<VSN><<<มาใหม่ สายเขาอ้อ อ.ชุม,อ.ปาล,อ.คง, สรุปรายการหน้า๑๐๓>>><NSV>

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 25 ธันวาคม 2010.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    เหรียญหล่อสมเด็จพุทธเมตตา หลวงพ่อปิ่น(พระครูพิพัฒน์ปัญญาคม) วัดหนองเกษร จ.ราชบุรี ด้านหลังพญาครุฑมหาบารมี พร้อมคาถาบูชาและซองเดิมจากวัดครับ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เก่งทุกด้านโดยเฉพาะด้าน วิปัสนากรรมฐาน และสมถะ
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]



    ให้บูชาองค์ละ 450บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lpp1.jpg
      lpp1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.6 KB
      เปิดดู:
      8,554
    • lpp2.jpg
      lpp2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.7 KB
      เปิดดู:
      9,880
    • lpp3.jpg
      lpp3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.8 KB
      เปิดดู:
      6,066
    • lpp4.jpg
      lpp4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.8 KB
      เปิดดู:
      34,204
    • สยย.jpg
      สยย.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.2 KB
      เปิดดู:
      6,436
  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    หลวงพ่อแดง จนฺทสโร วัดโทตรี จ.นครศรีธรรมราช

    ประวัติหลวงพ่อแดง วัดโทตรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์เมืองใต้ พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านผู้ที่พกพาติดตัวส่วนใหญ่มีประสบการณ์กันเยอะมากโดยเฉพาะคงกระพันมหาอุด ป้องกันภันอันตรายต่างๆ วัตถุมงคลของพ่อท่านแดง วัดโท ที่นิยมได้แก่ รูปหล่อและเหรียญรุ่นแรก สร้างในปี2507 ซึ่งเป็นที่นิยมมาก

    ประวัติพ่อท่านอาจารย์แดง วัดโทตรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เรียบเรียงโดยคุณเปี๊ยก ลิกอร์


    พระอธิการแดง จันทสโร เดิมชื่อ ไข่แดง คงพันธุ์ เกิดเมื่อวัน ๑ฯ๒ ๑๒ ค่ำ ปีกุน วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ที่บ้านโคกหว้า หมู่ที่๒ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายหนู นางซัง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน คือ

    ๑.พระอธิการแดง จันทสโร เป็นบุตรคนโต ถัดไปน้องๆเป็นผู้หญิงลำดับกันดังนี้
    ๒.นางสาวนิ่ม คงพันธุ์
    ๓.นางส้มทับ สมหมาย
    ๔.นางวุ้น บุญสว่าง
    ๕.นางพร้อม การะนัด

    เด็กชายไข่แดงเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บังเอิญน้ำนมมารดาไม่ออก ถึงแม้ว่าหมอตำแยจะนวดเคล้าคลุกปลุกปล้ำสักเท่าไรๆก็ยังไม่ออกอยู่นั้นเอง เลยจนปัญญาของหมอตำแย และมารดาที่จะเลี้ยงและหาน้ำนมเลี้ยงลูกได้ในสมัยนั้น จึงได้ตกลงใจยกเด็กชายไข่แดงให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่นางทองดำหมอตำแยไปเลี้ยงไว้ ตั้งแต่แรกคลอกได้ ๖-๗ วัน นางทองดำก็ยินดีรับไปเลี้ยงไว้ที่ประตูช้าง หมู่ที่๓ ตำบลไทยบุรี โดยให้กินนมของนางจอก ซึ่งเป็นบุตรีของนางทองดำ ได้กินนมร่วมกับเด็กหญิงมุมและกินนมบุตรนางทุ่มบุตรของนางทองดำอีกคนหนึ่ง ซึ่งได้กินร่วมกันกับเด็กชายบึ้ง ภายหลังนางหนูและนางซัง ได้ไปเยี่ยมเยียนนางทองดำและบุตรของแกอยู่เสมอ เห็นว่านางทองดำเอาใจใส่ต่อเด็กชายไข่แดง บุตรของแกเป็นอย่างดี นายหนูจึงได้มอบนาหน้าบ้านประตูช้าง จำนวน ๑๐ กระบิ้งพร้อมกับควายไถนาคู่หนึ่ง เพื่อให้นางทองดำทำกินไปชั่วคราวพร้อมกับได้เลี้ยงเด็กชายไข่แดงไปด้วย กว่าเด็กชายไข่แดงได้บรรลุนิติภาวะต่อไป

    การศึกษา

    เมื่ออายุย่างเข้าเขตการศึกษา ในสมัยนั้นนางทองดำมิได้นิ่งนอนใจ ได้นำเด็กชายไข่แดงไปมอบไว้กับอาจารย์เฉย เจ้าอาวาสวัดท่าสูงในสมัยนั้น ท่านอาจารย์ก็ได้รับไว้ให้ฝึกหัดอ่าน นโม ฯ ก ข ฯ ต่อมาจนเวลาล่วงเลยมาหลายปี เด็กชายไข่แดงก็ยังเขียนไม่ได้ และอ่านไม่ออกอยู่นั่นเอง จนสุดที่อาจารย์จะฝึกให้รู้ได้ อยู่วัดมาประมาณ ๗-๘ ปี ก็พอเขียนได้บ้างบางตัว ที่ได้เห็นแบบแต่อ่านไม่ออก หรือ บางทีก็อ่านว่าปากเปล่าได้บ้าง แต่เขียนตัวไม่ถูกอยู่ทำนองนั้น เมื่ออายุประมาณ ๑๗-๑๘ ปีแล้ว วันหนึ่งนางทองดำไปทำบุญที่วัด แล้วเลยถามถึงนายไข่แดงถึงการเรียนว่าเป็นอย่างไรบ้าง ลูกอ่านออกแล้วบ้างหรือ นายไข่แดงก็ได้ว่าให้ฟัง ๒,๓ คำ คือ ก ข เท่านั้น นางทองดำว่าแกมาทุกครั้งคราว ถามแล้วก็ได้แต่ ก ข เท่านั้น แกคิดจนใจมาก จนไปถามอาจารย์ว่า เป็นอย่างไรบ้างท่านสมภารพระวัดนี้รู้จักแต่ ก ข เท่านั้นหรือ เห็นลูกฉันมาอยู่นานแล้วได้แต่ ก ข เท่านั้น อาจารย์เฉยตอบว่า ไม่ใช่เช่นนั้นโยม พระ เณร ตลอดจนเด็กอื่นๆทุกคน เขาอ่านออกเขียนไปได้แล้วทั้งนั้น แต่นายไข่แดง ลูกแกมันโง่เอง ฉันสุดปัญญาเสียแล้ว เมื่อนางทองดำได้รับคำตอบจากสมภารเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่าลูกเรามันโง่เอาจริงๆ มาอยู่วัดตั้ง ๗ – ๘ ปีแล้ว ก็เขียนไม่ได้อ่านไม่ออก เห็นท่าจะไม่ไหวเสียแล้ว จึงให้กราบท่านอาจารย์กลับไปอยู่บ้านกับแกอีกต่อไป

    การบรรพชาอุปสมบท

    เมื่ออายุครบเข้าเขตบรรพชาอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๔๖๓ นางทองดำ ก็ได้นำนายไข่แดงไปฝากอาจารย์เฉยที่วัดท่าสูงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เรียนบวชตามความตั้งใจของแกที่มีความปรารถนาเป็นหนักเป็นหนาแล้วว่า อุตส่าห์ เอามาล้ำเลี้ยงรักษาไว้ตั้งแต่ยังแดงๆ เมื่อรอดเหยี่ยวรอดกาแล้วจะได้พลอยพยุงชายจีวรกับเขาสักครั้งก็แล้วกัน และ แกได้มอบกำชับกับท่านสมภารว่า ขอให้แกกรุณาช่วยเอาใจใส่ ให้พอบวชได้สักแต่วันสองวันก็ไม่ว่า ท่านสมภารก็รับปากจะช่วยสอนดูต่อไป ส่วนนายไข่แดงเมื่อกลับมาอยู่วัดครั้งนี้ก็ตั้งใจทำความจำทางหูเพียงอย่างเดียว

    คือในชั้นแรกท่านสอนให้ว่าตาม ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ยะถาปัจยัง” เป็นต้น ภายในไม่กี่จบนายไข่แดงก็จำได้ดี ครั้นต่อมานายไข่แดงก็ไม่ต้องมาหาท่านอาจารย์นำให้ว่าอีกคือ เขานอนฟังเพื่อนๆที่กำลังเรียนจะเป็นข้อไหนบทไหนนายไข่แดงก็จำได้เช่นเดียวกัน และกลับจำได้เสียก่อนตัวผู้เรียนเสียอีก ความทรงจำของนายไข่แดงที่เป็นไปได้เช่นนี้ เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก ทำให้พวกเพื่อนๆงวยงงไปตามๆกัน บางวันก็กลับมากินข้าวในตอนเย็นถูกนางทองดำถามอยู่เสมอว่า อย่างไรลูกจะได้บวชกับเขาด้วยหรือเปล่า แกก็ได้รับคำตอบจากนายไข่แดงว่า แล้วปรือจะไม่ได้บวช ตอบอยู่อย่างนี้เสมอมา นางทองดำก็มีความยินดีเป็นอย่างมากด้วยคิดว่าสิ่งที่แกปรารถนาคงไม่ผิดหวังแน่แล้ว ต่อมาจนถึงวันกำหนดจะบวช ท่านอาจารย์ก็ได้นิมนต์ พระครูวิสุทธิจารี เจ้าอาวาสวัดจันพอ มาเป็นพระอุปัชฌายะ และ บอกกับเจ้านาคทุกคนให้ไปบอกทางบ้านเพื่อตระเตรียมตัวจัดเครื่องบริขารให้ครบถ้วน ตามกำหนดไว้ตามพระวินัย เจ้านาคไข่แดงก็ได้กลับไปยังบ้าน บอกนางทองดำ ว่า แม่..ท่านอาจารย์ได้ไปนิมนต์พระอุปัชฌายะมาบวชแล้ว ให้แม่ไปถามท่านอาจารย์ดูว่าท่านจะกำหนดวันไหนเป็นวันบวชก็ไม่รู้ นางทองดำเมื่อได้ฟังนั้นก็มีความยินดีเป็นอันมาก รีบออกจากบ้านลุกลันมุ่งหน้าไปสู่วัดท่าสูงทันที

    ถึงวัดแล้วตรงเข้าหาท่านสมภารนั่งพับเพียบเรียบร้อยยกมือไหว้กราบลงสามครั้ง ท่านสมภารจึงเอ่ยขึ้นว่าโยมมาธุระอะไรหรือ นางทองดำจึงตอบว่า ฉันมาธุระเรื่องการบวชนาค ไหนว่าท่านสมภารได้ไปนิมนต์ท่านพระอุปัชฌาย์มาแล้ว กำหนดวันไหนเป็นวันบวชไม่ทราบ ท่านอาจารย์เฉยตอบว่า ฉันกำหนดวันบวชในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ นี้เอง ให้โยมรีบตระเตรียมข้าวของเครื่องบริขารสำหรับนาคไข่แดงด้วย เขาจำได้แม่นยำดีแล้ว แปลกมากนาคคนนี้ ฉันคิดว่ามันคงจะไม่ได้บวชมากกว่า แต่แล้วมันกลับทรงจำ ได้ดีกว่าคนอื่นๆที่เขาอ่านหนังสือออกเสียอีก นางทองดำเมื่อได้รับทราบจากท่านสมภารเช่นนั้น ก็ยิ่งมีความปิติยินดีเป็นอันมาก รีบกลับมาบอกญาติพี่น้อง พร้อมทั้งนายหนูและนางซังผู้เป็นมารดาเดิมของเจ้านาคไข่แดงด้วย ฝ่ายนายหนูกับนางซังเมื่อได้ทราบข่าวกำหนดวันบวชของบุตรชาย ต่างก็ดีอกดีใจเป็นอันมาก รีบบอกญาติพี่น้องให้ไปร่วมบุญพร้อมกัน ตามวันเวลาที่ท่านสมภารได้กำหนดมา บรรดาญาติพี่น้องทุกคนต่างก็มีความยินดี และแปลกใจไปตามๆกัน บางคนถึงกับพูดออกปากว่า ช่างเป็นบุญแท้ๆซึ่งไม่มีใครเคยคิดเลยว่าจะได้บวช เพราะหนังสือก็อ่านไม่ออกสักตัว ครั้นถึงวันกำหนดการบรรพชาอุปสมบท บรรดาพวกญาติโยมก็ได้พร้อมพรั่งที่วัดท่าสูง เพื่อร่วมบุญในการบรรพชาอุปสมบทแก่เจ้านาคไข่แดง

