เรื่องนี้น่าเชื่อแค่ไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 11 มีนาคม 2012.

  1. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ขอกราบอนุโมทนาอย่างงามๆ สามครั้งคงไม่เป็นไรใช่ไหมครับ อนุโมทนาสาธุคับ
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็คงตอบไว้สำหรับคนที่สนใจ เอาไว้พิจารณา
    เพราะขี้เกียจต่อความยาว..
    ใครสนใจเรื่องนิมิตทางนาม ก็คงค้นหาศึกษาได้ไม่ยาก


    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปราบเทวดา [​IMG]
    จะอธิบายความต่างให้ดู

    ความรู้ที่ผุดขึ้นมา(ญาณ)
    ตรงนี่ไม่ใช่ญาณ ญาณคือเครื่องรู้
    แต่ความรู้ที่ผุดขึ้นมานี้ เรียกว่า เป็นองค์ วิตก ในสัมมาสมาธิ
    และความรู้ตัวนี้เป็นความรู้ที่ไม่ได้ตั้งใจจิต จะต่างจากตัวที่บอกว่า
    กำหนดรู้ลงไปก็ดี
    ซึ่งจะคนละเรื่องเลย
    ..
    เมื่อสติมากขึ้น สมาธิเข้าไปรู้เห็นมากขึ้น ก็เรียกญาณ
    แม้นแต่อภิญญาก็เรียกว่าญาณทัศนะได้ด้วย
    การเห็นนิมิตทางรูปที่จริงก็ต้องผ่านการเข้าใจทางจิตคือรู้ การรู้คิดรู้สิ่งที่คิดก็ต้องผ่านการรู้ รู้ในสิ่งที่เห็นรู้ในสิ่งที่คิด..
    นิมิตอศุภะบางคนกำหนดขึ้นก่อน แต่พอสมาธิรวมก็เป็นไปเอง ความคิดก็เช่นกัน บางครั้งกำหนดคิดเรื่องหนึ่ง เมื่อมีสมาธิก็หนุนปัญญา บางทีมันไม่ได้กำหนดขณะทำสมาธิ แต่มันอยู่ในใจมานานแล้วก็มี
    จากวิกิพิเดีย
    ญาณทัศนะ ยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนาญาณทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้


    ในขณะเจริญวิปัสสนา(หรือสมถะวิปัสสนา)
    เป็นนิมิตทางนาม
    คล้ายนิมิตทางรูป คือผุดรู้ขึ้นมาเองก็ดี หรือกำหนดรู้ลงไปก็ดี
    มีสมาธิแนบแน่นกับความคิดนั้นเป็นหนึ่งเดียว
    ไม่ฟุ้งซ่านหรือซัดส่ายไปเรื่องอื่น
    อันนี้คือ หากผู้ที่มี สติรู้พร้อมกับความคิด
    หรือความรู้ที่ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัตินั้น จะไม่มีความแนบแน่นในความคิดเป็นหนึ่งเดียว เพราะความคิดมันมีหลายอย่างที่พรั่งพรู ไม่ได้มีความคิดที่เป็นเรื่องเดียว หรือที่เป็นแต่อารมณ์เดียว
    เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมีแต่รู้ปล่อย รู้ปล่อย
    ปล่อย ด้วยความเป็นอัตโนมัติอีกตังหาก
    ..
    ถ้าเป็นนิมิตทางรูป จากอศุภะ มันก็ต่อเนื่อง(กระแสที่สืบทอด) ไม่ย้ายนิมิต นอกจากสมาธิไม่ถึงจริง(จึงไม่แนบแน่นพอ) ถ้าแนบแน่นมากจะมีแต่รู้ๆในนิมิตนั้น แม้นความพอใจไม่พอใจก็ไม่ปรากฏ ...เช่นกัน ความคิดที่ผุดรู้ในเรื่องใด หากมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่ซัดซ่ายไปเรื่องอื่น ถ้ายังมีความคิดปรุงแต่งเข้าไปแทรก ก็ต้องเจริญสติให้มากขึ้น


