illuminati อยู่เบื้องหลังยุให้ ไทย-กัมพูชา ฆ่ากันเอง เพื่อ... (หลายคนไม่รู้ความจริงนี้)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Premsuda (May), 13 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. Powernext

    Powernext เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +3,290
    ขอมไม่ใช่เขมร

    ขอม...ก็คือ...ขอม
    ขอม...ไม่ใช่...เขมร
    เขมร...คือ...ชนเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากอินเดีย
    ปราสาทขอม...ไม่ใช่ปราสาทเขมร...
     
  2. Jedi Master

    Jedi Master Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +75
    <!--check entry comment -->วันอังคาร ที่ 21 กรกฎาคม 2552
    ขอม คือ ใคร Who are the Khom?
    Posted by Supalak , ผู้อ่าน : 743 , 17:40:26 น.
    หมวด : ต่างประเทศ
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    [FONT= ][/FONT][FONT= ] [​IMG]
    [/FONT]

    [FONT= ]หลังจากที่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจแบบผิดๆเกี่ยวกับความเป็นขอมและเขมร ด้วยการบอกว่า ขอมไม่ใช่เขมร และเขมรไม่ใช่ขอม เพื่อจะบอกความหมายโดยนัยว่า บรรดาปราสาทหินและดินแดนที่อยู่ในประเทศกัมพูชาทุกวันนี้ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประชาชนชาวกัมพูชาเลย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ ได้อธิบายเรื่องนี้[/FONT][FONT= ]
    (1)
    คำในภาษาเขียนและภาษาพูดของไทยและลาว คือ “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชา” (Khom, Khmer, Khamen, Cambodia) นั้นมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนมาก ทั้งในแง่ของความหมายว่าหมายถึงเรื่องของ “ชาติพันธุ์” หรือ “เชื้อชาติ” (คือหมายถึง “คน” ethnic/race) หรือหมายถึง “วัฒนธรรม” (“ภาษา” “อักษร” “ปราสาท-เทวรูป-พุทธรูป-ศิลปะ” culture/language/scripts/prasat /images) หรือว่าหมายถึง “นาม/ชื่อ” ของดินแดน อาณาจักร ประเทศชาติ ฯลฯ (place-names: land-kingdom-country-nation) หรือไม่และอย่างไร
    [/FONT]


    [FONT= ]คำชุดนี้ มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนไม่แพ้คำว่า “ไทย-ไท-ไต-ลาว-ฉาน-ชาน-ซำ-ซัม-สยาม-เสียม-เซียม-เสียน ฯลฯ” (Thai-Tai-Lao-Shan-Sam-Siam-Siem-Sien, etc.)

    สำหรับคำว่า “ขอม” เป็นคำไทยและลาว และก็ไม่มีอยู่ในภาษาพูดหรือภาษาเขียนของกัมพูชาแต่อย่างใด คนกัมพูชา/เขมร ไม่รู้จักและไม่น่าจะสนใจคำว่า “ขอม” แต่คำๆนี้ ก็มีรากศัพท์มาจากภาษาของกัมพูชา กล่าวคือ ทั้งไทยและลาวนำเอาจากคำว่า “ขะแมร์-กรอม” (Khmer Krom) หรือ “เนี๊ยกอีกรอม” (คนใต้/ขะแมร์ใต้)

    คำว่า “ขอม” นี้เราจะยังพบได้ใน “ภาษาเขียน” ของพระราชพงศาวดาร หรือไม่ก็ในตำนานไทย/ลาว เช่น “ขอมดำดิน” สมัยสุโขทัย หรือ “ขอมแปรพักตร์” สมัยต้นอยุธยา และเราก็ยังพบใน “ภาษาพูด” ของชาวบ้านทั่วๆไปในประเทศลาวและประเทศไทย เช่นคำว่า ปราสาทขอม ตัวขอม ยันตร์ขอม เทวรูปขอม พุทธรูปขอม หลวงพ่อขอม เป็นต้น
    (2)
    นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ (รวมทั้งจิตร ภูมิศักดิ์ และอุไรศรี วระศริน ซึ่งรู้ภาษาเขมรสมัยใหม่และสมัยโบราณ) ต่างก็ลงมติเห็นพ้องต้องกันว่า คำว่า “กรอม” นั้น แปลว่า “ต่ำ ใต้ ล่าง” ลิ้นไทย/ลิ้นลาว จะออกเสียงคำนี้กร่อนและเพี้ยนเป็น “กะหล๋อม” เป็น “กล๋อม” หรือเป็น “ก๋อม” ในที่สุดก็กลายเป็น “ขอม” นั่นเอง

    ดังนั้น คำว่า “ขอม” นี้ ทั้งคนไทย/ทั้งคนลาวก็ใช้เรียก “ผู้คน ชนชาติ ปราสาท ตัวหนังสือ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม” ที่พบทั้งในดินแดนกัมพูชา และทั้งที่พบในสยามประเทศ(ไทย) กับใน สปป. ลาว และก็ใช้กันแพร่หลายทั่วไปตั้งแต่สมัยสุโขทัยกับสมัยต้นอยุธยา (รวมทั้งในล้านนาและล้านช้าง)

