เจริญมรณะสติ รบกวนผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ด้วยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย gaiou419, 30 กันยายน 2011.

  1. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ย่อให้แคบมาเป็นเดือน

    มีผมยาว มีผมสั้น มีเล็บยาว มีเล็บสั้น มีแข็งแรง มีไม่แข็งแรง

    ย่อให้แคบมาเป็นวันครับ

    มีหลับ มีมีไม่หลับ มีหิว มีไม่หิว มีเข้าห้องน้า มีไม่เข้าห้องน้ำ

    ย่อให้แคบมาเป็นชัวโมง

    มีสุข มีไม่สุข มีทุกข์ มีไม่ทุกข์ มีสงบ มีไม่สงบ มีพอใจ มีไม่พอใจ มีอยาก มีไม่อยาก มีเคลื่อนไหว มีไม่เคลื่อนไหว

    ย่อให้แคบเป็นนาที

    มีเห็น มีไม่เห็น มีได้ยิน มีไม่ได้ยิน มีคิด มีไม่คิด มีร้อน มีไม่ร้อน มีหายใจเข้า มีหายใจออก

    ย่อให้เป็นขณะ

    มีสติ ไม่มีสติ มีรู้ มีไม่รู้ มีกุศล มีไม่กุศล มีเกิด มีดับ มีเกิด มีตาย

    สังเกตุไปเรื่อยๆครับ มีแล้วหาย หายแล้วมี

    ทั้งหมดนี้มันใช่ตัวคุณ ของคุณไหม

    หรือ เป็นแค่ธรรมที่ปรากฏให้รู้ว่าไม่มีอะไรน่ายึดเลย ^^
     
  2. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    การเจริญมรณะสตินั้น ถ้าจะให้ดี ต้องขึ้นอรูปฌานครับ โดยใช้กำลังของสมาธิพิจารณาภายในกายของตนเอง คือมีนิมิตมองเห็นว่า กายของเรานั้นประกอบไปด้วย อวัยวะน้อย ใหญ่ ต่างๆมากมายครับ สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ ก็มีดับไปได้เป็นของธรรมดา หรือเลือกข้อธัมมวิจยะมา พิจารณา ว่า กายนี้ไม่ใช่กายของเรา ตัวเราไม่มีกายนะครับ ผมเคยใช้ตอนไม่สบายครั้งหนึ่ง คือมีความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่แล้วโลกใบนี้ ก็เลยขึ้นอรูปฌานส่องกายของตนเองนะครับ แต่มีเสียงทัดทานจากเบื้องบนว่า ยังไม่ถึงเวลาต้องอยู่ต่อไป ยังไม่ชนะมารได้นะครับ

    ขอเจริญในธรรมครับ
     
  3. mamypogo

    mamypogo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +60
    ของผมใช้วิธีการระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกเป็นสำคัญ ทุุกวันทุกเวลา ทุกขณะจิต จะช่วยให้มีสติ รู้ว่าเราหายใจเข้าหนอ ออกหนอ ถ้าไม่หายใจ ก็ตาย หนอ ลำบากหนอ ทุกข์หนอ ทำได้ซักพัก ก็เริ่มมีสติ รู้เท่าทัน ไม่เผลอเรอ พร้อมรับมือกับความตาย และเร่งสร้างหนทางสู่นิพพานตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนนี้ ให้มากเท่าที่จะทำได้ครับ ของคนอื่นมีวืธีที่ดีกว่าช่วยแนะนำด้วยครับ
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................สนับสนุนอันนี้ครับ เมื่อลมหายใจเข้า บ่ห่อนออก เมื่อลมหายใจ ออก บ่ห่อนเข้า...... สิ่งที่ติดตัวเรามา หรือเรียกว่ากายเราก็ได้ ก็ คือ ลมหายใจ เข้า ออก ปฎิบัติ อานาปานสติ นี่แหละครับ:cool:
     
  5. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    มรณะสติ
    เห็นความตาย เพื่อละ จากสิ่งที่คุณปราถนา อยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้
    อย่างที่คุณยกตัวอย่างมา ค่อนข้างจะไปทาง อสุภะกรรมฐาน
    ถ้ากรรมฐานนี้ใช่เลยสำหรับคุณ ใจจะสงบเร็วมากครับ
     
  6. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716
    ขอสรุปวิธีที่สหายกัลยมิตรทางธรรมช่วยชี้แนะดังนี้นะคะ

    1. พิจารณาความเกิด ตาย ที่เกิดขึ้นกับเรามาหลายภพ หลายชาติ อีกทั้งความ
    ตายของผู้คนรอบข้าง พิจารณารากเหง้าของความกลัวตายว่ามาจากไหน
    2. ระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา เมื่อรู้สุึกตัวว่า หายใจ ก็คือ ยังไม่ตาย
    3. ละจากสิ่งที่ปรารถนา เช่น ความอยากได้บ้านสวยๆ รถ เสื้อผ้า อาหารดีๆ
    4. พิจารณาอวัยวะภายในทั้งหลาย เอาจิตเข้าไปดูปอด หัวใจ ลึกเข้าไปจนถึงกระดูก
    5. ตรวจตนเองเป็นระยะด้วยคำถามสามข้อนี้
    สามารถสละของรักได้หรือไม่?
    มีความขมีขมันพากเพียรในหน้าที่การงานหรือไม่?
    มีอารมณ์ปกติสุขอันเป็นกุศลหรืออยู่กับความหดหู่หรือไม่?
    6. เรียนรู้ "กาย อาการ32" ให้ชัดเจน (อันนี้คงต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าคืออะไร)
    7. มองกายสวยให้เป็นของสกปรก เลือด น้ำลาย ไข มูถ น่ารังเกียจ
    8. ให้คิดสมมุติว่าตัวเองกำลังนอนตายทุกคืนเมื่อเข้านอน โดยเอามือวางไว้ข้างๆ
    เหมือนรดน้ำศพ เฝ้าดูลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ปลงตกและปล่อยวางทุกสิ่่ง

    ขอบคุณทุกๆท่านที่เมตตาค่ะ ขอให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมนะคะ
     
  7. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    รายละเอียดเห็นจะเกินเลยไปบ้างหรือเปล่า?
    การพิจารณาความตาย เหมาะอย่างยิ่งกับผู้มีวิสัยไปทาง "พุทธจริต"
    พิจารณาความตาย
    >มีปัญญา ก็ต้องตาย
    >โง่เขลาก็ตาย
    >รวย ก็ตาย
    >จน ก็ตาย
    >มีอำนาจ ก็ตาย
    >อนาถาก็ตาย

    ช่วยกันคิดนะครับ

    นิยามน่าจะเพ่งที่จุติจิตมากกว่า พิจารณาความไม่งามต่าง ๆ
    -ความตายเป็น 1 ในเทวทูต ที่พระสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นก่อนออกผนวช
    -พิจารณาแล้ว ช่วยลดทอนความโอหังได้มากเลย นี้ก็เป็นข้อดีสำหรับคนที่ปัญญาดี ๆ ช่วยได้ดีมาก
    -พิจารณาแล้ว กล้าหาญชาญชัย ทำการใหญ่ได้ มหากุศลได้ ญาณสัปยุต

    ท่านพระพุทธโฆษะ รจนากรรมฐานกองนี้ไว้ในวิสุทธิมรรค ชนิดขยายความโดยพิสดาร

    อย่างน้อย...เอาข้อมูลจากทางรจนาพระอารย์ท่านมาดูก่อนดีกว่าครับ ถามตามเว็ปควรเป็นเรื่องรอง ไม่ควรถามสะเปะสะปะครับ แม้กระทั่งกับพระอาจารย์ทั้งหลาย ก่อนอื่นต้องศึกษาข้อมูลก่อนด้วยครับ
     
  8. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    http://www.larnbuddhism.com/visut/2.11.html
    จักวินิจฉัยในมรณานุสสติกัมมัฏฐานสืบต่อไป ตตฺถ มรณ สติยา ภาวนานิทฺเทเส ในมรณานุสตติภาวนานิเทศนั้นมีกระทู้ความว่าพระโยคาพจรผู้จะจำเริญมรณานุสสติกัมมัฏฐานนั้น พึงระลึกถึงความมรณะ ให้เป็นนิรันดรอยู่ในขันธสันดาน มรณะประสงค์เอาซึ่งความขาดแห่งชีวิตินทรีย์อันมีกำหนดภพอัน ๑ คือบังเกิดขึ้นในภพ เป็นสัตว์เป็นชีวิตแล้ว และถึงซึ่งจุติทำลายขันธ์ดับสูญขาดชีวิตินทรีย์ไปจากภพนั้นได้ชื่อว่ามรณะ กำหนดโดยภพควรที่จะเอาเป็นอารมณ์แห่งมรณานุสสติกัมมัฏฐาน

    และมรณะนั้นมี ๓ ประการ คือสมุจเฉทมรณะ ขณิกมรณะสมมติมรณะ ทั้ง ๓ ปราการนี้ควรที่จะเอาเป็นอารมณ์แห่งมรณานุสสติกัมมัฏฐาน อธิบายว่า สมุจเฉทมรณะนั้น ได้แก่พระอรหันต์อันตัดเสียซึ่งวัฏทุกข์ กิจที่ให้สำเร็จแก่พระอรหันต์ตัดทุกข์ในสังสารวัฏได้ขาดนั้น จัดเป็นมรณะประการ ๑ ชื่อว่าสมุจเฉทมรณะแลขณิกมรณะนั้นได้แก่สังขารธรรมอันดับอันทำลายทุก ๆ ภวังค์ มรณะอธิบายว่าจิต แลเจตสิกซึ่งบังเกิดขึ้นในอุปาทขณะตั้งอยู่ในฐิติ ขณะแล้วดับไปในภวังค์ขณะนั้นเป็นมรณะประการ ๑ ได้ชื่อว่าขณิกมรณะ

    แลสมมติมรณะนั้นคือความตายอันโลกสมมติ โลกโวหารร้องเรียกว่าต้นไม้ตายทองแดงเหล็กตายตานสมมติเรียกเป็นต้นฉะนี้ จัดเป็นมรณะประการ ๑ ชื่อว่าสมมติมรณะ มรณะทั้ง ๓ ประการนี้พระโยคาพจรอย่าได้ประสงค์เอาเป็นอารมณ์ ในกาลเมื่อจำเริญมรณานุสสติกัมมัฏฐานในที่นี้มีคำฏีกาจารย์อธิบายไว้ว่า สมุทเฉทมรณะนั้นมีโดยน้อยมิได้มีโดยมาก ฝ่ายขณิกมรณะนั้นเล่าก็เกิด ๆ ดับ ๆ เนือง ๆ ไปนัก และสมมติมรณะ คือทองแดงตาย คือเหล็กตายเป็นต้นนั้นเล่าก็มิได้เป็นที่เกิดแห่งธรรมสังเวช เหตุฉะนี้ มรณะทั้ง ๓ ประการ จึงมิควรที่พระโยคาพจรจะเอาเป็นอารมณ์

    ในกาลเมื่อจำเริญมรณนุสสติกัมมัฏฐานและมรณะควรที่จะเอาเป็นอารมณ์นั้น พระอรรถกถาจารย์ประสงค์เอาแต่มรณะทั้ง ๒ คือกาลมรณะประการ ๑ อกาลมรณะประการ ๑ กาลมรณะนั้น คือตายด้วยสิ้นบุญตายด้วยสิ้นอายุ แท้จริงสัตว์ทั้งปวงอันมีกุศลเป็นชนกกรรมนำปฏิสนธิในที่อันเป็นสุขนั้น ถ้ากุศลซึ่งอุปถัมภ์อุดหนุนค้ำชูนั้นบ่มิได้ตลอดไป แม้ว่าปัจจัยคืออาหารอันจะสืบอายุนั้นยังมีบริบูรณ์อยู่ก็ดี ก็บ่มิอาจวัฒนาการจำเริญอยู่ได้ ย่อมถึงซึ่งจุติจากสมบัติพัสถานเคลื่อนคลาดจากที่อันเป็นสุข ขาดชีวิตตินทรีย์เพราะเหตุหากุศลจะอุปถัมภ์สืบต่อไปบ่มิได้ มรณะเห็นปานดังนี้ได้ชื่อว่าบุญญักขยมรณะ ว่าตายด้วยสิ้นบุญมีคำฏีกาจารย์ว่าบุญญักขยมรณะตายด้วยสิ้นบุญนั้น เป็นภพอันบริบูรณ์ด้วยสมบัติพัสถาน

