเสด็จกลับบ้านเกิดของพระองค์นั้น พระองค์ได้ทรง "ขอยืม" พระแก้วมรกต และพระพุทธสิหิงค์กลับไปหลวงพระบางด้วย โดยทรงอ้างว่า จะให้พระญาติพระวงศ์ทางนั้นได้กราบไหว้บูชาเสียก่อน แล้วจึงจะส่งคืนกลับเมืองเชียงใหม่ ที่หลวงพระบางนั้นได้โปรดให้ประดิษฐานพระแก้วมรกตไว้ ณ วัดวิชุลณราช หรือวัดพระธาตุหมากโม

    แต่การ "ขอยืม" ในครั้งนั้นค่อนข้างจะเป็นการ "ยืมลืม" เสียมากกว่า เพราะเมื่อเสนาบดีเมืองเชียงใหม่ไปทูลขอคืน ก็ทรงคืนกลับมาแต่พระพุทธสิหิงค์เพียงองค์เดียว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๐๗ พระเจ้าไชยเชษฐาได้ทรงย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย การย้ายราชธานีในครั้งนี้เป็นไปเพราะทรงได้รับทราบว่า กองทัพพม่าได้มีชัยชนะเหนือกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยทางฝ่ายอยุธยาได้ยินยอมเจรจาสงบศึก ยอมเป็นเมืองขึ้นกับหงสาวดี

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมสละราชสมบัติให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์แทน และยอมเสด็จไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี(เหตุการณ์ตอนนี้เหมือนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในเวลาต่อมา พระมหินทร์ถูกเชิญไปหงสาวดีเป็นองค์ประกัน : นิพนธ์) ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงทรงเกรงว่า กองทัพพม่าจะยกล่วงต่อเข้ามาตีเมืองหลวงพระบาง เพราะระยะทางก็ไม่ห่างไกลกับสยามมากนัก ดังนั้นพระแก้วมรกตจึงได้ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์แต่นั้นมา

    อันนี้ขอนอกเรื่องไปสักนิดนะครับ แม้ว่าพระเจ้าไชยเชษฐาจะทรงยำเกรงทัพพม่ามากเพียงไรก็ตาม จนถึงขนาดยอมย้ายราชธานีมาสร้างเมืองเวียงจันทน์แล้วก็ตาม ในปีที่พระองค์เสด็จสวรรคต คือ พ.ศ. ๒๑๑๔ พระมเหสีของพระองค์ได้ประสูติพระราชโอรส ทรงพระนามว่า เจ้าชายหน่อแก้วกุมาร ต่อมาอีกเพียง ๓ ปี ราว พ.ศ. ๒๑๑๗ - ๒๑๑๘ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง กษัตริย์พม่าก็ได้ยกทัพมาตีลาว และได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งประสูติในปีที่เสด็จสวรรคต ไปเป็นตัวประกันที่เมืองหงสาวดีด้วย

    ต่อจากนั้นมาเป็นเวลาหลายปี แผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องการสืบราชสมบัติจน พ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่างๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเสด็จเจ้าชายหน่อแก้วกุมาร ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่า กลับมาครองราชย์ ประกอบกับในเวลานั้นเป็นเวลาที่พระเจ้าบุเรงนองได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว ฝ่ายพม่าเองก็เริ่มเสื่อมถอยอ่อนแอลง จึงยินยอมตามคำร้องขอนั้น ดังนั้นเจ้าชายหน่อแก้วกุมาร ซึ่งเจริญพระชนมพรรษา ๒๑ พรรษา จึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป

    กลับมาที่พระแก้วมรกตอีกครั้งนะครับ หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ลาวได้ตั้งตนเป็นเอกราช ไม่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป ครั้นถึงแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อทรงกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าแล้ว และได้ทรงรวบรวมประเทศชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ในปี พ.ศ.๒๓๒๑ ได้ทรงส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ ให้กลับคืนมาเป็นประเทศราชของสยามดังเดิม ในการนี้ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาสู่กรุงธนบุรีด้วย

    พระแก้วมรกตที่อัญเชิญมายังสยามประเทศในสมัยกรุงธนบุรีนั้น เชื่อกันว่าได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม และประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้เรื่อยมา จนเมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถาปนาพระราชวงศ์จักรี และกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ จึงได้ทรงย้ายราชธานี และสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อแล้วเสร็จจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ วัดประจำพระนครแห่งใหม่นี้สืบมาจนปัจจุบัน พระราชทานนามพระแก้วมรกตอย่างเป็นทางการว่า "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามฟากจากฝั่งธนบุรี มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ นั้น ได้โปรดฯ ให้ช่างฝีมือของหลวงสร้างบุษบกขึ้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรให้สมพระเกียรติ องค์บุษบกที่สร้างขึ้นในครั้งนั้นเป็นไม้แกะสลัก และหุ้มแผลงด้วยแผ่นทองคำตีแผ่ มีการสลักดุนลวดลาย เต็มพื้นที่และฝังเพชรซีกประกอบ จากนั้นจึงนำเข้าหุ้มทับไม้แกนบุษบกทั้งองค์

    ปัจจุบันนี้เป็นที่ยกย่องกันทั่วไปว่า เป็นบุษบกที่มีทรวดทรงงดงามมากที่สุดองค์หนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ นักวิชาการถือเป็นงานช่างฝีมือครั้งรัชกาลที่ ๑ แต่เป็นฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย ในครั้งนั้นบุษบกทรงพระแก้วมรกตนี้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีอย่างเตี้ยในพระอุโบสถ เช่นเดียวกับพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพระราชวังบวรสถานมงคล คือในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นั่นเอง

    ครั้นต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อได้จัดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดา คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลวดลายวิจิตรงดงาม ที่เคยใช้ประดิษฐานรองรับพระบรมโกศของรัชกาลที่ 2 มาถวายเป็นพุทธบูชา เสริมหนุนองค์บุษบกที่ทรงพระแก้วมรกตให้สูงขึ้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

    นอกจากนั้นแล้ว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ นอกจากจะได้ทรงสร้างบุษกขึ้นถวายแด่องค์พระแก้วมรกตแล้ว ยังได้ทรงมีพระราชศรัทธา สร้างเครื่องทรงถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาอีกด้วย คือเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน รวม ๒ สำรับ โดยเครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎทองคำลงยาประดับเพชร พาหุรัด ทองกร พระสังวาล ล้วนแต่เป็นทองคำลงยา ประดับด้วยเพชรซีกและอัญมณีต่างๆ มากมาย

    ส่วนเครื่องทรงสำหรับฤดูฝนนั้น เป็นทองคำลงยาเช่นกัน แต่สลักดุนแผ่นทองคำให้มีลักษณะเป็นกาบหุ้มแนบเรียบคดโค้งติดลงไปกับองค์พระพุทธรูปเลย มองแล้วเหมือนทรงครองจีวรอย่างห่มดอง และจำหลักลายพุ่มข้าวบิณฑ์เต็มพื้นที่ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระรัศมีทำเวียนทักษิณาวัตรหรือเวียนขวา ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก

    ครั้งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ได้มีพระราชศรัทธาทรงสร้าง เครื่องทรงสำหรับฤดูหนาว ถวายเพิ่มขึ้นอีกชุดหนึ่ง เป็นเครื่องทรงที่ทำด้วยทองคำลงยา มีลักษณะเป็นคล้ายผืนผ้าคลุมไหล่ คือมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว แต่ใช้วิธีการการตีแผ่แผ่นทอง สลักดุนลาย แล้วม้วนให้เป็นหลอดๆ นำไปลงยาสีเขียวแดง แล้วจึงนำมาร้อยเป็นตาข่าย สานสลับกันไปมาด้วยลวดทองเกลียว ทำให้อ่อนไหวได้ตลอดทั้งชิ้นเหมือนกับผืนผ้า และใช้ถวายห่มคลุมลงทั้งสองพาหาขององค์พระพุทธรูป ทับลงไปเหนือเครื่องทรงฤดูฝนอีกชั้นหนึ่ง โดยนัยที่จะให้อบอุ่น

    เครื่องทรงขององค์พระแก้วมรกตทั้ง ๓ ฤดูนี้ ถือเป็นพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงให้ต้องตรงกับฤดูกาลทั้ง ๓ ฤดู และมีการใช้สอยต่อเนื่องกันมากว่า ๒๐๐ ปี จึงเกิดความชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ทางสำนักพระราชวังได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงทั้ง ๓ ฤดู ในส่วนที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ การซ่อมแซมในครั้งนั้นมีอุปสรรคมากมาย

    ตัวผมเองก็มีโอกาสได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย และได้เห็นถึงความชำรุดทรุดโทรมอย่างมากด้วย ยิ่งถ้าได้สัมผัสและดูใกล้ชิดก็ยิ่งตกใจ ไม่เชื่อว่ายังจะใช้อีกต่อไปได้ แต่เมื่อนำขึ้นทรงกับองค์พระแก้วมรกตแล้ว และดูแต่ไกล ก็จะมองไม่เห็นถึงความชำรุดทั้งปวงเลย อุปสรรคในครั้งนั้นคือ เครื่องทรงทั้งหมดทุกชุดเป็นฝีมือช่างทองหลวงโบราณ มีฝีมือสูงมาก จัดอยู่ในสกุลช่างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทำให้ไม่สามารถหาช่างฝีมือตามแบบโบราณดั้งเดิม มาซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิมได้ การซ่อมแซมในครั้งนั้นจึงเป็นเพียงแค่บรรเทาอาการชำรุดให้พอใช้สอยต่อไปได้เท่านั้น


    คัดลอกบางส่วนมากจากบทความเรื่อง
    - มงคลพระแก้วมรกต ,ไทยรัฐออนไลน์คนดังนั่งเขียน ,เผ่าทอง ทองเจือ http://www.thairath.co.th/content/edu/393157
    สมาชิกสามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่องของการสร้างเครื่องทรงชุดใหม่ได้ที่

    http://www.thairath.co.th/content/394414

    ที่มา: https://www.facebook.com/Signnagas/photos/a.422876601162574/1162893597160867/?type=3


    ฟัง อ.เผ่าทอง ทองเจือ คลายยยย..ฉงน เรื่องพระแก้วมรกต ตอนที่1



    ฟัง อ.เผ่าทอง ทองเจือ คลายยยย..ฉงน เรื่องพระแก้วมรกต ตอนที่2

     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    118598006_2013085942155702_6015307551561024593_o.jpg

    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    ตำนานพระแก้วมรกต(๖)

    (สำนวนที่ ๕ )

    นักโบราณคดีจีนมีหลักฐานว่าพระแก้วมรกตสร้างขึ้นที่นครต้าลี่ สมัยน่านเจ้า1,500 ปีมาแล้ว แต่ด้วยปัญหาความมั่นคงจึงต้องปกปิดเรื่องนี้ไว้ไม่ให้รู้ถึงจักรพรรดิจีนในสมัยราชวงศ์ถัง
    ..ต่อมาเมื่อความลับรั่วไหล มีข่าวว่าเมืองต้าลี่มีสมบัติล้ำค่า จักรพรรดิจึงดำริเรื่องยกทัพ ชาวน่านเจ้าจึงแอบอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาทางใต้ ประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วในสิบสองปันนา โดยมีหลักฐานคือวัดพระแก้วอยู่ที่เชียงรุ่งมีอายุกว่า1,300 ปี

    ..เมื่ออิทธิพลของกองทัพจีนมารุกรานถึงเชียงรุ่ง พระแก้วมรกตก็ถูกอัญเชิญเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงตุง คาดว่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วในเมืองเชียงตุงเป็นเวลาเกือบ 300 ปี และมีการปกปิดไว้ไม่ให้รู้ว่าเป็นองค์พระที่มีความล้ำค่า

    ..ต่อมาเมื่อราว 600 ปีมานี้ มีการค้นพบพระแก้วมรกตหุ้มด้วยปูนซ่อนอยู่ในเจดีย์ที่เมืองเชียงราย ด้วยความที่ไกลพ้นจากอิทธิพลของกองทัพจีนและมองโกล พระแก้วมรกตจึงถูกเปิดเผยออกมาสู่ประวัติศาสตร์ของสยามโดยไม่ต้องซุกซ่อนอีกต่อไป
    ..มีร่อยรอยหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ในวัดพระแก้ว 9 วัดและแต่ละวัดสามารถระบุช่วงเวลาที่ชัดเจนได้ โดยมีพระแท่นหรือจุดที่วางพระแก้วมรกตไว้แน่ชัด คือ

    1. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา
    ..ราว พ.ศ. 1200 – 1500 ช่วงก่อนหน้านั้นอาจจะประดิษฐานอยู่ในพระราชวังโบราณของอาณาจักรน่านเจ้า ปัจจุบันไม่มีร่องรอยเกี่ยวกับพระแก้วมรกตเหลืออยู่แล้วในเมืองต้าลี่ แต่เราสามารถพบเห็นแหล่งหินธรรมชาติชนิดเดียวกันกับพระแก้วมรกตได้ทั่วไปในเมืองต้าลี่ ส่วนวัดพระแก้วอันเก่าแก่ของเมืองเชียงรุ่งมรดกของชาวลื้อนั้น ถูกรัฐบาลจีนรื้อถอนออกไปเมื่อประมาณ พ.ศ. 2546 เพื่อปรับปรุงเมืองให้ทันสมัย

    2. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน
    ..ราว พ.ศ. 1500 – 1900 ในช่วงแรกนั้นพระแก้วอาจจะมิได้หุ้มด้วยปูนลงรักเพื่อพลางเนื้อใน ชาวลื้อสามารถสัมผัสและสรงน้ำองค์พระแก้วได้ในวันขึ้นปีใหม่ โดยดูได้จากการถอดความบันทึกโบราณภาษาลื้อในเชียงตุงซึ่งมีอายุกว่า 1,000 ปี เมื่อกองทัพแห่งมองโกลรุกรานมาถึงดินแดนแถบนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสรงน้ำองค์พระแก้วในวันขึ้นปีใหม่อีกเลย อาจเป็นไปได้ว่ามีการหุ้มองค์พระด้วยปูนแล้วลงรักองค์พระแก้วมรกตไว้ในช่วงสมัยนี้นี่เอง จนเวลาล่วงไปทำให้ผู้คนก็ลืมไปแล้วว่ามีพระแก้วที่สลักจากหินมรกตอยู่ที่นครเชียงตุง

    3. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงราย
    ถูกพบว่าเป็นองค์พระแก้วมรกตจากพระที่มีปูนหุ้มไว้ในเจดีย์ที่ถูกฟ้าผ่า
    ..ราว พ.ศ. 1979 ขณะนั้นเชียงรายอยู่ในอิทธิพลของนครเชียงแสนและเมืองเชียงแสนเป็นถิ่นฐานที่สามารถติดต่อกับชาวลื้อในดินแดนอื่นๆและน่านเจ้าได้โดยการเดินทางผ่านแม่น้ำล้านช้างหรือแม่น้ำโขง เป็นไปได้ว่าองค์พระแก้วที่หุ้มด้วยปูนแล้วลงรักอาจจะถูกชาวลื้ออัญเชิญมาอยู่ที่เชียงรายในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ พ.ศ. 1900 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวมอญแพ้สงครามกับพม่า เป็นช่วงที่อาณาจักรพุกามกำลังเรืองอำนาจ เป็นเวลาเดียวกับการเริ่มสถาปนาอาณาจักรล้านนา เมื่อชาวลื้อเพิ่มจำนวนและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือของไทย

    4. วัดพระแก้ว ในเมืองลำปาง หรือเมืองเขลางค์นคร
    ปัจจุบันคือวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม หรือ พระแก้วดอนเต้า ประมาณ พ.ศ. 1979 – 2011 ในฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของนครเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า หรือสุชาดารามนี้ ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ภายในเมืองลำปาง เป็นวัดเก่าแก่สวยงาม มีอายุเกือบพันปี มีปูชนียสถานที่สำคัญของวัดทดแทนพระแก้วมรกต คือ พระบรมธาตุดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และมีอัฐิครูบาศรีวิชัยด้วย

    5. วัดพระแก้ว ในเมืองลำพูน หรือหริภุญชัย
    ในช่วงปี พ.ศ. 2009-2011 เป็นเส้นทางผ่านในการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางไปสู่เมืองเชียงใหม่ โดยได้ประดิษฐานพระแก้วมรกตไว้เป็นการชั่วคราวที่นี่ก่อนที่จะมีการก่อสร้างปราสาทที่เก็บรักษาพระแก้วในเมืองเชียงใหม่

    6. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงใหม่
    ปัจจุบันคือวัดเจดีย์หลวง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2011 จนถึง 2096 โดยมีการก่อสร้างปราสาทหอพระแก้วไว้บริเวณซุ้มจรนัม ทางทิศตะวันออกของพระธาตุเจดีย์หลวง ปัจจุบันหอพระแก้วเดิมได้ผุพังไปแล้ว มีการก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาทดแทน

    7. วัดพระแก้ว ในเมืองเชียงทอง
    หรือปัจจุบันคือหลวงพระบาง สปป.ลาว ตั้งแต่ พ.ศ. 2096 – 2107 โดยถูกพระญาติของเจ้าครองนครเชียงใหม่ ที่จะได้ไปครองเมืองเชียงทองซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นเอกราช ได้แอบนำพระแก้วมรกตไปจากเชียงใหม่ ปัจจุบันที่ที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตได้ประดิษฐานพระบางแทนซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองเชียงทองเป็นเมืองหลวงพระบาง

    8. วัดพระแก้ว ในเมืองเวียงจันทร์
    พ.ศ.2107-2321 พระแก้วมรกตได้ถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เวียงจันทร์เพื่อหลบหนีจากการทวงคืนจากเชียงใหม่ และการรุกรานของพม่า ปัจจุบันพระแท่นที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตว่างเปล่า ไม่มีการตั้งพระพุทธรูปองค์ประธานอื่นไว้ทดแทน เพราะชาวลาวเชื่อว่าสักวันหนึ่งพระแก้วมรกตจะได้กลับมาที่เดิม

    9. วัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน กทม.
    จาก พ.ศ. 2321 จนถึงปัจจุบัน แต่ในช่วงแรกที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทร์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีศรีสรรเพ็ชร์ คือระหว่าง พ.ศ. 2321-2325 ได้ประดิษฐานไว้ในโรงภายในพระราชวังเดิม ซึ่งปลูกไว้ริมพระอุโบสถวัดแจ้ง ฝั่งธนบุรี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอรุณราชวรารามในรัชกาลที่ 2) ครั้นเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2325 ได้โปรดให้เรียกพระแก้วใหม่ว่าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ในพระบรมมหาราชวัง จนมีการสร้างพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2327 จึงให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานอยู่ในที่ปัจจุบัน

    ....ไม่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีใดที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตจัดสร้างขึ้นที่เมืองปาลีบุตรประเทศอินเดียตามตำนานของฝ่ายไทย เพราะในยุคนั้นบริเวณเมืองปาลีบุตรไม่มีหินหยกขนาดใหญ่และไม่ปรากฏหลักฐานที่จะเชื่อได้ว่าพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่ลังกาหรือประเทศศรีลังกามาก่อน แม้ว่าจะมีวัดพระเขี้ยวแก้วในประเทศศรีลังกาก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานใดที่จะเชื่อมโยงกับพระแก้วมรกตเลยในเมืองนครธมและในที่อื่นๆของกัมพูชา รวมทั้งขาดเหตุผลที่พระแก้วมรกตเคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรและเมืองอโยธยา(กรุงศรีอยุธยาสถาปนาขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทองประมาณ 600 ปีก่อนเท่านั้น) ส่วนใหญ่จึงเป็นความเชื่อที่จดจำกันมา แม้ว่าจะมีวัดพระแก้วในพระนครศรีอยุธยาและเมืองเก่ากำแพงเพชรก็ตาม แต่น่าจะเป็นวัดที่สร้างใหม่ภายหลังอายุไม่เกิน 400 -500 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นที่แน่ชัดว่าพระแก้วมรกตอยู่ที่เชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง ดังนั้นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยาโบราณมารับเอาพระแก้วมรกตไปจากเขมรจึงน่าจะคลาดเคลื่อนอย่างมาก

    ....ปัจจุบันโอกาสที่โอกาสเห็นองค์จริง ๆ (Model พระพักตร์และลวดลายแกะสลัก)ของพระแก้วมรกตนั้นมีน้อยมาก เพราะได้มีการนำเครื่องทรง 3 ฤดู ไปสวมและปกปิดความมหัศจรรย์ขององค์พระจริง ๆเพราะหากไม่มีเครื่องทรงแล้ว ดูองค์พระจากหินมรกตเปล่าๆ จะเห็นแตกต่างไปจากที่เราคุ้นเคยมาก

    ...ทุกๆ 4เดือนจะมีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรง สรงน้ำ และบวงสรวงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร อาจจะมีโอกาสได้เห็นพระแก้วมรกตตอนถอดเครื่องทรงออกเปลี่ยนและทำความสะอาดทางทีวีบ้าง พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อน(เนไฟรต์)สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน(ตามความเห็นของช่างชาวไทย)


    ....วัดราชฐานหลวงพระแก้ว แห่งนครเชียงตุง
    วัดพระแก้วสันนิษฐานว่าเป็นวัดคู่กันกับวัดหลวงหัวข่วงหรืออาจเป็นวัดเดียวกันมาก่อน สองวัดนี้ตั้งอยู่วังหน้าของบริเวณพระราชวังเดิม ปัจจุบันได้แยกโดยถนนสองสาย วัดทั้งสองนี้ได้สร้างขึ้นในสมัยเจ้าฟ้าเจ็ดพันตู ต่อมาเจ้าก้อนแก้วอินแถลงได้ทรงบูรณะขึ้นใหม่ ในวิหารมีพระพุทธรูปหลายองค์ มีพระแก้วมรกต องค์จำลองประดิษฐานอยู่ด้วย ภายในวิหารประดับประดาตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารด้วยกระจกสีและลายฉลุไม้ ได้รับอิทธิพลสกุลช่างมัณฑะเลย์ แบบเตงเบงกาว ด้านหลังวิหารมีพระเจดีย์ประดิษฐานอยู่เป็นสถูปเจดีย์อาคารเรือนธาตุ ได้รับอิทธิพลศิลปะสมัยพุกามตอนปลายรูปแบบผสมกับศิลปะสมัยมัณฑเลย์ ฐานกลมซ้อนเป็นชั้นๆองค์ระฆังครึ่งวงกลมปล้องไฉนเป็นทรงพีระมิดปลียอดทาสีเหลืองอร่ามสวยงามมาก

    ...ตำนานฝ่ายสยาม..เรื่องเล่าขานถึงที่มาที่ไปขององค์พระแก้วมรกต เชื่อกันว่า พระแก้วมรกตนี้สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ เป็นพระอรหันต์วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ ประเทศอินเดีย (เมนันเดอร์) โดยเชื่อว่ามีสมเด็จพระอมรินทราธิราช (พระอินทร์ที่เป็นใหญ่) พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ผู้เป็นเทพบนสวรรค์ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก มีสีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน และถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 7 องค์ (ชิ้น) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่พระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวา พระเพลาซ้าย และพระเพลาขวาลงไปในองค์พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต โดยไม่มีรอยตัดต่อของเนื้อหินเลย เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วก็อัญเชิญขึ้นประดิษฐานให้ประชาชนสักการะ ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนจึงได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ

    ...ตำนานนี้ยังเล่าต่อว่า ในพุทธศักราช 800 สมัยแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐ์ราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ซึ่งได้ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตรในช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค คือมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอกจู่โจม พุทธศาสนิกชนในเมืองปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ได้นำพระแก้วมรกตลงเรือสำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป (เกาะศรีลังกา) เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น (ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตมาเก็บรักษาเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรที่ลี้ภัยเป็นอย่างดี ในประมาณปีพุทธศักราช 1000 สมัยแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช หรือในภาษามอญคือ มังมหาอโนรธาช่อ เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดี ได้มีพระราชโองการ ส่งพระราชสารและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตได้ถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร (นครธม) แห่งแคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช ได้เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงเมืองอยุธยาในสมัยโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จไปเองโดยกระบวนพยุหยาตรา เพื่อไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันต์ปราสาท (ไม่สามารถระบุปี พ.ศ.ได้) และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาต่อมาในอีกหลายรัชสมัย

    ...ภายหลังเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น ได้ทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งว่ากันว่า ปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยาง แห่งเชียงแสนได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรก็ยอมมอบให้นครเชียงแสน ต่อมานครเชียงแสนได้เกิดมีศึกกับเมืองศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงราย จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเชียงรายและอาณาจักรล้านนาในที่สุด พระนามพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตจึงหายสาบสูญไปแต่นั้นมาในปี พ.ศ.1979 ได้เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์นั้น ชาวเมืองเชียงรายจึงได้พบเห็นพระพุทธรูปลงรักปิดทองโบราณ และต่อมาปูนที่ลงรักปิดทองได้กะเทาะออก กลายเป็นการค้นพบพระแก้วมรกตในแผ่นดินล้านนาเมื่อประมาณ600ปีที่ผ่านมา
    ...เรื่องราวความเป็นมาของพระแก้วมรกตยังคงเป็นเรื่องที่น่าค้นคว้าค้นหาต่อไปของชาวอุษาคเนย์ครับ


    เรียบเรียงโดย:ใหม่สูงค่า เชียงตุง
    Cr.ขอบพระคุณภาพจาก คุณ Kyaw Ye Myint Aung

    ที่มา: http://tour.smeswww.com/บทความ/166/พระแก้วมรกต เคยประดิษฐานที่นครเชียงตุง.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    _paragraph_2_172.jpg

    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    ตำนานพระแก้วมรกต(๗)

    (สำนวนที่ ๖ )

    พระแก้วมรกต: เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิพระพักตร์อิ่มเอิบ ประกอบด้วยพระอุณหิสระหว่างพระขนง พระเมาลีตูม พระกรรณยาน พระนาสิกโด่ง
    .
    ประทับนั่งซ้อนพระบาทขวาทับพระบาทซ้าย แล้ววางพระหัตถ์ขวาบนพระหัตถ์ซ้ายไว้บนหน้าตัก จีวรแนบพระมังสะเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย สังฆาฏิพาดบน พระอังสะซ้ายห้อยลงมาถึงระดับพระนาภี
    .
    มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๓ เซนติเมตร หรือ ๑๗ นิ้ว สูง ๕๔ เซนติเมตร หรือ ๒๑ นิ้ว
    .
    ใต้ฐานชุกชีขององค์พระ มีส่วนแก้วยื่นยาวออกไป มีความยาว ๒๘ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าช่างไม่ได้ตัดออก เกรงว่าจะทำให้เนื้อแก้วแตกร้าวเป็นวงกว้างได้ จึงคงไว้ และยังใช้ประโยชน์ในการวางองค์พระให้มั่นคง เพื่อมิให้องค์พระเคลื่อนจากที่ตั้ง ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว
    .
    องค์พระแก้วมรกตนั้นเป็นสีเขียวมรกต สร้างด้วยหยกเนไฟรต์ทึบแสง เป็นแท่งเดียวกันตลอดองค์พระ เนื้อองค์พระ เป็นแร่ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic System) ในไพรอกซีนกรุ๊ป (Pyroxen group) มีความแข็ง (Hardness) ระหว่าง ๖.๕ ถึง ๖.๗ ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ระหว่าง ๓.๓๓ ถึง ๓.๓๕
    .
    ดังนั้น เมื่อรวมความยาวของแท่งหยก ที่นำมาสร้างพระแก้วมรกตองค์นี้ จะต้องมีขนาดเท่ากับ ๘๓ เซนติเมตร หรือ ๓๒ นิ้ว
    บนพระอุณาโลมของพระแก้วมรกต เดิมมีเพชรเม็ดเล็กๆฝังอยู่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชศรัทธาในองค์พระแก้วมรกตมาก ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อเพชรเม็ดใหญ่ขนาดเท่าเม็ดบัว น้ำบริสุทธิ์งดงามมาเปลี่ยนใหม่ เมื่อพ.ศ.๒๓๙๗
    .
    สำหรับพระพุทธลักษณะของพระแก้วมรกตนั้น มีนักศิลปโบราณคดี ตั้งข้อสังเกตว่า ทรวดทรง พระพักตร์ของพระแก้วมรกต มีความละม้ายคล้าย กับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนตอนปลาย ที่เรียกกันว่า สิงห์สามมาก จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในยุคนี้
    .
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวของพระแก้วมรกตไว้ และยังทรงสันนิษฐานด้วยว่า พระแก้วมรกตนี้ เป็นฝีมือช่างทางเมืองฝ่ายเหนือของไทย อันได้แก่เชียงแสนนั่นเอง
    .
    เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๕ กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นายช่างผู้เชี่ยวชาญศิลปะซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน ซึ่งเข้ามารับราชการอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ศึกษารูปทรง ของพระแก้วมรกต อย่างละเอียดถี่ถ้วน
    .
    ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อคอรราโด เฟโรจี เกิดที่ตำบลซานยิโอวานนี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศิลป์ พีระศรี ในเวลาต่อมา ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่
    .
    • อนุสาวรีย์คุณหญิงโม
    • อนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    • อนุสาวรีย์พระมหาธีรราชเจ้า
    • อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช
    • อนุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช และอนุสาวรีย์อื่นๆ อีกมากมายหลายแห่ง
    .
    ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สรุปความเห็นเกี่ยวกับ พุทธลักษณะของพระแก้วมรกตเอาไว้ว่า น่าจะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น ในอาณาจักรล้านนาไทยหรือเป็นฝีมือช่างทางเมืองเหนือของไทย ถ้าจะจัดยุคสมัยทางโบราณคดี พระแก้วมรกตน่าจะสร้างขึ้น ในสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ไม่ใช่ฝีมือช่างชาวต่างประเทศ ดังเข้าใจมาแต่เดิม
    .
    อย่างไรก็ตาม ตำนานพระแก้วมรกตนั้น ดูเหมือนมีอยู่ในเมืองไทยเท่านั้น ไม่มีตำนานหรือพงศาวดารและประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา หรือพม่าเลย
    .
    ส่วนตำนานพระแก้วมรกตในพระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ก็อ้างหนังสือรัตนพิมพวงศ์ นำไปเขียนขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนโรดม (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๗๗)
    .
    ส่วนในทัศนะทางศิลปะและโบราณคดี กล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปเก่าที่สุดนั้น นักสำรวจโบราณวัตถุพบที่เมืองคันธาระในประเทศปากีสถาน พระพุทธรูปเหล่านั้นเป็นศิลปะกรีก พระพักตร์คล้ายเทวรูปกรีก มีพระเกศาเป็นเส้นและเป็นมวยมุ่นอยู่กลางพระเศียร มีจีวรเป็นริ้ว
    .
    นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรก สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๖ (ราว พ.ศ. ๖๐๐) แต่นักโบราณคดีอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าพระพุทธรูปรุ่นแรกนั้น เป็นศิลปะอินเดีย สร้างที่เมืองมถุรา ณ ประเทศอินเดีย ในพุทธศตวรรษเดียวกัน
    .
    กรณีการอัญเชิญของพระแก้วมรกตในเส้นทางต่างๆ แสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงพระแก้วมรกตนั้นมีผู้พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงราย ในประเทศไทยภายหลังจึงตกไปอยู่ที่ประเทศลาว จนกระทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญกลับคืนมาสู่ประเทศไทยตามเดิม พระแก้วมรกตจึงประดิษฐานอยู่ในกรุงเทพมหานคร จนปัจจุบนนี้
    และเป็นประเพณีสืบมาว่าเมื่อมีการสมโภชพระนครคราวใดจะมีการสมโภชพระอารามด้วย พระราชพิธีใดที่เป็นสิริมคลและสำคัญของบ้านเมืองจะจัดขึ้น ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    .
    พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (พ.ศ.๑๖๐๐-๒๐๙๑)
    พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของฝีมือช่างไทยซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้ตั้งแต่โบราณ มีพบทั่วไปในมณฑลพายัพ แต่ที่พบในเมืองเชียงแสนเก่าเป็นชนิดฝีมือช่างดีงามกว่าที่พบในจังหวัดอื่นๆ ทางโบราณคดีจึงใช้คำนี้เป็นชื่อของพระพุทธรูปสมัยหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือ
    .
    ๑) สมัยเชียงแสนยุคแรก ทำตามแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละ เช่น มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระหนุเป็นปม พระรัศมีเหนือพระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่มีไรพระศก เส้นพระเกศาขมวด และเป็นเส้นใหญ่ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายสังฆาฏิ มีลักษณะคล้ายธงม้วนเข้าหากันเหมือนเขี้ยวตะขาบ
    .
    ๒) สมัยเชียงแสนยุคหลัง การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปแบบสุโขทัย พระพุทธรูป จึงมีลักษณะพระวรกายสะโอดสะอง พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่ พระรัศมีทำเป็นรูปเปลวเพลิง พระศกเป็นเส้นเล็กละเอียด และมีไรพระศกเป็นเส้นบาง ๆ สังฆาฏิยาวลงมาจนจดพระนาภี
    พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยเชียงแสนมี ๖ ปาง คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางอุ้มบาตร ปางประทับรอยพระพุทธบาท ปางไสยาสน์ และ ปางนั่งห้อยพระบาท
    .