    นิมิตทางรูป เช่น เห็นนรกสวรรค์มีเท่าไหร่กี่ชั้น พรหมเป็นอย่างไร รู้อดีตอนาคต หรือมีอศุภนิมิต..ฯลฯ
    นิมิตทางนาม เช่น รู้ธรรมข้อนั้นข้อนี้เป็นเช่นไร สงสัยอะไรก็เกิดรู้ขึ้นมาอย่างแจ่มชัด ปฏิจสมุปบาทเป็นอย่างไร จิตรับรู้ทีละขณะเป็นอย่างไร.. ฯลฯ
    อันนี้ก็เหมือนกัน
    หากผู้ที่มีความรู้ที่ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติมีสติรู้พร้อมเองอัตโนมัติ
    จะไม่เป็นอย่างที่ยกตัวอย่างที่ขีดเส้นใต้มานี้ คนละเรื่องเลย
    หรือกรณี ที่เป็นภาพ จิตจะจดจ่อต่อภาพในส่วนหนึ่งเป็นเครื่องอยู่
    ในอีกส่วนหนึ่ง จะมองมาในภายใน เห็นยินดี ยินร้ายในการกระทบในภายใน
    ที่นำขึ้นด้วยรูปนิมิตร
    เรียกว่า หากเดินลำดับในปฎิภาคนิมิตร ที่เริ่มเข้าองค์ฌาน
    จิตมีรูปนิมิตตั้งเป็นเครื่องรู้ในภายใน สติมีเครื่องระลึกในการกระทบในภายในนั่นคือ จิตที่ยินดี ยินร้าย ต่อการกระทบในภายในที่มีรูปนิมิตเป็นเครื่องตั้ง
    ..
    จะหมายถึงว่า นิมิตทางนามนี่ไม่มี แต่เป็นเรื่องวิตกวิจารณ์ เรื่องความยินดียินร้ายใช่ไหม ถึงแนะนำให้ลองศึกษานิมิตทางนามดู ถ้ามียินดียินร้ายนี่ สมาธิยังไม่ตั้งมั่นพอ


    ฉะนั้นที่กล่าวมาตามสี น้ำเงิน เป็นการกล่าว ที่ไม่เคยสัมผัส
    ความรู้ที่ผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ และมีสติรู้พร้อมอยู่
    ..
    อันนี้ปัจจัตตัง จะมีเจโตหรือกล่าวหาก็ไม่ว่ากัน (เพราะเห็นทำบ่อยอยู่แล้ว)
    ปกติคนเรา มีจิตฟุ้งซ่านคิดเรื่องนี้ไปเรื่องนั้นไปเรื่องโน้น คนที่มีสมาธิย่อมแนบแน่นกับความคิดที่กำหนดอยู่ ซึ่งไม่ใช่ความคิดฟุ้งซ่าน แต่เป็นความคิดเรื่องเดียว ถึงมีการฝึกสมถะเพื่อนำขึ้นวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว


    บางคนเกิดวิปัสสนูได้ หากเข้าไปหมายมั่น เพราะคิดอะไรก็คิดออกไปหมด เกิดความรู้ผุดขึ้นมามากมาย จนไม่เห็นไตรลักษณ์ และความไม่แน่นอนในความรู้นั้น ว่าสุดท้ายก็ดับไป...
    ผู้ที่มีสติรู้พร้อมเห็นอยู่ในความเกิดดับ เกิดดับ นั้นแหล่ะ
    ยิ่งเห็นแน่น เห็นมากในการอบรม
    ปัญญาจะเริ่มใกล้เข้าไปเห็น ไตรลักษณ์ ขึ้นมาทุกที
    คำว่า ญาณ ในอุปกิเลส 10
    2) ญาณ ความรู้เช่นทิพจักขุญาณ จากจิตที่เป็นสมาธิภาวนา สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลก รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ตามสมควร เลิกทำต่อไป หลงผิดคิดว่าได้ บรรลุมรรคผล ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ควรระมัดระวังไม่ให้หลงผิด
    ..
    เห็นไตรลักษณ์ก็ดีแล้วจ๊ะ จะได้ไม่อุปาทานเป็นอุปกิเลสขึ้นมา เพราะตัวมันดีอยู่แล้วหากไม่ไปสำคัญผิด และไม่อุปาทานยึดมั่นขึ้นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2012
  3. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    การพิจารณาสติปัฏฐาน 4
    ควรทำความเข้าใจว่า กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ส่วนหนึ่ง
    อีกส่วนหนึ่งคือจิต(ผู้เป็นเจ้าของ กาย เวทนา จิต ธรรม) หรือฐานของจิต
    เป็นคนละส่วนกันครับ
     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ไวพจน์ไม่ค่อยชอบฟังครับ
    ฟังแต่ ไผ่ พงศธร
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นิมิต ในทางพุทธศาสนามีความหมายได้หลายประการ เช่นหมายถึง อาการที่เชิญชวนให้เขาถวาย หรือหมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ในการเจริญกรรมฐาน, หรือภาพหรือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติพระกรรมฐาน, แต่นิมิตที่จะเน้นกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ นิมิตอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกรรมฐาน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ปรากฎหรือแสดงขึ้นเฉพาะตน ให้รับรู้ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นเมื่อได้กล่าวถึงเรื่องฌาน,สมาธิไปโดยละเอียดแล้ว จึงจำเป็นต้องกล่าวถึงนิมิต อันมักจะเป็นผลข้างเคียงหรือเครื่องเคียงที่มักเกิดร่วมด้วยเสมอๆ และจัดได้ว่าเป็นบ่วงมารอันหนึ่ง กล่าวคือถ้าไปอยากหรือไปยึดหรือไปเชื่ออย่างแน่นแฟ้นด้วยเหตุผลกลใดก็ตามทีในนิมิต ก็จัดว่าเป็นบ่วงมารทันที ซึ่งจักผูกมัดสัตว์ไว้ไม่ให้เห็นธรรม กล่าวคือ เกิดวิปัสสนูปกิเลสจัดอยู่ทั้งในข้อโอภาส,ญาณและอธิโมกข์ฯ. ซึ่งเมื่อเกิดกับผู้ใดแล้วก็จะน้อมเชื่อ,น้อมใจอยากด้วยอธิโมกข์จนถอดถอนไม่ออก แม้อธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมฟังไม่ยอมเชื่อด้วยฤทธิ์ของอธิโมกข์และเพราะตัวตนเองเป็นผู้เห็น, ตัวตนเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น จึงมีความน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอัตตาโดยไม่รู้ตัว ต้องให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จึงจะสามารถถอดถอนความเชื่อความคิดอันเห็นผิดในนิมิตได้ดี จึงจำเป็นต้องกล่าวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกันไว้บ้าง เพราะจำเป็นต้องผ่านกล่าวคืออย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นในที่สุดนั่นเอง
    นิมิตอันเกิดแต่การปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เขียนขอจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปใน ๓ ลักษณะใหญ่ ที่มักเกิดขึ้นทั่วไปเสมอๆ ในการปฏิบัติ หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันในผู้ที่มีความชำนาญ มีดังนี้

