!!เปิดกรุ!! วัตถุมงคลพระเกจิ-ธาตุกายสิทธิ์-หลากหลายสำนัก"หลักร้อย-ไม่ด้อยพุทธคุณ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย อริยธาตุ, 17 ตุลาคม 2022.

  1. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,354
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระสมเด็จผงมีกิน พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานผ้าทิพย์ อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน ปลุกเสกพิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518 (พระชุดนี้อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน (อยู่เรือ) สุดยอดตำนานหุ่นพยนต์ ราคาตัวละเป็นแสน เป็นผู้รวบรวมมวลสาร และกดพิมพ์พระที่วัดรัตนชัย (จีน) จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปลุกเสกด้วยตนเองแล้ว ได้นำเข้าพุทธาภิเษกในพิธีจตุรพิธพรชัย อีกด้วย)

    ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมาก เพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อย ทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้น ท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการ และจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิด ที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกกำหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ

    1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ

    2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

    3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

    4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

    5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี

    6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา

    7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ

    8. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

    9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา

    10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

    11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

    12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี

    13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

    14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

    15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

    16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)

    ครูบาอาจารย์หลายรูป รวมถึงหลวงพ่อกวย กล่าวกับศิษย์ของท่านว่า "พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก" พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ ๑๒๖ ปีแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฎิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน (แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึงก็คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านได้รับรับนิมนต์หลวงปู่ดู่ไว้แล้ว) พิธีนี้ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพราะท่านรับปากนายเรียนว่าจะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่เช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นพระดี พิธีใหญ่ แห่งเมืองกรุงศรีอโยธยา


    พระผงมีกิน อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน นั้นถือได้ว่าเป็นพระชุดหนึ่งที่อยู่ในพิธีปลุกเสกอันโด่งดังในสมัยนั้นก็คือ พิธีจตุรพิธพรชัย พ.ศ.๒๕๑๘ โดยที่ อาจารย์ลอย พอได้ทราบถึงว่าจะมีการจัดพิธีปลุกเสกพระ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ในสมัยนั้นมาร่วมกันอย่างเนืองแน่น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อไว้สืบทอดพระพุทธศาสนา และแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน และผู้มาร่วมพิธีได้นำไปใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ท่านจึงได้รวบรวมและจัดหามวลสารศักดิ์สิทธิ์ตามที่ท่านได้เล่าเรียนวิชามา เพื่อที่จะนำมาผสมและจัดทำพระเครื่อง ซึ่งพระเครื่องโดยส่วนใหญ่ที่ท่านได้จัดสร้างและเข้าร่วมพิธีจตุรพิธพรชัยนั้นจะเป็นพระเครื่องที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของท่านโดยเฉพาะ


    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.5 KB
      เปิดดู:
      0
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.2 KB
      เปิดดู:
      0
    • jpg6.jpg
      jpg6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.5 KB
      เปิดดู:
      0
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185.3 KB
      เปิดดู:
      0
    • jpg8.jpg
      jpg8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.9 KB
      เปิดดู:
      0
    • jpg99999.jpg
      jpg99999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.8 KB
      เปิดดู:
      0
  2. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,354
    ค่าพลัง:
    +2,522
    เหรียญหล่อพระพุทธชินราชใบมะยม รุ่นมิตรภาพ 49 วัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก เนื้อนวโลหะ ปี 2549 (ตอกโค๊ดใต้ฐาน) จัดสร้างเพื่อสมทบทุนในการก่อสร้างมณฑปจตุรมุขประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยจัดพิธีกรรมสำคัญปลุกเสกพิธีใหญ่ 5 วาระ

    ครั้งที่ 1 พิธีอธิษฐานจิตมวลสาร โดยพระธรรมจาริกสู่แดนพุทธภูมิ เก็บรวบรวมมวลสาร ดิน ดอกไม้ ใบโพธิ์ จากสังเวชนียสถานประเทศอินเดีย เนปาล นิมนต์พระสงฆ์ไทย พระสงฆ์นิกายมหายานทิเบต เกาหลี อินเดีย เนปาล ร่วมอธิษฐานจิตเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

    ครั้งที่ 2 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศฯเมตตาอธิษฐานจิตมวลสาร และเจิมแม่พิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2548

    ครั้งที่ 3 สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ อธิษฐานจิตวัตถุมงคลเป็นครั้งปฐม ณ วัดราชบูรณะ
    เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2549