    อนึ่ง ขอแทรกเพิ่มเติมว่า คำว่า Khmer Krom หรือ “ขอม” นี้ ก็ยังใช้กันอยู่และพบทั่วไปในเวียดนามในปัจจุบัน ทางแถบใกล้ปากแม่น้ำโขง ติดกับพรมแดนกัมพูชาใกล้เมือง “ออกแก้ว” และฮาเตียน (บันทายมาศ) ซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่อง “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” ว่าด้วยเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ขะแมร์/เขมรในเวียดนาม ทำนองคล้ายกันกับ “ชาติพันธุ์มลายู” ในสามสี่จังหวัดภาคใต้ของไทย ทำนองเดียวกันกับธิเบตหรืออุยกูร์ในจีน
    (3)
    สำหรับคำว่า “เขมร” นั้นเป็นคำไทยที่สะกดตามตัวอักษรเดิม (และเพื่อความชัดเจน ขอถอดออกมาตามแบบอักษรละติน คือ Khmer) หากจะออกเสียงให้ถูกตามต้นตำหรับของเดิม ต้องรัวลิ้นมีตัว “ร.เรือ” อยู่ข้างท้ายด้วย เป็น “ขเมร” หรือ “ขะแมร”

    แต่ลิ้นไทยลิ้นลาว ออกเสียงพยัญชนะตัวท้ายด้วยการทำให้ ร.เรือ กลายเป็น น.หนู ดังนั้น ก็เลยกลายเป็นคำในภาษาพูดว่า “ขะ-เหมน” (เหมือนคำว่า “นคร” ที่กลายเป็น “นะ-คอน” หรือ “คอน” หรือคำว่า “ละคร” กลายเป็น “ละคอน” แล้วก็กลายเป็น “โขน” ในที่สุด)
    (4)
    คำว่า “ขอม” เป็นคำที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อนมาก และด้วยทัศนคติที่มี “อคติ/มายาคติ” ของ “ลัทธิอำมาตยาเสนาชาตินิยม” ก็ทำให้มีการตีความเลยเถิดไปว่า “ขอมไม่ใช่เขมร” หรือ “เขมรไม่ใช่ขอม” หรือแม้กระทั่งเลยเถิดไปไกลถึงขนาดว่า “ขอมคือไทย/สยาม” หรือไม่ก็ “ไทย/สยามคือขอม” เป็นต้น

    นี่เป็นมรดกตกทอดจากช่วงการเมืองทศวรรษ 2470 ที่เราจะพบได้ในงานของนักคิดนักเขียน และข้าราชการกรมศิลปากร อย่างหลวงวิจิตรวาทการ (กิมเหลียง วัฒนปฤดา) หรือนายธนิต (กี) อยู่โพธิ์ ที่ตกทอดมายังคนรุ่นต่อๆมา เช่น น. ประภาสถิตย์ หรือ “นายหนหวย” และ/หรือสำนักประวัติศาสตร์กับโบราณคดีของบางมหาวิทยาลัย เช่น มศว. หรือ ศิลปากร ในทางกลับกันกลุ่ม “ชาตินิยม” ดังกล่าว ก็จะกล่าวหาว่าสำนักที่เชื่อว่า “ขอมคือเขมร” หรือ “เขมรคือขอม” ก็จะถูกตราหน้าว่า “ตามก้นฝรั่ง” หรือ “สำนักฝรั่งเศส” อย่าง ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล และศิษย์

    เราต้องไม่ลืมว่าในช่วงของทศวรรษ 2470 นั้น จะจบลงด้วยการ/ปฏิวัติ-รัฐประหาร 24 มิถุนายน 2475 ที่ทำให้กระแสของ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ผงาดขึ้นมาแทนที่แทน “ราชาชาตินิยม” (ที่ศูนย์กลางของชาติย้ายจาก “กษัตริย์” มาเป็น “เชื้อชาติไทย” ดังที่ปรากฏในเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ ที่ว่า “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย”) เปลี่ยนจุดศูนย์กลางจาก “สีน้ำเงิน” มาเป็น “สีแดง” และนำไปสู่การเปลี่ยนนามประเทศ/เพลงชาติโดย “ปีกขวา” ของคณะราษฎร จาก “สยาม” เป็น “ไทย” จาก Siam เป็น Thailand

    แม้แต่ “พระสยามเทวาธิราช” ก็ยังถูกเปลี่ยนนามเรียกไประยะหนึ่งว่าเป็น “พระไทยเทวาธิราช” ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะได้รับการทัดทานจาก “ปีกซ้าย” ของคณะราษฎร เช่น นายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ก็ตาม และมรดกของลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ที่แปรเปลี่ยนรูปไปเป็น “เชื้อชาตินิยม” (Racism) เช่นนี้ ก็ยังอยู่กับเราจนถึงปัจจุบัน เหมือนๆกับ “วาทกรรม-ขอมไม่ใช่เขมร” นั่นเอง