    (เครดิต ... ฤา ด้วยรักและภักดี)
    ที่มา: https://www.facebook.com/tonbhodhi/posts/2594428827439632
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    _paragraph1_631.jpg
    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    ตำนานพระแก้วมรกต(๘)

    บทนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นตำนานของพระแก้ว เป็นเรื่องที่นักวิชาการได้ทำการวิเคราะห์ตำนานพระแก้วอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ตำนานก็เป็นเรื่องเล่าที่หาหลักฐานได้ลำบากอยู่แล้ว ยิ่งมาในชั้นหลังมีการเสริมเติมแต่งเรื่องราวลงไปอีก แต่สิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมมีเหตุมีผลของมันอยู่ เราจะหาพบหรือไม่ จะต้องฝากให้คนรุ่นหลังต่อไป หรืออาจจะไม่พบหลักฐานอีกเลยก็เป็นได้

    ************************************

    พระแก้วมรกต พบที่ #เชียงราย จากหลักฐานเอกสารฯ ไล่เรียง Timeline เหตุการณ์ที่พบพระแก้วที่วัดป่าไม้เยียะ ดังนี้
    .
    ประวัติพระแก้วมรกตที่อาจเชื่อถือเป็นหลักฐานได้ เริ่มต้นเมื่อพบพระแก้วมรกตในเจดีย์ ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงรายเป็นต้นมา
    .
    ข้อสังเกตเรื่องการอุบัติขึ้นของพระแก้วมรกต ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองเชียงรายด้วยเหตุการณ์ #ฟ้าผ่าองค์เจดีย์ ไม่พบจากเนื้อหาเอกสารฉบับเก่าสุด โดยเรียงลำดับอายุของเอกสารต่างๆ ดังนี้
    .
    #ชินกาลมาลีปกรณ์ รจนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2060-2071 เนื้อหาเรื่องพระรตนปฏิมา กล่าวถึง ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย ในรัชสมัยพระญากือนา กษัตริย์รัชกาลที่ 6 ราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1894-1929) ยกไพร่พลจำนวน 80,000 นาย เสด็จไปเมืองกำแพงเพชร อัญเชิญสีหลปฏิมา พระรตนปฏิมานำไปบูชาที่เมืองเชียงราย
    .
    จากเนื้อหาในชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งเป็นเอกสารเก่าสุดที่บันทึกเรื่องราวของพระแก้วมรกตไว้ ไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ ฟ้าผ่าองค์เจดีย์ในวัดแห่งหนึ่งที่เมืองเชียงราย ไม่ระบุปีที่พบพระแก้วมรกต
    .
    #รัตนพิมพวงศ์ ได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทย 3 ครั้ง ครั้งแรกพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) เมื่อครั้งเป็นพระยาธรรมปโรหิต ได้เรียบเรียงเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ.2331 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วมอบให้ผู้รู้ตรวจสอบ ต่อมา พ.ศ.2449 พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เมื่อยังเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้แปลเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง และกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร แปลใหม่ใน พ.ศ.2505
    .
    เนื้อหาตอนหนึ่งในรัตนพิมพวงศ์ กล่าวถึงการพบพระแก้วมรกตในเมืองเชียงราย ดังนี้
    .
    ตั้งแต่นั้นมา ได้ยินว่าพระธรรมราชาองค์นั้นทรงบูชาพระพุทธรูปอมรโกฏด้วยเครื่องบูชาสักการะต่างๆ เป็นนิจ ครั้นต่อมาพระองค์ทรงพอกพระพุทธรูปนั้นด้วยปูนขาวคลุกน้ำผึ้งน้ำอ้อย และทรายละเอียด ลงรักชั้นนอกแล้วปิดทอง ก่อพระเจดีย์ศิลาแลงที่วัดป่าไม้เยียะ อยู่ทิศตะวันออกนครเชียงราย แล้วบรรจุพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ในเรือนพระเจดีย์ที่ตกแต่งไว้ด้วยเครื่องประดับต่างๆ พร้อมกับเครื่องบูชาสักการะต่างๆ ทรงกระทำการบูชาสักการะและทรงกระทำบุญ มีให้ทานรักษาศีลเป็นต้น ตลอดพระชนม์ชีพแล้วสิ้นพระชนม์ชีพ
    .
    ตั้งแต่นั้นมา ชาวเมืองสืบๆ มา มีพระราชามหาอำมาตย์เป็นต้น ได้กระทำบูชาสักการะด้วยกันทุกคนเป็นเนืองนิจ ครั้นล่วงเวลามาช้านาน #พระเจดีย์องค์นั้นพังลงมาเอง คนทั้งหลายในครั้งนั้นขนศิลาแลงออกไป เห็นพระพุทธรูปองค์นั้น แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นแก้วอมรโกฏ จึงนำไปตั้งไว้กับพระพุทธรูปองค์เล็กๆ หน้าพระประธานในวิหารวัดป่าไม้เยียะทำบูชาสักการะ
    .
    จากเนื้อหาในรัตนพิมพวงศ์ ไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ ฟ้าผ่าองค์เจดีย์ในวัดแห่งหนึ่งที่เมืองเชียงราย ไม่ระบุปีที่พบพระแก้วมรกตด้วยเช่นกัน
    .
    เอกสารที่ระบุปี และเหตุการณ์ฟ้าผ่าองค์เจดีย์ฯ ปรากฏใน #พระบรมราชาธิบายและคาถาตำนานพระแก้วมรกต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2397 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพพระแก้วมรกตทรงเครื่อง 3 ฤดูลงในแผ่นผ้า ส่งไปพระราชทานชาวต่างประเทศที่เป็นไมตรี และโปรดเกล้าฯ ให้เขียนประวัติพระแก้วมรกตขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ชาวสยามและต่างประเทศ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาบาลี พระราชนิพนธ์นี้เป็นฉบับภาษาไทย ทรงกล่าวถึงประวัติพระแก้วมรกตส่วนที่ควรเชื่อถือได้ จนถึงพระแก้วได้มาประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดารามตราบเท่ารัชกาลของพระองค์โดยสังเขป ความตอนต้นดังนี้
    .
    เมื่อพุทธศักราช 1979 ปี คริสตศักราช 1436 พระแก้วมรกตองค์นี้อยู่ในพระสถูปใหญ่เก่าองค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ครั้นพระสถูปเจดีย์นั้นต้องอสนีบาตพังลงแล้วชาวเมืองเชียงรายได้เห็นเป็นองค์พระพุทธรูปปิดทองคำทึบทั่วองค์ ก็สำคัญว่าพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญไปไว้ในวิหารที่ไว้พระพุทธรูปในวัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นไป 2 เดือน 3 เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วทั้งองค์นั้น กระเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม จึงแกะต่อออกไปทั้งองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็นและทราบความว่า เป็นพระพุทธรูปแก้วแท่งทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดีไม่บุบสลาย
    .
    จากเนื้อหาพระบรมราชาธิบายฯ จะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างจากเอกสารที่จารไว้ก่อนหน้า คือ มีการระบุปีที่เกิดเหตุการณ์ และระบุว่ามีเหตุการณ์ฟ้าผ่าองค์เจดีย์ เนื้อหาตอนนี้จึงปรากฏในเอกสารพงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้เป็นแบบเรียนประวัติศาสตร์ล้านนาฉบับแรก
    .
    ทั้งนี้ พบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงแจ้งในพระราชนิพนธ์สำหรับอาลักษณ์อ่านในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันสวดมนต์เย็นพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ย่อหน้าที่ 2 ความว่า
    .
    อนึ่ง ขอประกาศให้ทราบด้วยดีแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยบรรดาซึ่งมาสโมสรสันนิบาตประชุมพร้อมกัน ในการเริ่มมงคลราชพิธีศรีสัจจปานกาลอันนี้ จะขอเริ่มคำประกาศพระมหามณีรัตนปฏิมากรนี้ มีเรื่องในหนังสือตำนานโบราณ แต่งเป็นภาษามคธไว้เรียกชื่อว่า #ตำนานรัตนพิมพวงศ์ เล่าเรื่องเดิมของพระพุทธรูปแก้วพระองค์นี้สืบมา...
    .
    ชินกาลมาลีปกรณ์ #ไม่มีเนื้อหาฟ้าผ่า, รัตนพิมพวงศ์ #ไม่มีเนื้อหาฟ้าผ่า, ....
    .
    จากหนังสือ #เพชรพระแก้ว หน้า 6-7, สำนักพิมพ์ล้อล้านนา, 2563

    .
    อภิชิต ศิริชัย
    27.3.63

    ที่มา:https://www.facebook.com/rekkrub.rek/posts/10213113015458986
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    1280px-Summer_-_Emerald_Buddha.jpg

    ประภาสWN0660610KAI.jpg
    (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    พระแก้วมรกตเรื่องราวเล่าขานจากพระอริยสงฆ์(๑)

    เรื่องแรกนี้เป็นเรื่องจากหลวงปู่มั่น แม่ทัพธรรมใหญ่ฝ่ายพระธุดงค์กรรมฐาน ซึ่งเรื่องที่ครูบาอาจารย์กล่าวถึงพระแก้วมรกตนี้ผมจะนำมาลงไว้สัก ๓-๔ เรื่อง

    **********************

    คำบอกเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต จากปกิณกะธรรม ในหนังสือรำลึกวันวาน เขียนโดยหลวงตาทองคำ (ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น) หน้า 141-145 ดังนี้

    เรื่องนี้ อัตถุปัตติเหตุ เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระอาจารย์มั่น พักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ขณะที่พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปนมัสการฟังเทศน์และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ

    หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่าเอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านฯ หันมาเห็นเข้า พูดว่า “อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้” ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง
    เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า

    "พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"

    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พระแก้วมรกตหล่อที่ลังกาทวีป ผู้เป็นประธานหล่อคือ พระจุลนาคเถระ เป็นชาวลังกา หล่อเมื่อศาสนาล่วงมาได้ 300 ปี ส่วนแก้วนั้น ท่านเล่าเชิงปาฏิหาริย์ พอเริ่มจะหล่อไม่ได้ตั้งใจจะเอาแก้วมรกต เพราะเป็นของหายาก บอกบุญตามแต่ศรัทธา จะเป็นแก้วอะไรก็ได้ ร้อนถึงพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ มาอาสาเป็นช่างหล่อ และพระองค์มีแก้วอยู่ดวงหนึ่ง ขออนุโมทนาเป็นกุศลด้วย พระอินทร์ไม่ได้เป็นช่าง แต่ช่างคือ เทพบุตร ชื่อ วิษณุกรรม ส่วนแก้วก็ไม่ใช่ของพระอินทร์ แต่เป็นแก้วอยู่ในถ้ำจิตรกูฏ หรืออินทสารนี้ละผู้เล่าไม่มั่นใจ
    ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เป็นแก้วหน่อเนื้อพุทธางกูร ประจำภัทรกัปป์ เหลืออยู่ 2 ลูก มียักษ์รักษา พระอินทร์ไปขอแก้วดวงใหญ่ ซึ่งสุกใสกว่าจากยักษ์ตนนั้น แต่ยักษ์ไม่ให้ บอกว่าไม่ใช่ของเจ้า จึงให้แก้วดวงเล็กมา พระอินทร์นำมาหล่อเป็นผลสำเร็จ แต่ยังมีแก้วเหลือค้างอยู่ที่เรียกว่าแก้วก้นเตา เผาอย่างไรก็ไม่ละลาย พระจุลนาคเถระจึงอธิษฐานบรรจุไว้ใต้ฐาน ปรากฏว่าเป็นกระปุกระปะ ไม่เรียบ

    หล่อเสร็จมีการสมโภช ท่านจุลนาคเถระ ได้อธิษฐานอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน 5 แห่ง คือระหว่างพระขนง 1 แห่ง พระอังสาทั้งสอง 2 แห่ง พระเมาลี 1 แห่ง และพระนาภี 1 แห่ง ท่านฯ ว่าอย่างนี้

    การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

    ท่านพระอาจารย์เล่าต่อว่า ได้มีการอัญเชิญจากกรุงลังกาสู่นครศรีธรรมราช โดยทางเรือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่า (คำว่า เถรเจ้าป่า หมายความถึง พระกัมมัฏฐานที่ชอบออกปฏิบัติภาวนาอยู่ตามป่าเขา) อยู่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้กำหนดว่านานเท่าไร ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปสู่นครวัด นครธม ประเทศเขมร เพื่อเผยแผ่พระศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่าอีกนั่นแหละ
    จากนครวัด นครธม สู่กรุงจันทบุรีศรีสัตตนาคนหุต (ประเทศลาว) ปัจจุบันคือเวียงจันทน์สาเหตุเกิดกลียุคแย่งราชสมบัติเถรเจ้าป่าท่านเห็นว่าพระแก้วจะไม่ปลอดภัย จึงได้เอาผ้าห่อแล้วบรรจุลงในบาตร (คงจะเป็นบาตรขนาดใหญ่) เพื่ออำพรางผู้ทุศีลไม่ให้แย่งชิงไป เถรเจ้าป่าองค์นั้น ไปอยู่ที่เวียงจันทน์ก็ไม่มีกำหนดปีเหมือนกัน

    จากนครเวียงจันทน์ก็ได้เสด็จสู่นครลำปาง และนครเชียงใหม่ ด้วยสาเหตุแห่งความรัก เนื่องจากเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ ได้บุตรเขยเป็นชาวเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะนำบุตรีสู่เชียงใหม่ บิดาให้พรบุตรีว่าอยากได้อะไรก็จะให้ บุตรีจึงขอพระแก้วมรกตไปด้วย ด้วยความรักของบิดาก็จำยอมยกให้

    พอไปถึงลำปาง ช้างที่นั่งไปไม่ยอมไปเอาดื้อๆ จะขับไสอย่างไรช้างก็ไม่ไป ตกลงกันว่าองค์พระแก้วมีพระประสงค์ จะประทับที่ลำปางแน่ พระแก้วก็เลยประดิษฐานที่ลำปางก่อน นานพอสมควรจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านก็ไม่ได้บอกว่ากี่ปี ต่อมาบุตรเขยก็เสียชีวิตลง บุตรีเจ้าผู้ครองนครก็กลับสู่เวียงจันทน์ และนำพระแก้วมรกตกลับมาด้วย จึงประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์อีก เป็นครั้งที่สอง

    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์ แต่หนีตายมาคนละสาย มาบรรจบกันที่แม่น้ำใหญ่ๆ 4 สาย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา สาละวิน และแม่น้ำตาปี

    ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองในลาวเปลี่ยนแปลง เกิดกลียุค ราชวงศ์และราชบุตรเป็นศัตรูกัน ราชบุตรมักถูกรังแกใส่ความ ทนไม่ไหว จึงอพยพครอบครัวข้ามโขงมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดหนองบัวลำภู) ราษฎรก็ทยอยติดตามมา โดยมีพระตาน้องชายราชบุตรเป็นหัวหน้า ราชวงศ์ยังยกกองทัพมารังแกห่มเหงอีก

    ฝ่ายพระตาและพระวอก็ได้ถอยร่นลงมาสู่ดอนมดแดง คืออุบลราชธานีในปัจจุบันอย่างทุลักทุเล บังเอิญกองทัพทางเวียงจันทน์เสบียงขาดแคลนลง จึงต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นก็ได้ยกทัพมาตีอีกครั้งที่สอง ชาวดอนมดแดงได้ต่อสู้ถวายหัวเต็มกำลังความสามารถ

    พระตาสวรรคตในสนามรบอย่างสมพระเกียรติ พระวอเห็นท่าไม่ได้การ ได้ให้ม้าเร็วนำสาส์นขอกองกำลังจากบางกอกไปช่วย สมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ จึงส่งกองทัพม้าเป็นทัพหน้าเดินทางไปก่อน กองทัพหลวงนำโดย สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกตามไป ชาวดอนมดแดงก็มีกำลังใจสู้ถวายหัว พอกองทัพหลวงยกมาถึง กองทัพทางเวียงจันทน์จึงแตกพ่ายกลับไป

    ทั้งทัพม้าศึกและทัพหลวงแห่งบางกอก พร้อมกองอาสาสมัครแห่งดอนมดแดง ก็ติดตามไล่ตีไม่ลดละ จนถึงฝั่งโขง และข้ามโขงเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ทั้งหมด
    หลังจากชนะศึกแล้ว ชาวลาวได้ยินยอมพร้อมใจ มอบพระแก้วมรกต และพระบาง ให้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ นี่คือสาเหตุที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทย
    ปีนั้นบางกอกเกิดฝนแล้ง โหรหลวงทำนายว่า เพราะพระแก้วและพระบางมาอยู่รวมกันเป็นเหตุ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงส่งสาส์นแจ้งไปยังเจ้ามหาชีวิตลาว พระองค์ทรงยินดีรับคืน แต่ให้ส่งไปนครหลวงคือ กรุงศรีสัตตนาคนหุต ไทยได้ทำการสักการะจัดส่งอย่างสมพระเกียรติ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าอย่างนี้ ตั้งแต่วันพระบางไปถึงกรุงศรีสัตตนคนหุต ก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบางมาจนบัดนี้

    ท่านฯ ยังเล่าต่อไปว่า เดิมไม่ได้เรียกเมืองหลวงพระบาง เรียก “หลวงพระบ้าง” เพราะว่าทองที่หล่อนั้น เป็นทองหลายชนิด ผู้มีศรัทธาไปร่วมพิธีเททองหล่อนั้น มีทั้งสร้อยทองคำ ตุ้มหูทองคำ กำไลทองคำ เงิน ทองแดง นาถ ทองสัมฤทธิ์ เอาออกมาใส่ลงในเบ้าหล่อ โดยทุกคนก็กล่าวว่า ฉันบ้าง ข้าบ้าง กูบ้าง ข้าน้อยบ้าง เมื่อเป็นพระออกมาก็คงจะมีชื่ออย่างอื่น ชื่ออะไรท่านมิได้กล่าวๆ แต่คนนั้นก็ว่าพระบ้าง คนนี้ก็พระบ้าง ลักษณะชายจีวรบาง แผ่ออกทั้งสองข้าง เป็นแผ่นบางๆ คนภายหลังมาเห็น เลยกลายจากบ้าง มาเป็นบาง จากพระบ้างมาเป็นพระบางไป
    หลังจากสมเด็จเจ้าพระมหากษัตริย์ศึก ได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 แล้ว ได้ยกฐานะบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อว่า เมืองอุบลราชธานี ตั้งพระวอเป็นพระวรวงศาธิราชครองเมืองอุบลฯ พระวรวงศาธิราชสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พ้นภัยพิบัติมาได้ จึงได้ประกาศเป็นทางการว่า แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดขอขึ้นตรงต่อบางกอก ไม่ขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์ ตั้งวันนั้นมาถึงปัจจุบัน ปรากฏอยู่ในแผนที่ประเทศไทยโดยสมบูรณ์

    จอมไทย
    หลังเทศน์จบ พระไปกันหมดแล้วก่อนจะจำวัด ท่านพระอาจารย์ (หลวงปู่มั่น) มักมีคำพูดขำขันบ้าง เป็นปริศนาบ้าง เป็นคำของบุคคลสำคัญพูดบ้าง อย่างที่ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ) กำลังจะเล่าเรื่องภาคกลาง ต่อไปนี้

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เคยพูดว่า ภาคกลางคือ “จอมไทย” (ผู้ปฏิบัติใกล้ชิด คิดอยากรู้อยากฟัง ไม่ต้องถามท่านพระอาจารย์ดอก ถวายการนวดไปท่านก็เล่าไป พอจบเรื่องท่านก็หลับ โปรดเข้าใจการสนทนาธรรมด้วยอิริยาบถนอน เป็นการไม่เคารพธรรม แต่ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า เวลานอนมิเป็นการสนทนาธรรม เป็นการพูดกันธรรมดา ๆ แบบกันเอง ท่านจึงไม่เป็นอาบัติ)

    คำว่า “จอม” หมายถึง วัตถุแหลม ๆ อยู่บนที่สูง เช่น ยอดพระเจดีย์เป็นต้น “จอมไทย” ก็คือ กรุงเทพมหานครเรานี้เอง ท่านที่เป็นปราชญ์ ก็เรียกว่า จอมปราชญ์ มงกุฎฉลองพระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมมงกุฎ พระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมกษัตริย์ วัดพระแก้วมรกตอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า จอมวัด ก็ไม่ผิด

    วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่าง ๆ ทั้งหยาบและละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และพระพุทธเจ้าผู้สุขุมาลชาติ เมื่อไม่รู้พุทธธรรมเนียมพระสงฆ์ไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว ท่านฯ ว่า

    ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น

    พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา ก็เป็นจอมพุทธศาสนาที่กรุงเทพ ฯ นี้)

    ไทยนั้นเป็นเจ้าขององค์พระแก้วมรกต ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ จะเป็นฝรั่ง อังกฤษ อเมริกา มีโอกาสได้เข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตามก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ พลัดชาติมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้
    นี้คือบทสนทนาแบบกันเองของครูและศิษย์


    ที่มา: http://www.sisaket.ru.ac.th/.../luangpu-mun/prakaew01.htm


    ฟังคลิปเสียงที่นี่
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    7.jpg

    5.jpg (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)

    พระแก้วมรกตเรื่องราวเล่าขานจากพระอริยสงฆ์(๒)

    หลวงพ่ออุตตมะไปกราบพระแก้วมรกต

    ชาวมอญบางปลาชื่อนายดงศรเป็นนายสถานีรถไฟ ซึ่งกำลังจะย้ายไปเป็นนายสถานีรถไปบางกอกน้อย ได้นิมนต์หลวงพ่อไปด้วย ท่านก็ไปเพราะอยากไปไหว้พระแก้วมรกตที่กรุงเทพฯ ท่านมาพักที่บ้านพักรถไฟบางกอกน้อย ๒-๓ วัน

    บุตรชายของนายดงศร ชื่อคุณสมพงศ์ (พลเรือโท สมพงศ์ ศิริหงศ์) และคุณสัมพันธ์ (พลอากาศตรี สัมพันธ์ ศิริหงส์) ก็พาท่านนั่งเรือเมล์เผาหัวข้ามฝากมาขึ้นที่ท่าช้าง ทั้งสองคนจูงมือหลวงพ่อไปที่โบสถ์ซึ่งประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    หลวงพ่อก็เข้าไปสวดมนต์ไหว้พระ นั่งพิจารณาถึงประวัติของพระแก้วมรกตซึ่งท่านได้ทราบมาว่า เมื่อมีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ที่เมืองปาฏลีบุตร พระอรหันต์ ๙ รูป ประสงค์จะหล่อพระพุทธรูปขึ้น เทวดาได้มานิมิตให้ไปนำหินมรกตจากภูเขาสัตตปการมาแกะสลักเป็นพระแก้วมรกต เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชเห็นว่าพระพุทธรูปนี้เป็นมรกตล้ำค่า จึงขอให้พระอรหันต์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระแก้วมรกตด้วย

    ตามประวัติเดิมนั้นว่า พราหมณ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในมหาเจดีย์ที่อินเดีย แต่เมื่อพระอรหันต์เข้าสมาธิพิจารณาดู จึงทราบว่าที่อินเดียจะเกิดสงครามใหญ่ พระเจ้าจุฑามณีเกรงว่าพระบรมสารีริกธาตุจะถูกทำลาย จึงอัญเชิญใส่ผอบทองเหลืองเกลียวไปไว้ที่มหาเจดีย์มาลิจิที่ศรีลังกา พร้อมทั้งนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกไว้ด้วย

    พระอรหันต์ทั้ง ๙ รูป จึงไปขอพระบรมสารีริกธาตุมา ๙ องค์ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ คือ ไหปลาร้าซ้าย-ขวา ๒ ข้อมือซ้าย-ขวา ๒ ดั้งจมูก ๑ ชายโครงซ้ายขวา ๒ กะโหลกศีรษะ ๑ และใต้ราวนมขวาอีก ๑ รวมเป็น ๙ องค์

    มีขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร อัญเชิญมาเมืองปาฏลีบุตรและคิดจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปในองค์พระแก้วมรกต แต่ก็บรรจุไม่ได้เพราะพระแก้วมรกตแข็งมาก พระอรหันต์ทั้ง ๙ จึงสวดมนต์ภาวนาขอบารมีจากพระบรมสารีริกธาตุเอง อัญเชิญให้เข้าบรรจุอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ประกอบด้วยคาถาชินบัญชร มหาสมัยสูตร ชุนนุมเทวดาเป็นต้น พระบรมสารีริกธาตุก็เข้าไปบรรจุอยู่ตามสรีระส่วนนั้นๆ ได้เอง

    หลวงพ่อนั่งสมาธิพิจารณาดู เกิดนิมิตเป็นภาพพระบรมสารีริกธาตุ แม้ว่าจะเห็นไม่ชัดเจนนัก แต่ท่านก็เชื่อว่ามีอยู่จริง ท่านก้มลงกราบพร้อมกับรู้สึกตัวเบาหวิวด้วยความปิติที่ได้มากราบพระแก้วมรกต

    จากหนังสือ ๘๔ ปี อุตตมะ หน้า ๑๒๔ - ๑๒๕

    เรื่องที่ ๒

    "หลวงพ่อเล่าเรื่องให้ฟัง" โดย รศ.อาภัสสร์ จันทวิมล
    **ไปไหว้พระแก้วมรกตพบกับอูเนวิน**

    .
    สมัยเมื่อหลวงพ่อได้เดินทางมากรุงเทพฯใหม่ๆนั้น ท่านอยากไปกราบพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องจากในตำนานระบุว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายใน ท่านจึงขอให้ลูกศิษย์พาไป
    .
    จะด้วยเหตุบังเอิญ หรือหลวงพ่อท่านจะรู้ล่วงหน้าก็ตาม นายพลเนวินผู้นำของประเทศพม่าในขณะนั้นก็มากราบพระแก้วมรกตด้วยเช่นกัน ยังทักทายกันเป็นอย่างดี เนื่องจากได้เคยพบกันมาก่อน เมื่อหลายปีมาแล้ว ทำให้เราทราบว่า หลวงพ่อท่านเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่ยกย่องในประเทศพม่าด้วย
    .
    ต่อมาในระยะหลัง หลวงพ่อมีกิจนิมนต์ร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระแก้วบ่อยครั้งขึ้น ท่านจึงมีโอกาสได้กราบพระแก้วมรกตปีละหลายๆครั้ง ท่านบอกว่า"พระแก้วมรกต"จะอยู่ในเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักชัยแห่งพระพุทธศาสนา แต่ถ้าหากศาสนาเสื่อมลงพระแก้วมรกตก็จะไปที่อื่นได้
    .
    เมื่อสิบปีก่อนนี้ ที่ประเทศจีนได้อนุญาติให้ประเทศไทยเราขออัญเชิญ "พระเขี้ยวแก้ว" มาให้คนไทยสักการะกัน หลวงพ่อบอกให้ลูกศิษย์ไปสักการะกันให้จงได้ เพราะคราวที่ท่านไปไหว้ที่ประเทศจีนนั้น การที่จะให้ผู้ใดเข้าไปได้นั้นยากลำบากมาก และพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ คู่กันกับของประเทศศรีลังกา

    จากหนังสือ 100ปีชาตะกาล หน้า 187


    6.jpg

    ที่มาคาถาชินบัญชร สัมภาษณ์โดยคุณพุทธวงศ์

    ชินบัญชรคาถา

    สัมภาษณ์พิเศษ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม

    เมื่อมีวาสนาได้พานพบและกราบไหว้ใกล้ชิด หลวงพ่ออุตตมะ พระมหาเถระจากเมืองม่าน(พม่า)แท้ๆ มหาเปรียญ 9 ประโยคจากสำนักพระมหาเจดีย์ชเวดากอง แห่งวัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ซึ่งเกิดร่วมแผ่นดินเดียวกับหลวงพ่อธัมมานันทะ วัดท่ามะโอ และอยู่ร่วมจังหวัดเดียวกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมาแต่กาลก่อน
    มิหนำซ้ำยังเป็นที่ยกย่องยอมรับของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน นครราชสีมาอย่างสูงยิ่งว่า "หลวงพ่ออุตตมะนี้ เป็นมหาโพธิสัตว์ใหญ่ ผู้เป็น 1 ใน 10 แห่งอนาคตวงศ์ที่จะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อจากพระศรีอาริยเมตไตรย.!!!!!!!!!!!!"