    ส่วนฝ่ายสงฆ์ท่านอาจารย์เฉยได้จัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว โดย...ท่านพระครูวิสุทธิจารี เจ้าอาวาสวัดจันพอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระ........(สืบค้นไม่พบ..........เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดทอง (พระครูสุวรรณสารธารี) วัดพระอาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เจ้านาคไข่แดงได้กล่าวขานนาคถูกต้องคล่องแคล่วชัดเจนได้ดีประชุมสงฆ์ครบองค์ กำหนดเป็นปกตัตต์ในพัทธสีมาวัดท่าสูง การอุปสมบทก็ได้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในวันนั้น จนเสร็จจบพิธีลง พระอุปัชฌาย์ให้นามว่า พระแดง ฉายา จันทสโร ตัดคำว่าไข่ออกเสียตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

    เมื่อได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษากับท่านอาจารย์เฉยที่วัดท่าสูงต่อมา เล่าเรียนการสวดมนต์ สวดพระธรรมวินัย ตามที่ท่านอาจารย์สั่งสอนแนะนำให้ การเรียนมนต์ก็เรียนตามหูเช่นเคย คือการฟังบรรดาพระเพื่อนๆเขาเรียน บทใด สูตรใด พระแดงก็จำได้ดีทุกบททุกสูตร เมื่อสวดมนต์ที่ไหน เมื่อไหร่ พระแดงก็สวดได้ถนัดชัดเจน เช่นเดียวกันกับบรรดาเพื่อนพระอื่นๆเขาทั้งหลาย ตั้งแต่ได้อุปสมบทมาแล้วก็ได้อยู่กับท่านอาจารย์เฉยที่วัดท่าสูงถึง ๕ พรรษา

    หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่ที่ วัดโคกเหล็ก

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ ที่วัดโคกเหล็กขาดพระลงต้องตกเป็นวัดร้างว่างพระอยู่ในระหว่างนั้น นายหนูผู้เป็นโยมพ่อพร้อมด้วยญาติพี่น้องบ้านโคกหว้าและชาวบ้านใกล้เคียงบริเวณวัดนั้น ก็ได้ตกลงพร้อมกันไปขอนิมนต์ พระแดง จันทสโร ต่อท่านอาจารย์เฉยมาช่วยรักษาวัดที่วัดโคกเหล็ก พอได้ให้บรรดาญาติโยมชาวบ้านบริเวณนั้นได้ทำบุญใกล้บ้าน วัดโคกเหล็กนี้เป็นวัดที่ไม่ห่างไกลบ้านเกิดของท่านนัก แต่เนื่องจากท่านไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่ให่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก นับแต่คลอดมาแล้วไม่กี่วัน ก็ต้องพรากจากอกบิดามารดาของท่านไปอยู่กับนางทองดำมารดายกของท่านที่ บ้านประตูช้าง จนถึงกับท่านไม่รู้จักบิดามารดาตังจริงของท่าน เพราะท่านถือว่านางทองดำนั้นแหละเป็นมารดาของท่านที่แท้จริง แม้ว่าใครจะบอกเล่าสัดเท่าไรๆ ท่านก็ไม่ยอมเชื่อ แต่เมื่ออยู่มานานเข้า ถูกเขาบอกเล่าหลายๆครั้งหลายๆคนเขาก็บอกเล่าเช่นเดียวกัน แกก็ยอมเชื่อตามความเป็นจริง ท่านได้รู้เรื่องราวที่ต้องจากไป

    เพราะเหตุต้องอดน้ำนมของมารดาตั้งแต่แรกเกิด เรื่องที่ท่านได้ถือว่าตัวท่านเองได้ได้เป็นผู้ทำกรรมมาแล้ว จึงต้องเป็นเช่นนี้ ท่านจึงอยากอยู่ในร่มกาสาวพัตรไปตลอดชีวิต การมาอยู่ที่วัดโคกเหล็กของท่านในครั้งนั้น ก็สุดแสนจะยากลำบากยากแค้นมาก เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางป่าดงพงไพร ห่างไกลหมู่บ้านคนพอควร รอบๆวัดล้วนเป็นป่ายางสูงสล้างไปหมด สิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ในวัดนั้นมาก่อนก็มี อุโบสถโบราณที่เก่าแก่คร่ำคร่า ซึ่งยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้หลังหนึ่ง กับกุฏิเก่าหลังหนึ่ง และหอฉันเก่าหลังหนึ่งเท่านั้น มีลานวัดเล็กๆอยู่ใกล้อุโบสถซึ่งเป็นพื้นสูงอยู่นิดหน่อยเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นที่ป่ามีพื้นที่ราบลุ่มต่ำเป็นป่า น้ำราดรุงรังไปด้วยป่าละเมาะเต็มไปด้วยหญ้าคาและหญ้าอื่นๆเต็มไปทั้งวัด เมื่อพระแดง จันทสโร ได้มาอยู่ ท่านก็ได้ออกปากไหว้วานบรรดาญาติโยม ที่อยู่ใกล้บริเวณวัดนั้น ช่วยกันแผ้วถางดายหญ้าจุดไปเรื่อยมา ค่อยบุกเบิกเขตวัดให้กว้างขวางออกไปตั้งหลายเท่าของวัดเดิม เพราะในสมัยนั้นที่ทางต่างๆที่รกร้างว่างเปล่าอยู่แทบทั้งนั้น ไม่มีใครเข้าจับจองเป็นเจ้าของท่านก็ได้ลงมือหักป่าลงให้กลายเป็นวัดวาอารามมิใช่น้อย ต้องโค่นแผ่ต้นไม้ใหญ่ๆเอาเสียมากทีเดียว พร้อมกันนั้นก็ได้ติดตามไปด้วยการปลูกผลอาสินไว้สำหรับวัดเป็นอันมาก ทั้งที่เป็นไม้ประเภทล้มลุกและยืนต้น เช่น กล้วย อ้อย หมาก มะพร้าว และผลไม้อื่นๆอีกมาก เมื่อขยายเขตวัดให้กว้างขวางออกไป ก็จำเป็นจะต้องให้มีรั้วรอบขอบชิดบริเวณวัด ท่านก็จะต้องปลุกปล้ำทำงานชนิดนี้อยู่ไม่ได้เว้นแต่ละวัน บางครั้งแถมกลางคืนเข้าไปด้วย ทั้งนี้ด้วยน้ำใจอันเข้มแข็งบากบั่นของท่านถึงเช่นนี้ เมื่ออกปากใช้ชาวบ้านและญาติโยมเขาจนเบื่อเกือบไม่มีใครกล้ามาวัด เพราะครั้นมาก็ถูกท่านใช้งานให้ช่วยกันตกแต่งวัดอยู่เสมอทุกครั้งที่เข้ามา หนักๆเข้าก็ไม่มีใครกล้ามาวัด มีอยู่บ้างก็น้องๆผู้หญิงเอาอาหารมาถวายเท่านั้น ท่านเห็นความลำบากเช่นนั้นเข้าท่านจึงต้องทำเอง เพราะแหนะไม้และกอไผ่ป่าก็ยังขึ้นอยู่มากต้องจุดไปเผาขอนไม้ยางและตอไม้โตๆเป็นอันมากเกือบจะพูดได้ว่านับไม่ถ้วน ท่านต้องลงมือทำเอง เอามากทีเดียวทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ค่อยได้หยุด

    การที่ท่านทำงานตรากตรำอยู่เช่นนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้บางคนหรือบางพวก ต้องติเตียนว่าท่านประพฤติผิดกิจสมณะสารูปไปบ้าง ครั้งหนึ่ง ขุนเยี่ยม ปลัดอำเภอท่าศาลา ได้มาเจอะท่านกำลังถางกอไผ่และป่าละเมาะอยู่ เรื่องนี้ทำให้ท่านขุนไม่พอใจเลยให้นามท่านว่า “พระจง” ก็มี ความตำหนิติเตียนในเรื่องทำนองนี้ก็มีอยู่เสมอมา ข่าวการตำหนิติเตียนท่านอย่างนี้ก็มีอยู่บ่อยๆ จนทราบถึงหูนายหนูผู้เป็นโยมพ่อ ก็นึกแค้นเคืองต่อผู้ตำหนิติเตียนท่านเป็นอันมาก จนสุดที่จะระงับคำพูดของคนเหล่านั้นได้ ด้วยความโกรธแค้นฉุนเฉียวในเรื่องนี้จึงได้มาหาท่าน แล้วก็กล่าวเอ่ยขึ้นมา “ต้น ถ้าคุณชอบทำงานอยู่อย่างนี้แล้วก็ควรจะสึกเสียดีกว่า ออกไปทำงานทางบ้าน จะได้ไม่ต้องเป็นขี้ปากคนนัก ผมเบื่อคนพูดเสียเต็มทีแล้ว สึกเสียเถอะผมจะเอาผ้ามาให้” ท่านนั่งฟังอยู่ พอโยมพ่อจะลงไป ท่านก็พูดส่งท้ายไปว่า “ใครเอาผ้ามาให้ฉัน ถ้าฉันไม่สับให้หมดแล้วคอยดู” เมื่อนายหนูผู้เป็นโยมพ่อได้ฟังดังนั้นก็ออกเดินเงียบหายไป ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเอ่ยถึงเรื่องนี้อีกเลยแม้ว่าใครจะตำหนิติเตียนสักเท่าไร ท่านก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ ใครพูดได้ก็พูดไป ท่านก็ไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อคำพูดของบุคคลเหล่านั้นแม้แต่น้อย

    มุ่งตั้งใจปรับปรุงวัดวาอารามให้มีความเจริญขึ้นเพียงอย่างเดียวก็แล้วกัน ท่านมาอยู่วัดโคกเหล็กนี้บางปีก็มีเพื่อนพระมาจำพรรษาครบ 5 รูปบ้าง ไม่ครบบ้าง บางปีก็มีแต่ท่านองค์เดียว ต้องพลอยไปจำพรรษาที่วัดอื่น เช่นที่วัดหมายบ้าง ที่วัดพระอาสน์บ้าง เป็นอยู่อย่างนี้เสมอมาเพราะผู้จะเข้ามาอยู่ในวัดบวชกับท่านได้ ก็ต้องเป็นคนที่อ่านหนังสือได้เท่านั้น เมื่อใครอ่านผิดท่านก็สอนให้ว่าให้ถูก คือคอยตักเตือนอยู่ได้เพียงเท่านั้น จะแนะนำให้รู้จักอักษร สระ ท่านก็สอนไม่ได้ อยู่ต่อมาปีหนึ่งมีนักบวชคนหนึ่ง ตั้งใจจะเข้าไปเรียนบวช พอเรียนเข้าไม่กี่วันก็กลายเป็นคนสติไม่ดีไปเสีย นักบวชคนนี้คือนายแพบ บ้านอยู่ที่ประตูช้าง ซึ่งภายหลังได้กลับมาอยู่บ้านเพื่อรักษาตามแผนโบราณ แต่ก็ไม่หายขาด เป็นแต่เพียงทุเลา แต่ต่อมาก็ได้เป็นศิษย์ติดตัวเป็นคู่สร้างบารมีกับพ่อท่านแดงต่อมา นายแพบคนนี้เป็นคนกำยำล่ำสันดี และเป็นคนขยันขันแข็งต่อกิจการงานที่ตนสามารถทำได้ทุกอย่าง