    จำได้ว่าครั้งหนึ่งสำนักศิลปวัฒนธรรม สมัยสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังเป็น บก. อยู่นั้น ได้จัดอภิปรายเรื่อง “ขอม คือ ใคร” ณ หอศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ สะพานผ่านฟ้า โดยเชิญนักวิชาการทั้ง 4 มาร่วมอภิปราย คือ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ศรีศักร วัลลิโภดม, ไมเคิล ไรท์, และชาญวิทย์ เกษตรศิริ
    [/FONT]


    [FONT= ]
    [/FONT]


    [FONT= ]ในตอนท้ายของรายการมีการยิงคำถามตรงว่า [/FONT][FONT= ]“ท่านคิดว่า ขอมคือเขมร ใช่หรือไม่” ดร. ประเสริฐ ตอบอย่างเนิบนาบและเชื่องช้าตามแบบของท่านว่า “อือ... ใช่” ส่วนไมเคิล ไรท์ และชาญวิทย์ ตอบตรงว่า “ใช่” เช่นกัน มีเพียงท่านเดียว คือ ศรีศักรที่ตอบปฏิเสธ
    (5)
    กล่าวโดยย่อ อันว่าเทือกเขาพนมดงรัก พรมแดนของสยามประเทศ(ไทย)-ลาว-กัมพูชานี้ที่ด้านหนึ่งทางเหนือ คือ “ขะแมร์เลอ” หรือ “เนี๊ยกอีเลอ” กับอีกด้านหนึ่งทางใต้ คือ “ขะแมร์กรอม” หรือ “เนี๊ยกอีกรอม” เป็นดินแดนของชนชาติ “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชา” ที่อาศัยอยู่ร่วมกับชาติพันธ์ุอื่น ๆอันหลากหลายของอุษาคเนย์

    ชนชาตินี้ประสบความสำเร็จในการสร้างอารยธรรมอันยิ่งใหญ่และสูงส่งของ Angkor หรือ “อาณาจักรเมืองพระนคร” (Angkorian Kingdom ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “นครวัดนครธม”) อันเป็นมรดกวัฒนธรรม “ร่วม” ตกทอดมามาสู่ “รัฐ-ชาติ” (nation-state) สมัยใหม่ อย่าง กัมพูชา-ลาว-ไทย

    ทั้ง Thailand ทั้ง Laos ทั้ง Cambodia เป็นหนี้ทางวัฒนธรรมต่อ Angkorian Kingdom แน่นอนผู้ที่สืบมรดกโดยตรง ก็คือ ประชาชนและประเทศชาติกัมพูชาในปัจจุบัน นั่นเอง

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง “ขอม-ขะแมร์-ขะเหมน-เขมร-กัมพูชาโบราณ” นั้น ดูประหนึ่งน่าจะเป็น “กรีก-โรมัน” แห่งอุษาคเนย์ แน่นอนขอม/เขมรโบราณ ก็เรียนรู้และลอกเลียนมาจากอินเดีย มาจากทมิฬ อีกทอดหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการไหลทอดถ่ายเท หยิบยืม ส่งออกและนำเข้าอยู่ตลอดเวลา หาได้จำกัดอยู่ในโลกแคบๆ ตามจินตนาการของผุ้คนของ “รัฐ-ชาติ” สมัยใหม่ไม่

    ผู้คนกัมพูชาปัจจุบันบางกลุ่ม รังเกียจเสียงและสำเนียงของคำพูดว่า “ขะเหมน” ของไทยและลาว เพราะตีความว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์/เชื้อชาติ ดังนั้นเพื่อ “สมานฉันท์” กับเพื่อนบ้านในสุวรรณภูมิ/อุษาคเนย์/อาเซียน เพื่อการสร้าง “สปิริตอาเซียน” ขึ้นมาให้จงได้ เราต้องยกเลิก “นโยบายอสมานฉันท์” กับเพื่อนบ้าน เราต้องขจัดซึ่ง “อคติ” และ “มายาคติ” ที่เป็นมรดกตกทอดที่เป็น “อประวัติศาสตร์” และ “วาทกรรม” ประเภท “ขอมไม่ใช่เขมร” และ/หรือ “การเสียดินแดน” ประเภท “เสียแล้วเสียอีก” แต่ไม่เคย “ได้ดินแดน” เอาเสียเลย

    และหากจะเลี่ยงในภาษาพูด ไม่ใช้คำว่า “ขะ-เหมน” หันไปใช้คำว่า “กัมพูชา” หรือคำว่า “ขะแมร์” ก็จะดีกว่า เหมือน ๆ กับที่เราควรเลี่ยงไม่ใช้คำว่า “เจ๊ก” สำหรับเรียกคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนกวางตุ้ง จีนแคะ จีนไหหลำ นั่นเอง [/FONT]

    [FONT= ]ชาญวิทย์ เกษตรศิริ[/FONT][FONT= ] [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    จะเป็นใครก็ช่างเขาเถอะ

    ทำตนเองให้ดีก่อน
     
  4. TeachMe

    TeachMe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +117
    พรานเขมร - - ความรู้ท่วมหัว แต่คงเอาตัวไม่รอด
     