    สเจ ภววิปตฺติยํ ิโต ถ้าสัตว์นั้นบังเกิดในวิปัตติภพ เป็นภพอันกอปรด้วยความทุกข์ความยาก ทนทุกขเวทนาตราบเท่าสิ้นบาปสิ้นกรรมแห่งตนแล้ว และกระทำกาลกิริยาวิปัตติภพนั้น ได้ชื่อว่าปาปักขยมรณะว่าตายด้วยสิ้นบาป และสัตว์อันตายด้วยสิ้นอายุนั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่าสัตว์อันหาคติสมบัติ กาลสมบัติ อาหารสมบัติบ่มิได้ คือบ่มิได้มีคติบริบูรณ์ ดุจเทพยดาอันบริบูรณ์ด้วยกาล บ่มิได้มีอาหารบริบูรณ์ ดุจชาวอุตตรกุรุทวีปอันบริบูรณ์ด้วยอาหาร และมีอายุอันน้อยประมาณได้ร้อยปี ดุจดังอายุมนุษย์หญิงชายในกาลทุกวันนี้ก็ดี สัตว์อันบริบูรณ์ด้วยกาลและอาหาร และอายุยืนนานมากกว่าแสนปีนั้นก็ดี แต่บรรดาสัตว์ที่สถาพรอยู่ตราบเท่าสิ้นอายุ แล้วกระทำกาลกิริยานั้นชื่อว่าอายุกขยมรณะสิ้นด้วยกัน พึงสันนิษฐานว่า สัตว์ที่สิ้นบุญสิ้นบาปสิ้นอายุแล้ว ละทำกาลกิริยานั้น ได้ชื่อว่ากาลมรณะตายในกาลอันพึงตาย

    อกาลมรณํ กมฺมุปจเฉทกวเสน และสัตว์ทั้งปลายซึ่งกระทำกาลกิริยานั้น ด้วยสามารถอุปัจเฉทกรรมนั้นได้ชื่อว่าอกาลมรณะตายในกาลอันบ่มิควรจะพึงตาย แท้จริงสัตว์ทั้งหลายซึ่งมีขันธสันดานอันขาดด้วยอำนาจอุปัจเฉทกกรรม อันมีกำลังสามารถกระทำให้เคลื่อนคลาดจากที่ในขณะดุจดังว่าพระยาทุสิมารราช และพระยากลาพุราชเป็นต้น อันประทุษร้ายแก่ขันติวาทีดาบส และแผ่นดินให้ช่องลงไปไหม้ในอเวจีนรกนั้น ได้ชื่อว่ากาลมรณะตายในกาลอันมิควรจะพึงตาย ใช่แต่เท่านั้นสัตว์ทั้งหลายอันโบราณกรรมติดตามมาทัน และมีผู้ฆ่ามาฟันด้วยเครื่องสาตราวุธ กระทำกาลกิริยาด้วยความเพียรแห่งบุคคลอื่น และอกุศลดลจิตให้ประหารชีวิตแห่งตนเสียด้วยตนเองก็ดี อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าอกาลมรณะ

    มรณะทั้ง ๒ ประการ คือกาลมรณะแลอกาลมรณะ อันมีนัยดังพรรณนามานี้ สมควรที่พระโยคาพจรจะถือเป็นอารมณ์ในกาลเมื่อจำเริญมรณานุสสติกัมมัฏฐาน ตํ ภาเวตุกาเมน พระโยคาพจรผู้ปรารถนาจะจำเริญมรณานุสสติกัมฐานนั้น พึงเข้าไปในที่สงัดอยู่แต่ผู้ดียวนั้นแล้วพึงกระทำบริกรรม มรณํ ภวิสฺสติ ชีวิตินฺทฺรริยํ อุปจฺฉิสฺสติ ความตายจักมีชีวิตินทรีย์จักขาดดังนี้ ถ้ามิดังนั้นพึงกระทำบริกรรมว่า มรณํ มรณํ ความตาย ๆ ดังนี้

    เมื่อกระทำซึ่งบริกรรมนั้นพึงมนสิการกำหนดกฏหมายด้วยอุบาย อย่าได้กระทำมนสิการด้วยหาอุบายมิได้ มีคำฎีกาจารย์วิสัชนาว่า ซึ่งให้กระทำมนสิการกำหนดกฏหมายด้วยอุบาย คือให้พิจารณาสติและปัญญาพิจารณาให้เห็นธรรมสังเวชว่า ความตายนั้นจะมีแก่เราเป็นแท้ ชีวิตแห่งอาตมานี้จะขาดเป็นแท้ พึงพิจารณาสังเวชฉะนี้ อย่าได้บริกรรมเพ้อไปแต่ปาก บ่มิได้ปลงปัญญาพิจารณาให้เห็นสังเวชในความตายนั้น ได้ชื่อว่ากระทำมนสิการหาอุบายมิได้ อโยนิโส ปวตฺตยโต หิ แท้จริงพระโยคาพจรผู้ประพฤติซึ่งกิจมาสิการด้วยหาอุบายมิได้นั้น

    ขณะเมื่อระลึกขึ้นมาถึงความตายแห่งบุคคลอันเป็นที่รักก็บังเกิดความโศกความเศร้า อุปมาดุจบุคคลอันระลึกถึงมารดาบังเกิดเกล้า แลบุตรอันเป็นที่รักพึงอนิจกรรมไปบังเกิดความโศกเศร้า ขณะเมื่อระลึกถึงความตายของชนที่ตนไม่รักใคร่เกลียดชัง ก็จะเกิดความปราโปรทย์ ( เช่นชนที่มีเวรต่อกันระลึกถึงความตายแห่งกันและกันฉะนั้น) ขณะเมื่อระลึกถึงความตายแห่งบุคคลอันตนบ่มิได้รักบ่มิได้ชังนั้น ก็จักเพิกเฉยบ่มิได้มีความสังเวช ดุชฉวฑาหิกชนสัปเหร่ออันเห็นซากกเฬวระและหาสังเวชมิได้ ถ้าระลึกถึงความตายเเห่งตน ก็มักเกิดความสะดุ้งตกใจดุจบุคคลภิรุกชาติสันดานขลาด เห็นนายเพชฌฆาตถือดาบเงือดเงื้ออยู่และความสดุ้งตกใจ นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่าการที่จะเศร้าโศก จะบังเกิดความยินดีปรีดา จะหาสังเวชบ่มิได้ จะบังเกิดความสดุ้งตกใจทั้งนี้ก็อาศัยแก่ปราศจากสติและปัญญาปราศจากสังเวช

    กระทำมนสิการด้วยหาอุบายบ่มิได้ บริกรรมว่า มรณัง ๆ นั้นบ่นเพ้อไปแต่ปาก บ่มิได้เอาสติและปัญญาประกอบเข้าเห็นธรรมสังเวชจริง ๆ จึงเป็นดังนั้น ถ้ากระทำมนสิการด้วยอุบายปลงสติปัญญาลงได้ มีธรรมสังเวชอยู่ในสันดานแล้วไหนเลยจะเป็นดังนั้น ก็จะเป็นคุณวุฒิอันล้ำเลิศประเสริญคือระลึกถึงความตายแห่งบุคคลอันเป็นที่รักก็จะมิได้เศร้ามิได้โศก ระลึกถึงความตายแห่งบุคคลอันเป็นเวรก็จะมิได้ชื่นชมโสมนัส ระลึกถึงความตายแห่งบุคคลที่ตนไม่รักไม่ชังก็จะมิได้เพิกเฉย จะบังเกิดความสังเวชบริบูรณ์ในสันดานระลึกขึ้นมาถึงความตายแห่งตนเล่า ก็ปราศจากความสดุ้งตกใจ อันกระทำมนสิการด้วยอุบายนี้ มีคุณมากกว่า มากดุจกล่าวมานี้

    เหตุดังนั้นพระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติกัมมัฏฐาน พึงพิจารณาถึงความตายแห่งสัตว์ทั้งหลายอันโจรฆ่าให้ตายก็ดี ตายเองก็ดี แต่บรรดาที่ทอดทิ้งกลิ้งอยู่ในที่ทั้งปวง เป็นต้นว่าป่าชัฏและป่าช้าที่ตนได้เห็นแต่ก่อนนั้น พึงพิจารณาเป็นอารมณ์ในที่จำเริญมรณานุสสติ สติญฺจ ปฐฺญญฺจ สํเวคญฺจ โยเชตฺวา พึงมนสิการด้วยอุบายอันยังสติและปัญญา และธรรมสังเวชให้บังเกิดแล้วพึงกระทำซึ่งบริกรรมด้วยนัยเป็นต้นว่า มรณํ ภวิสฺสติ ชีวิตินฺทฺริยํ อุปจฺฉิสฺสติ โดยนัยที่สำแดงมาแต่หนหลัง เอวํ ปวตฺตยโต เยว เมื่อพระโยคาพจรประพฤติโดยวิถีอันพระอรรถกถาจารย์เจ้าสำเเดงไว้ฉะนี้

    บางจำพวกที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้านั้น ก็จะข่มเสียได้ซึ่งนิวรณธรรมมีกามฉันทะเป็นต้น จะมีมรณารมณ์ตั้งมั่น พระกัมมัฏฐานจะถึงซึ่งอุปจารสมาธิไม่ลำบากยากใจ อาศัยด้วยปัญญินทรีย์อันแก่กล้า เอตฺตาวตา น โหติ พระโยคาพจรที่มีปัญญามิได้แก่กล้ามิได้สำเร็จกิจแห่งพระกัมมัฏฐานด้วยวิธีประมาณเท่านี้ และปรารถนาจะกระทำเพียรในมรณานุสสติกัมมัฏฐานต่อไป ก็พึงระลึกถึงความตายโดยอาการ ๘ ประการคือ วธกปัจจุปปัฏฐานประการ ๑ สัมปัตติวิปัตติประการ ๑ อุปสังหรณะประการ ๑ กายพหุสาธารณะประการ ๑ อายุทุพพละประการ ๑ อนิมิตะประการ ๑ อัทธานปริเฉทะประการ ๑ ขณปริตตะประการ ๑ รวมเป็น ๘ ประการด้วยกันอาการเป็นปฐมคือวธกปัจจุปปัฏฐานนั้นมีอรรถาธิบายว่า ให้ระลึกถึงความตายให้เห็นปรากฏ ดุจนายเพชฌฆาตมีมือถือดาบอันคมกล้า

    ปุจฉาว่า เหตุไฉนให้ระลึกเช่นนี้ วิสัชนาว่า ให้ระลึกนี้ด้วยสามารถจะให้เห็นว่าเกิดกับตายนั้นมาพร้อมกัน สัตว์ทั้งหลายอันเกิดมาในโลกนี้ย่อมมีชรา แลขณิกมรณะนั้นติดตามตัวมาทุกรูป ทุกนาม ยถา หิ อหิฉตฺตกํ มกุลํ อุปมาดุจดังเห็ดอันตูม อันพึงขึ้นพื้นนดิน แลพาเอาฝุ่นติดยอดขึ้นไปนั้น ปฏิสนฺธิจิตฺตํ อุปฺปาทานนฺตรํ แท้จริงสัตว์ทั้งหลายอันบังเกิด ถือเอาปฏิสนธิกำเนิดในโลกนี้จำเดิมแต่ปฏิสนธิแล้วในลำดับอุปปาทขณะแห่งปฏิสนธิจิตนั้น ก็ถึงซึ่งความชราและมรณะ ๆ นั้นติดตามมากับตน

    ปพฺพตสิขรโต ปติถสิลา วิย เปรียบประดุจก้อนศิลาอันหักตกลงมาจากชะง่อนแห่งภูเขา และพาเอาต้นไม้และหญ้าที่เนื่องด้วยตนนั้นลงมาด้วยกัน มรณํปิ สหชาติยา อาคตํ เกิดกับตายนี้มาพร้อมกัน เหตุว่าความเกิดมีแล้ว ความตายก็มีด้วยบุคคลที่เกิดมานั้นย่อมจะถึงซึ่งความตายเป็นแท้ จำเดิมแต่บังเกิดขึ้นแล้ว ก็บ่ายหน้าสู่ความตาย ดุจพระอาทิตย์อันอุทัยขึ้นมาแล้วและบ่ายหน้าสู่อัสดงคต มิได้ถอยหลังมาจากวิถีที่ดำเนินไปนั้น ถ้ามิดังนั้นอุปมาดุจดังว่านทีธารอันไหลย้อยลงมาแต่ซอกแห่งภูเขา มีกระแสอันเชี่ยว ย่อมพัดไปซึ่งใบไม้และต้นหญ้าแต่บรรดาที่ตกลงในกระแสนั้น ไหลหลั่งถั่งลงไปหน้าเดียว ที่จะไหลทวนกระแสขึ้นไปมาตรว่าหน่อยหนึ่งหาบ่มิได้อันนี้แล มีฉันใด อายุแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ลาวงไป ๆ มิได้กลับหลัง ตั้งหน้าเฉพาะสู่ความตาย