    นับได้ว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอันสำคัญคนหนึ่งในการช่วยเหลือพ่อท่านแดงบุกเบิกวัดร้างแห่งนี้เป็นอย่างดี เป็นต้นว่าจะถากถางขุดโค่นต้นไม้ กอหญ้า จอมปลวก ไม่ว่าเล็กใหญ่ขนาดไหน นายแพบก็ไม่ได้พร่ำพรึงย่อท้อแม้แต่น้อย จะตากแดดกรำฝนสักเท่าไหร่นายแพบก็จะพยายามทำได้จนสำเร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นไม่กี่ปี วัดโคกเหล็กจากที่เป็นวัดร้างก็กลายสภาพเป็นวัดที่กว้างขวางสวยงามขึ้นมา บุคคลบางพวกที่เคยตำหนิท่านมาก่อนก็ค่อยๆชักสงบเสียงลงไป หันกลับมาเข้าวัดกันมากขึ้น แต่แม้ท่านจะได้นายแพบเข้ามาเป็นคู่บารมีช่วยงานท่านแล้วก็ยังไม่พอ เพราะหญ้าและไม้ยังงอกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนนายแพบถากถางไม่ไหว ท่านจึงได้ไปที่บ้านเพื่อยืมควายถึกมาตัวหนึ่งเพื่อไว้ช่วยกินหญ้าและใช้ชักลากไม้มาซ่อมมาซ่อมเสนาสนะด้วย แต่ควายตัวนี้มีนิสัยชักดุอยู่บ้าง วันหนึ่งท่านพาควายตัวนี้ไปลากไม้มาทำรั้ววัดซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก แต่ท่านก็บรรทุกไม้ให้มันลากจนหนักเต็มแรงเอาทีเดียว พอมาถึงวัดท่านก็เข้าไปเอาหนวนออกจากคอ พอเสร็จควายตัวนั้นเฉลี่ยวโกรธ ตรงเข้ากระแทกขวิดแทงท่านจนล้มลง แล้วมันยังขวิดแทงซ้ำด้วยเขาอันแหลมคมจนท่านติดปลายเขาของมันแล้ว มันก็สะบัดท่านไปตกในป่ารก แล้วมันก็วิ่งเลยไป ผู้ที่ได้เห็นเหตุการณ์ต่างพากันตกใจเป็นอันมาก รีบวิ่งกันไปช่วยประคองท่านขึ้นแล้วช่วยกันดูแผลให้ท่าน แต่ปรากฏว่า ท่านไม่มีแผลแต่อย่างใดมีเพียงรอยหนังกำพร้าถลอกไปเล็กน้อยเท่านั้น ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างพากันแปลกใจเป็นอันมาก

    เรื่องนี้ทำให้คนทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญว่า พ่อท่านแดง มีความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ เมื่อโยมของท่านรู้เรื่องเข้า กลับนำควายตัวนั้นกลับไปบ้านในวันนั้น ครั้นอยู่ต่อมาพ่อท่านแดงท่านเห็นว่าในระหว่างผลอาสินที่ได้ปลูกไว้นั้นหญ้าได้ขึ้นรกรุงรังมากขึ้น ท่านจึงไปขอยืมวัวที่บ้านโยมพ่อซึ่งมีอยู่หลายตัวมาเลี้ยงไว้สักตัว พอได้ช่วยเหยียบกินหญ้าไปบ้าง จะได้ลากทรายมาใส่วัดบ้าง เพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรง ในการตกแต่งวัดต่อไป ท่านได้เลือกเอาลูกวัวนิลตัวผู้ตัวหนึ่งมา รูปร่างลักษณะคล่องแคล่วอ้วนพีดี ท่านได้ให้นายแพบเป็นผู้นำวัวตัวนั้นมาที่วัดและมอบให้นายแพบเป็นผู้เลี้ยงดูอยู่มาประมาณ ๓-๔ ปี ลูกวัวตัวนั้นก็เจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติ เหตุเพราะอาศัยหญ้าดี น้ำดีและการเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี เจ้าลูกวัวตัวนี้ก็กลายเป็นวัวถึกคึกคะนองไปตามประสาของสัตว์ อยู่มาวันหนึ่งวัวตัวนี้เห็นเพื่อนวัวฝูงทั้งหลาย มีวัวตัวผู้และตัวเมียเป็นอันมาก ได้ลอบเข้ามากินหญ้าอยู่ในวัด มันแสดงท่าทีจะออกไปต่อสู้ขับไล่ขวิดแก่บรรดาพวกวัวเหล่านั้น พ่อท่านแดงท่านได้เห็นความดิ้นรนของมันมากขึ้น จึงได้ลงจากกุฏิเข้าไปแก้เชือกล่ามเพื่อจะพาไปผูกไว้เสียที่อื่น ให้พ้นฝูงวัวเหล่านั้นเสียก่อนแล้วค่อยกลับมาไล่ฝูงวัวเหล่านั้นต่อไป เจ้าโคนิลของท่านไม่ยอมไปกับท่าน มันดิ้นรนจะไปหาวัวฝูงนั้นจนได้ แต่ท่านก็ไม่ยอมให้มันไป เจ้านิลตัวนั้นมันโกรธมาก จึงพุ่งเข้าขวิดพ่อท่านแดงเอาจนล้มลุกคลุกคลานหลายตลบ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นต่างก็ตกใจ ได้รีบวิ่งมาช่วยกันตัวพ่อท่านแดงออกไป และช่วยกันไล่ไอ้นิลให้หลบออกไป จากนั้นก็ได้ช่วยกันพยุงท่านขึ้นกุฏิ เพื่อทำแผลให้พ่อท่านแดง แต่ปรากฏว่าพ่อท่านแดงท่านไม่มีแผลเลย มีแต่เพียงรอยฟกช้ำดำเขียวเท่านั้น เหตุการณ์นี้ทำให้คนทั้งหลายต่างพากันเชื่อว่าพ่อท่านแดงท่านศักดิ์สิทธิ์ มีผู้คนยำเกรงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการบนบานท่านให้ช่วยเหลือ ในเวลาที่ชาวบ้านต้องทุกข์ได้ยากนานาประการเป็นต้นว่า ถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ หรือเรื่องเกี่ยวกับหมูไข้ ควายสูญนี้เป็นที่ประจักษ์ศักดิ์สิทธิ์มานักต่อนักแล้วนอกจากนี้สุดแล้วแต่ใครจะต้องการบนบานด้วยเรื่องอะไรได้ทุกอย่าง

    ครั้งหนึ่ง มีการพนันนัดกัดปลากันในที่แห่งหนึ่ง มีพวกกัดปลาคนหนึ่งได้นำปลาที่แพ้แล้วไปกัดกับปลาลูกผสม ฝ่ายผู้ถือปลาแพ้ได้ออกชื่อบนบานพ่อท่านแดงเป็นเชิงเล่นตลกว่า “ถ้าพ่อท่านแดงศักดิ์สิทธิ์จริงแล้ว ขอให้ปลาที่เคยกัดแพ้มาแล้วของเขานั้น ให้กัดชนะด้วยเถิด จะเอาข้าวต้มไปถวายสักร้อยลูก” ผลปรากฏว่าปลาที่เคยแพ้มาแล้วกลับชนะเอาจริงๆ ทำให้บรรดาพวกนักเลงปลากัดเหล่านั้นชวนกันโห่ร้องขึ้นเซ็งแซ่ พากันเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านแดงขึ้นเป็นอันมาก ในตอนแรกๆนั้นชาวบ้านมักบนท่านด้วยข้าวต้ม เพราะเห็นว่าเป็นของที่ท่านชอบ จึงบนให้เป็นที่ชอบใจของท่าน บางคนบนบานยอมถวายกันคนละร้อยสองร้อยลูกก็มี เมื่อมีชาวบ้านบนบานท่านได้มากขึ้นๆ ภายหลังมีผู้ช่วยออกความเห็นว่า ควรจะทำโกร่ง(ตู้บริจาค)ถวายท่านไว้ เพื่อให้ผู้บนบานท่านต่อไปได้บนบานโดยการใส่ตู้บริจาคบ้าง เพื่อจะได้นำปัจจัยดังกล่าวมาบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัดวาอาราม ซึ่งต่างก็ยินดีบนบานโดยการใส่โกร่งบ้าง บนปิดทองที่เท้าท่านบ้าง บนเป็นข้าวต้มให้ท่านบ้าง ซึ่งต่อมาชาวบ้านทั้งหลายต่างก็นิยมบนบานท่านมากขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ ก็ยังมีผู้นิมนต์ท่านไปบูชาเคราะห์ รดน้ำมนต์เป็นกิจประจำ ไม่เว้นแต่ละวัน ด้วยชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างสนิทใจ ความเจ็บไข้ได้ทุกข์ของคนเหล่านั้น ก็กลับคล่องคลายหายไปได้ดังความประสงค์ทุกประการ

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ชาวบ้านโคกขี้เหล็กทั้งหลาย ต่างเห็นความลำบากของท่านในเรื่องการหาพระมาอยู่จำพรรษา เพราะผู้ที่จะบวชกับท่าน หากไม่คล่องแคล่วในเรื่องการอ่านหนังสือแล้ว จะไปขอให้พ่อท่านแดงท่านช่วยสอนก็เป็นการยากอยู่ เพราะท่านไม่มีความสามารถในการที่จะสอนได้ ชาวบ้านจึงได้ขออนุญาตพ่อท่านแดงไปนิมนต์พระมาช่วยสอน ซึ่งท่านก็ได้อนุญาตตามคำร้องขอของชาวบ้าน ชาวบ้านโคกขี้เหล็กได้ไปนิมนต์ พระแดง เขมะโก ซึ่งเป็นพระอันดับรองของท่านอาจารย์พระครูสุวรรณสารธารี วัดพระอาสน์ มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกขี้เหล็กต่อมา แต่ท่านพระแดง เขมะโก นั้น มีพรรษาน้อยกว่าพ่อท่านแดง จันทะสะโร ที่อยู่มาก่อน ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายต่างเรียกนามท่านใหม่ว่า