  5. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ไทยไม่ได้เป็นศรัตตรูกับกัมพูชาหรอก
    แต่มันเป็นแค่กระแสรักชาติ
    ที่นำเขาพระวิหารมาอ้าง
    ทำลายความสัมพันธ์
    มันเป็นแค่เกมการเมือง

    และคนที่คิดแบบนี้ก็มีแต่พวกดีชอบดูถูกเพื่อนบ้าน
    หัวรุนแรง และ ไร้รัก

    แค่เกมการเมืองหนะคิดมาก เมื่อท่านสั่งมา ท่าน____ก็ต้องทำ
     
  6. โบ๊ต

    โบ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    387
    ค่าพลัง:
    +847
    เบื่อคนไทยหัวใจเขมรจังครับ
     
  7. มิคาเอล777

    มิคาเอล777 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +244
    แย่นะ ปราสาท กับ สงคราม ระหว่างประเทศ

    สุดท้ายหลังจากนั้น คงไม่เหลือ ปราสาทให้ชม

    หรือ ไม่เหลือ คนให้ชมปราสาท กันแน่

    แต่ที่สุดท้ายจริงๆ ปราสาทก็คงไม่ตั้งอยู่นิรันดร

    แล้วจะมาทำสงครามกันเพื่ออะไร ?

    ไม่มีปราสาท คงไม่มีความขัดแย้ง (อย่าว่าที่ผม กล่าวอย่างนี้เลยนะครับ)
     
  8. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    สงครามเกิดขึ้นเพราะพวกไม่รู้จักพอ แต่งขาวห่มขาวแต่ใจดำ
    พอมีใครมีแนวคิดแนวทางไปในทางสันติ ก็แปลกแยกหาว่าไม่รักชาติบ้าง ...?
    เมื่อไรจะรู้จักพอ หรือแค่กร่าง อะไรดีอะไรเด่นแย่งได้ฉวยได้กูต้องเอากูต้องได้
    มิต้องห่วงพรานรอดของพรานมานานแล้ว ว่างๆลืมตามาดูโลกหน่อย เค้าไปถึงไหนแล้ว
    เขาพระวิหารอยู่ตั้งไกลยังโลภอยากได้ของเขา ตัดไม่ขาด กิเลสหนาจะมีปัญญาไปตัดอะไรได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กุมภาพันธ์ 2010
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าไม่มีปราสาท ก็คงหาเรื่องอื่นมาทำสงครามอยู่ดีค่ะ
    เรื่องปราสาทเป็นข้ออ้างเหตุหนึ่งเท่านั้น
    เรื่องพิกัดขุมทรัพย์พลังงานในอ่าวไทยยังน่ากลัวมากกว่าอีก
    ถ้าหากรัฐบาลไทยและคนไทย สามารถแก้วิกฤติการณ์ครั้งนี้ได้ด้วยปัญญา
    คนอื่นที่จ้องหวังผลประโยชน์อยู่ ก็จะไม่กล้าทำอะไรเรามาก
    มีความเกรงใจเรา เหมือนสมัย ร.5 ที่ท่านนำประเทศชาติพ้นวิกฤติการณ์
    ล่าอาณานิคมมาได้ แต่ถ้านักการเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้านเห็นแต่
    ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประชาชนในประเทศตน
    ก็คงจะเสร็จโจร ไปตามระเบียบวาระของโจร

    ถ้ามีคนต้องการให้เกิดสงคราม เขาก็จะหาเหตุเพื่อทำให้เกิดสงครามอยู่ดี
    ลูกระเบิดยังกู้ไม่หมด ไม่เห็นมีใครจะคิดกู้ระเบิดบริเวณนั้นให้ปลอดภัยก่อน
    ถ้าเสนอให้เป็นมรดกโลกด้วยความบริสุทธิใจทั้ง2ฝ่าย
    ย่อมจะได้สันติภาพภราดรภาพกลายเป็นความร่วมมือเพื่อให้ประชาชนทั้งฝ่าย
    มีความรักและสามัคคี แต่นี้ยิ่งทำยิ่งกลายเป็นชนวนก่อเหตุทะเลาะวิวาท
    ไม่เว้นแต่ละวัน เข้าทางใครมั่งก็ไม่รู้ เราอ่อนมากก็โดนเขาข่ม เราแข็งมาก
    ก็หาว่าข่มเหงรังแกคนที่ด้อยกว่า ถ้ายอมเขาไปให้หมดเรื่อง มันจะหมดเรื่อง
    จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือจะได้เรื่องใหม่ที่แย่กว่ามาแทน ก็เดาไม่ออก
    คาดการณ์ไม่ถูก เพราะดูเจตนาคนสร้างเรื่องไม่ทะลุ จะผลีผลามทำอะไรโดย
    ไม่พิจารณาให้ดี อาจจะเสียใจในวันหน้าก็ได้ ประวัติศาสตร์เรื่องนี้ก็มีมาแล้ว
    ตอนขึ้นศาลโลก ถ้าเราเฉยๆเสีย ไม่เต้นตามเขา โลกก็ทำอะไรเราไม่ได้
     