    มีอุปไมยดังนั้นเหตุดังนั้นสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธฎีกาโปรดประทานพระธรรมเทศนาไว้ว่า ยเมกรตฺตึ ปมํ คพฺเภว สติมาณโว อพฺภฏฺิโต วาสยาติ อธิบายในบาทพระคาถานี้ว่า สัตว์อันอยู่ในครรภ์มารดานั้น จำเดิมแต่ขณะตั้งปฏิสนธิในราตรีนั้น แล้วก็ตั้งแต่แปรไป ๆ เดิมเกิดเป็นกลละแล้วก็แปรไปเป็นอัมพุทะ ตั้งแต่แปรไป ๆ ตราบเท่าถึงมรณภาพเป็นที่สุด จะเที่ยงจะแท้นั้นหามิได้ เปรียบประดุจว่าหมอก อันตั้งขึ้นมาแล้วก็ถึงภาวะเคลื่อนไป ๆ ตราบเท่าสูญหาย มีคำฎีกาจารย์วิสัชนาว่า ซึ่งพระพุทธฎีกาตรัสว่า รตฺตึ ปมํ ว่าสัตว์ตั้งปฏิสนธิในเพลาราตรีหนึ่งนั้น ว่าโดยเยภุยยนัย อันว่าธรรมดาสัตว์ที่ถือปฏิสนธิในเพลาราตรีนั้น มีโดยมากที่จะถือเอาปฏิสนธิในเพลากลางวันนั้นมีโดยน้อย เหตุดังนั้นนักปราชย์พึงสันนิฐานว่า รัตติศัพท์นั้นพระพุทธเจ้าเทศนาโดยเยภุยยนัย อายุแห่งสัตว์ที่ล่วงไป ๆ โดยนัยดังพรรณนาฉะนี้

    พระอรรถกถาจารย์เจ้าอุปมาไว้ว่า เหมือนด้วยอาการอันสิ้นไปแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ต้องแสงพระสุริยเทพบุตรในคิมหันตฤดูแล้ง และถึงซึ่งสภาวะเหือดแห้งสิ้นไปทุกวันทุกเวลา ถ้ามิฉะนั้นดุจไม้มีขั่วอันอาโปธาตุมิได้ซาบถึงและหล่นลงมาจากต้น ณ เพลาเช้าธรรมดาผลไม้อันมีพรรณต่าง ๆ นั้นเมื่อรสแผ่นดินเอิบอาบซาบขึ้นไปบ่มิถึง ก็มีขั่วอันเหี่ยวแห้งตกลงจากต้นในเพลาเช้าแลมีฉันใดรูปกาย แห่งสัตว์ทั้งปวงนี้มีรสอาหารซาบไปบ่มิทั่วก็ถึงซึ่งคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งขาดจากชีวิตินรีย์มีอุปไมยดังนั้น ถ้ามิดังนั้นรูปธรรมนามธรรมทั้งปวงนี้ เมื่อชราแลพยาธิและมรณะเบียดเบียนแล้ว ก็ถึงซึ่งคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งเจ็บป่วยลำบากเวทนา มีอัสสาสะปัสสาสะอันขาดเป็นอสุภสาธารณ์เปื่อยเน่าทิ้งทอดกระจัดกระจายเรี่ยราดแยู่เหนือแผ่นปฐพี

    มีอุปไมยดังนั้นมิฉะนั้นเปรียบเหมือนภาชนาดินอันบุคคลประหารด้วยไม้ค้อน และแตกกระจัดกระจาย ถ้ามิฉะนั้น สุริยรํสิสมฺผุฏานํ อุสฺ สาววินฺทูนํ วิทฺธํสนํ ดุจดังว่าหยาดน้ำค้าง อันพลันที่จะเหือดแห้งได้ด้วยแสงสุริยเทพบุตร เอวํ วธกปจฺจุปฺปฏฺานโต มรณํ อนุสฺสริตพฺพํ พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติกรรมฐาน พึงระลึกถึงความตายโดยปัจจุปัฏฐานดุจนัยที่พรรณามานี้ ในอาการเป็นคำรบ ๒ ซึ่งว่าให้พระโยคาพจรระลึกถึงความตายโดยสมบัติวิบัตินั้น คือให้ระลึกให้เห็นว่าสัตว์ทั้งปวงเกิดมานี้บริบูรณ์แล้วก็มีความฉิบหายเป็นที่สุด ซึ่งจะงดงามจะดีอยู่ไม่นั้นแต่เมื่อวิบัติยังมิได้ครอบงำ ถ้าความวิบัติมาครอบงำแล้ว ก็สารพัดที่จะเสียสิ้นทุกสิ่งทุกประการ ที่งามนั้นก็ปราศจากงาม ที่ดีนั้นก็กลับเป็นชั่ว มีความสุขแล้วก็จะมีความทุกข์มาถึงเล่า หาโศกเศร้าบ่มิได้แล้วก็ถึงซึ่งเศร้าโศกเล่า

    แต่พระเจ้าธรรมาโศกราชบพิตร ผู้มีบุญญานุภาพได้เสวยมไหสุริยสมบัติพร้อมเพรียงไปด้วยความสุข ถึงซึ่งอิสระภาพเป็นใหญ่ในภูมิมณฑลสกลชมภูทวีป บริจากทานในพระศาสนาคิดเป็นทรัพย์นับได้ร้อยโกฏิมีอาณาจักรแผ่ไปใต้ปถพี ๑ โยชน์ เบื้องบนอาการ ๑ โยชน์ กอปรด้วยสมบัติสุขถึงเพียงนี้ เมื่อมรณะมาถึงก็มีความเศร้าโศกเฉพาะพักตร์สู่ความตาย ควรจะสังเวชเวทนา สพฺโพ เยว โลกสนฺนิวาโส ชาติยา อนุโคต ชื่อว่าโลกสันนิวาสสัตว์ทั้งปวงนี้ ชาติทุกข์ย่อมติดตามล่อลวงให้ลุ่มหลง ชรานั้นรัดตรึงตราให้ถึงความวิปริตต่าง ๆ พยาธิทุกข์นั้นติดตามย่ำยี ให้ป่วยไข้ลำบากเวทนาเจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย สุมรเณ อพฺภาหโต มรณทุกข์ครอบงำทำลายล้างชีวิตอินทรีย์ให้เสื่อมสูญพญามัจจุราชนี้จะได้ละเว้นบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้นหามิได้ ย่อมครอบงำย่ำยีสรรพสัตว์ทั้งปวงทั่วไปทุกรูปทุกนาม มิได้เลือกว่ากษัตริย์ว่าพราหมณ์ว่าพ่อค้าชาวนา จัณฑาลคนขนหยากเยื่อ

    อุปมาดุจเขาอันมีศิลาเป็นแท่งหนึ่งแท่งเดียวเบื้องบนจดจนนภากาศ กลิ้งมาแล้วแลเวียนไปในทิศทั้ง ๔ บดเสียซึ่งสรรพสัตว์วัตถุทั้งปวง บ่มิได้เลือกสัตว์แลสังขารนั้น อันจะต่อยุทธพญามัจจุราชนั้นใช่วิสัยที่จะต่อยุทธได้ เพราะเหตุว่ามรณะสงความนั้นไม่มีที่ตั้งแห่งพลช้างพลม้าพลราชรถพลเดินเท้าไม่มีที่ตั้งค่ายคูประตูหอรบทั้งปวง จะมีพลพาหนะมากก็มากเสียเปล่า ซึ่งจะเอามาต่อยุทธด้วยมรณะสงความนั้นเอามาบ่มิได้ถึงแม้จะมีแก้วแหวนเงินทองมากสักเท่าใด ๆ ก็ดี จะรู้เวทมนต์ศาสตราคมกล้าหาญประการใด ๆ ก็ดี ก็มิอาจเอามาต่อยุทธด้วยพญามัจจุราชได้

    พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติภาวนานั้น ถึงระลึกถึงความตายโดยสมบัติวิบัติดุจพรรณนามาฉะนี้ อุปสํหรณโต แลอาการเป็นคำรบ ๓ ที่ว่าให้พระโยคาพจรระลึกถึงความตายโดยอุปสังหรณะนั้น คือให้ระลึกถึงความตายแห่งผู้อื่นแล้วนำเอามาใส่ตน เมื่อระลึกถึงความตายแห่งบุคคลผู้อื่นพึงระลึกโดยอการ ๗ ประการ ยสมหคฺคโต คือให้ระลึกโดยภาวนามากไปด้วยยศประการ ๑ ปุญฺญมหคฺคโต ให้ระลึกโดยภาวนามากไปด้วยบุญประการ ๑ ถามมหคฺคโต ให้ระลึกโดยภาวะนามากไปด้วยกำลังประการ ๑ อิทฺธิมหคฺคโต ให้ระลึกโดยภาวะนามากไปด้วยฤทิธิ์ประการ ๑ ปจฺเจกพุทฺธโต ให้ระลึกโดยภาวะพระปัจเจกโพธิ์ ๑ สมฺมาสมฺพุทฺธโต ให้ระลึกโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ เป็น ๗ ประการด้วยกัน

    ซึ่งว่าให้ระลึกโดยภาวะมากไปด้วยยศนั้น คือให้ระลึกว่าพญามัจจุราชนี้ จะได้รังเกียจเกรงใจว่าท่านผู้นี้เป็นผู้ดีมีบริวารยศมากอย่าเบียดเบียนท่านเลย จะได้เกรงใจอยู่ในฉะนี้หาบ่มิได้ แต่พระยามหาสมมติราช แลพระยามันธาตุราช พระยามหาสุทัพสนะบรมจักรพัตราธิราชเป็นต้นเป็นประธาน ซึ่งมีอิสริยยศแลบริวารยศเป็นอันมากบริบูรณ์ไปด้วยพลพาหนะแลทรัพย์สมบัติอันโอฬารริกภาพนั้นยังตกอยู่ในอำนาจแห่งพญามัจจุราชสิ้นทั้งปวง กิมงฺคํ ปน ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงตัวเรานี้เล่า อันจะพ้นอำนาจแห่งพญามัจจุราชนั้นหามิได้ เอวํ ยสมหคฺคโต พระโยคาพจร พึงระลึกถึงความตายโดยภาวะมากไปด้วยยศดุจพรรณนามาฉะนี้

    ปญฺญมหคฺคโต ซึ่งว่าให้ระลึกโดยภาวะมากไปด้วยบุญนั้น คือให้ระลึกตรึกตรองไปถึงบุคคลเป็นต้นว่า โชติกเศรษฐี แลชฏิลเศรษฐี แลอุคคิยเศรษฐี แลเมณฑกเศรษฐี แลปุณณกเศรษฐี แต่บรรดาที่เป็นคนมีบุญญาภิสมภารเป็นมันมากนั้น ว่าท่านโชติกเศรษฐีนั้นมีปรางค์ปราสาทแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพื้นได้ ๗ ชั้น มีกำแพงแวดล้อมนั้นก็ ๗ ชั้น แต่ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วก็มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดขึ้นทุก ๆ มุมแห่งกำแพง มีขุมทองอันเกิดขึ้นในมุมทั้ง ๔ แห่งปรางค์ปราสาท ขุมหนึ่งปากกว้าง ๑ โยชน์ ขุมหนึ่งปากกว่างกึ่งโยชน์ ขุมหนึ่งปากกว้าง ๓๐๐ เส้น ขุมหนึ่งปากกว้าง ๑๐๐ เส้น สมบัติพัสถานของท่านนั้นโอฬารริกภาพ มีนางมาแต่อุตตกุรุทวีปเป็นอัครภรรยา แลชฏิลเศรษฐีนั้นเล่ามีภูเขาทองขึ้นข้างหลังเรือนจะรื้อจะขนสักเท่าใด ๆ ก็ไม่สิ้นไม้สุด

    เมณฑกะเศรษฐีนั้นเล่าก็มีแพะทองเกิดขึ้นด้วยบุญเต็มไปในที่ได้ ๘ กรีส ในท้องแพะนั้นเต็มไปด้วยสิ่งสรรพข้าวของทั้วปวงจะปรารถนาวัตถุอันใดชักลูกข่างอันกระทำด้วยเบญจพรรณ ซึ่งปิดปากแพะนั้นออกแล้ววัตถุนั้นก็ไหลหลั่งออกมาจากปากแพะ ได้สำเร็จความปรารถนาทุกสิ่งทุกประการ แลปุณณกเศรษฐีนั้นเล่า เดิมเมื่อเป็นลูกจ้างอยู่นั้นออกไปไถนา ขี้ไถก็กลับกลายเป็นทอง ครั้นได้เป็นเศรษฐีเมื่อพื้นที่จะกระทำเรือนอยู่นั้นก็ได้ขุมทรัพย์เต็มไปในที่จักหวัด บ้านบุคคลผู้มีบุญญาภิสมภารมากมีทรัพย์มากถึงเพียงนี้แล้ว ก็มิอาจเอาทรัพย์มาไถ่ถอนตนให้พ้นจากอำนาจพญามัจจุราชได้ อญฺเญ จ โลกเก มหาปุญฺญาติ วิสฺสุตา ถึงบุคคลจน ๆ ที่ปรากฏว่ามีบุญมากในโลกนี้แต่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพ้นจากอำจาจแห่งพญามัจจุราชนั้นหามิได้ แต่ล้วนถึงซึ่งมรณภาพดับสูญล่วง ๆ ไปสิ้นทั้งปวง มาทิเสสุกถาวกา ก็ป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลเห็นปานดังตัวเรานี้ดังฤๅจะพ้นอำนาจแห่งพญามัจจุราช