    “ท่านแดงแก่” และ “ท่านแดงหนุ่ม” พระแดง เขมะโก ท่านนี้ ท่านเป็นนักธรรมชั้นตรี ในสมัยนั้นนับว่าเด่นอยู่พอสมควร ท่านมีฝีมือในเชิงช่างดีมาก เช่นวิชาช่างไม้ เป็นต้น ซึ่งการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดโคกขี้เหล็กนี้ เมื่อท่านได้ไปอยู่เป็นเจ้าอาวาสที่วัดโคกขี้เหล็กแล้วก็ได้สร้างโรงเรียนกึ่งถาวรขึ้นหลังหนึ่งจนสำเร็จเรียบร้อย แล้วจึงได้จัดสร้างกุฏิต่อไป ฝ่ายพ่อท่านแดงและนายแพบนั้น ก็ได้แต่เพียงจัดการไปตามธุระหน้าที่ เกี่ยวกับการทำรั้วรอบขอบชิดสำหรับรอบบริเวณวัด แต่เมื่อพ่อท่านแดงท่านเห็นว่า ท่านแดงหนุ่มจัดสร้างกุฏิขึ้นมา ท่านก็ได้คิดที่จะจัดสร้างขึ้นเช่นกัน โดยได้จ้างนายตุ้นมาออกแบบแปลนให้ พร้อมทั้งเป็นนายช่างก่อสร้างให้จนแล้วเสร็จ ในส่วนของกิจการทางวัดนั้น พ่อท่านแดงท่านได้เอาใจใส่เป็นอันมาก ส่งผลให้ที่ดินขิงวัดนั้นกว้างขวางออกไปมากและนอกจากนี้ ท่ายังได้ปลูกผลไม้ และอาสินต่างๆให้วัด ทำให้วัดโคกขี้เหล็กเจริญขึ้นอย่างมากมาย การที่ที่ดินของวัดนั้นกว้างขวางอกไปมากนั้น ทำให้เหล่าวัชพืชงอกขึ้นมามากไปทั่วบริเวณวัด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงวัดซึ่งต่างก็เลี้ยงวัวควายเป็นประจำอยู่แล้ว ต่างต้องการที่จะนำวัวควายของตนเข้าไปกินหญ้าในบริเวณวัด แต่พ่อท่านแดงท่านไม่อนุญาต เพราะหากนำวัวควายเข้ามาเลี้ยงกินหญ้าในวัด ก็จะทำให้เหล่าอาสินของวัดเสียหาย เหตุดังนี้จึงทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ระหว่างชาวบ้านที่เห็นแก่ตัว กับพ่อท่านแดงขึ้น จนหนักๆเข้า ก็มีเสียงครหาในตัวพ่อท่านแดง จากพวกชาวบ้านที่เห็นแก่ตัว แต่พ่อท่านแดงก็ยังคงนิ่งเฉยสงบไว้ และเมื่อข่าวนี้รู้ไปถึงหูของพวกญาติพี่น้องของท่าน ก็พากันแค้นเคืองบุคคลเหล่านั้นแทนพ่อท่านแดงเป็นอันมาก ต่างก็พิจารณาหาลู่ทางแก้ไขกันอยู่ว่าจะทำประการใดดี ที่จะให้สิ้นเรื่องสิ้นราวกันไป

    หลวงพ่อแดง ย้ายมาอยู่วัดโทตรี

    ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ครั้งนั้นที่วัดโทตรี ตำบลกะหรอ กำลังตกอยู่ในสภาพรวนเรอยู่มาก เหตุด้วยว่าขาดสมภารผู้ปกครองวัดลง ยังคงเหลือแต่เพียงพระภิกษุใหม่ที่เพิ่งบวชยังไม่ได้พรรษารูปหนึ่ง ชื่อ พระติ่ม เท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่พระใหม่จะปกครองวัดแต่เพียงผู้เดียวด้วยพรรษายังไม่มาก พระติ่มจึงได้ปรึกษากับนายวัน ชาวบ้านกะหรอ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์วัดในขณะนั้นว่า “เราจะไปหาใครที่ไหนมาช่วยปกครองวัดกันดี ฉันร้อนใจมาก” ต่างก็ได้พิเคราะห์พิจารณาถึงพระวัดต่างๆที่ใกล้เคียงว่าจะมีใครที่ไหนบ้าง ในที่สุดก็คิดได้ว่าที่วัดโคกเหล็กมีพระแก่พรรษาอยู่ด้วยกันถึงสองรูป คือ พ่อท่านแดง และ ท่านพระแดง เขมะโก เราน่าจะไปนิมนต์ดูสักรูปเถิด จึเป็นอันตกลงกัน พระติ่มกับนายวัน ก็ได้ชวนกันเดินทางมายังวัดโคกเหล็กในวันนั้น ครั้นถึงวัดแล้วก็ตรงไปหาพ่อท่านแดง แล้วนั่งลงกราบด้วยความเคารพ แล้วพ่อท่านแดงจึงได้ถามว่า “คุณมาธุระอะไรหรือ” พระติ่มกับนายวันจึงได้เล่าเรื่องราวให้ท่านทราบ พ่อท่านแดงท่านนั่งพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงตอบว่า “ฉันตกลงจะไปอยู่ให้ก็ได้ แต่ต้องถามพวกน้องๆดูก่อน ถ้าพวกเขามิขัดข้อง ฉันก็จะไปอยู่ให้” พระติ่มกับนายวัน เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้นต่างก็ดีใจอย่างยิ่ง แต่ก็มิวายกังวลถึงความไม่แน่นอน เมื่อได้เดินทางมาแล้วก็ใคร่อยากจะรู้เสียให้แน่นอน จึงขอนิมนต์พ่อท่านแดงไปที่บ้านท่านเพื่อบอกเล่าเรื่องราวกับญาติโยมของท่านเสียในวันนี้เลย พ่อท่านแดงท่านก็รับนิมนต์ เมื่อพ่อท่านแดง พระติ่มและนายวันได้เดินทางไปถึงบ้านโคกหว้า ก็ได้พบกับญาติโยมของพ่อท่านแดงแทบทุกคน เมื่อได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้ญาติโยมของท่านฟังแล้ว ต่างก็มีความยินดียิ่ง เพราะมีความประสงค์อยู่ด้วยแล้วว่า ถ้าพ่อท่านแดงท่านได้ออกไปอยู่ ณ วัดอื่นซึ่งห่างไกลจากบ้านเสียทีก็ดี เพราะการที่ท่านมาอยู่ช่วยตกแต่งที่วัดโคกเหล็กนี้ก็นานแล้วจากที่เคยเป็นวัดร้าง กลับกลายมาเป็นวัดที่เจริญกว้างขวาง

    แต่คนทั้งหลายก็ยังไม่พระคุณของท่าน มีแต่จะเบียดเบียนด่าว่าท่านอยู่เสมอ เพราะเหตุที่ท่านขัดประโยชน์ของคนบางคนหรือบางพวก ที่พ่อท่านแดงท่านไม่อนุญาตให้นำวัว ควาย ไปล่ามกินหญ้าในวัดโดยสะดวก ทำให้เป็นเรื่องรำคาญหูของพวกญาติพี่น้องอยู่เสมอมา บรรดาพี่น้องญาติโยมของท่านจึงได้พลอยอนุโมทนาสาธุ ให้ท่านไปปกครองวัดโทตรีต่อไป เมื่อพระติ่มกับนายวัน ได้ฟังคำสาธุของบรรดาญาติโยมของพ่อท่านแดงแล้วก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ต่อจากนั้นก็ได้นิมนต์ท่าน และ บอกนัดวันมารับพ่อท่านแดงกับญาติโยมของท่านให้เป็นการแน่นอน โดยจะมารับใน วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ นี้โดยจะมารับพ่อท่านแดงไปรับอาหารเพลที่วัดโทตรี ซึ่งพ่อท่านแดง ก็ได้อนุญาตตามที่นิมนต์ฝ่ายพระติ่มกับนายวัน เมื่อได้นิมนต์พ่อท่านแดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้พากันกลับมาที่วัดโทตรี และได้แจ้งและนัดแนะกับชาวบ้านว่า ในวันขึ้น ๘ ค่ำนี้ ให้พวกเราจัดเตรียมสำรับกับข้าวออกไปวัดกันหลายๆคนจะได้เลยไปที่วัดโคกเหล็กบ้าง รอรับอยู่ที่วัดโทตรีบ้าง ชาวบ้านทุกๆคนเมื่อได้รับข่าวดีเช่นนี้ต่างก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และได้รับปากกับพระติ่มและนายวันตามที่นัดกันไว้

    ครั้นถึงวันกำหนดที่นัดหมายไว้ ชาวบ้านทั้งหลายต่างก็ตระเตรียมกับข้างคาวหวานกันไปวัดในวันนั้น เมื่อไปถึงพร้อมกันแล้วก็ได้จัดขบวนกันมารับพ่อท่านแดงที่วัดโคกเหล็กบ้าง อีกส่วนหนึ่งก็รอรับที่วัดโทตรีบ้าง พวกที่มารับวันนั้นก็มี นายวัน พระติ่ม เป็นหัวหน้าขบวน พร้อมด้วยคนอื่นๆอีกหลายคน ออกเดินทางไปยังวัดโคกเหล็ก ครั้นไปถึงก็มุ่งตรงไปยังพ่อท่านแดง ซึ่งพ่อท่านแดงท่านฉันอาหาร(ฉันเช้า)จวนเสร็จอยู่แล้ว เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วท่าน ได้เรียกนายแพบศิษย์ใกล้ชิดให้มาทานต่อ ต่อท่านก็ได้ไปเตรียมจัดข้าวของเครื่องอัฏฐะบริขารและเครื่องใช้สำหรับติดตัวอีกเล็กน้อย ครั้นนายแพบทานอาหารเสร็จ ท่านก็ได้ใช้ให้นายแพบไปแกะอ้ายนิลโคถึกมา พร้อมทั้งเชือกล่ามเชือกชัก หลักเก่าใหม่ทั้งเหลี่ยเทียน ที่ย่างไฟไว้เสร็จแล้ว กับพร้าและมีดตอกด้วยเล่มหนึ่ง ส่วนพรรคพวกที่ไปก็ช่วยรับของ ช่วยถือข้าวของต่างๆคนละชิ้นสองชิ้น พ่อท่านแดงท่านห่มจีวรเฉวียงบ่าถือธูปเทียนไปจุดตรงหน้าพระประธานในอุโบสถ เสร็จแล้วยกมือประนมกราบสามครั้ง เป็นพิธีละพระพุทธรูปลาพระประธานวัดโคกเหล็ก แล้วเลยออกจากโรงอุโบสถ จากนั้นท่านเปลี่ยนเป็นห่มจีวรคลุมออกเดินตรงมาหาพวกญาติ และ พวกคณะวัดโทที่มารอรับท่านอยู่ ท่านหันหน้าออกเดินทางจากวักโคกเหล็ก พร้อมด้วยญาติพี่น้องติดตามมาส่งท่านด้วย ๒-๓ คน ส่วนนายแพบก็ได้จูงอ้ายนิลติดตามมาข้างหลังเรื่อยมา จนถึงวัดโทตรี เวลา ๑๐ นาฬิกาเศษ ชาวบ้านที่มารอรับท่านอยู่ต่างดีอกดีใจกันทุกๆคนเมื่อเห็นพ่อท่านแดงเดินทางมาถึง