  10. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    [​IMG]

    นั่นประไร... ชาวบ้านชาวเวบเขาถึงตั้งแง่ว่าเราเป็นคนเดียวกัน
    ทั้งที่ชื่อจริงๆ เราก็ยังไม่รู้จักกันเลย อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ พรานรู้แต่ว่าเมียพี่เป็นปิศาจงูเกงกอง แล้วพี่ก็ปราบงูเกงกองจนมีทายาทแล้วสองหน่อ

    โลหิตติดหัตถ์... ชำระยากนักพี่ท่าน แม้ล้างด้วยสมุนไพรชั้นยอดก็ต้องทำกันไม่น้อยกว่าสามวัน คราบเลือดที่ติดอยู่ตามซอกเล็บและกลิ่นของมันจึงจะเจือจาง
    แต่เมื่อเกินหนึ่งสัปดาห์ทั้งคราบแลกลิ่นก็จะหายไปสิ้นด้วยสรรพคุณของสมุนไพร
    แต่ภาพซากศพและกลิ่นเน่าเหม็นของบรรดาเด็กๆผู้ไม่เดียงสาโลก ผู้หญิงเพศแม่ และคนชราผู้ปราถนาเพียงความเรียบง่ายในชีวิต เขาเหล่านั้นไม่ได้ทำอะไรผิดและไม่ปราถนาในสงคราม... กลับต้องมาสังเวยชีวิตให้กับโมหะของผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ ต้องใช้เวลาล้างกลิ่นและภาพที่ติดอยู่ในความทรงจำแห่งความรู้สึกผิดพลาดเสียใจกันข้ามชาติเลยทีเดียว

    แม้พรานพิเศษจะไม่เคยเห็นหน้าพี่พรานใหญ่... แต่หัวใจของพี่... พรานสัมผัสได้นานแล้ว

    All for One... One for All... All for Love

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=NQHLgJjLEno&feature=related]YouTube - The Three Musketeers (1993): Epilogue[/ame]

    สถาบันพรานจงเจริญด้วยอำนาจแห่งสติปัญญา ความรัก ความเสียสละ และการให้อภัย
     
  11. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    อ่า ศึกษาได้แต่ในเน็ตจริงๆ นะเนี่ย
    ไม่มีพิมพ์หนังสือให้อ่านกันหรอก


    ท่าจะคุ้มค่าที่เข้าเน็ตนะครับ...
     
  12. boriphat

    boriphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2006
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +2,124
    มันคงมีเรื่องของผลประโยชน์มหาศาล ที่เรายังอาจไม่รู้ข้อมูลก็เป็นได้
     
  13. TeachMe

    TeachMe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +117
    ไม่เคยโลภอยากได้ของใครอะ ถ้างั้นสิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบขอมในไทยก้อยกให้เขมรไปหมดเลยใช่มั๊ย มีสิ่งก่อสร้างขอมที่ใหนที่นั่นคือดินแดนเขมรเหรอ ชาวบ้านคนไทยตาดำๆที่อาศัยอยู่แถวนั้น มึ*คิดถึงปราสาทที่เค้าหวงแหนมั่งมั๊ย คิดดูดีๆนะพรานป่าทำเข็มทิศหายมึ*เดินหลงเข้าไปแถวๆเขมรหน่อย ยังไม่ต้องเข้าไปในเขตมันหรอก มันก้อยิงมึ*ทิ้งแล้ว
     
  14. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD align=left>วันที่ อาทิตย์ มีนาคม 2550
    </TD></TR><TR><TD align=left>[​IMG] พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation </TD></TR><TR><TD>
    <CENTER>สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล : อรรถาธิบายภายใต้ความเป็นผู้ดี

    </CENTER>

    “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” คือ หนึ่งในสำนวนไทยที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเปรยกระทบกระเทียบอยู่เป็นประจำ เพราะความหมายของสำนวนนี้จะเชื่อมโยงไปถึงการอบรมสั่งสอนของครอบครัวของคนผู้นั้นไปด้วย ความหมายของสำนวนนี้จะถูกสื่อได้เด่นชัดยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ด้วยเหตุที่การอบรมสั่งสอนภายในครอบครัวของคนสมัยนี้ช่างห่างไกลกับแบบแผน “ผู้ดี” เสียเหลือเกิน

    “ผู้ดี” หมายถึง บุคคลผู้มีความประพฤติเรียบร้อยทั้งทางกาย ทางวาจา และทางความคิด ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่า “ผู้ดี” คือ ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย และมียศถาบรรดาศักดิ์ แต่แท้จริงแล้ว “ผู้ดี” ก็เป็นเพียงปุถุชน แต่เป็นมนุษย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยกิริยามารยาทในการแสดงออกทั้งทางกาย วาจาและใจเท่านั้นเอง ดังนั้นการเป็น “ผู้ดี” จึงมิใช่เรื่องที่ต้องลำบากยากเย็นแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเท่านั้น สำหรับผู้ที่ชอบประชดประชันถึงความเป็น “ผู้ดี” สันนิษฐานได้ว่าผู้นั้นก็คงไม่แน่ใจนักว่าตนเองนั้นเป็น “ผู้ดี” หรือไม่...