    รูปนิมิตหมายถึง การเห็น ภาพ อันปรากฏขึ้นเฉพาะแก่ผู้ปฏิบัตินั้นๆ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น การเห็นภาพอดีต อนาคต หรือเห็นภาพในสิ่งที่อยากเห็น เช่น เทวดา ผี นรก สวรรค์ วิมาน พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือโอภาสการเห็นเป็นแสง, สี, ดวงไฟต่างๆ อันต่างล้วนน่าพิศวงชวนให้ตื่นตาเร้าใจ จึงมักอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิดเป็นธรรมดา หรือการเห็นภาพที่ปรากฏเฉพาะขึ้นของนักปฏิบัติในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์, กสิณ หรือบริกรรมจากการปฏิบัติภาวนา และยิ่งเกิดง่ายขึ้นเมื่อมีผู้ฝึกสอนที่นักปฏิบัติเชื่อหรือศรัทธาอย่างอธิโมกข์คอยโน้มน้าวจิตให้เห็นในสิ่งต่างๆนั้น

    เสียงนิมิต การได้ยินเป็นเสียงอันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นเหตุหรือเป็นสำคัญ เช่น เป็นเสียงเตือนระวังอะไรๆ เสียงสั่งสอน เสียงเทพ เสียงผีเสียงปีศาจ เสียงระฆัง เสียงกลอง เสียงสวดมนต์ เสียงพูดต่างๆ เสียงคนพูดบอกกล่าวต่างๆ แม้แต่เสียงในใจจากผู้ที่พบปะ ฯ. แล้วย่อมน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอธิโมกข์ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ

    นามนิมิต เป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงแวบปิ๊งขึ้นในใจ อันมักเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติที่ไปพัวพัน แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาไปเห็นความจริง เช่น เกิดความคิด ที่คิดว่าเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องราวที่หมกมุ่นพิจารณา หรือศึกษา หรืออยากรู้ หรือเป็นความรู้ในธรรมต่างๆนาๆที่พิจารณา ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่มักจะผิดถ้าไม่ได้เกิดแต่การพิจารณาโดยปัญญาอย่างถูกต้อง และเมื่อบังเอิญเกิดถูกต้องขึ้นบ้าง ก็กลับเป็นบ่อเกิดของอธิโมกข์อันแรงกล้าในภายหน้า

    นิมิตเหล่านี้ มักเกิดขึ้นในภาวะของภวังคจิตที่จะกล่าวในลำดับต่อไป จิตจึงเกิดการอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างรุนแรงแต่เป็นไปอย่างผิดๆหรือขาดเหตุผล จึงยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสในข้อญาณคือมิจฉาญาณคือไปยึดไปเข้าใจว่าความเข้าใจเหล่านั้นเป็นไปอย่างถูกต้องแน่นแฟ้นด้วยอธิโมกข์เป็นเครื่องหนุน
    บางครั้งยังเกิดนิมิตทางจมูกก็ยังมี คือ ได้กลิ่นอันเกิดแต่ใจตนเป็นเหตุ ก็ยังมีได้ เช่นเกิดจากจิตเป็นกังวลหมกมุ่น ฯ.