    พ่อท่านแดง เมื่อท่านเดินทางย่างเข้าวัดโทตรีแล้ว ท่านตรงเข้าไปยังอุโบสถ ปลดผ้าห่มคลุมเป็นห่มเฉวียงบ่า แล้วเข้าไปกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วตรงออกมายังโรงธรรมหลังเก่าแก่ ซึ่งชาวคณะวัดโทตรีได้จัดต้อนรับท่านอยู่ ชาวบ้านซึ่งมารอท่านอยู่แล้วต่างพร้อมกันนั่งพับเพียบเรียบร้อย หัวหน้าคณะจึงนำว่าบูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน จบแล้วก็อาราธนาศีลต่อไป ท่านให้ศีลจบ ชาวบ้านประเคนสำรับคาวหวาน ท่านรับประเคนฉันเสร็จแล้ว ก็ให้ยะถาสัพพีอนุโมทนาทานจบลง ชาวบ้านยกมือประนมขึ้นสาธุพร้อมกัน ครั้นแล้วชาวบ้านก็ชวนกันรับประทานอาหาร พร้อมด้วยญาติพี่น้องของท่านที่ตามไปส่งด้วย ส่วนพ่อท่านแดงท่านได้สั่งให้นายแพบนำไอ้นิลไปล่ามไว้ แล้วให้มากินข้าว ส่วนพระติ่มและนายวันก็นิมนต์ท่านไปเที่ยวตรวจดูเขตวัด ชี้แนวเขตบริเวณวัดที่รกรุงรังปกคลุมด้วยไม้ไผ่ป่าและไม้ขี้แรดในลานวัดก็ปกคลุมด้วยกอหญ้าและทางมะพร้าวแห้งที่กระรอกกัดเล่นลงอยู่เกลื่อนกลาด ดูระเกะระกะเต็มไปหมด สิ่งก่อสร้างในวัดโทก็มีอุโบสถหลังหนึ่ง ซึ่งท่านสมภารก่อนๆสร้างไว้ซึ่งยังไม่สำเร็จ กุฏิก็มีเพียงกุฏิหลังเล็กๆเพียงสองหลัง พวกชาวบ้านจึงช่วยกันปักกวาดกุฏิและห้องหับให้พ่อท่านแดงขึ้นอยู่หลังหนึ่ง เมื่อได้เก็บเครื่องอัฐบริขารของท่านขึ้นเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้สั่งบรรดาพวกชาวบ้านเหล่านั้นว่า “เมื่อโยมให้ฉันมาอยู่ให้แล้ว พวกโยมและชาวบ้านทางนี้ต้องช่วยกันตกแต่งวัดให้ฉันบ้าง” ชาวบ้านทุกๆคนก็รับปากต่อท่านว่า “เมื่อถึงวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำแล้ว จะนำจอบและพร้ามาช่วยกันถากถางต่อๆไปทุกวันพระ” ตกตอนบ่ายชาวบ้านทั้งหลายก็ชวนกันลากลับยังคงเหลือแต่พระติ่ม และนายแพบเท่านั้น ในวันนั้นเองท่านลงมือทำงานชั้นแรก โดยท่านลงมือเก็บทางมะพร้าวแห้งไปกองเอาไฟจุด ถัดไปก็เก็บลูกมะพร้าวที่กระรอกกัดหล่น และหล่นระเกะระกะ ไปกองทิ้งสุมไฟกันต่อไป จนถึงเวลาค่ำมืดของวันนั้น ท่านก็ไม่ยอมละทิ้งกองไฟของท่านได้ง่าย จนเวลาเกือบดึกดื่น ท่านจึงอาบน้ำขึ้นจำวัดต่อไป พ่อท่านแดงท่านทำอย่างนี้อยู่เป็นกิจประจำเก็บใบไม้แห้งไม้ผุเผากันเรื่อยไปจนมีแต่หญ้าเขียวสด ชาวบ้านก็ช่วยกันถากถาง ส่วนนายแพบท่านใช้ให้ช่วยถางป่าขี้แรดและกอไผ่ พร้อมกับเลี้ยงอ้ายนิลไปด้วย นายแพบก็หันเข้าถางป่าช้าซึ่งคลุมไปด้วยไม้จำพวกหนามทั้งนั้น นายแพบนี้เมื่อเวลาถางป่า หากถางไปพบหวายเมื่อใด ก็ได้ปอกหวายนำมาให้ท่านฟั่นเชือกวัวต่อไป การถางป่าไม้ไผ่นี้เมื่อถางเสร็จแล้วก็ต้องโค่นโคนล้มทั้งกอ ท่านก็ช่วยแล่เปลือกเอามาแต่ลำมาทำประโยชน์ในการสร้างครัวกำมะลอชั่วคราว เช่น ใช้ทำฟาก ทำกลอนและบางต้นเอาโคนที่แก่ๆมาทำเสาบ้าง ตลอดจนทำขื่อ แปหลังคามุงด้วยจากสาคูจนสำเร็จพอได้เป็นที่พระนั่งฉันสำหรับพระเณรฉันและชาวบ้านได้นั่งเวลามาทำบุญให้ทานในวันธรรมสวนะไปพลางๆก่อน

    ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านก็ได้ลงมือบูรณะเสนาสนะภายในวัด โดยในเบื้องต้นท่านได้ลงมือบูรณปฏิสังขรณ์โรงอุโบสถก่อนเพราะในขณะนั้นอุโบสถยังก่อสร้างไม่เรียบร้อย ท่านจึงได้ก่อสร้างพระประธานก่อนในอุโบสถ ในการสร้างพระประธานครั้งนั้นท่านได้ชักชวนคณะพุทธบริษัทของวัดและผู้มีจิตศรัทธาทั้งใกล้ไกลช่วยกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อย จนสร้างได้สำเร็จไปส่วนหนึ่งแต่ในขณะนั้นอุโบสถก็ยังไม่สำเร็จเรียบร้อย ยังขาดบานประตูหน้าต่าง ลาดพื้น ครั้นต่อมาท่านก็ได้ลงมือว่าจ้างหาคนมาทำไม้ ทำบานประตู หน้าต่างต่อไปจนอุโบสถสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๓ ทั้งในส่วนของพ่อท่านแดงนั้น ท่านก็ได้ลงมือจัดการให้นายแพบลูกศิษย์ผู้ติดตามนั้นลงมือแผ้วถางป่าช้าและจุดไฟเผากันจนที่ดินดำไปหมด แล้วท่านได้ลงมือปลูกสร้างสิ่งต่างๆเป็นต้นว่า มะพร้าว หมาก และสิ่งอื่นๆตามสมควร เพื่อเป็นอาสินขิงวัดต่อไปในปี พ.ศ.๒๔๙๓ นั้นเอง ท่านอาจารย์พระครูชินวงศาธร (เลื่อน) ก็ได้มาอยู่ด้วยกับท่านจึงได้ปรึกษาหารือกันเรื่องที่พักอาศัยของพระเณรภายในวัด ซึ่งขณะนั้นก็มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาร่วมกันหลายรูปจึงได้คิดก่อสร้างที่พักกันต่อไป จึงได้ตกลงใจจัดการเรื่องที่พักกัน โดยเริ่มลงมือหาเครื่องมืออุปกรณ์ก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นต้นมา การก่อสร้างกุฏิหลังใหม่นี้ได้กำหนดความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ใช้เสาคอนกรีต ในชั้นแรกได้ตระเตรียมไม้ยางไว้บ้างแล้วแต่ทายกวัดหลายๆคนลงความเห็นกันว่าน่าจะหาไม้เนื้อแข็งกว่านี้มาใช้ เช่น ไม้หลุมพอ และไม้จำปา ส่วนไม้ยางที่เตรียมไว้แล้วก็รอไว้ก่อนพ่อท่านแดงท่านก็ตกลงอนุญาตตามที่เห็นสมควรกันมา

    จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๕ ก็ได้คิดจัดการก่อสร้างโรงครัวขึ้นใหม่ซ้อนอีกหลังหนึ่ง เพราะโรงกลัวชั่วคราวนั้นได้ชำรุดทรุดโทรมไปมากแล้วเห็นควรที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งท่านพระครูชินวงศาธร ได้เข้าร่วมช่วยก่อสร้างด้วย จึงได้เริ่มหล่อเสาคอนกรีตโรงครัวที่จะจัดสร้างโดยมีขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร คิดค่าก่อสร้างแล้วตกในราคาหนึ่งหมื่นกว่าบาท และในการก่อสร้างครั้งนั้นก็ได้อาศัยแรงศรัทธาแก่คณะพุทธบริษัททั้งใกล้ไกลร่วมด้วยช่วยกัน ส่วนสิ่งต่างๆในการก่อสร้างนั้นก็ได้อาศัยแรงพระภิกษุสามเณร ซึ่งอยู่จำพรรษาในวัดช่วยกัน เพราะในขณะนั้นมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่พอสมควรจึงได้จัดการสร้างไปบางส่วน แต่พอใช้การไปได้ แต่ก็ยังไม่สำเร็จเรียบร้อยเท่าที่ควร

    จนเมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๙๙ พ่อท่านแดง ท่านได้คิดเห็นว่าอุปกรณ์ที่ได้จัดหามาเป็นเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นเพียงพอในการก่อสร้างแล้ว จึงได้จัดหานายช่างที่ชำนาญมาก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๐ กุฏิหลังใหม่ที่ก่อสร้างนี้ สิ่งประกอบบางอย่างท่านได้จัดหาเอามาด้วยความยากลำบากทั้งนั้น แต่พ่อท่านแดงเองท่านก็ไม่เคยละความพยายามเลย และในการก่อสร้างกุฏิหลังนี้ ก็ได้อาศัยผลรายได้ของท่านเป็นส่วนมาก กับ ได้อาศัยแรงศรัทธาของพุทธบริษัทผู้ที่มีศรัทธาต่อพ่อท่านแดง ทั้งใกล้และไกล กุฏิหลังใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ คิดเป็นราคาค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแล้วก็ตกอยู่ในราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ พ่อท่านแดงได้ดำริถึงสภาพของโรงธรรมของวัด อันเป็นที่บำเพ็ญของพุทธบริษัทของวัดและประชาชนทั้งใกล้และไกล เนื่องด้วยสภาพของโรงธรรมนั้นเป็นสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมอย่างยิ่ง ท่านจึงได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการของวัด ที่คิดจะสร้างโรงธรรมเสียใหม่แทนที่หลังเดิม เมื่อได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย จึงได้จัดหาอุปกรณ์และลงรากฐานเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๐๓ โดยจัดสร้างให้พอสมควรโดยกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๔ เมตร เริ่มต้นได้วางรากฐานและหล่อเสาคอนกรีตจนสำเร็จในปีนั้น และปีต่อมาจึงได้จัดหาอุปกรณ์ในการก่อสร้างเป็นต้นว่าไม้ที่จะเอามาก่อสร้าง ก็ได้จัดหาเอามาเป็นเวลาหลายปีจึงสำเร็จ แต่ยังค้างคาอยู่ในเรื่องก่อสร้าง จนต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บังเอิญเกิดวาตะภัยทำให้ภาคใต้ได้รับความเสียหายไปทั่วไม่เว้นแม้แต่วัดของท่านก็ได้รับความเสียหาย สภาพโรงธรรมซึ่งชำรุดทรุดโทรมอยู่แต่เดิมแล้ว ก็เป็นอันใช้การมิได้เลย พ่อท่านแดงจึงได้คิดสร้างโรงธรรมชั่วคราวขึ้นก่อนเพื่อใช้แทนหลังเก่าที่ใช้การไม่ได้ ท่านจึงได้ลงมือก่อสร้างโรงธรรมชั่วคราวเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๐๕ แล้วเสร็จในปีนั้นเอง และในปีต่อมาท่านก็ได้ลงมือปรับปรุงตกแต่งซ่อมแซมสิ่งต่างๆที่ได้รับความเสียหายจากวาตะภัย เป็นต้นว่า เสนาสนะของวัดต้นไม้ต่างๆที่ได้รับความเสียหายทดแทนของเดิม

    เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโท พิมพ์นิยม ปี2507 ขอบเลื่อยหลังยันต์ไม่มีจุด
    เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโท พิมพ์นิยม ปี2507 ขอบเลื่อยหลังยันต์ไม่มีจุด