    "พุทธวงศ์"จึงได้โอกาสกราบเรียนถามประวัติชินบัญชรคาถาอย่างสนใจใคร่รู้อย่างเต็มที่ ซึ่งหลวงพ่ออุตตมะ ก็ได้เมตตาวิสัชชนาประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรเบื้องลึกสุดขั้วที่มีบันทึกไว้ในคัมภีร์แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดีชนิดที่ราชบัณฑิตฝ่ายข้างไทยสืบค้นไปไม่ถึงด้วยความเต็มใจและกระจ่างแจ้งจนถึงที่สุด ทั้งยังได้เล่าถึงอภินิหารแห่งชินบัญชรคาถาที่ท่านได้เคยพานพบสมัยอยู่ที่เมืองพม่าให้ฟังอีกด้วย จนได้สร้างความละลานใจและความทึ่งแกมตื่นตะลึงให้บังเกิดขึ้นอย่างเหลือที่จะกล่าวได้ อันมีความดังต่อไปนี้.......

    "คาถาชินบัญชรน่ะ เกิดครั้งแรกเมื่อคราวตติยสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 ที่ประเทศอินเดีย เพื่อใช้เป็นบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร)น๊ะ..!!!!!!!!!!!!!!!"

    "จากนั้น พระแก้วมรกตกับชินบัญชรคาถาก็เป็นของคู่กันมาโดยตลอด จนเมื่อมีพระแก้วมรกตได้เสด็จออกจากประเทศอินเดียมายังประเทศศรีลังกา พระคาถาชินบัญชรก็ตามพระแก้วมรกต(พร้อมกับพระไตรปิฏก)มาเช่นกัน ก่อให้เกิดพระคาถาชินบัญชรตำรับลังกาขึ้น"
    "จนเมื่อลังกาเกิดกลียุค และพระแก้วมรกตจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ต่อในเขตแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ ก็มีการเชิญพระแก้วมรกตลงเรือสำเภาลำหนึ่ง ส่วนพระไตรปิฏกและพระคาถาชินบัญชรก็ลงเรือสำเภาอีกลำหนึ่ง

    ขณะที่ขบวนเรือสำเภากำลังล่องมายังสุวรรณภูมินั้น ก็เกิดพายุใหญ่พัดให้ขบวนเรือทรงพระแก้วมรกตและพระไตรปิฏกพร้อมทั้งพระคาถาชินบัญชรแตกแยกพลัดพรากไปคนละทิศละทาง เรือสำเภาทรงพระแก้วมรกตไปขึ้นฝั่งที่กัมปูเจีย(สำเนียงหลวงพ่ออุตตมะที่พูดถึง"กัมพูชา"หรือ"เขมร"นั่นเอง)

    ส่วนเรือสำเภาทรงพระไตรปิฏกพลัดพรายไปขึ้นฝั่งที่ประเทศพม่า โดยตอนนั้น มอญเป็นใหญ่ในลุ่มน้ำอิระวดีอยู่ จึงก่อให้เกิดพระคาถาชินบัญชรตำรับมอญ(รามัญ) และตำรับพม่าขึ้นอีก 2 ตำรับในเวลาต่อมา...."

    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี 1 ใน 10 แห่งอนาคตวงศ์ต่อจากพระศรีอาริยเมตไตรยเล่าประวัติคาถาชินบัญชรภาคพิศดารนี้ให้"พุทธวงศ์"เป็นการเฉพาะโดยตรงครั้งหนึ่ง
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    15977511_1163750867075140_2323889597901895787_n.jpg

    15966129_1163750907075136_6573505807313884554_n.jpg

    16002876_1163750943741799_5800773896373217969_n.jpg

    15095056_1818101778405678_6363263795393187393_n.jpg


    75550309_1506000786204667_3836423702577152_n.jpg (ภาพพระแก้วมรกตจากอินเตอร์เน็ต)


    พระแก้วมรกตเรื่องราวเล่าขานจากพระอริยสงฆ์(๓)

    พระเดช พระคุณพระราชพรหมยานเถร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    ได้ กล่าวไว้ในบทความ ”ไทยไม่มีวันสิ้นชาติ” ถึงเหรียญพระแก้วมรกต ภปร นี้ว่า


    “...อาตมา เห็นว่า พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระแก้วมรกต เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าท่านพุทธบริษัทชายหญิงมีไว้บูชา อาตมาคิดว่าจะเป็นมงคลอย่างสูงทั้งนี้เพราะว่า ตราบใดที่เรายังมี "พระแก้วมรกต" บูชาอยู่ ขณะนั้นอาตมาขอยืนยันว่าประเทศไทยยังเป็นเอกราชต่อไป….”

    “...พระรูป พระโฉมหรือพระรูปเปรียบขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์คือ "พระแก้วมรกต" จัดว่าเป็นมิ่งขวัญของคนไทยมานาน บูชาไว้ รูปที่ปลุกเสกที่ทำไว้ถ้าใครมีไว้ในบ้านละก็ จงอย่าเอาออกไปไหน ติดตัวไว้เสมอๆ จะเป็นมิ่งขวัญใหญ่ ขณะใดที่เรายังรัก "พระแก้วมรกต" รักความดีของ "พระแก้วมรกต" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถึงซึ่งความตัดความชั่วทรงความดี ทำจิตให้ผ่องใส รับรองว่าคนไทยทั้งชาติจะต้องเป็นไท และเป็นคนไทยที่มีความสุข มีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป...”

    ที่มา: http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1915
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    103342779_1937459216385042_921872007657175192_o.jpg

    81987391_1937459283051702_933564312586224724_o.jpg

    103342779_1937459326385031_256858069460530777_o.jpg

    104354168_1937459399718357_8133836380641167955_o.jpg

    104469528_1937459383051692_2519642187730416865_o.jpg


    พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

    โฮงหลวงแสงแก้วเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด ตั้งอยู่ซีกกำแพงวัดด้านทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกแบบโดย นายนพดล อิงควณิช สถาปนิกชาวเชียงราย สร้างบนพื้นที่บริเวณที่เป็นกุฏิสงฆ์และหอฉันสมัยพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ลักษณะอาคารเป็นทรงล้านนาประยุกต์ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๓.๒๕ เมตร สูงสองชั้น โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตบแต่งด้วยไม้สักทั้งภายนอกและภายใน โดยมีคุณแม่อมรา (แสงแก้ว) มุนิกานนท์เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    ๑. เพื่อเป็นที่รวบรวมศิลปวัตถุที่สำคัญของวัด และสิ่งของที่มีผู้นำมาถวาย ให้อยู่เป็นระบบ อีกทั้งเป็นการสงวนรักษาไว้ตลอดไป
    ๒. จัดแสดงศิลปวัตถุแหล่านี้ให้แก่ผู้เข้าชมทุกกลุ่ม เช่นนักเรียน นักศึกษา ประชาชน อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    ๓. เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา
    สิ่งสำคัญที่จัดแสดงภายใน ได้แก่
    · พระพุทธศรีเชียงราย ประดิษฐานเป็นพระประธานชั้นล่าง ออกแบบโดยอาจารย์เสนอ นิลเดช
    · พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปโบราณอยู่คู่กับวัด ประดิษฐานเป็นพระประธานบนชั้นสอง
    · รูปหล่อพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว พร้อมทั้งเครื่องอัฐบริขาร
    · รูปหล่อพระพุทธชินวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ซึ่งเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดพระแก้ว สมัยเมื่อเป็นเณร จัดแสดงพร้อมทั้งเครื่องอัฐบริขาร
    · พระธาตุ ของพระอรหันตสาวก
    · พระพุทธรูปโบราณศิลปล้านนา เชียงรุ้ง พม่า เป็นต้น
    · เครื่องใช้เกี่ยวกับทางศาสนาของล้านนา ได้แก่ สัตตภัณฑ์ หีดธรรม เครื่องบูชา ฉัตร ตุง เครื่องเงิน เครื่องเขิน เป็นต้น

    ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดป้าย พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐


    ที่มา: http://www.watphrakaew-chiangrai.com/article_detail.php...
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    9.jpg
    หลวงพ่อทันใจ พระพุทธรูปโบราณ


    10.jpg

    12.jpg

    13.jpg


    โฮงหลวงแสงแก้ว(๒)
    ขึ้นมาบนชั้น ๒ ส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปและพระเครื่อง


    15.jpg


    พระเจดีย์ วัดพระแก้ว เชียงราย
    (ปฐมบทแห่งเรื่องราวองค์พระแก้วมรกต)

    พระเจดีย์องค์ปัจจุบัน เป็นพระเจดีย์ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานแปดเหลี่ยมยกเก็จ
    (ตั้งแต่ฐานล่างสุดจนถึงฐานบัวถลาบนสุดที่รองรับองค์ระฆัง)
    ประกอบด้วยชุดฐานปัทม์แปดเหลี่ยมยกเก็จประดับลวดบัว เส้นบนสองเส้น เส้นล่างสองเส้น วางอยู่บนชุดฐานบัวถลาแปดเหลี่ยมยกเก็จสองชั้น (แต่ละชั้นประกอบด้วยฐานเขียง ชั้นบัวคว่ำ และหน้ากระดานท้องไม้) และฐานเขียงแปดเหลี่ยมยกเก็จสามชั้นลดหลั่นกัน เหนือฐานปัทม์ขึ้นไปเป็นชุดฐานเขียงแปดเหลี่ยมยกเก็จสามชั้นลดหลั่นกัน แล้วต่อด้วยชุดบัวถลาแปดเหลี่ยมยกเก็จห้าชั้นลดหลั่นกัน (แต่ละชั้นประดับลวดบัวขนาดใหญ่หนึ่งเส้นท้องไม้ที่หน้ากระดาน) ถัดขึ้นมาเป็นชุดกลีบบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์ระฆังขนาดใหญ่ ประดับเส้นลวดบัวแบบเหลี่ยมรัดรอบบริเวณกลางองค์ระฆัง เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ทรงสูง ปล้องไฉนขนาดใหญ่เก้าชั้น รองรับปลียอดและฉัตรเก้าชั้น เหนือสุดประดับลูกแก้ว

    พระเจดีย์องค์เดิมน่าจะสร้างมาตั้งแต่แรกสร้างวัด ต่อมาได้ถูกอสนีบาต ทำให้พังทลายลงเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ขาดการบำรุงรักษา สภาพเจดีย์มีหญ้าขึ้นปกคลุมรกรุงรัง ตอนล่างอิฐปูนหักพังลง พระครูธรรมวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระแก้วในขณะนั้น (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์) ได้บูรณะซ่อมแซมโดยรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทุกประการ โดยเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ แล้วเสร็จและสมโภชพระเจดีย์เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ พระเจดีย์อยู่ในสภาพทรุดโทรมลงอีก พระราชรัตนากร (สมณศักดิ์ของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในขณะนั้น) จึงบูรณปฏิสังขรณ์ โดยกะเทาะปูนเก่าออก และฉาบปูนใหม่ หุ้มทองเหลือง ประดับด้วยทองจังโก้และลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้งองค์ พร้อมกับได้จัดทำยอดฉัตรใหม่ ๙ ชั้น ทำด้วยเงินแท้บริสุทธิ์ ลงรักปิดทอง และดำเนินการปรับปรุงลานพระเจดีย์และปริมณฑลให้มีภูมิทัศน์สวยงาม การบูรณะพระเจดีย์ครั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลเจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยเริ่มดำเนินการบูรณะใน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๓๘ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯเป็นองค์ประธานยกยอดฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑

    อนึ่ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ กรมศิลปากรมีหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ทักท้วงการบูรณะว่า การซ่อมแซมทำให้ลักษณะเจดีย์เปลี่ยนสภาพคล้ายเจดีย์พม่า โดยเฉพาะองค์ระฆังและบัลลังก์เปลี่ยนไปมาก แม้ว่าจะใช้ภาพถ่ายเจดีย์องค์เดิมประกอบการบูรณะก็ตาม แต่ภาพถ่ายไม่ชัดเจน ในที่สุดก็มีมติให้บูรณะโดยหุ้มทองจังโก้ลงบนเจดีย์ที่ทางวัดได้บูรณะไว้แล้ว

    ที่มา: http://www.watphrakaew-chiangrai.com/article_detail.php...