    ครั้งที่ 4 พิธีเททองหล่อช่อฟ้ามณฑปจตุรมุข และพิธีพุทธาภิเษก " ร้อน " ณ มณฑลพิธีวัดราชบูรณะ โดยพระเกจิคณาจารย์ และพระสงฆ์ 108 รูป
    ร่วมอธิษฐานจิต เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (วันวิสาขบูชา)

    ครั้งที่ 5 พิธีพุทธาภิเษก " เย็น " โดยพระเกจิคณาจารย์ 108 รูป ร่วมอธิษฐานจิต ณ พระวิหารหลวง วัดราชบูรณะ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (วันอาสาฬหบูชา) (วัตถุมงคลรุ่นนี้จัดว่าน่าบูชามาก และมีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด-ปลอดภัย เป็นเยี่ยม สวย สมบูรณ์พร้อมกล่องเดิมแท้จากวัด แบ่งพาราเบาๆ )


    เหรียญหลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม ปี2524
    หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตาราม ท่านเป็นที่เคารพของชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ศพท่านไม่เน่าไม่เปื่อย เหรียญรุ่นนี้จัดสร้าง ปี 2524 ด้วยเนื้อทองแดงหลัง "ภปร" คนพื้นที่เรียกว่า "รุ่นเทียนชัยระเบิด" เพราะขณะที่หลวงพ่อคลี่ได้ประกอบพิธีการปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้ในอุโบสถอยู่ นั้น เทียนชัยเกิดระเบิดดังลั่นเป็นที่ตะลึงกับผู้ที่เข้าร่วมพิธีและชาวบ้านใน ละแวกนั้น เหรียญรุ่นนี้พุทธคุณเด่นมากในเรื่องเมตตาโชคลาภเป็นที่นิยมของชาวบ้านพ่อ ค้าแม่ขายในพื้นที่ อีกทั้งแคล้วคลาดจากภยันตราย


    พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จ.กำแพงเพชร สร้างราวปีพ.ศ.2444 ปิดตาสี่ทิศเนื้อดิน จะมี 3 ขนาด คือขนาดใหญ่/กลาง/เล็ก และมี 2 พิมพ์คือ หลังยันต์ นะ / หลังยันต์ อุ หนังสือที่เซียนรุ่นเก่าเมืองกำแพงเพชร จัดพิมพ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2528 และหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ภายใต้การดูแลของคุณพยัพ คำพันธุ์ และคุณพิศาล เตชะวิภาค

    พระกรุ (วัดคูยาง) กำแพงเพชร เชื่อตามคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่า มีการจัดสร้างและลงกรุไว้ นับถึงปีที่มีการแตกกรุเมื่อปี พ.ศ.2513 ประมาณมากกว่า 50 ปี พระแทบทุกองค์ จะไม่มีคราบนวลกรุเหมือนพระกรุทั่วๆไปของเมืองกำแพง ก็เนื่องจากอายุกรุยังน้อย สิ่งที่ปรากฏให้เห็นจากการสังเกตโดยรวม จะไม่คราบดิน หรือเม็ดทรายติดอยู่ จะปรากฏคราบราฝังเนื้อให้เห็นมากบ้างน้อยบ้าง และบางองค์แทบจะไม่ปรากฏให้เห็น แต่ทุกองค์จะเหมือนกัน นั่นคือมีความแห้งที่พอสังเกตได้ และทุกองค์ต้องไม่มีการลงจารอักขระไว้ที่หลังองค์พระ

    พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่าง ๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ.2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียว แต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัด และพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้น ในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วย และบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบาง ๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ.2513 มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการ โดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ (ช่วง) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เจ้าอาวาสวัดคูยาง และนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุ ปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ 3,000 องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน (สรุปย่อจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.2537)


    ให้บูชา 200 บาท (รวมจัดส่ง)

    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg02.jpg
      jpg02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      239.2 KB
      เปิดดู:
      3
    • jpg04.jpg
      jpg04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171 KB
      เปิดดู:
      3
    • jpg80.jpg
      jpg80.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188.3 KB
      เปิดดู:
      3
    • jpg06.jpg
      jpg06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.6 KB
      เปิดดู:
      3
    • jpg01.jpg
      jpg01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.5 KB
      เปิดดู:
      3
    • jpg04.jpg
      jpg04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171 KB
      เปิดดู:
      3

แชร์หน้านี้

Loading...