    ครั้นในปี พ.ศ.๒๕๐๖ พ่อท่านแดงได้ดำริเห็นว่าโรงธรรมที่ก่อสร้างชั่วคราวนั้น ก็พอใช้ไปก่อนได้บ้าง ท่านจึงได้ปรึกษาหารือแก่ผู้ที่เข้ามาบวชใหม่ในพรรษนั้นคิดจัดการสร้างสิ่งก่อสร้างสิ่งของไว้เป็นอนุสรณ์ เมื่อได้ปรึกษาตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้คิดสร้างกุฏิใหม่ แทนหลังเก่าหลังหนึ่ง และสร้างเว็จกุฏิหลังหนึ่ง และพ่อท่านแดงเองท่านก่อได้จัดหาทุนช่วยเหลือในการก่อสร้างและท่านได้จัดการให้พระภิกษุสามเณรช่วยกันหาอุปกรณ์ในการก่อสร้าง จนก่อสร้างแล้วเสร็จในปีนั้นเองพ่อท่านแดงนั้น เมื่อท่านได้คิดเห็นว่าอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมแล้ว ท่านจะพยายามเสมอมาตลอดชีวิตของท่าน

    ครั้นต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๗ ท่านได้จัดสร้างศาลากลางวัดขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อใช้แทนของเก่าที่ทรุดโทรม โดยท่านได้จัดให้ทุนกับพวกพระภิกษุที่บวชเข้ามาใหม่ในรุ่นปี ๒๕๐๗ ช่วยกันจัดทำแต่ยังไม่สำเร็จเรียบร้อยดี เพียงแต่ใช้ได้ชั่วคราวไปก่อน และท่านได้ให้ช่วยกันปรับปรุงตกแต่งกุฏิวิหารที่ยังคงค้างคาต่อไป เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ ครั้น ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ท่านได้พยายามปรับปรุงเสนาสนะ และปรับปรุงตกแต่งวัดเรื่อยมา การกิจวัตรของท่านนั้น ซึ่งนอกจากการวิปัสสนากรรมฐานที่ท่านกระทำมาตลอด ท่านก็หนักไปทางตกแต่งปลูกสร้างวัดให้เจริญขึ้น ซึ่งพระภิกษุที่บวชใหม่แต่ละรุ่น แต่ละปีในสำนักของท่าน ท่านก็ได้แนะนำตักเตือนพร่ำสอนตามสมควร

    ครั้นต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๙ ท่านคิดขยายศาลากลางวัด เพื่อให้พอเป็นที่บำเพ็ญประโยชน์ได้ด้วยกันในบางกาลบางสมัย จึงได้ปรึกษากับคณะพุทธบริษัทของวัด และผู้ที่เข้ามาบวชใหม่ในรุ่น ๒๕๐๙ โดยทั้งหมดได้เห็นด้วยกับพ่อท่านแดง จึงเป็นอันตกลงกัน โดยพ่อท่านแดงท่านได้จัดทุนของท่านเองออกใช้จ่ายในการปลูกสร้าง จนศาลากลางวัดนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ใช้ประโยชน์ได้ตามความประสงค์ของท่านทุกประการ

    แต่เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๐๙ พ่อท่านแดงท่านเริ่มอาพาธ แต่ท่านก็ยังพยายามปรับปรุงตกแต่งวัดและพระพุทธศาสนามิได้หยุดหย่อน จนไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อนเลย ครั้นปี พ.ศ.๒๕๑๐ ความเจ็บป่วยของท่านก็เริ่มกำเริบหนักยิ่งขึ้น ท่านก็พยายามรักษาพยาบาลเสมอมา แต่ว่าอาการของท่านนั้นถึงแม้ว่าจะพยายามรักษาพยาบาลสักเท่าไหร่แล้ว ก็มีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น แต่แม้ท่านอาพาธอยู่ท่านก็ยังคงดำเนินการบำรุงก่อสร้างวัดมาโดยตลอด จนในที่สุดอาการอาพาธของท่านได้ทรุดหนักลงทุกวันๆ เป็นที่เป็นห่วงกังวลของชาวบ้านทั้งใกล้และไกลยิ่งนัก จนในที่สุดท่านก็ได้ปล่อยให้ความอาลัยอาวรณ์ ท่ามกลางความวิปโยคให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติมิตร และผู้ที่เคารพศรัทธาท่าน เป็นอันมาก ไป เมื่อ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๐ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ วันจันทร์ อันเป็นวันที่ท่านละสังขาร สร้างความอาลัยแก่ศิษย์เป็นอย่างยิ่ง

    นับแต่ท่านอุปสมบทมาตลอดทั้งชีวิต ท่านได้บำเพ็ญบำรุงพระพุทธศาสนามาตลอด ทั้งที่วัดโคกเหล็ก ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากนานาประการ แต่ด้วยความเป็นเนื้อนาบุญ ท่านก็ฝ่าฟันมาได้ ทั้งเมื่อท่านมาอยู่ ณ วัดโทตรี เป็นเวลา ๒๐ ปี ท่านก็ได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า การปลูกสร้างกุฏิวิหารต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างในสมัยของท่านทั้งสิ้น ท่าน เป็นอาจารย์ผู้ชอบทำบุญทำทาน ไม่ยึดติดในทรัพย์หรือวัตถุใดๆ ส่งเสริมให้ทุกคนเป็นคนดี ท่านอุตส่าห์พยายามตักเตือนพร่ำสอนเสมอ ยอมสละทรัพย์ส่วนตัว และชักชวนคนอื่นบริจาคเพื่อบำรุงพระศาสนา อันนับได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุที่หาได้ยากยิ่ง


    รูปหล่อหลวงพ่อแดง วัดโท รุ่นแรก ปี 2507 อุดกริ่ง มีฟันนิยมสุดๆ กะไหล่ทองทองเดิมๆ

    พระเครื่องสายเหนียวแห่งเมืองนคร พระเครื่องของหลวงพ่อแดง วัดโทส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ด้านคงกระพัน มหาอุดมีประสบการณ์กันเยอะมากจนเป็นที่ยอมรับเป็น พระเครื่องสายใต้ที่น่าเสาะหามาบูชา

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]



    ให้บูชาองค์ละ 6,550บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pordang.jpg
      pordang.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.2 KB
      เปิดดู:
      5,295
    • pd1.jpg
      pd1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      8,667
    • pd2.jpg
      pd2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.5 KB
      เปิดดู:
      6,632
    • pd3.jpg
      pd3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.8 KB
      เปิดดู:
      5,010
  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    พระครูสุธรรมสมาจาร (พ่อท่านเชื่อง สุทนฺโต) วัดรัตนาราม
    ต.ปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

    พ่อท่าน ตาท่านมองไม่เห็นทั้งสองข้าง เเต่พ่อท่านทำได้หมด เหมือนคนปกติ ตอนพ่อท่านอายุประมาณสี่สิบกว่าๆ ท่านเป็นโรคต้อกระจก จนส่งผลให้ตาทั้งสองของท่านดับสนิททั้งสองครับ เชื่อกันว่าเเม้พ่อท่านอยู่ในโลกมืด ยิ่งทำให้สมาธิจิตเเข็งเเกร่งขึ้น เพราะตาดับสนิท ประสบการณ์ในพื้นที่เยอะเล่าไม่หมดครับ คนในพื้นที่นับถือพ่อท่านเเค่ไหน ดูที่ประตุกุฏิมีทองติดเต็มครับ ตอนนี้พ่อท่านอายุ 86 ปี ครับ

    พระผงพิมพ์สมเด็จรุ่นแรก
    เป็นพระที่ท่านพ่อท่านเชื่องมอบมอบให้ลูกศิษย์ไปจัดสร้างขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาปี2555 ด้วยมวลสารสำคัญเข้มขลังหลายสิ่ง เช่น ผงกรุจากวัดหอยรากที่แตกหัก พระสมเด็จพระครูมูล พระกสมเด็จกรุวัดบางจาก พระสมเด็จหลวงปู่จันทร์ ผงสร้างพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ผงธูปบูชาพระหลวงพ่อโอภาสี ผงธูปบูชาพระหลวงพ่อผุดและอาจารน์ครูนนท์ วัดนันทาราม แต่ละองค์มีการฝังเม็ดพลอยดิบธรรมชาติไว้หลากสีสรร จำนวนสร้างมีไม่เกิน 7000องค์ แล้วพ่อท่านเชื่อง สุทันโต เอาไปปลุกเสกตลอดพรรษา นั้นนาน 3เดือน นับเป็นพระท่านพ่อท่านได้ใช้เวลาปลุกเสกไว้นานที่สุดครับ พระส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุลงกรุไว้ในอุโบสถวัดรัตนาราม ที่เหลือนำไปให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่านำปัจจัยไปจัดสร้างถาวรวัตถุของวัด พระที่พ่อท่านเชื่องปลุกเสกพระมีประสบการณ์ดีทุกรุ่น

    [​IMG]
    [​IMG]



    มีสามองค์ ให้บูชาราคาย่อมเยาว์องค์ละ 150บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]
    ประวัติพระครูศีลมงคล (พ่อท่านไข่ นาถสีโล)

    พระครูศีลมงคล (พ่อท่านไข่ นาถสีโล) เดิมพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ชื่อ "นายไข่ นาจะทอง" เป็นบุตรคนสุดท้องจากพี่น้อง 3 คน ท่านเกิดปีเถาะ ปัจจุบันอายุ 92 ปี ท่านมีภูมิลำเนาเดิมเป็นคนนครศรีธรรมราช ต.น้ำไม้ไผ่ อ.ทุ่งสง ภายหลังอำเภอทุ่งสงได้แบ่งส่วนออกมาเป็นอำเภอบางขันในปัจจุบัน พ่อท่านไข่ได้เล่าให้ฟังว่าแต่เดิมก่อนที่จะออกบวชนั้น ท่านได้รู้จักกับพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ และหลังจากพบพ่อท่านคล้ายแล้วจึงได้ตัดสินใจออกบวช ท่านบวชเณรตั้งแต่อายุเพียง 15 ปีเท่านั้น(ปัจจุบัน 77 พรรษา) ได้จำวัดอยู่หลายแห่ง ได้แก่ วัดวังขลี, วัดทุ่งสาร, วัดทุ่งควาย ขณะที่ท่านจำวัดอยู่ที่วัดทุ่งควายนั้นชื่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสืบเนื่องจากมีชาวบ้านมากมายต่างต้องเดินทางไปไหว้พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน กันอย่างเนืองแน่น บางคนตั้งใช้ระยะเวลาการเดินทางมาก จนในที่สุดพ่อท่านคล้ายได้ออกปากว่า "ท่านทั้งหลายที่ไปไหว้พ่อท่านไข่ วัดทุ่งควาย ก็เหมือนดั่งได้มาไหว้พ่อท่านคล้ายแล้ว "

    พ่อท่านไข่มักจะสวดท่องพระคาถาชินบัญชรเป็นประจำ ทำให้ชื่อเสียงของท่านเป็นที่เลื่องลือในเรื่องพระคาถาชินบัญชร จนไปถึงมวลสารของท่าน "ผงชินบัญชร" อันเลื่องลือ เมื่อมีการจัดพิธีพุทธาภิเษกต่างๆ ท่านก็มักจะได้รับการเชิญให้ไปร่วมพิธีนั่งปรกด้วย อุปนิสัยของพ่อท่านไข่ค่อนข้างดุ แต่จริงๆ แล้วท่านใจดี จะดุกับคนที่ไม่อยู่ในกฏระเบียบเท่านั้น ท่านไม่ชอบการใบ้หวย แต่ชอบที่ได้ให้ศีล ให้พร ให้ลาภมากกว่า ถ้าใครได้รับพรจากท่านไปก็จะประสบแต่ความสำเร็จ โชคดี ดังคำอวยพรที่เอ่ยจากปากของท่าน จึงเป็นที่มาของ "พ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์"