    “ไม่มีใครที่จะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดชาติกำเนิดของตนเองได้” ข้อความนี้เป็นสัจธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเรื่องหลักการกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้นชาติกำเนิดจึงเป็นเพียงองค์ประกอบที่ส่งเสริมสถานภาพของบุคคลในสังคมเท่านั้น มิใช่ตัวชี้วัดความเป็นผู้ดี อย่างไรก็ตามหากผู้นั้นเป็นผู้ดีทั้งโดยการกระทำและชาติกำเนิดก็ย่อมมีภาษีสังคมเหนือผู้อื่น แต่ในทางกลับกันหากผู้นั้นเป็นผู้ดีแค่โดยชาติตระกูล กล่าวคือ มีชาติตระกูลดีแต่กิริยามารยาทเข้าขั้น “สถุล” คนผู้นั้นย่อมได้รับคำครหาว่าเป็น “ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน” จึงเห็นได้ชัดว่าชาติตระกูลไม่ใช่บรรทัดฐานของความเป็น “ผู้ดี” หากแต่เป็นกิริยามารยาทเท่านั้นที่จะสื่อไปถึงการอบรมสั่งสอนของ “ชาติตระกูล”

    หากจะวิเคราะห์ความหมายของ “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ในการอรรถาธิบาย จำเป็นจะต้องแปลความหมายของแต่ละ “อรรถ” เสียก่อน
    สำเนียง น. เสียง, น้ำเสียง, หางเสียง, วิธีออกเสียง
    ส่อ ก. แสดงออกมาให้เห็นเค้า
    ภาษา น. เสียงสัญลักษณ์หรือกิริยาอาการที่ใช้สื่อความต่อกัน, คำพูด, ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน
    กิริยา น. การกระทำ; อาการที่แสดงออกทางกายตามความหมายเรื่องมารยาท
    สกุล น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์


    เมื่อพิจารณาความหมายของ “อรรถ” และรวมความเป็นสำนวนแล้ว ก็น่าที่จะตีความได้ว่าหมายถึง “บุคลิก การกระทำและมารยาทจะแสดงออกมาให้ทราบว่ามาจากชาติตระกูลเช่นไร” สำนวนนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมารยาท (กิริยาวาจาที่เรียบร้อย) เพราะสิ่งนี้จะสะท้อนไปถึง กำพืดของผู้นั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพูด ซึ่งสามารถบ่งบอกระดับปัญญาของผู้นั้นได้ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “เมื่อไม่พูดก็ไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด จนกว่าจะพูดออกมานั่นแหละ เขาจะหายสงสัย”

    นอกจากการขยายความในเชิงอรรถสัมพันธ์แล้ว การวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้เข้าใจกุศโลบายของผู้ริเริ่มใช้สำนวนนี้ได้ดียิ่งขึ้น ในประโยคแรกที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา” หากพิจารณาในหมู่คนส่วนใหญ่ ประโยคนี้จะเป็นข้อสรุปที่สมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด เพราะคนทั่วไปจะมีสำเนียงพูดที่ต่างกัน ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าผู้ใดใช้ภาษาใด ถึงแม้จะใช้ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาประจำของตน สำเนียงที่ออกมาก็จะแปร่งหูในสำเนียงที่แตกต่างออกไป เช่น คนจีนที่ตั้งรกรากในไทยซึ่งพูดภาษาไทย เป็นต้น ทั้งนี้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีค่านิยมการใช้ภาษาในอีกลักษณะหนึ่ง ก็จะพบว่าสำเนียงจะมิได้ส่อภาษาเสียแล้ว เพราะคนพวกนี้จะเป็น “ดัดจริตชน” ที่พยายามเปลี่ยนแปลงสำเนียงของตนให้กลายเป็นภาษาอื่นที่มิใช่ “ภาษาพ่อภาษาแม่” เพื่อตอบสนองค่านิยมของตนที่ว่าการใช้ภาษาอื่นๆ จะทำให้ให้ดู “โก้” กว่าการใช้ภาษาของตน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในคนไทยยุค “ไอที”

    ส่วนในประโยคหลังที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” ประโยคนี้ก็สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ในเรื่อง “การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)” ที่หมายถึง กระบวนการทางสังคมและจิตวิทยาซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เป็นที่ยอมรับกันว่ากระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก ซึ่งตัวขับเคลื่อนกลไกการขัดเกลาทางสังคมเป็นกลุ่มแรกและสำคัญที่สุดก็คือ “สถาบันครอบครัว” ซึ่งมีหน้าที่ปลูกฝังแนวทางการดำเนินชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ การที่พ่อแม่ผู้ปกครองสั่งสอนบุตรจัดเป็นการขัดเกลาทางสังคมทางตรง และการกระทำตนเป็นแบบอย่างให้กับลูกก็เป็นการขัดเกลาทางอ้อม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าครอบครัวจึงมีอิทธิพลในการหล่อหลอมกิริยามารยาทของบุคคลแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ประโยคที่ว่า “กิริยาส่อสกุล” จึงสมเหตุสมผลไปโดยนิปริยาย