    พึงระลึกไปโดยภาวะมากไปด้วยบุญอันนี้ ถามมหคฺคโต ซึ่งว่าให้ระลึกไปโดยภาวะมากไปด้วยกำลังนั้น คือให้ระลึกถึงบุคคลที่มีกำลังมากเป็นต้นว่า พระยาวาสุเทพ พระยาพลเทพ พระยาภิมเสน พระยานุธิฏฐิล พระยาหนุร พระยามหามล พระยาเหล่านี้แต่ละพระองค์ ๆ นั้นทรงพลกำลังมาก กำลังนายขมังธนู ๕๐๐ คนจึงเท่าพระยาภิมเสนพระองค์หนึ่ง บุคคลอันมากำลังมากสามารถปรากฏในโลกสันนิวาสเห็นปานดังนี้ ก็มิอาจต่อยุทธด้วยพญามัจจุราชได้ กถาวกา ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงตัวเรานี้เล่าดังฤๅแลจะต่อสู้ด้วยพญามัจจุราชนั้นได้ พึงระลึกโดยภาวะมากไปด้วยกำลังดังพรรณนามาฉะนี้

    อิทฺธิมหคฺคโต ซึ่งว่าให้ระลึกไปโดยภาวะมากไปด้วยฤทธิ์นั้น พึงให้ระลึกว่าบุคคลอันเกิดมาในโลกนี้ ถึงจะมีฤทธิ์ศักดานุภาพเป็นประการใด ๆ ก็ดี ก็มิอาจทำสงครามแก่พญามัจจุราชได้ แต่พระมหาโมคคัลลานเถระเจ้าผู้เป็นทุติยสาวก แห่งสมเด็จพระมหากุณากอปรด้วยฤทธาศักดานุภาพ อันล้ำเลิศประเสริฐได้ที่เอตทัคคะฝ่ายข้างฤทธิ์ แต่บรรดาเฉพาะสาวกในพระศาสนานี้ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จะมีฤทธิ์เหมือนพระโมคคัลลานะหาบ่มิได้ พระโมคคัลลานะนี้ยังเวชยันตปราสาทให้กัมปนาทหวาดหวั่นไหวด้วยมาตรว่า สะกิดด้วยนิ้วแม่เท้า อนึ่งเมื่อทรมานพญานันโทปนันทนาคราชนั้นเล่า ฤทธิ์แห่งพระโมคคัลลานเถรเจ้าก็ปรากฏว่าเลิศรวดเร็วในกิจที่จะเข้าสู่สมบัติไม่มีใครเสมอ มีฤทธิ์ถึงเพียงนี้แล้ว ยังว่าเข้าไปสู่ปากแห่งพญามัจจุราชอันพิลึกกับทั้งฤทธิ์ทั้งเดช ดุจดังว่าเนื้ออันเข้าไปสู่ปากแห่งพญาไกรสรราชสีห์ ก็ตัวอาตมานี้ดังฤๅจะพ้นพญามัจจุราชเล่า พึงระลึกไปโดยภาวะมากไปด้วยฤทธิ์ดังนี้

    ปญฺญมหคฺคโต ซึ่งว่าให้ระลึกโดยภาวะมากไปด้วยปัญญานั้นคือให้ระลึกด้วยเห็นว่าสัตว์ทั้งหลาย แต่บรรดาที่เวียนว่ายอยู่ในกระแสชลาโลกโอฆสาครนี้ ถึงจะมีปัญญาเฉลี่ยวฉลาดเป็นประการใด ๆ ก็ดี ก็บ่มิอาจจะคิดเลศอุบายให้พ้นจากอำนาจแห่งพญามัจจุราชนั้นได้ จะว่าไปไยถึงผู้อื่น ๆ นั้นเล่า แต่พระสารีบุตรเถรเจ้า ผู้เป็นอัครสาวกกอปรด้วยปัญญาอันกล้าหาญ แม้ฝนจะตกเต็มไปในห้องจักรวาลตกไปช้านานสิ้น ๑ กัปป์ หยาดเม็ดฝนแลละอองเม็ดฝนนั้นมีประมาณมากน้อยสักเท่าใด ๆ พระสารีบุตรเถรเจ้าก็อาจนับถ้วน แต่บรรดาสัตว์ในโลกนี้ ยกเสียแต่พระบรมโลกนาถเจ้าพระองค์เดียวแล้วนอกออกไปกว่านั้นแล้ว ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะมีปัญญามากเหมือนพระสารีบุตรนั้นหามิได้

    ปัญญาแห่งพระสารีบุตรเถรเจ้านั้น ถ้าจะเอามาแบ่งออกเป็น ๑๖ ยกเสีย ๑๕ เอาแต่ส่วน ๑ ส่วน ๑ นั้นเอามาแบ่งออกเป็น ๑๖ ยกเสีย ๑๕ เอาแต่ส่วน ๑ อีกเล่าแบ่งลงไป ๆ โดยในดังนี้ถึง ๑๖ ครั้งแล้ว จึงเอาปัญญาพระสารีบุตรที่แบ่งเสี้ยว ๑ เป็น ๑๖ ส่วนในที่สุดนั้นมาเปรียบด้วยปัญญาแห่งบัณฑิตทั้งชาติทั้งปวง ๆ ก็น้อยกว่าปัญญาแห่งพระสารีบุตรเสี้ยว ๑ นั้นอีก พระสารีบุตรได้เอตทัคคะฝ่ายข้างปัญญาถึงเพียงนี้แล้ว ก็มิอาจล่วงเสียอำนาจแห่งพญามัจจุราชนั้นได้ ยังถือซึ่งดับสูญเข้าสู่ปากแห่งพญามัจจุราชจะมิครอบงำเล่า พึงระลึกโดยภาวะมากไปด้วยปัญญาดังกล่าวนี้

    ปจฺเจกพุทฺธโต ซึ่งว่าให้ระลึกโดยพระปัจเจกโพธิ์นั้นคือให้ระลึกว่า แท้จริงพระปัจเจกโพธิ์ทั้งปวงนั้นแต่ละพระองค์ ๆ กอปรด้วยปัญญาพลแลวิริยพลอันเข้มแข็งย่ำยีเสียได้ ซึ่งข้าศึกคือกิเลสธรรมทั้งปวงแล้ว แลถึงซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาน ตรัสรู้ไญยธรรมเองหาอาจารย์จะสั่งสอนมิได้ พระปัจเจกโพธิ์เจ้าผู้ประเสริฐเห็นปานดังนี้ ก็มิอาจล่วงลัดจากอำนาจแห่งพญามัจจุราชนั้นได้ดังฤๅอาตมาจะพ้นจากอำนาจแห่งพญามัจจุราชนั้นเล่า พึงระลึกโดยประปัจเจกโพธิ์โดยนัยดังกล่าวมานี้

    สมฺมาสัมฺพุทฺธโต ซึ่งว่าให้ระลึกโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือให้ระลึกว่า ภควา อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ผู้ทรงพระสวัสดิโสภาคย์เป็นอันงาม พระองค์มีพระรูปโฉมพระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ ( ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) แลพระอสีตยนุพยัญชนะ ๘๐ ทัศประเสริฐด้วยพระธรรมกาย สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
     
  9. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ปารคโต ถึงซึ่งภาวะมากไปด้วยยศมากไปด้วยบุญ มากไปด้วยกำลังมากไปด้วยฤทธิ์มากไปด้วยบุญ หาผู้จะเปรียบเทียบปูนปานบ่มิได้ อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระพุทธองค์เจ้าหักเสียซึ่งกำแห่งสังสารจักร ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยอาการมิได้วิปริต หาผู้จะถึงสองมิได้ในไตรภพ สมเด็จพระพุทธองค์ผู้แสวงหาศีลหาทิคุณอันประเสริฐเลิศด้วยพระคุณศักดานุภาพ เป็นที่ไหว้สักการะบูชาแห่งสรรพเทพา มนุษย์ อินทรีย์ พรหม ยมยักษ์ อสูร คนธรรมพสุบรรณนาค แลสรรพสัตว์นิการทั้งหลายทั่วทั้งอนันตโลกธาตุไม่มีผู้จะเท่าเทียมเลย มัจจุราชยังมิได้กลัวได้เกรง ยิงมิได้มีความละอาย ยังครอบงำกระทำให้สูญเข้าสู่พระปรินิพพาน ดุจกองเพลิงอันใหญ่ส่องสว่างทั่วโลก ต้องท่อธารห่าฝนประลัยกัลป์ดับสูญ หาบัญญัติบ่มิได้ นีลชฺชํ วีตสารชฺชํ มรณธรรมนี้ ปราศจากความละอายปราศจากความกลัว มีแต่ย่ำยีจะครอบงำทั่วทุกสิ่งสรรพสัตว์ แต่องค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามรณธรรมยังมิได้ละได้เว้น ก็บุคคลเห็นปานดังตัวอาตมานี้ ดังฤๅมรณธรรมจะละเว้นเล่าก็จะครอบงำเหมือนกัน เอวํ สมฺมาสมฺพุทฺธโตสรณํ อนุสฺสริตพฺพํ พึงระลึกถึงมรณะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยประการฉะนี้

    อุปสํหรณํ อันจำแนกด้วยประการ ๗ ดุจนัยที่สำแดงมาฉะนั้น นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่ารวมเข้าเป็น ๑ จัดเป็นอาการคำรบ ๓ ในวิธีแห่งมรณานุสสิตภาวนา แลอาการเป็นคำรบ ๔ คือ กายพหุสาธารณ์นั้น ให้พระโยคาพจรระลึกว่า อยํ กาโย อันว่ารูปกายแห่งสรรพสัตว์เราท่านทั้งหลายนี้ เป็นสาธารณ์ทั่วไปแก่หมู่หนอนทั้ง ๘๐ ตระกูล ฉวินิสฺสิตาปาณา หนอนที่อาศัยอยู่ในผิวเนื้อก็ฟอนกัดกินผิวเนื้อ ที่อาศัยอยู่ในหนังก็ฟอนกัดกินหนัง ที่อาศัยอยู่เนื้อล่ำก็ฟอนกัดกินเนื้อล่ำ ที่อยู่ในเอ็นก็กัดกินเอ็น ที่อยู่ในอัฐิก็กัดอัฐิ ที่อยู่ในสมองก็กัดสมอง ชายนฺติ ขียนฺติ หนอนทั้งหลายนั้นเกิดในกาย แก่ในกาย ตายในกาย กระทำอุจจาระ ปัสสาวะในกาย กายแห่งเราท่านทั้งปวงนี้เป็นเครื่องประสูติแห่งหมู่หนอน เป็นศาลาไข้ เจ็บเป็นป่าช้าเป็นเว็จกุฏิเป็นร่างกาย อุจจาระปัสสาวะแห่งหมู่หนอนควรจะสังเวชเวทนา กายแห่งเราท่านทั้งหลายนี้บางทีหนอนกำเริบกล้าหนาขึ้น ฟอนกัดฟอนทึ้งเกินประมาณทนทานบ่มิได้ ตายเสียด้วยหนอนกำเริบก็มี ภายในกรัชชกายนี้ใช่จะมีแต่หมู่หนอนเบียดเบียนนั้นหามิได้

    โรคที่เบียดเบียนในการนี้เล่าก็มีมากกว่า อเนกสตานํ ถ้าคณนานั้นมากกว่าร้อยจำพวกอีก ไหนเหลือบยุงเป็นต้น จะเบียดเบียนในภายนอกนั้น ร่ายกายที่เป็นตกต้องแห่งอุปัทวะต่าง ๆ ลกฺขิ อิว อุปมาดุจป้อมเป้าหมายอันบุคคลตั้งไว้หนทาง ๔ แพร่ง เป็นที่ถูกต้องแห่งหอกใหญ่แลหอกซัดไม้ค้อนก้อนศิลาแลธนูหน้าไม้ปีนไฟทั้งปวง เหตุดังนั้นสมเด็จพระมหากรุณา จึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาไว้ว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขฺ ทิวเส นิกฺขนฺเต รตฺติยา ปตีหิ ตาย อิติปฏิสญฺจิกฺขิ ภิกษุอันมีมรณสติในบวรพุทธศาสนานี้ในเมื่อเพลาอันล่วงไปแล้วแลย่างเข้าราตรีนั้น ก็มาพิจารณาถึงมรณภาพแห่งตนว่า พหุกา โข เม ปจฺตยา มรณสฺส เหตุที่จะให้อาตมาถึงแก่มรณะมากมายนักหนา อยู่ ๆ ฉะนี้ถ้ามีอสรพิษมาขบ มีแมลงป่องมาแทง มีตะขาบมากัด มรณะแลทุกขเวทนาก็จะมีแก่อาตมาเป็นอันตรายแก่อาตมา อาตมายืน ๆ อยู่ฉะนี้ฉวยพลาดล้มลงก็ดี จังหันที่อาตมาฉันในเพลาปุเรภัตรวันนี้ ถ้าเพลิงธาตุบ่มิอาจจะเผาให้ย่อยได้ก็ดี แต่เท่านี้มรณะก็จะมีแก่อาตมา จะเป็นอันตารยแก่อาตมา ปิตฺติ วา เม กุปฺเปยฺย มิฉะนั้นดีแห่งอาตมานี้กำเริบ เสมหะแห่งอาตมานี้กำเริบ ลมสันถวาตอันให้จุกเสียดเจ็บดังเชือกด้วยมีดนั้นกำเริบขึ้นก็ดี มรณะก็ดีจะมีแก่อาตมา