    อนึ่งเป็นสิ่งที่น่ารู้ไว้อย่างยิ่งว่า นิมิต นั้นเมื่อปฏิบัติไปด้วยความเชื่อจนเกิดการสั่งสม ความชำนาญขึ้น บางครั้งนิมิตนั้นก็เกิดขึ้นในวิถีจิตหรือวิถีชีวิตปกติได้เช่นกัน กล่าวคือเมื่อเคยเกิดนิมิตขึ้นในขณะปฏิบัติแล้ว ซึ่งแรกๆก็มักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง แล้วเกิดนิมิตขึ้น จนเกิดการเห็นการใช้ในนิมิตต่างๆชำนาญขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดการสั่งสมได้ระยะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ จึงอาจเกิดนิมิตได้แม้ในยามวิถีจิต(วิถีชีวิตที่มีการรับรู้ตามปกติ)นี่เอง เมื่อน้อมนำหรือถูกกระตุ้นเร้าขึ้น จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี และมักเข้าใจผิดไปยึดไปเชื่อกันว่าถูกต้องแน่นนอนเป็นอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ จึงพาให้ทั้งตนเองและอีกทั้งผู้อื่นพากันไปหลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ(อธิโมกข์)ในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งที่เข้าใจไปนั้นๆ ก็ด้วยอวิชชานั้นแล

    นิมิต
    นิมิต นั้นก็เช่นสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก คือดีแท้ๆก็ไม่มี ชั่วแท้ๆก็ไม่ใช่ จึงมีทั้งดีและชั่ว ถูกหรือผิด ขึ้นกับผู้ใช้หรือนักปฏิบัตินั่นเอง ล้วนเป็นไปคล้ายหลักมัชฌิมาหรือทางสายกลาง กล่าวคือ มิใช่ตรงกลาง แต่ไม่สุดโต่งไปทางดีทางชั่วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียว เหมือนดังยา ถ้ากินดีถูกต้องก็มีประโยชน์ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็ย่อมให้โทษอันรุนแรงได้ นิมิตก็เฉกเช่นเดียวกันกับยา

    นิมิตที่ดีนั้น หมายถึงนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วทำให้นักปฏิบัติเกิดปัญญา คือเกิดนิพพิทาญาณ คือเกิดความหน่ายจากการรู้ความจริง จึงย่อมคลายความกำหนัดความอยากจากปัญญาที่ไปรู้ความจริงชัดเจนจากการปรากฎหรือแสดงขึ้นสอนของนิมิตอย่างแจ่มชัดจนน้อมเชื่อหรือเข้าใจ ดังเช่น การปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพิจารณาอสุภ(อสุภกรรมฐาน) กล่าวคือเอาภาพอสุภหรือซากศพเป็นกสิณหรืออารมณ์ แล้วเกิดนิมิตเห็นภาพปรากฏขึ้นของอสุภซากศพในลักษณะต่างๆแสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งน่าสังเวช น่ารังเกียจด้วยปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯ. ทั้งในร่างกาย จะแม้ของตนหรือผู้อื่นก็ตามที จนเกิดความหน่าย จึงคลายกำหนัดในราคะ หรือความยึดถือในตัวตนของตนเอง อย่างนี้ก็พึงถือว่าเป็นนิมิตที่ทำหน้าที่อันดีงามในการปฏิบัติ

    ส่วนนิมิตที่จัดว่าเป็นโทษนั้น หมายถึง นิมิตที่เกิดขึ้นแล้วเป็นบ่วงมารอันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสต่างๆดังเช่นในข้อโอภาสหรือญาณหรืออธิโมกข์ ฯ. กล่าวคือทำให้นักปฏิบัติเกิดโมหะความหลง จึงเกิดความติดเพลิน เพลิดเพลิน (นันทิ-ตัณหา)อันเนื่องมาจากโมหะความหลงด้วยอวิชชา เช่นว่า เพลิดเพลินไปปรุงแต่งต่างๆ หรือเห็นผิดไปว่าเป็นบุญ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช เป็นปาฏิหาริย์ เหนือกว่าผู้อื่น มีอำนาจในการเห็นต่างๆเช่นเห็นอดีต เห็นอนาคต หรือทำไปเพื่อหวังในลาภยศสักการะ,สรรเสริญ,ศรัทธา กล่าวคือก็ล้วนเพื่อประโยชน์ทางโลกหรือโลกิยะที่บางท่านก็เป็นไปโดยไม่รู้ตัวฯลฯ. จึงเกิดการไปยึดติด ยึดถือ ยึดหลง จนติดเพลิน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง และความไม่รู้ตัว และสิ่งที่เห็น(รูปนิมิต)หรือเข้าใจ(นามนิมิต)หรือได้ยิน(เสียงนิมิต)นั้นมักไม่ถูกต้อง เนื่องจากความคิดเห็น(สัญญา)และความไม่เป็นกลางที่แอบแฝงนอนเนื่องโดยไม่รู้ตัวด้วยตัณหาอุปาทาน จึงทำให้การเห็นเหล่านั้นอันเนื่องจากจิตที่สงบระงับจากกิเลสในฌานสมาธิในระยะแรกๆนั้นเสื่อมไปในที่สุด เพราะความอยากรู้อยากเห็นด้วยกิเลสนั่นแล เพราะการเห็นได้อย่างถูกต้องนั้นต้องประกอบด้วยความเป็นอริยะ คือต้องอาศัยญาณ และ อุเบกขาความเป็นกลาง เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2012
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    มอนิ่ง มอนิ่งครับ