    แต่จากตำราชินกาลมาลีปกรณ์และรัตนพิมวงศ์ ที่ใช้อ้างอิงกันเรื่องพระแก้วมรกต ไม่ได้บอก พ.ศ. ที่พบและไม่ได้บอกว่าพระเจดีย์ถูกฟ้าผ่า เป็นการเขียนเพิ่มขึ้นในสมัย ร.4 ดังบทความนี้
    https://www.facebook.com/rekkrub.rek/posts/10213113015458986



    14.jpg
    ภาพพระหยกเชียงรายองค์ต้นแบบ อยู่ในพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
    Cr.ภาพจากเน็ต
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    16.jpg


    พรญามังราย(๑)
    พระญามังราย, พ่อขุนเมงราย, พ่อขุนเม็งราย

    ตอนที่ ๑ นี้ว่าด้วยเรื่อง อนุสาวรีย์พระญามังรายและพระราชประวัติโดยสังเขป ซึ่งประวัติของพระองค์ที่เคยเรียนกันมาบางส่วนก็มีนักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตโต้แย้งเอาไว้ ซึ่งผมเองก็จะนำมาลงไว้ทั้งสองส่วนครับ

    ******************************

    อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

    เมื่อมาถึงเชียงรายแล้ว หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเชียงรายที่ควรไป คือ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ถนนห้าแยกพ่อขุนเม็งราย อยู่บนถนนเชียงราย-แม่จัน (ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยตลอดทั้งปีทั้งกลางวันและกลางคืนจะมีผู้มาสักการะบูชาหลายหมื่นคนทั้งชาวเชียงราย ประชาชนจากจังหวัดอื่นๆ รวมถึงประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ก่อนที่จะพูดถึงอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ทางเชียงรายอัปเดตขอเสนอพระราชประวัติโดยสังเขปของพระองค์ก่อนค่ะ
    พระราชประวัติโดยสังเขป

    “พ่อขุนเม็งรายมหาราช” หรือ “พญามังรายมหาราช” พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พุทธศักราช 1782 ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมง ผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ้งแก่นชายเจ้านครเชียงรุ้ง หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์มีดังนี้

    1. ทรงเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย
    2. ทรงสถาปนาเมืองเชียงรายเป็นราชธานีแห่งแรก พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อปี พ.ศ. 1805
    3. ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทย จนเจริญรุ่งเรืองจวบจนปัจจุบัน
    4. ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ขึ้นแทนเมืองเชียงราย คือ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันนั้นเอง
    5. พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีอันดีกับกษัตริย์แห่งแคว้นพะเยาและอาณาจักรสุโขทัย คือ พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยท่านทั้ง 3 เป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่เมืองละโว้ ด้วยความที่พระองค์ ทั้ง 3 เป็นพระสหายร่วมสาบานกัน ทำให้สามารถขยายดินแดนได้โดยไม่ต้องมีความกังวลใดๆ และเป็นที่มาของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ที่ศาลาว่าการจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบันด้วย
    พญามังรายสวรรคตที่กลางเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 1854 สิริพระชนม์รวมเจ็ดสิบสามพรรษา สถูปบรรจุพระอัฐิหรือกู่พญามังรายมหาราช ตั้งอยู่ที่วัดงำเมือง
    จังหวัดเชียงรายได้สถาปนาอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2507 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 80,000 บาท เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งรายที่มีแก่ชาวเชียงราย ปั้นโดย นายปกรณ์ เล็กฮอน สำหรับอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชที่ตั้งอยู่ที่เชียงรายปัจจุบัน มีลักษณะเด่นดังนี้

    • เป็นพระรูปเต็มตัวของพระองค์
    • หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์
    • ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์แบบล้านนาโบราณ
    • ทรงประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร
    • ถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา
    • สวมมาลัยพระกรและสวมพระธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย และตรงนิ้วชี้ที่พระหัตถ์ข้างซ้าย
    • ทรงฉลองพระบาท
    ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติสีทองอร่ามขนาดใหญ่ 3 อันประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ โดยฝีมือของศิลปินชื่อดัง ได้แก่
    • ศิลปินแห่งชาตินายถวัลย์ ดัชนี
    • ศิลปินแห่งชาติอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
    • อาจารย์กนก วิศวกุล

    โดยฐานใต้พระบรมรูปจะมีคำจารึกว่า

    “พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ.1782 – 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย”

    ถ้าได้มาเที่ยวที่จังหวัดเชียงราย อย่าลืมมาสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชเป็นที่แรกนะคะ เหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าได้มาถึงจังหวัดเชียงรายแล้วจริงๆ ค่ะ

    การเดินทางด้วยรถส่วนตัว
    จากตัวเมืองเชียงราย ขับโดยใช้ถนนสายเชียงราย – แม่จัน จะเจอห้าแยกพ่อขุนเม็งราย อนุเสาวรีย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ จะเห็นเด่นช้ดเพราะมีคนมาสักการะบูชาตลอดเวลา

    การเดินทางด้วยรถประจำทาง
    นั่งรถสองแถวรอบเวียงสีฟ้า หรือรถเมล์เขียวสายเชียงราย – แม่สาย สถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 (เก่า) แล้วลงที่ห้าแยกพ่อขุนเม็งราย จะเห็นเลย

    ที่มา: https://chiangraiupdate.com/king-mengrai-monument/


    หมายเหตุ:
    พระญามังรายนั้นจะมีชื่อคล้ายๆกันอยู่ 2 องค์นะครับ คือพระเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ อาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ ผู้สร้างพระธาตุดอยตุง องค์นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    อีกองค์คือพระญามังราย(พ่อขุนเม็งราย)แห่งราชวงศ์ลวจังกราช อาณาจักรหิรัญนครเงินยาง และเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งล้านนา ผู้สถาปนาราชวงศ์มังรายและอาณาจักรล้านนา องค์นี้มีผู้รู้บอกว่าเกี่ยวเนื่องกับครูบาวงศ์

    พระญามังรายทั้งสององค์เกิดกันคนละยุคคนละสมัยกัน
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    10.jpg

    พรญามังราย(๒)
    พระญามังราย, พ่อขุนเมงราย, พ่อขุนเม็งราย

    ตอนที่ ๒ นี้จะขอกล่าวถึงประวัติของพระองค์ท่าน ซึ่งก็จะมีแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละสำนวน สมัยที่ท่านสร้างเมืองเชียงใหม่หรืออาณาจักรล้านนา ก็จะตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแห่งแห่งกรุงสุโขทัย

    **************************

    ประวัติพ่อขุนเม็งรายมหาราช ( พญามังรายมหาราช )

    ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ผู้สถาปนาเมืองเชียงรายเป็นราชธานี

    พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781 เมื่อมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระบิดาได้สู่ขอ ธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองมาเป็นคู่อภิเษกแล้วโปรดให้เมงรายเป็นมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าลาวเมงสวรรคตในปี พ.ศ. 1802 เมงรายราชโอรสจึงได้ครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบแทน ในขณะที่มีพระชนม์ 21 พรรษา

    ครั้งนั้น เมืองเล็กเมืองน้อยต่าง ๆ ในแคว้นลานนาเกิดแตกความสามัคคี ต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ทั้ง ๆ ที่เจ้าเมืองส่วนใหญ่ก็เป็นพระญาติของพระองค์ คือสืบเชื้อสายมาจาก ลั๊วจักราชด้วยกัน พ่อขุนเม็งรายจึงมีพระดำริที่จะรวบรวมเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์ซึ่งต่างก็เป็นคนไทยดังนั้นจึงมีใบบอกไปยังเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระให้มาอ่อนน้อม เมืองใดแข็งข้อก็ส่งกองทัพไปปราบ ตีได้เมืองมอบเป็นเมืองแรก ต่อมาได้เมืองไร เมืองเชียงคำ ให้ถอดเจ้าผู้ครองนครออกแล้วแต่งตั้งขุนนางอยู่รั้งเมืองแทน แต่นั้นมาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายต่างพากันมาสวามิภักดิ์โดยสิ้นเชิง

    เมื่อรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือได้แล้ว ก็คิดจะยกทัพไปปราบหัวเมืองฝ่ายใต้ต่อไป ในปี พ.ศ. 1805 ขณะยกทัพไปถึงเมืองลาวกู่เต้าและประทับบอยู่ที่นั่น เผอิญช้างทรงของพระองค์ซึ่งทอดไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออก หลุดพลัดไป พระองค์จึงเสด็จตามรอยช้างไปจนถึงดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้โปรดให้สร้างพระนครขึ้น โดยก่อกำแพงโอบรอบ เอาดอยจอมทองไว้ภายในขนานนามว่า เมืองเชียงราย แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาตั้งอยู่ที่เชียงรายนับแต่นั้นมา

    ในปี พ.ศ. 1819 พ่อขุนเม็งรายได้ยกกองทัพไปประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมือง ผู้ครองเมืองพะเยาออกมารับเสด็จด้วยไมตรีและยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พ่อขุนเม็งรายแล้วปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาอีกราว 4 ปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนเม็งราย ได้กระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นพระสหายกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์เสวยทั้งสามพระองค์สัญญาว่าจะไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิต และในปี พ.ศ. 1834 พ่อขุนเม็งรายเสด็จไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ใช้เวลาสร้างนาน 5 ปี พ.ศ. 1839 จึงเสด็จและสถาปนานครแห่งนี้ว่า เชียงใหม่

    พ่อขุนเม็งรายทรงประสูติมาเพื่อเป็นผู้กอบกู้และรวบรวมชาวไทยให้ป็นกลุ่มก้อน เพื่อระงับครามทุกข์เข็ญต่าง ๆ ในแผ่นดินและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นลานนาเป็นอเนกประการ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์เท่าที่ประมวลได้โดยสังเขปมีดังนั้น
    1. ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่
    • เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 1805
    • เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ. 1829
    • เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1834
    นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ทรงบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง และในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝางเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ขุนอ้ายเครือคำลก หรือขุนเครื่อง ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง

    2. ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำได้แล้ว ในปี พ.ศ. 1824 ตีเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบา กษัตริย์ขอม พระยายีบาหลบหนีไปอยู่กับพระเบิกที่นครเขลางค์
    พ.ศ. 1828 พระยายีบาและพระยาเบิกยกทัพขอมมาเพื่อตีเมืองหริภุญชัยคืน พ่อขุนเมงรายจึงทรงแต่พระโอรสคือ ขุนคราม ยกทัพออกไปต้านทาน ได้รบกับพระเบิก และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษ พระยายีบารู้ข่าวว่าเสียบุตรจึงทิ้งเมืองเขลางค์หนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์อีกเมืองหนึ่งนับว่าดินแดนภาคเหนือทั้งหมดพ่อขุนเม็งรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกลดังนี้
    • ทิศเหนือ จด สิบสองปันนา
    • ทิศใต้ จด อาณาจักรสุโขทัย
    • ทิศตะวันออก จด แคว้นลาว
    • ทิศตะวันตก จด แม่น้ำสาละวิน

    พ.ศ. 1829 ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีพระเจ้าหงสาวดีเจงพยุเจง เกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นไมตรีโดยยกพระราชธิดาพระนามว่านางปายโค (ตะละแม่ศรี) ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งราย
    พ.ศ. 1832 ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระเจ้าอังวะให้ราชบุตรนำเครื่องบรรณาการมาต้อนรับขอเป็นไมตรี

    3. ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนา โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างฆ้อง ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนขาวลานนาไทย จึงเข้าใจว่าศิลปต่าง ๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้นเมื่อจำนวนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์มีมากขึ้น ก็ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตรและการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า

    4. ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถและประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่งพ่อขุนเม็งรายทรงเลื่อมในและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภกและทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดีมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี แก่คนทั่วไปซึ่งเป็นมรดกด้านคุณธรรมที่ตกทอดถึงลูกหลานชาวลานนา จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้า แต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกัน พระองค์จะทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์ดังกล่าว
    พระปรีชาสามารถในด้านการปกครองอีกเรื่องหนึ่งได้แก่ การวางระเบียบการปกครองหรือกฎหมายที่ทรงตามขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า กฎหมายมังรายศาสตร์ เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจรณาในการพิพากษาผู้กระทำผิดสมควรแก่โทษานุโทษโดยมิให้เลือกเห็นแก่หน้าว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หัวหมู่ หรือไพร่น้อยเมื่อกระทำผิดย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน
    พ่อขุนเม็งรายสวรรคตขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่ โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์เมื่อปี พ.ศ. 1860 รวมพระชนม์มายุได้ 80 พรรษา พระยาชัยสงครามพระราชโอรสได้ครองเมืองเชียงรายต่อมา (ดูภาพและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=5121.0)


    ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงประกอบนานัปการ ด้วยพระอัจฉริยะและด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่ออาณาประชาราษฎรตลอดพระชนม์ชีพ จึงได้รับเทิดพระนามให้ทรงเป็นมหาราชอีกพระองค์หนึ่งที่คนทั่วไปรู้นักในพระนามพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหาราชแห่งแคว้นลานนา…ผู้สร้างเมืองเชียงราย

    ที่มา: http://www.chiangraifocus.com/.../chiangrai/kingmengrai.php


    103963723_1940404962757134_421397064086807624_n.jpg

    พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ หรือที่เรียกกันสั้นๆกันทั่วไปว่า อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่ใจกลางเชียงใหม่ อยู่ติดกับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางเก่าจังหวัดเชียงใหม่) ...

    ประกอบด้วยพ่อขุนเม็งราย พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนรามคำแหง ร่วมปรึกษากันสร้างเมืองเชียงใหม่

    Cr. ภาพจากเน็ต
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    11.jpg


    พรญามังราย(๓)
    พระญามังราย, พ่อขุนเมงราย, พ่อขุนเม็งราย

    แผนภูมิกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ซึ่งมีกษัตริย์ 17 องค์ (18 รัชกาล)
    ลำดับกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย

    1. พญามังราย พ.ศ. 1801 - 1854 (53 ปี)
    2. พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
    3. พญาแสนภู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
    4. พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
    5. พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
    6. พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
    7. พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
    8. พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
    9. พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
    10. พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
    11. พญาแก้ว พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
    12. พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งแรก
    13. พญาทรายคำ (ท้าวซายคำ) พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
    14. พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
    15. พระนางจิรประภา พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
    16. พญาอุปเยาว์ (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
    ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
    17. พญาเมกุฏิสุทธิวงศ์ (พญาแม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107
    18. พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 (14 ปี)

    *ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่าของพระเจ้าบุเรงนอง

    วันนี้จะขอใช้ภาษาที่ฟังดูเป็นทางการหน่อยนะครับ
    ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้รับรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์ผ่านระบบการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งถูกจัดสรรคัดเลือกเนื้อหาโดยกระทรวงศึกษาธิการอับเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลาง ประวัติศาสตร์ที่สอนๆกันอยู่ในโรงเรียนจึงเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก หรือ ประวัติศาสตร์ของลุ่มน้ำเจ้าพระยานั่นเอง โดยละเลยที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นอื่นๆ ที่ถูกเรียกว่า “บ้านนอก” ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆรับรู้แต่เพียงอดีตของคนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
    และปราศจากองค์ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง เช่น บุคคลสำคัญในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    หรือแม้กระทั่งภาษาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้นับวันจะยิ่งสูญหายไปตามคนรุ่นเก่า
    เอาง่ายๆ แค่เรื่องพญามังราย (พ่อขุนเม็งรายของหลายๆท่าน) เรารู้ว่าพญามังรายสร้างเมืองเชียงราย ฝาง พร้าว และเชียงใหม่เรารู้ว่าเป็นกษัตริย์ แต่เรารู้จักลูกหลานของพญามังรายหรือเปล่า รู้จักครอบครัวของพญามังรายหรือเปล่าคำตอบคือไม่
    คนส่วนใหญ่ไม่รู้ เพราะไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้โดยตรง และไม่มีเรื่องนี้ในแบบเรียนประวัติศาสตร์
    ตรงกันข้ามเรากลับรับรู้เรื่องราวของผู้นำอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา หรือกรุงเทพฯ มากกว่าเสียอีก
    “เห็นแล้วสมเพชใจว่ะ” ไอ้ X เพื่อนคนหนึ่งของผมพูด
    “ช่างแม่ง มึงก็รู้นี่หว่าว่าวิชาสายสังคมมันเอาไปหากินไม่ได้ สู้เรียนเคมี ฟิสิกส์ เป็นหมอเป็นวิศวะไม่ได้”
    เออ... ก็จริงของมัน
    สรุปก็คือ เอาเรื่องประวัติศาสตร์ล้านนามาลงในเน็ตดีกว่า เผื่อคนที่สนใจจะได้อ่าน