    ให้พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณนุสสติกรรมฐานให้ระลึกถึงความตายโดยกายพหุสาธารณ์โดยนัยที่พรรณนา นาม แลอาการคำรบ ๕ ที่ว่าให้พิจารณาซึ่งความตายโดยอายุทุพพลนั้นคือให้ระลึกเห็นว่าอายุแห่งสรรพสัตว์ทั้งปวงนี้หากำลังบ่มิได้ทุพพลภาพยิ่งนัก อสฺสาสุปุนิพฺพุธํ ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งปวงนี้เนื่องด้วยอัสสาสะปัสสาสะนั้น มิได้ประพฤติเสมออยู่ก็ยังมิได้ดับสูญก่อน ถ้าอัสสาสะปัสสาสะนั้นมิได้ประพฤติเสมอ คือหายใจออกไปแล้วลมนั้นขาดไปบ่มิได้กลับเข้าไปในกายก็ดี หายใจเข้าไปแล้วลมนั้นอัดอั้นมิได้กลับออกมาภายนอกก็ดี แต่เท่านี้ก็จะถึงซึ่งมรณะภาพความตาย อริยาบถทั้ง ๔ นี้เท่าเมื่อประพฤติเสมออยู่อายุนั้นก็ยังมิได้ดับสูญ ถ้าอิริยาบถนั้นประพฤติไม่เสมอ นั่งนักนอนนักยืนนักเที่ยวนัก ประพฤติอิริยาบถอันใดอันหนึ่งให้หนักนักแล้ว ก็เป็นเหตุที่จะให้อายุอายุสั้นพลันตาย

    เย็นแลร้อนนั้นเล่าถ้ามีอยู่เสมอ อายุก็ยังมิได้ดับสูญก่อน ถ้าเย็นแลร้อนนั้นประพฤติบ่มิได้เสมอเกินประมาณนักแล้ว อายุก็ขาดชีวิตินทรีย์ก็จะดับสูญ พลสมฺปนฺโนปิ แม้ว่าถึงบุคคลนั้นจะบริบูรณ์ด้วยกำลังก็ดี ถ้าธาตุอันใดอันหนึ่งกำเริบแล้วก็มีกายกระด้างเป็นโรคต่าง ๆ มีอติสารลมแดงเป็นต้น มีกายอันเหม็นเน่า เศร้าหมองร้อนกระวนกระวายทั่วสรรพางค์กาย บางทีมีที่ต่อกันเคลื่อนคลาดออกจากกัน ถึงซึ่งสิ้นชีวิตเพราธาตุกำเริบนั้นก็มี แลกวฬิงการาหารที่สรรพสัตว์ทั้งปวงบริโภคนี้เล่า ถ้าบริโภคพอควรอยู่แล้วอายุก็ตั้งอยู่ได้โดยปกติ ถ้าบริโภคเกินประมาณเพลิงธาตุสังหารให้ย่อยยับลงมิได้อายุก็ขาด อาหารนั้นถ้าไม่มีบริโภคเล่า ชีวิตินทรีย์นั้นก็ขาดบ่มิได้สืบต่อไปได้อาศัยเหตุฉะนี้ จึงว่าชีวิตินทรีย์เนื่องอยู่ด้วยอาหาร เนื่องไปด้วยอัสสาสะและอิริยาบถเย็นร้อน

    แลมหาภูตรูปทุพพลภาพหนักหมิ่นอยู่นักที่จะถึงมรณภาพ เอวํ อายุทุพพฺพลโต มรณํ อนุสฺสริตพฺพํ พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติกรรมฐานนั้น พึงระลึกถึงความตายโดยอายุทุพพลดุจนัยที่พรรณนามาฉะนี้ แลอาการเป็นคำรบ ๖ ซึ่งว่าให้ระลึกถึงความตายโดยอนิมิตนั้น คือให้ระลึกว่า สตฺตานํ หิ วีวิตํ กาโล จ เทหนิกฺเขปนํ คติสัตว์ทั้งหลายอันเกิดมาในโลกนี้ย่อมมีสภาวะกำหนดมิได้นั้น ๕ ประการ ชีวิตํ คือชีวิตนั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑ พยาธิ คือการป่วยไข้นั้นก็หากำหนดมิได้ประ ๑ กาเล เพลาอันมรณะนั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑ เทหนิกฺเขปนํ ที่อันจะทิ้งไว้ซึ่งกเฬวระนี้ก็หากำหนดมิได้ประการ ๑ คติซึ่งจะไปภพเบื้องหน้านั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑ เป็น ๕ ประการด้วยกัน เอตฺตเกเนวชีวิตพฺพํ อันจะกำหนดกฏหมายว่าข้าจะมีชีวิตอยู่เพียงนั้น ๆ ถ้ายังไม่ถึงเพียงนั้นข้ายังไม่ตายก่อน ต่อถึงเพียงนั้น ๆ ข้าถึงจะตาย จะกำหนดบ่มิได้

    กลฺลกาเลปิ สตฺตา มรนฺติ สัตว์ทั้งหลายอันบังเกิดในครรภ์มารดานั้น แต่พอตั้งขึ้นเป็นกลละฉิบหายไปก็มีเป็นอัมพุทะฉิบหายไปก็มี บางคาบเป็นเปสิชิ้นเนื้อฉิบหายไปก็มี บางคาบเป็นฆนะเป็นแท่งเข้า แล้วฉิบหายไปก็มี บางคาบเป็นปัญจสาขาแล้วฉิบหายไปก็มี อยู่ได้ ๑, ๒, ๓ เดือนฉิบหายไปก็มี อยู่ได้ ๔, ๕, ๑๐ เดือนแล้วตายไปก็มี สัตว์บางจำพวกก็ตายในกาลเมื่อคลอดจากมาตุคัพโภทร บางจำพวกคลอดจากมาตุคัพโภทรแล้วอยู่ครู่ ๑ พัก ๑ ตายไปก็มี อยู่ได้แต่วัน ๑, ๒, ๓ วันแล้วตายไปก็มี ที่อยู่ได้ ๔, ๕, ๑๐ วันตายไปก็มี อยู่ได้ ๑, ๒, ๓ เดือนแล้วตายไปก็มี ที่อยู่ได้ ๔, ๕, ๑๐ เดือนแล้วตายไปก็มี อยู่ได้ ๑, ๒, ๓ ปีแล้วตายไปก็มี ที่อยู่ได้ ๑๐, ๒๐, ๓๐ ปี แล้วตายไปก็มี อันจะกำหนดชีวิตนี้ก็กำหมดบ่มิได้ แลพยาธิป่วยไข้นั้นก็กำหนดบ่มิได้เหมือนกัน ซึ่งกำหนดว่าเป็นโรคแต่เพียงนั้น ๆ ข้ายังไม่ตายก่อน ต่อโรคหนักหนาลงเพียงนั้น ๆ ข้าจึงจะตายจะกำหนดฉะนี้บ่มิได้

    สัตว์บางจำพวกก็ตายด้วยจักษุโรคโสตโรค บางจำพวกก็ตายด้วยฆานโรค ชิวหาโรคกายโรคศีรษะโรคก็มีประการต่าง ๆ ตายด้วยโรคอันเป็นปิตตสมุฏฐานก็มี ตายด้วยโรคอันเป็นเสมหะสมุฏฐานก็มี วาตสมุฏฐานก็มี ที่จะกำหนดพยาธินี้กำหนดบ่มิได้ เพลาตายนั้นจะกำหนดก็บ่มิได้ สัตว์จำพวกนั้นตายในเวลาเช้า บางจำพวกนั้นตายในเวลาเที่ยงเวลาเย็น บางจำพวกตายในปฐมยาม มัชฌิมยามที่กำหนดเพลามรณะนั้นกำหนดบ่มิได้ แลที่ทอดทิ้งไว้ซึ่งกเฬวระซากอสุภนั้นก็กำหนดบ่มิได้ ซึ่งกำหนดว่าข้าจะตายที่นั้น ๆ ข้าจะตายในบ้านของข้าเรือนของข้าจะกำหนดฉะนี้ กำหนดบ่มิได้สัตว์บางจำพวกเกิดในบ้าน เมื่อจะตายออกไปตายนอกบ้าน บางจำพวกเกิดนอกบ้านเข้าไปตายในบ้าน บางจำพวกอยู่ในบ้านนี้เมืองนี้ ไปตายบ้านโน้นเมืองโน้น อยู่บ้านโน้นเมืองโน้น มาทิ้งกเฬวระไว้ที่บ้านนี้เมืองนี้ ที่อยู่ในน้ำขึ้นมาตายบนบกที่อยู่บนบกลงไปตายในน้ำ ซึ่งจะกำหนดที่ตายนั้นกำหนดบ่มิได้ คติที่จะไปในภพเบื้องหน้านั้นเล่าที่จะกำหนดว่า ข้าตายจากที่นี้แล้วจะไปบังเกิดในที่นั้น ๆ บ้านนั้นตำบลนั้น ก็กำหนดฉะนี้บ่มิได้

    เทวโลกโต จุตา มนุสฺเสสุ นิพฺพตฺตนฺติ สัตว์บางจำพวกนั้นจุติจากเทวโลก ลงมาเกิดในมนุษย์โลก บางจำพวกนั้นจุติจากมนุษย์โลกขึ้นไปบังเกิดในเทวโลก บางทีก็ไปบังเกิดในรูปภพตลอดอรูปภพ บางทีก็ไปบังเกิดในดิรัจฉานกำเนิด แลเปรตวิสัย แลอสุรกาย แลนรกตามกุศลกรรม แลอกุศลกรรมจะเวียนไปอยู่ในภพทั้ง ๕ มีอุปมาดังโคอันเทียมเข้าไปในแอกยนต์ ธรรมดาว่าโคอันเทียมเข้าในแอกยนต์นั้น ย่อมยกเท้าเดินหันเวียนวงไปโดยรอบแห่งเสาเกียดบ่มิได้ไปพ้นจากรอยดำเนินแห่งตน แลมีอุปมาฉันใด สัตว์ทั้งปวงก็เวียนวนอยู่ใตนคติทั้ง ๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ติรจฺฉานคติ มนุสฺสคติ เทวคติ มิได้ไปพ้นจากคติทั้ง ๕ มีอุปไมยดังนั้น

    พระโยคาพจรพึงพิจารณาถึงความมรณะโดยอนิมิต มีนัยดังพรรณนามานี้ แลอาการเป็นคำรบ ๗ ที่ว่าให้พระโยคาพจรระลึกถึงความตายโดยอัทธานปริจเฉทนั้น คือให้ระลึกว่า ทนุสฺสานํ ชีวิตสฺส นาม เอตรหิ ปริตฺโต อทฺธา ชีวิตแห่งมนุษย์ในกาลบัดนี้น้อยนัก ที่อายุยืนทีเดียวนั้นอยู่ได้มากกว่าร้อยปีบ้าง แต่เพียงร้อยปีบ้าง น้อยกว่าร้อยปีบ้าง ถึงร้อยปีนั้นมีโดยน้อย ก็มีแต่ถอยลงมาเหตุดังนั้นสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า จึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาว่า อปฺปมายู ํ มนุสฺสานํ หิเลยฺย นํ สุฏปริโส จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺลิ มจฺจุสฺส นาคโม ดูก่อนสงฆ์ทั้งปวง บุคคลผู้เป็นสัปบุรุษนั้น เมื่อรู้แจ้งว่าอายุแห่งมนุษย์นี้น้อย ก็พึงประพฤติดูหมิ่นซึ่งอายุแห่งตนอย่ามัวเมาด้วยอายุ อย่าถือว่าอายุนั้นยืน พึงอุตสาหะในสุจริตธรรมขวนขวายที่จะให้ได้สำเร็จพระนิพพานอันเป็นที่ระงับทุกข์ กระทำการให้เหมือนบุคคลที่มีศีรษะแห่งอาตมา พึงอุตสาหคิดธรรมสังเวชถึงความตาย เกิดมาเป็นสัตว์เป็นบุคคลแล้ว แลพญามัจจุราชจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลยเป็นอันขาด

    สมเด็จพระบรมโลกนาถโปรดประทานพระธรรมเทศนา มีอรรถาธิบายดังพรรรณนามาฉะนี้แล้ว พระพุทธองค์เจ้าจึงเทศนาอลังกตสูตรสืบต่อไป ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว อรโก นาม สตฺถา อโหสิ ดูกรภิกษุทั้งปวงแต่ก่อนโพ้นพระตถาคตเสวยพระชาติเป็นครูชื่อ อรกะ สำแดงธรรมแก่พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าอลังกตพราหมณ์ ในพระธรรมเทศนานั้น มีใจความว่าชีวิตแห่งสัตว์ทั้งปวง บ่มิได้อยู่นาน ดุจหยาดน้ำค้างอันติดอยู่ในปลายหญ้าแลเร็วที่จะเหือดแห้งไปด้วยแสงอาทิตย์ ถ้ามิดังนั้นดุจต่อมน้ำ อันเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งกระแสน้ำกระทบกันแลเร็วที่จะแตกจะทำลายไป ถ้ามิดังนั้นชีวิตแห่งสัตว์ทั้งปวงนี้เร็วที่จะดับสูญดุจรอยขีดน้ำ แลเร็วที่จะอันตรธาน ถ้ามิดังนั้นเปรียบประดุจแม่น้ำไหลลงมาแต่ธารแห่งภูเขา และมีกระแสอันเชี่ยวพัดเอาจอกแหนแลสิ่งสรรพวัตถุทั้งปวงไปเป็นเร็วพลัน