    ถ้าเป็นนิมิตทางรูป จากอศุภะ มันก็ต่อเนื่อง(กระแสที่สืบทอด) ไม่ย้ายนิมิต นอกจากสมาธิไม่ถึงจริง(จึงไม่แนบแน่นพอ) ถ้าแนบแน่นมากจะมีแต่รู้ๆในนิมิตนั้น แม้นความพอใจไม่พอใจก็ไม่ปรากฏ ...เช่นกัน

    ตรงนี้ไม่จริงหรอกครับ หากผู้ที่มี สติรู้พร้อมอยู่ ย่อมเห็น ยินดี ยินร้ายปรากฎ
    แทบไม่ขาดสาย แต่ไม่หวั่นไหวในความยินดี ยินร้ายนั้น อันนี้จึงเรียกว่า
    เป็นการเดิน สัมมาสมาธิ เป็นการควบ สมถะวิปัสนา
    แต่หากจะเป็นการที่เจ่ปุณฑ์กล่าวตามสีน้ำเงิน
    ผู้ที่ตั้งรูปนิมิตร แต่ไม่เห็นความยินดียินร้าย อันนี้คือผู้ทำฌานเข้าไปในความแนบแน่น เป็นฌานของฤษี แต่หากผู้ใดทำได้ก็ทำไปก่อนในเบื้องต้น
    จะต่างจากผู้ที่มีสติรู้พร้อม ในฌานในอริยะมรรค



    ฉะนั้นที่กล่าวมาตามสี น้ำเงิน เป็นการกล่าว ที่ไม่เคยสัมผัส
    ความรู้ที่ผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ และมีสติรู้พร้อมอยู่
    ..
    อันนี้ปัจจัตตัง จะมีเจโตหรือกล่าวหาก็ไม่ว่ากัน (เพราะเห็นทำบ่อยอยู่แล้ว)
    ปกติคนเรา มีจิตฟุ้งซ่านคิดเรื่องนี้ไปเรื่องนั้นไปเรื่องโน้น คนที่มีสมาธิย่อมแนบแน่นกับความคิดที่กำหนดอยู่ ซึ่งไม่ใช่ความคิดฟุ้งซ่าน แต่เป็นความคิดเรื่องเดียว ถึงมีการฝึกสมถะเพื่อนำขึ้นวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว

    หากเจ่ปุณฑ์เข้าใจ ในความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดแต่มีสติรู้อยู่พร้อม
    มันไม่ขัดกันหรอกครับ แต่เจ่ปุณฑ์ไม่เข้าใจตั่งหาก
    ผมก็ยืนยันการกล่าวไม่ใช่เอาเจโตไปรู้ไปดูหรอก
    แต่เทียบเคียงให้เห็นความต่างจากที่ผมเห็นในการปฏิบัติ

    จะอธิบายตรงนี้
    ปกติคนเรา มีจิตฟุ้งซ่านคิดเรื่องนี้ไปเรื่องนั้นไปเรื่องโน้น คนที่มีสมาธิย่อมแนบแน่นกับความคิดที่กำหนดอยู่ ซึ่งไม่ใช่ความคิดฟุ้งซ่าน แต่เป็นความคิดเรื่องเดียว ถึงมีการฝึกสมถะเพื่อนำขึ้นวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่นดีแล้ว
    อันนี้ก็กล่าวถูกต้อง แต่มาดูตรงที่ผมอธิบาย
    ตรงที่ มีความคิดหลายอย่างแต่มีสติรู้พร้อม ไม่ได้เรียกว่าความฟุ้งซ่าน
    ในขณะทำในรูปแบบ ที่ตั้งสมถะเป็นฐาน
    เมื่อเกิดสภาวะความคิดที่เกิดมาแบบผุดๆ จิตจะมีกำลังจากสมถะที่ตั้งไว้
    สติก็จะทำหน้าที่ระลึกในสิ่งที่ผุดออกมาโดยไม่ทำให้จิตหวั่นไหว
    ด้วยจิตมีกำลังจากสมถะในรูปแบบเป็นกำลัง
    ความคิดนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวแต่มีหลายอย่าง
    แต่จิตก็สงบนิ่งในความมีหลายอย่าง
    ยิ่งความคิดมา จิตยิ่งแจ่มใส มีปีติ มีสุข วนไปอยู่อย่างนี้
    ตามแต่กำลัง ที่ทำมาไว้เป็นฐานจะเอื้ออำนวย

    การเห็นในลักษณะนี้ จิตจะรู้เห็นแต่ สิ่งที่เกิด เกิดดับ
    เห็นแต่ สิ่งที่เกิดดับ เกิดดับ เป็นอารมณ์ นี่เกิดแล้วก็ดับ
    นี่เกิดแล้วก็ดับ นี่เกิดแล้วก็ดับ อยู่อย่างนี้
    จะแตกต่างจากการขึ้นสมถะตอนแรก
    ตอนที่จดจ่อในอารมณ์เดียวหรือ ทำให้อยู่ในความคิดอันเดียว