    ทั้งนี้การขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่สร้างพฤติกรรมของคนเพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่สร้างบุคลิกภาพของบุคคลได้เช่นเดียวกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ทว่าปัจจัยอื่นนั้นจะลึกซึ้งกว่าปัจจัยด้านครอบครัว ด้วยเหตุนี้คนทั่วไปจึงมองว่ากิริยามารยาทของแต่ละคนจะมาจากครอบครัว เช่น มีเด็กชอบฉกชิงวิ่งราวทรัพย์สินผู้คนตามท้องถนน คนอื่นที่พบก็จะสรุปในทันทีเลยว่าครอบครัวนี้คงยากจน ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก หรือถึงขั้นกล่าวว่าคงเป็นโจรทั้งครอบครัว ซึ่งในความจริงอาจจะเป็นลูกของครอบครัวฐานะดีที่มีความอบอุ่นสมบูรณ์พร้อมก็ได้ แต่สาเหตุมาจากการได้รับอิทธิพลทางความคิดที่ผิดมาจากที่อื่น เป็นต้น ในบางครั้งสำนวนนี้จึงอาจไม่ยุติธรรมสำหรับวงศ์ตระกูลสักเท่าไร จากการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของความหมายจึงสรุปได้ว่า สำนวนนี้มุ่งที่จะใช้กับผู้ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสมให้รู้จักปรับปรุงตนเพื่อมิให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูลและครอบครัว คล้ายๆ กับการกล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งไม่สอน” นั่นเอง

    เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสำนวนนี้กับเรื่องของ “ผู้ดี” ก็จะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะผู้ดีคือผู้ที่ระมัดระวังกิริยามารยาทของตนเอง ดังนั้นผู้ดีก็จะแสดงออกให้เห็นถึงลักษณะการอบรมสั่งสอนที่ดีของครอบครัว ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ด้วยความหมายสำนวนได้ว่า การเป็นผู้ดีเป็นผลลัพธ์จากการขัดเกลาทางสังคมในวิถีที่ถูกต้องของครอบครัว และความเป็นผู้ดีก็จะส่อให้เห็นถึงความมี “สกุลสูง” ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นความสูงส่งทางจริยธรรมมิใช่ทางด้านฐานะ จึงอาจกล่าวได้ว่าลักษณะความเป็น “ผู้ดี” สอดคล้องและสนับสนุนความหมายของสำนวน “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล” ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใดที่ใช้สำนวนนี้กับผู้ดี นัยของความหมายจึงมิใช่การเสียดสีประชดประชันแต่อย่างใด หากแต่เป็นการชื่นชมถึงครอบครัวนั้นอย่างจริงใจ ดังนั้นหากต้องการจะเป็น “ผู้ดี” ก็ต้องเข้าใจความหมายสำนวนนี้ที่อธิบายด้วยความเป็นผู้ดี เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจในขณะที่จะทำพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมด้วย


    ในอดีตสำนวนนี้คงจะก่อสำนึกให้กับผู้ฟังได้มาก แต่ปัจจุบันไม่ว่าใครจะด่าว่าถึงวงศ์ตระกูลอย่างไร จะกล่าวถึงสำนวนนี้เป็นร้อยครั้งพันครั้ง ก็คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ เพราะ “อัตตา” ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้ปิดกั้นไว้ กอปรกับการที่ครอบครัวในปัจจุบันก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่สถาบันครอบครัวพึงกระทำ คือ สั่งสอนให้คนในครอบครัวเป็นคนดี แต่กลับให้ความสำคัญกับเงินตรามากกว่า เหล่านี้คือผลของการพัฒนาในระบอบทุนนิยมโดยไม่ทำไปควบคู่กับจริยธรรมนั่นเอง เราจึงควรให้ความสำคัญกับความหมายของสำนวนนี้ในเชิง “ผู้ดี” บ้าง มิฉะนั้นในอนาคตสำนวนนี้อาจจะเปลี่ยนไปเป็น “สำเนียงส่อภาษา เงินตราส่อสกุล” ก็ได้ หมายเหตุ เรียงความนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ เพื่อส่งงานในรายวิชา “ภาษาไทยพื้นฐาน (ท ๔๑๑๐๒)” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยกำหนดให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย


    </TD></TR><TR><TD align=right>โดย แว่น</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Rasbora

    Rasbora เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    359
    ค่าพลัง:
    +779
    คิดอย่างพวกคุณ ก็ต้องยกพื้นที่ตั้งแต่ลพบุรีรวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เขมรทั้งหมด เพราะพวกโบราณสถานในบริเวณดังกล่าวเป็นศิลปขอมเกือบทั้งหมด เฮ้อ...คิดได้ไงเนี้ยะ
     