    พระนางเจ้าจิรประภามหาเทวี (พ.ศ. 2088-2089)
    พระนางเจ้าจิรประภามหาเทวี หรือ ที่เรียกพระนามสั้นๆว่า พระนางจิรประภา ทรงเป็นพระราชธิดาในพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์ในแผ่นดินล้านนา ลำดับที่ 12 พระนางฯ ได้ปกครองเชียงใหม่ต่อจากพระราชบิดา ในสมัยของพระนางฯ อาณาจักรล้านนาเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย ประกอบกับทั้งมีข้าศึกจากภายนอกมารุกราน ทั้งกองทัพเมืองต่างๆในรัฐฉาน และอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัย “สมเด็จพระไชยราชาธิราช” ทัพมาถึงเชียงใหม่ ในสมัยของพระนางฯ บ้านเมืองอ่อนแอมากมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ พระนางฯปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดา (หลาน) แห่งอาณาจักรล้านช้าง

    สถานการณ์ทางการเมืองในอาณาจักรล้านนา
    ตอนพญาเกศเชษฐราช พระราชบิดา ครองราชย์ครั้งแรกนั้น พระองค์มีนโยบายที่จะรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ขุนนางกลุ่มหนึ่งซึ่งมี “หมื่นสามล้าน” เป็นผู้นำไม่พอใจ ขุนนางกลุ่มนี้จึงคิดก่อการกบฏ แต่พญาเกศฯทรงทราบเสียก่อน หมื่นสามล้านถูกประหารชีวิต จึงยิ่งเพิ่มความขัดแย้งมากขึ้น กระทั่ง พ.ศ.2081 พญาเกศฯก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งกษัตริย์และถูกส่งไปครองเมืองน้อย ส่วนเมืองเชียงใหม่นั้นขุนนางได้ตั้งท้าวซายคำขึ้นเป็นกษัตริย์แทน แต่พระองค์ครองราชย์ได้เพียง 5 ปี ก็ถูกปลงพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.2086 แล้วขุนนางก็ไปเชิญเสด็จพญาเกศมาปกครองเมืองเชียงใหม่ อีกครั้งหนึ่ง แต่อีก 2 ปีต่อมา คือ พ.ศ.2088 พญาเกศฯก็ถูกขุนนาง ซึ่งมี “แสนคราว” เป็นผู้นำปลงพระชนม์
    ในช่วงที่แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์นี้ บ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย ขุนนางแตกแยกเป็นหลายกลุ่ม และต่างก็แย่งชิงอำนาจกัน โดยพยายามสนับสนุนคนของตนขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ในที่สุด “กลุ่มเชียงแสน” ซึ่งประกอบด้วย เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองลำปาง และเจ้าเมืองพาน สามารถกำจัด “กลุ่มแสนคราว” ได้ จึงได้ไปเชิญเสด็จ “พระไชยเชษฐาธิราช” แห่งอาณาจักรล้านช้าง มาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่

    พ.ศ.2088 ระหว่างรอการเสด็จมาของพระไชยเชษฐาอยู่นี้ บรรดาขุนนางได้เชิญมหาเทวีจิรประภาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าขณะนั้นพระนางคงมีพระชนมายุราว 45 ชันษา
    พ.ศ.2088 พระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีเชียงใหม่ มหาเทวีเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาการไปถวายและต้อนรับด้วยสัมพันธไมตรี โดยเชิญเสด็จพระไชยราชาประทับที่เวียงเจ็ดลิน (ปัจจุบันอยู่บริเวณสวนสาธารณะติดๆกับสวนสัตว์เชียงใหม่) ทำให้เชียงใหม่รอดพ้นจากภัยสงครามไปได้
    ต่อมา ในปลายปี พ.ศ.2088 นั้นเอง กองทัพจากเมืองนายและเมืองยองห้วย (อยู่ในรัฐฉาน) ยกมาตีเชียงใหม่ มหาเทวีสั่งให้กองทัพเชียงใหม่สู้ศึกเต็มที่ ข้าศึกล้อมเชียงใหม่นานเดือนเศษ จึงล่าถอยไป
    เนื่องจากในช่วงปีนี้มีข้าศึกยกทัพมาประชิดถึง 2 ครั้ง ทำให้มหาเทวีต้องขอกำลังจากล้านช้างให้มาช่วย ซึ่งกองทัพล้านช้างก็ได้ช่วยทำศึกอย่างเต็มความสามารถ โดยใน พ.ศ.2089 พระไชยราชาได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนอีกครั้ง มหาเทวีพยายามเจรจาขอเป็นไมตรี แต่ไม่สำเร็จ เมืองลำพูนถูกตีแตก ในขณะที่เมืองเชียงใหม่สามารถต้านทัพอยุธยาไว้ได้ กองทัพอยุธยาจึงล่าถอยไป
    “ศึกครั้งนี้ พระไชยราชาโดนปืนยิงเดี้ยง กลับไปตายที่อยุธยา”
    ปลายปี พ.ศ.2089 หลังศึกสงครามกับอยุธยา เมื่อพระไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาถึงเชียงใหม่ มหาเทวีจิรประภา ในฐานะผู้รั้งเมือง จึงทรงสละราชสมบัติทันที และเมื่อพระไชยเชษฐาเสด็จกลับเพื่อไปครองล้านช้าง ในปี พ.ศ.2090 พระองค์หวังจะให้มหาเทวีรักษาเมืองอีกครั้ง แต่พระนางปฏิเสธ
    ไม่ปรากฏในหลักฐานใดๆ ว่ามหาเทวีจิรประภาสิ้นพระชนม์เมื่อใด อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า แม้จะเป็นเวลาเพียงปีเศษ ที่พระนางได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ แต่พระนางก็สามารถรักษาเมืองให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ ทั้งนี้ก็พราะความรู้ความสามารถของพระนางนั่นเอง
    อ้างอิง
    พระรัตนปัญญาเถระ, ชินกาลมาลีปกรณ์.
    ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
    สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ :อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์,2539
    th.wikipedia.org

    ที่มา: http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=362.0


    แผนภูมิราชวงศ์มังราย

    105301496_1941399965990967_2043501016364986291_o.jpg
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    12.jpg


    พรญามังราย(๔)
    พระญามังราย, พ่อขุนเมงราย, พ่อขุนเม็งราย

    750 ปี “พระญามังราย" หรือ "พ่อขุนเม็งราย"?
    โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์

    อย่าว่าแต่คนภาคอื่นเลยที่รู้สึกสับสน แม้แต่คนเหนือด้วยกันเองก็ออกจะงุนงงไม่น้อย ว่าปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนานั้นมีพระนามว่าอย่างไรกันแน่ "พ(ระ)ญามังราย" หรือ "พ่อขุนเม็งราย" ?

    แบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถม-มัธยม ของเด็กไทยทั่วประเทศที่เติบโตมาในยุคเราๆ ท่านๆ ตั้งแต่รุ่น ๘๐ ปีถึง ๒๐ ปีที่แล้วถูกบังคับให้เรียกว่า "พ่อขุนเม็งรายมหาราช" แบบปิดประตูตีแมว ไม่ให้เรามีทางเลือกอื่น
    ในขณะที่สองทศวรรษหลังนี้เพิ่งปรากฏคำว่า "พระเจ้ามังราย" หรือ "พ่อขุนมังราย" ปะปนอยู่กับคำเรียกเดิมคือ "พ่อขุนเม็งราย" ในระดับอุดมศึกษาอยู่บ้าง สร้างความอึดอัดตะขิดตะขวงใจให้ครูสังคม ไม่มีทางออกอื่นใดนอกจากจะสอนเด็กว่า "มังราย" – "เม็งราย" นั้นเป็นคำเดียวกัน แต่เรียกได้ทั้งสองแบบ!

    ความสับสนของชื่อ "มังราย" – "เม็งราย" นี้เป็นเรื่องที่ถูกแทรกแซงโดยการเมืองภายนอก แถมยังมีการเมืองภายในเข้ามาทับซ้อนอีกชั้นหนึ่ง
    เอกสารโบราณทุกชิ้นใช้

    "พร(ะ)ญามังราย"

    เอกสารโบราณของทางฝ่ายเหนือ กอปรด้วยศิลาจารึกทุกหลัก รวมทั้งตำนาน พงศาวดารทุกเล่มพบแต่คำว่า"พร(ะ)ญามังราย" ทั้งสิ้น ไม่มีคำว่า "พ่อขุนเม็งราย" ปรากฏแม้แต่ชิ้นเดียว อย่างมากอาจมีคำนำหน้าหรือสร้อยต่อท้ายที่ผิดเพี้ยนกันไปบ้างเล็กน้อย อาทิ

    • ศิลาจารึกวัดพระยืน ลำพูน ปี ๑๙๑๒ ใช้ "พรญามงงรายหลวง"
    • จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร พะเยา ปี ๑๙๕๔ เขียน "มังราย"
    • ตำนานมูลศาสนา ปี ๑๙๖๕ ใช้ "พรยามังราย"
    • ชินกาลมาลีปกรณ์ ปี ๒๐๕๙ ใช้ "มังรายราช"
    • โคลงนิราศหริภุญไชย ปี ๒๐๖๐ ใช้ทั้ง "มังรายราช" “มังรายเจ้า" “พระเมืองมังรายราช"
    • ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ปี ๒๑๒๔ ใช้ "พรญามังรายเจ้า"
    • ประชุมกฎหมายมังรายศาสตร์ (ไม่ระบุศักราช) ใช้ "พรญามังรายเจ้า"
    ถ้าเช่นนั้นคำว่า "เม็งราย" ปรากฏตัวขึ้นมาประกบ "มังราย" ได้อย่างไร
    • พงศาวดารโยนก หลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่ใช้ "เม็งราย"

    คำว่า "เม็งราย" (เมงราย) นั้นพบครั้งแรกในหนังสือเรื่อง "พงศาวดารโยนก" เรียบเรียงโดยพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมาพงศาวดารเล่มนี้ได้นำมาใช้เป็นต้นแบบในการเรียบเรียงหนังสือประวัติศาสตร์สยามให้แก่คนไทยทั้งประเทศ ทำให้คำว่า "เม็งราย" เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งกว่าคำว่า "มังราย" ด้วยกระบวนการผลิตซ้ำโดยขาดการ

    ทบทวนหรือตั้งคำถามท่ามกลางหมู่ผู้รู้ ว่าเป็นคำที่ถูกหรือผิด
    ตามเวทีสัมมนา มักมีผู้พยายามช่วย "แก้ต่าง" ให้พระยาประชากิจกรจักร์ในทำนองว่า
    "ไม่เห็นแปลกตรงไหน ที่จะใช้คำว่า "เม็งราย" ในเมื่อพระราชบิดาของพระองค์ยังทรงมีพระนามว่า "ลาวเมง(เม็ง)" แล้วทำไมพระองค์จะเป็น "เม็งราย" บ้างไม่ได้!”

    แน่ใจล่ะหรือว่ามูลเหตุแห่งการเปลี่ยน "มังราย" เป็น "เม็งราย" ของพระยาประชากิจกรจักร์นี้ วางอยู่บนฐานความคิดเรื่องการเชื่อมโยงพระนาม "ลาวเม็ง" ของพระราชบิดา เหตุผลเช่นนี้จักยิ่งมิกลายเป็นการสบประมาทภูมิรู้ของนักประวัติศาสตร์ระดับชาติเช่นพระยาประชากิจกรจักร์ ให้กลายเป็น "นักเล่นแร่แปรธาตุ" ตัวฉกาจจนขาดความน่าเชื่อถือไปล่ะหรือ การออกแรงปกป้องท่านด้วยการเอาสีข้างเข้าถูเช่นนี้ มิได้ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นอัจฉริยภาพในตัวผู้ประพันธ์แต่อย่างใดเลย

    ความจริงมีอยู่ว่าพระยาประชากิจกรจักร์ หาได้เพี้ยนนามของพระญามังรายเป็น "เม็งราย" แบบงุนงงประสาคนนั่งเทียนเขียนคิดเองเออเอง ด้วยขาดความเข้าใจในประวัติศาสตร์ล้านนาไม่
    ตรงกันข้ามเป็นเพราะท่านล่วงรู้ความตื้นลึกหนาบาง ทุกแง่ทุกมุมทั้งของสยาม ประเทศราช และของรัฐเพื่อนบ้านมากเกินไปต่างหาก!

    คำว่า "เม็งราย" ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยเจตน์จำนงอย่างแรงกล้า ตามวิเทโศบายการเมืองระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่บีบบังคับให้รัฐสยามจำต้องดำเนินการแก้ไขพระนามของ "พระญามังราย" เสียใหม่ เปลี่ยนเป็น"ชื่ออะไรก็ได้ที่ใกล้เคียงกัน" ด้วยเหตุผลที่ค่อนข้างคอขาดบาดตาย!

    อย่าลืมว่าระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๔๓ นั้นอังกฤษได้พม่าเป็นอาณานิคมแล้ว และกำลังเตรียมแผนการรุกคืบมายึดครองล้านนาเป็นเป้าหมายถัดไป โดยแสร้งใช้ความชอบธรรมแบบไขสือว่า "ล้านนาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตามพม่าไปด้วยโดยปริยาย" เพราะเหตุผลสองประการ

    ประการแรกนั้น ในอดีต (ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗) ล้านนาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพม่าในเมื่อพม่าพ่ายแพ้แก่อังกฤษ ล้านนาก็ต้องเป็นของอังกฤษด้วย แต่เหตุผลข้อนี้ฟังไม่ขึ้น เป็นการอ้างที่ผิดกาละและเทศะ เพราะขณะนั้นล้านนาอยู่ในฐานะประเทศราชของสยามแล้ว
    ชาวอังกฤษจึงใช้ทีเด็ดชักแม่น้ำทั้งห้าหาเหตุผลข้อที่สองมาอ้างแทนว่า แม้แต่ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาเองก่อนยุคที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ก็ยังทรงมีเชื้อสายเป็นชาวพม่า เหตุเพราะทรงมีพระนามว่า "มังราย"ฉะนี้แล้วอาณาจักรล้านนาย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพม่าโดยไม่มีข้อแม้

    เจอฝรั่งหัวหมอเล่นมุขนี้ ทีมกุนซือประจำราชสำนักสยามอันประกอบด้วยนักปราชญ์หัวกะทิทั้งหลาย อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เหล่าพระน้องยาเธอ สมเด็จในกรมอีกหลายองค์ คงระดมสมองคิดหาหนทางแก้กลเกมจนปั่นป่วน ในที่สุดก็ได้ผลึกความคิดที่เป็นสรตะ จึงกล้ามอบหมายให้พระยาประชากิจกรจักร์เดินหน้า "ประดิษฐ์" ประวัติศาสตร์ล้านนาเวอร์ชั่นใหม่ขึ้นมา จงใจแก้ไขชื่อจาก"มังราย" เป็น "เม็งราย" แบบแนบเนียน

    อังกฤษกำลังเงื้อง่าจะเล่นงานดึงเอาล้านนาไปจากอ้อมอกสยาม แต่แล้วต้องมาเจอกับพระนามใหม่ของปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่กลุ่ม Elite สยามใหม่ เพิ่งทำการเปลี่ยนแก้ประวัติศาสตร์แบบสายฟ้าแลบ เป็นไปได้อย่างไรกันชื่อ "มังราย" เลือนหายไป เหลือแต่คนชื่อ "เม็งราย" แทนที่ ปราชญ์อัสดงคงเกิดอาการเมาหมัดอยู่หลายเพลา มิรู้จะหาข้ออ้างอันใดมาคัดง้างเพื่อช่วงชิงล้านนา