    จะอธิบายตรงนี้อีกหน่อย

    จะหมายถึงว่า นิมิตทางนามนี่ไม่มี แต่เป็นเรื่องวิตกวิจารณ์ เรื่องความยินดียินร้ายใช่ไหม ถึงแนะนำให้ลองศึกษานิมิตทางนามดู ถ้ามียินดียินร้ายนี่ สมาธิยังไม่ตั้งมั่นพอ

    นิมิตรทางนาม มีหลายอย่างเช่น
    พุทโธ ที่เอามาเป็นคำบริกรรมก็เป็น นิมิตทางนาม
    หรือคำภาวนาที่เอามาขึ้นก็เรียกนิมิตทางนาม
    ความคิด ความรู้ที่ผุดขึ้นก็เรียกนิมิตทางนาม

    หรือเอาง่ายๆ หากยังมีรู้อยู่ที่ไหน ก็ยังมีนิมิตอยู่ที่นั่น

    หากจะบอกว่า มียินดี ยินร้าย สมาธิยังไม่ตั้งมั่นพอ
    ในเสต็บที่ทำฌานเข้าไปอัปนา มันจะกลบเพิกอารมณ์แม้กระทั้ง ยินดียินร้าย
    จนไปอยู่ในอารมณ์เดียว นี่ก็เรียกว่าทำให้จิตตั่งมั่น
    แต่ มันไปตั่งมั่นในอารมณ์เดียว ตรงนี้ หากเจ่ปุณฑ์ จะกล่าวว่า
    ถ้ามียินดี ยินร้ายนี่สมาธิยังไม่ตั่งมั่นพอ
    อันนี้ก็กล่าวถูกเพราะหมายเอาในอารมณ์เดียว (ฌานฤษี)

    แต่ สมาธิในสัมมาสมาธิ จะเห็น ยินดี ยินร้ายแต่จิตตั่งมั่นไม่หวั่นไหว
    มีสติรู้พร้อม นำยินดียินร้าย มาเป็นเครื่องรู้เครื่องระลึกของสติ
    ยินดี ยินร้าย มันจะซ้อนมาเรื่อยๆ ในระหว่าง ที่มีสติรู้พร้อมปั๊บ ดับปุ๊บ
    แล้วก็เกิดมาใหม่ เกิดดับ เกิดดับ เรื่อย ๆ ซ้อน มาแทบไม่ขาดสาย
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กำหนดรูปนาม ลงวิปัสสนาภูมิสิ จะได้ละนิมิต คลายความยึดมั่น ด้วยปัญญา
     
  8. ผีกระติ๊บ

    ผีกระติ๊บ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +51
    ถามหน่อยนะ ไอ้ที่ว่ารู้ความคิดที่ผุด แบบรู้แล้วปล่อย รู้แล้วปล่อยเนี่ย เวลารู้มันรู้ไกลๆ บางๆ หรือ รู้ไกล้ๆ ชัดๆ ถ้าเป็นรู้ไกลๆ บางๆ รู้แล้วปล่อย ๆ มันก็จำสิ่งที่รู้ไม่ได้อะสิ ..
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขออนุญาติตอบ

    ถ้ามีสติรู้คิดจริง ขณะนั้นจะไม่สนใจเรื่องราวความคิดเลย

    แต่สติจะระลึกถึงลักษณะ อาการ กิจของสัญญา สังขารปรุงแต่ง


    รู้ไกลๆ เหมือน รู้เรื่องราว แต่ไม่ไปเอากับมัน

    รู้ชัดๆ เหมือน ตื่นจากฝัน
     
  10. ผีกระติ๊บ

    ผีกระติ๊บ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +51
    แปลว่าที่รู้แล้วปล่อยนั้น รู้เพียงเพื่อรู้ลักษณะ อาการ กิจของสัญญา สังขารปรุงแต่ง เท่านั้นหรือครับ เรื่องราวที่รู้นั้นไม่สำคัญใช่ใหมครับ
    เพราะรู้ไกลๆมันจำเรื่องที่รู้ไม่ได้หนะครับ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รู้ไกลๆ รู้บางๆ นี่คือ รู้ไม่ชัด รึป่าว
    รู้ใกล้ๆ ชัดๆ ก็คือรู้ชัด :cool:

    รู้ปล่อย เขาไม่ได้ให้จำ ไม่ได้ให้ไปรู้เรื่องที่รู้ แค่รู้ตัวว่ามีเรื่อง ก็ปล่อยเรื่องที่รู้ไป