    ถ้ามิดังนั้น ดุจฟองเขฬะอันวุรุษผู้มีกำลังประมาลเข้าแล้ว แลบ้วนลงในที่สุดแห่งน้ำแลอันตรธานสาบสูญไปเป็นอันเร็วพลัน ถ้ามิดังนั้นดุจชิ้นเนื้ออันบุคคลทิ้งลงกระทะเหล็กอันเพลิงไหม้สิ้นวันหนึ่งยังค่ำแลเร็วที่จะเป็นฝุ่นเป็นเถ้าไป ความตายนี้มารออยู่ใกล้ ๆ คอยที่จะสังหารชีวิตสัตว์ ดุจพราหมณ์อันคอยอยู่ที่ลงฆ่าโคบูชายัญ ชีวิตํ มนุสฺสานํ ปริตฺตํ ชีวิตแห่งมนุษย์ในกาลทุกวันนี้น้อยนัก มากไปด้วยความทุกข์ความยาก มากไปด้วยความโศกความเศร้า สะอื้นอาลัยทั้งปวง บุคคลผู้เป็นบัญฑิตชาติอย่าได้ประมาทเลย พึงอุตสาหะกระทำการกุศลประพฤติซึ่งศาสนพรหมจรรย์ นตฺถิชาตสฺส อมรณํ อันเกิดมาแล้วก็มีความตายเป็นที่สุด

    มีพระพุทธฎีกาตรัสเทศนาอลังกตสูตรมีความเปรียบชีวิตสัตว์ ด้วยอุปมา ๗ ประการ ดุจนัยที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว อปรํปิ อาห สมเด็จพระพุธองค์เจ้าก็มีพระพุทธฎีกาตรัสพระธรรมเทศนาอันอื่นสืบต่อไปเล่าว่า โยจายํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เอวํ มรณสฺสตึ ภาเวติ อโห วตาหํ รตฺตินฺทิวํ ชีเวยฺยํ ภควโต สาสนํ มนสิกเรยฺยํ พหุ ํ วต เม กตํ อสฺส ดูก่อนภิกษุทั้งปวง ภิกษุในบวรพุทธซาสนา ที่มีศรัทธาจำเริญมรณานุสสตินั้นองค์ใดแลกระทำมนสิการว่า อโห วต ดังเราปรารถนาดังเราวิตก อาตมานี้ถ้ามีชีวิตอยู่สิ้นทั้งกลางวันแลกลางคืน อาตมาก็จะมนสิการตามคำสิ่งสอนแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาค อันเป็นเหตุที่จะนำมาซึ่งปฏิเวธธรรม คืออริยมรรคอริยผล อาตมาจะประพฤติบรรพชิตกิจ อันเป็นปนะโยชน์แก่ตนนั้นให้มากอยู่ในขันธสันดาน ตราบเท่ากำหนดชีวิตอันอาตมาประพฤติเป็นไปในวันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ดูกรภิกษุทั้งปวง ภิกษุรูปใดมีมรณสติระลึกเห็นความตาย มีกำหนดชีวิตวันหนึ่งกับคืนหนึ่งด้วยประการฉะนี้ ตถาคตตรัสว่า ภิกษุรูปนั้นจำเริญมรณานุสสติยังอ่อนอยู่ ยังช้าอยู่ประกอบด้วยความประมาท

    แลภิกษุอันมีสติระลึกเห็นความตายมีกำหนดแต่เช้าจนค่ำนั้นก็ดี ที่ระลึกเห็นความตายมีกำหนดเพียงเพลาฉันจังหันมื้อ ๑ นั้นก็ดี ที่ระลึกถึงความตายมีกำหนดเพียงเพลาฉันหังได้ ๔ , ๕ ปั้นนั้นก็ดี ภิกษุทั้งหลายนี้ตถาคตก็ตรัสว่ายังประกอบอยู่ด้วยความประมาท จำเริญมรณานุสสติเพื่อให้สิ้นอาวะนั้นยังอ่อนยังช้าอยู่มรณสติ นั้นยังมิได้กล้าหาญก่อน ภิกษุรูปใดจำเริญมรณานุสสติระลึกเห็นความตายทุกคำจังหันระลึกเห็นความตาย ทุกขณะลมอัสสาสะ ปัสสาสะ กระทำมนสิการว่าถ้าอาตมายังมีชีวิตอยู่สิ้นเพลากลืนจังหันคำ ๑ นี้ ยังมีชีวิตอยู่สิ้นเพลาอันระบายลมหายใจออกไปที ๑ นี้อาตมาก็จะมนสิการตามคำสั่งสอนแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้า จะประพฤติบรรพชิตกิจอันเป็นประโยชน์แก่ตน ให้มากอยู่ในขันธสันดานแห่งอาตมา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันเห็นความมรณะทุก ๆ คำจังหัน ทุก ๆ อัสสาสะ ปัสสาสะเห็นปานฉะนี้ พระตถาคตสรรเสริญว่ามีมรณสติอันกล้าหาญว่าประกอบด้วย พระอัปปมาทธรรมอันบริบูรณ์ ว่าว่องไว ที่จะได้สำเร็จอาสวขัย ขึ้นชื่อว่าอาการอันเป็นไปแห่งชีวิตนี้น้อยนัก ที่จะวิสสาสะกับชีวิตของอาตมาว่ายั่งยืนไปอยู่ อาตมายังไม่ถึงมรณภาพก่อนจะวิสสาสะไว้ใจบ่ได้ สมเด็จพระมหากรุณาพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติภาวนานั้น พึงระลึกโดยอันทธานปริจเฉทตามนัยพระพุทธฎีกา ที่สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าตรัสพระธรรมเทศนา โดยวิธีพรรณนามาฉะนี้

    แลอาการเป็นคำรบ ๘ ซึ่งว่าให้พระโยคาพจรระลึกถึงความตายโดยขณะปริตตะนั้น คือให้พระโยคาพจรระลึกให้เห็นว่า ปริตฺโต สตฺตานํ ชีวิตกฺขโณ เอกจิตฺตปฺปวตฺติมตฺ โตเยว ชีวิตขณะแห่งสัตว์ทั้งปวงนี้น้อยนักประพฤติเป็นไปมาตรว่าขณะจิตอันหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธฎีกาตรัสด้วยนัยเป็นต้นว่าชีวิตแห่งสัตว์แห่งสัตว์ที่ยืนนานมีประมาณได้ร้อยปีนั้น ว่าด้วยสามารถชีวิตินทรีย์อันประพฤติเป็นไปมีด้วยภพละอัน ๆ ว่าโดยสมมติโวหาร ถ้าจะว่าโดยปรมัตถ์นั้น ถ้าว่าถึงภังคขณะแห่งจิตที่ใดก็ได้ชื่อว่ามรณะที่นั้นได้อุปปาทขณะแลฐิติขณะแห่งจิตนั้นได้ชื่อว่ามีชีวิตอยู่ ครั้นย่างเข้าภังคขณะแล้ว ก็ได้ชื่อว่าดับสูญหาชีวิตบ่มิได้ แต่ทว่ามรณะในภังคขณะนั้น พ้นวิสัยที่สัตว์ทั้งปวงจะหยั่งรู้หยั่งเห็น เหตุว่าขณะแห่งจิตอันประพฤติเป็นไปในสันดานแห่งเราท่านทั้งปวงนี้เร็วนัก ที่จะเอาสิ่งใดมาเปรียบเทียบนั้นอุปมาได้เป็นอันยาก

    ดุจพระพุทธฎีกาโปรดไว้ นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ ปสฺสามิ เอวํ ลหุปริวตฺตํ ยถยิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ แปลว่าดูกรสงฆ์ทั้งปวง ลหุปริวตฺตจิตฺติ จิตนี้มีสภาวะพระพฤติเป็นอันเร็วยิ่งนัก ธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งจะว่องไวรวดเร็วเหมือนจิตนี้ พระตถาคตพิจารณาไม่เห็นสักสิ่งหนึ่งเลย เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว จตฺตาโร ทฬฺธมฺมา ธนุคฺคหา ดูกรสงฆ์ทั้งหลาย นายขมังธนูทั้ง ๔ อันฝึกสอนเป็นอันดีในศิลปศาสตร์ธนูแม่นยำชำนิชำนาญนั้น ออกยืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ ด้วยยิงลูกธนูไปพร้อมกัน ยิงไปคนละทิศ ๆ ลูกศรอันแล่นไปในทิศทั้ง ๔ ด้วยกำลังอันเร็วฉับพลันเห็นปานดังนั้น

    แม้บุรุษที่มีกำลังอันรวดเร็วยิ่งกว่าลมพัดเล่นไปในทิศข้างตะวันออก ฉวยเอาลูกศรในทิศข้างตะวันออกนั้นได้แล้วกลับแล่นมาข้างทิศตะวันตกฉวยได้ลูกศรข้างตะวันตกนี้ เล่าแล้วก็แล่นไปข้างฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ฉวยเอาลูกศรได้ในอากาศทั้ง ๔ ทิศลูกศรทั้ง ๔ ทิศนั้นบ่มิได้ตกถึงพื้น ปถพี เอวรูโป ปุริสเวโค กำลังบุรุษอันว่องไวรวดเร็วยิ่งกว่าลมเห็นปานดังนี้ จะเอามาเปรียบความเร็วแห่งจิตนี้ก็มิอาจจะได้ จนฺทิมสุริยานํ ชโว ถึงเร็วแห่งพระจันทร์มณฑลเร็วแห่งพระสุริยมณฑลเร็วแห่งเทวดาที่แล่นหนีหน้าจันทรมณฑลนั้นได้ก็ดี จะเอามาเปรียบด้วยรวดเร็วแห่งจิตนี้ ก็มิอาจเปรียบได้ อุปมาปิ น สุกรา ดูกรสงฆ์ทั้งปวง ขึ้นชื่อว่าเร็วแห่งจิตนี้ที่จะเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อุปมานั้นอุปมาบ่มิได้ด้วยง่าย มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่สงฆ์ทั้งปวงด้วย

    ประการฉะนี้ นักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า จิตอันประพฤติเป็นไปในสันดานเกิดแล้วดับ ๆ แล้วเกิด เป็นขณะ ๆ กันนั้น จะได้ว่างได้เว้นจะได้ห่างกันหาบ่มิได้ เนื่องกันบ่มิได้ขาด ดุจกระแสน้ำอันไหลหลั่งถั่งไปบ่มิได้ขาดสายขึ้นสู่วิถีแล้วลงภวังค์เล่าลงสู่ภวังค์แล้วขึ้นสู่วิถีแล้ว จิตดวงนี้ดับดวงนั้นเกิดเป็นลำดับเวียนกันไป ดุจกงรถอันหันเวียนไปนั้นนักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า ชีวิตแห่งสัตว์นี้เมื่อว่าโดยปรมัตถ์นั้น มีกำหนดในขณะจิตอันหนึ่ง ตสฺมึ นิรุตฺตมตฺเต แต่พอขณะจิตนั้นดับลงอันหนึ่ง สัตว์นั้นก็ได้ชื่อว่าตายครั้งหนึ่ง ดับ ๒ , ๓ ขณะก็ได้ชื่อว่าตาย ๒ , ๓ ครั้งดับร้อยขณะพันขณะจิตก็ได้ชื่อว่าตายร้อยครั้งพันครั้ง ดับนับขณะไม่ถ้วนได้ชื่อว่าตายทุก ๆ ขณะจิตที่ดับ

    ว่าฉะนี้สมกันกับอรรถปัญหา ที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาในพระอภิธรรมว่า อตีเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิตฺถ น ชีวติ น ชีวิสฺสติ อนาคเต จิตฺตกฺขเณ น ชีวิตฺถ น ชีวิติ น ชีวิสฺสติ ว่าสัตว์อันมีชีวิตในขณะจิตอันเป็นอดีตนั้นบ่มิได้มีชีวิตในปัจจุบัน บ่มิได้มีชีวิตในอนาคต สัตว์อันมีชีวิตในขณะจิตเป็นอนาคตนั้นก็บ่มิได้มีชีวิตในอดีตบ่มิได้มีชีวิตในปัจจุบัน สัตว์มีชีวิตในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ก็บ่มิได้มีชีวิตในอดีต บ่มิได้มีชีวิตในอนาคต อรรถปริศนาอันนี้ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าตรัสเทศนาไว้ว่าจะให้เห็นอธิบายว่า ถ้าจะว่าโดยปรมัตถ์สัตว์อันมีชีวิตอยู่ในกาลทั้ง ๓ คืออดีต อนาคต ปัจจุบัน นั้นมีขณะได้ละ ๓ ๆ คืออุปปาทขณะประการ ๑ ฐิติขณะประการ ๑ ภังคขณะประการ ๑ มีขณะ ๓ ฉะนี้เหมือนกันสิ้นทุกขณะจิตจะได้แปลกกันหาบ่มิได้ แลขณะจิตแต่ละขณะ ๆ นั้น มีนามแลรูปเป็นสหชาติ เกิดพร้อมเป็นแผนก ๆ นี้ ดุจบาทพระคาถาอันสมเด็จพระพุทธองค์เจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า

    ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา เอกจิตฺตสมายตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส ติฏฺมานสฺส วาอิธ สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา คตา อุปปฏิสนฺธิยา อธิบายใยบทพระคาถาว่า สหชาตธรรม คือชีวิตอัตตภาพแลสุขแลทุกข์ แลสหชาตธรรมอันเศษจากสุขแลทุกข์แลชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมสัมปยุตต์ด้วยจิตแต่ละอัน ๆ อันมีเหมือนกันทุก ๆ ขณะจิต แลสหชาตธรรมทั้งหลายนั้น จะได้เจือจานกันนั้นหาบ่มิได้ เกิดพร้อมกันด้วยขณะจิตอันใด ก็เป็นแผนกแยกย้ายอยู่ตามขณะจิตอันนั้น แลขณะอันเกิดแห่งสหชาตธรรม คือสุขแลทุกข์แลชีวิตินทรีย์เป็นต้นนั้น ก็รวดเร็วว่องไวพร้อมกันกับขณะจิต

    เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส ติฏมานสฺส วา อิธ แลขันธ์ทั้งหลายแห่งบุคคลอันตราย แลถึงซึ่งดับพร้อมด้วยจุติจิตกับขันธ์แห่งบุคคลอันบ่มิได้ตาย แลถึงซึ่งดับในภวังคขณะนอกจากจุตินั้นจะได้แปลกกันหาบ่มิได้ สพฺเพปิ สทิสา เหมือนกันสิ้นทั้งปวง แต่ทว่าขันธ์ดับพร้อมด้วยจุติจิตนั้น มีปฏิสนธิเกิดตามลำดับคือปฏิสนธิจิตซึ่งถือเอาอารมณ์แห่งชวนะในมรณาสันนวิถีมีกรรม แลกรรมนิมิตเป็นอารมณ์นั้นบังเกิดในลำดับแห่งจุติจิต ก็ฝ่ายว่าขันธ์ซึ่งดับในภวังคขณะทั้งปวงนอกจากจุติจิตนั้น จะได้มีปฏิสนธิจิตนั้นเป็นลำดับหาบ่มิได้มีจิตอื่นนอกจากปฏิสนธิจิตเกิดเป็นลำดับ ตามสมควรแก่อารมณ์ซึ่งประพฤติเป็นไปในสันดานนักปราชญ์พึงสันนิษฐานว่า ในมรณาสันนวิถีที่จะใกล้ถึงแก่มรณะนั้นเมื่อยังอีก ๑๗ ขณะจิต

    แลจะถึงซึ่งจุติจิตแล้วแต่บรรดาขณะจิต ๑๗ ขณะเบื้องหลังแต่จุติจิตนั้น จะได้มีกัมมัชชรูปบังเกิดด้วยหาบ่มิได้แลกัมมัชชรูปซึ่งบังเกิดแต่ก่อนนั้น ก็ไปดับลงพร้อมกันกับจุติจิต ครั้นกัมมัชชรูปดับแล้ว ลำดับนั้นจิตตัชชรูปแลอาหาร รัชชรูปนั้นก็ดับไปตามกัน ยังอยู่แต่อุตุชรูปประพฤติเป็นไปในซากกเฬวระนั้น ตราบเท่ากว่าจะแหลกละเอียดด้วยอันตรธานสาบสูญไป อย่างนี้นี่เป็นธรรมแห่งขันธ์ดับพร้อมด้วยจุติจิต ฝ่ายว่าขันธ์ซึ่งดับในภวังคขณะทั้งปวง นอกจากจุติจิตนั้นรูปกลาปยังบังเกิดเนือง ๆ อยู่ยังบ่มิได้ขาด ปทีโปวิย ดุจเปลวประทีปแลกระแสน้ำไหลอันบ่มิได้ขาดจากกัน รูปที่บังเกิดขึ้นก่อน ๆ นั้น มีอายุถ้วน ๑๗ ขณะจิตแล้วก็ดับไป ๆ

    ที่มีอายุยังไม่กำหนดนั้น ก็ยังประพฤติเป็นไปในสันดานบังเกิดนั้นรอง ๆ กันไปบ่มิได้หยุดหย่อน ที่เกิด ๆ ขึ้นที่ดับ ๆ ไป รูปกลาปทั้งปวงบ่มิได้ขาดจากสันดานนักปราชญ์พึงสันนิษฐานแม้ว่ารูปกลาปบังเกิดติดเนื่องอยู่ก็ดี เมื่อขณะจิตดับลงนั้น จักได้ชื่อว่าถึงมรณะ เอวํ ขณปริตฺตโต มรณํ อนุสฺสริตพํพํ พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสติภาวนานั้น พึงระลึกถึงความตายโดยขณะปริตตะ โดยนัยอันพระพุทธองค์ตรัสเทศนาดังพรรณนามาฉะนี้ อิติมิเมสํ ถ้าพระโยคาพจรเจ้าระลึกได้แต่ในอันใดอันหนึ่ง แลกระทำมนสิการเนือง ๆ อยู่แล้วจิตอันมีพระกรรมฐานเป็นอารมณ์นั้น ก็ถึงซึ่งภาวนาเสวนะ จะกล้าหาญในการภาวนา สติที่มีมรณะเป็นอารมณ์นั้นก็จะตั้งอยู่เป็นอันดี บ่มิได้ว่างได้เว้น จะข่มซึ่งนิวรณธรรมทั้งปวงเสียได้ องค์ฌานก็จะบังเกิดปรากฏแต่ทว่าไม่ถึงอัปปนา จะได้อยู่แต่เพียงอุปจาระ

    เหตุว่ามรณะซึ่งอารมณ์นั้นเป็นสภาวธรรม เป็นวัตถุที่จะให้บังเกิดสังเวชเมื่อถือเอามรณะเป็นอารมณ์แลระลึกเนือง ๆ มักนำมาซึ่งความสะดุ้งจิตในเบื้องหน้า ๆ เหตุดังนั้นภาวนาจิตอันประกอบด้วยมรณสตินั้น จึงมิอาจถึงอัปปนาได้ อยู่แต่เพียงอุปจาระ จึงมีคำปุจฉาสอดเข้ามาว่า โลกุตตรฌาน แลจตุตถารูปฌานก็มีอารมณ์เป็นสภาวธรรม ดังฤๅจึงตลอดขึ้นไปถึงอัปปนาเล่า มีคำรบว่า จริงอยู่ แลทุติยารูปฌานขึ้นเป็นอารมณ์เป็นสภาวธรรม จริงอยู่ซึ่งว่าโลกกุตตาฌานตลอดขึ้นไปถึงอัปปนานั้นด้วยภาวนาพิเศษ คือจำเริญวิสุทธิภาวนาขึ้นไปโดยลำดับ ๆ แม้อารมณ์เป็นสภาวธรรมก็ดีอานุภาพที่จำเริญวิสุทธิภาวนาเป็นลำดับ ๆ ขึ้นไปนั้นให้ผล ก็อาจจะตลอดขึ้นไปได้ถึงอัปปนาฌาน ซึ่งทุติยารูปฌานแลจตุตถารูปฌาน มีอารมณ์เป็นสภาวธรรมตลอดขึ้นไปได้ถึงอัปปนานั้น ด้วยสามารถเป็นอารัมมณมติกกมะภาวนา คือทุติยารูปนั้นล่วงเสีย ซึ่งอารมณ์แห่งปฐมารูปจตุตถารูปนั้นล่วงเสียซึ่งอารมณ์ตติยารูป

    เหตุฉะนี้แม้อารมณ์เป็นสภาวธรรมก็ดี ก็อาจจะถึงอัปปนาได้ด้วยอารัมมณสมติกกะภาวนาในมรณานุสสติ หาวิสุทธิภาวนา แลอารัมมณสติกกมะภาวนาบ่มิได้ เหตุฉะนี้พระโยคาพจรผู้จำเริญมรณานุสสตินั้น จึงได้อยู่แต่อุปจารฌานแลอุปจารฌานที่พระโยคาพจรเจ้าได้ ในที่จำเริญมารณานุสสตินั้น ก็ถึงซึ่งร้องเรียกว่า มรณานุสสติอุปจารฌาน ด้วยสามารถที่บังเกิดด้วย มรณสติ อิมํ จ ปน มรณรสติมนุยุตฺโต ภิกฺขุ บุคคลผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารเมื่อเพียรพยายามจำเริญมรณานุสสติภาวนานี้ ก็จะละเสียซึ่งความประมาท จะได้ซึ่งสัพพภเวสุอนภิรตสัญญา คือ จังบังเกิดความกระสันเป็นทุกข์ปราศจากที่จะอยู่ในภพทั้งปวง

    ชีวิตนิกนฺตึ ชหติ จะละเสียได้ซึ่งความยินดีในชีวิต บ่มิได้รักชีวิต จะติฉินนินทาซึ่งการเป็นบาป จะมากไปด้วยสัลลเลขสันโดษคือมักน้อย ไม่สั่งสมซึ่งของบริโภค ปริกฺขาเรสุ วิคตมจฺเฉโร จะมีมลทินคือตระหนี่อันปราศจากสันดาน บ่มิได้รักใคร่ในเครืองบริขารทั้งปวง ก็จะถึงซึ่งคุ้นเคยในอนิจจสัญญา จะเห็นอนิจจังในรูปธรรม แล้วก็จะได้ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาอันปรากฏด้วยสามารถระลึกตามอนิจจสัญญาเห็นอนิจจังแล้ว ก็จะเป็นคุณที่จะให้เห็นทุกขัง เห็นอนัตตา เมื่อเห็นพระไตรลักษณญานปรากฏแจ้งในสันดานแล้ว ถึงเมื่อจะตายก็มิได้กลัวตายจะได้สติอารมณ์ บ่มิได้ลุ่มหลงฟั่นเฟือนสติ แลบุคคลที่มิได้จำเริญมรณานุสสตินั้น

    ครั้นมาถึงมรณสมัยกาลเมื่อจะใกล้ตายแล้วก็ย่อมบังเกิดความสดุ้งตกใจกลัวความตายนั้นเป็นกำลัง ดุจบุคคลอันพาลมฤคราชร้ายครอบงำไว้จะกินเป็นภักษาหาร ถ้ามิฉะนั้นดุจบุคคลที่อยู่ในเงื้อมมือแห่งโจร แลเงื้อมมือแห่งนานเพชฌฆาต มีความสะดุ้งตกใจทั้งนี้อาศัยด้วยมิได้จำเริญมรณานุสสติ อันภาวะจำเริญมรณานุสสตินี้เป็นปัจจัยที่จะให้สำเร็จแก่พระนิพพาน ถ้ายังมิได้สำเร็จพระนิพพานในชาตินี้ เมื่อดับสูญทำลายขันธ์ขาดชีวิตินทรีย์ แล้วก็จะมีสุคติภพเบื้องหน้าเหตุดังนั้น พระโยคาพจรกุลบุตรผู้มีปรีชาเป็นอันดีอย่าประมาท พึงอุตสาหะจำเริญมรณานุสสติภาวนา อันประกอบด้วยคุณานิสงส์เป็นอันมาก ดุจพรรณามาฉะนี้สิ้นกาลทุกเมื่อเถิด ฯ

    จบวินิจฉัยในมรณานุสสติโดยวิตถารยุติแต่เท่านี้

    วาสนาจริง ๆ ปรกติขี้เกียจนะเนี๊ยะ สงสัยจะเคยมีวาสนาต่อกัน ขอให้เธอโชคดีนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2011
  10. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    เพิ่มอีกนิด จะดาวน์โหลดภาพประกอปไว้ดูเล่นด้วยก็ได้นะครับ ที่ซิงค์เนเจอร์ผมเลย
     
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,021
    ลองตั้งคำถามกับตน แล้วลองค้นคว้าด้วยความจริง

    - อะไรตาย ? เมื่อไหร่ ? ยังไง?
    - อะไรเกิด ? เมื่อไหร่ ? ยังไง?