    เงื่อนงำแห่ง “มังราย" เกี่ยวข้องอะไรไหมกับพม่า
    เป็นอันว่าชื่อ "มังราย" นั้นถูกต้อง ปัญหาที่ตามมาก็คือ จริงหรือไม่ (ตามที่ฝรั่งว่าไว้) ที่นามของพระองค์มีความเกี่ยวพันกับชาวพม่า และหากตอบปฏิเสธ ไฉนพระองค์จึงมีชื่อว่า "มัง" อันเป็นภาษาของชาวม่าน

    จริงอยู่ที่คำว่า "มัง" เป็นคำนำหน้าของคนชั้นสูงในพม่า ระดับกษัตริย์หรือขุนนาง เช่น มังนรธา มังระ มังร่อ มังฉงาย ฯลฯ

    ซ้ำประวัติของพระญามังรายนั้น หลังจากที่พระมเหสีเอกสวรรคตแล้ว พระองค์ทรงได้ "นางปายโค" ราชธิดาพระเจ้ากรุงหงสาวดีมาเป็นพระอัครชายา ร่วมกับพระธิดาของพระเจ้ากรุงอังวะอีกนางหนึ่งด้วย ในช่วงที่ยาตราทัพไปประกาศแสนยานุภาพข่มเมืองม่าน-มอญแถวพุกาม ภายหลังจากที่ครองราชบัลลังก์เมืองเชียงใหม่หมาดๆ ทำให้กษัตริย์กรุงหงสาวดี (โดยปกติหงสาวดีเป็นเมืองของมอญ แต่ขณะนั้นมอญตกอยู่ภายใต้พม่า) และกรุงอังวะจำต้องยอมผูกสัมพันธ์ด้วยการถวายพระราชธิดาให้ ครั้งกระนั้นพระญามังรายยังได้เกณฑ์สล่าหรือนายช่างหลวงหลากหลายหมู่ราว ๕๐๐ ชีวิตติดตามมาช่วยงานสร้างบ้านแปงเมืองให้นพีสีเชียงใหม่มีความงดงามวิจิตรอีกด้วย

    ฝรั่งรู้มาก ประสาคนฉลาดแกมแฉลบ จึงตะแบงความรู้ แสร้งเชื่อมโยงเรื่องราวสายสัมพันธ์ของพระญามังรายที่มีต่อชาวพม่าในฐานะ "ลูกเขย" รู้ทั้งรู้ว่า "มังราย" มิได้เป็นพม่าโดยกำเนิด แต่ชื่อของ "มังราย" ก็มีจุดอ่อนเปราะบางชวนให้ชาวอังกฤษนำไปตั้งแง่ได้
    หรือ "พระญามังราย" เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อใหม่ภายหลังจากที่ไปดองกับตรละแม่ทั้งสองแห่งเมืองม่าน กล่าวคือก่อนหน้านั้นอาจเคยมีชื่อเดิมว่า "ลาวราย" แล้วเมื่อเห็นความรุ่งเรืองของพุกามอังวะหงสาวดี ก็บังเกิดความคิดที่จะโกอินเตอร์ จึงเปลี่ยนพระนามใหม่ให้ดูศิวิไลซ์ขึ้นตามกษัตริย์พม่า

    ความคิดนี้จะว่าขำก็ขำ จะว่าน่าทึ่งก็น่าทึ่ง เพราะบรรพบุรุษต้นตระกูลของพระญามังรายแห่งหิรัญนครเงินยางนั้น ทรงมีคำนำหน้าว่า "ลาว" ทั้งสิ้น เหตุเพราะสืบเชื้อสายมาจากชาวลัวะดอยตุง นับแต่ปฐมวงศ์ คือ "ปู่จ้าวลาวจก" หรือ "ลาวจง" ตามมาด้วย "ลาวครอบ" “ลาวช้าง" “ลาวเก๊าแก้วมาเมือง" (องค์นี้เริ่มมีกลิ่นอายของภาษาล้านนาเข้ามาผสม) “ลาวตั้ง" “ลาวกลม" “ลาวแหลว" “ลาวเรือน" จากนั้นก็สะดุดเปลี่ยนไปเป็นชื่อไทยล้วนๆ คือ "จอมผาเรือง" "ขุนเจื๋อง" "ขุนเงินเรือง" และกลับมาใช้ลาวอีกเป็นองค์สุดท้ายคือ "ลาวเมง" ผู้เป็นพระราชบิดาของพระญามังราย แล้วก็ไม่มีการใช้ "ลาว" อีกต่อไป ลูกหลานของพระญามังราย ใช้คำนำหน้าว่า"ท้าว" หรือ "พระญา" แทน

    “ลาว" คำนี้เป็นคำที่บ่งบอกนัยสองอย่างไว้ในคำ ๆ เดียว คือประกาศทั้ง “เชื้อชาติ” (ลัวะ+ลาว) และ"ตำแหน่งอันสูงส่ง" ของกษัตริย์
    ถ้าเช่นนั้นแต่เดิม "มังราย" เคยมีนามว่า "ลาวราย" หรือเช่นไร แล้วเพิ่งมาเปลี่ยนเป็น "มัง" ตามอย่างพม่า

    คำตอบคือเป็นไปไม่ได้ "มังราย" เป็นชื่อดั้งเดิมของพระองค์ท่านมาตั้งแต่เกิด
    แต่เหตุที่มีนามนำหน้าว่า "มัง" นั้นก็เพราะการตั้งชื่อของพระองค์ ได้มีการนำตัวอักษรและสระย่อจาก นามของพระราชบิดาชื่อ "ลาวเมง" ผสมกับพระฤๅษี "ปัทมังกร" (ได้คำว่า "มัง") บวกกับพระราชอัยกา (ตา) กษัตริย์แห่งเชียงรุ่งนามว่า "ท้าวรุ่งแก่นชาย" (ได้ตัว "ร") ในขณะที่พระราชมารดามีนามว่า "นางเทพคำขร่าย" (คำขยาย) (ได้สระอา + ย) โดยตัดเอาพยัญชนะ+สระย่อของแต่ละคนมารวมกันใหม่ ได้ "ม/ัง/ร/าย" หรือมีพระนามแบบเต็มยศว่า "มังคลนารายณ์" แปลว่า พระนารายณ์ผู้เป็นมงคล

    ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่พ้องกันโดยบังเอิญกับบรรดา "มัง" ทั้งหลายในภาษาพม่า
    แล้วการที่ชื่อของพระองค์ถูกแผลงไปเป็น "เม็งราย" ในช่วงวิกฤติอาณานิคม มิเป็นการสุ่มเสี่ยงหรือเช่นไร เพราะ "เม็ง" นั้นเล่าก็แปลว่า "มอญ" อีก ฤาปราชญ์สยามคิดว่าหนีหม่องไปเจอมอญ อาจตกอยู่ในอันตรายน้อยกว่า?

    ทั้งๆ ที่ชีวิตส่วนตัวของพระญามังรายนั้นไม่ชอบมอญเอาอย่างมาก และพยายามปฏิเสธวัฒนธรรมมอญจากหริภุญไชยที่ตนทำลายจนยับเยินมาตลอด
    ปริศนาชวนฉงนที่ต้องถามต่อเนื่องอีกข้อหนึ่งก็คือ ชื่อเมือง "เชียงราย" กับชื่อกษัตริย์ "มังราย" นั้นเกี่ยวข้องกันไหม และชื่อไหนเป็นต้นเค้าเก่าแก่ เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องร่ายยาว จึงขอติดค้างไว้ก่อน

    "พระญา" กับ "พ่อขุน" ปัญหาการเมืองภายในสยาม
    “มังราย" ถูกผลักให้เป็น "เม็งราย" เหตุเพราะการเมืองภายนอกระหว่างสยามกับตะวันตก ส่วนคำนำหน้าชื่อนั้นระหว่าง "พระญา" กับ "พ่อขุน" ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวาระซ่อนเร้นทางการเมือง หากแต่ครั้งนี้เป็นเกมการต่อสู้ภายในของสยามเอง ระหว่างศูนย์อำนาจกลางที่กระทำต่อรัฐชายขอบ

    มีผู้สงสัยกันมากว่าเหตุไรดิฉันจึงใช้ "พระญา" ทุกครั้งในคอลัมน์นี้ ยามเอ่ยถึงพระนามของกษัตริย์ในล้านนา ทำไมไม่เรียก "พระเจ้า" "พ่อขุน" หรือแม้แต่จะเขียนว่า "พระยา" - “พญา" อันเป็นภาษาที่เราคุุ้นเคย

    คำว่า "พระญา" นี้ ในดินแดนภาคเหนือมีความหมายถึง "กษัตริย์" โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลายหลักว่า"พรญา" (ยุคแรกๆ) บ้างก็ "พระญา" (ยุคหลังๆ) ซึ่งไม่ควรสับสนกับคำว่า "พระยา" ในภาษาไทยกลางที่เป็นตำแหน่งหรือราชทินนามของขุนนางระดับหนึ่ง ส่วน "พญา" นั้นนักวิชาการล้านนายังคงใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง ด้วยเห็นว่า "พระญา" เป็นคำที่แปลกตาเกินไปสำหรับคนไทยทั้งประเทศ แต่อย่าลืมว่า "พญา" คำนี้ก็ได้ถูกคนไทยทั้งประเทศนำไปใช้เรียกจ่าฝูงของสัตว์เช่น "พญาวานร" “พญาคชสาร" แล้วเช่นกัน ดังนั้นนักวิชาการล้านนารุ่นใหม่จึงพยายามดึงคำว่า "พระญา" จากศิลาจารึกกลับมาใช้ใหม่ น่าจะสง่างามกว่า

    ทำไมกษัตริย์ล้านนาไม่ใช้ "พระเจ้า" นำหน้าเหมือนกับทางอยุธยา เหตุเพราะคำว่า "พระเจ้า" นี้ชาวล้านนาได้นำไปใช้เรียกเป็นชื่อเฉพาะของพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงเกรงว่าจะเกิดความสับสน

    มีกษัตริย์ในล้านนาเพียงพระองค์เดียวที่กล้าใช้คำว่า "พระเจ้า" นั่นคือ "พระเจ้าติโลกราช" เป็นเพราะพระองค์ต้องการแผ่แสนยานุภาพอันเกรียงไกรในระนาบเดียวกันกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ในเมื่อทางใต้เรียกกษัตริย์ว่า "พระเจ้าแผ่นดิน" ทางเหนือก็ต้องยกระดับความยิ่งใหญ่ว่าพระองค์ก็มีฐานะเป็น "พระเจ้า" ดุจเดียวกัน แต่ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าติโลกราชแล้ว ไม่ปรากฏว่ากษัตริย์ล้านนาพระองค์ใดใช้ "พระเจ้า" อีกเลย ล้วนหวนกลับมาใช้ "พระญา" เหมือนเดิมทั้งสิ้น

    อนึ่ง ยังมีคำอื่นๆ ที่แสดงถึงฐานะของกษัตริย์ล้านนา นอกเหนือจากคำว่า "พระญา" อีกหลายคำ อาทิ ท้าว ท้าวพระญา เจ้า เจ้าหลวง เป็นต้น
    ด้วยเหตุนี้ ชาวล้านนาจึงรู้สึกประหลาดใจไม่น้อยเมื่อต้องทนเห็นคำว่า "พ่อขุนเม็งราย" เด่นหรา

    ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ที่เด็กไทยใช้เรียนทั่วราชอาณาจักร
    คำว่า "พ่อขุน" ไม่เคยปรากฏในเอกสารหรือศิลาจารึกหลักใดในล้านนา เป็นคำที่อุปโลกน์ขึ้นโดยผู้กุมอำนาจทางวัฒนธรรมในยุคสถาปนารัฐราชาชาตินิยม ที่ไม่ต้องการเห็นคนไทยแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย นอกจากพระยาประชากิจกรจักร์จะ "เบี่ยงเบน" ชื่อจาก "มังราย" เป็น "เม็งราย" ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานอันเป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้นั้นแล้ว ยังถูกคนในวงการศึกษา "บิดเบือน" คำนำหน้าซ้ำจาก "พระญา" มาเป็น "พ่อขุน" อีกขยักหนึ่ง ทั้งๆ ที่ในพงศาวดารโยนกนั้น พระยาประชากิจกรจักร์ยังคงไว้ซึ่งคำว่า "พระญา" แต่อาจเปลี่ยนมาเขียนเป็น "พระยา" ตามความคุ้นเคยของคนไทยสยาม

    ไม่เพียงแต่พระญามังรายพระองค์เดียวเท่านั้นที่ถูกเปลี่ยนเป็น พ่อขุนเม็งราย หากแต่ "พระญางำเมือง" แห่งพะเยา พลอยโดนหางเลขถูกเปลี่ยนเป็น "พ่อขุนงำเมือง" อีกพระองค์หนึ่งด้วย ในฐานะที่มักปรากฏพระนามคู่กันในประวัติศาสตร์หน้าสำคัญตอนสามสหายช่วยกันสร้างเวียงเชียงใหม่

    สหายคนที่สามที่มีส่วนช่วยวางแผนสร้างเชียงใหม่ มีนามว่า "พญาร่วง" หรือ "พระญารามราช" แต่คนกลับเรียกขานให้เป็นไทยแท้ๆ ว่า "พ่อขุนรามคำแหง" นามนี้เองที่นักประวัติศาสตร์ไทยในยุคล้าหลังคลั่งชาติ ได้เอามาเป็นต้นแบบในการขนานนามกษัตริย์จากแว่นแคว้นแดนอื่นให้กลายเป็น "พ่อขุน" ตามกันไปด้วย

    ทุกวันนี้นักวิชาการด้านล้านนาคดีพยายามรณรงค์เขียนชื่อของปฐมกษัตริย์ล้านนาว่า "พระญามังราย" แทนที่"พ่อขุนเม็งราย" ซึ่งใช้กันมาอย่างผิดๆ หลายทศวรรษ

    คงต้องขอถามใจคนล้านนา และวัดใจคนไทยทั้งประเทศ สักหน่อยว่า
    รู้สึกรำคาญไหมยามเห็นป้ายถนน ชื่อวัด ย่านนาม สะพาน รวมทั้งหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ยังคงเขียนคำว่า "พ่อขุนเม็งราย" กันอย่างโจ๋งครึ่ม

    รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม-ศึกษาธิการ คิดเห็นเช่นไร หรือมองว่า "ไหนๆ ก็ ไหนๆ แล้ว" เราจะยอมเหนื่อยตามอธิบายดึงความถูกต้องกลับมาตั้งแต่วันนี้ หรือจะรอให้วันข้างหน้ามาถึง แล้วค่อยมาตีหน้าปั้นจิ้มปั้นเจ๋อตอบคำถามลูกหลานด้วยปรัศนีซ้ำซากว่า
    "คุณครูคะ ตกลงพ่อขุนเม็งรายเป็นมอญใช่ไหมคะ แล้วเป็นญาติอะไรกับมะกะโทที่สุโขทัยหรือเปล่า?” มันจะยิ่งยุ่งอุนุงตุงนังไปกันใหญ่!

    ที่มา: https://prachatai.com/journal/2012/08/42261


    พระญามังราย ไม่ใช่พ่อขุนเม็งราย
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    68418752_10217176797145088_736198050694823936_o.jpg
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,123
    90706997_2890291167704975_4781082938785660928_o.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...