    แล้วก็รู้เรื่องใหม่ต่อไปเรื่อยๆ เรื่องเก่ามันเป็นอดีตแล้วไม่ต้องไปตามรู้เรื่อง
    ปล่อยรู้เรื่องเก่า มารู้เรื่องใหม่ๆซิงๆ ที่เป็นเรื่องปัจจุบันแทน มันจะรู้ปล่อยๆๆ
    จนพอจิตมันสงบแล้ว จะเหลือแต่รู้(ว่างๆ) อยู่กับว่างๆ ซักพัก(พักผ่อนพักจิต)
    จิตว่างๆ มันเป็นเครื่องอยู่สบาย พอไม่มีอะไรมากวนไม่มีเรื่องอะไรแล้ว
    มันก็จิตมันก็ใส ไหลนิ่ง(ว่าง รู้ว่าว่าง รู้ว่านิ่งอยู่) ก็จะเกิดจิตผู้รู้นิ่งๆอยู่
    ก็ถึงเวลาเห็นจิตผู้รู้ ย้อนมารู้จิตผู้รู้ ได้ ก็ถึงทีเด็ดแล้ว จากที่วุ่นวาย
    ปล่อยรู้เรื่องราวความคิดอารมณ์ต่างๆนิวรณ์ต่างๆ ก็มารู้เรื่องของจิตผู้รู้แทน
    มาย้อนรอยปล่อยรู้จิตผู้รู้ เข้าสู่วิปัสสนาภูมิ รู้นิ่ง รู้สงบ รู้องค์ฌาณเกิดดับ
    รู้นิวรณ์เกิดดับ รู้ยินดียินร้ายในจิตผู้รู้ รู้เมตตา รู้กรุณา รู้มุทิตา รู้อุเบกขา
    รู้อารมณ์ละเอียดของจิตผู้รู้ที่เด่นดวง มีสมาธิตั้งมั่นมากก็รู้ชัดก็เห็นชัด
    มีสมาธิตั้งมั่นน้อยก็เห็นไม่ชัด สติ มีตลอดเวลาที่รู้สึกตัวอยู่แล้ว

    เข้าใจว่า เป็นปัญญาอบรมสมาธิ นะ เราฝึกแบบนี้อยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ช่าย ไม่ช่าย

    รู้ไกลๆ มันมีเรื่องราวให้รู้ ซึ่งขณะนั้นก็รู้อยู่ เรื่องราวเป็นของที่ถูกรู้

    เหตุเพราะมีอารมณ์ตั่งมั่น มันก็รู้แบบห่างๆ ไม่ได้ไปเอากับมัน

    แต่ก็ยังมีหลงเรื่องราวนิมิตอยู่ เป็นคนสัตว์ ไม่รู้ตัว

    ต้องสังเกตุเอา ว่าอารมณ์ในการรู้นั้น เป็นเวทนาขันธ์ ซึ่งเกิดกับ โลภะ โมหะก็ได้


    ส่วน รู้ชัด เหมือน ตื่นจากฝัน

    หมายถึง สติรู้ลักษณะเลย มันข้ามเรื่องราวคนสัตว์ ความนึกคิด ไปรู้ลักษณะที่สังขารกำลังทำกิจ เกิดขึ้นมาปรุงแต่งอยู่

    นั้นแหละครับ ลักษณะของเจตสิกที่ปรุงอยู่จะค่อยๆดับลงให้รู้ได้

    เหมือนผู้ขับรถ กับ ช่างซ่อมรถ

    ผู้ขับรถ จะมองเป็นรถเป็นรถ รถเสียก็รู้ว่ารถเสีย แค่นั้น

    ช่างผู้ซ่อมรถ จะมองเป็นชิ้นส่วนอะไหล่ ว่าอะไหล่ชิ้นนี้ทำให้รถเคลื่อนได้ เคลื่อนไม่ได้ จะแก้ก็ต้องแก้ที่เหตุ



    เหมือน หลงเรื่องราว เดินทาง พบเห็นคนสัตว์ พูดคุยทุกเรื่อง เป็นเรื่องเป็นราว จะเอากับมัน หรือไม่เอากับมัน ก็ไม่ต่างกัน

    พอตื่นขึ้นมา มันรู้สั้นๆว่า ความฝัน มันไม่จริง ที่จริงคือฝัน มันก็จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เคยตกภวังค์ อยู่ 6 วัน เหมือนฝัน รู้ว่าไม่ใช่ความจริง รู้ว่ามันเพี้ยนมันทะแม่งอยู่

    กลัวมากมาย กลัวว่าจะไม่ได้ตื่นมาอยู่กับความเป็นจริงอีก :'(

    ไม่หิว ไม่ง่วง ไม่นอน พูดได้ ชวนคนที่บ้านทะเลาะได้ ไม่ได้ไปทำงานรวม 12 วัน

    สุดท้ายบอกตัวเองช่างมัน อะไรจะเกิดก็เกิด ไม่เอาอะไรแล้ว เลิกดิ้นรน เลิกหนี เลิกคิด