    ตอบคำถามตนได้ด้วยความจริง ลงใจ ยอมรับอย่างไร มาแนะนำบ้างนะครับ
    ผมก็พยายามค้นหาคำตอบนี้มาตลอด ยังไม่ลงใจได้เลยครับ
     
  12. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    มรณานุสติคือการคิดถึงความตาย ชีวิตคนเรามีทั้งการเกิดและการตาย แต่คน
    เราชอบคิดแต่การเกิดหรือกามไม่ชอบคิดถึงความตาย เมื่อเราไม่คิดถึงความ
    ตายก็ทำให้เราไม่รู้จักชีวิต มันจึงต้องฝึกคิดถึงความตายมากๆ เป็นเบื้องต้น
    พระพุทธองค์ส่งผู้ที่เข้าศาสนาใหม่ไปดูการเผาศพอย่างเดียว 3 เดือน ไม่ต้อง
    ทำอย่างอื่นเลย เพราะถ้าเราไม่รู้จักความตายเราจะรู้จักชีวิตไม่ได้ เพราะชีวิตมีทั้ง
    เกิดและตาย และคนเราจะตายก็ต้องตายในปัจจุบัน จะตายในอนาคตหรือตายใน
    อดีตไม่ได้ ไม่เคยมีใครตายในอนาคตหรือตายในอดีต อย่างคนเราชอบกินข้าวใน
    อนาคต คือคิดถึงอาหารที่จะกินพอถึงเวลากินอาหารกลับคิดเรื่องอื่น เราจึงต้อง
    พิจารณาความตายในปัจจุบัน ดูลมหายใจก็ได้เพราะเกี่ยวกับการเกิดและ
    ตายอย่างมาก เด็กที่เกิดมาทำอย่างแรกคือหายใจเข้า คนจะตายอย่างสุดท้ายที่
    ทำคือหายใจออก ถ้าหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่
    หายใจเข้ามันก็ตาย เมื่อรู้จักชีวิตแล้วก็จะรู้ว่าความตายก็ไม่เที่ยง ตายแล้วยังต้อง
    เกิด และจะรู้ว่านิพพานคือการตายยิ่งกว่าตายเพราะตายแล้วไม่เกิด
     
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ลองถามท่าน "ขอนไม้แห้ง"..ดูซีครับ วางจิตใจยังไง.
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ทุกคนล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้าทั้งนั้น จะอะไรกันนักกันหนา
     
  15. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716

    ขออภัยที่ทำอะไรไม่เหมาะสม และถามสะเปะสะปะอย่างคุณว่า
    จริงๆ เนื่องจากดิฉันอยู่ต่างประเทศ การจะหาพระอาจารย์เก่งๆ หรือ
    หาวัดก็ไม่ต้องพูดถึง คนไทยที่นี่ก็น้อย แล้วก็หาใครที่สนใจในธรรมะ
    ไม่มี ดิฉันศึกษาเอาเองจากเวป โหลดเทศนามาฟังเสมอ
    แต่ดิฉันปัญญาน้อย ฟังอะไร หรืออ่านอะไรยากๆ ไม่เข้าใจ
    เลยอยากทราบวิธีปฏิบัติของคนอื่นว่าเขาทำกันอย่างไรบ้าง
    เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่มากด้วยทฤษฏี บอกแล้วเข้าใจได้ทันที
    ที่คุณเอามาให้อ่านก็ขอขอบคุณมากค่ะที่กรุณา ต่อไปจะระวัง
    ให้มากกว่านี้ค่ะ
     
  16. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณเคยลองคิดถึงความตายในรูปแบบนี้ไหมครับ คิดว่าเมื่อไหร่ความตายจะมาถึงเราสักที

    เมื่อไหร่ถึงจะตาย และ เมื่อเห็นด้วยใจจริงแล้ว จะเห็นชีวิตมีแต่ความลำบาก มีแต่ความทุกข์

    แม้แต่จะอยู่คนเดียว หรือ จะอยู่ในคนหมู่มากก็ตาม ก็เห็นแต่ความลำบาก ความเป็นทุกข์

    ลองปราถนาความตายดูสิครับ แต่ห้ามฆ่าตัวตายนะครับ เพราะการฆ่าตัวตายจะทำให้กลับมาเกิดอีก

    จะไม่เป็นการตายจริง จะเป้นการตายแล้วก็กลับมาเกิดอีก หากตายจริงๆจะไม่กลับมาเกิดแล้วครับ
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    Version พื้นๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คิดให้ได้เสมอๆ ว่าทุกคนก็ต้องตาย ไม่ว่าเขาว่าเรา สุดท้ายก็หนีตายกันไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้า ข้าแผ่นดิน ไม่ว่าผู้ดีหรือไพร่ ล้วนแล้วแต่ต้องตายกลายเป็นประวัติศาสตร์ ให้คนรุ่นหลังพูดถึง พูดถึงแค่ดีกับชั่วเท่านั้นเอง อันนี้เป็นเรื่องทางโลกนะ มันไม่ใช่แค่เรื่องของความคิดแต่มันเป็นความจริง จริงอย่างยิ่งและจริงอย่างที่สุด บางคนตายตั้งแต่ยังไม่คลอด บางคนคลอดออกมาแล้วก็ตาย บางคนอยู่ไปได้สักพักก็ตาย บางคนคุยๆ อยู่ก็ตาย บางคนกำลังเด่นดังทางสังคมก็ตาย ฯลฯ

    เพราะฉะนั้นระหว่างนี้ที่เรายังไม่ตาย ควรทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความดีที่ว่านี้ ก็คือความดีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา ละรัก,โลภ, โกรธ,หลง ตัณหาอุปาทานทั้งหลาย ให้ได้แค่วันละนิดก็พอ หมั่นเฝ้าสังเกตตัวเอง ระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปล่วงละเมิดใคร เพราะสิ่งเหล่านั้นคือกรรม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นตัวก่อภพสร้างชาติไม่จบไม่สิ้น

    ถ้าต้องการศึกษาจริงก็เริ่มจากเรื่องง่ายๆ Basic ก็พอ ปูทางไปเรื่อยๆ พอฐานมันแน่นดีแล้ว การจะต่อเติมเสริมแต่งย่อมไม่ยาก ยังไม่ต้องไปถึง Advance เพราะจะทำให้ยิ่งไม่เข้าใจไปกันใหญ่ วนเวียนหาทางเข้า หาทางออกกันไม่เจอ เสียเวลา งงมั้ย?
     
  18. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716
    เคยลองคิดเหมือนกันค่ะ แต่ยังเห็นความกลัวอยู่ แล้วก็เกลียดความรู้สึก
    ในการกลัวตายนั้นๆ อยากจะตายจากความตายเสียที

    ดิฉันเคยคิดว่า ปู่ย่าตายายเรา สิ้นอายุขัยเมื่อราวๆ 70 เอาอายุทางกรรม
    พันธุ์เป็นข้อเปรียบอ้าง แล้วย้อนดูตนเอง ซึ่งมาได้ครึ่งทางแล้ว คือ 35
    หมายความว่า นับต่อนี้ไป จะมีแต่ความเสื่อมที่จะปรากฏให้เห็น แล้วก็
    แสดงว่าเราก็คงเหลือเวลาอีกเพียงแค่ 35 ปีบนโลกนี้
    1 ในสาม จะหมดไปกับการพักผ่อนหลับนอนแสดงว่า หมด
    ไป 12 ปีอย่างเปล่าประโยชน์ อีก 1 ในสาม จะหมดไปกับการทำมา
    หากิน ทำกิจกรรมต่างๆ เช่นล้างหน้าแปรงฟัน กินข้าว คิดเตรียมงาน
    ติดต่อ ทำธุระ
    นั่นหมายความว่า เราจะเหลือเวลาจริงๆ แค่ 12 ปี คิดดูแล้วไม่มาก
    เลย ผ่อนบ้านยังนานกว่านั้น
    12 ปีนี้ เราจะหาความสุขให้ตัวเองโดยการฟังเพลง ดูทีวี ดูหนัง
    พักผ่อนหย่อนใจ ไปเที่ยว หาเวลาคุยกับเพื่อน เมื่อหมดเวลาไปแล้ว
    คงจะน่าเศร้ามาก เพราะ มันเป็น 12 ปีแค่นั้น ที่เรามี แล้วเราก็ใช้
    แบบเปล่าประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง และสังคมโลก
    12 ปี จะมีเวลาที่เราแข็งแรงจริงๆ แค่ไม่กี่ปี เพราะเมื่อสังขารมัน
    ไม่ไหว โรคภัยเบียดเบียน เราจะทำอะไรก็ไม่สะดวก ตอนนี้ความไม่มี
    โรคมันบังอยู่ อีกไม่นานมันก็ออก เลิกบังไว้

    ดิฉันคิดว่า ตัวเองกำลังขึ้นรถบรรทุกพร้อมกับคนอื่นๆ ปลายทาง
    คือห้องรมแก็สที่จะฆ่าเราทั้งหมดบนรถ ทุกคนขึ้นรถคันเดียวกัน ไปที่
    เดียวกัน ระหว่างทางที่ยาวไกลกว่าจะถึง บางคนก็ลืมไป มัวแค่ชมนก
    ชมไม้ข้างทาง คนส่วนใหญ่รู้ว่าจุดหมายปลายทางไปไหน แต่เขาคิดว่า
    อีกไกลกว่าจะไปถึง จะไปคิดให้หมองเศร้าทำไม มีความสุขดีกว่า
    หาอะไรทำให้สนุกไปก่อน
    ที่คุณถามว่า เคยคิดไหมว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่
    อันนี้ไม่ทราบว่าใช่แนวคิด ตามคำถามคุณไหมคะ ถ้าไม่ใช่
    รบกวนขยายความและยกตัวอย่างให้ดิฉันเข้าใจได้ง่ายๆ ดิฉันว่า
    การตั้งคำถามกับตัวเองนั้นดีมากเลย แต่ต่างคนก็ต่างปัญญา ต่าง
    ความคิด และต่างคำตอบ ดิฉันมาโพสไว้เพราะต้องการจะรู้ว่า แง่คิด
    และตัวอย่างความคิดคนอื่นเป็นอย่างไรบ้าง

    ดิฉันชอบคำว่า "เมื่อไหร่ความตายจะมาถึงเราสักที" อันนี้ไม่เคย
    ตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เป็นแง่คิดใหม่ แทนที่จะเป็นฝ่ายรอมันอย่าง
    หวาดกลัว อันนี้เหมือนเป็นฝ่ายบุกเข้าไปดูมัน ว่าจะมาเมื่อไหร่
    คืนนี้จะลองตั้งคำถามนี้กับตัวเองดูก่อนนอน ดูว่าจิตเค้าคิดอย่างไร
     
  19. gaiou419

    gaiou419 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    331
    ค่าพลัง:
    +716
    เข้าใจง่าย ไม่งงเลย ขอบคุณมากค่ะ ตั้งใจจะทำอย่างนี้อยู่เหมือนกัน
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อเราคิดถึงความตายแล้วกลัว บ่งบอกว่าเรานึกคิดถึงความตายจริงๆ

    รับรู้ถึงความตายจริงๆ เพราะนั่นเป็นการเริ่มต้นคิดถึงความตายครับ

    หากปราถนาความตายอยู่ตลอด จะมองเห็นความทุกข์ในชีวิตได้ง่ายขึ้นครับ

    เวลาที่ดูเหมือนยาวนาน มีแต่ความทรมานที่รออยู่ หากความตายนั้นเข้ามาใกล้เราเรื่อยๆ

    สิ่งใดที่ยังไม่ได้ทำจะได้รีบทำ เพราะหากไม่ได้ทำ อาจจะไม่ได้ทำอีกแล้วครับ

    ความตายจะมาถึงเราตอนอายุเท่าไหร่นั้น ไม่มีใครตอบได้ ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าครับ

    ผมมีเพื่อนคนหนึ่ง เป็นคนที่นิสัยดีมากในแถวบ้านผม หากพูดถึงจะมีแต่คนชม

    เพียงแต่เขาอายุสั้นครับ เขาตายไปด้วยอายุเพียง สามสิบต้นๆเองครับ

    ทั้งที่ยายของเขาก็ยังอยู่ แม่ของเขาร้องไห้เกือบขาดใจตาย และเขาทำให้ผมเห็นความจริงครับ

    ว่าชีวิตนั้นไม่เที่ยงครับ ความตายจะมาเยือนเราได้ทุกเมื่อครับ และ ส่วนตัวผมเอง

    เคยคิดว่าอายุสามสิบ แล้วค่อยทำตัวให้ดี แล้วค่อยมาสนใจในการปฎิบัติ

    แต่พออายุยี่สิบเจ็ด ผมก็ประสบอุบัติเหตุ จนเกือบตาย หลังจากนั้นเป็นต้นมา

    ผมก็เข้าใจว่า ผมนั้นประมาทแล้ว ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน คาดหวังไม่ได้ครับ

    และ ความตายจะมาหาเราเมื่อไหร่ก็ได้ ผมเลยเฝ้ารอความตายที่จะมาถึงอย่างจดจ่อ

    พอทำบ่อยๆแล้ว ความกลัวตายที่เคยมีนั้น กลับหายไปจะเห็นแต่การทำประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่น

    การสร้างความสุขให้ผู้อื่นได้รับ นั้นเป็นความสุขที่ผมเพิ่งได้สัมผัสเป็นครั้งแรกของชีวิต

    ก็ต่อเมื่อผมได้เข้าใจว่าความตาย จะมาหาเราได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน

    แม้ว่ายามหลับ หรือ ยามตื่น ความตายก็จะมาพาเราไปจากสิ่งที่เราได้อยู่ด้วยความคุ้นเคย

    ความตายอยู่กับเราตลอดเวลาครับ เป็นดั่งเพื่อนสนิทที่รักเรามาก มากกว่าสิ่งอื่นใด

    เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนกว่าสิ่งใด ความตายไม่เคยหลอกเราครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...