  16. ไฟสว่าง

    ไฟสว่าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +283
    อยากให้ทุกคนกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาก่อนแล้วค่อยมาว่ากันอีก ที ไม่ว่า ประเทศเขมร สมัยก่อนก็เป็นของไทยมาก่อน เราเสียดินแดนกันกี่ครั้งแล้ว ต้องตระหนักกันถึงบรรพบุรุษต้องเสียเลือดเสียเนื้อกันมามากแค่ใหน ไม่ใช่คนไทยแตกแยกกันเอง คนหนึงคนใดกลับจะประเคนยกดินแดนให้เขา โดยอ้างว่าชื่อ และเอกลักษ์ อะไรต่อมิอะไร ว่าคล้ายของเขาอยู่แล้ว ถ้าทุกคนคิดแบบนี้ ชาติไทยก็คงอยู่ลำบาก เพราะแค่ชาติไทย ภาษาเอกลักษ์แต่ละโซน ความเป็นอยู่ก็แตกต่างอยู่แล้ว ไม่ใช่เพราะอยากได้ของเขา แต่เราต้องนึกถึงบรรพบุรุษว่าพวกเขาทั้งหลายเอาชีวิตและเลื่อดทาแผ่นดินเท่าไหร่ถึงได้มีแผ่นดินให้เราได้อยู่ทำมาหากินจนถึงทุกวันนี้ ตลอดจนถึงชั่วลูกหลาน ถ้าไม่ใช่เพราะความโลภ ของคนบางคน ที่ไปคบกับเขมร เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยเฉพาะผลประโยชน์ในบ่อน้ำมันและแหล่งก้าซธรรมชาติ ต้องถึงกลับยกดินแดนพร้อมประสาทเขาพระวิหารให้เขมรโดยไม่ถามใคร โดยคิดว่าตัวเองมีเงินมีอำนาจล้นฟ้าไม่มีใครจะกล้าขัดขวาง และคิดว่าตัวเองจะมีอำนาจตลอดการ ตอนนี้กรรมตามทัน โดนบรรพบุรูษลงโทษ ไม่มีแม้แผ่นดินจะอยู่ อย๋ที่ใหนก็ร้อน ประเทศเขาก็พลอยเดือดร้อนไปด้วย ถ้าเขมรรู้ทัน หันหน้ามาคุยกับไทย โดยเห็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศทั้งสองฝ่าย ก็คงไม่ตกเป็นเคริ่องมือของใคร แต่ หมานุษย์ มักเห็นแก่ตัวเสมอ และที่สำคัญพวกนี้ เวลามันตายมันหอบสมบัติไปหรือเปล่า นี่สิ เขาคิดกันบ้างหรือเปล่า..............
     
  17. boriphat

    boriphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2006
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +2,124
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง น่าคิด น่าคิด
     
  18. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    อันนี้ผมเห็นด้วยนะ มันเรื่องการเมืองล้วนๆเลย เมื่อรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้เลยเอาเรื่องปราสาทมาเป็นข้ออ้างจากผลงานที่ไม่มีอะไรดีอยู่แล้ว พอใช้กระแสนิยมรักชาติเพื่อให้สร้างภาพตัวเองให้ดูดีไว้ก่อน แถไว้ๆๆๆๆ
    ทักษิณผิดๆๆๆ ทักษิณขายชาติๆๆๆๆ ปลุกระดมกระแสรักชาติเข้าไป ประชาชนจะได้ไม่มาสนใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แล้วก็ทำตัวดูถูกเพื่อนบ้านว่าไอ้เขมรอย่างงั้นอย่างงี้ แล้วเอาประวัติศาสตร์เก่าๆมาพูดดูถูกเพื่อนบ้าน
    ทั้งๆที่ปีนึงแล้วเราได้เงินจากประเทศเขาเป็นพันๆล้านบาท แล้วไอ้ที่ตัวปราสาทเป็นของเขมรศาลโลกก็ตัดสินไปตั้งนานแล้ว แต่พื้นที่รอบตัวปราสาทยังเป็นของไทยอยู่ แต่พอรัฐบาลชุดนี้ทำอีท่าไหนไม่รู้พื้นที่รอบปราสาทดันกลายเป็นของเขมรไปซะงั้น หากสมาชิกในเว็บนี้อยากเปิดหูเปิดตากว่านี้ ควรไปหาข้อมูลในเว็บด้าน การเมือง หรือเข้าพันทิบก็ได้นะครับ
     
  19. 1redstar

    1redstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +1,366
    แล้วทำไมในสมัย รัฐบาลไทยรักไทย - เพื่อไทย กลับยอมให้ เขมร สามารถขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลดังกล่าวกระทำโดยมีเหตุผลหรือแรงจูงใจอะไร ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า สุดท้ายแล้วประเทศไทยต้องเสียเปรียบ และอาจเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างประเทศ
     
  20. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ก็ไอ้ที่เราอยู่เฉยๆไม่พูดชี้แจงออกไปทำให้ศาลโลกเขาเข้าใจว่าเรายอมรับในสิ่งที่กัมพูชาพูด เมื่อปี2505นี่แหละศาลโลกเลยตัดสินให้เป็นของกัมพูชา ถ้าเราพูดออกไปน่ะมันไม่เป็นอย่างทุกวันนี้หรอก หาข้อมูลมาใหม่นะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...