    เลิกต่อต้าน ใครบอกให้ทำอะไรก็ทำไปงั้นๆ วันที่ 6 มันนอนได้เองตื่นมาก็เป็นปกติ

    เห็นโลกกลับมาเหมือนเดิม เหมือนตื่นจากฝันร้าย แต่ตอนที่ฝันร้ายอยู่บ้าน 6 วันนี่

    จำลูกจำสามี จำพ่อแม่ จำเพื่อน จำบ้าน ได้หมด แต่บรรยากาศนอกบ้านเป็นแบบมาคุ

    มีฝนตกไม่ลืมหูลืมตา บ้างช่วงฟ้าเป็นปกติ บ้างช่วงเป็นฟ้ามืดลมพายุรุนแรง

    จะว่าไปก็เหมือนอาการคนบ้านะเนี่ย แต่ยังมีสติรู้ตัวอยู่เป็นระยะ

    6วัน น้ำหนักตัวหายไป 8 กก. แต่พอออกจากภวังค์ นอนหลับสนิทและตื่นขึ้นมา

    มันเหมือนกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น กับเรา เป็นปกติเหมือนเดิม ไม่ได้มีอาการหิวโซ หรืออาการแฮงค์อื่นๆ

    แต่ว่า ต้องเขียนใบลางาน ใช้วันลาพักร้อน+ลากิจ หมดตัวเลย :'(

    และสามี ดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอด คุยกันตลอด (รวมถึงชวนเขาทะเลาะด้วยนะ แหะ แหะ)

    รวมถึงเล่าอาการตอนที่เราจำไม่ได้ (ขาดสติ) ให้ฟังด้วย ว่าทำวีรกรรมอะไรไว้บ้าง :'(

    แต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี อย่างหนึ่ง

    ทำให้รู้จักคำว่า อย่าประมาท และอย่ามั่นใจตนเองจนเกินไป

    นี่ถ้าอยู่คนเดียวนะ ยังนึกไม่ออกว่าจะเป็นยังไงต่อไป จะจบสวยหรือเละเป็นโจ๊ก

    ตลอด 6 วันนี่ สามีเรียกชื่อตลอด เตือนสติให้รู้ตัว เอาบทสวดมนต์มาให้อ่าน

    ท่องยอดกัณฑ์พระไตรปิฎก และอื่นๆ อีกมากมาย

    สามีเขาบอกว่า เราตกเข้าไปในโลกจินตนาการส่วนตัว แต่เราคิดว่ามันเป็นภวังค์นะ

    พอดีเป็นครั้งแรกในชีวิตเลย งงๆ ทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะมีครั้งที่2 อีกไหม :'(

    โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นอาการของสมถะ ที่ทำอยู่แบบไม่รู้ตัวเป็นอาจิณ แล้วมันล้ำหน้า สติตามไม่ทัน

    ปัญญาไม่พอช่วยเหลือตัวเอง ไม่มีปัญญามาตัดก็เลย หลงโลก หลงอยู่ในภวังค์ ฝันตอนกลางวันเลยแหละ

    น่าเชื่อปะเนี่ย :'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก่อนที่จะไม่หิว ไม่ง่วง ไม่นอนนั้น ต้องเจออะไรมาแน่ๆ แต่ให้ผลเป็นลบ ^^

    ก่อนหน้านี้ไปทำอะไรมาครับ
     
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่หลงอธิบาย อนิมิตตสมาธิหน่อยสิครับ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทำการฝึกใช้จินตนาการ ลองเล่นกับจิตตัวเอง แหะ แหะ :'(

    ลองของตัวเอง ลองปล่อยเสือเข้าป่า มั่นใจตัวเองมากไปหน่อย

    และอาจมีสิ่งแปลกปลอม เข้ามาแทรกด้วย แต่ไม่ทันระวังตัว ก็เลยเสร็จโจร

    ตอนที่จบออกมาได้นั้น จิตมันบอกว่าไม่เอาอะไรทั้งนั้น เอาอะไรมาประเคนให้เราก็ไม่รับ
     
  17. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    พี่ขวัญเป็นอาการ โมหะสมาธิ
    เขาเลือกการตั้งผิด
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ถามเอกวีร์สิ เขาเคยศึกษาอยู่ครับ แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจ
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แค่อยากลองดูเล่นๆ แต่ดันเจอของจริง กลับลำแทบไม่ทัน

    รู้ที่ผิด ถึงได้รู้จักที่ถูก ไง

    แต่โชคดีที่ไม่ได้อยู่คนเดียว

    พอมีประสบการณ์แล้ว มันก็รู้จักระวังตัวเอง ถ้าเป็นแบบเดิมก็ไม่น่าจะพลาดท่าซ้ำ

    นอกจากว่า โจรมันจะมาแนวใหม่ จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน อาจมีรอบ 2 :'(

    แต่คาดว่า จะไม่หมู เหมือนรอบแรก :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2012
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เคยเกิดโทสะรุนแรงมาก

    มันรู้ตัว รู้ว่าทำอะไร แต่ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ

    ขณะนั้นโทสะเป็นใหญ่ แต่โมหะเป็นประธาน โลภมาแจมเป็นพักๆ

    คิดวลอยู่แต่เรื่องเดิมๆ คิดอะไรไม่ไกล เอามันเฉพาะหน้า เอามันเข้าตัวอย่างเดียว

    ไม่กิน ไม่หิว ไม่นอน มีแต่ฟุ้งซ่าน

    เหมือจิตมันมั่นหมาย ยึดแต่เรื่องเดียวซ้ำๆจนเป็นภพขึ้นมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...