    จากประวัติของวัดลำนาวที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นวัดร้างมาตั้งแต่ก่อนพ่อท่านไข่จะมาอยู่ ไม่มีแม้กระทั่งเจดีย์, กุฏิ,พระเมรุ, โรงธรรม รวมไปถึงป้ายชื่อหน้าวัดเอง แม้กระทั่งกุฏิของพ่อท่านไข่ก็มีสภาพเก่าไม่ต่างกัน ด้วยความที่พ่อท่านไข่หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส ไม่ต้องการซึ่งความสะดวกสบาย ท่านจึงไม่สนใจว่ากุฏิท่านจะมีสภาพเก่า ตรงกันข้ามท่านพึงปรารถนา เพียงแต่อยากจะบูรณะโรงธรรม เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ปฏิบัติธรรม และเผยแผ่พุทธศาสนาให้แก่ชาวบ้านในละแวกนั้นท่านจึงคิดที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น "ทวีทรัพย์" เพื่อหาทุนทรัพย์บูรณะวัดลำนาว

    รูปหล่อ กริ่งยันต์ยุ่งหลวงพ่อไข่ วัดลำนาว ปี๔๙ รุ่นทวีทรัพย์ หมายเลข 1019 พร้อมกล่องเดิม สวยมาก

    พุทธคุณเด่นด้านโภคทรัพย์ เมตตา แคล้วคลาด ป้องกันภยันตรายทั้งปวง ก่อนหน้าที่จะทำพิธีปลุกเสก และขณะทำพิธีปลุกเสกฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทั่วจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่เมื่อเริ่มพิธีเททอง ฝกได้หยุดตก ถือเป็นปาฏิหารย์ และเมื่อเสร็จพิธีฝนกลับตกหนักเหมือนเดิม

    มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกทั้งสิ้น ๖รูปคือ พ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์, พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง, พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน จ.พัทลุง, เจ้าคณะอำภอบางขัน, พ่อท่านช่วง วัดควนปัตตาราม, และพระครูสุธรรมวัฒน์ วัดพิกุลทอง จ.พัทลุง ทำพิธีปลุกเสกเมื่อ ๕ มิ.ย ๒๕๔๙

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]



    ให้บูชาองค์ละ 750บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1273463497.JPG
      1273463497.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.3 KB
      เปิดดู:
      7,615
    • ptk1.jpg
      ptk1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.8 KB
      เปิดดู:
      5,976
    • ptk2.jpg
      ptk2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.4 KB
      เปิดดู:
      5,498
    • ptk3.jpg
      ptk3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.2 KB
      เปิดดู:
      5,695
    • ptk4.jpg
      ptk4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69 KB
      เปิดดู:
      109
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2013
  5. Keal88

    Keal88 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +12,140
    เข้ามาติดตานคับท่าน รวยๆๆๆ
     
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    พระปิดตา เนื้อโลหะสัมฤทธิ์หล่อโบราญ ซุ้มใบไม้ แท้ศิปสวย ไม่ทราบที่มีจารเข้มขลังครับผม พร้อมเลี่ยมกันน้ำสามชั้นแบบโบราญครับผม
    [​IMG]
    [​IMG]



    ให้บูชาองค์ละ 550บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ddf1-horz.jpg
      ddf1-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.3 KB
      เปิดดู:
      5,104
    • ddf2-horz.jpg
      ddf2-horz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168.5 KB
      เปิดดู:
      4,857
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2014
  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    พระครูสุจิณธรรมวิมล มีนามเดิมว่า ม่น นามสกุล วิญญาณ เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ ตรงกับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2453 โยมบิดาชื่อ มา โยมมารดาชื่อ แดง มีพี่น้องรวมกัน 3 คน คือ 1.นางเทียม เอมเปีย 2.หลวงปู่ม่น 3.นางย้อย โบราณ

    ในวัยเยาว์ โยมบิดามารดา นำไปฝากเรียนกับพระที่วัดใกล้บ้าน ศึกษาอักขระสมัย เนื่องจากท่านเป็นผู้มีจิตใจ อ่อนโยน โอบอ้อมอารี สนใจใฝ่เรียน มีความพยายามและอดทนเป็นเยี่ยม ทำให้พระอาจารย์ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้อย่างเต็มกำลัง จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ด้านอักษร การแพทย์แผนโบราณ และการช่างเนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนเดียว จึงถือเป็นหลักของครอบครัว ขยันขันแข็ง ประกอบสัมมาอาชีพช่วยเหลือโยมบิดามารดาทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคงในเวลาต่อมา มีที่นาทำกินเป็นของตนเองจำนวนพอสมควรจนกระทั่งอายุได้ 29 ปี ท่านจึงได้ขอบรรพชาอุปสมบทในบวชพุทธศาสนา ในวันเสาร์ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2481 ณ พัทธสีมาวัดโคกเพลาะ ตำบลโคกเพลาะ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยมี พระครูสังวรศีลาจารย์ วัดหลวงพรหมาวาส ตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ วัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอพนัสนิคม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูอาจารสุนทร วัดโคกเพลาะ ตำบลโคกเพลาะ อำเภอพนัสนิคม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมจิณฺโณ

    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ได้พำนักที่วัดโคกเพลาะระยะหนึ่ง จึงได้ย้ายไปจำพรรษา ที่วัดเนินตามาก เริ่มศึกษาเล่าเรียนคันธุระและวิปัสสนาธุระอย่างจริงจัง เคร่งครัด ประกอบคุณงามความดีตามความเหมาะสมของเพศสมณะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัยตั่งแต่เริ่มอุปสมบท ศึกษาปริยัติธรรม เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ตามลำดับ มีความสามารถในการจำและสวดพระปาฏิโมกข์ได้ จนมาทำการค้นคว้าด้วยตนเอง ฝึกการปฏิบัติจิตและกัมมัฏฐาน เพื่อหลุดพ้นอย่างจริงจัง

    เมื่ออุปสมบทได้ 5 พรรษา จึงได้ออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น พระพุทธบาท สระบุรี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นต้น ท่านเล่าว่า ไปศึกษาวิชชาธรรมกายกับ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (สมัยที่หลวงพ่อสดยังมีชีวิตอยู่) แต่เมื่อปฏิบัติได้ 7 วัน ท่านบอกว่าไม่ถูกกับจริต เลยขอลาไปที่อื่นต่อภายหลังท่านได้ฝากตนเป็นศิษย์ พระสมุห์บุญยิ่ง วิริโย ที่วัดเขาบางพระ อำเภอศรีราชา รับคำแนะนำสั่งสอนในการปฏิบัติอันเป็นไปด้วยธาตุและจริตเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาด้านเวชกรรมจากพระสมุห์บุญยิ่งเพิ่มเติมจนมีความเชี่ยวชาญต่อมา พระสมุห์บุญยิ่ง ได้ชักชวนหลวงปู่ม่นออกธุดงค์หาสถานที่ปฏิบัติวิเวก เป็นสัปปายะ จนได้พบถ้ำจักรพงศ์ บนเกาะสีชัง ทั้งอาจารย์และศิษย์จึงได้พำนักอยู่ ณ ที่นี้

    จนหลวงปู่ม่นเกิดความก้าวหน้าทางจิตเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2490 พระอธิการกี่ เจ้าอาวาสวัดเนินตามาก ได้ลาสิกขา ทางคณะสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกาได้มาอาราธนานิมนต์หลวงปู่ม่น กลับไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด สั่งสอนภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกาสืบต่อไปเมื่อหลวงปู่ม่นเป็นเจ้าอาวาส ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ทำนุบำรุงวัดเนินตามากให้เจริญรุ่งเรือง สร้างถาวรวัตถุ เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ วิหาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาท้องถิ่น ทำถนน ไฟฟ้า สร้างโรงเรียน ตั้งกองทุนมูลนิธิต่างๆ ให้การศึกษาแด่พระภิกษุ สามเณร สอนนักธรรม พระนวกะ ส่งเข้าสอบนักธรรมสนามหลวงทุกปีหลวงปู่ม่น เป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาศิษย์ เสียสละ สร้างคุณงามความดี ให้แก่พระพุทธศาสนาและท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของสาธุชนทั่วไป

    ในปี พ.ศ.2529 คณะสงฆ์ได้พิจารณาขอพระราชทานสมณะศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูสุจิณธรรมวิมล

    ในปี พ.ศ.2523 หลวงปู่ได้อาพาธด้วยโรคอัมพฤกษ์ เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพนัสนิคม จนกระทั่งเกือบหายเป็นปกติ จึงกลับมาพักพื้นที่วัด

    ในปี พ.ศ.2537 ท่านอาพาธหนักอีกครั้ง จนกระทั่งเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 8 เดือน จึงสามารถกลับมาอยู่วัด หลังจากนั้น ท่านก็อาพาธเป็นๆหายๆ เข้าออกโรงพยาบาลสมิติเวช

    ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลสมิติเวช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2541 เวลา 18.00 น. รวม สิริอายุได้ 88 ปี 5 เดือน 24 วัน พรรษาที่ 60ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2549 เวลา 16.00 น. ณ วัดเนินตามาก ตำบลโคกเพลาะ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

    วัตถุมงคลรุ่นเมตตา ปี2537 หลวงปู่ม่น จัดว่าเป็นชุดสุดยอด สามารถนำช่างผู้มีฝีมือแห่งยุค 3 ท่าน
    มาร่วมออกแบบและแกะแม่พิมพ์ รายการจัดสร้างมี
    1. พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ (นายช่างสมร รัชชนะธรรม)
    2. เหรียญรูปไข่นั่งเต็มองค์(นายช่างเกษม มงคลเจริญ)
    3. เหรียญนั่งพานเล็กและพระปรกใบมะขาม(นายช่างประหยัด ลออพันธ์สกุล)
    และวัตถุมงคลอีกมากพิมพ์ก่อนหน้านี้
    [​IMG]

    หลวงปู่ม่นเททองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่นเมตตา เมื่อ 7 มิ.ย. 37
    [​IMG]


    พระกริ่งเนื้อเงิน รุ่นเมตตา หลวงปู่ม่น ปี2537 จ.ชลบุรี หมายเลข 2550 สภาพสวยสุดๆ พร้อมกล่องเดิมครับ

    [​IMG]
    [​IMG]




    ให้บูชาองค์ละ 2,850บ.ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2013
  8. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ขอบคุณครับท่าน
     
  9. LordTartarus

    LordTartarus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +1,506

    สวยจังนิพี่บ่าว องค์นี้ อิอิ
     
  10. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    แหลม ฝุด ฝุด อิอิ
     
  11. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,570
    ค่าพลัง:
    +19,462
    สวัสดีค่ะ ขอจองรายการนี้ทั้งสองดอกค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  12. nakak_action

    nakak_action เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2012
    โพสต์:
    497
    ค่าพลัง:
    +1,541

    จองรายการนี้ครับ หลวงปู่ทวด อาจารย์ชุม ปี 2497 ราคา1750 บาท กับ พระสมเด็จของหลวงพ่อเชื่อง องค์ที่ 2 หลังปิดตาครับ 150 บาทครับ
     
  13. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    รับทราบการจองนะครับผม

    คุณกันจริงใจ ชัดเจนดีครับ
    คุณลินคุยสนุกมากเลยคับ

    ยินดีที่ได้รู้จักทั้งสองท่านนะครับผม


     
  14. lynn@nice

    lynn@nice เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    21,570
    ค่าพลัง:
    +19,462
    ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ ลินทำการโอนเงินและแจ้งที่อยู่ทางพีเอ็ม ให้ทราบเรียบร้อยแล้วนะคะ ขอบคุณค่ะ (ร่ำรวยๆค่ะ)
     
  15. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460

    ได้รับแล้วครับ พรุ่งนี้จัดการส่งให้นะครับผม ขอบคุณครับ
     
  16. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    จัดส่งให้แล้วนะครับเมื่อวาน
    EI171438910TH
     
  17. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ปิดรายการนี้ให้น้องกัน ครับ

     
  18. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    ปิดองค์ที่2 ให้น้องกัน ครับ

     
  19. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    หลวงปู่อิง โชติโญ วัดโคกทม เถราจารย์ 5 แผ่นดิน ที่มีอายุยืนยาวมาถึงปี 2543 ( อายุ 115 ปี )

    เกิดเมื่อปี 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ ต.บ้านสะแกชำ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

    หลวงปู่ถือธุดงควัตร อยู่ในป่าลึก อาศัยอยู่ในถ้ำ ทั้ง พม่า ลาว เขมร ได้พบกับพระอาจารย์เก่งๆ หลายองค์
    และได้เคยฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นฯ ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 3 เดือน
    ก่อนออกเดินธุดงค์ต่อไป


    [​IMG]

    หลวงปู่อิง ท่านเก่งมากครับ ขนาดหลวงปู่หมุนยังให้ยอมรับว่าเก่งจริง

    หลวงปู่ละสังขารเมื่อวันที่ 11 มี.ค.2544 อายุ 116 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2544



    [​IMG]

    ตอนประชุมเพลิงศพหลวงปู่ ปรากฏศพหลวงปู่ ไม่ไหม้ไฟ เพียงแต่ดำเป็นตอตะโก จนต้องมีการขอขมาต่อสังขารของท่าน ขอให้ไหม้ไฟไปตามธรรมชาติ....

    หลวงปู่ออกจากป่า เมื่อปี 2536 เหรียญรุ่นนี้ถือว่า เป็น "รุ่นแรก"ของหลวงปู่ เมื่อคราวไปเยี่ยมพระอาจารย์สมพงษ์ วัดพระแก้ว จ.เพชรบูรณ์

    เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่อิง โชติโญ วัดโคกทม ออกวัดพระแก้ว เพชรบูรณ์ ปี 37 อายุ 107 ปี ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน พระของสหธรรมิกหลวงปู่หมุนราคาเริ่มขยับ รีบเก็บก่อนแพงกว่านี้นะครับ
    [​IMG]


    [FONT=&quot]ให้บูชา 850บ.ครับ[/FONT]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  20. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,090
    ค่าพลัง:
    +5,460
    [​IMG]

    ประวัติพระอาจารย์นอง ผู้สร้างตำนานหลวงปู่ทวด อันศักดิ์สิทธิ์

    ส่วนประวัติท่านอาจารย์นองวัดทรายขาว กับ ท่านอาจารย์ทิมวัดช้างไห้
    ซึ่งทั้งสององค์ มีความเกี่ยวพันธ์อย่างลึกซึ้ง ในสายสัมพันธ์ ถึงขนาดจับขันทำน้ำมนต์ขึ้นมาจับและตั้งสัตยาทิตฐาน......เพื่อที่จะเป็นคู่ร่วมบารมีกันไปจนถึง ชาติสุดท้าย!!

    คัดลอกมาจากประวัติพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว หรือ พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) ปัตตานี


    ประวัติอาจารย์นอง วัดทรายขาว หรือ พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) ปัตตานี

    อาจารย์นอง วัดทรายขาว เจ้าตำรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูป "กระฉ่อนเมือง"

    ประวัติ พระครูธรรมกิจโกศล หรือ พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต เดิมชื่อ "นอง หน่อทอง"เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โยมบิดาชื่อ นายเรือง หน่อทอง โยมมารดาชื่อ นางทองเพ็ง มีพี่น้อง 3 คน คนแรก คือตัวพระอาจารย์นอง คนที่สองนางทองจันทร์ และคนที่สามนายน่วม พระอาจารย์นองเรียนจบ ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ มีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง)วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวดได้ฉายา "ธมฺมภูโต" อยู่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์ตราบจนมรณภาพ

    ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป อาจารย์นอง วัดทรายขาว
    สำหรับ อาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เคยร่วมสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเมื่อปี 2497 จนโด่งดังทั่วสารทิศ และต่อมาพระอาจารย์นอง วัดทรายขาวได้สร้างเครื่องรางของขลังที่ดังไปทั่วเมืองไทย คือตะกรุดนารายณ์แปลงรูปและพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านฝังตะกรุด นอกจากนั้นแล้วอาจารย์นอง วัดทรายขาวยังเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องชมเชยตลอดมา และเป็นพระอยู่ในนิกายมหานิกาย สิริรวมอายุถึงวันมรณภาพได้ 80 ปี 11 เดือน 60 พรรษา

    ความสัมพันธ์กับอาจารย์ทิม วัดช้างให้ อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นทั้งกัลยาณมิตรเป็นศิษย์กับอาจารย์ต่อกัน เกื้อกูล เกื้อหนุนกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้ายของท่านอาจารย์ทิม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512

    ทั้งพระอาจารย์ทิม และ พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้และ อาจารย์นอง ไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอด กิจการใดของวัดช้างให้ อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญ การสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆ ก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวด ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ

    ช่วงนั้น อาจารย์นอง วัดทรายขาวกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆัง เพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค มาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาท ขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า "กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่า ท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ" "พระอะไร...?" พระอาจารย์ทิมถาม "ก็พระหลวงพ่อทวดไง" พระอาจารย์ทิมบอก "เออ...!! นั่นน่ะสิ" ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคม เพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี

    ปฐมเหตุตรงจุดนี้ คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล ส่วนคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นั้น เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเหลือให้การจัดสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งคงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อทวดที่บันดาลชักนำ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีชาวปัตตานีให้มาเป็นกำลังสำคัญ

    การจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 พระอาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านจึงมีส่วนอย่างมากในทุกๆ ขั้นตอนการจัดสร้าง ฉะนั้น...ท่านจะรู้พิธีกรรม และเรื่องว่านดีที่สุด เมื่อท่านมาสร้างพระหลวงพ่อทวด ขึ้นเองจึงมีความขลังแ ละศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอด

    เหตุการณ์ที่บ่งให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองพระอาจารย์ที่ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจและกินใจมาก ตามที่ท่านเล่าให้ฟังว่า

    ก่อนที่อาจารย์ทิมจะไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ท่านมาหาเราที่วัด สั่งเสียไว้หลายเรื่องฝากให้เราช่วยดูแลวัดช้างให้ ท่านหยิบขันน้ำมนต์ขึ้นมา ท่านจับประคองอยู่ด้านหนึ่งให้เราจับอีกด้านหนึ่ง แล้วท่านพูดว่า "ตั้งแต่คบกันมา คุณไม่เคยทำให้ผมเสียใจเลย คนอื่นยังมีตรงบ้าง คดบ้าง "เรา" ขออธิษฐาน บุญใดที่เคยทำร่วมกันมา และยังไม่เคยทำร่วมกันมาก็ดี ทั้งชาตินี้และอดีตชาติ ขออธิษฐาน เกลี่ยบุญให้เท่ากัน เพื่อจะได้เกิดทันกันทุกๆ ชาติไปจนถึงชาติสุดท้าย"

    จากนั้นพระอาจารย์ทิมก็เข้าไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ และก็มรณภาพที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 คำอธิษฐานนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตวาจาอย่างแท้จริง ได้ความรู้สึกถึงความผูกพันที่ท่านทั้งสองมีต่อกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอด ได้ร่วมสร้างตำนานอันมหัศจรรย์ ของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แผ่ออกไปทั่วทุกสารทิศ พระอาจาร์ทิม ถ้านับจาก พ.ศ.2497-2512 ก็เพียง 15 ปี แต่พระอาจารย์นองท่านใช้เวลาถึง 45 ปี (2497-2542)

    ปัจจุบัน หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดดังไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีผู้คนนับถือไม่น้อยเช่นกัน

    เรื่องความสัมพันธ์กับพระอาจารย์ทิมนั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ "ดีนอก" คือมีปัจจัยอื่นช่วยส่งเสริม แต่เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ "ดีใน" นั่นเอง หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว สองสิ่งต้องคู่กันจึงจะสมบูรณ์ เมื่อดีก็ต้องดีทั้งนอก ดีทั้งใน

    อาจารย์นอง วัดทรายขาว ท่านยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบ วัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก

    ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านบอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาท่านอารมณ์ดีท่านจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ท่านเคยพูดว่า

    "ตอนกูไปอยู่โรงพยาบาล กูก็เตรียมเงินสดไปด้วยตลอด แล้วถามหมอว่า ขาดอะไรบ้าง หมอบอกว่า ขาดไอ้นั่น ไอ้นี่ กูควักเงินสดให้ไปซื้อเลย ครั้งหลังๆ นี่ พอกูไปนอนโรงพยาบาล ตื่นขึ้นมามองซ้าย มองขวา มีชื่อ พระครูธรรมกิจโกศล ติดเต็มไปหมด" ท่านพูดเสร็จก็หัวเราะร่วนชอบใจใหญ่

    อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านเคยพูดให้ฟังเสมอว่า "คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกิดวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไปเรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้นเป็นการสั่งสมบารมีลดกิเลสลงไป"

    จริงดั่งท่านว่า "ยิ่งทำก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งมา" ธรรมะข้อนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับสังคมยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะสังคมเราทุกวันนี้ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที ถ้าคนเรารู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าพอ รู้จักเสียสละ เชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน เรื่องทานบารมีเป็นธรรมะที่พระอาจารย์นอง ยึดปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ถือว่าเป็นคุณความดีในตัวท่านเอง แต่สามารถสร้างคุณานุประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมหาศาลท่านจึงเป็นที่รักเคารพของมหาชน

    อาจารย์นอง วัดทรายขาวท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย กิน (ฉัน) ง่ายอยู่ง่ายไม่พิถีพิถัน วางเฉยในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความทะยานอยาก ท่านพัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ท่านสร้างวัดทรายขาว ให้งามสง่ากว่าวัดใดๆ ใน จ.ปัตตานี หรือแม้กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง เงินที่นำไปสร้างทั้งหมดกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่มาจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดทั้งสิ้น ท่านมิได้แตะต้องเงินทำบุญที่มีผู้บริจาคให้วัดแต่อย่างใด ปรากฏว่าหลังจากท่านมรณภาพ คณะกรรมการได้เคลียร์บัญชีทรัพย์สินในบัญชีต่างๆ เหลือเงินสดถึงกว่าสามสิบล้านบาท ทุกบัญชีท่านแยกแยะไว้ชัดเจนว่าเป็นเงินอะไรบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร หนี้สินใครบ้าง ท่านมีบัญชีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักบริหารงานที่มีการจัดการที่ดีเยี่ยม


    หลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นทองพันชั่ง พระอาจารย์นอง ธมมภูโต หรือ ท่านพระครูธรรมกิจโกศล วัดทรายขาว พ.ศ.๒๕๔๑ พิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่ทวด ใต้ฐานบรรจุตะกรุดไว้ 1ดอก ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป เป็นตะกรุดที่สร้างชื่อเสียงให้กับพระอาจารย์นองเป็นอย่างมาก มีพุทธคุณโดดเด่นในเรื่องของ “การกลับร้ายให้กลายเป็นดี” เป็นพระดีที่น่าใช้ ปลุกเสก 1ไตรมาส มาพร้อมกล่องเดิมๆ ....หลวงปู่ทวดพุทธคุณเด่นทางด้านนิรันตรายครับ....
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    [FONT=&quot]ให้บูชา 2,050บ.ครับ[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...